15.7 พระสูตรหลักถัดไป คือจูฬหัตถิปโทปมสูตรและมหาหัตถิปโทปมสูตร.
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
15.6 พระสูตรหลักถัดไป คือจูฬหัตถิปโทปมสูตรและมหาหัตถิปโทปมสูตร
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=26-04-2013&group=1&gblog=34
ความคิดเห็นที่ 9-69
ฐานาฐานะ, 20 เมษายน เวลา 23:05 น.

GravityOfLove, 3 นาทีที่แล้ว
             กรุณาอธิบายค่ะ
             ท่านกล่าวคำอธิบายไว้ว่า ถ้าปฏิญญานั้นของพวกเขาเป็นนิยานิกะไซร้ เขาทั้งหมดก็รู้
             ถ้าไม่เป็นนิยานิกะไซร้ พวกเขาก็ไม่รู้
             เพราะฉะนั้น ความของปัญหานั้นจึงมีดังนี้ว่า ปฏิญญาของพวกเขาเป็นนิยานิกะหรือเป็นอนิยานิกะ.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=353

             คำว่า นิยานิกะ เป็นคำที่มีความหมายไปทางโลกุตตระ
คือเป็นเครื่องนำสัตว์ออกไปจากกองทุกข์ โดยไม่เวียนมาทุกข์อีก
             ถ้าปฏิญญานั้นของพวกเขาเป็นนิยานิกะไซร้
             คือ ถ้าปฏิญญานั้นของใครๆ เป็นอย่างผู้บรรลุมรรคผล
การปฏิญญา เป็นอันเขารู้ กล่าวคือพระอริยบุคคลไม่พูดเท็จ
คือเมื่อไม่รู้ ไม่กล่าวว่ารู้ ส่วนการปฏิญญาของปุถุชนนั้น
ย่อมเป็นเท็จได้ เพราะปุถุชนกล่าวเท็จได้ กล่าวมุสาได้.
             ดังนั้น การปฏิญญาของใครๆ ก็พิจารณาว่า
ผู้นั้นบรรลุมรรคผลนิพพานหรือไม่ เป็นข้อสำคัญ.

             คำว่า นิยยานิกะ
แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 2
นิยยานิกะ เป็นเครื่องนำสัตว์ออกไปจากกองทุกข์
แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 2
สวากขาตนิยยานิกธรรม ธรรมที่พระพุทธเจ้ากล่าวดีแล้ว นำผู้ประพฤติตามให้ออกไปจากทุกข์
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=นิยย&original=1

ความคิดเห็นที่ 9-70
GravityOfLove, 20 เมษายน เวลา 23:11 น.

ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 9-71
GravityOfLove, 21 เมษายน เวลา 23:18 น.

             คำว่า สังขารขันธ์ ควรเข้าใจว่า นามธรรมที่รู้อารมณ์
ที่ไม่ใช่วิญญาณขันธ์ ไม่ใช่เวทนาขันธ์ ไม่ใช่สัญญาขันธ์
//topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2011/12/Y11442477/Y11442477.html#41

             เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์
ต่างก็เป็นนามธรรมที่รู้อารมณ์หรือคะ

ความคิดเห็นที่ 9-72
ฐานาฐานะ, 21 เมษายน เวลา 23:22 น.

             ถูกต้องครับ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์
ต่างก็เป็นนามธรรมที่รู้อารมณ์
             ทำไมถึงยกคำถามนี้มาถาม?

ความคิดเห็นที่ 9-73
GravityOfLove, 21 เมษายน เวลา 23:33 น.

เพราะอ่านทวนกระทู้เก่าอยู่ค่ะ

ความคิดเห็นที่ 9-74
ฐานาฐานะ, 21 เมษายน เวลา 23:43 น.  

             สื่อว่า ผมช้า ใช่ไหมหนอ?

ความคิดเห็นที่ 9-75
GravityOfLove, 21 เมษายน เวลา 23:46 น.

จบพระสูตรที่ ๕๐ แล้วน่ะค่ะ ยังไม่อยากไปต่อ

ความคิดเห็นที่ 9-76
ฐานาฐานะ, 21 เมษายน เวลา 23:49 น.  

             รับทราบครับ สักพักจะอ่านเพื่อตรวจย่อความ
จบพระสูตรนี้แล้ว (จบวรรค) จะขึ้นกระทู้ใหม่เลย.

ความคิดเห็นที่ 9-77
GravityOfLove, วันจันทร์ เวลา 01:02 น.

