15.1 พระสูตรหลักถัดไป คือจูฬหัตถิปโทปมสูตรและมหาหัตถิปโทปมสูตร.
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
14.12 พระสูตรหลักถัดไป คือกกจูปมสูตรและอลคัททูปมสูตร.
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=04-04-2013&group=1&gblog=28
ความคิดเห็นที่ 9-1
ฐานาฐานะ, 9 เมษายน เวลา 23:33 น.  

             พระสูตรหลักถัดไป คือจูฬหัตถิปโทปมสูตรและมหาหัตถิปโทปมสูตร.
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔
             มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
             จูฬหัตถิปโทปมสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=5763&Z=6041
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=329

             มหาหัตถิปโทปมสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=6042&Z=6308
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=340

ความคิดเห็นที่ 9-2
GravityOfLove, 10 เมษายน เวลา 17:40 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
             ๓. โอปัมมวรรค
             ๗. จูฬหัตถิปโทปมสูตร อุปมาด้วยรอยเท้าช้าง
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=5763&Z=6041&bgc=floralwhite&pagebreak=0

             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี
เขตพระนครสาวัตถี
             ชาณุโสณีพราหมณ์ได้สนทนากับปีโลติกปริพาชก ทำให้ทราบว่า ปีโลติกปริพาชกเพิ่งกลับ
มาจากสำนักของพระผู้มีพระภาค
             ชาณุโสณีพราหมณ์จึงได้ถามเขาว่า
             บัณฑิตเห็นว่า ความเฉียบแหลมแห่งพระปัญญาของพระสมณโคดมเป็นอย่างไร
             ปีโลติกปริพาชกตอบว่า
             ตัวเขาเองนั้นไม่ทราบ ผู้ที่ทราบความเฉียบแหลมแห่งพระปัญญาของพระสมณโคดมได้
ต้องเป็นเช่นพระสมณโคดมเป็นแน่แท้
             แล้วบอกเหตุที่ตนสรรเสริญและเลื่อมใสในพระองค์ ให้ชาณุโสณิพราหมณ์ฟังดังนี้ว่า
             ตนสรรเสริญพระองค์ เพราะใครๆ ก็สรรเสริญพระองค์อย่างนี้ว่า
             พระองค์เป็นผู้ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
             ปีโลติกปริพาชกอุปมาความเลื่อมใสในพระองค์ดังนี้ว่า
             เปรียบเหมือนหมอช้างที่ฉลาด เมื่อเข้าไปในป่าช้าง เห็นรอยเท้าช้างทั้งยาวและกว้าง
จึงสันนิษฐานว่า ช้างตัวนี้ต้องตัวใหญ่ ฉันใด
             ตัวเขาเองก็ฉันนั้นเหมือนกัน คือเมื่อได้เห็นร่องรอยทั้ง ๔ ในพระสมณโคดมแล้ว เมื่อนั้น
เขาก็สันนิษฐานได้ว่า
             พระองค์เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรมอันพระองค์ตรัสดีแล้ว พระสงฆ์สาวก
ของพระองค์เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=12&A=5763&w=สัมมาสัมพุทธเจ้า

