16.3 พระสูตรหลักถัดไป คือจูฬโคสิงคสาลสูตร
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
16.2 พระสูตรหลักถัดไป คือจูฬโคสิงคสาลสูตร

ความคิดเห็นที่ 9-30
GravityOfLove, 25 เมษายน เวลา 22:58 น.

ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 9-31
GravityOfLove, 25 เมษายน เวลา 23:03 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
             ๔. มหายมกวรรค          
             ๒. มหาโคสิงคสาลสูตร การสนทนาธรรมเรื่องผู้ทำให้ป่างาม
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=6877&Z=7105&bgc=seashell&pagebreak=0

             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ป่าโคสิงคสาลวัน พร้อมด้วยพระสาวก
ผู้เป็นเถระที่มีชื่อเสียงหลายรูป คือ
             ท่านพระสารีบุตร ท่านพระมหาโมคัลลานะ ท่านพระมหากัสสป ท่านพระอนุรุทธ
ท่านพระเรวตะ ท่านพระอานนท์ และพระสาวกผู้เป็นเถระที่มีชื่อเสียงอื่นๆ
             ครั้งนั้นในเวลาเย็น ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ท่านพระมหากัสสป ท่านพระอนุรุทธ
ท่านพระอานนท์ และท่านพระเรวตะ ได้เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรเพื่อฟังธรรม (เป็นวันอุโบสถ)
             ท่านพระสารีบุตร กล่าวว่า
             ป่าโคสิงคสาลวัน เป็นสถานน่ารื่นรมย์ ราตรีแจ่มกระจ่าง ไม้สาละบานสะพรั่งทั่วต้น
กลิ่นคล้ายทิพย์ ย่อมฟุ้งไป
             ป่าโคสิงคสาลวัน จะพึงงามด้วยภิกษุเช่นไร?

             ๑. ท่านพระอานนท์ตอบว่า ภิกษุในพระศาสนานี้
             เป็นพหูสูต (ได้ศึกษาเล่าเรียนนวังคสัตถุศาสน์ครบถ้วนโดยบาลีและอนุสนธิ)
             เป็นผู้ทรงสุตะ (สามารถทรงจำนวังคสัตถุศาสน์นั้นไว้ได้แม่นยำ แม้เวลาผ่านไปนาน
ก็ไม่ลืมเลือน เมื่อถูกถาม ก็สามารถตอบได้)
             สั่งสมสุตะ (จดจำนวังคสัตถุศาสน์นั้นไว้ได้จนขึ้นใจดุจรอยขีดที่หินคงอยู่ไม่ลบเลือน)
             เป็นผู้ได้ฟังมากซึ่งธรรมที่มีความงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด
พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ
             ประกาศพรหมจรรย์ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง
             สดับมากแล้ว ทรงจำไว้แล้ว สั่งสมด้วยวาจา ตามเพ่งด้วยใจ แทงตลอดดีแล้ว
ด้วยความเห็น (แทงตลอดด้วยดีด้วยปัญญาสัมมาทิฏฐิ มิใช่เพียงแค่คาดเดา)
             ภิกษุนั้นแสดงธรรมแก่บริษัท ๔ ด้วยบทและพยัญชนะอันราบเรียบ ไม่ขาดสาย
เพื่อถอนเสียซึ่งอนุสัย
(ท่านพระสารีบุตรถามท่านพระอานนท์ก่อน ทั้งๆ ที่ท่านพระอานนท์เ็ป็นนวกะที่สุด
ทั้งนี้เพราะนับถือที่ท่านอุปฐากพระพุทธองค์ และเพราะต้องการเรียงลำดับจาก
อายุน้อยไปอายุมาก)
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=อานนท์
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=นวังคสัตถุสาสน์
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=บริษัท_4#find1 #find1
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อนุสัย

             ๒. ท่านพระเรวตะตอบว่า ภิกษุในพระศาสนานี้
             เป็นผู้มีความหลีกเร้นเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในความหลีกเร้น
             ประกอบเนืองๆ ซึ่งเจโตสมถะ อันเป็นภายใน
(เจโตสมถะ คือ ธรรมเครื่องระงับจิต สงบจิตของตน หรือจิตที่มีความมั่นคง มีสมาธิ)
             ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา (อนุปัสสนา ๗)
             พอกพูนสุญญาคาร (เรือนว่าง)

