15.4 พระสูตรหลักถัดไป คือจูฬหัตถิปโทปมสูตรและมหาหัตถิปโทปมสูตร.
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
15.3 พระสูตรหลักถัดไป คือจูฬหัตถิปโทปมสูตรและมหาหัตถิปโทปมสูตร.
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=25-04-2013&group=1&gblog=31
ความคิดเห็นที่ 9-35
GravityOfLove, 18 เมษายน เวลา 13:42 น.

ขอบพระคุณค่ะ

ที่สำนักหนึ่งประกาศจะสวดเพียง ๑๕๐ ข้อเท่านั้น นำมาจากอรรถกถาพระสูตรนี้หรือเปล่าคะ
คือจริงๆ แล้ว  A ใหญ่กว่า B แต่ตีความกลับกันคือ ตีความว่า
B = A หรือ A อยู่ใน B

หรือว่านำมาจากพระสูตร/อรรถกถา อื่นคะ

ความคิดเห็นที่ 9-36
ฐานาฐานะ, 18 เมษายน เวลา 14:01 น.

GravityOfLove, 8 นาทีที่แล้ว
ขอบพระคุณค่ะ
             ที่สำนักหนึ่งประกาศจะสวดเพียง ๑๕๐ ข้อเท่านั้น นำมาจากอรรถกถาพระสูตรนี้หรือเปล่าคะ
คือจริงๆ แล้ว A ใหญ่กว่า B แต่ตีความกลับกันคือ ตีความว่า
B = A หรือ A อยู่ใน B หรือว่านำมาจากพระสูตร/อรรถกถา อื่นคะ
1:42 PM 4/18/2013
             ตอบว่า สำนักนั้นทำการตลาดด้วยกลยุทธสร้างความแตกต่าง
เพื่อลาภเฉพาะตน ไม่คำนึงถึงความถูกผิด มุ่งแต่ความแตกต่างจากผู้อื่น
เพื่อให้ได้ลาภเท่านั้นเอง เหมือนๆ กับการโฆษณาเพื่อการตลาดขายสินค้าทั่วไป
ที่เห็นตามสื่อต่างๆ

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๗  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๙
             ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑
             ลาภครหิกชาดก ว่าด้วยวิธีการหลอกลวง
             [๔๖๐] ไม่ใช่คนบ้า ทำเป็นเหมือนคนบ้า ไม่ใช่คนส่อเสียด ก็ทำเป็นเหมือนคนส่อเสียด
             ไม่ใช่นักฟ้อนรำ ก็ทำเป็นเหมือนนักฟ้อนรำ ไม่ใช่คนตื่นข่าว ก็ทำเป็นเหมือนคนตื่นข่าว
             ย่อมจะได้ลาภในคนผู้หลงใหลทั้งหลาย นี้เป็นคำสั่งสอนแก่ท่าน.
             [๔๖๑] ข้าแต่ท่านพราหมณ์ น่าติเตียนความประพฤติอัตตวินิบาตกรรม
             การประพฤติอธรรม การได้ยศ และได้ทรัพย์.
             [๔๖๒] อนึ่ง ถ้าบุคคลจะถือเอาบาตรออกไปบวชเสีย ความเป็นอยู่นี้แล
             ประเสริฐกว่าการแสวงหาโดยอธรรม.
             จบ ลาภครหิกชาดกที่ ๗.
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๗  บรรทัดที่ ๒๔๒๘ - ๒๔๓๘.  หน้าที่  ๑๑๙.
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=27&A=2428&Z=2438
             ศึกษาอรรถกถาชาดกนี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=460

ความคิดเห็นที่ 9-37
ฐานาฐานะ, 18 เมษายน เวลา 14:10 น.