ร่องรอย ๔ คือ
             ๑. ข้าพเจ้าได้เห็นขัตติยบัณฑิตบางพวกในโลกนี้ เป็นผู้ละเอียดลออ โต้ตอบวาทะของ
ผู้อื่นได้ประหนึ่งยิงขนทราย ขัตติยบัณฑิตเหล่านั้นประหนึ่งว่าเที่ยวทำลายทิฏฐิทั้งหลาย (ของผู้อื่น)
ด้วยปัญญา (ของตน)
             พวกเขาเตรียมผูกปัญหาจะไปตอบโต้วาทะกับพระองค์ แต่เมื่อไปถึง พระองค์ก็ทรงชี้แจง
ให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน อาจหาญ ร่าเริงด้วยธรรมีกถา
             ขัตติยบัณฑิตเหล่านั้น ก็ไม่ได้ทูลถามปัญหากับพระองค์เลย แล้วจะยกวาทะตอบโต้
พระองค์ได้อย่างไร ที่แท้ยอมเป็นสาวกของพระองค์ (ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ) นั่นเอง
             เมื่อได้เห็นร่องรอยที่ ๑ นี้ในพระองค์แล้ว เมื่อนั้นก็สันนิษฐานได้ว่า
             พระองค์เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรมอันพระผู้มีพระองค์ดีแล้ว
พระสงฆ์สาวกของพระองค์เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว
             ๒. ข้าพเจ้าเห็นพราหมณ์บัณฑิต ...
             ๓. ข้าพเจ้าได้เห็นคฤหบดีบัณฑิต ...
             ๔. ข้าพเจ้าได้เห็นสมณบัณฑิตบางพวกในโลกนี้ เป็นผู้ละเอียดลออ โต้ตอบวาทะของ
ผู้อื่นได้ประหนึ่งยิงขนทราย สมณบัณฑิตเหล่านั้นประหนึ่งว่าเที่ยวทำลายทิฏฐิทั้งหลาย (ของผู้อื่น)
ด้วยปัญญา (ของตน)
             พวกเขาเตรียมผูกปัญหาจะไปตอบโต้วาทะกับพระองค์ แต่เมื่อไปถึง พระองค์ก็ทรงชี้แจง
ให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน อาจหาญ ร่าเริงด้วยธรรมีกถา
             สมณบัณฑิตเหล่านั้น ก็ไม่ได้ทูลถามปัญหากับพระองค์เลย แล้วจะยกวาทะตอบโต้พระองค์
ได้อย่างไร ที่แท้พากันทูลขอบรรพชาในอนาคาริยวินัยนั้น แล้วบำเพ็ญเพียร ไม่นานนักก็ทำให้แจ้ง
ซึ่งพระอรหัตผล
             สมณบัณฑิตเหล่านั้นจึงพากันกล่าวอย่างนี้ว่า เราทั้งหลายเป็นผู้ไม่สูญเสียเลยแม้แต่น้อย
เพราะเมื่อก่อน เราทั้งที่ไม่ได้เป็นสมณะ ก็ปฏิญาณว่าเป็นสมณะ  ... พราหมณ์ ... พระอรหันต์
             บัดนี้ พวกเราเป็นสมณะ (สงบบาป) แล้ว เป็นพราหมณ์ (ลอยบาป) แล้ว
เป็นพระอรหันต์ (ดับกิเลส) แล้ว
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=อนาคาริยวินัย&detail=on

             เมื่อได้เห็นร่องรอยที่ ๔ นี้ในพระองค์แล้ว เมื่อนั้นก็สันนิษฐานได้ว่า
             พระองค์เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรมอันพระผู้มีพระองค์ดีแล้ว
พระสงฆ์สาวกของพระองค์เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว
             เมื่อปิโลติกปริพาชกกล่าวอย่างนี้แล้ว ชาณุโสณีพราหมณ์ ได้ลงจากรถพาหนะ ประนมอัญชลี
ไปทางทิศที่พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ แล้วเปล่งอุทานวาจา ๓ ครั้งว่า
             ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น

