16.6 พระสูตรหลักถัดไป คือจูฬโคสิงคสาลสูตร
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
16.5 พระสูตรหลักถัดไป คือจูฬโคสิงคสาลสูตร

ความคิดเห็นที่ 9-63
GravityOfLove, 1 พฤษภาคม เวลา 18:15 น.

             คำถามในจูฬโคปาลสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=7247&Z=7322
             กรุณาอธิบายค่ะ
             - ที่ไม่ฉลาดในเตภูมิกธรรมอันเป็นแก่งแห่งมาร (ธรรมอันเป็นที่อยู่ของมาร)
             - ที่ไม่ฉลาดในนวโลกุตรธรรมอันไม่เป็นแก่งแห่งมาร (โลกุตตรธรรม ๙ อันไม่เป็นที่อยู่ของมาร)
             - ที่ไม่ฉลาดในเตภูมิกธรรมอันเป็นแก่งแห่งมัจจุ
             - ที่ไม่ฉลาดในนวโลกุตรธรรมอันไม่เป็นแก่งแห่งมัจจุ
             ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 9-64
ฐานาฐานะ, 1 พฤษภาคม เวลา 19:06 น.

             อธิบายโดยลำดับความดังนี้ว่า
             สันนิษฐานว่า
             1. เตภูมิกธรรม คือ กามาวจรภูมิ, รูปาวจรภูมิ และอรูปาวจรภูมิ
             นวโลกุตรธรรม คือโลกุตตรภูมิ  ในภูมิ 4 ข้อ [162]
//84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=162
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ภูมิ_4

             2. มารในที่นี้มีความหมายกว้างกว่า เทวปุตตมาร
             คำว่า มาร
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=มาร

             เตภูมิกธรรมอันเป็นแก่งแห่งมาร กล่าวคือ
             มาร 5 อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่าง ยังสามารถครอบงำได้
             แต่โลกุตรธรรม มารไม่สามารถครอบงำได้.

             เตภูมิกธรรมอันเป็นแก่งแห่งมัจจุ ยังต้องตาย
             นวโลกุตรธรรม คือ มรรค 4 ผล 4 นิพพาน 1 ตรงกันข้าม
             หากจะมีบางคนแย้งว่า มรรคของพระเสขบุคคล ผู้ยังไม่บรรลุอรหัตตผล
ยังต้องตาย อย่างมากไม่เกิน 7 อัตภาพ ไม่ใช่หรือ?
             ควรตอบว่า
             มรรคของพระเสขบุคคล ตัดการเกิดในอบายภูมิ ก็เป็นอันตัดการตายเช่นกัน
             ส่วนที่ยังเกิดอีกนั้น (ไม่เกิน 7 อัตภาพ) เป็นเพราะเหตุที่ตัณหายังไม่สิ้นไป
ด้วยคำว่า ตัณหาอันทำให้เกิดอีก

             ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=4&A=355&w=ตัณหาอันทำให้เกิดอีก#14
             นขสิขสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=16&A=3540&Z=3576

ความคิดเห็นที่ 9-65
GravityOfLove, 1 พฤษภาคม เวลา 19:23 น.

//84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=162
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ภูมิ_4
๒ ลิงค์นี้เหมือนกันไม่ใช่หรือคะ
---------------------------------
อย่างไรที่เรียกว่า ฉลาดและไม่ฉลาดในเตภูมิกธรรมและนวโลกุตรธรรมคะ

ความคิดเห็นที่ 9-66
ฐานาฐานะ, 1 พฤษภาคม เวลา 19:37 น.  

GravityOfLove, 2 นาทีที่แล้ว
//84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=162
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ภูมิ_4
๒ ลิงค์นี้เหมือนกันไม่ใช่หรือคะ
             ไม่เหมือนครับ ลิงค์ที่ 2 ด้านล่างมีเนื้อความมากกว่า
ทำให้เห็นความหมายอื่นๆ ได้.
---------------------------------
             อย่างไรที่เรียกว่า ฉลาดและไม่ฉลาดในเตภูมิกธรรมและนวโลกุตรธรรมคะ
7:23 PM 5/1/2013
             สันนิษฐานว่า
             การรู้ว่า เตภูมิกธรรม มีอยู่จริง ได้แก่อะไรบ้าง  รู้ว่า ชรา ชาติ มรณะ
ยังครอบงำได้อยู่ อย่างนี้เป็นต้นเป็นความฉลาดในเตภูมิกธรรม
             การรู้ว่า อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ 8 เป็นของจริง ได้แก่อะไรบ้าง
อย่างนี้เป็นต้น เป็นความฉลาดในนวโลกุตรธรรมข้างต้น
             การบรรลุอริยมรรคอริยผล เป็นความฉลาดในนวโลกุตรธรรมขั้นสูงสุด.
             บุคคลผู้บรรลุอริยมรรคอริยผล รู้ธรรมทั้งปวง สามารถแสดงธรรมแก่บุคคลอื่น
โดยประการที่บุคคลอื่นจะเข้าใจและปฏิบัติตามได้ บุคคลนั้นเป็นผู้ฉลาดแท้ๆ.

