13.12 พระสูตรหลักถัดไป คือมหาสีหนาทสูตรและมหาทุกขักขันธสูตร.
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
13.11  พระสูตรหลักถัดไป คือมหาสีหนาทสูตรและมหาทุกขักขันธสูตร.

ความคิดเห็นที่ 6-102
GravityOfLove, 1 มีนาคม เวลา 00:45 น.

             คำถาม เทฺวธาวิตักกสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=3953&Z=4098&bgc=aliceblue&pagebreak=0
             1. ทรงบรรลุรูปฌานที่ ๑ ถึง ๔ แล้วบรรลุวิชชา ๓
เห็นหลายครั้งแล้วค่ะ เพิ่งนึกถึง คือไม่มีกล่าวถึงอรูปฌาน ๔ หรือคะ ทรงบรรลุตอนไหนคะ

             2. มารผู้ใจบาป หมายถึงมารใดคะ
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=มาร_5

             อรรถกถา
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=251&bgc=aliceblue
             3. ดรุณวิปัสสนา แปลว่าอะไรคะ

             4. วิตกที่สลัดออกจากกามทั้งหลายแล้ว ประกอบพร้อมด้วยเนกขัมมะ ชื่อเนกขัมมวิตก. เนกขัมมวิตกนั้นย่อมควรถึงปฐมฌาน
วิตกที่ประกอบพร้อมด้วยความไม่ปองร้าย ชื่ออัพยาบาทวิตก. อัพยาบาทวิตกนั้นย่อมควรตั้งแต่เมตตาบุรพภาคจนถึงปฐมฌาน
วิตกที่ประกอบพร้อมด้วยความไม่เบียดเบียน ชื่ออวิหิงสาวิตก. อวิหิงสาวิตกนั้นย่อมควรตั้งแต่กรุณาบุรพภาคจนถึงปฐมฌาน

             5. บทว่า ปญฺญานิโรธิโก ความว่า ย่อมไม่ให้เพื่อเกิดขึ้นแห่งปัญญาอันเป็นโลกิยะและโลกุตตระ ที่ยังไม่เกิดขึ้นแล้ว.
ก็วิตกตัดโลกิยปัญญาแม้เกิดขึ้นแล้วด้วยอำนาจแห่งสมาบัติแปดและอภิญญาห้า ให้สิ้นไป เพราะฉะนั้น จึงทำให้ปัญญาดับ.

ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 6-103
ฐานาฐานะ, 2 มีนาคม เวลา 02:23 น.

GravityOfLove, 17 ชั่วโมงที่แล้ว
             คำถาม เทฺวธาวิตักกสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=3953&Z=4098&bgc=aliceblue&pagebreak=0
             1. ทรงบรรลุรูปฌานที่ ๑ ถึง ๔ แล้วบรรลุวิชชา ๓ เห็นหลายครั้งแล้วค่ะ
เพิ่งนึกถึง คือไม่มีกล่าวถึงอรูปฌาน ๔ หรือคะ ทรงบรรลุตอนไหนคะ
             ตอบว่า พระโพธิสัตว์บรรลุอรูปฌาน ๔ ตั้งแต่สมัยที่ทรงเข้าไปหาอาฬารดาบส
และอุทกดาบสแล้ว ทรงแสดงไว้ในโพธิราชกุมารสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=13&A=7663&Z=8236
             สันนิษฐานว่า ที่ไม่มีการกล่าวถึงนั้น น่าจะเป็นเพราะในคืนตรัสรู้นั้น
ทรงเข้าเพียงจตุตถฌานเท่านั้น.

