15.6 พระสูตรหลักถัดไป คือจูฬหัตถิปโทปมสูตรและมหาหัตถิปโทปมสูตร.
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
15.5 พระสูตรหลักถัดไป คือจูฬหัตถิปโทปมสูตรและมหาหัตถิปโทปมสูตร.
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=26-04-2013&group=1&gblog=33
ความคิดเห็นที่ 9-59
ฐานาฐานะ, 20 เมษายน เวลา 02:51 น.

             คำถามในพระสูตรชื่อว่า มหาสาโรปมสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=6309&Z=6504

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง?
             2. คำว่า มีความดำริเต็มเปี่ยม ภาษาสมัยใหม่ใช้คำว่า อะไร?
             3. ขอให้อธิบายคำว่า ปีศาจคลุกฝุ่น อย่างสั้นๆ แต่ชัดเจน.
             4. ประเด็นของการยกตนข่มผู้อื่น ในแต่ละวาระนั้น
คุณ GravityOfLove สามารถนำมาปรับในการพิจารณาตนเองหรือผู้อื่น
ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร?

ความคิดเห็นที่ 9-60
GravityOfLove, 20 เมษายน เวลา 07:39 น.

ขอบพระคุณค่ะ

             ตอบคำถามในพระสูตรชื่อว่า มหาสาโรปมสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=6309&Z=6504

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง?
             ๑. ลาภ สักการะ และความสรรเสริญ เปรียบเหมือน กิ่งและใบ
             ศีลและกัลยาณธรม เปรียบเหมือน สะเก็ด
             ความสมบูรณ์แห่งสมาธิ เปรียบเหมือน เปลือก
             ญาณทัสสนะ เปรียบเหมือน กระพี้
             เจโตวิมุติ เปรียบเหมือน แก่น

             ๒. อสมยวิโมกข์หรือเจโตวิมุติ จะไม่เสื่อมอีก
             อสมยวิโมกข์ คือ อริยมรรค ๔, อริยผล (สามัญญผล) ๔, และนิพพาน ๑

             สมยวิโมกข์ คือ สมาบัติที่เป็นโลกียะ คือ รูปาวจรสมาบัติ ๔
และอรูปาวจรสมาบัติ ๔ ซึ่งเสื่อมได้

             ๓. พระเทวทัตเมื่อบวชแล้วเกิดลาภสักการะและความสรรเสริญ
ได้ญาณทัสสนะแล้วมีความยินดี มัวเมา ประมาท
             คิดว่าตนถึงที่สุด (แก่น) แห่งพรหมจรรย์แล้ว
ความจริงแล้วอภิญญาเป็นกระพี้ ไม่ใช่แก่น
--------------------------------------------------------
             2. คำว่า มีความดำริเต็มเปี่ยม ภาษาสมัยใหม่ใช้คำว่า อะไร?
             สมหวังเต็มที่
             ใช่เลย
--------------------------------------------------------
             3. ขอให้อธิบายคำว่า ปีศาจคลุกฝุ่น อย่างสั้นๆ แต่ชัดเจน.
             ปีศาจระดับต่ำ ไม่ค่อยมีฤทธิ์อะไร ไม่อยู่ในสายตา
--------------------------------------------------------
             4. ประเด็นของการยกตนข่มผู้อื่น ในแต่ละวาระนั้น
คุณ GravityOfLove สามารถนำมาปรับในการพิจารณาตนเองหรือผู้อื่น
ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร?
             ตัวเราเองก็อยู่ในขั้นตอนการปรับปรุงตัวเอง ขั้นตอนการขัดเกลากิเลส
             ลาภสักการะที่ได้มา ก็ไม่ใช่อะไรเลย เมื่อได้มาก็ย่อมเสื่อมไป
ไม่ใช่ของเราอย่างแท้จริง (ไตรลักษณ์)
             ความมีศีล มีกัลยณธรรม ก็ไม่ใช่ว่าเราทำึถึงที่สุดแ้ล้ว
ไม่ใช่ว่าเราดีกว่าคนอื่นแล้ว จึงไม่ควรนำไปยกตนข่มผู้อื่น
             ความสมบูรณ์ของสมาธิ ญาณทัสสนะ ก็ยังมีเสื่อมได้
อย่าคิดว่าตนบรรลุสูงสุดแล้วประมาท ไปยกตนข่มผู้อื่น
อวดคุณวิเศษ ไม่ได้บำเพ็ญเพียรต่อไปเพื่อความสิ้นไปแห่งกิเลสโดยสิ้นเชิง

ความคิดเห็นที่ 9-61
ฐานาฐานะ, 20 เมษายน เวลา 08:37 น.

