18.2 พระสูตรหลักถัดไป คือจูฬธรรมสมาทานสูตร [พระสูตรที่ 45] การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก 18.1 พระสูตรหลักถัดไป คือจูฬธรรมสมาทานสูตร [พระสูตรที่ 45] ความคิดเห็นที่ 4-9 ความคิดเห็นที่ 4-10 ฐานาฐานะ, 9 มิถุนายน เวลา 21:51 น. มีการสะกดผิดดังนี้ :- ๓. ธรรมสามทานที่มีทุกข์ในปัจจุบัน แต่มีสุขเป็นวิบากต่อไป แก้ไขเป็น ๓. ธรรมสมาทานที่มีทุกข์ในปัจจุบัน แต่มีสุขเป็นวิบากต่อไป ความคิดเห็นที่ 4-11 ฐานาฐานะ, 9 มิถุนายน เวลา 21:52 น. คำถามในจูฬธรรมสมาทานสูตร //84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=12&A=9602&Z=9700 เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง? ความคิดเห็นที่ 4-12 GravityOfLove, 9 มิถุนายน เวลา 22:00 น. ตอบคำถามในจูฬธรรมสมาทานสูตร //84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=12&A=9602&Z=9700 เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง? ๑. ธรรมสมาทานมี ๔ อย่าง ๒. บุคคลที่มีทุกข์บ้าง โทมนัสบ้าง เป็นผู้มีหน้านองด้วยน้ำตา ร้องไห้อยู่ แต่ประพฤติพรหมจรรย์บริบูรณ์บริสุทธิ์ เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ๓. เพราะเหตุใดคนบางคนในโลกนี้จึงเป็นผู้มีโลภะกล้า บางคนมีโทสะกล้า บางคนมีโมหะกล้า ๔. อาราม วนเทวดา รุกขเทวดา อารามเทวดา คือ เทวดาผู้สิงอยู่ในสวน อยู่ตามสวนดอกไม้และสวนผลไม้นั้นๆ วนเทวดา คือ เทวดาผู้สิงอยู่ในป่า เช่น เทวดาผู้สิงอยู่ในป่าอันธวันและสุภควันเป็นต้น รุกขเทวดา คือ เทวดาผู้สิงอยู่ที่ต้นสะเดาเป็นต้น ซึ่งเจ้าของรักษาไว้อย่างดี ความคิดเห็นที่ 4-13 ฐานาฐานะ, 9 มิถุนายน เวลา 22:18 น. GravityOfLove, 12 นาทีที่แล้ว ตอบคำถามในจูฬธรรมสมาทานสูตร //84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=12&A=9602&Z=9700 ... 10:00 PM 6/9/2013 ตอบคำถามได้ดีครับ ข้อสังเกตุ :- พระสูตรนี้ ทรงตรัสถึงธรรมสมาทาน ค่อนไปสำหรับบรรพชิต. เห็นด้วยหรือไม่หนอ? ความคิดเห็นที่ 4-14 GravityOfLove, 9 มิถุนายน เวลา 22:22 น. ดูไม่ออกค่ะ เห็นว่าผสมๆ กัน ดูอย่างไร ความคิดเห็นที่ 4-15 ฐานาฐานะ, 9 มิถุนายน เวลา 22:35 น. ข้อที่ 1. สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง << บรรพชิตหรือนักบวช ข้อที่ 2. ปริพาชกบางคนในโลกนี้ << บรรพชิตหรือนักบวช ข้อที่ 3. บุคคลบางคนในโลกนี้ << คำนี้อาจเป็นบรรพชิตก็ได้หรือ ผู้ครองเรือนก็ได้ และคำว่า แต่ประพฤติพรหมจรรย์บริบูรณ์บริสุทธิ์ ก็ใช้สำหรับบรรพชิตหรือฆราวาสก็ได้. ข้อที่ 4. บุคคลบางคนในโลกนี้ << คำนี้อาจเป็นบรรพชิตก็ได้หรือ ผู้ครองเรือนก็ได้ แต่คำว่า บุคคลนั้นสงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ แต่ค่อนไปทางบรรพชิต. มหาธรรมปาลชาดก [บางส่วน] [๑๔๑๐] อะไรเป็นวัตรของท่าน อะไรเป็นพรหมจรรย์ของท่าน //84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=27&A=5748&Z=5787 คำว่า พรหมจรรย์ //84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=พรหมจรรย์ ความคิดเห็นที่ 4-16 ฐานาฐานะ, 9 มิถุนายน เวลา 22:36 น. เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า จูฬธรรมสมาทานสูตร จบบริบูรณ์. //84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=9602&Z=9700 พระสูตรหลักถัดไป คือมหาธรรมสมาทานสูตร [พระสูตรที่ 46]. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ มหาธรรมสมาทานสูตร //84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=9701&Z=9903 ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- //84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=520 วีมังสกสูตร //84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=9904&Z=9991 ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- //84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=535 โกสัมพิยสูตร //84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=9992&Z=10133 ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- //84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=540 ความคิดเห็นที่ 4-17 GravityOfLove, 9 มิถุนายน เวลา 22:55 น. คำถามอรรถกถามหาธรรมสมาทานสูตร //84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=520&bgc=papayawhip กรุณาอธิบายค่ะ (่ตั้งแต่นี่ ... ถึงนี่) สิ่งทั้งสามนี้ก่อน คือ มิจฉาจาร อภิชฌา มิจฺฉาทิฏฐิ ในคำเหล่านี้คือ "พร้อมด้วยทุกข์บ้าง" เป็นทุกขเวทนาด้วยอำนาจเจตนาทั้งสองคือ บุพเจตนาและอปรเจตนา. ส่วนเจตนาที่ให้สำเร็จเรียบร้อย เป็นเจตนาที่ประกอบด้วยสุข หรือประกอบด้วยอุเบกขา. ส่วนเจตนาที่เหลือมีการฆ่าสัตว์เป็นต้นอีก ๗ ข้อ เป็นทุกขเวทนาด้วยอำนาจเวทนาครบทั้งสาม. ... ในการยึดถือธรรมข้อที่สี่ เจตนาที่เป็นส่วนเบื้องต้น ส่วนเบื้องปลายและเจตนาที่ให้สำเร็จเรียบร้อยครบทั้งสาม ในบทครบทั้งสิบย่อมประกอบด้วยสุขโดยแท้. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอาความข้อนั้น จึงได้ตรัสว่า "พร้อมด้วยสุขบ้าง พร้อมด้วยโสมนัสบ้าง" แหละก็โสมนัสนั่นเอง ก็พึงทราบว่าสุขในที่นี้. ขอบพระคุณค่ะ ความคิดเห็นที่ 4-18 ฐานาฐานะ, 11 มิถุนายน เวลา 00:54 น. GravityOfLove, วันอาทิตย์ เวลา 22:55 น. คำถามอรรถกถามหาธรรมสมาทานสูตร //84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=520&bgc=papayawhip กรุณาอธิบายค่ะ (ตั้งแต่นี่ ... ถึงนี่) ... 