15.2 พระสูตรหลักถัดไป คือจูฬหัตถิปโทปมสูตรและมหาหัตถิปโทปมสูตร.
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
15.1.พระสูตรหลักถัดไป คือจูฬหัตถิปโทปมสูตรและมหาหัตถิปโทปมสูตร.
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=11-04-2013&group=1&gblog=29
ความคิดเห็นที่ 9-11
GravityOfLove, 13 เมษายน เวลา 12:43 น.

กรุณาอธิบายค่ะ
               บุญให้เกิดสุขในภพทั้งสอง               
               พระศาสดาประทับนั่งในพระคันธกุฎีนั่นเอง ทรงสดับเสียงนางเทวธิดานั้นร้องไห้ ทรงแผ่พระรัศมีดุจประทับนั่งตรัสอยู่ในที่เฉพาะหน้านางเทวธิดา ตรัสว่า "เทวธิดา การทำความสังวรนั่นเทียวเป็นภาระของกัสสปผู้บุตรของเรา, แต่การกำหนดว่า ‘นี้เป็นประโยชน์ของเราแล้วมุ่งกระทำแต่บุญ ย่อมเป็นภาระของผู้มีความต้องการด้วยบุญ’ ด้วยว่า การทำบุญเป็นเหตุให้เกิดสุขอย่างเดียว ทั้งในภพนี้ ทั้งในภพหน้า" ดังนี้
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=19&p=3

ความคิดเห็นที่ 9-12
ฐานาฐานะ, 13 เมษายน เวลา 14:34 น.  

             เนื้อความก็ชัดเจนดีแล้ว จึงไม่รู้ว่าจะให้อธิบายขยายความอะไร
แต่จะอธิบายครอบคลุมทั้งหมด
             หากไม่ตรงกับที่สงสัย ก็ถามมาใหม่ให้แคบเข้ามา ดังนี้ :-

             พระศาสดาประทับอยู่ต่างที่กับที่เหตุการณ์นี้เกิดขึ้น ทรงสดับเสียง
ร้องไห้ของเทพธิดา จึงทรงแผ่พระรัศมี ให้เหมือนประทับอยู่หน้าเทพธิดานั้น.
             การสังวรระวังในสิกขาทั้งหลาย เป็นสิ่งที่พระมหากัสสปเถระ
พึงกระทำ กล่าวคือ สังวรระวังเพื่ออยู่อย่างเป็นสุขในปัจจุบันและอนุเคราะห์
แก่อนุชนผู้เกิดมาภายหลัง.
             นัยจากชิณณสูตร ข้อ 481 ว่า
             เล็งเห็นการอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม และอนุเคราะห์ประชุมชนในภายหลัง
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=16&A=5319&Z=5370#481

             นี้เป็นส่วนของพระเถระ.
             ส่วนของเทพธิดาผู้ประสงค์บุญ ก็คือ
             การกำหนดว่า นี้เป็นบุญ นี้เป็นกุศล เป็นสิ่งที่ผู้ประสงค์บุญจะพึงกระทำ
คือ เทพธิดาพึงกระทำ เพื่อให้ได้ประโยชน์ (วิบากธรรม) เพราะว่า บุญเป็นเหตุให้เกิด
ความสุขอย่างเดียว  คือเกิดความสุข ไม่ได้ให้เกิดความทุกข์
บุญนั้นนำความสุขให้เกิดขึ้นในปัจจุบันชาติ (ภพนี้) และภพหน้าด้วย.

             นัยจากพหุธาตุกสูตร ข้อย่อยที่ 20-22
             พหุธาตุกสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=14&A=3432&Z=3646
             คำว่า กรรม 12
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=กรรม_12&original=1

ความคิดเห็นที่ 9-13
GravityOfLove, 13 เมษายน เวลา 16:46 น.