             2. มารผู้ใจบาป หมายถึงมารใดคะ
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=มาร_5
             อรรถกถา
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=251&bgc=aliceblue
             ตอบว่า น่าจะหมายถึง เทวปุตตมาร เพราะ
             1. นัยของอุปมามี 2 บุคคล ดังนี้ว่า
             คำว่า บุรุษผู้ปรารถนาความพินาศ ประสงค์ความไม่เกื้อกูล จำนงความไม่ปลอดภัย นี้เป็นชื่อของตัวมารผู้มีบาป
             คำว่า บุรุษคนที่ปรารถนาประโยชน์ หวังความเกื้อกูล หวังความปลอดภัย [แก่เนื้อเหล่านั้น] นี้หมายเอาตถาคต อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
             2. เทวปุตตมาร ชอบกลั่นแกล้งพระภิกษุบ่อยๆ เพื่อให้เคลื่อนจากความเพียรเป็นต้น
             เช่น ในปัตตสูตรที่ ๖ ในมารสังยุตต์
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=15&A=3633&Z=3660
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/tipitaka_seek.php?text=มารผู้มีบาป

             3. ดรุณวิปัสสนา แปลว่าอะไรคะ
             ขอบพระคุณค่ะ
12:45 AM 3/1/2013
             ตอบว่า ดรุณวิปัสสนา แปลว่า วิปัสสนาอย่างอ่อน.
             ด้วยเหตุเพียงเท่านี้เป็นอันทรงแสดงวิปัสสนาภูมิ อันมีตรุณวิปัสสนา (วิปัสสนาอย่างอ่อน) เป็นที่สุด.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=227&p=1

            4. วิตกที่สลัดออกจากกามทั้งหลายแล้ว ประกอบพร้อมด้วยเนกขัมมะ ชื่อเนกขัมมวิตก. เนกขัมมวิตกนั้นย่อมควรถึงปฐมฌาน
วิตกที่ประกอบพร้อมด้วยความไม่ปองร้าย ชื่ออัพยาบาทวิตก. อัพยาบาทวิตกนั้นย่อมควรตั้งแต่เมตตาบุรพภาคจนถึงปฐมฌาน
วิตกที่ประกอบพร้อมด้วยความไม่เบียดเบียน ชื่ออวิหิงสาวิตก. อวิหิงสาวิตกนั้นย่อมควรตั้งแต่กรุณาบุรพภาคจนถึงปฐมฌาน
             สันนิษฐานว่า
             เนกขัมมวิตก เป็นการสลัดออกจากกาม นับตั้งแต่เริ่มจนถึงปฐมฌาน (เพราะปฐมฌาน สงัดจากกาม)
             อัพยาบาทวิตก เป็นการสลัดออกจากพยาบาท นับตั้งแต่เริ่ม (เบื้องต้นของเมตตา) จนถึงปฐมฌาน (เพราะปฐมฌาน สงัดจากอกุศลธรรม)
             อวิหิงสาวิตก เป็นการสลัดออกจากการเบียดเบียน นับตั้งแต่เริ่ม (เบื้องต้นของกรุณา) จนถึงปฐมฌาน (เพราะปฐมฌาน สงัดจากอกุศลธรรม)

             5. บทว่า ปญฺญานิโรธิโก ความว่า ย่อมไม่ให้เพื่อเกิดขึ้นแห่งปัญญาอันเป็นโลกิยะและโลกุตตระ ที่ยังไม่เกิดขึ้นแล้ว.
ก็วิตกตัดโลกิยปัญญาแม้เกิดขึ้นแล้วด้วยอำนาจแห่งสมาบัติแปดและอภิญญาห้า ให้สิ้นไป เพราะฉะนั้น จึงทำให้ปัญญาดับ.
ขอบพระคุณค่ะ
9:19 AM 3/1/2013
             อธิบายว่า ปญฺญานิโรธิโก แปลว่า ดับปัญญา คือทำให้ปัญญาที่เคยมีก็เสื่อมไป เช่น ปัญญาในฌาน (การเข้าออกฌาน)
หรือปัญญาในการแสดงฤทธิ์เป็นต้น และทำให้ปัญญาที่ยังไม่เกิด ไม่เกิดขึ้น จึงกล่าวว่า ดับปัญญา.

ความคิดเห็นที่ 6-104
GravityOfLove, 2 มีนาคม เวลา 10:32 น.

ขอบพระคุณค่ะ
ข้อ 5 โลกิยปัญญา สามารถดับได้ แต่โลกุตตรปัญญา เมื่อเิกิดขึ้นแล้วไม่มีเสื่อม ใช่ไหมคะ

ความคิดเห็นที่ 6-105
ฐานาฐานะ, 2 มีนาคม เวลา 10:45 น.  

