16.7 พระสูตรหลักถัดไป คือจูฬโคสิงคสาลสูตร
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
16.6 พระสูตรหลักถัดไป คือจูฬโคสิงคสาลสูตร

ความคิดเห็นที่ 9-77
ฐานาฐานะ, 3 พฤษภาคม เวลา 14:02 น.  

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า จูฬโคปาลสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=7247&Z=7322

             พระสูตรหลักถัดไป คือจูฬสัจจกสูตร [พระสูตรที่ 35].
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔
             มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
             จูฬสัจจกสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=7323&Z=7551
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=392

             มหาสัจจกสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=7552&Z=7914
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=405

             จูฬตัณหาสังขยสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=7915&Z=8040
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=433

             มหาตัณหาสังขยสูตร  
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=8041&Z=8506
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=440

ความคิดเห็นที่ 9-78
GravityOfLove, 3 พฤษภาคม เวลา 14:05 น.

             คำถาม อรรถกถาจูฬสัจจกสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=392&bgc=seashell
             กรุณาอธิบายค่ะ
             พระเถระกล่าวว่า ปัญหานี้ต้องให้กุลบุตรบรรพชาให้ศึกษาเป็นครั้งแรกแล้ว จึงถามว่า อะไรชื่อว่าหนึ่ง.
             ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 9-79
ฐานาฐานะ, 3 พฤษภาคม เวลา 14:19 น.

             อธิบายว่า
             อะไรชื่อว่าหนึ่ง เป็นคำถามที่รู้กันโดยทั่วไปในพุทธบริษัท
มาในหลายที่หลายแห่ง แต่ที่จัดเป็นหมวดหมู่ไว้ชัดเจนคือ
             สามเณรปัญหาในขุททกปาฐะ
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=25&A=33&Z=40
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=4

ความคิดเห็นที่ 9-80
GravityOfLove, 3 พฤษภาคม เวลา 14:22 น.

คำตอบคือ
อะไรชื่อว่า ๑ คือ สัตว์ทั้งปวงตั้งอยู่ได้เพราะอาหาร
ใช่ไหมคะ

ความคิดเห็นที่ 9-81
ฐานาฐานะ, 3 พฤษภาคม เวลา 14:29 น.

             ถูกต้องครับ
อะไรชื่อว่า ๑ คือ สัตว์ทั้งปวงตั้งอยู่ได้เพราะอาหาร

ความคิดเห็นที่ 9-82
GravityOfLove, 3 พฤษภาคม เวลา 14:40 น.

เข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 9-83
GravityOfLove, 3 พฤษภาคม เวลา 14:49 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
             ๔. มหายมกวรรค          
             ๕. จูฬสัจจกสูตร เรื่องสัจจกนิครนถ์สนทนากับพระอัสสชิเถระ
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=12&A=7323&Z=7551&bgc=seashell&pagebreak=0

             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่กูฏาคารศาลาป่ามหาวัน เขตเมืองเวสาลี
             สัจจกนิครนถ์ผู้เป็นนิคันถบุตร อาศัยอยู่ในเมืองเวสาลี เป็นนักโต้ตอบ พูดยกตนว่า
             ตนเป็นนักปราชญ์ คนจำนวนมากยกย่องว่า เป็นผู้มีความรู้ดี
             วันหนึ่งสัจจกนิครนถ์กล่าวในที่ประชุมว่า
             เราไม่เห็นสมณะหรือพราหมณ์ที่เป็นเจ้าหมู่คณะ เป็นคณาจารย์ แม้ที่ปฏิญาณตนว่า
เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่โต้ตอบปัญหากับเราแล้วจะไม่ประหม่า ไม่สะทกสะท้าน
ไม่หวั่นไหว แม้แต่ผู้เดียว
             หากเราโต้วาทะกับเสาที่ไม่มีจิตใจ แม้เสานั้นก็ถึงอาการหวั่นไหว จะป่วยกล่าวไปไย
กับมนุษย์ทั่วไป
             วันหนึ่ง สัจจกนิครนถ์พบท่านพระอัสสชิกำลังเดินบิณฑบาตในเมืองเวสาลี
จึงเข้าไปหา แล้วถามว่า

             พระสมณโคดมแนะนำสาวกอย่างไร
             และคำสั่งสอนของพระสมณโคดมเน้นไปในเรื่องใดมาก


