17.1 พระสูตรหลักถัดไป คือมหาตัณหาสังขยสูตร [พระสูตรที่ 38]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
16.9 พระสูตรหลักถัดไป คือจูฬโคสิงคสาลสูตร
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=25-06-2013&group=1&gblog=45

ความคิดเห็นที่ 9-108
ฐานาฐานะ, 10 พฤษภาคม เวลา 17:23 น.    Block
GravityOfLove, 5 ชั่วโมงที่แล้ว
             ตอบคำถามในจูฬตัณหาสังขยสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=12&A=7915&Z=8040
11:00 AM 5/10/2013

             ตอบคำถามได้ดีครับ
             1. เมื่อแบ่งข้อด้วยเลขที่ และย่อหน้าแล้ว จะไม่เว้นบรรทัดก็ได้
เช่น
             ๗. ท่านพระมหาโมคคัลลานะมักเที่ยวจาริกไปในเทวโลก

             ๘. เรื่องราวของท้าวสักกะ ตอนเป็นมฆะมาณพ

             ๙. กรณียกิจของท้าวสักกะนั้นน้อยไม่มาก แต่กรณียกิจของเทวดาทั้งหลายมีมาก

             ๑๐. ท้าวสักกะเป็นผู้พิจารณาตั้งแต่พื้นดินไปเพื่อต้องการต้นกัลปพฤกษ์และมาตุคามเป็นต้น
แก้ไขเป็น
             ๗. ท่านพระมหาโมคคัลลานะมักเที่ยวจาริกไปในเทวโลก
             ๘. เรื่องราวของท้าวสักกะ ตอนเป็นมฆะมาณพ
             ๙. กรณียกิจของท้าวสักกะนั้นน้อยไม่มาก แต่กรณียกิจของเทวดาทั้งหลายมีมาก
             ๑๐. ท้าวสักกะเป็นผู้พิจารณาตั้งแต่พื้นดินไปเพื่อต้องการต้นกัลปพฤกษ์และมาตุคามเป็นต้น
จะทำให้อ่านได้ต่อเนื่อง ไม่ต้องเลื่อนหน้าจอบ่อย.
- - - - - - - - - - - - - - -
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------

             2. เนื้อความว่า ท้าวสักกะจอมเทพมีความสลดจิตขนลุกแล้ว ...
             คำว่า สลดจิต หรือสลดใจ นี้ คุณ GravityOfLove ควรสันนิษฐานว่า
ท้าวสักกะจอมเทพเกิดความสลดใจในฐานะอะไร? (ไม่ค่อยเข้าใจคำถามนักค่ะ)
             คำว่า สังเวช
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%CA%D1%A7%E0%C7%AA

             ตอบว่า ในฐานะที่ต่างก็เป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์ในสำนักพระผู้มีพระภาคเช่นกัน
จึงรู้สึกโสมนัส (ดีใจ) ที่เห็นพระอัครสาวกสำแดงฤทธิ์ได้น่าอัศจรรย์ใจปานนี้
             แต่ตัวเองกลับเพลิดเพลินอยู่กับเทวสมบัติจนนึกพระธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคไม่ออก
เมื่อเกิดความสลดใจ จึงนึกขึ้นได้
เฉลยว่า ตอบได้ดี น่าจะสลดใจว่า อะไรๆ ที่เราประมาทอยู่ด้วยความเพลิดเพลิน
สิ่งนั้น พระสมณะมีฤทธิ์มาก อานุภาพมาก เอาหัวแม่เท้ากดทิพยพิภพ เขย่าให้สั่น สะท้าน หวั่นไหวได้.
             สลดใจว่า เราเพลิดในสิ่งที่หวั่นไหวได้ แปรปรวนได้ จัดว่า ประมาทอยู่มาก.
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------