             การอุปมาต่างๆ นั้น มีอุปมาหลากอย่าง เช่น
             การรู้อารมณ์โดยปัญญา (สังขารขันธ์), สัญญา (สัญญาขันธ์)
และวิญญาณ (วิญญาณขันธ์).
             อุปมาเหมือนการดูเหรียญกษาปณ์ของบุคคล 3 คน
ในอรรถกถามหาเวทัลลสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=493&p=1

             ตอนนั้น Gravity ตอบไปดังนี้ว่า
เด็กที่ยังไม่มีความรู้มองแล้วรู้แต่ว่าเป็นวงกลม...วิญญาณ
ชายชาวบ้านรู้่ว่าเป็นเงินใช้ซื้อของได้...สัญญา
เหรัญญิกใหญ่รู้ว่านี่เงินแท้หรือเงินปลอม...สังขาร (ปัญญา สำคัญกว่าสัญญา วิณณาณ)
//topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2011/12/Y11442477/Y11442477.html#42

             วันก่อนๆ ได้อ่านมหาเวทัลลสูตร ได้จัดใหม่ดังนี้
เด็ก ... สัญญาเจตสิก  <== ความรู้จำก็เหมือนเด็กที่ยังไม่มีความรู้ดูกหาปณะ
ชายชาวบ้าน ... วิญญาณเจตสิก <== ความรู้แจ้งก็เหมือนชายชาวบ้านดูกหาปณะ
เหรัญญิก ... สังขารเจตสิก (ปัญญา)  <== ความรู้ชัดก็เหมือนเหรัญญิกใหญ่ดูกหาปณะ

             ถูกต้องหรือไม่คะ

ความคิดเห็นที่ 9-78
ฐานาฐานะ, วันจันทร์ เวลา 01:37 น.

             ข้อเทียบ สัญญาและวิญญาณนี้ ขอติดค้างเอาไว้ก่อน
เพราะเหตุว่า มีอรรถกถาหนึ่งแสดงตามนัยของคุณ GravityOfLove
             อรรถกถาขัชชนิยสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=158&p=1#เปรียบเทียบ

ความคิดเห็นที่ 9-79
ฐานาฐานะ, วันจันทร์ เวลา 01:48 น.

             เป็นอันว่า ถือเอาตามนัยใหม่ คือ
             เด็ก ... สัญญา
             ชายชาวบ้าน ... วิญญาณ
             เหรัญญิก ... ปัญญา

             อรรถกถาขัชชนิยสูตร [บางส่วน]
             เปรียบเทียบ             
             เปรียบเหมือน เมื่อเหรัญญิกนำกหาปณะมาทำเป็นกองไว้บนแผ่นกระดานของเหรัญญิก
เมื่อคน ๓ คนคือเด็กไร้เดียงสา ชาวบ้านธรรมดา (และ) เหรัญญิกผู้เชี่ยวชาญ ยืนมองดู
เด็กไร้เดียงสารู้แต่เพียงว่า กหาปณะทั้งหลายสวยงาม วิจิตร (มีลักษณะ) สี่เหลี่ยมและกลมเป็นต้น
(แต่) หารู้ไม่ว่า นี้เป็นรตนสมมติ ที่ใช้เป็นเครื่องอุปโภคบริโภคของมนุษย์ทั้งหลาย.
             ชาวบ้านธรรมดารู้ว่า กหาปณะทั้งหลายสวยงามเป็นต้น เป็นรตนสมมติที่เป็นเครื่องอุปโภค
และบริโภคของมนุษย์ทั้งหลายและรู้ว่าเป็นรตนสมมติที่เป็นเครื่องอุปโภคและบริโภคของมนุษย์ทั้งหลาย.
แต่หารู้ไม่ว่า นี้เป็นของปลอม นี้เป็นของแท้ นี้เนื้อไม่ดี นี้เนื้อดี.
             เหรัญญิกผู้เชี่ยวชาญย่อมรู้ว่า กหาปณะทั้งหลายสวยงามเป็นต้น ย่อมรู้ว่า กหาปณะทั้งหลาย
เรียกว่ารัตนะ ทั้งย่อมรู้ว่าเป็นของปลอมเป็นต้นด้วย. ก็แลเมื่อรู้ พอได้เห็นรูปบ้าง ได้ยินเสียง (เคาะ) บ้าง
ได้ดมกลิ่นบ้าง ได้ลิ้มรสบ้าง ใช้มือชั่งดูถึงความหนักเบาบ้าง ก็ทราบได้ (ทันที) ว่าทำที่หมู่บ้านโน้นบ้าง
ทราบว่าทำที่นิคมโน้น ที่เมืองโน้น ที่ร่มเงาภูเขาโน้น (และ) ที่ริมฝั่งแม่น้ำโน้นบ้าง ทราบว่าอาจารย์โน้น
ทำบ้างฉันใด
             (สัญญา วิญญาณ และปัญญา) ก็ฉันนั้นเหมือนกัน (คือ) สัญญาย่อมจำได้หมายรู้แต่เพียงอารมณ์
ว่าเป็นสีเขียวเป็นต้นเท่านั้น เปรียบเหมือนเด็กน้อยไร้เดียงสาเห็นกหาปณะฉะนั้น.
             วิญญาณย่อมรู้อารมณ์ว่าเป็นสีเขียวเป็นต้น ทั้งให้ถึงการแทงตลอดลักษณะว่าไม่เที่ยงเป็นต้น
เปรียบเหมือนชาวบ้านธรรมดาเห็นกหาปณะฉะนั้น.
             (ส่วน) ปัญญาย่อมรู้อารมณ์ว่า เป็นสีเขียวเป็นต้นด้วย ให้ถึงการแทงตลอดลักษณะว่าไม่เที่ยง
เป็นต้นด้วย ทั้งสามารถให้ก้าวไปถึงความปรากฏแห่งมรรคด้วย เปรียบเหมือนเหรัญญิกผู้ชำนาญ
เห็นกหาปณะฉะนั้น.
             ก็ความแตกต่างกัน (ดังกล่าวมา) นั้นของสัญญา วิญญาณและปัญญาเหล่านั้น แทงตลอด (เข้าใจ)
ได้ยาก เพราะเหตุนั้น ท่านพระนาคเสนจึงถวายพระพร (พระยามิลินท์) ว่า ขอถวายพระพรมหาบพิตร
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำสิ่งที่ทำได้ยาก.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=158&p=1#เปรียบเทียบ