             ท่านพระอัสสชิตอบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแนะนำสาวกทั้งหลายว่า

             รูป เวทนา สัญญา สังขารทั้งหลาย วิญญาณ ไม่เที่ยง
             รูป เวทนา สัญญา สังขารทั้งหลาย วิญญาณ ไม่ใช่ตน
             สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่ใช่ตน ธรรมทั้งหลายทั้งปวงไม่ใช่ตน


             สัจจกนิครนถ์ฟังแล้วไม่คล้อยตาม จึงปรารถนาจะพบพระองค์ กล่าวว่า
ถ้ากระไรจะได้ช่วยปลดเปลื้องพระสมณโคดมจากความเห็นผิดนั้นเสีย      
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ขันธ์_5#find1 #find1

             สัจจกนิครนถ์ชวนพวกเจ้าลิจฉวีประมาณ ๕๐๐ องค์ไปดูตนโต้วาทะ
กับพระองค์ แล้วพูดว่า
             ตนจะฉุดกระชากลากถ้อยคำพระสมณโคดมให้เป็นเหมือนบุรุษที่มีกำลัง
จับแกะขนยาวที่ขน แล้วลากมาลากไป ฯลฯ
             เจ้าลิจฉวีบางพวกก็กล่าวว่า สัจจกนิครนถ์จะสามารถทำอย่างนั้นได้
บางพวกก็กล่าวว่า ทำไม่ได้ พระสมณโคดมต่างหากที่จะเป็นฝ่ายยกถ้อยคำของเขา
             เมื่อไปถึงป่ามหาวัน สัจจกนิครนถ์ไม่ได้ถวายอภิวาท
             เจ้าลิจฉวีบางพวกก็ถวายอภิวาท บางพวกไม่ได้ถวายอภิวาท
             สัจจกนิครนถ์ทูลถามพระองค์เช่นเดียวกับที่ถามท่านพระอัสสชิ
             พระองค์ก็ตรัสตอบเช่นเดียวกับที่ท่านพระอัสสชิตอบไปแล้ว
             สัจจกนิครนถ์ทูลขอแสดงอุปมาว่า
             เหมือนพืชพันธุ์ไม้อย่างใดอย่างหนึ่ง ที่ถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์
             พืชพันธุ์เหล่านั้นทั้งหมดต้องอาศัยแผ่นดิน ตั้งอยู่ในแผ่นดิน จึงถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์
             หรือเหมือนการงานอย่างใดอย่างหนึ่งที่ต้องทำด้วยกำลัง การงานเหล่านั้นทั้งหมด
บุคคลต้องอาศัยแผ่นดิน ต้องอยู่ในแผ่นดินจึงทำได้ ฉันใด
             บุรุษมี รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นตน
ต้องตั้งอยู่ใน รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จึงได้ประสบผลบุญ ผลบาป ฉันนั้น
             พระองค์ตรัสถามเพื่อให้สัจจกนิครนถ์ยืนยันคำพูดตนเอง สัจจกนิครนถ์ทูลตอบยืนยัน
และทูลว่า คนจำนวนมากก็กล่าวอย่างนั้น
             ตรัสว่า หมู่ชนเป็นอันมากจะช่วยอะไรท่านได้ เชิญท่านยืนยันคำของท่านเถิด
             สัจจกนิครนถ์จึงทูลยันยันคำพูดของตน
             พระองค์จึงทรงซักถามด้วยอุปมาว่า
             พระราชามีพระราชอำนาจฆ่าคนที่ควรฆ่า ริบสมบัติคนที่ควรริบ เนรเทศคนที่ควรเนรเทศ
ในพระราชอาณาเขตของพระองค์ได้หรือไม่
             สัจจกนิครนถ์ทูลตอบว่าได้ กระทั่งพวกวัชชี มัลละก็ยังทำได้หากอยู่ในแว่นแคว้นของตนเอง
             ตรัสถามว่า ท่านยังจะยืนยันว่า รูปเป็นตนของเรา อำนาจของท่านเป็นไปในรูปนั้นว่า
ขอรูปของเราจงเป็นอย่างนั้นอย่างนี้เถิด อยู่หรือไม่
             สัจจกนิครนถ์ไม่ทูลตอบ นิ่งอยู่
             พระองค์ตรัสถามอีก ๒ ครั้งจึงทูลตอบเพราะกลัวศีรษะจะแตกเป็น ๗ เสี่ยง
ดังที่พระองค์ตรัสว่า ผู้ใดที่พระองค์ตรัสถามปัญหาที่ชอบแก่เหตุแล้วถึง ๓ ครั้ง ไม่ตอบ
ศีรษะของผู้นั้นจะแตกเป็น ๗ เสี่ยง
             และเฉพาะพระองค์กับเขาเท่านั้นที่มองเห็นท้าววชิรปาณีสักกเทวราช
ถือกระบองเพชรลุกเป็นไฟลอยอยู่
             พระองค์ตรัสให้สัจจนิครนถ์พิจารณาไตร่ตรอง แล้วทรงจำไว้ในใจ (มนสิการ)
แล้วจึงตอบ เพราะคำหลังกับคำก่อน หรือคำก่อนกับคำหลังของเขาไม่ตรงกัน
             ในที่สุดสัจจกนิครนถ์ก็ทูลยอมรับว่า
             รูป เวทนา สัญญา สังขารทั้งหลาย วิญญาณ ไม่ใช่ตนของเรา
             เราไม่มีอำนาจในรูป เวทนา สัญญา สังขารทั้งหลาย วิญญาณ นั้นว่า
             ขอรูป เวทนา สัญญา สังขารทั้งหลาย วิญญาณ ของเราจงเป็นอย่างนั้นอย่างนี้เถิด
             รูป เวทนา สัญญา สังขารทั้งหลาย และวิญญาณ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์
             สิ่งใดไม่เที่ยง (อนิจจลักษณะ) เป็นทุกข์ (ทุกขลักษณะ)
มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา (อนัตตลักษณะ)
             ไม่ควรเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา (ตัณหา) เราเป็นนั่น (มานะ) นั่นเป็นตนของเรา (ทิฏฐิ)
             ผู้ใดติดทุกข์ เข้าถึงทุกข์แล้ว กล้ำกลืนทุกข์แล้ว ยังพิจารณาเห็นทุกข์ว่า
             นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตนของเรา
             เป็นไปไม่ได้เลยที่ผู้นั้นจะกำหนดรู้ทุกข์ได้เอง หรือจะทำทุกข์ให้สิ้นไป
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ไตรลักษณ์
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=อนิจจลักษณะ
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ทุกขลักษณะ
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=อนัตตลักษณะ
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ปปัญจธรรม_3