ย่อหน้านี้เกี่ยวข้องอย่างไรกับท่านพระมหากัสสปไม่ยอมให้นางอุปฐากคะ

ความคิดเห็นที่ 9-14
ฐานาฐานะ, 13 เมษายน เวลา 17:13 น.
GravityOfLove, 13 นาทีที่แล้ว
ย่อหน้านี้เกี่ยวข้องอย่างไรกับท่านพระมหากัสสปไม่ยอมให้นางอุปฐากคะ
16.46
             ท่านพระมหากัสสป ไม่ได้ยินดีที่เทวดามาอุปฐาก ด้วยคำว่า
             เจ้าอย่าทำให้เราถูกพระธรรมกถึกทั้งหลาย นั่งจับพัดอันวิจิตร
พึงกล่าวในอนาคตว่า 'ได้ยินว่า นางเทวธิดาผู้หนึ่งมาทำวัตรปฏิบัติ
เข้าไปตั้งน้ำฉันน้ำใช้ เพื่อพระมหากัสสปเถระ'
             สมณพราหมณ์บางพวก แค่เห็นเทวดา ก็ดีใจมากมาย กระทำมานะ
ให้เกิดขึ้นว่า เราประเสริฐหนอ เพราะเรานี้มีเทวดาก็พูดคุยด้วย เช่น
ท่านเหล่านั้นดีใจด้วยเหตุเพียงเท่านี้ว่า พวกเราได้เห็นท้าวสักกะจอมเทพ
//84000.org/tipitaka/read/?10/262

             ในเรื่องนี้ กล่าวสรุปก็คือ ต่างคนต่างมุ่งในภาระของตนเอง
ดังนั้น นางเทพธิดาไม่พึงโกรธพระเถระที่ไม่ให้ปรนนิบัติเลย.
             พระเถระมุ่งในไตรสิกขา เพื่อสุขในทิฏฐธรรม และอนุเคราะห์ประชุมชนในภายหลัง
             นางเทพธิดามุ่งบำเพ็ญบุญอันเป็นเหตุแห่งสุขให้มั่นคง.

ความคิดเห็นที่ 9-15
GravityOfLove, 13 เมษายน เวลา 17:38 น.

นั่นคือ ย่อหน้าที่ถามไปนั้น พระผู้มีพระภาคกล่าวให้เทพธิดาได้คิดใช่ไหมคะว่า
ต่างคนต่างมุ่งในภาระของตนเอง อย่าดึงดันอุปฐากเลย
สุดท้ายเทพธิดาก็ยอมรับฟัง ได้บรรลุโสดาปัตตผล
ถูกต้องไหมคะ

ความคิดเห็นที่ 9-16
ฐานาฐานะ, 13 เมษายน เวลา 18:01 น.

             น่าจะถูกต้องครับ.
ต่างคนต่างมุ่งในภาระของตนเอง อย่าดึงดันอุปฐากเลย
เพิ่มเติมว่า อย่าโกรธเลย อย่าเสียใจเลย

ความคิดเห็นที่ 9-17
GravityOfLove, 13 เมษายน เวลา 18:40 น.

เข้าใจแล้วค่ะ tsm
สัก 2-3 ทุ่ม เข้ามาอ่านต่อค่ะ

ความคิดเห็นที่ 9-18
ฐานาฐานะ, 16 เมษายน เวลา 19:26 น.  

GravityOfLove, 10 เมษายน เวลา 17:40 น.
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
             ๓. โอปัมมวรรค
             ๗. จูฬหัตถิปโทปมสูตร อุปมาด้วยรอยเท้าช้าง
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=5763&Z=6041&bgc=floralwhite&pagebreak=0
5:40 PM 4/10/2013

             ย่อความได้ดี เก็บประเด็นได้ครบ
             มีคำสะกดบางคำที่ควรแก้ไข มีลิงค์บางลิงค์ที่ควรเพิ่มเติม ดังนี้ :-
             พระองค์เป็นพระอรหันตสัมพุทธเจ้า พระธรรมอันพระองค์ตรัสดีแล้ว พระสงฆ์สาวกของ
พระองค์เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว
แก้ไขเป็น
             พระองค์เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรมอันพระองค์ตรัสดีแล้ว พระสงฆ์สาวก
ของพระองค์เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=12&A=5763&w=สัมมาสัมพุทธเจ้า
             ๘. เว้นขาดจากการพรากพืชคามและภูตคาม
             ควรเพิ่มลิงค์ด้านล่าง
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=พีชคาม
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ภูตคาม

คือพยาบาท ละถีนมิทธะ ละอุทธัจจกุกกุจจะ ละะวิจิกิจฉา
แก้ไขเป็น
คือพยาบาท ละถีนมิทธะ ละอุทธัจจกุกกุจจะ ละวิจิกิจฉา

             เมื่อภิกษุนั้นรู้เห็นอย่างนั้น จิตย่อมหลุดพ้นจากกามสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ
แก้ไขเป็น
             เมื่อภิกษุนั้นรู้เห็นอย่างนั้น จิตย่อมหลุดพ้นจากกามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ

ความคิดเห็นที่ 9-19
ฐานาฐานะ, 16 เมษายน เวลา 19:29 น.

             คำถามในจูฬหัตถิปโทปมสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=5763&Z=6041

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง?
             2. คำว่า หัตถิ หรือหัตถี แปลว่า อะไร?

ความคิดเห็นที่ 9-20
GravityOfLove, 16 เมษายน เวลา 19:56 น.

ขอบพระคุณค่ะ
----------------------------------
             ตอบคำถามในจูฬหัตถิปโทปมสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=5763&Z=6041

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง?
             ๑. การสรรเสริญและเลื่อมใสในพระองค์เพราะฟังต่อจากผู้อื่นมา เป็นเหมือนการสันนิษฐาน (ไม่ได้รู้เห็นเอง) ว่า
             พระองค์เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรมอันพระผู้มีพระองค์ดีแล้ว
พระสงฆ์สาวกของพระองค์เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว
             ซึ่งพระองค์ตรัสว่า ยังไม่สมบูรณ์โดยพิศดาร

             ๒. การที่ยังไม่ตกลงใจในผู้ที่ได้ฌานและ/หรืออภิญญา ว่าเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระธรรมของพระองค์ตรัสดีแ้ล้ว พระสงฆ์สาวกของพระองค์ปฏิบัติดีแล้ว เพราะคนนอกศาสนาก็มีได้
             จะตกลงใจได้ก็เมื่อบุคคลนั้นได้บรรลุอาสวักขยญาณ (ตรัสรู้)
             อุปมาเหมือนเจอรอยเท้าช้างใหญ่ (ฌาน อภิญญา) ก็ยังไม่ตกลงใจว่า ช้างนั้นตัวใหญ่จริง (เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า)
             การยังไม่ตกลงใจเช่นนี้ พระองค์ตรัสว่า สมบูรณ์และพิศดาร

             ๓. ผู้ืีที่ได้ฟังธรรมของพระองค์ (คฤหบดี เป็นต้น) ย่อมเิกิดศรัทธาในพระองค์ ... จึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
             แล้วถึงพร้อมด้วยสิกขาสาชีพ (ทำสิกขาบทให้บริบูรณ์ และไม่ล่วงละเมิดสาชีพ)
             เป็นผู้สันโดษ
             มีอินทรีย์สังวร
             มีสติสัมปชัญญะ
             เสพเสนาสนะอันสงัด นั่งขัดสมาธิ ละนิวรณ์ ๕
             บรรลุรูปฌาน ๔
             บรรลุปุพเพนิวาสานุสติญาณ (ระลึกชาติ), จุตูปปาตญาณ (ทิพพจักขุญาณ (เห็นจุติและปฏิสนธิของสัตว์))
             จนบรรลุอาสวักขยญาณ (ตรัสรู้)

             ๔. พึงทราบพระธรรมเทศนาตั้งแต่เบื้องต้นจนถึงละนีวรณ์ว่า เหมือนดงช้าง.
             โยคาวจรเหมือนคนต่อช้างผู้ฉลาด
             พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเหมือนพญาช้าง
             ฌานและอภิญญาเหมือนรอยเท้าช้างใหญ่
             เหตุที่พระโยคาวจรไม่ตกลงใจ เพราะธรรมดาว่า ฌานและอภิญญาเหล่านี้ย่อมมีแม้แก่ปริพาชกนอกพระศาสนาได้
เหมือนคนต่อช้างผู้ฉลาด แม้เห็นรอยเท้าในที่นั้นๆ ก็ไม่ตกลงใจว่า เป็นรอยเท้าใคร
             พระอริยสาวกบรรลุพระอรหัตต์แล้วตกลงใจ ก็เหมือนคนต่อช้างเห็นช้างใหญ่แล้วก็ตกลงใจว่า
รอยเท้าที่เราเห็นในที่นั้นๆ ต้องเป็นรอยเท้าของช้างใหญ่เชือกนี้เท่านั้น ไม่ใช่เชือกอื่น