             ชาณุโสณีพราหมณ์ปรารถนาจะสนทนาพระผู้มีพระภาค จึงไปเข้าเฝ้าพระองค์ แล้วกราบทูลเล่า
เรื่องที่ตนสนทนากับปีโลติกปริพาชกแด่พระองค์
             พระองค์ตรัสว่า
             ข้อความเปรียบด้วยรอยเท้าช้างดังกล่าวนั้นยังไม่ได้บริบูรณ์โดยพิสดาร (ละเอียด)
             พระองค์จึงตรัสข้อความเปรียบด้วยรอยเท้าช้างโดยบริบูรณ์โดยพิสดารให้ฟังดังนี้
อุปมาด้วยรอยเท้าช้าง
             เปรียบเหมือนหมอช้างเข้าไปสู่ป่าช้าง เมื่อเขาเห็นรอยเท้าช้างทั้งยาวทั้งกว้าง หมอช้างซึ่งเป็น
ผู้ฉลาด ย่อมยังไม่ตกลงใจก่อนว่า ช้างนี้เป็นช้างตัวใหญ่ เพราะยังมีช้างตัวอื่นชื่อ วามนิกา (พังค่อม) ที่มี
รอยเท้าใหญ่
             หมอช้างนั้นก็ตามรอยช้างนั้นไป เมื่อเจอรอยเท้าช้างขนาดใหญ่ และที่ซึ่งถูกช้างเสียดสีในที่สูง
เขาก็ยังไม่ตกลงใจก่อนว่า ช้างนี้เป็นช้างตัวใหญ่ เพราะยังมีช้างตัวอื่นชื่อ อุจจากฬาริกา ที่มีรอยเท้าใหญ่
             หมอช้างนั้นก็ตามรอยช้างนั้นไป เมื่อเจอรอยเท้าช้างขนาดใหญ่ และที่ซึ่งถูกช้างเสียดสีในที่สูง
และที่ซึ่งถูกงาช้างแซะขาดในที่สูง เขาก็ยังไม่ตกลงใจก่อนว่า ช้างนี้เป็นช้างตัวใหญ่ เพราะยังมีช้างตัวอื่น
ชื่อ อุจจากเณรุกา ที่มีรอยเท้าใหญ่
             หมอช้างนั้นก็ตามรอยช้างนั้นไป เมื่อเจอรอยเท้าช้างขนาดใหญ่ และที่ซึ่งถูกช้างเสียดสีในที่สูง
และที่ซึ่งถูกงาช้างแซะขาดในที่สูง และกิ่งไม้หักในที่สูง และเห็นช้างนั้นอยู่บริเวณนั้น
             เขาย่อมถึงความตกลงใจว่าช้างนี้เองเป็นช้างใหญ่นั้น ดังนี้ แม้ฉันใด
             ข้ออุปไมยก็ฉันนั้น ตถาคตอุบัติในโลกนี้ เป็นอรหันต์ ฯลฯ เป็นผู้จำแนกธรรมนั้น
             ตถาคตนั้นรู้แจ้งโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก และหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์
เทวดา และมนุษย์ด้วยตนเองแล้วจึงประกาศให้ผู้อื่นรู้ตาม
             ตถาคตนั้น ย่อมแสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด
             ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ ทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์ สิ้นเชิง
             ผู้ืีที่ได้ฟังธรรมของพระองค์ ย่อมเิกิดศรัทธาในพระองค์ พิจารณาเห็นว่าฆราวาสเป็นที่คับแคบ
(บำเพ็ญเพียรไม่สะดวก) เกิดกิเลสได้โดยง่าย ดังนั้นจึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
//www.84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=พุทธคุณ_9

ความเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสิกขาสาชีพ
             (สิกขา หมายถึงไตรสิกขา คือ อธิสีลสิกขา อธิจิตสิกขา และอธิปัญญาสิกขา แต่ในที่นี้
หมายถึง อธิสีลสิกขา
             สาชีพ หมายถึง แบบแผนแห่งความประพฤติที่ทำให้ชีวิตร่วมเป็นอันเดียวกัน
ได้แก่ สิกขาบททั้งปวงที่พระพุทธเจ้าได้ทรงบัญญัติไว้ในพระวินัย อันทำให้ภิกษุทั้งหลายผู้มาจาก
ถิ่นฐานชาติตระกูลต่างๆ กัน มามีความเป็นอยู่เสมอเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน)
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=สิกขา
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=สาชีพ