             3. เนื้อความว่า
             ครั้งนั้น พวกเทพธิดาผู้บำเรอของท้าวสักกะจอมเทพ เมื่อท่านพระมหาโมคคัลลาน์
หลีกไปแล้วไม่นาน ได้ทูลถามท้าวสักกะว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นฤทุกข์ พระสมณะนั้น เป็น
พระผู้มีพระภาคผู้พระศาสดาของพระองค์หรือหนอ?
             คุณ GravityOfLove สันนิษฐานว่า พวกเทพธิดาเหล่านั้นถามเพราะไม่รู้
หรือว่ารู้แต่ถาม เพื่อโอกาสในการกล่าวสรรเสริญพระผู้มีพระภาค และพระเถระ.
             อรรถกถา
             บทว่า อโห นูน เต โส ภควา สตฺถา ความว่า สพรหมจารีของพระองค์มีฤทธิ์มากถึงอย่างนี้.
             พวกนางปริจาริกาได้กล่าวถึงการเกิดขึ้นในการเห็นอิทธิปาฏิหาริย์ของพระศาสดา
จึงกล่าวอย่างนี้ว่า ก็พระเถระนั้นเป็นพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ศาสดาของพระองค์ น่าจะมีฤทธิ์มากแน่.

             ตอบว่า รู้แต่ถาม เพื่อโอกาสในการกล่าวสรรเสริญพระผู้มีพระภาค และพระเถระ.
11:00 AM 5/10/2013

เฉลยว่า
             บทว่า อโห นูน เต โส ภควา สตฺถา ความว่า สพรหมจารีของพระองค์มีฤทธิ์มากถึงอย่างนี้.
             เป็นช่วงท้าย หลังจากที่ท้าวสักกะตอบเหล่าเทพธิดาว่า
สมณะนั้นไม่ใช่พระผู้มีพระภาคแล้ว.
//budsir.mahidol.ac.th/cgi-bin/Budsir.cgi/SearchItem?mode=1&valume=12&item=438&Roman=0

             ดังนั้น ในบทนี้ สันนิษฐานได้ยากว่า จะรู้หรือไม่รู้.

             คำถามต่อเนื่องว่า
             ๑๐. ท้าวสักกะเป็นผู้พิจารณาตั้งแต่พื้นดินไปเพื่อต้องการต้นกัลปพฤกษ์และมาตุคามเป็นต้น
             จากที่ศึกษามา เคยได้พบว่าท้าวสักกะพบการพิจารณาคดีใดๆ ของเหล่าเทวดาบ้าง?
และคดีนั้นคือเรื่องอะไร?

ความคิดเห็นที่ 9-109
GravityOfLove, 10 พฤษภาคม เวลา 18:22 น.

             อรรถกถา สักกปัญหสูตร
             คำว่า ด้วยกิจและกรณียะบางอย่าง ความว่า พวกลูกหญิงและลูกชายย่อมเกิดบนตักของพวกเทพ
             พวกสตรีที่เป็นบาทปริจาริกา ย่อมเกิดบนที่นอน
             พวกเทวดาที่เป็นพนักงานตกแต่งประดับประดาของเทวดาเหล่านั้น ย่อมเกิดรอบๆ ที่นอน
             พวกช่วยกิจการงาน (ไวยาวัจกร) ย่อมเกิดภายในวิมาน
             การก่อคดีเพื่อประโยชน์แก่เทพพวกนี้ไม่มี แต่พวกที่เกิดระหว่างเขตแดนนั้น
เมื่อไม่อาจตัดสินว่า ของท่าน ของข้าพเจ้า ดังนี้ ก็เป็นความกัน
             ย่อมทูลถามท้าวสักกะผู้เป็นพระราชาของเทพ พระองค์ก็จะตรัสว่า
             ใกล้วิมานผู้ใดกว่า เป็นของผู้นั้น
             ถ้าวิมานทั้งสองเกิดมีระยะที่เท่าๆ กัน พระองค์ก็จะตรัสว่า
             ยืนมองวิมานผู้ใด เป็นของผู้นั้น
             ถ้าไม่มองดูแม้แต่วิมานเดียว เพื่อตัดการทะเลาะของทั้งสองฝ่าย
ก็ทรงเอาเสียเอง
             ยังกิจมีการกีฬาเป็นต้น ก็จำเป็นต้องทรงจัดการทั้งนั้น.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10&i=247&p=1
             ตอบว่า ตัดสินคดีความเทพที่เกิดระหว่างเขตแดน

ความคิดเห็นที่ 9-110
ฐานาฐานะ, 10 พฤษภาคม เวลา 19:45 น.  