GravityOfLove, 16 นาทีที่แล้ว
ขอบพระคุณค่ะ
             ตอบคำถามในพระสูตรชื่อว่า มหาสาโรปมสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=6309&Z=6504

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง?
             ๑. ลาภ สักการะ และความสรรเสริญ เปรียบเหมือน กิ่งและใบ
             ศีลและกัลยาณธรม เปรียบเหมือน สะเก็ด
             ความสมบูรณ์แห่งสมาธิ เปรียบเหมือน เปลือก
             ญาณทัสสนะ เปรียบเหมือน กระพี้
             เจโตวิมุติ เปรียบเหมือน แก่น
ขยายความ :-
             คำว่า เจโตวิมุติ ต้องเติมคำว่า เจโตวิมุติอันไม่กำเริบ เพราะเหตุว่า
คำว่า เจโตวิมุติ เป็นคำกลางๆ ใช้ได้ทั้งโลกิยะและโลกุตตระ เช่น สมาบัติ 8
ของปุถุชนก็ตาม หรือเมตตาพรหมวิหารระดับฌานสมาบัติก็เรียกว่า เจโตวิมุติ
เหมือนกัน เช่น คำว่า เมตตาเจโตวิมุติ
              คำว่า เมตตาเจโตวิมุติ
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/tipitaka_seek.php?text=เมตตาเจโตวิมุต
              คำว่า เจโตวิมุตติ
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=เจโตวิมุตติ&detail=on&original=1

             ดังนั้นจึงต้องเติมคำว่า อันไม่กำเริบ เพื่อระบุให้แน่ชัดว่า เป็นโลกุตตระ

             ๒. อสมยวิโมกข์หรือเจโตวิมุติ จะไม่เสื่อมอีก
             อสมยวิโมกข์ คือ อริยมรรค ๔, อริยผล (สามัญญผล) ๔, และนิพพาน ๑
             สมยวิโมกข์ คือ สมาบัติที่เป็นโลกียะ คือ รูปาวจรสมาบัติ ๔
และอรูปาวจรสมาบัติ ๔ ซึ่งเสื่อมได้
ขยายความ :-
             ๒. อสมยวิโมกข์หรือเจโตวิมุติอันไม่กำเริบ จะไม่เสื่อมอีก

             ๓. พระเทวทัตเมื่อบวชแล้วเกิดลาภสักการะและความสรรเสริญ
ได้ญาณทัสสนะแล้วมีความยินดี มัวเมา ประมาท
             คิดว่าตนถึงที่สุด (แก่น) แห่งพรหมจรรย์แล้ว
ความจริงแล้วอภิญญาเป็นกระพี้ ไม่ใช่แก่น
--------------------------------------------------------
             2. คำว่า มีความดำริเต็มเปี่ยม ภาษาสมัยใหม่ใช้คำว่า อะไร?
             สมหวังเต็มที่
             ใช่เลย
ขยายความ :-
             รับทราบหนอ.
             เติมเต็ม , fulfill
--------------------------------------------------------
             3. ขอให้อธิบายคำว่า ปีศาจคลุกฝุ่น อย่างสั้นๆ แต่ชัดเจน.
             ปีศาจระดับต่ำ ไม่ค่อยมีฤทธิ์อะไร ไม่อยู่ในสายตา
ขยายความ :-
             พวกโอปปาติกะที่มีอานุภาพน้อย.
--------------------------------------------------------
             4. ประเด็นของการยกตนข่มผู้อื่น ในแต่ละวาระนั้น
คุณ GravityOfLove สามารถนำมาปรับในการพิจารณาตนเองหรือผู้อื่น
ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร?
             ตัวเราเองก็อยู่ในขั้นตอนการปรับปรุงตัวเอง ขั้นตอนการขัดเกลากิเลส
             ลาภสักการะที่ได้มา ก็ไม่ใช่อะไรเลย เมื่อได้มาก็ย่อมเสื่อมไป
ไม่ใช่ของเราอย่างแท้จริง (ไตรลักษณ์)
             ความมีศีล มีกัลยณธรรม ก็ไม่ใช่ว่าเราทำถึงที่สุดแล้ว
ไม่ใช่ว่าเราดีกว่าคนอื่นแล้ว จึงไม่ควรนำไปยกตนข่มผู้อื่น
             ความสมบูรณ์ของสมาธิ ญาณทัสสนะ ก็ยังมีเสื่อมได้
อย่าคิดว่าตนบรรลุสูงสุดแล้วประมาท ไปยกตนข่มผู้อื่น
อวดคุณวิเศษ ไม่ได้บำเพ็ญเพียรต่อไปเพื่อความสิ้นไปแห่งกิเลสโดยสิ้นเชิง
7:39 AM 4/20/2013