ความคิดเห็นที่ 9-67
GravityOfLove, 1 พฤษภาคม เวลา 19:50 น.

เพิ่มเติมคำถามค่ะ ในเนื้อพระสูตร
จึงได้เปิดอริยมรรคอันเป็นประตูแห่งอมตะ << หมายถึงมรรคมีองค์ ๘ ใช่ไหมคะ

ความคิดเห็นที่ 9-68
ฐานาฐานะ, 1 พฤษภาคม เวลา 19:57 น.  

GravityOfLove, 5 นาทีที่แล้ว
เพิ่มเติมคำถามค่ะ ในเนื้อพระสูตร
จึงได้เปิดอริยมรรคอันเป็นประตูแห่งอมตะ << หมายถึงมรรคมีองค์ ๘ ใช่ไหมคะ
7:50 PM 5/1/2013
             ใช่แล้วครับ

ความคิดเห็นที่ 9-69
GravityOfLove, 1 พฤษภาคม เวลา 20:11 น.

เข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 9-70
GravityOfLove, 1 พฤษภาคม เวลา 20:18 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
             ๔. มหายมกวรรค          
             ๔. จูฬโคปาลสูตร อุปมาด้วยนายโคบาล
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=12&A=7247&Z=7322&bgc=seashell

             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ริมฝั่งแม่น้ำคงคา เมืองอุกกเวลา
แคว้นวัชชี
             ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า
อุปมานายโคบาลกับสมณพราหมณ์
             เรื่องเคยมีมาแล้ว นายโคบาลชาวมคธรัฐ เป็นชาติปัญญาเขลา
(โง่เขลาแต่กำเนิด)
             ไม่ได้พิจารณาในสารทสมัยเดือนท้ายฤดูฝน ไม่ได้พิจารณาฝั่งนี้และฝั่งโน้น
ของแม่น้ำคงคา ให้ฝูงโคข้ามแม่น้ำตรงที่ไม่ใช่ท่าไปสู่ฝั่งโน้นที่เป็นวิเทหรัฐ
             ครั้งนั้น ฝูงโคว่ายเข้าไปในวังน้ำวนกลางแม่น้ำคงคา ถึงความพินาศในแม่น้ำนั้น
เพราะความโง่เขลาของนายโคบาลนั้น ฉันใด
             สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง
             - ที่ไม่ฉลาดในโลกนี้ (ไม่ฉลาดใน ขันธ์ ธาตุ อายตนะ ในโลกนี้)
             - ที่ไม่ฉลาดในโลกหน้า (ไม่ฉลาดใน ขันธ์ ธาตุ อายตนะ ในปรโลก)
             - ที่ไม่ฉลาดในเตภูมิกธรรมอันเป็นแก่งแห่งมาร (ภูมิ ๓ อันเป็นที่อยู่ของมาร)
             - ที่ไม่ฉลาดในนวโลกุตรธรรมอันไม่เป็นแก่งแห่งมาร
(โลกุตตรธรรม ๙ อันไม่เป็นที่อยู่ของมาร)
             - ที่ไม่ฉลาดในเตภูมิกธรรมอันเป็นแก่งแห่งมัจจุ (ภูมิ ๓ ที่ยังต้องตาย)
             - ที่ไม่ฉลาดในนวโลกุตรธรรมอันไม่เป็นแก่งแห่งมัจจุ (โลกุตตรธรรม ๙ อันไม่ตาย)
             ชนเหล่าใด นับถือถ้อยคำของสมณะหรือพราหมณ์พวกนี้ว่า
เป็นถ้อยคำอันตนควรฟัง ควรเชื่อ
             ความนับถือของชนเหล่านั้น จักเป็นไปเพื่อไม่เป็นประโยชน์
เพื่อทุกข์ตลอดกาลนาน ฉันนั้น