             ตอบคำถามได้ดีครับ.
             ก่อนหน้านี้ ได้เคยพบในสุธาโภชนชาดก
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_line.php?B=28&A=1598

ความคิดเห็นที่ 3-1
ฐานาฐานะ, 10 พฤษภาคม เวลา 19:49 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า จูฬตัณหาสังขยสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=7915&Z=8040

             พระสูตรหลักถัดไป คือมหาตัณหาสังขยสูตร [พระสูตรที่ 38].
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔
             มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
             มหาตัณหาสังขยสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=8041&Z=8506
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=440

             มหาอัสสปุรสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=8507&Z=8743
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=459

             จูฬอัสสปุรสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=8744&Z=8866
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=479

ความคิดเห็นที่ 3-2
GravityOfLove, 10 พฤษภาคม เวลา 20:38 น.

             คำถามมหาตัณหาสังขยสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=8041&Z=8506
             ๑. หากภิกษุทั้งหลายพึงติดอยู่ เพลินอยู่ ปรารถนาอยู่ ยึดถือเป็นของเราอยู่
ซึ่งทิฏฐินี้อันบริสุทธิ์ผุดผ่องอย่างนี้ << ทรงหมายถึงทิฏฐิใดคะ

             ๒. กรุณาอธิบายค่ะ
             ถามว่า เพราะเหตุไร จึงตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย.
             ตอบว่า ได้ยินว่า สาติภิกษุได้มีความคิดอย่างนี้ว่า พระศาสดาตรัสเรียกเราว่าโมฆบุรุษดังนี้
จะไม่มีอุปนิสสัยแห่งมรรคและผลทั้งหลายโดยสักแต่คำที่กล่าวแล้วว่าโมฆบุรุษนี้เท่านั้นก็หามิได้
เพราะว่า แม้พระอุปเสนเถระ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสอย่างนี้ว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ
เธอเวียนมาเพื่อความเป็นผู้มักมากเร็วนักดังนี้ ภายหลังสืบต่ออยู่ พยายามอยู่
ก็ได้กระทำให้แจ้งซึ่งอภิญญา ๖ แม้เราประคองความเพียรแล้ว ก็จักกระทำให้แจ้งซึ่งมรรคและผลทั้งหลายดังนี้.
             ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะแสดงแก่เธอว่า สาติภิกษุนี้มีปัจจัยอันขาดแล้ว
เป็นผู้มีธรรมอันไม่งอกงามในศาสนาดังนี้ จึงตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย.
             บทว่า อุสฺมีกโต เป็นต้น บัณฑิตพึงทราบอธิบายตามที่ได้กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแหละ.
             บทว่า อถโข ภควา ความว่า อนุสนธิแม้นี้เป็นของเฉพาะบุคคล.
             ได้ยินว่า สาติภิกษุได้มีความคิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
ธรรมอันเป็นอุปนิสสัยแห่งมรรคและผลทั้งหลายของเราไม่มี ดังนี้ เมื่อธรรมอันเป็นอุปนิสสัยไม่มีอยู่
เราอาจเพื่อจะแก้ไขธรรมอันเป็นอุปนิสสัยได้หรือ เพราะว่า พระตถาคตทั้งหลายย่อมไม่แสดงธรรมแก่
บุคคลผู้มีอุปนิสสัยเท่านั้น แสดงอยู่แก่ใครๆ นั่นแหละ เราได้โอวาทของพระสุคตจากสำนักของพระพุทธเจ้า
แล้วจักกระทำกุศล เพื่อสวรรค์สมบัติดังนี้.
             ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแก่สาติภิกษุนั้นว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ เราไม่ให้โอวาทหรืออนุสาสนีแก่เธอ
ดังนี้ เมื่อจะทรงระงับโอวาทของพระสุคตเจ้า จึงเริ่มเทศนานี้.
             ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 3-3
ฐานาฐานะ, 10 พฤษภาคม เวลา 22:39 น.  