ขยายความ :-
             ประเด็นของการได้หรือบรรลุในระหว่างคั่นนั้น เมื่อบรรลุแล้ว
อย่าหยุดอยู่แต่เพียงเท่านั้น และอย่ายกตนข่มผู้อื่นในเรื่องนั้น เพราะยกตนข่มผู้อื่น
เป็นอกุศลธรรม การหยุดอยู่เพียงเท่านั้นเป็นความประมาท อันเป็นทางเสื่อม.

             พระพุทธพจน์ :-
             [๔๐๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวทัตมีจิตอันอสัทธรรม ๓ ประการ
ครอบงำ ย่ำยี จักเกิดในอบาย ตกนรก ตั้งอยู่ตลอดกัป ช่วยเหลือไม่ได้
             อสัทธรรม ๓ ประการ เป็นไฉน คือ:-
              ๑. ความปรารถนาลามก
              ๒. ความมีมิตรชั่ว
              ๓. พอบรรลุคุณวิเศษเพียงขั้นต่ำ ก็เลิกเสีย ในระหว่าง
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวทัตมีจิตอันอสัทธรรม ๓ ประการนี้แล ครอบงำ
ย่ำยี จักเกิดในอบาย ตกนรก ตั้งอยู่ตลอดกัป ช่วยเหลือไม่ได้
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=7&A=3988&w=อสัทธรรม

ความคิดเห็นที่ 9-62
ฐานาฐานะ, 20 เมษายน เวลา 08:43 น.  

             คำถามชุดที่ 2 ในพระสูตรชื่อว่า มหาสาโรปมสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=6309&Z=6504

             การยกตน ข่มผู้อื่น ได้เคยศึกษามาแล้วในพระสูตรใด?

ความคิดเห็นที่ 9-63
GravityOfLove, 20 เมษายน เวลา 10:34 น.

             ตอบคำถามชุดที่ 2 ในพระสูตรชื่อว่า มหาสาโรปมสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=6309&Z=6504

             การยกตน ข่มผู้อื่น ได้เคยศึกษามาแล้วในพระสูตรใด?
             ๓. สัปปุริสสูตร (๑๑๓)
             การที่บุคคลผู้มีตบะ ยกตนข่มผู้อื่นด้วยตบะนั้นบ้าง
ยกตนข่มผู้อื่นด้วยลาภสักการะและความสรรเสริญนั้นบ้าง
             ก็เป็นอุปกิเลสแก่บุคคลนั้นในฐานะนั้นๆ
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=14&A=2670&Z=2898
             กระทู้ที่ ๓
//topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2012/02/Y11736976/Y11736976.html#152
             กระทู้ที่ ๗
//topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2012/05/Y12106258/Y12106258.html#182

ความคิดเห็นที่ 9-64
ฐานาฐานะ, 20 เมษายน เวลา 18:48 น.

GravityOfLove, 8 ชั่วโมงที่แล้ว
             ตอบคำถามชุดที่ 2 ในพระสูตรชื่อว่า มหาสาโรปมสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=6309&Z=6504
10:34 AM 4/20/2013
             สัปปุริสสูตร ถูกต้องครับ.
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=14&A=2670&Z=2898

ความคิดเห็นที่ 9-65
ฐานาฐานะ, 20 เมษายน เวลา 19:27 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า มหาสาโรปมสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=6309&Z=6504

             พระสูตรหลักถัดไป คือจูฬสาโรปมสูตรและจูฬโคสิงคสาลสูตร.
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔
             มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
             จูฬสาโรปมสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=6505&Z=6695
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=353

             จูฬโคสิงคสาลสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=6696&Z=6876
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=361

             มหาโคสิงคสาลสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=6877&Z=7105
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=369

             มหาโคปาลสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=7106&Z=7246
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=383

ความคิดเห็นที่ 9-66
GravityOfLove, 20 เมษายน เวลา 20:04 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
             ๓. โอปัมมวรรค          
             ๑๐. จูฬสาโรปมสูตร อุปมานักบวชกับผู้แสวงหาแก่นไม้
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=6505&Z=6695&bgc=floralwhite&pagebreak=0

             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่าน
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี
             ครั้งนั้น พราหมณ์ชื่อปิงคลโกจฉะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคกราบทูลถามว่า
             สมณพราหมณ์พวกนี้ เป็นเจ้าหมู่ เจ้าคณะ เป็นคณาจารย์ มีชื่อเสียง มียศ
เป็นเจ้าลัทธิ ชนเป็นจำนวนมากถือว่าเป็นคนดี คือ
             ปูรณกัสสป มักขลิโคสาล อชิตเกสกัมพล ปกุธกัจจายนะ สัญชัยเวลัฏฐบุตร
และนิครนถ์นาฏบุตร
             พวกนั้นทั้งหมดรู้ยิ่งตามปฏิญญาิ (คำมั่น) ของตนๆ หรือทุกคนไม่รู้ยิ่งเลย
หรือว่าบางพวกรู้ยิ่ง บางพวกไม่รู้ยิ่ง?
             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
             คำถามนั้นจงงดไว้เถิด (เพราะไม่มีประโยชน์) เราจะแสดงธรรมแก่ท่าน

             เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีความต้องการแก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้ เที่ยวเสาะหาแก่นไม้อยู่
             เมื่อเจอต้นไม้ กลับละเลยแก่น กระพี้ เปลือก และสะเก็ดไปเสีย ตัดเอากิ่งและใบถือไป
เพราะเข้าใจว่าเป็นแก่น
             บุรุษผู้มีตาดีเห็นอย่างนี้แล้ว ก็กล่าวว่า
             บุรุษผู้นี้ไม่รู้จักแก่น กระพี้ เปลือก สะเก็ด กิ่งและใบ
             ดังนั้น กิจที่จะต้องทำด้วยแก่นก็ไม่สำเร็จ
             หรืออีกอย่างหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีความต้องการแก่นไม้ ... ถากเอาสะเก็ดถือไป ... .
             หรืออีกอย่างหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีความต้องการแก่นไม้ ... ถากเอาเปลือกถือไป ...
             หรืออีกอย่างหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีความต้องการแก่นไม้ ... ถากเอากระพี้ถือไป ...
             หรืออีกอย่างหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีความต้องการแก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้
เที่ยวเสาะหาแก่นไม้อยู่
             เมื่อเจอต้นไม้ ตัดเอาแก่นนั้นแหละถือไป รู้อยู่ว่าแก่น
             บุรุษผู้มีตาดีเห็นดังนั้นแล้ว ก็กล่าวว่า บุรุษผู้นี้รู้จักแก่น กระพี้ เปลือก สะเก็ด กิ่งและใบ
             กิจที่จะต้องทำด้วยแก่นก็สำเร็จ ฉันใด

             ฉันนั้นเหมือนกัน คือ คนบางคนในโลกนี้ มีศรัทธา ออกบวช เพราะคิดว่า
             ตนเองถูกชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ท่วมทับแล้ว
ถูกความทุกข์ท่วมทับแล้ว มีความทุกข์อยู่เฉพาะหน้า
             ทำอย่างไรจึงจะกระทำที่สุดแ่ห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ได้
             ต่อมาเขาได้ลาภสักการะและความสรรเสริญ เขามีความยินดี มีความสมหวัง
             เขาย่อมยกตน ข่มผู้อื่นว่า เรามีลาภสักการะและความสรรเสริญ
ส่วนภิกษุอื่น มีคนรู้จักน้อย มีศักดาน้อย
             เขาไม่ยังฉันทะให้เกิด ไม่พยายาม เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมเหล่าอื่น
อันยิ่งกว่าและประณีตกว่าลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น
             ทั้งเป็นผู้มีความประพฤติย่อหย่อน ท้อถอย
             เปรียบเหมือนบุรุษที่มีความต้องการแก่นไม้ ตัดเอากิ่งและใบถือไปเพราะเข้าใจว่าเป็นแก่น