             ขยายความว่า
             เตภูมิกธรรม คือ กามาวจรภูมิ, รูปาวจรภูมิ, และอรูปาวจรภูมิ
             นวโลกุตรธรรม คือโลกุตตรภูมิ
             แก่งแห่งมาร คือมาร 5 อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่าง
ยังสามารถครอบงำได้
//84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=162
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ภูมิ_4
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=มาร_5
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=โลกุตตรธรรม_9

             เรื่องเคยมีมาแล้ว นายโคบาลชาวมคธรัฐเป็นคนฉลาดมาแต่กำเนิด
             พิจารณาในสารทสมัยเดือนท้ายฤดูฝน พิจารณาฝั่งนี้และฝั่งโน้นของแม่น้ำคงคา
ให้ฝูงโคข้ามแม่น้ำตรงที่เป็นท่า ว่ายตัดกระแสแม่น้ำขวางไปสู่ฝั่งโน้นที่เป็นวิเทหรัฐ
             นายโคบาลนั้น ให้เหล่าโคที่เป็นพ่อฝูงซึ่งเป็นผู้นำฝูงข้ามไปก่อน
โคเหล่านั้นว่ายตัดกระแสแม่น้ำคงคาขวางไปได้ถึงฝั่งโดยปลอดภัย
             หลังจากนั้นจึงให้โคแต่ละกลุ่มต่อไปนี้ ข้ามไปถึงฝั่งเป็นลำดับๆ คือ
             เหล่าโคที่มีกำลังและโคที่ฝึกไว้
             เหล่าโคหนุ่มโคสาว
             พวกลูกโคที่มีกำลังยังน้อย
             ส่วนลูกโคเล็กที่เกิดในวันนั้น ก็ลอยไปตามเสียงโคเมียที่เป็นแม่
             โคทั้งหมดไปถึงฝั่งโดยปลอดภัย เพราะความฉลาดของนายโคบาล ฉันใด
             สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง ที่ฉลาดในโลกนี้ ฉลาดในโลกหน้า
ฉลาดในเตภูมิกธรรมอันเป็นแก่งแห่งมาร ฉลาดในนวโลกุตรธรรมอันไม่เป็นแก่งแห่งมาร
ฉลาดในเตภูมิธรรมอันเป็นแก่งแห่งมัจจุ ฉลาดในนวโลกุตรธรรม อันไม่เป็นแก่งแห่งมัจจุ
             ชนเหล่าใด นับถือถ้อยคำของสมณะหรือพราหมณ์พวกนี้ว่า
เป็นถ้อยคำอันตนควรฟัง ควรเชื่อ
             ความนับถือของชนเหล่านั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์
เพื่อสุขตลอดกาลนาน ฉันนั้น

อุปมาภิกษุตัดกระแสมารเหมือนโคตัดกระแสน้ำ
             ๑. เหล่าโคผู้ที่เป็นพ่อฝูง เป็นผู้นำฝูง ว่ายตัดกระแสแม่น้ำคงคา
ขวางไปถึงฝั่งโดยปลอดภัย ฉันใด
             พวกภิกษุที่เป็นอรหันต์ มีอาสวะสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
(ได้เป็นพระอเสขะแล้ว ส่วนพระเสขะ ๗ จำพวก และกัลยาณปุถุชนชื่อว่า
กำลังประพฤติพรหมจรรย์)
             มีกิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว (ทำกิจมีความกำหนดรู้ เป็นต้น
ในอริยสัจ ๔ ด้วยมรรค ๔)
             ปลงภาระเสียแล้ว มีประโยชน์ตนถึงแล้วโดยลำดับ
มีกิเลสเครื่องประกอบไว้ในภพหมดสิ้นแล้ว พ้นวิเศษแล้ว เพราะรู้ทั่วถึงโดยชอบ
             ชื่อว่า ว่ายตัดกระแสมารขวางไปถึงฝั่งแล้วโดยปลอดภัย ฉันนั้น
(ตัดกระแสแห่งตัณหาของมารด้วยอรหัตตมรรค)