GravityOfLove, 3 ชั่วโมงที่แล้ว
             กรุณาอธิบายค่ะ
             - จริงอยู่ กายนี้ท่านกล่าวว่า ในขณะจิตที่เป็นอดีตเป็นอยู่แล้ว ไม่ใช่กำลังเป็นอยู่ ไม่ใช่จักเป็นอยู่ ในขณะจิตที่เป็นอนาคตจักเป็นอยู่ ไม่ใช่กำลังเป็นอยู่ ไม่ใช่เป็นอยู่แล้ว ในขณะจิตที่เป็นปัจจุบันกำลังเป็นอยู่ ไม่ใช่เป็นอยู่แล้ว ไม่ใช่จักเป็นอยู่.
             เพื่อแสดงว่า กายนี้นี่แลตั้งอยู่นิดหน่อย ท่านจึงกล่าวคำนี้ว่า
             ชีวิตํ อตฺตภาโว จ สุขทุกฺขา จ เกวลา
             เอกจิตฺตสมายุตฺตา ลหุโส วตฺตเต ขโณ
             ชีวิต อัตตภาพและสุขทุกข์ทั้งมวล
             ล้วนประกอบด้วยจิตดวงเดียว ขณะ
             ย่อมเป็นไปฉับพลัน.

             อธิบายว่า
             จิตดำรงอยู่ขณะจิตเดียวเท่านั้น
             จิตที่เกิดแล้วดับแล้ว (อดีต) เป็นไปแล้ว (อดีต) ไม่ใช่กำลังเป็นอยู่ (ปัจจุบัน), ไม่ใช่จักเป็นอยู่ (อนาคต).
             จิตที่จักเป็นอยู่ (อนาคต) ไม่ใช่กำลังเป็นอยู่ (ปัจจุบัน), ไม่ใช่เป็นไปแล้ว (อดีต).
             จิตที่กำลังเป็นอยู่ (ปัจจุบัน) เป็นไปแล้ว (อดีต), ไม่ใช่เป็นไปแล้ว (อดีต).

             - ทำให้นึกถึงประโยคว่า จิตดวงเดียวท่องเที่ยวไป << ผิดถูกอย่างไรคะ
             อธิบายว่า
             จิตดวงเดียวท่องเที่ยวไป คือจิตดวงเดียวเกิดดับในแต่ละขณะ
ท่องเที่ยวไป คือเสพอารมณ์ต่างๆ ไป หรือเกิดดับไปในภพต่างๆ.

             - ทำให้นึกถึงความคิดเห็นหนึ่งที่บอกว่า จิตไม่เกิดดับ แต่ที่เกิดดับคืออาการของจิต << ผิดถูกอย่างไรคะ
             อธิบายว่า
             คำนี้ผิดแน่นอนอยู่แล้ว ในพระสูตรต่างๆ ก็กล่าวไว้ชัดเจนอยู่แล้ว เช่น
จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ในสติปัฏฐานสูตร และในมหาตัณหาสังขยสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=8041&Z=8506

             ดังนั้นเป็นการปะดิดปะดอยถ้อยคำเท่านั้นเอง เหมือนพวกที่ไม่เชื่อโลกนี้ โลกหน้า
มักจะยกคำว่า สวรรค์ในอก นรกในใจมาเพื่อลวงด้วยการประนีประนอมว่า โลกนี้ โลกหน้า
มีอีกความหมายหนึ่ง.

             จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ในสติปัฏฐานสูตร
//84000.org/tipitaka/read/?12/140
             มหาตัณหาสังขยสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=8041&Z=8506
             มหาจัตตารีสกสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=14&A=3724&Z=3923#257
             พาลบัณฑิตสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_line.php?B=14&A=6312

ความคิดเห็นที่ 9-38
GravityOfLove, 18 เมษายน เวลา 15:42 น.
เข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ แปลว่าอะไรคะ
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=14&A=3724&Z=3923#257

สาสวะ เป็นไปกับด้วยอาสวะ, ประกอบด้วยอาสวะ, ยังมีอาสวะ, เป็นโลกิยะ
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=สาสวะ

ความคิดเห็นที่ 9-39
ฐานาฐานะ, 18 เมษายน เวลา 16:01 น.

             สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ แปลว่าอะไรคะ
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=14&A=3724&Z=3923#257
             น่าจะแปลว่า สัมมาทิฐิที่ยังมีอาสวะ กล่าวคือ
             สัมมาทิฏฐิของคนทั่วไปที่ยังมีอาสวะอยู่ อาศัยสัมมาทิฏฐิเหล่านี้
ก็สามารถเจริญกุศลต่อไปได้ เช่น ในสมัยที่ไม่มีพระพุทธศาสนา
สัมมาทิฏฐิเหล่านั้น ทำให้บุคคลทั่วไปเจริญโลกิยกุศล แล้วได้
ผลคือวิบากอันเป็นสุข
             เมื่อพระพุทธศาสนาอุบัติแล้ว สัมมาทิฏฐิเหล่านี้เห็นว่า กรรมมี วิบากมีเป็นต้น
พิจารณาปัจจัยต่างๆ เจริญสมณธรรมแล้ว ก็สามารถถึงสัมมาทิฏฐิที่ไม่มีอาสวะ
คือบรรลุมรรคผลได้.
             ถ้าเป็นมิจฉาทิฏฐิ ก็ปฏิเสธโลกนี้โลกหน้า ปฏิเสธเหตุ ปฏิเสธผล
ปฏิเสธการตรัสรู้ทั้งสิ้น เป็นอันไม่มีทางประพฤติปฏิบัติให้ถึงสัมมาทิฏฐิที่ไม่มีอาสวะได้เลย.

             พระพุทธพจน์ :-
             [๒๕๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มิจฉาทิฐิเป็นไฉน คือ ความเห็นดังนี้ว่า
ทานที่ให้แล้ว ไม่มีผล ยัญที่บูชาแล้ว ไม่มีผล สังเวยที่บวงสรวงแล้ว ไม่มีผล
ผลวิบากของกรรมที่ทำดีทำชั่วแล้วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มี
บิดาไม่มี สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะไม่มี สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติ
ชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลกไม่มี
นี้มิจฉาทิฐิ ฯ
             [๒๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาทิฐิเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เรากล่าวสัมมาทิฐิเป็น ๒ อย่าง คือ สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ
ให้ผลแก่ขันธ์ อย่าง ๑ สัมมาทิฐิของพระอริยะ ที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ
เป็นองค์มรรค อย่าง ๑ ฯ
             [๒๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ
ให้ผลแก่ขันธ์ เป็นไฉน คือ ความเห็นดังนี้ว่า ทานที่ให้แล้ว มีผล ยัญที่บูชา
แล้ว มีผล สังเวยที่บวงสรวงแล้ว มีผล ผลวิบากของกรรมที่ทำดี ทำชั่วแล้ว
มีอยู่ โลกนี้มี โลกหน้ามี มารดามี บิดามี สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะมี สมณพราหมณ์
ทั้งหลาย ผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง
เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลก มีอยู่ นี้สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ
ให้ผลแก่ขันธ์ ฯ
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=14&A=3724&Z=3923#255

ความคิดเห็นที่ 9-40
GravityOfLove, 18 เมษายน เวลา 16:58 น.

เข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 9-41
ฐานาฐานะ, 18 เมษายน เวลา 19:08 น.

GravityOfLove, วันอังคาร เวลา 22:58 น.
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
             ๓. โอปัมมวรรค
             ๘. มหาหัตถิปโทปมสูตร อุปมาอริยสัจกับรอยเท้าช้าง
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=6042&Z=6308&bgc=floralwhite&pagebreak=0
10:57 PM 4/16/2013

             ย่อความได้ดี รวบรวมประเด็นครบถ้วน.
             มีคำที่ควรแก้ไข ดังนี้ :-

ท่านอานาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี
             แก้ไขเป็น
ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี

             เมื่อเป็นเช่นนี้ ความยึดถือเพราะ ตัณหา มานะ  ทิฏฐิ ในปฐวีธาตุ
แก้ไขเป็น
             เมื่อเป็นเช่นนี้ ความยึดถือเพราะตัณหา มานะ ทิฏฐิ ในปฐวีธาตุ