GravityOfLove, 1 ชั่วโมงที่แล้ว
             คำถามมหาตัณหาสังขยสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=8041&Z=8506
             ๑. หากภิกษุทั้งหลายพึงติดอยู่ เพลินอยู่ ปรารถนาอยู่ ยึดถือเป็นของเราอยู่
ซึ่งทิฏฐินี้อันบริสุทธิ์ผุดผ่องอย่างนี้ << ทรงหมายถึงทิฏฐิใดคะ

             มหาตัณหาสังขยสูตร [บางส่วน]
             พ. เธอทั้งหลายเห็นดีแล้วปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงว่า ขันธปัญจกนั้น
มีความดับเป็นธรรมดา เพราะความดับแห่งอาหารนั้น ดังนี้หรือ?
             ภ. เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า.
             พ. หากว่า เธอทั้งหลาย พึงติดอยู่ เพลินอยู่ ปรารถนาอยู่ ยึดถือเป็นของเราอยู่
ซึ่งทิฏฐินี้อันบริสุทธิ์ผุดผ่องอย่างนี้ (ด้วยตัณหาและทิฏฐิ) เธอทั้งหลายพึงรู้ทั่วถึงธรรมที่
เปรียบด้วยทุ่น อันเราแสดงแล้ว เพื่อประโยชน์ในอันสลัดออกมิใช่แสดงแล้ว เพื่อประโยชน์
ในอันถือไว้บ้างหรือหนอ?
             ภ. ข้อนี้ไม่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า.
             พ. หากว่า เธอทั้งหลาย ไม่ติดอยู่ ไม่เพลินอยู่ ไม่ปรารถนาอยู่ ไม่ยึดถือเป็นของเรา
อยู่ ซึ่งทิฏฐิอันบริสุทธิ์ผุดผ่องอย่างนี้ เธอทั้งหลายพึงรู้ธรรมที่เปรียบด้วยทุ่นอันเราแสดงแล้ว
เพื่อประโยชน์ในอันสลัดออก ไม่ใช่แสดงแล้ว เพื่อประโยชน์ในอันถือไว้ บ้างหรือหนอ?
             ภ. เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า.
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=8041&Z=8506#445

             ตอบว่า ในความเห็นชอบนั้นๆ
             กล่าวคือ ยึดถือว่าสัมมาทิฏฐินั้นๆ เป็นของเรา ด้วยอำนาจตัณหา
ในกรณีของปุถุชนก็สามารถยึดไว้ด้วยทิฏฐิด้วย.
             การยึดถือว่า สัมมาทิฏฐินั้นๆ เป็นของเรา เป็นทางแห่งมานะว่า
เรามีสัมมาทิฏฐิ พวกอื่นเป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็นต้นด้วย.
             ธรรมที่เปรียบด้วยทุ่น เปรียบเหมือนเดินทางด้วยทุ่น เมื่อถึงที่หมายแล้ว
ก็เดินทางขึ้นบกโดยปลอดภัย ละทิ้งทุ่นนั้นไป ไม่แบกทุ่นไปด้วยฉันใด
             กุศลธรรมทั้งปวงของแต่ละบุคคล สูงสุดที่อรหัตตมรรค ย่อมละตัณหา
มานะ ทิฏฐิด้วยสิ้นเชิง.
             น่าสรุปได้ว่า ตามรักษาสัมมาทิฏฐิไว้ให้มั่นคง แต่อย่ายึดถือโดยตัณหาเป็นต้น.