             พระองค์ทรงอุปมาดังนี้ว่า เปรียบเหมือนบุรุษมีความต้องการแก่นไม้
เสาะแสวงหาแก่นไม้ ถือขวานเข้าไปสู่ป่า
             เขาเห็นต้นกล้วยใหญ่ต้นหนึ่งในป่า จึงตัดต้นกล้วยนั้นที่โคนต้น แล้วตัดยอด
ริดใบออก เขาไม่พบแม้แต่กระพี้ แล้วจะพบแก่นได้แต่ที่ไหน ฉันใด
             เหมือนพระองค์ทรงซักไซ้ไล่เลียง สอบสวน ในถ้อยคำของเขาแล้ว
พบแต่ความว่างเปล่า ฉันนั้น
             ตรัสว่า ดูท่านสิ เหงื่อแตก แต่เรากลับไม่สะทกสะท้าน ไม่มีเหงื่อเลย
             สัจจกนิครนถ์ได้แต่นั่งนิ่งอึ้ง เก้อเขิน คอตก หมดปฏิภาณ
             เจ้าลิจฉวีัผู้หนึ่งทูลขอกล่าวอุปมาว่า
             เปรียบเหมือนเด็กจับปูขึ้นจากน้ำวางไว้บนบก ปูนั้นส่ายก้ามไปทางใด
เด็กเหล่านั้นก็คอยต่อย ตีทุบก้ามปูนั้นด้วยไม้บ้าง ด้วยกระเบื้องบ้าง
             เมื่อปูนั้นก้ามหักหมดแล้ว ก็ไม่อาจลงสู่สระน้ำนั้นเหมือนก่อนได้ ฉันใด
             ทิฏฐิที่เป็นเสี้ยนหนาม ที่เข้าใจผิด และที่กวัดแกว่งบางอย่างของสัจจกนิครนถ์
ถูกพระองค์หัก โค่น ลบ ล้างเสียแล้ว
             บัดนี้ สัจจกนิครนถ์ก็จะไม่มาใกล้พระองค์เพื่อโต้วาทะอีก ฉันนั้นเหมือนกัน
             สัจจกนิครนถ์พูดกับเจ้าลิจฉวีผู้นั้นว่า
             ท่านหยุดพูดเถิด ท่านพูดมากนัก ข้าพเจ้าไม่ได้พูดกับท่าน
ข้าพเจ้าพูดกับท่านพระโคดมต่างหาก แล้วทูลว่า
             ถ้อยคำของตนและของพวกสมณพราหมณ์เหล่าอื่น ยกเสียเถิด
เป็นแต่คำเพ้อ พูดเพ้อกันไป

