13.11 พระสูตรหลักถัดไป คือมหาสีหนาทสูตรและมหาทุกขักขันธสูตร.
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
13.10 พระสูตรหลักถัดไป คือมหาสีหนาทสูตรและมหาทุกขักขันธสูตร.
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=13-03-2013&group=1&gblog=12

ความคิดเห็นที่ 6-87
GravityOfLove, 28 กุมภาพันธ์ เวลา 23:35 น.

เข้าใจแล้วค่ะ
แก้ไขย่อความจาก
             ส่วนแห่งสัญญาเครื่องเนิ่นช้า (แง่ต่างๆ แห่งสัญญา อันประกอบด้วยกิเลสเป็นเหตุเนิ่นช้า
คือตัณหา ทิฏฐิ มานะ) จะครอบงำบุรุษไม่ได้ หากสิ่งที่บุคคลจะพึงยินดี จะพึงยอมรับ จะพึงยึดถือนั้นไม่มี

แก้ไขเป็น

             ถ้าการที่บุคคลจะไม่เพลิดเพลิน ยึดถือ กล้ำกลืน ในเหตุอันทำให้ส่วนแห่งสัญญาเครื่องเนิ่นช้า
สามารถครอบงำบุรุษได้ อันนี้เป็นที่สุดแห่งราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ทิฏฐานุสัย วิจิกิจฉานุสัย มานานุสัย
ภวราคานุสัย อวิชชานุสัย (อนุสัย ๗)

ถูกต้องไหมคะ

ความคิดเห็นที่ 6-88
ฐานาฐานะ, 28 กุมภาพันธ์ เวลา 23:37 น.  

             ถูกต้องครับ.

ความคิดเห็นที่ 6-89
GravityOfLove, 28 กุมภาพันธ์ เวลา 23:38 น.

ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 6-90
ฐานาฐานะ, 28 กุมภาพันธ์ เวลา 23:41 น.

             คำถามชุดที่ 2 ในพระสูตรชื่อว่า มธุปิณฑิกสูตร
//84000.org/tipitaka//v.php?B=12&A=3752&Z=3952

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง?
             2. ท่านพระมหากัจจานะเถระ เป็นเลิศทางด้านใดหรือไม่?

ความคิดเห็นที่ 6-91
GravityOfLove, 28 กุมภาพันธ์ เวลา 23:50 น.

คำถามชุดที่ 2 ในพระสูตรชื่อว่า มธุปิณฑิกสูตร
//84000.org/tipitaka//v.php?B=12&A=3752&Z=3952

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง?
             ๑. ที่สุดแห่งอนุสัย ๗ และที่สุดแห่งการถือท่อนไม้ ฯลฯ คือ การที่บุคคลเพลิดเพลิน ยึดถือ กล้ำกลืน
ในเหตุอันทำให้ส่วนแห่งสัญญาเครื่องเนิ่นช้าสามารถครอบงำบุรุษได้
[แก้ไขตาม คห ๑๐๑ เป็น  --> ที่สิ้นสุดแห่งอนุสัย ๗ และที่สิ้นสุดแห่งการถือท่อนไม้ ฯลฯ คือ การที่บุคคลไม่เพลิดเพลิน ยึดถือ กล้ำกลืน
ในเหตุอันทำให้ส่วนแห่งสัญญาเครื่องเนิ่นช้าสามารถครอบงำบุรุษได้]