            ถูกต้องครับ แต่โลกุตตรปัญญา เมื่อเกิดขึ้นแล้วไม่มีเสื่อม.

ความคิดเห็นที่ 6-106
GravityOfLove, 2 มีนาคม เวลา 10:38 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
             ๒. สีหนาทวรรค          
             ๙. เทฺวธาวิตักกสูตร ว่าด้วยความวิตก ๒ ส่วน
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=3953&Z=4098&bgc=aliceblue&pagebreak=0

             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี
เขตพระนครสาวัตถี
             ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
             เมื่อตอนที่พระองค์ทรงเป็นพระโพธิสัตว์ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ได้มีพระดำริว่า
เราควรจัดวิตกออกเป็น ๒ ประเภท คือ
             ๑. วิตกฝ่ายอกุศล ได้แก่ กามวิตก พยาบาทวิตก และวิหิงสาวิตก
             ๒. วิตกฝ่ายกุศล ได้แก่ เนกขัมมวิตก อัพยาบาทวิตก และอวิหิงสาวิตก
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=วิตก_3

             พระองค์ทรงไม่ประมาท เมื่อกามวิตกเกิดขึ้น ก็ทรงทราบชัดว่า กามวิตกเกิดขึ้น
             ทรงทราบว่ากามวิตกที่เกิดขึ้นเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง เบียดเบียนผู้อื่นบ้าง
เบียดเบียนตนและผู้อื่นบ้าง
             อันทำให้ปัญญาดับ ก่อให้เกิดความคับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อพระนิพพาน
             เมื่อพระองค์ทรงพิจารณาเห็นอยู่อย่างนี้ กามวิตกก็ถึงความดับสูญไป พระองค์ทรงละ
บรรเทา กามวิตกที่เกิดขึ้นให้หมดสิ้นไป
             พระองค์ทรงไม่ประมาท เมื่อพยาบาทวิตกเกิดขึ้น ...
             พระองค์ทรงไม่ประมาท เมื่อวิหิงสาวิตกเกิดขึ้น ...

             ภิกษุยิ่งตรึก ยิ่งตรองถึงวิตกใดๆ มาก ก็มีใจน้อมไปข้างวิตกนั้นๆ
             คือ ถ้ายิ่งตรึก ยิ่งตรองถึงกามวิตกมาก ก็ละทิ้งเนกขัมมวิตกเสีย มากระทำอยู่แต่กามวิตกให้มาก
จิตนั้นก็น้อมไปเพื่อกามวิตก
             ถ้ายิ่งตรึก ยิ่งตรองถึงพยาบาทวิตกมาก ก็ละทิ้งอัพยาบาทวิตกเสีย ...
             ถ้ายิ่งตรึก ยิ่งตรองถึงวิหิงสาวิตกมาก ก็ละทิ้งอวิหิงสาวิตกเสีย ...

             เหมือนคนเลี้ยงโคต้องคอยระวังโคทั้งหลายไม่ให้ไปเหยีบบย่ำนา ต้องตี ต้อน กั้น
ห้ามโค เพราะเขาทราบว่าเขาต้องเสียหายเพราะโคทั้งหลายเป็นเหตุ ฉันใด
             พระองค์ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ทรงมองเห็นโทษ ความเลวทราม ความเศร้าหมองของ
อกุศลธรรมทั้งหลาย และเห็นอานิสงส์ในการออกจากกาม
             เนกขัมมวิตกย่อมบังเกิดขึ้น ทรงทราบชัดว่าเนกขัมมวิตกที่เกิดขึ้นนี้ ไม่เป็นไปเพื่อ
เบียดเบียนตน ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่น ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนทั้งสองฝ่าย
             อันทำให้ปัญญาเจริญ ไม่ทำให้เกิดความคับแค้น เป็นไปเพื่อพระนิพพาน
             ถ้าตรึกตรองถึงเนกขัมมวิตกนั้นอยู่ตลอดคืนก็ดี ตลอดทั้งกลางคืนและกลางวันก็ดี
ตลอดทั้งกลางคืนและกลางวันก็ดี ก็ยังทรงไม่มองเห็นภัยอันจะบังเกิดขึ้นจากเนกขัมมวิตกนั้นได้เลย
             แต่ว่าถ้าตรึกตรองอยู่นานเกินไป ร่างกายก็เหน็ดเหนื่อย เมื่อร่างกายเหน็ดเหนื่อย
จิตก็ฟุ้งซ่าน เมื่อจิตฟุ้งซ่าน จิตก็ห่างจากสมาธิ
             ทรงตั้งจิตไว้ในภายใน ทำให้สงบ ทำให้เกิดสมาธิ ประคองไว้ด้วยดี เพราะทรงปรารถนา
ไว้ว่า จิตของเราอย่าฟุ้งซ่านอีกเลย
             อัพยาบาทวิตกย่อมบังเกิดขึ้น ...
             อวิหิงสาวิตกย่อมบังเกิดขึ้น ...