             ๒. เหล่าโคที่มีกำลังและโคที่ฝึกไว้ ว่ายตัดกระแสแม่น้ำคงคา
ขวางไปได้ถึงฝั่งโดยสวัสดี ฉันใด
             พวกภิกษุที่มีสัญโญชน์ส่วนเบื้องต่ำ ๕ ประการหมดสิ้นไป
เป็นโอปปาติกะ (พระอนาคามี) ปรินิพพานในโลกนั้น (พรหมโลก)
ไม่ต้องเวียนกลับมาจากโลกนั้น
             ชื่อว่า ว่ายตัดกระแสมารขวางไป จะถึงฝั่งโดยสวัสดี ฉันนั้น

             ๓. เหล่าโคหนุ่มและโคสาว ว่ายน้ำ ... ฉันใด
             พวกภิกษุที่มีสัญโญชน์ ๓ หมดสิ้นไป และมีราคะ โทสะ โมหะ
เบาบาง เป็นสกทาคามีบุคคล
             มาสู่โลกนี้คราวเดียว ก็จักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ชื่อว่า ... ฉันนั้น

             ๔. เหล่าลูกโคที่มีกำลังยังน้อย ว่ายน้ำ ... ฉันใด
             พวกภิกษุที่มีสัญโญชน์ ๓ หมดสิ้นไป เป็นโสดาบัน มีความเป็นผู้ไม่ตกต่ำ
เป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง มีอันจะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า ชื่อว่า ... ฉันนั้น

             ลูกโคเล็กที่เกิดในวันนั้น ลอยไปตามเสียงโคเมียที่เป็นแม่
ว่ายตัดกระแสแม่น้ำคงคาขวางไปถึงฝั่งโดยปลอดภัย ฉันใด
             พวกภิกษุที่เป็นมัคคสมังคีบุคคลชั้นต้น
(ปฐมมัคคสมังคี หรือผู้พรั่งพร้อมด้วยโสดาปัตติมรรค)
             ซึ่งเป็นธัมมานุสารี
(ผู้แล่นไปตามธรรม ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุโสดาปัตติผล มีปัญญาแก่กล้า
บรรลุผลแล้วกลายเป็นทิฏฐิปัตตะ (ผู้บรรลุธรรมด้วยความเห็นถูกต้อง))
             และเป็นสัทธานุสารี
(ผู้แล่นไปตามศรัทธา ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุโสดาปัตติผล
มีสัทธาแก่กล้า บรรลุผลแล้วกลายเป็นสัทธาวิมุต (ผู้หลุดพ้นด้วยศรัทธา))
             ชื่อว่า ตัดกระแสมารขวางไป จักถึงฝั่งโดยปลอดภัย ฉันนั้น
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อริยบุคคล_8
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อาสวะ
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=กิจในอริยสัจจ์_4
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=สังโยชน์
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=มรรค_4
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อริยบุคคล_7

             ตรัสว่า พระองค์ทรงเป็นผู้ฉลาดในโลกนี้ ฉลาดในโลกหน้า
ฉลาดในเตภูมิกธรรมอันเป็นแก่งแห่งมาร ฉลาดในนวโลกุตรธรรมอันไม่เป็นแก่งแห่งมาร
ฉลาดในเตภูมิกธรรมอันเป็นแก่งแห่งมัจจุ ฉลาดในนวโลกุตรธรรมอันไม่เป็นแก่งแห่งมัจจุ
             ชนเหล่าใด นับถือถ้อยคำของพระองค์ว่า
เป็นถ้อยคำอันตนควรฟัง ควรเชื่อ
             ความนับถือของชนเหล่านั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อสุขตลอดกาลนาน
             ครั้นตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้จบแล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า

                          โลกนี้และโลกหน้า เราผู้รู้อยู่ ประกาศดีแล้ว
                          เราเป็นผู้ตรัสรู้เอง ทราบชัดซึ่งสรรพโลก ทั้งที่เป็นโลกอันมารถึงได้
                          ทั้งที่เป็นโลกอันมัจจุถึงไม่ได้ด้วยความรู้ยิ่ง
                          จึงได้เปิดอริยมรรค (มรรคมีองค์ ๘) อันเป็นประตูแห่งอมตะ
                          เพื่อให้ถึงนิพพานอันเป็นแดนเกษม
                          กระแสแห่งมารอันลามก เราตัดแล้ว กำจัดแล้ว ทำให้ปราศจากความเหิมแล้ว
                          ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเป็นผู้มากด้วยความปราโมทย์
                          ปรารถนาถึงธรรมอันเป็นแดนเกษม (อรหัตตผล) เถิด
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=มรรคมีองค์_8

ความคิดเห็นที่ 9-71
ฐานาฐานะ, 3 พฤษภาคม เวลา 01:44 น.

