14.2 พระสูตรหลักถัดไป คือกกจูปมสูตรและอลคัททูปมสูตร.
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
14.1 พระสูตรหลักถัดไป คือกกจูปมสูตรและอลคัททูปมสูตร.

ความคิดเห็นที่ 4-12
แปลว่า ทำย่อความไว้ก่อนที่จะส่งคำถาม (คุณ GravityOfLove เป็นผู้ถาม) ? ถูกต้องค่ะ

เพิ่มเติม คำตอบข้อ ๑
            พรหมชาลสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=9&A=0&Z=1071&pagebreak=0
            [บางส่วน]
             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนพวกอื่นจะพึงกล่าวติเรา ติพระธรรม ติพระสงฆ์
ในคำที่เขากล่าวตินั้น คำที่ไม่จริง เธอทั้งหลายควรแก้ให้เห็นโดยความไม่เป็นจริงว่านั่นไม่จริง
แม้เพราะเหตุนี้ นั่นไม่แท้ แม้เพราะเหตุนี้ แม้นั่นก็ไม่มีในเราทั้งหลาย และคำนั้นจะหาไม่ได้ในเราทั้งหลาย
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนพวกอื่นจะพึงกล่าวชมเรา ชมพระธรรม ชมพระสงฆ์
เธอทั้งหลายไม่ควรเบิกบานใจ ไม่ควรดีใจ ไม่ควรกระเหิมใจในคำชมนั้น
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนพวกอื่นจะพึงกล่าวชมเรา ชมพระธรรม ชมพระสงฆ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ถ้าเธอทั้งหลายจักเบิกบานใจ จักดีใจ จักกระเหิมใจในคำชมนั้น อันตรายจะพึงมีแก่เธอทั้งหลาย
เพราะเหตุนั้นเป็นแน่
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนพวกอื่นจะพึงกล่าวชมเรา ชมพระธรรม หรือชมพระสงฆ์
ในคำชมนั้น คำที่จริง เธอทั้งหลายควรปฏิญาณให้เห็นโดยความเป็นจริงว่า นั่นจริง
แม้เพราะเหตุนี้ นั่นแท้ แม้เพราะเหตุนี้ แม้คำนั้นก็มีในเราทั้งหลาย และคำนั้นจะหาได้ใน
เราทั้งหลาย.

ความคิดเห็นที่ 4-13
ฐานาฐานะ, 6 มีนาคม เวลา 00:36 น.

             คำถามเบาๆ ในกกจูปมสูตร
//84000.org/tipitaka/v.php?B=12&A=4208&Z=4442
             บทว่า ทกฺขา ได้แก่ เป็นผู้ฉลาดในการงานทั้งหลายมีการหุงข้าว ปูที่นอนและตามไฟเป็นต้น.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=263
             คำว่า ทกฺขา นี้ สันนิษฐานว่า นำมาใช้ในภาษาไทยในปัจจุบัน ด้วยคำใด?

ความคิดเห็นที่ 4-14
ฐานาฐานะ, 6 มีนาคม เวลา 00:39 น.  

             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนพวกอื่นจะพึงกล่าวติเรา ติพระธรรม ติพระสงฆ์
ในคำที่เขากล่าวตินั้น คำที่ไม่จริง เธอทั้งหลายควรแก้ให้เห็นโดยความไม่เป็นจริงว่านั่นไม่จริง
แม้เพราะเหตุนี้ นั่นไม่แท้ แม้เพราะเหตุนี้ แม้นั่นก็ไม่มีในเราทั้งหลาย และคำนั้นจะหาไม่ได้ในเราทั้งหลาย
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=9&A=0&Z=1071&pagebreak=0

             คำว่า เรา ในประโยคว่า คนพวกอื่นจะพึงกล่าวติเรา
             เรา ในที่นี้หมายถึงพระผู้มีพระภาค

ความคิดเห็นที่ 4-15
GravityOfLove, 6 มีนาคม เวลา 00:47 น.

คำว่า ขยัน ค่ะ

คำศัพท์ที่ค้นหา ขยัน
ผลการค้นหาพบคำแปลทั้งหมด 1 ศัพท์
ทกฺโข
คำอ่าน (ภาษาบาลี) : ทัก-โข
คำแปลที่พบ : ขยัน, ว่องไว, มีฝีมือ, ฉลาด, ชำนาญ
//www.mahamodo.com/buddict/buddict_pali.asp

ความคิดเห็นที่ 4-16
GravityOfLove, 6 มีนาคม เวลา 00:48 น.

