18.8 พระสูตรหลักถัดไป คือจูฬธรรมสมาทานสูตร [พระสูตรที่ 45] การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก 18.7 พระสูตรหลักถัดไป คือจูฬธรรมสมาทานสูตร [พระสูตรที่ 45] //www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=06-12-2013&group=1&gblog=65 ความคิดเห็นที่ 4-78 ความคิดเห็นที่ 4-79 ฐานาฐานะ, 21 มิถุนายน เวลา 13:52 น. GravityOfLove, 9 ชั่วโมงที่แล้ว พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ ๕. จูฬยมกวรรค ๙. พรหมนิมันตนิกสูตร ว่าด้วยพกพรหมมีทิฏฐิอันลามก //84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=12&A=10134&Z=10286&bgc=papayawhip 1:27 PM 6/20/2013 ย่อความได้ดี รวบรวมประเด็นได้มาก. มีข้อติงดังนี้ :- ไมมีเหตุออกไปจากทุกข์อย่างยิ่งนอกจากพรหมสถาน แก้ไขเป็น ไม่มีเหตุออกไปจากทุกข์อย่างยิ่งนอกจากพรหมสถาน แน่ะมาร ท่านเป็นมารก็ดี พรหมก็ดี พวกพรหมบริษัทก็ดี พวกพรหมปาริสัชชะก็ดี ทั้งหมดนั่นตกอยู่ในอำนาจของท่านได้ ท่านจึงคิดว่า แม้เราก็ต้องตกอยู่ในอำนาจของท่าน แก้ไขเป็น แน่ะมาร ท่านเป็นมาร พรหมก็ดี พวกพรหมบริษัทก็ดี พวกพรหมปาริสัชชะก็ดี ทั้งหมดนั่นตกอยู่ในอำนาจของท่านได้ ท่านจึงคิดว่า แม้เราก็ต้องตกอยู่ในอำนาจของท่าน พกพรหมทูลถามพระองค์ว่า ท่านรู้ได้อย่างไร แก้ไขเป็น พกพรหมทูลถามพระองค์ว่า ท่านรู้อย่างไร ท่านรู้ได้อย่างไร << เป็นการถามถึงวิธีการรู้ ท่านรู้อย่างไร << เป็นการถามถึงสิ่งที่รู้ ความคิดเห็นที่ 4-80 ฐานาฐานะ, 21 มิถุนายน เวลา 17:47 น. คำถามในพรหมนิมันตนิกสูตร //84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=12&A=10134&Z=10286 เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง? ความคิดเห็นที่ 4-81 GravityOfLove, 21 มิถุนายน เวลา 18:41 น. ตอบคำถามในพรหมนิมันตนิกสูตร //84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=12&A=10134&Z=10286 เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง? ๑. พกพรหมมีความเห็นผิดว่า พรหมสถานนี้ เที่ยง สถานที่ออกไปจากทุกข์อย่างอื่นที่ดียิ่งกว่าพรหมสถานนี้ไม่มี ๒. อํานาจของพกพรหม เป็นไปในพันจักรวาล ย่อมรู้จักสัตว์ที่เลวและ ประณีต รู้จักสัตว์ที่มีราคะและไม่มีราคะ รู้จักความมา และความไปของสัตว์ ทั้งหลาย ๓. มารเข้าสิงพรหมชั้นปาริสัชชะ (รูปพรหมชั้นที่ ๑) ได้ แต่ไม่สามารถสิงพรหมชั้นปุโรหิต (รูปพรหมชั้นที่ ๒) และชั้นมหาพรหมได้ (รูปพรหมชั้นที่ ๓) ๔. เรื่องราวของพกพรหม พกพรหมเคยเป็นฤๅษี ไม่เสื่อมจากฌาน ตายแล้วเกิดในชั้นเวหัปผลา มีอายุ 500 กัป ลงมาชั้นสุภกิณหา 64 กัป มาอยู่ชั้นอาภัสสรา 8 กัป และมาอยู่ในชั้น ฌานที่หนึ่งนานจนลืมหมด จึงเกิดความเห็นว่าเที่ยงขึ้นมา ๕. พรหมที่มีอํานาจครอบ 2 พัน ถึง 1 แสนจักรวาล ก็มี ๖. นิพพานนั้น ใครๆ ไม่ควรกล่าวว่า มีอยู่ในทิศนั้น ทิศนี้ ๗. นิพพานมีทางไปได้หลายทาง (ไม่มีกัมมัฏฐานใดที่ชื่อว่า