ความคิดเห็นที่ 9-80
GravityOfLove, วันจันทร์ เวลา 01:52 น.

เข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 9-81
ฐานาฐานะ, วันจันทร์ เวลา 02:19 น.

GravityOfLove, วันเสาร์ เวลา 20:04 น.
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
             ๓. โอปัมมวรรค
             ๑๐. จูฬสาโรปมสูตร อุปมานักบวชกับผู้แสวงหาแก่นไม้
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=6505&Z=6695
8:03 PM 4/20/2013

             ย่อความได้ดี มีคำสะกดผิดดังนี้ :-

             หรืออีกอย่างหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีความต้องการแก่นไม้ ... ถากเอาสะเก็ดถือไป ... .
             หรืออีกอย่างหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีความต้องการแก่นไม้ ... ถากเอาเปลือกถือไป ...
             หรืออีกอย่างหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุณผู้มีความต้องการแก่น ... ถากเอากระพี้ถือไป ...

             ไม่ได้ใช้การคัดลอกหรือ?
             บุรุษ กลายเป็น บุรุณ , แก่นไม้ ... กลายเป็น แก่น ...
             ... . แก้ไขเป็น ...

             บุรุษผู้มีตาดีเห็นดังนั้นแล้ว ก็กล่าวว่า บุรุณผู้นี้รู้จักแก่น กระพี้ เปลือก สะเก็ด กิ่งและใบ
แก้ไขเป็น
             บุรุษผู้มีตาดีเห็นดังนั้นแล้ว ก็กล่าวว่า บุรุษผู้นี้รู้จักแก่น กระพี้ เปลือก สะเก็ด กิ่งและใบ

             ตนเองถูกชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทูกข์ โทมนัส อุปายาส ท่วมทับแล้ว
แก้ไขเป็น
             ตนเองถูกชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ท่วมทับแล้ว

             ทำอย่างไรจึงจะกระทำที่สุดแหงกองทุกข์ทั้งมวลนี้ได้
แก้ไขเป็น
             ทำอย่างไรจึงจะกระทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ได้

             เขาไม่ยังฉันทะให้เกิด ... ย่อหย่อย ท้อถอย
แก้ไขเป็น
             เขาไม่ยังฉันทะให้เกิด ... ย่อหย่อน ท้อถอย

ความคิดเห็นที่ 9-82
ฐานาฐานะ, วันจันทร์ เวลา 02:25 น.

             คำถามในพระสูตรชื่อว่า จูฬสาโรปมสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=6505&Z=6695

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง?
             2. คำถามของพราหมณ์ชื่อปิงคลโกจฉะ เคยได้พบจากที่ไหนมาก่อนหรือไม่
และในพระสูตรใด ใครเป็นผู้ทูลถาม?
             3. ลาภสักการะที่ได้จากการบวชนี้ เคยได้ศึกษาจากพระสูตรใดมาก่อนหรือไม่
และในพระสูตรใด?