             สัจจกนิครนถ์ทูลถามต่อไปว่า
             ๑. เพราะเหตุไรสาวกของพระองค์จึงเป็นผู้อยู่ในโอวาททำตามคำสั่งสอน
ปราศจากความเคลือบแคลงสัยสัยในพระธรรม ไม่ต้องเชื่อผู้อื่น
             พระองค์ตรัสว่า สาวกของเราในธรรมวินัยนี้ ย่อมเห็นเบญจขันธ์
ด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
             รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันใดอันหนึ่ง ทั้งในอดีต อนาคต ปัจจุบัน
ที่เป็นภายในก็ดี ที่เป็นภายนอกก็ดี หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี เลวก็ดี ประณีตก็ดี ในที่ไกลก็ดี
ในที่ใกล้ก็ดี
             ทั้งหมดก็เป็นแต่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ
             นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่ได้เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตนของเรา

             ๒. ด้วยเหตุเท่าไร ภิกษุชื่อว่าเป็นพระอรหันต์ มีอาสวะสิ้นแล้ว
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
            (ได้เป็นพระอเสขะ ส่วนพระเสขะ ๗ จำพวก และกัลยาณปุถุชนชื่อว่า
กำลังประพฤติพรหมจรรย์)
             มีกิจที่ควรทำได้สำเร็จแล้ว (ทำกิจมีความกำหนดรู้ เป็นต้นในอริยสัจ ๔ ด้วยมรรค ๔)
             ปลงภาระเสียแล้ว (ปลงกิเลสภาระ (ภาระคือกิเลส) ขันธภาระ (ภาระคือร่างกาย)
และอภิสังขารภาระ (ภาระคืออภิสังขาร) ลงแล้ว)
             มีประโยชน์ตนถึงแล้วโดยลำดับ มีสัญโญชน์อันจะนำไปสู่ภพสิ้นแล้ว
พ้นวิเศษแล้ว เพราะรู้ชอบ
             พระองค์ตรัสตอบว่า
             ภิกษุธรรมวินัยนี้ เห็นเบญจขันธ์ด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า
รูป ... นั่นไม่ใช่ตนของเรา ดังนี้ จึงพ้นแล้วเพราะไม่ถือมั่น
             ภิกษุที่รู้พ้นวิเศษแล้วอย่างนี้แหละ ประกอบด้วยคุณอันยอดเยี่ยม ๓ ประการ คือ
             - ความเห็นอันยอดเยี่ยม (ทสฺสนานุตฺตริยํ ได้แก่ ปัญญาที่เป็นโลกิยะและโลกุตตระ)
             - ความปฏิบัติอันยอดเยี่ยม (ปฏิปทานุตฺตริยํ ได้แก่ ข้อปฎิบัติที่เป็นโลกิยะและโลกุตตระ)
             - ความพ้นวิเศษอันยอดเยี่ยม (วิมุตฺตานุตฺตริยํ คือ โลกุตตรวิมุตติ)
             เมื่อมีจิตพ้นกิเลสแล้วอย่างนี้ ย่อมสักการะ เคารพ นับถือ บูชา พระองค์ว่า
             พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงตรัสรู้ (อริยสัจ ๔) แล้ว ย่อมทรงแสดงธรรมเพื่อให้ตรัสรู้
... ทรงฝึกพระองค์แล้ว (ปราศจากกิเลส) ... ทรงสงบได้แล้ว (สงบระงับกิเลสทั้งปวง) ...
ทรงข้ามพ้นแล้ว (ข้ามพ้นโอฆะ ๔) ... พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงดับสนิท (ปรินิพพาน) แล้ว
ย่อมทรงแสดงธรรมเพื่อความดับสนิท
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อริยบุคคล_8
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=กิจในอริยสัจจ์_4
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=สังโยชน์_10
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อนุตตริยะ_3
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อริยสัจ_4
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=โอฆะ_4