             ๕. พระตถาคตแม้เมื่อเกิดในสัตวโลกย่อมไม่เกิดในเทวโลก ไม่เกิดในพรหมโลก
             ย่อมเกิดแต่ในมนุษย์โลกเท่านั้น
             แม้ในมนุษย์โลก ก็ไม่เกิดในจักรวาลอื่น เกิดในจักรวาลนี้เท่านั้น
             แม้ในจักรวาลนั้น ก็ไม่เกิดในที่ทุกแห่ง ย่อมเกิดในมัชฌิมประเทศ ซึ่งยาว ๓๐๐ โยชน์ กว้าง ๒๕๐ โยชน์
โดยรอบ ๙๐๐ โยชน์
             ไม่ใช่แต่พระตถาคตอย่างเดียวเท่านั้น พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอัครสาวก พระอสีติมหาเถระ พระพุทธมารดา
พระพุทธบิดา พระเจ้าจักรพรรดิและพราหมณ์มหาศาล คหบดีมหาศาลเหล่าอื่น ย่อมเกิดในมัชฌิมประเทศนี้ทั้งนั้น

             ๖. ปีโลติกปริพาชกนั้นเป็นหนุ่มอยู่ในปฐมวัยมีวรรณดังทองคำ เป็นพุทธอุปฐาก
                 มีโครตคือ วัจฉายนะ

             ๗. เป็นผู้ประเสริฐกว่าผู้ประเสริฐทั้งหลาย (ปสัฏฐัปปสัฏฐะ)
             พระเจ้าปเสนทิโกศลเป็นผู้ประเสริฐกว่าชาวกาสีและโกศลทั้งหลาย
             พระเจ้าพิมพิสารเป็นผู้ประเสริฐกว่าชาวอังคะและชาวมคธะ
             เจ้าลิจฉวีกรุงเวสาลี ประเสริฐกว่าชาวแคว้นวัชชี
             เจ้ามัลละกรุงปาวา ประเสริฐกว่าชาวกรุงปาวา
             เจ้ามัลละกรุงโกสินารา ประเสริฐกว่าชาวกรุงโกสินารา
             จังกีพราหมณ์เป็นต้นประเสริฐกว่าหมู่พราหมณ์ทั้งหลาย
             อุบาสกมีท่านอนาถปิณฑิกเศรษฐีเป็นต้นประเสริฐกว่าหมู่อุบาสก
             อุบาสิกามีนางวิสาขาอุบาสิกาเป็นต้นประเสริฐกว่าอุบาสิกาหลายร้อย
             ปริพาชกมีสกุลุทายิเป็นต้นประเสริฐกว่าปริพาชกหลายร้อย
             มหาสาวิกามีอุบลวรรณาเถรีเป็นต้นประเสริฐกว่าภิกษุณีหลายร้อย
             พระมหาสาวกมีพระสารีบุตรเถระเป็นต้นประเสริฐกว่าภิกษุหลายร้อย
             เทพทั้งหลายมีท้าวสักกะเป็นต้นประเสริฐกว่าเทพทั้งหลาย
             พรหมทั้งหลายมีมหาพรหมเป็นต้นประเสริฐกว่าพรหมหลายพัน
            ท่านเหล่านั้นย่อมชมเชยยกย่องสรรเสริญพระทศพล หมดทุกคน เพราะเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้า ท่านจึงเรียกว่าปสัฏฐัปปสัฏฐะ ประเสริฐกว่าผู้ประเสริฐ

             ๘. ธรรมดาว่าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เมื่อแสดงธรรมจะ
             - ทรงตรวจดูอัธยาศัยของบริษัท
             - แผ่เมตตา

             ๙. ถ้อยคำที่เกิดจากปีติอันใด ย่อมไม่สามารถจะยึดหทัยไว้ได้ก็ล้นออกไปข้างนอก ไม่อยู่ข้างใน คำนั้นก็เรียกว่า อุทาน ฉันนั้น
             อุทาน วาจาที่เปล่งขึ้นโดยความเบิกบานใจ มักเป็นข้อความยาว ๑ หรือ ๒ คาถา;
             ในภาษาไทย หมายถึง เสียงหรือคำที่เปล่งออกมาเวลาดีใจ หรือตกใจ
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=อุทาน

             ๑๐. โลกมี ๓ คือ โอกาสโลก สัตวโลก สังขารโลก
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=โลก_๓

             ๑๑.  พระธรรมกถึกเมื่อกล่าวธรรมพึงแสดงศีลเป็นเบื้องต้น
             แสดงมรรคเป็นเบื้องกลาง
             แสดงนิพพานเป็นเบื้องปลาย
             นี้เป็นจุดยืน (หลัก) ของพระธรรมกถึก