             เขาเมื่อบรรพชาแล้วอย่างนี้ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสิกขาสาชีพของภิกษุทั้งหลาย คือ
             ๑. ละการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ วางทัณฑะ วางศาตรา มีความละอาย มีความเอ็นดู
มีความกรุณาหวังผลประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวง
             ๒. ละการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ รับแต่ของที่เขาให้ ต้องการแต่ของที่เขาให้
ไม่ประพฤติตนเป็นขโมย เป็นผู้สะอาด
             ๓. ละกรรมที่เป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ ประพฤติพรหมจรรย์ ประพฤติห่างไกล เว้นขาดจากเมถุน
อันเป็นกิจของชาวบ้าน
             ๔. ละการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดเท็จ มีปกติพูดความจริง เชื่อมต่อคำจริง มีคำพูดมั่นคง
มีคำพูดที่ควรเชื่อถือ ไม่พูดให้คลาดเคลื่อนต่อชาวโลก
             ๕. ละคำส่อเสียด เว้นขาดจากคำส่อเสียด ฟังจากข้างนี้แล้วไม่ไปบอกข้างโน้น เพื่อให้คนหมู่นี้
แตกร้าวกัน หรือฟังจากข้างโน้นแล้วไม่มาบอกข้างนี้ เพื่อให้คนหมู่นี้แตกร้าวกัน สมานคนที่แตกร้าวกัน
แล้วบ้าง ส่งเสริมคนที่พร้อมเพรียงกันแล้วบ้าง ชอบคนผู้พร้อมเพรียงกัน ยินดีในคนผู้พร้อมเพรียงกัน
เพลิดเพลินในคนผู้พร้อมเพรียงกัน กล่าวแต่คำที่ทำให้คนพร้อมเพรียงกัน
             ๖. ละคำหยาบ เว้นขาดจากคำหยาบ กล่าวแต่คำที่ไม่มีโทษ เพราะหู ชวนให้รัก จับใจ เป็นของ
ชาวเมือง คนส่วนมากรักใคร่ พอใจ
             ๗. ละคำเพ้อเจ้อ เว้นขาดจากคำเพ้อเจ้อ พูดถูกกาล พูดแต่คำที่เป็นจริง พูดอิงอรรถ
พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย พูดแต่คำมีหลักฐาน มีที่อ้าง มีที่กำหนด ประกอบด้วยประโยชน์ โดยกาลอันควร
             ๘. เว้นขาดจากการพรากพืชคามและภูตคาม
(พืชคาม หมายถึงพืชพันธุ์จำพวกที่ถูกพรากจากที่แล้ว ยังสามารถงอกขึ้นได้อีก
ภูตคาม หมายถึงของเขียว หรือพืชพันธุ์อันเกิดอยู่กับที่มี ๕ ชนิด คือ ที่เกิดจากเหง้า เช่นกระชาย,
เกิดจากต้น เช่น โพ, เกิดจากตา เช่น อ้อย, เกิดจากยอด เช่น ผักชี, เกิดจากเมล็ด เช่น ข้าว)
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=พีชคาม
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ภูตคาม