             ๒. กรุณาอธิบายค่ะ
             ถามว่า เพราะเหตุไร จึงตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย.
             ตอบว่า ได้ยินว่า สาติภิกษุได้มีความคิดอย่างนี้ว่า พระศาสดาตรัสเรียกเราว่าโมฆบุรุษดังนี้
จะไม่มีอุปนิสสัยแห่งมรรคและผลทั้งหลายโดยสักแต่คำที่กล่าวแล้วว่าโมฆบุรุษนี้เท่านั้นก็หามิได้
เพราะว่า แม้พระอุปเสนเถระ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสอย่างนี้ว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ
เธอเวียนมาเพื่อความเป็นผู้มักมากเร็วนักดังนี้ ภายหลังสืบต่ออยู่ พยายามอยู่
ก็ได้กระทำให้แจ้งซึ่งอภิญญา ๖ แม้เราประคองความเพียรแล้ว ก็จักกระทำให้แจ้งซึ่งมรรคและผลทั้งหลายดังนี้.
             ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะแสดงแก่เธอว่า สาติภิกษุนี้มีปัจจัยอันขาดแล้ว
เป็นผู้มีธรรมอันไม่งอกงามในศาสนาดังนี้ จึงตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย.
             บทว่า อุสฺมีกโต เป็นต้น บัณฑิตพึงทราบอธิบายตามที่ได้กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแหละ.
             บทว่า อถโข ภควา ความว่า อนุสนธิแม้นี้เป็นของเฉพาะบุคคล.
             ได้ยินว่า สาติภิกษุได้มีความคิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
ธรรมอันเป็นอุปนิสสัยแห่งมรรคและผลทั้งหลายของเราไม่มี ดังนี้ เมื่อธรรมอันเป็นอุปนิสสัยไม่มีอยู่
เราอาจเพื่อจะแก้ไขธรรมอันเป็นอุปนิสสัยได้หรือ เพราะว่า พระตถาคตทั้งหลายย่อมไม่แสดงธรรมแก่
บุคคลผู้มีอุปนิสสัยเท่านั้น แสดงอยู่แก่ใครๆ นั่นแหละ เราได้โอวาทของพระสุคตจากสำนักของพระพุทธเจ้า
แล้วจักกระทำกุศล เพื่อสวรรค์สมบัติดังนี้.
             ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแก่สาติภิกษุนั้นว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ เราไม่ให้โอวาทหรืออนุสาสนีแก่เธอ
ดังนี้ เมื่อจะทรงระงับโอวาทของพระสุคตเจ้า จึงเริ่มเทศนานี้.
             ขอบพระคุณค่ะ
8:37 PM 5/10/2013

             อธิบายว่า สาติภิกษุคิดไปเองว่า คำว่า โมฆบุรุษ ที่พระศาสดาตรัสเรียกเขา
ยังไม่ยืนยันว่า เขาหมดโอกาสบรรลุมรรคผลแล้ว เพราะมีกรณีของพระอุปเสนเถระเป็น
ตัวอย่าง.            
             พระผู้มีพระภาคจึงถามภิกษุทั้งหลายว่า
             สาติภิกษุผู้เกวัฏฏบุตรนี้ จะเป็นผู้ทำความเจริญในพระธรรมวินัยนี้บ้างหรือไม่?
             ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า ข้อนี้จะมีได้อย่างไร ข้อนี้มีไม่ได้เลย พระพุทธเจ้าข้า.
             เมื่อภิกษุทั้งหลายทูลอย่างนี้แล้ว สาติภิกษุ ผู้เกวัฏฏบุตร นั่งนิ่ง กระดาก คอตก ก้มหน้า
ซบเซา หมดปฏิภาณ.
             ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า สาติภิกษุ ผู้เกวัฏฏบุตร มีความเป็นดังนั้นแล้ว
จึงตรัสกะเธอว่า ดูกรโมฆบุรุษ เธอจักปรากฏด้วยทิฏฐิอันลามกของตนนั้น เราจักสอบถามภิกษุ
ทั้งหลายในที่นี้ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอ
ย่อมรู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงแล้วเหมือนสาติภิกษุ กล่าวตู่เราด้วย ขุดตนเสียด้วย จะประสพบาป
มิใช่บุญมากด้วย เพราะทิฏฐิที่ตนถือชั่วแล้ว ดังนี้หรือ?
- - - - - - - - - - - - - - - - - - -
             ความเห็นส่วนตัวว่า
             พระผู้มีพระภาคทรงถามเพื่อให้ภิกษุทั้งหลายตอบนั้น ก็เพื่อให้สาติภิกษุรู้ว่า
ใครๆ ก็รู้ว่า คำว่า โมฆบุรุษ ในกรณีความผิดของเขานั้น ถึงขั้นขุดตนเอง หมดโอกาสแล้ว.
             ความดำริของสาติภิกษุว่า พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมแก่บุคคล 2 จำพวก
คือมีอุปนิสสัย และหมดอุปนิสสัย จึงยังนั่งอยู่เพื่อฟังธรรมกถา.