             ๒. พระอรหันต์ (พระผู้มีพระภาค) ไม่มีตัณหา จึงไม่ถูกครอบงำด้วยส่วนแห่งสัญญาเครื่องเนิ่นช้า
             ๓. พระผู้มีพระภาคทรงยกย่องและเพื่อนพรหมจรรย์ผู้รู้ก็สรรเสริญท่านพระมหากัจจานะ
             ๔. ตา + รูปารมณ์ = จักขุวิญญาณ ==> ผัสสะ ==> เวทนา ==> จำเวทนานั้น ==> ตรึกเวทนานั้น ==>
เนิ่นช้าอยู่ที่เวทนานั้น ==> ส่วนแห่งสัญญาเครื่องเนิ่นช้าครอบงำ
             ตา + รูปารมณ์ = จักขุวิญญาณ ==> บัญญัติผัสสะ ==> บัญญัติเวทนา ==> บัญญัติสัญญา (จำ) ==>
บัญญัติวิตก (ตรึก) ==> การครอบงำส่วนแห่งสัญญาเครื่องเนิ่นช้า
             เมื่อไม่มีตา ไม่มีรูปารมณ์ ไม่มีจักขุวิญญาณ เป็นไปไม่ได้เลยที่เขาจะบัญญัติผัสสะ ... การครอบงำส่วนแห่งสัญญา
             (อายตนะที่เหลือ ก็พิจารณาทำนองเดียวกัน)
             กิเลสทั้งหลายเมื่อจะเกิดขึ้นย่อมเกิดเพราะอาศัยอายตนะ ๑๒ แม้เมื่อจะดับก็ย่อมดับในเพราะอายตนะ ๑๒ เช่นเดียวกัน
กิเลสเกิดขึ้นในที่ใด ก็ย่อมดับในที่นั้น (สมุทยสัจจปัญหา)
             อกุศลธรรมอันลามกทั้งหลายย่อมดับโดยไม่เหลือในนิพพาน (นิโรธปัญหา)
             ๕. ความเป็นบัณฑิต มีด้วยเหตุ ๔ อย่าง คือฉลาดในธาตุ ฉลาดในอายตนะ ฉลาดในปัจจยาการ ฉลาดในการณ์ และอการณ์
------------------------------------------------------------
             2. ท่านพระมหากัจจานะเถระ เป็นเลิศทางด้านใดหรือไม่?
             ตอบว่า เป็นเลิศด้านจำแนกอรรถแห่งภาษิตโดยย่อให้พิศดาร

             เอตทัคคบาลี
             พระมหากัจจานะ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้จำแนกอรรถแห่งภาษิตโดยย่อให้พิสดาร ฯ
//84000.org/tipitaka/read/?20/146-152

ความคิดเห็นที่ 6-92
ฐานาฐานะ, 28 กุมภาพันธ์ เวลา 23:58 น.  

GravityOfLove, 46 วินาทีที่แล้ว
             คำถามชุดที่ 2 ในพระสูตรชื่อว่า มธุปิณฑิกสูตร
//84000.org/tipitaka//v.php?B=12&A=3752&Z=3952
11:50 PM 2/28/2013
             ตอบได้ดีทั้งสองข้อครับ.
             ขอสอบถามว่า ข้อย่อยที่ 1 พิมพ์ตกคำว่า ไม่ หรือไม่?
             ๑. ที่สุดแห่งอนุสัย ๗ และที่สุดแห่งการถือท่อนไม้ ฯลฯ คือ การที่บุคคลเพลิดเพลิน ยึดถือ กล้ำกลืน
ในเหตุอันทำให้ส่วนแห่งสัญญาเครื่องเนิ่นช้าสามารถครอบงำบุรุษได้

ความคิดเห็นที่ 6-93
GravityOfLove, 1 มีนาคม เวลา 00:02 น.

ไม่ได้พิมพ์ตกค่ะ

ความคิดเห็นที่ 6-94
ฐานาฐานะ, 1 มีนาคม เวลา 00:08 น.

             คำว่า ไม่ได้พิมพ์ตกค่ะ
             แสดงว่า ยืนยันว่า ถูกต้องในประโยคนี้
             ๑. ที่สุดแห่งอนุสัย ๗ และที่สุดแห่งการถือท่อนไม้ ฯลฯ คือ การที่บุคคลเพลิดเพลิน ยึดถือ กล้ำกลืน
ในเหตุอันทำให้ส่วนแห่งสัญญาเครื่องเนิ่นช้าสามารถครอบงำบุรุษได้

             ถามว่า คำว่า ที่สุดแห่งอนุสัย ๗ แปลว่าอะไร
             ก. ที่มากสุดแห่งอนุสัย ๗
             ข. ที่สิ้นสุดแห่งอนุสัย ๗

ความคิดเห็นที่ 6-95
GravityOfLove, 1 มีนาคม เวลา 00:12 น.

ตอบว่า  ก. ที่มากสุดแห่งอนุสัย ๗

ความคิดเห็นที่ 6-96
ฐานาฐานะ, 1 มีนาคม เวลา 00:24 น.