             ๙. ฉันหนเดียว เว้นการฉันในราตรี งดจากการฉันในเวลาวิกาล
(คืองดตั้งแต่หลังเที่ยงวันจนถึงเวลาอรุณขึ้น)
             ๑๐. เว้นขาดจากการฟ้อนรำขับร้อง ประโคมดนตรี และดูการเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศล
             ๑๑. เว้นขาดจากการทัดทรงประดับ และตบแต่งร่างกายด้วยดอกไม้ของหอมและ
เครื่องประเทืองผิวอันเป็นฐานแห่งการแต่งตัว
             ๑๒. เว้นขาดจากการนอนบนที่นอนอันสูงใหญ่
             ๑๓. เว้นขาดจากการรับทองและเงิน
             ๑๔. เว้นขาดจากการรับธัญญาหารดิบ
(ธัญชาติ ๗ ชนิด คือ ข้าวสาลี ข้าวเปลือก ข้าวเหนียว ข้าวละมาน ข้าวฟ่าง ลูกเดือย หญ้ากับแก้)
             ๑๕. เว้นขาดจากการรับเนื้อดิบ
             ๑๖. เว้นขาดจากการรับสตรีและกุมารี
             ๑๗. เว้นขาดจากการรับทาสีและทาส
             ๑๘. เว้นขาดจากการรับแพะและแกะ
             ๑๙. เว้นขาดจากการรับไก่และสุกร
             ๒๐. เว้นขาดจากการรับช้าง โค ม้า และลา
             ๒๑. เว้นขาดจากการรับไร่นาและที่ดิน
             ๒๒. เว้นขาดจากการประกอบทูตกรรมและการรับใช้
             ๒๓. เว้นขาดจากการซื้อการขาย
             ๒๔. เว้นขาดจากการโกงด้วยตาชั่ง การโกงด้วยของปลอมและการโกงด้วยเครื่องตวงวัด
             ๒๕. เว้นขาดจากการรับสินบน การล่อลวง และการตลบแตลง
             ๒๖. เว้นขาดจากการตัด (อวัยวะ) การฆ่าการจองจำ การตีชิง การปล้น การกรรโชก

(มีต่อ)

ความคิดเห็นที่ 9-3
(ต่อ)

             ภิกษุนั้นเป็นผู้สันโดษด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย ด้วยบิณฑบาตเป็นเครื่องบริหารท้อง
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=สันโดษ

             ภิกษุนั้นประกอบด้วยศีลขันธ์นี้แล้ว ย่อมได้เสวยสุขอันปราศจากโทษภายใน
             ภิกษุนั้นเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือเอาโดยนิมิต ไม่ถือเอาโดยอนุพยัญชนะ ย่อมปฏิบัติเพื่อ
สำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้บาปอกุศลธรรม คืออภิชฌา (ความเพ่งเล็งอยาก
ได้สิ่งของของผู้อื่น) และโทมนัส (ความทุกข์ใจ) ครอบงำนั้น ชื่อว่า รักษา ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์
             ภิกษุฟังเสียงด้วยโสต ...
             ภิกษุดมกลิ่นด้วยฆานะ ...
             ภิกษุลิ้มรสด้วยชิวหา ...
             ภิกษุถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ...
             ภิกษุรู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ไม่ถือเอาโดยนิมิต ไม่ถือเอาโดยอนุพยัญชนะ ย่อมปฏิบัติเพื่อ
สำรวมมนินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้บาปอกุศลธรรม คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น
ชื่อว่า รักษา ถึงความสำรวมในมนินทรีย์
             ภิกษุประกอบด้วยอินทรีย์สังวรอันเป็นอริยะเช่นนี้ ย่อมได้เสวยสุขอันไม่ระคนด้วยกิเลสภายใน
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อินทรีย์สังวร&detail=on

             ภิกษุนั้นย่อมทำความรู้สึกตัวในการก้าว ในการถอย ฯลฯ การพูด การนิ่ง
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ธรรมมีอุปการะมาก_2

             ภิกษุนั้นเป็นผู้ประกอบด้วยอริยสีลขันธ์ อริยสันโดษ อริยอินทรียสังวร และอริยสติสัมปชัญญะนี้
แล้ว ภิกษุนั้นย่อมเสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง
             นั่งคู้บัลลังก์ (นั่งขัดสมาธิ) ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า ละความเพ่งเล็งในโลก ละความประทุษร้าย
คือพยาบาท ละถีนมิทธะ ละอุทธัจจกุกกุจจะ ละวิจิกิจฉา
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=นิวรณ์_5