             คำว่า
             ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแก่สาติภิกษุนั้นว่า
             ดูก่อนโมฆบุรุษ เราไม่ให้โอวาทหรืออนุสาสนีแก่เธอ ดังนี้
เมื่อจะทรงระงับโอวาทของพระสุคตเจ้า จึงเริ่มเทศนานี้.
             คำนี้ น่าจะส่องความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงขับสาติภิกษุออกจากหมู่
เพราะหากนั่งอยู่ แล้วทรงแสดงธรรมโดยประการที่สาติภิกษุจะไม่ได้ยิน (ไม่ให้โอวาท
หรืออนุสาสนี) เหตุการณ์จะปรากฏแก่ภิกษุรูปอื่นว่า สาติภิกษุก็คงได้ฟังพระธรรมเทศนา.
             สันนิษฐานว่า ทรงขับออกจากหมู่ แล้วทรงแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย.
             สันนิษฐานจากกรณีของพระอริฏฐ ในอรรถกถาอลคัททูปมสูตร.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=274

ความคิดเห็นที่ 3-4
GravityOfLove, 11 พฤษภาคม เวลา 00:26 น.

น่าสรุปได้ว่า ตามรักษาสัมมาทิฏฐิไว้ให้มั่นคง แต่อย่ายึดถือโดยตัณหาเป็นต้น.

หมายความว่า
๑. ยึดถือได้ (ถ้ายึดถือด้วย ...) แต่อย่ายึดถือด้วยตัณหา
หรือ
๒. อย่ายึดถือไม่ว่าด้วยอะไรทั้งนั้น
-----------------------------
ข้อ ๒ อ่านจนหลับเลยค่ะ
ตอนนี้ก็ยังง่วงๆ อยู่ ยังอ่านไม่ดีนักค่ะ เอาไว้ก่อน

ความคิดเห็นที่ 3-5
ฐานาฐานะ, 11 พฤษภาคม เวลา 03:47 น.

GravityOfLove, 2 ชั่วโมงที่แล้ว
น่าสรุปได้ว่า ตามรักษาสัมมาทิฏฐิไว้ให้มั่นคง แต่อย่ายึดถือโดยตัณหาเป็นต้น.
             หมายความว่า
             ๑. ยึดถือได้ (ถ้ายึดถือด้วย ... ) แต่อย่ายึดถือด้วยตัณหา หรือ
             ๒. อย่ายึดถือไม่ว่าด้วยอะไรทั้งนั้น