             ๑๒. ผู้ืีที่ได้ฟังธรรมของพระองค์ ย่อมเิกิดศรัทธาในพระองค์ ... จึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
             พระองค์ตรัสถึงคฤหบดีก่อนบริษัทอื่นๆ เพราะเป็นกลุ่มที่ไม่ค่อยมีมานะ และมีจำนวนมาก
----------------------------------
             2. คำว่า หัตถิ หรือหัตถี แปลว่า อะไร?
             แปลว่า ช้าง ค่ะ
             บทว่า หตฺถิปโทปโม วิเคราะห์ว่า รอยเท้าช้าง
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=329

             หตฺถินี
             คำอ่าน (ภาษาบาลี) : หัด-ถิ-นี
             คำแปลที่พบ : ช้างพัง
//www.mahamodo.com/buddict/buddict_pali.asp

ความคิดเห็นที่ 9-21
ฐานาฐานะ, 16 เมษายน เวลา 20:57 น.
             ตอบคำถามได้ดีครับ
             บทว่า หตฺถิปโทปโม วิเคราะห์ว่า รอยเท้าช้าง
             คำว่า หตฺถิปโทปโม น่าจะมาจากคำว่า
             หตฺถิ = ช้าง, ปท = รอยเท้า, อุปโม = อุปมา
             ผมจำไม่ได้ว่า ได้เคยทราบมาจากไหน จึงขอใช้คำว่า สันนิษฐานว่า
             หตฺถิ แปลว่า มือ
             งวงช้างมีประโยชน์แก่ช้าง ใช้สอยได้เหมือนมือ
ดังนั้น ช้างจึงเรียกว่า หัตถิ หรือผู้มีมือ (สันนิษฐาน)

              มีโครตคือ วัจฉายนะ
แก้ไขเป็น
              มีโคตรคือ วัจฉายนะ

ความคิดเห็นที่ 9-22
GravityOfLove, 16 เมษายน เวลา 21:15 น.

Gravity นึกถึงคำว่า ยุทธหัตถี ก่อนเลย
ทราบว่า แปลว่า ช้าง
แต่ต้องหาหลักฐานมาตอบจากลิงค์ mahamodo ที่เคยใช้ประจำ
ตอนแรกพิมพ์คำว่า หัตถี ทั้งจากบาลีเป็นไทย ไทยเป็นบาลี ก็ไม่ออก
ก็เลยดูใน budsir ว่าบาลีเขียนอย่างไร
ดูผ่านๆ เห็นคำว่า นาค ด้วย (ยังไม่เห็นคำว่า  หตฺถิ)
ก็เลยคิดว่า อ้าว ในเนื้อพระสูตรใช้คำว่า นาค หรือ
หาดีๆ ถึงเห็นคำว่า  หตฺถิ

นำไปหาใน mahamodo ไม่ออกมาคำเดียว แต่มีคำอื่นประกอบด้วย
ก็เลยหาเพิ่มเติมในอรรถกถามาสนับสนุน

คำว่า หัตถ์ ที่แปลว่า มือ ที่คุณฐานาฐานะชี้ให้ดู
ทำให้ได้คิดจริงๆ ด้วยค่ะว่า น่าจะสัมพันธ์กัน
ไม่เคยคิดมาก่อนเลยค่ะ

ความคิดเห็นที่ 9-23
ฐานาฐานะ, 16 เมษายน เวลา 21:28 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า จูฬหัตถิปโทปมสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=5763&Z=6041

             พระสูตรหลักถัดไป คือมหาหัตถิปโทปมสูตรและมหาสาโรปมสูตร.
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔
             มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
             มหาหัตถิปโทปมสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=6042&Z=6308
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=340

             มหาสาโรปมสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=6309&Z=6504
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=347

             จูฬสาโรปมสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=6505&Z=6695
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=353

ย้ายไปที่



Create Date : 11 เมษายน 2556
Last Update : 21 มิถุนายน 2557 11:50:07 น.
Counter : 837 Pageviews.

0 comments
: ความงดงามในวัยชรา : กะว่าก๋า
(20 เม.ย. 2568 04:55:06 น.)
: กะว่าก๋าแนะนำหนังสือ - เรื่องง่าย ๆ ความหมายดี ๆ : กะว่าก๋า
(19 เม.ย. 2568 05:18:04 น.)
จับ จอง บริหาร จัดการ ปัญญา Dh
(25 เม.ย. 2568 02:59:41 น.)
: กะว่าก๋าแนะนำหนังสือ - ค้นหา : กะว่าก๋า
(17 เม.ย. 2568 04:54:12 น.)

Gravity-of-love.BlogGang.com

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]

บทความทั้งหมด