             ภิกษุยิ่งตรึกยิ่งตรองถึงวิตกใดๆ มาก ก็จะมีใจน้อมไปข้างวิตกนั้นๆ มาก
             ถ้าภิกษุยิ่งตรึก ยิ่งตรองถึงเนกขัมมวิตกมาก เธอก็จะละกามวิตก ทำเนกขัมมวิตก
อย่างเดียวให้มาก จิตก็จะน้อมไปเพื่อเนกขัมมวิตก
            ... อัพยาบาทวิตก ...
            ... อวิหิงสาวิตก ...

             เหมือนในเดือนท้ายแห่งฤดูร้อน คนเลี้ยงโคจะต้องรักษาโคทั้งหลายในที่ใกล้บ้าน
ในทุกด้าน เมื่อเข้าไปสู่โคนต้นไม้ หรือไปสู่ที่แจ้ง จะต้องทำสติอยู่เสมอว่า นั้นฝูงโค [ของเรา]
ดังนี้ ฉันใด
             พระองค์ก็ฉันนั้น ต้องทำสติอยู่เสมอว่า เหล่านี้เป็นธรรม [คือกุศลวิตก]
             ทรงปรารภความเพียร มีสติมั่นคง มีกายสงบ มีจิตตั้งมั่น มีอารมณ์เป็นอันเดียว
สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน จนถึงจตุตถฌาน
             เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ทรงบรรลุ
ปุพเพนิวาสานุสติญาณในปฐมยาม ทรงบรรลุจุตูปปาตญาณในมัชฌิมยาม
ทรงบรรลุอาสวักขยญาณในปัจฉิมยาม
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ฌาน_4
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=วิชชา_3

             อุปมาเหมือนหมู่เนื้อจำนวนมาก (หมู่สัตว์ทั้งหลาย) พากันเข้าไปอาศัยบึงใหญ่
(กามคุณทั้งหลาย) ในป่าดงอยู่
             ยังมีบุรุษคนหนึ่ง (มารผู้มีบาป) ปรารถนาความพินาศ ประสงค์ความไม่เกื้อกูล
ใคร่ความไม่ปลอดภัยแก่หมู่เนื้อนั้น
             เขาปิดทางที่ปลอดภัย สะดวก ไปได้ตามชอบใจของหมู่เนื้อนั้นเสีย
เปิดทางที่ไม่สะดวกไว้ (มิจฉามรรค ทางผิด)
             วางเนื้อต่อตัวผู้ไว้ (นันทิราคะ [ความกำหนัดด้วยความเพลิน])
             วางนางเนื้อต่อไว้ (อวิชชา)
             เมื่อเป็นเช่นนี้ ในเวลาต่อมา หมู่เนื้อจำนวนมากก็พากันมาตายเสีย จนเหลือจำนวนน้อย