ความคิดเห็นที่ 9-83
GravityOfLove, วันจันทร์ เวลา 09:22 น.

ขอบพระคุณค่ะ

ก๊อปปี้บ้าง พิมพ์เองบ้างค่ะ
------------------------------------
             ตอบคำถามในพระสูตรชื่อว่า จูฬสาโรปมสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=6505&Z=6695

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง?
             ๑. ลาภ สักการะ และความสรรเสริญ เปรียบเหมือน กิ่งและใบ
             ศีลและกัลยาณธรม เปรียบเหมือน สะเก็ด
             ความสมบูรณ์แห่งสมาธิ เปรียบเหมือน เปลือก
             ญาณทัสสนะ เปรียบเหมือน กระพี้
             เจโตวิมุติอันไม่กำเริบ เปรียบเหมือน แก่น

             ๒. ที่มาและที่มาของชื่อเจ้าลัทธิทั้ง ๖
------------------------------------
             2. คำถามของพราหมณ์ชื่อปิงคลโกจฉะ เคยได้พบจากที่ไหนมาก่อนหรือไม่
และในพระสูตรใด ใครเป็นผู้ทูลถาม?
             เคยพบในมหาปรินิพพานสูตร สุภัททปริพาชกทูลถาม

             ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์ได้บอกสุภัททปริพาชกว่า ไปเถิดสุภัททะ
พระผู้มีพระภาคทรงทำโอกาสแก่ท่าน สุภัททปริพาชกเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึง
ที่ประทับ ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้วได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัย
พอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่
พระโคดมผู้เจริญ สมณพราหมณ์เหล่านี้ใด เป็นเจ้าหมู่ เจ้าคณะ เป็นคณาจารย์
มีชื่อเสียง มียศ เป็นเจ้าลัทธิ ชนเป็นอันมาก สมมติว่าเป็นคนดี คือบูรณกัสสป
มักขลิโคสาล อชิตเกสกัมพล ปกุธกัจจายนะ สัญชัยเวลัฏฐบุตร นิครณฐนาฏบุตร
สมณพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ได้ตรัสรู้ตามปฏิญญาของตนๆ หรือว่าทั้งหมด
ไม่ได้ตรัสรู้ หรือว่าบางพวกไม่ได้ตรัสรู้ ฯ
             พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า อย่าเลย สุภัททะ ที่ข้อถามนั้นงดเสียเถิด
ดูกรสุภัททะ เราจักแสดงธรรมแก่ท่าน ท่านจงตั้งใจฟังธรรมนั้น จงใส่ใจให้ดี
เราจักกล่าว ...
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=10&A=1888&Z=3915&pagebreak=0
------------------------------------
             3. ลาภสักการะที่ได้จากการบวชนี้ เคยได้ศึกษาจากพระสูตรใดมาก่อนหรือไม่
และในพระสูตรใด?
             ธรรมทายาทสูตร
            [๒๑] พระผู้มีพระภาคตรัสพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเป็นธรรมทายาท
ของเราเถิด อย่าเป็นอามิสทายาทของเราเลย เรามีความเอ็นดูในพวกเธออยู่ว่า ทำอย่างไรหนอ
สาวกทั้งหลายของเราจะพึงเป็นธรรมทายาท จะไม่พึงเป็นอามิสทายาท ...
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=385&Z=516&pagebreak=0

             อรรถกถาธรรมทายาทสูตร
             ถามว่า ก็ธรรมทายาทสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกขึ้นแสดง เพราะมีเรื่องอะไรเกิดขึ้นเล่า?
             ตอบว่า เรื่องลาภสักการะ.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=20&p=1#เหตุเกิดพระสูตร

ย้ายไปที่



Create Date : 26 เมษายน 2556
Last Update : 23 มกราคม 2557 19:16:08 น.
Counter : 510 Pageviews.

0 comments
: กะว่าก๋าแนะนำหนังสือ - เจค็อบ คนทำขนมปัง : กะว่าก๋า
(22 เม.ย. 2568 05:19:12 น.)
: ความงดงามในวัยชรา : กะว่าก๋า
(20 เม.ย. 2568 04:55:06 น.)
เมื่ออยู่ในวัย"คุณน้า" กิจกรรมพักผ่อน คือไปดูพระอรหันตธาตุ,อัฐิธาตุพระอาจารย์ peaceplay
(19 เม.ย. 2568 23:20:46 น.)
จับ จอง บริหาร จัดการ ปัญญา Dh
(25 เม.ย. 2568 02:59:41 น.)

Gravity-of-love.BlogGang.com

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]

บทความทั้งหมด