             คนบางคนในโลกนี้ มีศรัทธา ... กองทุกข์ทั้งมวลนี้ได้
             ต่อมาเขาได้ลาภสักการะและความสรรเสริญ เขาไม่มีความยินดี
ยังไม่สมหวังด้วยลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น
             เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น
             เขายังฉันทะให้เกิด ... ไม่ย่อหย่อน ไม่ท้อถอย
             เขาย่อมยังความถึงพร้อมแห่งศีลให้สำเร็จ เขามีความยินดี มีความสมหวัง
             เขาย่อมยกตนข่มผู้อื่นว่า เรามีศีล มีกัลยาณธรรม ส่วนภิกษุอื่นเป็นผู้ทุศีล มีบาปธรรม
             เขาไม่ยังฉันทะให้เกิด ... ย่อหย่อน ท้อถอย
             เปรียบเหมือนบุรุษที่มีความต้องการแก่นไม้ ... ถากเอาสะเก็ดถือไปเพราะเข้าใจว่าเป็นแก่น

             คนบางคนในโลกนี้ มีศรัทธา ... กองทุกข์ทั้งมวลนี้ได้
             ต่อมาเขาได้ลาภสักการะและความสรรเสริญ เขาไม่มีความยินดี
ยังไม่สมหวังด้วยลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น
             เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น
             เขายังฉันทะให้เกิด เขาย่อมยังความถึงพร้อมแห่งศีลให้สำเร็จ
             เขามีความยินดี แต่ยังไม่สมหวัง เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น
             เขายังฉันทะให้เกิด ... ไม่ย่อหย่อน ไม่ท้อถอย
             เขาย่อมยังความถึงพร้อมแห่งสมาธิให้สำเร็จ เขามีความยินดี มีความสมหวัง
             เขาย่อมยกตนข่มผู้อื่นว่า เรามีจิตตั้งมั่น มีจิตมีอารมณ์เป็นอันเดียว
ส่วนภิกษุอื่น มีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิตหมุนไปผิดแล้ว
             เขาไม่ยังฉันทะให้เกิด ... ย่อหย่อน ท้อถอย
             เปรียบเหมือนบุรุษที่มีความต้องการแก่นไม้ ... ถากเอาเปลือกถือไปเพราะคิดว่าเป็นแก่น

            คนบางคนในโลกนี้ มีศรัทธา ... กองทุกข์ทั้งมวลนี้ได้
             ต่อมาเขาได้ลาภสักการะและความสรรเสริญ เขาไม่มีความยินดี
ยังไม่สมหวังด้วยลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น
             เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น
             เขายังฉันทะให้เกิด ... ไม่ย่อหย่อน ไม่ท้อถอย
             เขาย่อมยังความถึงพร้อมแห่งศีลให้สำเร็จ เขามีความยินดี แต่ยังไม่สมหวัง
             เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น
             เขายังฉันทะให้เกิด ... ไม่ย่อหย่อน ไม่ท้อถอย
             เขาย่อมยังความถึงพร้อมแห่งสมาธิให้สำเร็จ เขามีความยินดี แต่ยังไม่สมหวัง
             เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น
             เขายังฉันทะให้เกิด ... ไม่ย่อหย่อน ไม่ท้อถอย
             เขาย่อมยังญาณทัสสนะให้สำเร็จ เขามีความยินดี มีความสมหวัง
             เขาย่อมยกตนข่มผู้อื่นว่า เรารู้เราเห็น ส่วนภิกษุอื่น ไม่รู้ไม่เห็นอยู่
             เขาไม่ยังฉันทะให้เกิด ... ย่อหย่อน ท้อถอย
             เปรียบเหมือนบุรุษที่มีความต้องการแก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้ ...  ถากเอากระพี้ถือไปเพราะ
คิดว่าเป็นแก่น