             แต่ยังมีบุรุษอีกคนหนึ่ง (พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า) ปรารถนาประโยชน์
ใคร่ความเกื้อกูล ใคร่ความปลอดภัย แก่หมู่เนื้อจำนวนมากนั้น
             เขาเปิดทางที่ปลอดภัย สะดวก ไปได้ตามชอบใจ (มรรคมีองค์ ๘)
ให้แก่หมู่เนื้อนั้น ปิดทางที่ไม่สะดวกเสีย กำจัดเนื้อต่อ เลิกนางเนื้อต่อ
             เมื่อเป็นเช่นนี้ ในเวลาต่อมา หมู่เนื้อจำนวนมาก ก็เจริญ คับคั่ง ล้นหลาม

             ทางผิด ประกอบด้วยองค์ ๘ คือ
             มิจฉาทิฏฐิ มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวาจา มิจฉากัมมันตะ
             มิจฉาอาชีวะ มิจฉาวายามะ มิจฉาสติ มิจฉาสมาธิ

             มรรคมีองค์ ๘ คือ
             สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ
             สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=มรรคมีองค์_8.

             ตรัสว่าด้วยอาการดังที่กล่าวมานี้ เป็นอันว่าทางอันปลอดภัย เป็นทางที่พวกเธอควร
ไปได้ด้วยความปลาบปลื้ม เราได้เผยให้แล้ว [และ] ปิดทางที่ไม่สะดวกให้ด้วย เนื้อต่อก็ได้
กำจัดให้แล้ว ทั้งนางเนื้อต่อก็สังหารให้เสร็จ
             กิจอันใดที่ศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์ ความอนุเคราะห์ แก่เหล่าสาวกจะพึงทำ
กิจอันนั้นเราทำแก่เธอทั้งหลายแล้ว
             นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง เธอทั้งหลายจงเพ่งพินิจ อย่าประมาท อย่าได้เป็นผู้มีความ
เดือดร้อนในภายหลัง
             พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว
             ภิกษุเหล่านั้นมีใจชื่นชมยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาค

ความคิดเห็นที่ 6-107
ฐานาฐานะ, 2 มีนาคม เวลา 15:33 น.  

GravityOfLove, 7 นาทีที่แล้ว
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
             ๒. สีหนาทวรรค
             ๙. เทฺวธาวิตักกสูตร ว่าด้วยความวิตก ๒ ส่วน
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=3953&Z=4098&bgc=aliceblue&pagebreak=0
10:37 AM 3/2/2013
             ย่อความได้ดี รวบรวมประเด็นสำคัญได้ครบถ้วน.

ความคิดเห็นที่ 6-108
ฐานาฐานะ, 2 มีนาคม เวลา 15:40 น.

             คำถามในพระสูตรชื่อว่า เทฺวธาวิตักกสูตร
//84000.org/tipitaka/v.php?B=12&A=3953&Z=4098

             เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง?

ความคิดเห็นที่ 6-109
GravityOfLove, 2 มีนาคม เวลา 18:16 น.

             ตอบคำถามในพระสูตรชื่อว่า เทฺวธาวิตักกสูตร
//84000.org/tipitaka/v.php?B=12&A=3953&Z=4098

             ๑. พระผู้มีพระภาคเมื่อเป็นพระโพธิสัตว์ ทรงจัดวิตกออกเป็น ๒ ประเภท คือ
             - วิตกฝ่ายอกุศล ได้แก่ กามวิตก พยาบาทวิตก และวิหิงสาวิตก
             - วิตกฝ่ายกุศล ได้แก่ เนกขัมมวิตก อัพยาบาทวิตก และอวิหิงสาวิตก

             ๒. ทรงอธิบายการปรารภความเพียรจนบรรลุวิชชา ๓ ดังนี้คือ
             มีความไม่ประมาท ==> เมื่ออกุศลวิตกเกิดขึ้น ก็ทราบชัดว่าเกิด ==> ตรึกตรองถึงอกุศลวิตกใดๆ มาก จิตก็น้อมไปในอกุศลวิตกนั้น ทำให้ละทิ้งกุศลวิตก ==> ให้ทราบชัดว่า อกุศลวิตกเป็นไปเพื่อเบียดเบียน ทำให้ปัญญาดับ ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน ==>
เห็นอานิสงส์ของกุศลวิตก ตรึกตรองถึงกุศลวิตกทั้งกลางวันกลางคืน ==> ร่างกายเหน็ดเหนื่อย ==> จิตฟุ้งซ่าน ==> ห่างจากสมาธิ
==> ทำให้จิตสงบ ทำให้จิตเกิดสมาธิ ==> ทำสติอยู่เสมอว่า เหล่านี้คือกุศลธรรม ==> บำเพ็ญเพียร ==>
บรรลุฌาน ๑ ถึง ๔ ==> บรรลุวิชชา ๓