             ตอบว่า คำถามนี้เป็นลักษณะของคำ เพราะข้อ 2 นั้น
             คำว่า อย่ายึดถือไม่ว่าด้วยอะไรทั้งนั้น คล้ายจะไปพ้องกับคำว่า
ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น ซึ่งก็คือ ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นด้วยอำนาจ
ตัณหามานะทิฏฐิ นั่นเอง.
             ดังนั้น หากข้อ 2 มีนัยว่า อย่ายึดถือด้วยอำนาจตัณหามานะทิฏฐิ
ดังนี้ คำตอบคือ ข้อ 2.
             ซึ่งความในข้อ 2 ก็จะตรงกันข้อ 1 คือ
             ตามรักษาสัมมาทิฏฐิไว้ให้มั่นคง แต่อย่ายึดถือโดยตัณหาเป็นต้น.
             คือ ตามรักษาสัมมาทิฏฐิไว้ให้มั่นคง แต่อย่ายึดถือโดยตัณหามานะทิฏฐิ.
             หากข้อ 2 มีนัยว่า อย่ายึดถือโดยการประพฤติย่อหย่อน โดยการไม่ตาม
รักษาสัมมาทิฏฐิให้มั่นคง เช่นการเสพเสวนากับพวกมิจฉาทิฏฐิ การเอออวย การกล่าวตาม
พวกมิจฉาทิฏฐิ ข้อ 2 นี้เป็นอันตกไป.

             ข้อ 1 คือ
             ตามรักษาสัมมาทิฏฐิไว้ให้มั่นคง แต่อย่ายึดถือโดยตัณหาเป็นต้น.
             ขยายความคือ
             ตามรักษาสัมมาทิฏฐิไว้ให้มั่นคง แต่อย่ายึดถือโดยตัณหามานะทิฏฐิ.

             หากบางคนจะแย้งว่า ตามรักษาสัมมาทิฏฐิ ก็ยังเป็นภาระอยู่
             ควรเข้าใจคำว่า สัมมัปปธาน 4 ข้อที่ 4 อนุรักขนาปธาน
             คำว่า สัมมัปปธาน 4
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=สัมมัปปธาน

             ท้ายสุด พระผู้มีพระภาคทรงเป็นพระอรหันต์ และพระอรหันต์องค์อื่นๆ
             เมื่อจะทรงแสดงธรรมหรือแสดงธรรม ก็แสดงธรรมโดยความที่สัมมาทิฏฐิ
เป็นองค์หนึ่งของอริยมรรคมีองค์ 8 กล่าวคือ มรรคควรเจริญให้เกิดให้มีขึ้น
             ภาวนา (การเจริญ เป็นกิจในมรรค ตามหลักว่า ทุกฺขนิโรธคามินี
ปฏิปทา อริยสจฺจํ ภาเวตพฺพํ มรรคควรเจริญ คือ ควรฝึกอบรม ลงมือปฏิบัติ
กระทำตามวิธีการที่จะนำไปสู่จุดหมาย ได้แก่การลงมือแก้ไขปัญหา
- development; practice; the path is to be followed or developed)
             คำว่า มรรคมีองค์ 8 และกิจในอริยสัจ 4
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=มรรคมีองค์_8
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=กิจในอริยสัจ_4

             ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร [บางส่วน]
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ.
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้นั้นแล ควรให้เจริญ.
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้นั้นแล เราให้เจริญแล้ว.
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_line.php?B=4&A=355

             ตอบยาว เพราะต้องอธิบายคำต่างๆ ให้ชัดเจน

ความคิดเห็นที่ 3-6
GravityOfLove, 11 พฤษภาคม เวลา 11:55 น.

นั่นคือไม่ควรยึดมั่นไม่ว่าด้วยอะไรทั้งสิ้นนะคะ
ส่วนคำว่า ตัณหา ที่มีต่อท้ายในประโยคว่า อย่ายึดถือด้วยอำนาจตัณหา (มานะทิฏฐิ)
เป็นการขยายความเฉยๆ ว่า นามธรรมที่ยึดถือนั้น นามธรรมตัวนั้นเรียกว่า ตัณหา (มานะทิฏฐิ) ถูกต้องไหมคะ

ตอนแรก Gravity เข้าใจไปว่า ยึดถือด้วยอำนาจตัณหา (มานะทิฏฐิ) ไม่ได้
แต่ถ้ายึดถือด้วยอำนาจฉันทะ ได้ เป็นต้น

ความคิดเห็นที่ 3-7
ฐานาฐานะ, 11 พฤษภาคม เวลา 18:44 น.