GravityOfLove, วันพุธ เวลา 20:18 น.
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
             ๔. มหายมกวรรค
             ๔. จูฬโคปาลสูตร อุปมาด้วยนายโคบาล
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=12&A=7247&Z=7322&bgc=seashell
8:18 PM 5/1/2013

             ย่อความได้ดี รวบรวมประเด็นครบถ้วน.
             มีข้อติงในการละเนื้อความด้วย ... จุดสามจุดดังนี้ :-
>>>>>
             ชื่อว่า ว่ายตัดกระแสมารขวางไปถึงฝั่งแล้วโดยปลอดภัย ฉันนั้น
(ตัดกระแสแห่งตัณหาของมารด้วยอรหัตตมรรค)

             ๒. เหล่าโคที่มีกำลังและโคที่ฝึกไว้ ว่ายน้ำ ... ฉันใด
             พวกภิกษุที่มีสัญโญชน์ส่วนเบื้องต่ำ ๕ ประการหมดสิ้นไป
เป็นโอปปาติกะ (พระอนาคามี) ปรินิพพานในโลกนั้น (พรหมโลก)
ไม่ต้องเวียนกลับมาจากโลกนั้น ชื่อว่า ... ฉันนั้น
<<<<<
             ในข้อ 2 นี้ยังไม่ควรละด้วยจุดสามจุด ...
             เพราะเหตุว่า เนื้อความยังแตกต่างจากข้อ 1 อยู่ คือ
             ข้อ 1 ชื่อว่า ว่ายตัดกระแสมารขวางไปถึงฝั่งแล้วโดยปลอดภัย ฉันนั้น
             ข้อ 2 ชื่อว่า ว่ายตัดกระแสมารขวางไป จักถึงฝั่งโดยสวัสดี
             ส่วนข้อถัดไป ละได้ เพราะเนื้อความเหมือนข้อ 2.

ความคิดเห็นที่ 9-72
ฐานาฐานะ, 3 พฤษภาคม เวลา 01:47 น.

             คำถามในจูฬโคปาลสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=12&A=7247&Z=7322

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง?
             2. คุณ GravityOfLove สามารถประยุกต์ใช้วิธีการของ
นายโคบาลผู้ฉลาด ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร?

ความคิดเห็นที่ 9-73
GravityOfLove, 3 พฤษภาคม เวลา 02:05 น.

             ตอบคำถามในจูฬโคปาลสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=12&A=7247&Z=7322

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง?
             ๑.  นายโคปาลที่ไม่ฉลาดและฉลาด
             สมณะหรือพราหมณ์ที่ไม่ฉลาดและฉลาด

             ๒. ทรงอุปมาสมณะหรือพราหมณ์ที่ไม่ฉลาดและฉลาด
กับนายโคปาลที่ฉลาดและไม่ฉลาดในการพาฝูงโคข้ามฝั่ง

             ๓. ผู้ที่เลื่อมใสในถ้อยคำของสมณะหรือพราหมณ์ที่ไม่ฉลาด ย่อมไม่เกิดประโยชน์ มีทุกข์
ผู้ที่เลื่อมในในถ้อยคำของสมณะหรือพราหมณ์ที่ฉลาด ย่อมเกิดประโยชน์ มีความสุข

             ๔. ทรงอุปมาพระอริยบุคคลและภิกษุที่เป็นมัคคสมังคีบุคคลชั้นต้นเหมือนโคกลุ่มต่างๆ

             ๕. พระผู้มีพระภาคทรงฉลาดในธรรมดังกล่าว
              ผู้ที่เลื่อมใสในพระธรรมวินัยที่พระองค์ตรัสสอน ย่อมเกิดประโยชน์ มีความสุข
---------------------------------------------------------
             2. คุณ GravityOfLove สามารถประยุกต์ใช้วิธีการของ
นายโคบาลผู้ฉลาด ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร?
             การใช้คนให้เหมาะสมกับงาน

ความคิดเห็นที่ 9-74
ฐานาฐานะ, 3 พฤษภาคม เวลา 02:21 น.  