             [อรรถกถา]
             อนุปัสสนา ๗ ประการ คือ
             (๑) อนิจจานุปัสสนา - พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง
             (๒) ทุกขานุปัสสนา - พิจารณาเห็นความเป็นทุกข์
             (๓) อนัตตานุปัสสนา - พิจารณาเห็นความไม่มีตัวตน
             (๔) นิพพิทานุปัสสนา - พิจารณาเห็นความน่าเบื่อหน่าย
             (๕) วิราคานุปัสสนา - พิจารณาเห็นความคลายกำหนัด
             (๖) นิโรธานุปัสสนา - พิจารณาเห็นความดับกิเลส
             (๗) ปฏินิสสัคคานุปัสสนา - พิจารณาเห็นความสลัดทิ้งกิเลส

             [อรรถกถา]
             เพิ่มพูนเรือนว่าง หมายถึงการเรียนกัมมัฏฐาน คือ สมถะและวิปัสสนา
เข้าไปสู่เรือนว่าง นั่งพิจารณาอยู่ตลอดคืนและวัน
             แล้วบำเพ็ญอธิจิตตสิกขาด้วยสมถกัมมัฏฐาน
             บำเพ็ญอธิปัญญาสิกขาด้วยวิปัสสนากัมมัฏฐาน
             ประวัติพระกังขาเรวตเถระ
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&&i=147&p=5
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=กังขาเรวตะ
             คำว่า สมถะุ, วิปัสสนา
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ฌาน#find1 #find1

             ๓. ท่านพระอนุรุทธตอบว่า ภิกษุในพระศาสนานี้
             ย่อมตรวจดูโลกพันหนึ่ง (ตรวจดูโลก ๑,๐๐๐ โลกธาตุ) ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์
ล่วงจักษุของมนุษย์
             เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีจักษุอยู่บนปราสาทสูงสามารถมองเห็นกง ๑.๐๐๐ กงได้
(๑ โลกธาตุ (สหัสสีโลกธาตุ) = ๑,๐๐๐ จักรวาล ดังนั้น ๑,๐๐๐ โลกธาตุ = ๑,๐๐๐,๐๐๐ จักรวาล)
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=อนุรุทธะ

             ๔. ท่านพระมหากัสสปตอบว่า
             ภิกษุในพระศาสนานี้ ตนเองอยู่ในป่าเป็นวัตรและกล่าวสรรเสริญคุณ
แห่งความเป็นผู้อยู่ในป่าเป็นวัตรด้วย
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=อารัญญิกังคะ

             ตนเองเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ...
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ปิณฑปาติกังคะ

             ตนเองถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ...
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ปังสุกูลิกังคะ

             ตนเองถือไตรจีวรเป็นวัตร ...
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=เตจีวริกังคะ

             ตนเองเป็นผู้มีความปรารถนาน้อย ...
             ตนเองเป็นผู้สันโดษ ...
             ตนเองเป็นผู้สงัด ...
             ตนเองเป็นผู้ไม่คลุกคลี ...
             ตนเองเป็นผู้ปรารภความเพียร ...
             ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ...
             ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิ ...
             ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา ...
             ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุติ (หลุดพ้น) ...
             ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ (ความรู้ความเห็นในการหลุดพ้น)
และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะด้วย
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=กถาวัตถุ_10
             ประวัติพระมหากัสสปเถระ
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=146&p=4
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=มหากัสสปะ

             ๕. ท่านพระมหาโมคคัลลานะตอบว่า
             ภิกษุ ๒ รูป ในพระศาสนานี้ กล่าวอภิธรรมกถา เธอทั้ง ๒ นั้น ถามกันและกัน
ถามปัญหากันแล้ว ย่อมแก้กันเอง ไม่หยุดพักด้วย และธรรมกถาของเธอทั้ง ๒ นั้น
ก็ดำเนินต่อไป
             ประวัติพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะเถระ
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=146&p=3
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=มหาโมคคัลลานะ

             ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้ถามท่านพระสาีรีบุตรกลับบ้าง
             ๖. ท่านพระสารีบุตรตอบว่า
             ภิกษุในพระศาสนานี้ ยังจิตให้เป็นไปในอำนาจและไม่เป็นไปตามอำนาจของจิต
             หวังจะอยู่ด้วยวิหารสมาบัติใดในเวลาเช้า ก็อยู่ด้วยวิหารสมาบัตินั้นได้ในเวลาเช้า
             หวังจะอยู่ด้วยวิหารสมาบัติใดในเวลาเที่ยง ก็อยู่ด้วยวิหารสมาบัตินั้นได้ในเวลาเที่ยง
             หวังจะอยู่ด้วยวิหารสมาบัติใดในเวลาเย็น ก็อยู่ด้วยวิหารสมาบัตินั้นได้ในเวลาเย็น
             เปรียบเหมือนผอบผ้าของพระราชา หรือราชมหาอำมาตย์ ซึ่งเต็มด้วยผ้าที่ย้อมแล้ว
เป็นสีต่างๆ
             พระราชา หรือราชมหาอำมาตย์นั้น หวังจะห่มคู่ผ้าชนิดใดในเวลาเช้า ก็ห่มคู่ผ้า
ชนิดนั้นได้ในเวลาเช้า
             หวังจะห่มคู่ผ้าชนิดใดในเวลาเที่ยง ก็ห่มคู่ผ้าชนิดนั้นได้ในเวลาเที่ยง
             หวังจะห่มคู่ผ้าชนิดใดในเวลาเย็น ก็ห่มคู่ผ้าชนิดนั้นได้ในเวลาเย็น
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=สารีบุตร
//84000.org/tipitaka/read/?20/146-152

             ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวว่า พวกเราได้ตอบตามปฎิภาณของตนๆ
พวกเราไปเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคแล้วกราบทูลเล่าให้ฟังกันเถิด
             พระองค์ทรงพยากรณ์อย่างไร พวกเราก็จะทรงจำไว้อย่างนั้น
             เมื่อท่านพระสารีบุตรได้กราบทูลเล่าเนื้่อความแด่พระผู้มีพระภาคแล้ว
พระองค์ทรงประทานสาธุการต่อคำตอบของพระเถระทั้ง ๖ รูป และตรัสว่า

             ๑. อานนท์เมื่อจะพยากรณ์โดยชอบ พึงพยากรณ์ตามนั้น
             เพราะว่าอานนท์เป็นพหูสูต เป็นผู้ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ ... เพื่อถอนเสียซึ่งอนุสัย

             ๒. เรวตะเมื่อจะพยากรณ์โดยชอบ พึงพยากรณ์ตามนั้น
             เพราะว่าเรวตะเป็นผู้มีความหลีกเร้นเป็นที่มายินดี ... พอกพูนสุญญาคาร

             ๓. อนุรุทธเมื่อจะพยากรณ์โดยชอบ พึงพยากรณ์ตามนั้น
             เพราะว่าอนุรุทธย่อมตรวจดูโลกตั้งพันด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์
ล่วงจักษุของมนุษย์

             ๔. กัสสปเมื่อจะพยากรณ์โดยชอบ พึงพยากรณ์ตามนั้น
             เพราะว่ากัสสป ตนเองเป็นผู้อยู่ในป่าเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณ
แห่งความเป็นผู้อยู่ในป่าเป็นวัตรด้วย ฯลฯ ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ
และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะด้วย

             ๕. โมคคัลลานะ เมื่อจะพยากรณ์โดยชอบ พึงพยากรณ์ตามนั้น
             เพราะว่าโมคคัลลานะเป็นธรรมกถึก

             ๖. สารีบุตรเมื่อจะพยากรณ์โดยชอบ พึงพยากรณ์ตามนั้น
             เพราะว่าสารีบุตรยังจิตให้เป็นไปในอำนาจ และไม่เป็นไปตามอำนาจของจิต
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ธรรมกถึก

             เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กราบทูลถามว่า
คำของใครเป็นสุภาษิต
             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
             คำของพวกเธอทั้งหมด เป็นสุภาษิตโดยปริยาย (โดยเหตุนั้นๆ)
             คำถามว่า ป่าโคสิงคสาลวัน จะพึงงามด้วยภิกษุเช่นไร
             เราตอบว่า ภิกษุในศาสนานี้ กลับจากบิณฑบาตในเวลาหลังภัตแล้ว นั่งคู้บัลลังก์
ตั้งกายให้ตรง ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้าว่า
             จิตของเรายังไม่หมดความถือมั่น ยังไม่หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลายเพียงใด
เราจะไม่ทำลายบัลลังก์นี้เพียงนั้น (จะไม่เลิกนั่งขัดสมาธิ ตั้งความเพียรมีองค์ ๔)
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=222#ความเพียรมีองค์_๔

             พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธภาษิตนี้แล้ว
             ท่านเหล่านั้นชื่นชม ยินดี พระภาษิตของพระผู้มีพระภาค

แก้ไขตาม #39

ความคิดเห็นที่ 9-32
ฐานาฐานะ, 25 เมษายน เวลา 23:17 น.  

GravityOfLove, 5 นาทีที่แล้ว
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
             ๔. มหายมกวรรค
             ๒. มหาโคสิงคสาลสูตร การสนทนาธรรมเรื่องผู้ทำให้ป่างาม
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=6877&Z=7105&bgc=seashell&pagebreak=0
11:02 PM 4/25/2013

             ย่อความมหาโคสิงคสาลสูตร รอสักหน่อยก่อนครับ
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=6877&Z=7105
             มีคำถามว่า ลิงค์ต่างๆ เช่น
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=มหากัสสปะ
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=มหาโมคคัลลานะ
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=สารีบุตร
             ลิงค์ต่างๆ เหล่านี้ เมื่อค้นก่อนทำลิงค์ จะได้ url ที่ไม่ใช่ภาษาคน เช่น
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%C1%CB%D2%A1%D1%CA%CA%BB%D0&original=1
             ทำอย่างไรจึงได้เป็น
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=มหากัสสปะ

ความคิดเห็นที่ 9-33
GravityOfLove, 25 เมษายน เวลา 23:22 น.

Copy มาจาก url ด้านล่างของหน้าค่ะ

ความคิดเห็นที่ 9-34
ฐานาฐานะ, 25 เมษายน เวลา 23:25 น.  

GravityOfLove, 1 นาทีที่แล้ว
Copy มาจาก url ด้านล่างของหน้าค่ะ
11:22 PM 4/25/2013
             เป็นอย่างนี้นี่เอง.

ความคิดเห็นที่ 9-35
GravityOfLove, 25 เมษายน เวลา 23:35 น.

คุณฐานาฐานะเคยสอนนี่คะ
เมื่อก่อนก็ใช้แบบไม่เ็ป็นภาษาคนค่ะ

ความคิดเห็นที่ 9-36
GravityOfLove, 26 เมษายน เวลา 21:17 น.

             คำถามเพิ่มเติมค่ะ
ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้ตอบข้าพระองค์ดังนี้ว่า ดูกรท่านสารีบุตร ภิกษุ ๒ รูปในพระศาสนานี้ กล่าว
อภิธรรมกถา เธอทั้ง ๒ นั้น ถามกันและกัน ถามปัญหากันแล้ว ย่อมแก้กันเอง ไม่หยุดพักด้วย
และธรรมกถาของเธอทั้ง ๒ นั้น ย่อมเป็นไปด้วย
...
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดีละ ดีละ สารีบุตร โมคคัลลานะ เมื่อจะพยากรณ์โดยชอบ
พึงพยากรณ์ตามนั้น ด้วยว่า โมคคัลลานะ เป็นธรรมกถึก.

             ท่านพระมหาโมคคัลลานะเป็นเอตทัคคะด้านมีฤทธิ์มาก
             ไม่เข้าใจว่า คำตอบของท่านเกี่ยวข้องอย่างไรกับด้านมีฤทธิ์มากคะ
             และท่านเก่งด้านธรรมกถึกเหมือนด้วยหรือคะ
             (ทราบว่า พระปุณณมันตานีบุตร เป็นเอตทัคคะด้านผู้เป็นธรรมกถึก)
------------------------------
             ท่านพระสารีบุตร เป็นเอตทัคคะในทางมีปัญญามาก
             คำตอบของท่านเกี่ยวข้องอย่างไรคะ

ความคิดเห็นที่ 9-37
ฐานาฐานะ, 26 เมษายน เวลา 21:40 น.