             คนบางคนในโลกนี้ มีศรัทธา ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตด้วยคิดว่า
             เราเป็นผู้อันชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ท่วมทับแล้ว
ถูกความทุกข์ท่วมทับแล้ว มีความทุกข์อยู่เฉพาะหน้า
             ทำอย่างไรจะกระทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้
             ต่อมาเขาได้ลาภสักการะและความสรรเสริญ เขาไม่มีความยินดี ยังไม่สมหวัง
             เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น
             เขายังฉันทะให้เกิด พยายาม เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมเหล่าอื่นอันยิ่งกว่า
และประณีตกว่าลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น
             ทั้งเป็นผู้มีความประพฤติไม่ย่อหย่อน ไม่ท้อถอย
             เขาย่อมยังความถึงพร้อมแห่งศีลให้สำเร็จ เขามีความยินดี แต่ยังไม่สมหวัง
             เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น
             เขายังฉันทะให้เกิด ... ไม่ย่อหย่อน ไม่ท้อถอย
             เขาย่อมยังความถึงพร้อมแห่งสมาธิให้สำเร็จ เขามีความยินดี แต่ยังไม่สมหวัง
             เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น
             เขายังฉันทะให้เกิด ... ไม่ย่อหย่อน ไม่ท้อถอย
             เขาย่อมยังญาณทัสสนะให้สำเร็จ เขามีความยินดี แต่ยังไม่สมหวัง
             เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น
             เขายังฉันทะให้เกิด พยายาม เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมเหล่าอื่นยิ่งกว่าและประณีตกว่า
             ทั้งเป็นผู้มีความประพฤติไม่ย่อหย่อน ไม่ท้อถอย
             ธรรมที่ยิ่งกว่าและประณีตกว่าญาณทัสสนะ คือ
             รูปฌาน ๔ อรูปฌาณ ๔ สัญญาเวทยิตนิโรธ แต่ละขั้น
             เปรียบเหมือนบุรุษที่มีความต้องการแก่น แสวงหาแก่น เที่ยวเสาะหาแก่นอยู่
             เมื่อเจอต้นไม้ก็ตัดเอาแก่นถือไป เพราะรู้ว่าเป็นแก่น กิจที่จะต้องทำด้วยแก่นย่อมสำเร็จ
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อนุบุพพวิหาร_9

             พรหมจรรย์จึงไม่ใช่มีลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นอานิสงส์
             ไม่ใช่มีความถึงพร้อมแห่งศีลเป็นอานิสงส์
             ไม่ใช่มีความถึงพร้อมสมาธิเป็นอานิสงส์
             ไม่ใช่มีญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์
             พรหมจรรย์นี้มีเจโตวิมุติอันไม่กำเริบ เป็นประโยชน์ เป็นแก่น เป็นที่สุด
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=เจโตวิมุตติ

             เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว
             ปิงคลโกจฉพราหมณ์ได้กราบทูลขอถึงไตรสรณะตลอดชีวิต

[แก้ไขตาม 9-81]

ความคิดเห็นที่ 9-67
ฐานาฐานะ, 20 เมษายน เวลา 20:10 น.

             ย่อความพระสูตรชื่อว่า จูฬสาโรปมสูตร
             รอสักหน่อยก่อนครับ.
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=6505&Z=6695

ความคิดเห็นที่ 9-68
GravityOfLove, 20 เมษายน เวลา 22:47 น.

             กรุณาอธิบายค่ะ
             ท่านกล่าวคำอธิบายไว้ว่า ถ้าปฏิญญานั้นของพวกเขาเป็นนิยานิกะไซร้ เขาทั้งหมดก็รู้
             ถ้าไม่เป็นนิยานิกะไซร้ พวกเขาก็ไม่รู้
             เพราะฉะนั้น ความของปัญหานั้นจึงมีดังนี้ว่า ปฏิญญาของพวกเขาเป็นนิยานิกะหรือเป็นอนิยานิกะ.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=353

ย้ายไปที่



Create Date : 26 เมษายน 2556
Last Update : 21 มิถุนายน 2557 12:23:33 น.
Counter : 631 Pageviews.

0 comments
:: ถนนสายนี้มีตะพาบ โครงการที่ 349 :: กะว่าก๋า
(8 เม.ย. 2567 05:48:36 น.)
: หยดน้ำในมหาสมุทร 30 : กะว่าก๋า
(7 เม.ย. 2567 05:51:28 น.)
การคัดลอก ปัญญา Dh
(1 เม.ย. 2567 20:37:21 น.)
: หยดน้ำในมหาสมุทร 22 : กะว่าก๋า
(31 มี.ค. 2567 05:54:58 น.)

Gravity-of-love.BlogGang.com

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]

บทความทั้งหมด