             ภิกษุนั้นละนิวรณ์ ๕ เหล่านี้ อันเป็นเครื่องเศร้าหมองแห่งจิต อันเป็นเหตุตัดทอนปัญญาได้แล้ว
สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน จนถึง จตุตถฌาน แต่ละขั้น
             ข้อนี้เรียกว่า ตถาคตบท (ร่องรอยคือญาณของตถาคต เป็นพื้นฐานแห่งญาณชั้นสูง ๆ ขึ้นไป)
             หรือ ตถาคตนิเสวิตะ (ฐานะอันสีข้างคือญาณของตถาคตเสียดสีแล้ว)
             หรือ ตถาคตารัญชิตะ (ฐานะอันงาคือญาณของตถาคตแซะขาดแล้ว)
             อริยสาวกก็ยังไม่ถึงความตกลงใจก่อนว่า พระผู้มีพระภาคเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ฌาน_4

             ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน
ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไป เพื่อปุพเพนิวาสานุสติญาณ (ระลึกชาติ)
เพื่อจุตูปปาตญาณ / ทิพพจักขุญาณ (เห็นจุติและปฏิสนธิของสัตว์) แต่ละญาณ
             ข้อนี้เรียกว่า ตถาคตบท หรือ ตถาคตนิเสวิตะ หรือ ตถาคตารัญชิตะ
             อริยสาวกก็ยังไม่ถึงความตกลงใจก่อนว่า พระผู้มีพระภาคเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว

             ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน
ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว ย่อมโน้มน้อมจิตไป เพื่ออาสวักขยญาณ (ตรัสรู้)
             ข้อนี้เรียกว่า ตถาคตบท หรือ ตถาคตนิเสวิตะ หรือ ตถาคตารัญชิตะ
             อริยสาวกนั้นย่อมจะถึงความตกลงใจว่า พระผู้มีพระภาคเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=วิชชา_3

             เมื่อภิกษุนั้นรู้เห็นอย่างนั้น จิตย่อมหลุดพ้นจากกามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ
             เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณว่า พ้นแล้ว ภิกษุนั้นย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ไม่ได้มี
             เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว
             ชาณุโสณีพราหมณ์ ได้กราบทูลขอเป็นอุบาสกผู้ถึงไตรสรณะตลอดชีวิต

[แก้ไขตาม 9-18]

ความคิดเห็นที่ 9-4
GravityOfLove, 12 เมษายน เวลา 18:08 น.

อรรถกถากล่าวว่า ปีโลติกปริพาชกเป็นพุทธอุปฐาก
เป็นพุทธอุปฐากเหมือนที่ท่านพระอานนท์เป็นหรือคะ หรือเป็นอย่างเป็นทางการ
หรือว่า เรียกผู้ที่อุปฐากพระองค์เป็นครั้งคราวได้
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=329&bgc=floralwhite

ความคิดเห็นที่ 9-5
ฐานาฐานะ, 12 เมษายน เวลา 18:47 น.
             เป็นผู้ที่อุปฐากพระองค์เป็นครั้งคราวได้
คำเหล่านี้แสดงอาการเคารพ ปรนนิบัติรับใช้ครับ.
    เช่น ท้าวสักกะ, นางปริจาริกาของท้าวเวสวัณมหาราช นามว่า ภุชคี
เป็นผู้อุปัฏฐากพระผู้มีพระภาค หรือนางลาชเทวธิดา อุปฐากพระมหากัสสปเถระ.
    ๘. เรื่องท้าวสักกะ [๑๖๔]
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=25&p=8
    ๓. เรื่องนางลาชเทวธิดา [๙๗]
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=19&p=3
    นางปริจาริกาของท้าวเวสวัณมหาราช นามว่า ภุชคี
//84000.org/tipitaka/read/?10/252

ความคิดเห็นที่ 9-6
GravityOfLove, 12 เมษายน เวลา 18:58 น.