             สัจจกนิครนถ์กราบทูลว่า
             ตนเป็นคนคะนองวาจา คิดว่าสามารถรุกรานพระองค์ได้ด้วยถ้อยคำของตน
             เหมือนบุรุษมาปะทะช้างซับมันเข้าก็ดี พบกองไฟที่กำลังลุกโชนก็ดี พบงูพิษที่มีพิษร้ายก็ดี
ยังพอเอาตัวรอดได้บ้าง
             แต่พอมาพบท่านพระโคดมเข้าแล้ว ไม่มีใครเอาตัวรอดได้เลย
(สัจจกนิครนถ์พูดอุปมาเพื่อยกตนว่า ตนเป็นคนกล้า เป็นบัณฑิตที่เข้าไปโต้วาทะกับพระองค์)
             แล้วกราบทูลนิมนต์พระองค์พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์เพื่อฉันในวันพรุ่งนี้
             สัจจกนิครนถ์บอกพวกเจ้าลิจฉวีว่า
             ตนได้ทูลนิมนต์พระองค์แล้ว พวกท่านจะนำอาหารใดมาเพื่อข้าพเจ้า
จงเลือกอาหารที่ควรแก่พระโคดมเถิด
             วันต่อมา หลังจากพระองค์เสวยเสร็จแล้ว สัจจกนิครนถ์ได้เข้าไปกราบทูลว่า
             ข้าแต่พระโคดม ขอบุญและผลบุญในทานนี้ จงมีเพื่อความสุขแก่ทายก (ผู้ให้ทาน)
ทั้งหลายเถิด (สัจจกนิครนถ์หวังให้บุญและผลบุญนี้ แก่พวกเจ้าลิจฉวีด้วย)
             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
             บุญและผลบุญในทานนี้ อาศัยทักขิเณยบุคคล (ผู้ควรรับของทำบุญ) ที่ยังไม่สิ้น
ราคะ โทสะ โมหะ เช่นกับท่าน จะมีแก่ทายกทั้งหลาย
             ส่วนบุญและผลบุญอาศัยทักขิเณยยบุคคล ที่สิ้นราคะ โทสะ โมหะ เช่นกับเรา
จะมีแก่ท่าน
             (บุญคือการถวายภัตตาหารแก่พระพุทธเจ้า คือผู้สิ้นอาสวะแล้ว เป็นบุญของสัจจกนิครนถ์  
             ส่วนพวกเจ้าลิจฉวี ได้เพียงบุญจากการให้แก่สัจจกนิครนถ์ ผู้ยังมีอาสวะอยู่)

แก้ไขตาม #9-85

ความคิดเห็นที่ 9-84
ฐานาฐานะ, 4 พฤษภาคม เวลา 14:10 น.

GravityOfLove, 22 ชั่วโมงที่แล้ว
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
             ๔. มหายมกวรรค
             ๕. จูฬสัจจกสูตร เรื่องสัจจกนิครนถ์สนทนากับพระอัสสชิเถระ
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=12&A=7323&Z=7551&bgc=seashell&pagebreak=0
2:48 PM 5/3/2013

             ย่อความได้ดีครับ มีข้อติงเล็กน้อยดังนี้ :-

             สัจจกนิครนถ์ฟังแล้วไม่คล้อยตาม จึงปรารถนาจะพบพระองค์ คิดว่า
ถ้ากระไรจะได้ช่วยปลดเปลื้องพระสมณโคดมจากความเห็นผิดนั้นเสีย      
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ขันธ์_5#find1 #find1
แก้ไขเป็น
             สัจจกนิครนถ์ฟังแล้วไม่คล้อยตาม จึงปรารถนาจะพบพระองค์ กล่าวว่า
ถ้ากระไรจะได้ช่วยปลดเปลื้องพระสมณโคดมจากความเห็นผิดนั้นเสีย      
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ขันธ์_5#find1 #find1

             เจ้าลิจฉวีบางพวกก็กล่าวว่า สัจจกนิครนถ์จะทำสามารถอย่างนั้นได้
บางพวกก็กล่าวว่า ทำไม่ได้ พระสมณโคดมต่างหากที่จะเป็นฝ่ายโต้ถ้อยคำของเขา
แก้ไขเป็น
             เจ้าลิจฉวีบางพวกก็กล่าวว่า สัจจกนิครนถ์จะทำสามารถอย่างนั้นได้
บางพวกก็กล่าวว่า ทำไม่ได้ พระสมณโคดมต่างหากที่จะเป็นฝ่ายยกถ้อยคำของเขา

ความคิดเห็นที่ 9-85
ฐานาฐานะ, 4 พฤษภาคม เวลา 14:14 น.   

             คำถามในจูฬสัจจกสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=12&A=7323&Z=7551

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง?
             2. การย่อความครั้งนี้ เทียบกับครั้งที่แล้ว ดีขึ้นอย่างไรบ้าง?
ความคิดเห็นที่ 163   
             ขอบพระคุณค่ะ พร้อมสำหรับการซักถามแล้วค่ะ
----------------------------------------------
             จูฬสัจจกสูตร
//topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2012/01/Y11540192/Y11540192.html#163 #163

ความคิดเห็นที่ 9-86
GravityOfLove, 4 พฤษภาคม เวลา 14:31 น.

             ตอบคำถามในจูฬสัจจกสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=12&A=7323&Z=7551

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง?
             ๑. พระผู้มีพระภาคทรงแนะนำสาวก คำสั่งสอนเน้นไปในเรื่องนี้มากคือ
             รูป เวทนา สัญญา สังขารทั้งหลาย วิญญาณ ไม่เที่ยง
             รูป เวทนา สัญญา สังขารทั้งหลาย วิญญาณ ไม่ใช่ตน
             สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่ใช่ตน ธรรมทั้งหลายทั้งปวงไม่ใช่ตน
             ๒. พระปฏิภาณของพระผู้มีพระภาคในการตั้งคำถามกับสัจจกนิครนถ์
จนสัจจกนิครนถ์อับจนถ้อยคำ
             ๓. ปัญหาที่ทรงถามสัจจกนิครนถ์เป็นการแสดงอนัตตลักษณะ
คือเป็นไปตามบังคับบัญชาไม่ได้
              ๔. พระองค์ตรัสว่า (พระพุทธพจน์) ผู้ใดที่พระองค์ตรัสถามปัญหาที่ชอบแก่เหตุแล้ว
ถึง ๓ ครั้ง ไม่ตอบ ศีรษะของผู้นั้นจะแตกเป็น ๗ เสี่ยง
             ๕. สิ่งใดไม่เที่ยง (อนิจจลักษณะ) เป็นทุกข์ (ทุกขลักษณะ)
มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา (อนัตตลักษณะ)
             ไม่ควรเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา (ตัณหา) เราเป็นนั่น (มานะ) นั่นเป็นตนของเรา (ทิฏฐิ)
             ๖. ผู้ใดติดทุกข์ เข้าถึงทุกข์แล้ว กล้ำกลืนทุกข์แล้ว ยังพิจารณาเห็นทุกข์ว่า
             นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตนของเรา
             เป็นไปไม่ได้เลยที่ผู้นั้นจะกำหนดรู้ทุกข์ได้เอง หรือจะทำทุกข์ให้สิ้นไป
             ๗. สาวกที่เห็นเบญจขันธ์ด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริง
ย่อมไม่มีความเคลือบแคลงสัยสัยในพระธรรม ไม่ต้องเชื่อผู้อื่น
            เมื่อเห็นเบญจขันธ์ด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริง ก็จะไม่ถือมั่น
เมื่อไม่ถือมั่นก็หลุดพ้น
             ๘. ผู้ที่หลดพ้น ประกอบด้วยคุณอันยอดเยี่ยม ๓ ประการ คือ
             - ความเห็นอันยอดเยี่ยม (ทสฺสนานุตฺตริยํ)
             - ความปฏิบัติอันยอดเยี่ยม (ปฏิปทานุตฺตริยํ)
             - ความพ้นวิเศษอันยอดเยี่ยม (วิมุตฺตานุตฺตริยํ)
             ๙. บุญคือการถวายภัตตาหารแก่พระพุทธเจ้า คือผู้สิ้นอาสวะแล้ว เป็นบุญของสัจจกนิครนถ์  
             ส่วนพวกเจ้าลิจฉวี ได้เพียงบุญจากการให้แก่สัจจกนิครนถ์ ผู้ยังมีอาสวะอยู่
             ๑๐. เมื่อจบพระสูตร สัจจกนิครนถ์ไม่ได้บรรลุโลกุตตรธรรม และไม่ได้ไตรสรณคมน์
             ๑๑. บุคคลมี ๒ จำพวก คือ
             - พุทธเวไนย พระสาวกไม่สามารถแนะนำ พระพุทธเจ้าเท่านั้นทรงแนะนำได้ << สัจจกนิครนถ์เป็นข้อนี้
             - สาวกเวไนย พระสาวกแนะนำบ้าง พระพุทธเจ้าทรงแนะนำบ้าง
             ๑๒. หลังจากที่ตรัสรู้ ตอนที่พระผู้มีพระภาคทรงมีความขวนขวายน้อยในการแสดงธรรม
ท้าวสักกะกับท้าวมหาพรหมเสด็จมาเข้าเฝ้า แล้วทรงกระทำปฏิญญาว่า
             ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าขอพระองค์จงทรงแสดงธรรมเถิด
             เมื่ออาณาจักรไม่เป็นไปแด่พระองค์ เป็นไปแก่ข้าพระองค์พวกข้าพระองค์จักให้เป็นไป
ธรรมจักรจงเป็นของพระองค์ อาณาจักรเป็นของข้าพระองค์ดังนี้
             ในคราวนี้ เพื่อจุดประสงค์นั้น ท้าวสักกะ (ท้าววชิรปาณีสักกเทวราช) จึงเสด็จมาปรากฎ
ให้สัจจกนิครนถ์เห็น เพื่อให้กลัว จะได้่ทูลตอบคำถามพระผู้มีพระภาค
             ๑๓. สัจจกนิครนถ์มีพี่สาว ๔ คน พี่สาวทั้ง ๔ พ่ายแพ้วาทะของท่านพระสารีบุตร
จึงบวชเป็นภิกษุณี ต่อมาได้บรรลุพระอรหัตทั้งหมด
-------------------------------------------------------
             2. การย่อความครั้งนี้ เทียบกับครั้งที่แล้ว ดีขึ้นอย่างไรบ้าง?
             - ย่อหน้าสั้นลง ทำให้อ่านง่ายขึ้น
             - มีรายละเอียดมากขึ้น