ไม่เป็นท่าของพระนิพพาน) ๘. เมื่อทรงเทศน์จบ พรหมประมาณหมื่นองค์ บรรลุมรรคผล ๙. พระศาสดาทรงเป็นนักพูดเสียยิ่งกว่าพกพรหมนี้ตั้งร้อยเท่าพันเท่า พระศาสดาเป็นผู้ฉลาดยิ่งกว่าพกพรหมนี้ตั้งร้อยเท่าพันเท่า ๑๐. พระนิพพานเห็นไม่ได้ด้วยจักขุวิญญาณ ไม่ได้เป็นไปในภูมิ ๓ //84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ภูมิ_4 ความคิดเห็นที่ 4-82 ฐานาฐานะ, 21 มิถุนายน เวลา 19:24 น. GravityOfLove, 37 นาทีที่แล้ว ตอบคำถามในพรหมนิมันตนิกสูตร //84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=12&A=10134&Z=10286 ... 6:40 PM 6/21/2013 ตอบคำถามได้ดีครับ ขอถามคำถามต่อไปดังนี้ว่า ที่ว่า ๑. พกพรหมมีความเห็นผิดว่า พรหมสถานนี้ เที่ยง สถานที่ออกไปจากทุกข์อย่างอื่นที่ดียิ่งกว่าพรหมสถานนี้ไม่มี คำถามว่า เมื่อเทียบเคียงกับพรหมชาลสูตร ความเห็นผิด ของพกพรหม มีสาเหตุอย่างไร? พรหมชาลสูตร //84000.org/tipitaka/read/v.php?B=09&A=0&Z=1071 ความคิดเห็นที่ 4-83 GravityOfLove, 21 มิถุนายน เวลา 22:43 น. คำถามว่า เมื่อเทียบเคียงกับพรหมชาลสูตร ความเห็นผิด ของพกพรหม มีสาเหตุอย่างไร? เมื่อพกพรหมจิติมาจากชั้นอื่นแล้วมาอยู่ชั้นนี้ซึ่งว่างเปล่าอยู่ แล้วอยู่ผู้เดียวเป็นเวลานานมาก ก็เกิดความคิดขึ้นมาว่า อยากให้มีผู้อื่นมาบังเกิดที่นี่บ้าง เมื่อมีผู้อื่นมาบังเกิดแล้ว จึงเข้าใจว่า ตนเป็นผู้สร้างผู้นั้น ส่วนผู้ที่มาบังเกิดภายหลังก็คิดว่า ตนเป็นผู้ที่ถูกสร้างโดยผู้ที่บังเกิดก่อน อีกทั้งผู้ที่เกิดก่อนจะมีอายุยืนกว่า มีผิวพรรณดีกว่า มีศักดิ์มากกว่า เวลาผ่านไปนานมาก พกพรหมจึงลืมไปว่าตนจุติมาจากที่ใด จึงเข้าใจไปว่า ตนเองผู้เดียวนี้เที่ยง ความคิดเห็นที่ 4-84 ฐานาฐานะ, 22 มิถุนายน เวลา 00:10 น. ตอบคำถามได้ดีครับ แต่ควรทำลิงค์อ้างอิงไว้ด้วย. คำตอบที่ตอบมานั้นอยู่ในพรหมชาลสูตร ข้อ 31 พรหมชาลสูตร เอกัจจสัสสติกทิฏฐิ ๔ //84000.org/tipitaka/read/?9/31-34 //84000.org/tipitaka/read/v.php?B=9&A=1&Z=1071 ความคิดเห็นที่ 4-85 GravityOfLove, 22 มิถุนายน เวลา 06:19 น. ขอบพระคุณค่ะ 6:19 AM 6/22/2013 ความคิดเห็นที่ 4-86 GravityOfLove, 21 มิถุนายน เวลา 09:36 น. คำถามนอกพระสูตรหลัก สุชาตาชาดก ว่าด้วยถ้อยคำไพเราะทำให้คนรัก //84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=27&A=2205&Z=2215 //pantip.com/topic/30630090/comment7 ชาดกที่เคยอ่านผ่านมา พระโพธิสัตว์ ภรรยาพระโพธิสัตว์ ลูกพระโพธิสัตว์ ดูเหมือนว่า จะเกิดมามีความสัมพันธ์กันดังนี้ทุกๆ ชาติเลยใช่ไหมคะ ส่วนบิดา-มารดาพระโพธิสัตว์ เปลี่ยนไปได้ใช่ไหมคะ เช่น ในชาดกนี้ พระมารดาของพระโพธิสัตว์ในอดีตชาติคือนางสุชาดาในชาตินี้ ความคิดเห็นที่ 4-87 ฐานาฐานะ, 21 มิถุนายน เวลา 12:56 น. คำถามว่า ดูเหมือนว่า จะเกิดมามีความสัมพันธ์กันดังนี้ทุกๆ ชาติเลยใช่ไหมคะ ตอบว่า ไม่ใช่ครับ. บางชาติ ก็เกิดเป็นพี่สะใภ้กับน้องเขย