เรา ในที่นี้หมายถึงพระผู้มีพระภาค

ค่ะ แต่คิดว่า น่าจะนำมาใช้ในสถานการณ์เดียวกันได้ค่ะ


ความคิดเห็นที่ 4-17
ฐานาฐานะ, 6 มีนาคม เวลา 00:49 น.

GravityOfLove, 8 วินาทีที่แล้ว
เรา ในที่นี้หมายถึงพระผู้มีพระภาค
ค่ะ แต่คิดว่า น่าจะนำมาใช้ในสถานการณ์เดียวกันได้ค่ะ
12:48 AM 3/6/2013
             รับทราบครับ.

ความคิดเห็นที่ 4-18
ฐานาฐานะ, 6 มีนาคม เวลา 00:52 น.

             คำถามเบาๆ ในกกจูปมสูตร
//84000.org/tipitaka/v.php?B=12&A=4208&Z=4442
             บทว่า ทกฺขา ได้แก่ เป็นผู้ฉลาดในการงานทั้งหลายมีการหุงข้าว ปูที่นอนและตามไฟเป็นต้น.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=263
             คำว่า ทกฺขา นี้ สันนิษฐานว่า นำมาใช้ในภาษาไทยในปัจจุบัน ด้วยคำใด?
0:37 6/3/2556
GravityOfLove, 2 นาทีที่แล้ว
คำว่า ขยัน ค่ะ
คำศัพท์ที่ค้นหา ขยัน
ผลการค้นหาพบคำแปลทั้งหมด 1 ศัพท์
ทกฺโข
คำอ่าน (ภาษาบาลี) : ทัก-โข
คำแปลที่พบ : ขยัน, ว่องไว, มีฝีมือ, ฉลาด, ชำนาญ
//www.mahamodo.com/buddict/buddict_pali.asp
12:46 AM 3/6/2013

             คำว่า ทกฺขา นี้ ผมสันนิษฐานว่า นำมาใช้ในภาษาไทยในปัจจุบัน ด้วยคำว่า ทักษะ.

ความคิดเห็นที่ 4-19
GravityOfLove, 6 มีนาคม เวลา 01:00 น.

จริงด้วยค่ะ และ ชำนาญ = ทักษะ
ดูใกล้เคียงกว่าคำว่า ขยัน ตั้งเยอะ
Gravity เห็นว่ามี ข ไข่  เหมือนกันตัวเดียว

ความคิดเห็นที่ 4-20
ฐานาฐานะ, 6 มีนาคม เวลา 01:03 น.  

GravityOfLove, 40 วินาทีที่แล้ว
จริงด้วยค่ะ และ ชำนาญ = ทักษะ
ดูใกล้เคียงกว่าคำว่า ขยัน ตั้งเยอะ
Gravity เห็นว่ามี ข ไข่  เหมือนกันตัวเดียว
1:00 AM 3/6/2013

             คำว่า ทกฺขา => ขยัน
             จินตนาการกว้างไกลหนอ.

ความคิดเห็นที่ 4-21
ฐานาฐานะ, 6 มีนาคม เวลา 00:58 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า กกจูปมสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/v.php?B=12&A=4208&Z=4442

             พระสูตรหลักถัดไป คืออลคัททูปมสูตรและวัมมิกสูตร.
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔
             มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
             อลคัททูปมสูตร
//84000.org/tipitaka/v.php?B=12&A=4443&Z=4845
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=274

             วัมมิกสูตร
//84000.org/tipitaka/v.php?B=12&A=4846&Z=4937
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=289

             รถวินีตสูตร
//84000.org/tipitaka/v.php?B=12&A=4938&Z=5108
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=292

ย้ายไปที่




Create Date : 03 เมษายน 2556
Last Update : 23 มกราคม 2557 19:07:38 น.
Counter : 2440 Pageviews.

0 comments
: หยดน้ำในมหาสมุทร 32 : กะว่าก๋า
(10 เม.ย. 2567 06:04:44 น.)
: หยดน้ำในมหาสมุทร 31 : กะว่าก๋า
(9 เม.ย. 2567 05:58:44 น.)
: หยดน้ำในมหาสมุทร 28 : กะว่าก๋า
(5 เม.ย. 2567 04:10:07 น.)
การคัดลอก ปัญญา Dh
(1 เม.ย. 2567 20:37:21 น.)

Gravity-of-love.BlogGang.com

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]

บทความทั้งหมด