              ถ้าคนอื่นจะด่า จะตัดพ้อ กระทบกระเทียบ จะเบียดเบียน ภิกษุนั้น
แก้ไขเป็น
              ถ้าคนอื่นจะด่า จะตัดพ้อ กระทบกระเทียบ จะเบียดเบียนภิกษุนั้น

              ควรทำเป็นกกจูปมสูตร เป็นลิงค์แรกไว้ด้านล่าง :-
              กล่าวคือ
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อุปาทินนกรูป&detail=on
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ปปัญจธรรม_3
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=อักโกสวัตถุ
              กกจูปมสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=4208&Z=4442&pagebreak=0
//pantip.com/topic/30108755/comment4-5
แก้ไขเป็น
              กกจูปมสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=4208&Z=4442
//pantip.com/topic/30108755/comment4-5
//www.bloggang.com/viewdiary.php?id=gravity-of-love&month=03-2013&date=14&group=1&gblog=16
              คำว่า อุปาทินนกรูป, ปปัญจธรรม 3, อักโกสวัตถุ
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อุปาทินนกรูป&detail=on
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ปปัญจธรรม_3
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=อักโกสวัตถุ

             ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาทผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรม ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเห็นปฏิจจสมุปบาท
แก้ไขเป็น
             ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรม ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเห็นปฏิจจสมุปบาท

             แต่ธรรมารมณืที่เป็นอายตนะภายนอกไม่มาสู่คลอง
แก้ไขเป็น
             แต่ธรรมารมณ์ที่เป็นอายตนะภายนอกไม่มาสู่คลอง

ความคิดเห็นที่ 9-42
ฐานาฐานะ, 18 เมษายน เวลา 19:12 น.  

             คำถามในมหาหัตถิปโทปมสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=6042&Z=6308

             เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง?

ความคิดเห็นที่ 9-43
GravityOfLove, 18 เมษายน เวลา 19:57 น.

ขอบพระคุณค่ะ

เพิ่มเติมแก้ไข
เสื่อมใส << เลื่อมใส ( ล ลิง ๒ ตำแหน่ง)
------------------------------------------------
             ตอบคำถามในมหาหัตถิปโทปมสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=6042&Z=6308

             เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง?

             ๑. กุศลธรรมใดๆ ย่อมนับเข้าในอริยสัจ ๔

             รอยเท้าเหล่าใดเหล่าหนึ่งแห่งสัตว์ทั้งหลาย ผู้เที่ยวไปบนแผ่นดิน
รอยเท้าเหล่านั้น ทั้งหมดย่อมประชุมลงในรอยเท้าช้าง ฉันใด
             กุศลธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง กุศลธรรมเหล่านั้นทั้งหมด
ย่อมสงเคราะห์เข้าในอริยสัจ 4 ฉันนั้นเหมือนกัน

             ๒. การมนสิการความไม่เที่ยงในธาตุ ๔ ในร่างกาย (อนิจจลักษณะ)
             (แต่อีก ๒ ลักษณะก็มาด้วยเพราะ สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา)

             ๓. ลำดับการแสดงธรรมของท่านพระสารีบุตรเปรียบเหมือน
             ข้ออุปมาด้วยราชบุตร หรือช่างสานไม้ไผ่ กล่าวคือช่างสานได้ไม้ไผ่มา ๑ ลำ
             แล้วตัดเป็น ๔ ท่อน (อริยสัจ ๔) จาก ๔ ท่อนนั้นเว้นไว้ ๓ ท่อนถือเอาแต่ท่อนเดียว
             จึงตัดเป็น ๕ ซีก (อุปทานขันธ์ ๕) จาก ๕ ซีกนั้นเว้นไว้ ๔ ซีกถือเอาซีกเดียว
             แล้วผ่าเป็น ๕ เสี้ยว (มหาภูติรูป ๔ และอุปาทายรูป ๑) จาก ๕ เสี้ยวนั้นเว้นไว้ ๔ เสี้ยวถือเอาเสี้ยวเดียว
             เกรียกเป็น ๒ คือ ส่วนท้อง (รูปภายใน - ธาตุ ๔ ในร่างกาย) และส่วนหลัง (รูปภายนอก - ธาตู ๔ นอกร่างกาย)
เว้นส่วนหลังไว้ถือเอาแต่ส่วนท้อง
             จากนั้น กระทำให้เป็นเครื่องสานไม้ไผ่หลากชนิดมีหีบพัดวีชนีและพัดใบตาลเป็นต้น
             ช่างสานนั้นไม่ถูกใครกล่าวว่า ไม่ใช้งานส่วนหลังอีก ๔ ชิ้น อีก ๔ ส่วนและอีก ๓ ส่วน
แต่เขาไม่อาจใช้งานในคราวเดียวกันได้ แต่จักใช้งานตามลำดับฉันใด ฉันนั้น