GravityOfLove, 5 ชั่วโมงที่แล้ว
นั่นคือไม่ควรยึดมั่นไม่ว่าด้วยอะไรทั้งสิ้นนะคะ
             <<< ตรงนี้ที่แสดงว่า นั่นคือไม่ควรยึดมั่นไม่ว่าด้วยอะไรทั้งสิ้นนะคะ
             ต้องแยกคำให้ชัดเจน คือ
             ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น
             สิ่งที่ไปยึดถือ คือ ตัณหามานะทิฏฐิ
             ธรรมทั้งปวง คือ สิ่งที่ไม่ควรยึดถือ คือเป็นอารมณ์ของตัณหามานะทิฏฐิ
-----------------------------------------
ส่วนคำว่า ตัณหา ที่มีต่อท้ายในประโยคว่า อย่ายึดถือด้วยอำนาจตัณหา (มานะทิฏฐิ)
เป็นการขยายความเฉยๆ ว่า นามธรรมที่ยึดถือนั้น นามธรรมตัวนั้นเรียกว่า ตัณหา (มานะทิฏฐิ) ถูกต้องไหมคะ
             นามธรรมที่ยึดถือนั้น นามธรรมตัวนั้นเรียกว่า ตัณหา (มานะทิฏฐิ) << ถูกต้องครับ
             ส่วนอารมณ์ของตัณหามานะทิฏฐิ คือธรรมทั้งปวง คือทุกอย่าง.
ตอนแรก Gravity เข้าใจไปว่า ยึดถือด้วยอำนาจตัณหา (มานะทิฏฐิ) ไม่ได้
แต่ถ้ายึดถือด้วยอำนาจฉันทะ ได้ เป็นต้น
11:54 AM 5/11/2013
             ในจวมานสูตร คำว่า
              ศรัทธาของท่านนั้นพึงเป็นคุณชาติตั้งลงมั่น
             เป็นการยึดถือด้วยอำนาจตัณหามานะทิฏฐิหรือไม่
หรือว่า เป็นสิ่งที่ควรตามรักษาให้มั่นคง
             ศรัทธาก็ตาม สัมมาทิฏฐิก็ตาม ก็เป็นส่วนหนึ่งของธรรมทั้งปวง
ควรตามรักษาให้มั่นคง ยึดถือว่าเป็นธรรมที่ควรตั้งมั่น ทำฉันทะให้เกิดว่า
ศรัทธาหรือสัมมาทิฏฐิเป็นกุศลธรรมได้ แต่ไม่ควรยึดถือด้วยตัณหามานะทิฏฐิ.
             จวมานสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=25&A=6074&Z=6109
             อีกประการหนึ่ง ฉันทะอันไม่ใช่อกุศลธรรม ควรให้เกิดขึ้น
เพราะฉันทะเป็นข้อหนึ่งในอิทธิบาท 4.
             กินติสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=14&A=793&w=อิทธิบาท_๔
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/tipitaka_seek.php?text=อิทธิบาท_4&book=10&bookZ=45

ความคิดเห็นที่ 3-8
GravityOfLove, 11 พฤษภาคม เวลา 18:51 น.

เข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

ย้ายไปที่



Create Date : 25 มิถุนายน 2556
Last Update : 23 มกราคม 2557 19:22:05 น.
Counter : 1306 Pageviews.

0 comments
: หยดน้ำในมหาสมุทร 7 : กะว่าก๋า
(18 มี.ค. 2567 06:03:40 น.)
ใจเป็นตัววัดผล **mp5**
(17 มี.ค. 2567 07:42:40 น.)
17 มีค 67 คอร์สปฏิบัติธรรมอินเดีย 27 มค - 3 กพ 67 Ep 5 mcayenne94
(17 มี.ค. 2567 22:30:55 น.)
เสมอ นาฬิกาสีชมพู
(13 มี.ค. 2567 11:49:46 น.)

Gravity-of-love.BlogGang.com

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]

บทความทั้งหมด