GravityOfLove, 15 นาทีที่แล้ว
             คำถามเพิ่มเติมค่ะ
ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้ตอบข้าพระองค์ดังนี้ว่า ดูกรท่านสารีบุตร ภิกษุ ๒ รูปในพระศาสนานี้ กล่าว
อภิธรรมกถา เธอทั้ง ๒ นั้น ถามกันและกัน ถามปัญหากันแล้ว ย่อมแก้กันเอง ไม่หยุดพักด้วย
และธรรมกถาของเธอทั้ง ๒ นั้น ย่อมเป็นไปด้วย
...
             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดีละ ดีละ สารีบุตร โมคคัลลานะ เมื่อจะพยากรณ์โดยชอบ
พึงพยากรณ์ตามนั้น ด้วยว่า โมคคัลลานะ เป็นธรรมกถึก.

             ท่านพระมหาโมคคัลลานะเป็นเอตทัคคะด้านมีฤทธิ์มาก
             ไม่เข้าใจว่า คำตอบของท่านเกี่ยวข้องอย่างไรกับด้านมีฤทธิ์มากคะ
             และท่านเก่งด้านธรรมกถึกเหมือนด้วยหรือคะ
             (ทราบว่า พระปุณณมันตานีบุตร เป็นเอตทัคคะด้านผู้เป็นธรรมกถึก)
             ตอบว่า คำตอบของท่านไม่เกี่ยวข้องอย่างไรกับด้านมีฤทธิ์มากครับ.
             คำว่า ทราบว่า พระปุณณมันตานีบุตร เป็นเอตทัคคะด้านผู้เป็นธรรมกถึก
             ตอบว่า ดีแล้วที่ทราบ และพระภิกษุรูปอื่นก็เป็นธรรมกถึกได้.

             [๓๒๘] ลำดับนั้นแล เมื่อเจ้าศากยราชทั้งหลายผู้ครองเมืองกบิลพัสดุ์
เสด็จไปแล้วไม่นาน พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกพระมหาโมคคัลลานะมาตรัสว่า
             ดูกรโมคคัลลานะ ภิกษุสงฆ์ปราศจากถีนมิทธะแล้วแล ธรรมีกถาของเธอ
จงแจ่มแจ้งแก่ภิกษุทั้งหลาย เราเมื่อยหลัง จักเหยียดหลัง
             ท่านพระมหาโมคคัลลานะทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=18&A=4975&Z=5091

------------------------------
             ท่านพระสารีบุตร เป็นเอตทัคคะในทางมีปัญญามาก
             คำตอบของท่านเกี่ยวข้องอย่างไรคะ
9:16 PM 4/26/2013
             ตอบว่า ท่านตอบตามปฏิภาณของท่านครับ.

ความคิดเห็นที่ 9-38
GravityOfLove, 26 เมษายน เวลา 21:51 น.

ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 9-39
ฐานาฐานะ, 29 เมษายน เวลา 01:22 น.  

GravityOfLove, 25 เมษายน เวลา 23:03 น.
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
             ๔. มหายมกวรรค
             ๒. มหาโคสิงคสาลสูตร การสนทนาธรรมเรื่องผู้ทำให้ป่างาม
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=6877&Z=7105&bgc=seashell&pagebreak=0
11:02 PM 4/25/2013

             ย่อความได้ดี รวบรวมประเด็นได้มาก.
             มีข้อติงเล็กน้อย ดังนี้ :-

             ครั้งนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ท่านพระมหากัสสป ท่านพระอนุรุทธ
ควรบอกส่วนของวันไว้ด้วย คือ
             ครั้งนั้นในเวลาเย็น ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ท่านพระมหากัสสป ท่านพระอนุรุทธ

ความคิดเห็นที่ 9-40
ฐานาฐานะ, 29 เมษายน เวลา 01:30 น.