             แล้วแสดงอาการ ๒๐ ของรูปภายในและขันธ์ ๕ ดังนี้คือ
             ดิน น้ำ ไฟ ลม =4
             รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ = 5
             4 x 5 = 20

             ๔. อาการเกิดอุปทานขันธ์ ๕ ต้องมีองค์ประกอบในการเกิดคือ
อายตนะภายใน ๖ อายตนะภายนอก ๖ และความใส่ใจ (ความกำหนด)
             รูปแห่งสภาพอย่างนั้นจัดเข้าใน รูปูปาทานขันธ์
             เวทนาแห่งสภาพอย่างนั้นจัดเข้าใน เวทนูปาทานขันธ์
             สัญญาแห่งสภาพอย่างนั้นจัดเข้าใน สัญญูปาทานขันธ์
             สังขารแห่งสภาพอย่างนั้นจัดเข้าใน สังขารูปาทานขันธ์
             วิญญาณแห่งสภาพอย่างนั้นจัดเข้าในวิญญาณูปาทานขันธ์

             ๕. การมนสิการการมีปัจจัยการเกิดนี้ ก็คือการได้เห็นธรรม
             บทว่า โย ปฏิจฺจสมุปฺปาทํ ปสฺสติ ได้แก่ ผู้ใดเห็นปัจจัยทั้งหลาย.
             บทว่า โส ธมฺมํ ปสฺสติ ได้แก่ ผู้นั้น ชื่อว่าเห็นปฏิจจสมุปปันนธรรม.            

             ๖. ท่านพระสารีบุตรแสดงธรรมโดยพิศดาร พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
             ภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรสมควรบอกบัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก  
ทำให้ตื้นซึ่งอริยสัจจ์ ๔ โดยพิสดาร.

             ๗. สงเคราะห์มี ๔ อย่างคือ (ในพระสูตรนี้คือ คณนสังคหะ)
             สชาติสังคหะ คือรวบรวมตามชาติ เช่น ชาิติกษัตริย์ ชาติพราหมณ์
             สัญชาติสังคหะ คือการรวบรวมตามถิ่นแห่งคนชาติเดียวกัน เช่น คนชาวโกศล คนชาวมคธ
             กริยาสังคหะ คือการรวบรวมโดยกิริยา เช่น พลรถ พลถือธนู
             คณนสังคหะ เช่น จักขายตนะรวมเข้าในรูปขันธ์

             ๘. สมุทัยสัจจ์จัดเป็นอกุศล
             มัคคสัจจ์จัดเป็นกุศล
             นิโรธสัจจ์จัดเป็นอัพยากฤต
             ทุกขสัจจ์บางคราวเป็นกุศล บางคราวเป็นอกุศล บางคราวเป็นอัพยากฤต

             ๙. คำเหล่านี้เ็ป็นไวพจน์ของคำว่า ตัณหา
             ตัณหาท่านเรียกว่าฉันทะ เพราะทำความพอใจ.
             เรียกว่าอาลัย เพราะทำความเยื่อใย.
             เรียกว่าอนุนยะ เพราะทำความยินดี.
             เรียกว่าอัชโฌสานะ เพราะใส่ลงกลืนเก็บไว้.