             ๓. ทรงสอนมรรคมีองค์ ๘ เปรียบเหมือนได้ทรงปิดทางที่ไ่ม่สะดวกให้ เป็นการกำจัดนันทิราคะและอวิชชา

ความคิดเห็นที่ 6-110
ฐานาฐานะ, 2 มีนาคม เวลา 20:41 น.

             ตอบคำถามในพระสูตรชื่อว่า เทฺวธาวิตักกสูตร
//84000.org/tipitaka/v.php?B=12&A=3953&Z=4098
6:16 PM 3/2/2013
             ตอบคำถามได้ดีครับ ขอติงเล็กน้อยข้อ 3
             ๓. ทรงสอนมรรคมีองค์ ๘ เปรียบเหมือนได้ทรงปิดทางที่ไม่สะดวกให้ เป็นการกำจัดนันทิราคะและอวิชชา
             ควรกล่าวถึงนัยตรงของมรรคมีองค์ ๘ ก่อนคือ
             ๓. ทรงสอนหรือเปิดเผยมรรคมีองค์ ๘ อันเปรียบเหมือนทางอันปลอดภัยซึ่งเป็นทางสวัสดี
ทั้งยังปิดทางที่ไม่สะดวก อันได้แก่ทางที่ผิดหรือมิจฉามรรค และกำจัดนันทิราคะและอวิชชาด้วย

             พระพุทธพจน์ :-
             [๒๕๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยอาการดังที่กล่าวมานี้แล เป็นอันว่าทางอันปลอดภัย
ซึ่งเป็นทางสวัสดี เป็นทางที่พวกเธอควรไปได้ด้วยความปลาบปลื้ม เราได้เผยให้แล้ว [และ]
ปิดทางที่ไม่สะดวกให้ด้วย เนื้อต่อก็ได้กำจัดให้แล้ว ทั้งนางเนื้อต่อก็สังหารให้เสร็จ
//84000.org/tipitaka/v.php?B=12&A=3953&Z=4098#255

ความคิดเห็นที่ 6-111
GravityOfLove, 2 มีนาคม เวลา 20:51 น.

เข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 6-112
ฐานาฐานะ, 2 มีนาคม เวลา 21:20 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า เทฺวธาวิตักกสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/v.php?B=12&A=3953&Z=4098

             พระสูตรหลักถัดไป คือวิตักกสัณฐานสูตรและกกจูปมสูตร.
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔
             มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
             วิตักกสัณฐานสูตร
//84000.org/tipitaka/v.php?B=12&A=4099&Z=4207
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=256

             กกจูปมสูตร
//84000.org/tipitaka/v.php?B=12&A=4208&Z=4442
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=263

             อลคัททูปมสูตร
//84000.org/tipitaka/v.php?B=12&A=4443&Z=4845
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=274

ย้ายไปที่



Create Date : 13 มีนาคม 2556
Last Update : 21 มิถุนายน 2557 10:01:12 น.
Counter : 729 Pageviews.

0 comments
: รูปแบบของความว่าง : กะว่าก๋า
(18 เม.ย. 2567 04:00:35 น.)
: รูปแบบของการค้นพบตนเอง : กะว่าก๋า
(16 เม.ย. 2567 06:05:58 น.)
การหา เติมความมี ปัญญา Dh
(16 เม.ย. 2567 18:08:16 น.)
: หยดน้ำในมหาสมุทร 35 : กะว่าก๋า
(13 เม.ย. 2567 05:51:40 น.)

Gravity-of-love.BlogGang.com

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]

บทความทั้งหมด