             คำถามในพระสูตรชื่อว่า มหาโคสิงคสาลสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=6877&Z=7105

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง?
             2. คุณ GravityOfLove เลื่อมใสคำตอบของพระเถระรูปใดมากที่สุด
เพราะเหตุใด?

ความคิดเห็นที่ 9-41
GravityOfLove, 29 เมษายน เวลา 06:53 น.

             ตอบคำถามในพระสูตรชื่อว่า มหาโคสิงคสาลสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=6877&Z=7105

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง?
             ๑. พระเถระตอบคำถามของท่านพระสารีบุตรตามปฏิภาณของตน
             ท่านพระอานนท์ เป็นเอตทัคคะด้านพหูสูตร
             ท่านพระเรวตะ เป็นเอตทัคคะด้านผู้ยินดีในฌานสมาบัติ
             ท่านพระอนุรุทธ เป็นเอตทัคคะในทางทิพยจักษุ
             ท่านพระมหากัสสปะ เป็นเอตทัคคะในทางถือธุดงค์
             ท่านพระมหาโมคคัลลานะ แม้ท่านจะเป็นเอตทัคคะในทางมีฤทธิ์มาก
แต่ท่านตอบด้านธรรมกถึก
             ท่านพระสารีบุตร เป็นเอตทัคคะในทางมีปัญญามาก
การยังจิตให้เป็นไปในอำนาจ และไม่เป็นไปตามอำนาจของจิต แสดงความมีปัญญา

             ๒. คำตอบของพระผู้มีพระภาคแสดงให้เห็นว่า
แม้คำตอบของพระเถระจะต่างกัน แต่ก็นำไปสู่ผลสุดท้ายได้เช่นเดียวกัน คือ
ความหลุดพ้น

             ๓. ในบรรดาพระเถระทั้ง ๖ ท่านพระอานนท์มีอายุน้อยที่สุด แล้วเรียงไปดังนี้
                  ท่านพระมหาโมคคัลลานะ  ท่านพระมหากัสสปะ ท่านพระสารีบุตร
                  (ท่านเรวตะ และท่านพระอนุรุทธ ไม่ทราบค่ะ)
------------------------------------------------------
             2. คุณ GravityOfLove เลื่อมใสคำตอบของพระเถระรูปใดมากที่สุด
เพราะเหตุใด
             คำตอบของท่่านพระอานนท์ค่ะ
             เพราะตนเองเท่าที่ทำได้ตอนนี้ อยู่ในฐานะที่จะทำได้ตอนนี้ มีความสามารถ
ที่จะทำได้ตอนนี้ คือศึุกษาพระธรรมวินัย อันเป็นคำสอนของพระศาสดาโดยตรง
             เมื่อได้ศึกษาแล้วก็จะได้มีความเข้าใจที่ถูกต้อง สามารถปฏิบัติได้ถูกต้อง
ไม่หลงเชื่อคำสอนที่บิดเบือนของสำนักใดๆ
             หากมีใครมาสอบถามก็จะได้ตอบได้อย่างถูกต้อง ซึ่งก็คือการปฏิบัติธรรมอย่างหนึ่งด้วย

             เรียนถามคุณฐานาฐานะด้วยค่ะว่า เลื่อมใสในคำตอบพระเถระรูปใดมากที่สุด
และเพราะเหตุใด

ย้ายไปที่



Create Date : 25 มิถุนายน 2556
Last Update : 21 มิถุนายน 2557 23:27:44 น.
Counter : 617 Pageviews.

0 comments
หลักปฏิบัติ ปัญญา Dh
(18 เม.ย. 2567 19:08:42 น.)
เรื่องนี้ไม่ง่าย แต่คนมักชอบอะไรที่มันง่ายๆ 121 235 เขาถาม - ตอบกัน 450 > คำถาม : ทำอย่างไ สมาชิกหมายเลข 7881572
(16 เม.ย. 2567 09:58:49 น.)
: รูปแบบของการค้นพบตนเอง : กะว่าก๋า
(16 เม.ย. 2567 06:05:58 น.)
เติมให้ความมี เติมให้ความไม่มี ปัญญา Dh
(14 เม.ย. 2567 20:54:29 น.)

Gravity-of-love.BlogGang.com

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]

บทความทั้งหมด