ความคิดเห็นที่ 9-87
ฐานาฐานะ, 4 พฤษภาคม เวลา 14:42 น.

GravityOfLove, 7 นาทีที่แล้ว
             ตอบคำถามในจูฬสัจจกสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=12&A=7323&Z=7551
2:31 PM 5/4/2013

             ตอบคำถามได้ดีครับ
             คำถามต่างๆ ได้เคยถามตอบไว้ในกระทู้หัวข้อว่า นี่คือรูปพระอะไรคะ
ขอให้ศึกษาทบทวนในกระทู้นั้น ตั้งแต่ความคิดเห็นที่ 160 เป็นต้นไป
//topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2012/01/Y11540192/Y11540192.html#160

             ๗. สาวกที่เห็นเบญจขันธ์ด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริง
ย่อมไม่มีความเคลือบแคลงสัยสัยในพระธรรม ไม่ต้องเชื่อผู้อื่น
แก้ไขเป็น
             ๗. สาวกที่เห็นเบญจขันธ์ด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริง
ย่อมไม่มีความเคลือบแคลงสงสัยในพระธรรม ไม่ต้องเชื่อผู้อื่น

ย้ายไปที่



Create Date : 25 มิถุนายน 2556
Last Update : 22 มิถุนายน 2557 6:36:22 น.
Counter : 819 Pageviews.

0 comments
การปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวพุทธ peaceplay
(15 เม.ย. 2568 09:53:34 น.)
ให้ รับ การฝึกตน เนื้อคู่แท้ ระยะนามขันธ์ของเนื้อคู่แท้ ไม่ผูกกรรม ปัญญา Dh
(25 เม.ย. 2568 05:10:58 น.)
กล้า กล้าหาญ สู้ เข้มแข็ง อดทน ปัญญา Dh
(14 เม.ย. 2568 20:18:00 น.)
อธรรม ปัญญา Dh
(11 เม.ย. 2568 15:33:55 น.)

Gravity-of-love.BlogGang.com

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]

บทความทั้งหมด