บางชาติ ก็เกิดเป็นบุตรของผู้อื่น ในวัฏฏะเวียนเกิดเวียนตายนี้ จะกำหนดอย่างนี้ไม่ได้ เพราะสัตว์ทั้งหลายเป็นไปตามกรรมของตนๆ มาตุสูตรเป็นต้น //84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=16&A=5000&Z=5111 อรรถกถา กุสชาดก //84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=28&i=94 อรรถกถา มัณฑัพยชาดก //84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=1380&p=1 ความคิดเห็นที่ 4-88 GravityOfLove, 21 มิถุนายน เวลา 13:12 น. อรรถกถา กุสชาดก พระเจ้ากุสราชและพระนางประภาวดี ก็ทรงสมัครสมานสามัคคีกัน ทรงรื่นเริงบันเทิงอยู่ ทรงปกครองแผ่นดินให้รุ่งเรืองสุขสำราญ ตลอดพระชนมายุทั้ง ๒ พระองค์ ด้วยประการฉะนี้. แล้วทรงประชุมชาดกว่า พระนางประภาวดี คือ พระมารดาของพระราหุล ในบัดนี้ ส่วนพระเจ้ากุสราช ก็คือ เราตถาคต อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า แล ชาดกนี้ แสดงว่า ชาติก่อนก็เป็นสามี-ภรรยากันไม่ใช่หรือคะ ความคิดเห็นที่ 4-89 ฐานาฐานะ, 21 มิถุนายน เวลา 13:17 น. ชาดกนี้ แสดงว่า ชาติก่อนก็เป็นสามี-ภรรยากันไม่ใช่หรือคะ ตอบว่า ใช่ครับ แต่ชาติก่อนหน้านั้น เป็นพี่สะใภ้กับน้องเขย. อรรถกถา กุสชาดก จริงอยู่ พระนางมิได้ทรงมีความยินดีพระโพธิสัตว์เจ้า ด้วยอำนาจการที่ได้ ทรงตั้งความปรารถนาไว้ในปางก่อน. แม้พระโพธิสัตว์เจ้านั้นที่มีพระรูปกายไม่งดงาม ก็ด้วยอำนาจบุรพกรรมของพระองค์เอง. ได้ยินว่า ในอดีตกาล มีหมู่บ้านอันตั้งอยู่ข้างประตูเมืองพาราณสี ตระกูล ๒ ตระกูล คือ ตระกูลที่อาศัยอยู่ข้างถนนหน้าหมู่บ้าน ตระกูล ๑ อาศัยอยู่ข้างถนนหลังหมู่บ้าน ตระกูล ๑. ตระกูลหนึ่งมีลูกชาย ๒ คน ตระกูลหนึ่งมีลูกสาว ๑ คน ในบรรดาบุตรชายทั้ง ๒ คนนั้น พระโพธิสัตว์เป็นน้องชาย. มารดาบิดาได้ไปขอนางกุมาริกานั้น มาให้แก่พี่ชาย. พระโพธิสัตว์ผู้เป็นน้องชาย ยังไม่มีภริยา จึงอาศัยอยู่ในบ้านของพี่ชาย. //84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=28&i=94 ความคิดเห็นที่ 4-90 GravityOfLove, 21 มิถุนายน เวลา 13:24 น. เข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ ------------------------------------- อรรถกถา มัณฑัพยชาดก ยังอ่านไม่ถึงไหนเลยค่ะ เพราะไม่เข้าใจค่ะ ท่านทีปายนดาบสมีสหายคฤหัสถ์อยู่คนหนึ่ง ชื่อมัณฑัพยะ ใช่ไหมคะ แต่บรรทัดต่อๆ มา กล่าวว่า สองดาบสอยู่ที่นั้น ๓,๔ พรรษาแล้วลานายมัณฑัพยะ เที่ยวจาริกไปถึงเมืองพาราณสี อาศัยอยู่ในอธิมุตติกสุสาน ทีปายนดาบสอยู่ ณ ที่นั้นพอควรแก่อัธยาศัยแล้ว ก็กลับไปสู่สำนักสหายนั้นอีก แต่มัณฑัพยะดาบสยังอยู่ที่ป่าช้านั้นเอง สรุปว่า เพื่อนของท่านทีปายนดาบสที่เป็นดาบส และที่เป็นคฤหัสถ์ มีชื่อเหมือนกันหรือคะ ความคิดเห็นที่ 4-91 ฐานาฐานะ, 21 มิถุนายน เวลา 13:30 น. สรุปว่า เพื่อนของท่านทีปายนดาบสที่เป็นดาบส และที่เป็นคฤหัสถ์ มีชื่อเหมือนกันหรือคะ น่าจะเป็นอย่างนั้น มีชื่อเหมือนกัน มัณฑัพยะดาบส