             คำว่า
                   การใช้คนให้เหมาะสมกับงาน
             ขยายความด้วยครับ

ความคิดเห็นที่ 9-75
GravityOfLove, 3 พฤษภาคม เวลา 02:46 น.

             การใช้คนให้เหมาะสมกับงาน
             คือ คนมีความสามารถ ความถนัดต่างกัน ดังนั้นการจะมอบหมายงาน
ให้ใครไปทำ ก็ต้องให้เหมาะสมกับความสามารถ ความถนัดของคนๆ นั้นด้วย
งานจึงจะสำเร็จ
             เช่น อยากรีดเสื้อ แต่ไม่มีเวลา ก็ขอร้องแม่บ้านเป็นคนรีด ไม่ใช่ขอร้อง
คนทำสวน เพราะแม่บ้านถนัดในการรีดผ้ามากกว่าคนทำสวน
             ถ้าให้คนทำสวนมารีดผ้า อาจทำ้เสื้อผ้าไหม้ได้
             เหมือนนายโคปาลผู้ฉลาดต้อนฝูงโคข้ามแม่น้ำ โดยแบ่งโคออกเป็นฝูง
เขาทราบธรรมชาติของโคว่า โคในฝูงจะตามโคผู้นำฝูงไป จึงให้โคผู้นำฝูงข้ามไปก่อน
... ทราบว่า ลูกโคเกิดใหม่ๆ จะลอยตามเสียงแม่โคไป ไม่ได้ไปตามเสียงโคผู้นำฝูง
             เมื่อทราบเช่นนี้ ก็แบ่งเป็นกลุ่ม แล้วให้ข้ามแม่น้ำเป็นลำดับๆ
ไม่ได้ให้ข้ามพร้อมกัน
             ถ้าให้ข้ามผิดลำดับ เช่น ให้แม่โคข้ามไปก่อนโดยไม่ให้ลูกโคตามไปด้วย
พอถึงคราวลูกโคต้องข้ามบ้าง ลูกโคไม่น่าจะยอมข้ามไปโดยไม่มีแม่อยู่ใกล้
             ถ้าไม่ทราบในธรรมชาติของโคแล้ว ย่อมไม่สามารถพาฝูงโคข้ามฝั่งได้

ความคิดเห็นที่ 9-76
ฐานาฐานะ, 3 พฤษภาคม เวลา 03:00 น.

             ขยายความได้ดีครับ
             ผมเองมองว่า ที่แบ่งกลุ่มของโคนั้น เป็นเพราะแต่ละกลุ่มมีกำลังพอกัน
เมื่อข้ามด้วยกัน ก็จะไม่มีใครถ่วงใคร ไปได้พร้อมๆ กัน ทำให้รวมกันต้านกระแสน้ำได้.
             คล้ายๆ ห้องเรียนจะแบ่งกลุ่มนักเรียนเรียนเก่ง ปานกลาง ไม่เก่งไว้คนละห้อง
เพื่อว่า จะไม่มีใครถ่วงใคร และไม่เป็นภาระของผู้มีกำลังน้อยตามเร่งตามผู้มีกำลัง.
             ส่วนคุณ GravityOfLove มองให้ระดับความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มด้วย
คือกลุ่มมีกำลังมากจะเป็นผู้นำ จะไปก่อน ทำให้กลุ่มผู้ตามเห็นแนวทางก็จะเดินตาม
ทั้งเห็นลูกโคไปตามแม่โค.

ย้ายไปที่



Create Date : 25 มิถุนายน 2556
Last Update : 21 มิถุนายน 2557 23:40:23 น.
Counter : 767 Pageviews.

0 comments
: ความงดงามในวัยชรา : กะว่าก๋า
(20 เม.ย. 2568 04:55:06 น.)
เมื่ออยู่ในวัย"คุณน้า" กิจกรรมพักผ่อน คือไปดูพระอรหันตธาตุ,อัฐิธาตุพระอาจารย์ peaceplay
(19 เม.ย. 2568 23:20:46 น.)
ความสุขและวางเฉย กรอง ปัญญา Dh
(18 เม.ย. 2568 15:40:29 น.)
: กะว่าก๋าแนะนำหนังสือ - ค้นหา : กะว่าก๋า
(16 เม.ย. 2568 05:56:48 น.)

Gravity-of-love.BlogGang.com

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]

บทความทั้งหมด