เข้าใจแล้วค่ะ
             อรรถกถาจูฬหัตถิปโทปมสูตร
             ในมัชฌิมประเทศนั้น พระตถาคต ชื่อว่าอุบัติ นับตั้งแต่เสวยข้าวมธุปายาส
ที่นางสุชาดาถวายจนถึงพระอรหัตตมรรค ชื่อว่าผู้อุบัติ ในอรหัตตผล
             ชื่อว่าย่อมอุบัติตั้งแต่ออกมหาอภิเนษกรมณ์จนถึงพระอรหัตต์
             ตั้งแต่ดุสิตภพจนถึงอรหัตตมรรค
             หรือตั้งแต่บาทมูลแห่งพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่าทีปังกร จนถึงพระอรหัตตมรรค ชื่อว่าผู้อุบัติในอรหัตตผล
             ในที่นี้ท่านหมายเอาภาวะที่พระตถาคตอุบัติก่อนกว่าเขาทั้งหมด จึงกล่าวว่า อุปฺปชฺชติ.
             จริงอยู่ ในที่นี้ได้ความว่า ตถาคโต โลเก อุปฺปนฺโน โหติ พระตถาคตย่อมอุบัติในโลก.

             ประโยคนี้เรียนอ่านพบบ่อยมาก คือ
             ตถาคตอุบัติในโลกนี้ เป็นอรหันต์ รู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมแล้วด้วยวิชชาและจรณะไปดีแล้ว ...
             Gravity เข้าใจ (เอง) มาตลอดว่า คำว่า อุบัติ นับตั้งแต่วินาทีที่ตรัสรู้
             สรุปว่า คำว่า อุบัติ ใช้ได้หลายโอกาสเลยหรือคะ

ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 9-7
ฐานาฐานะ, 12 เมษายน เวลา 19:32 น.

             อรรถกถาจุลลหัตถิปโทปมสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=329

             ชื่อว่าอุบัติ น่าจะหมายความว่า กำลังอุบัติ
             ส่วนตั้งแต่อรหัตตผล เป็นต้นไป ชื่อว่า อุบัติแล้ว.
             คำอธิบายเหล่านี้ ไม่ต้องสับสนครับ.

ความคิดเห็นที่ 9-8
GravityOfLove, 12 เมษายน เวลา 19:38 น.

ในพระสูตร คำว่า "ตถาคตอุบัติในโลกนี้" หมายถึง กำลังอุบัติ หรือ อุบัติแล้ว คะ

ความคิดเห็นที่ 9-9
ฐานาฐานะ, 12 เมษายน เวลา 19:52 น.

             คำว่า ย่อมแสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=12&A=5763&w=ย่อมแสดงธรรม#332

             แสดงว่า อุบัติแล้ว จึงทรงแสดงธรรม ...
             อย่างไรก็ตาม แม้ขณะกำลังอุบัติ (ขณะบำเพ็ญบารมี)
พระจริยาวัตรที่ประเสริฐต่างๆ ก็ควรระลึกถึงด้วย.

ความคิดเห็นที่ 9-10
GravityOfLove, 12 เมษายน เวลา 19:54 น.

เข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

ย้ายไปที่



Create Date : 11 เมษายน 2556
Last Update : 21 มิถุนายน 2557 11:45:13 น.
Counter : 2627 Pageviews.

0 comments
เรื่องนี้ไม่ง่าย แต่คนมักชอบอะไรที่มันง่ายๆ 121 235 เขาถาม - ตอบกัน 450 > คำถาม : ทำอย่างไ สมาชิกหมายเลข 7881572
(16 เม.ย. 2567 09:58:49 น.)
: หยดน้ำในมหาสมุทร 36 : กะว่าก๋า
(14 เม.ย. 2567 06:17:30 น.)
: หยดน้ำในมหาสมุทร 32 : กะว่าก๋า
(10 เม.ย. 2567 06:04:44 น.)
สมบัติรูป สมบัตินามที่ถูกรูป ปัญญา Dh
(10 เม.ย. 2567 18:24:46 น.)

Gravity-of-love.BlogGang.com

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]

บทความทั้งหมด