และนายมัณฑัพยะ อรรถกถา มัณฑัพยชาดก //84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=1380&p=1 ความคิดเห็นที่ 4-92 GravityOfLove, 21 มิถุนายน เวลา 13:55 น. อรรถกถา มัณฑัพยชาดก อ่านจบแล้วค่ะ พระราหุล ในชาติก่อนเป็นลูกของพระอานนท์และนางวิสาขา ขอบพระคุณค่ะ ความคิดเห็นที่ 4-93 ฐานาฐานะ, 22 มิถุนายน เวลา 14:10 น. เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า พรหมนิมันตนิกสูตร จบบริบูรณ์. //84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=10134&Z=10286 พระสูตรหลักถัดไป คือมารตัชชนียสูตร [พระสูตรที่ 50]. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ มารตัชชนียสูตร //84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=10287&Z=10458 ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- //84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=557 ย้ายไปที่ สารบัญ ๑ |
บทความทั้งหมด
|
มารเข้าสิงกายพรหม
ครั้งนั้น มารเข้าสิงกายพรหมปาริสัชชะผู้หนึ่งแล้ว กล่าวกับพระองค์ว่า
ถ้าท่านรู้จักอย่างนี้ ตรัสรู้อย่างนี้ ก็อย่าแนะนำ อย่าแสดงธรรม
อย่าทำความยินดีกับพวกสาวกและพวกบรรพชิตเลย
สมณะและพราหมณ์พวกก่อนท่าน ผู้ปฏิญญาว่า
เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าในโลก ได้แสดงธรรมแก่พวกสาวก
และพวกบรรพชิต พอตายไปก็ไปเกิดในหีนกาย
ส่วนสมณะและพราหมณ์พวกก่อนท่าน ผู้ปฏิญญาว่า
เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าในโลก ไม่ได้แสดงธรรมแก่สาวกบรรพชิต
พอตายไปก็เกิดในปณีตกาย
ดังนั้น เชิญท่านเป็นผู้มักน้อย ตามประกอบความอยู่สบายในชาตินี้อยู่เถิด
เพราะการไม่บอกเป็นความดี ท่านอย่าสั่งสอนสัตว์อื่นๆ เลย
พระองค์ตรัสว่า
มาร เรารู้จักท่าน ท่านอย่าเข้าใจว่า เราไม่รู้จักท่าน ท่านเป็นมาร
ท่านหามีความอนุเคราะห์ด้วยจิตเกื้อกูลไม่ จึงกล่าวกับเราอย่างนี้
ท่านมีความดำริว่า พระสมณโคดมจะแสดงธรรมแก่ชนเหล่าใด
ชนเหล่านั้นจะพ้นจากอำนาจของท่านไป
พวกสมณะและพราหมณ์นั้น ไม่ได้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
แต่ปฏิญญาว่า เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เราเป็นสัมมาสัมพุทธะ ย่อมปฏิญญาว่า เราเป็นสัมมาสัมพุทธะ
ตถาคตแม้เมื่อแสดงธรรม แนะนำแก่พวกสาวก ก็เป็นเช่นนั้น
แม้เมื่อไม่แสดงธรรม ไม่แนะนำแก่พวกสาวก ก็เป็นเช่นนั้น
นั่นเป็นเพราะอาสวะเหล่าใดอันให้เศร้าหมอง ให้เกิดในภพใหม่
มีความกระวนกระวาย มีวิบากเป็นทุกข์ มีชาติ ชรา มรณะต่อไป
อาสวะเหล่านั้น ตถาคตละเสียแล้ว มีรากเหง้า อันถอนขึ้นแล้ว
ทำำไม่ให้มีที่ตั้ง มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา
ไวยากรณภาษิตนี้ (ร้อยแก้ว) พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว
โดยมารไม่ได้เรียกร้อง และโดยพรหมเชื้อเชิญ
เพราะฉะนั้น ไวยากรณภาษิตนี้ จึงมีชื่อว่าพรหมนิมันตนิกสูตร
[แก้ไขตาม #4-79]