GravityOfLove, 38 วินาทีที่แล้ว
ตอบว่า  ก. ที่มากสุดแห่งอนุสัย ๗
12:12 AM 3/1/2013

             เฉลยว่า ข. ที่สิ้นสุดแห่งอนุสัย ๗
             เพราะฉะนั้น ประโยคว่า
             ๑. ที่สุดแห่งอนุสัย ๗ และที่สุดแห่งการถือท่อนไม้ ฯลฯ คือ การที่บุคคลเพลิดเพลิน ยึดถือ กล้ำกลืน
ในเหตุอันทำให้ส่วนแห่งสัญญาเครื่องเนิ่นช้าสามารถครอบงำบุรุษได้
             ควรแก้ไขเป็น
             ๑. ที่สุดแห่งอนุสัย ๗ และที่สุดแห่งการถือท่อนไม้ ฯลฯ คือ การที่บุคคลไม่เพลิดเพลิน ไม่ยึดถือ ไม่กล้ำกลืน
ในเหตุอันทำให้ส่วนแห่งสัญญาเครื่องเนิ่นช้าสามารถครอบงำบุรุษได้
             หรือแบบชัดๆ ว่า
             ๑. ที่สิ้นสุดแห่งอนุสัย ๗ และที่สิ้นสุดแห่งการถือท่อนไม้ ฯลฯ คือ การที่บุคคลไม่เพลิดเพลิน ไม่ยึดถือ
ไม่กล้ำกลืน ในเหตุอันทำให้ส่วนแห่งสัญญาเครื่องเนิ่นช้าสามารถครอบงำบุรุษได้

             นัยว่า การไม่เพลิดเพลิน ไม่ยึดถือ ไม่กล้ำกลืน เป็นที่สิ้นสุดแห่งอนุสัย 7
             อรรถกถามธุปิณฑิกสูตร [บางส่วน]
             บทว่า เอเสวนฺโต คือ ความที่การเพลิดเพลินเป็นต้นไม่มีนี้เทียว เป็นที่สุดแห่งอนุสัยทั้งหลาย
มีราคานุสัยเป็นต้น. ในบททั้งปวงก็มีนัยนี้เหมือนกัน
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=243

             อรรถกถาพรหมชาลสูตร [บางส่วน]
             ศัพท์ว่า อนฺโต นี้ในพระบาลีนั้น ใช้ในอรรถ คือลำไส้ใหญ่ ภายใน ขอบเขต เลว สุด ส่วน.
...
             ใช้ในอรรถว่า สุด เช่นในประโยคมีอาทิว่า เอเสวนฺโต ทุกฺขสฺส นี้แหละเป็นที่สุดแห่งทุกข์.๖-
             จริงอยู่ ความสิ้นไปแห่งปัจจัยทั้งปวงเป็นส่วนสุด ท่านเรียกว่า ที่สุดแห่งทุกข์.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=9&i=1&p=5

             นัยว่า จริงอยู่ ความสิ้นไปแห่งปัจจัยทั้งปวงเป็นส่วนสุด ท่านเรียกว่า ที่สิ้นสุดแห่งทุกข์.
             ขอให้ทบทวนดูนัยใหม่.

ความคิดเห็นที่ 6-97
ฐานาฐานะ, 1 มีนาคม เวลา 00:30 น.

             เพิ่มเติม :-
             [๓๖๕] เราจักกล่าวธรรมอย่างสูงสิบหมวด สำหรับ
             เปลื้องกิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งหมด เพื่อถึง
             พระนิพพาน เพื่อกระทำที่สุดแห่งทุกข์
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=11&A=7023&w=%B7%D5%E8%CA%D8%B4%E1%CB%E8%A7%B7%D8%A1%A2%EC

             เพื่อถึงพระนิพพาน เพื่อกระทำที่สิ้นสุดแห่งทุกข์
นัยก็คือ กระทำทำให้ทุกข์สิ้นสุดไป.
             ไม่ใช่กระทำให้ทุกข์ถึงระดับมากที่สุด.

ความคิดเห็นที่ 6-98
GravityOfLove, 1 มีนาคม เวลา 00:32 น.