ความคิดเห็นที่ 9-44
ฐานาฐานะ, 18 เมษายน เวลา 21:05 น.

GravityOfLove, 40 นาทีที่แล้ว
ขอบพระคุณค่ะ
เพิ่มเติมแก้ไข ...
7:56 PM 4/18/2013

             ตอบคำถามได้ดี แต่มีข้อสงสัยดังนี้ :-
             1. เสื่อมใส << เลื่อมใส ( ล ลิง ๒ ตำแหน่ง)
เสื่อมใส << ส เสือ 2 ตำแหน่ง
เลื่อมใส << ล ลิง 1 ตำแหน่ง, ส เสือ 1 ตำแหน่ง
             ล ลิง ๒ ตำแหน่ง คืออะไร? เลื่อมใล ?

             2. การสะกดคำ
จึงตัดเป็น ๕ ซีก (อุปทานขันธ์ ๕) จาก ๕ ซีกนั้นเว้นไว้ ๔ ซีกถือเอาซีกเดียว
             << อุปาทานขันธ์ ๕
แล้วผ่าเป็น ๕ เสี้ยว (มหาภูติรูป ๔ และอุปาทายรูป ๑) จาก ๕ เสี้ยวนั้นเว้นไว้ ๔ เสี้ยวถือเอาเสี้ยวเดียว
             << มหาภูตรูป ๔
เกรียกเป็น ๒ คือ ส่วนท้อง (รูปภายใน - ธาตุ ๔ ในร่างกาย) และส่วนหลัง (รูปภายนอก - ธาตู ๔ นอกร่างกาย)
             << ธาตุ ๔ นอกร่างกาย
๔. อาการเกิดอุปทานขันธ์ ๕ ต้องมีองค์ประกอบในการเกิดคือ
             << อุปาทานขันธ์ ๕

             3. คำว่า
             แล้วแสดงอาการ ๒๐ ของรูปภายในและขันธ์ ๕ ดังนี้คือ
             ดิน น้ำ ไฟ ลม =4
             รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ = 5
             4 x 5 = 20

             3.1 คำว่า อาการ ๒๐ นำมาจากไหน?
             3.2 4 x 5 = 20 << แจกแจงให้เข้าใจด้วย.

ความคิดเห็นที่ 9-45
GravityOfLove, 18 เมษายน เวลา 21:29 น.

1. เสื่อมใส << เลื่อมใส ( ล ลิง ๒ ตำแหน่ง) ^ ^
แปลว่า มีคำนี้ ๒ ตำแหน่งในย่อความค่ะ
เวลาตามแก้จะได้ไม่ลืม คิดว่าแก้ไขหมดแล้ว

3.1 คำว่า อาการ ๒๐ นำมาจากไหน?
มาจากอรรถกถาค่ะ
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=340

3.2 4 x 5 = 20 << แจกแจงให้เข้าใจด้วย.
      4 คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม ในร่างกาย
      5 คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ คืออุปาทานขันธ์ ๕ (ขันธ์เป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือ)
      นั่นคือ มีอุปาทานขันธ์ ๕ ในธาตุ ๔

ย้ายไปที่



Create Date : 26 เมษายน 2556
Last Update : 23 มกราคม 2557 19:14:50 น.
Counter : 1990 Pageviews.

0 comments
: หยดน้ำในมหาสมุทร 33 : กะว่าก๋า
(11 เม.ย. 2567 05:15:42 น.)
: หยดน้ำในมหาสมุทร 30 : กะว่าก๋า
(7 เม.ย. 2567 05:51:28 น.)
: หยดน้ำในมหาสมุทร 26 : กะว่าก๋า
(3 เม.ย. 2567 05:14:00 น.)
: หยดน้ำในมหาสมุทร 24 : กะว่าก๋า
(1 เม.ย. 2567 04:12:21 น.)

Gravity-of-love.BlogGang.com

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]

บทความทั้งหมด