ขอบพระคุณค่ะ
แก้ไขย่อความ (รอบ ๒ เพื่อความชัดเจน) จาก
             ส่วนแห่งสัญญาเครื่องเนิ่นช้า (แง่ต่างๆ แห่งสัญญา อันประกอบด้วยกิเลสเป็นเหตุเนิ่นช้า
คือตัณหา ทิฏฐิ มานะ) จะครอบงำบุรุษไม่ได้ หากสิ่งที่บุคคลจะพึงยินดี จะพึงยอมรับ จะพึงยึดถือนั้นไม่มี
             อันนี้เป็นที่สุดแห่งราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ทิฏฐานุสัย วิจิกิจฉานุสัย มานานุสัย ภวราคานุสัย
อวิชชานุสัย (อนุสัย ๗)
             และเป็นที่สุดแห่งการถือท่อนไม้ การถือศัสตรา การทะเลาะ การแก่งแย่ง การโต้เถียง การด่าว่า
การส่อเสียดยุยง และการกล่าวเท็จ

แก้ไขเป็น

             ถ้าการที่บุคคลจะไม่เพลิดเพลิน ยึดถือ กล้ำกลืน ในเหตุอันทำให้ส่วนแห่งสัญญาเครื่องเนิ่นช้า
สามารถครอบงำบุรุษได้ อันนี้เป็นที่สิ้นสุดแห่งราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ทิฏฐานุสัย วิจิกิจฉานุสัย มานานุสัย
ภวราคานุสัย อวิชชานุสัย (อนุสัย ๗)
             และเป็นที่สิ้นสุดแห่งการถือท่อนไม้ การถือศัสตรา การทะเลาะ การแก่งแย่ง การโต้เถียง การด่าว่า
การส่อเสียดยุยง และการกล่าวเท็จ

ถูกต้องไหมคะ

ความคิดเห็นที่ 6-99
ฐานาฐานะ, 1 มีนาคม เวลา 00:37 น.   

             ถูกต้องครับ
             ดีนะครับที่เห็นข้อนี้.

ความคิดเห็นที่ 6-100
ฐานาฐานะ, 1 มีนาคม เวลา 00:40 น.  

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า มธุปิณฑิกสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/v.php?B=12&A=3752&Z=3952

             พระสูตรหลักถัดไป คือเทฺวธาวิตักกสูตรและวิตักกสัณฐานสูตร.
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔
             มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
             เทฺวธาวิตักกสูตร
//84000.org/tipitaka/v.php?B=12&A=3953&Z=4098
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=251

             วิตักกสัณฐานสูตร
//84000.org/tipitaka/v.php?B=12&A=4099&Z=4207
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=256

ความคิดเห็นที่ 6-101
GravityOfLove, 1 มีนาคม เวลา 00:43 น.

ค่ะ ขอแก้ไขคำตอบตรงนี้ด้วย
จาก

1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง?
             ๑. ที่สุดแห่งอนุสัย ๗ และที่สุดแห่งการถือท่อนไม้ ฯลฯ คือ การที่บุคคลเพลิดเพลิน ยึดถือ กล้ำกลืน
ในเหตุอันทำให้ส่วนแห่งสัญญาเครื่องเนิ่นช้าสามารถครอบงำบุรุษได้

เป็น

1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง?
             ๑. ที่สิ้นสุดแห่งอนุสัย ๗ และที่สิ้นสุดแห่งการถือท่อนไม้ ฯลฯ คือ การที่บุคคลไม่เพลิดเพลิน ยึดถือ กล้ำกลืน
ในเหตุอันทำให้ส่วนแห่งสัญญาเครื่องเนิ่นช้าสามารถครอบงำบุรุษได้

ย้ายไปที่



Create Date : 13 มีนาคม 2556
Last Update : 28 กรกฎาคม 2558 16:10:16 น.
Counter : 492 Pageviews.

0 comments
: รูปแบบของความว่าง : กะว่าก๋า
(18 เม.ย. 2567 04:00:35 น.)
봄 처녀(Virgin spring) by 홍난파(NanPa Hong) ปรศุราม
(17 เม.ย. 2567 10:09:12 น.)
เติมให้ความมี เติมให้ความไม่มี ปัญญา Dh
(14 เม.ย. 2567 20:54:29 น.)
: หยดน้ำในมหาสมุทร 32 : กะว่าก๋า
(10 เม.ย. 2567 06:04:44 น.)

Gravity-of-love.BlogGang.com

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]

บทความทั้งหมด