10:54 PM 6/9/2013 อธิบายอย่างนี้ว่า มิจฉาจาร (ข้อกาเม) อภิชฌา (โลภ) มิจฺฉาทิฏฐิ (ความเห็นผิด) ทั้งสามนี้ เป็นอกุศลฝ่ายโลภะ อันมีเวทนาในขณะทำกรรม 2 อย่าง คือโสมนัสเวทนาและอุเบกขาเวทนา. ดังนั้น เมื่อจะอธิบายพระพุทธพจน์ในคำว่า ... เป็นคนประพฤติผิดในกาม พร้อมด้วยทุกข์บ้าง พร้อมด้วยโทมนัสบ้าง ย่อมเสวยทุกขโทมนัส เพราะกาเมสุมิจฉาจารเป็นปัจจัย จึงอธิบายว่า เป็นทุกขเวทนาด้วยเจตนา 2 อย่างคือ ก่อนและหลังทำกรรมนั้นๆ แต่เจตนาขณะทำกรรมนั้น เป็นได้เพียง 2 คือโสมนัสเวทนา และอุเบกขาเวทนา ตามที่อธิบายด้านบน. ส่วนด้านกุศลกรรม เช่น เว้นจากปาณาติบาตเป็นต้น กุศลกรรมนั้น ว่าโดยหลัก มีเวทนาเพียง 2 เท่านั้น คือโสมนัสเวทนาและอุเบกขาเวทนา. ดังนั้น เมื่อจะอธิบายพระพุทธพจน์ในคำว่า ... เป็นคนเว้นขาดจากปาณาติบาต พร้อมด้วยทุกข์บ้าง พร้อมด้วยโทมนัสบ้าง ย่อมเสวยทุกขโทมนัส เพราะการเว้นจากปาณาติบาตเป็นปัจจัย. จึงอธิบายว่า เป็นทุกขเวทนาด้วยเจตนา 2 อย่างคือ ก่อนและหลังทำกรรมนั้นๆ เช่นว่า บางคนถูกด่า ถูกตี หมายใจว่า จะไปฆ่าผู้ที่ตี ที่ด่า แต่ก็อดกลั้นไว้ เราจะไม่ทำ แม้ในขณะต่างๆ ก็มีความเสียใจว่า เราไม่ได้ฆ่าคนที่ตีเราเป็นต้น เป็นตัวอย่าง. หรือคนบางคนยากจน แต่ก็สมาทานกรรมคือการไม่ขโมยของๆ ใคร แม้จะมีทุกข์กายทุกข์ใจอันมีความยากจนเป็นปัจจัย ก็ละอทินนาทานไว้ได้ ย่อมหิว ย่อมให้คนดูถูกว่าจน ดีกว่าไปขโมยเขา. อธิบายเพียงเท่านี้ พอเข้าใจหรือยังหนอ? ความคิดเห็นที่ 4-19 GravityOfLove, 11 มิถุนายน เวลา 11:37 น. ขอบพระคุณค่ะ ยังไม่ค่อยเข้าใจค่ะ ขอถามเสริมดังนี้ค่ะ ----------------------- จากย่อความ (ฉบับร่าง) ๑. ธรรมสมาทานที่มีทุกข์ในปัจจุบัน และมีทุกข์เป็นวิบากต่อไป บุคคลบางคนในโลกนี้ ประกอบอกุศลกรรมบถ ๑๐ พร้อมด้วยทุกข์บ้าง พร้อมด้วยโทมนัสบ้าง ย่อมเสวยทุกขโทมนัส เพราะอกุศลกรรมบถข้อนั้นๆ เป็นปัจจัย ครั้นตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ๒. ธรรมสมาทานที่มีสุขในปัจจุบัน แต่มีทุกข์เป็นวิบากต่อไป บุคคลบางคนในโลกนี้ ประกอบบอกุศลกรรมบถ ๑๐ พร้อมด้วยสุขบ้าง พร้อมด้วยโสมนัสบ้าง ย่อมเสวยสุขโสมนัส เพราะอกุศลกรรมบถข้อนั้นๆ เป็นปัจจัย ครั้นตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินินาต นรก -------------------------- ตัวอย่าง เป็นทหารต้องไปรบราฆ่าฟัน ต้องทำเพราะถูกสั่ง ขัดขืนบังคับบัญชาไม่ได้ การฆ่านั้น ถือว่า เป็นปาณาติปาต เพราะครบองค์ปาณาติปาต ใช่ไหมคะ - ถ้าทหารคนนั้นทำปาณาติปาต โดยที่ใจก็ทุกข์ ไม่อยากฆ่าเลย ก็เข้า่ข่ายข้อ ๑ ใช่ไหมคะ - ถ้าทหารคนนั้นทำปาณาติปาต โดยที่ใจไม่รู้สึกทุกข์เลย แถมรู้สึกมีความสุขที่ได้ฆ่า ก็เข้าข่ายข้อ ๒ ใช่ไหมคะ สรุปว่า ถ้าทำอกุศลกรรม ไม่ว่าตอนทำจะเป็นทุกข์หรือเป็นสุข (หรือเฉยๆ) ย่อมเข้าถึงอบาย ฯลฯ ถูกหรือไม่คะ ความคิดเห็นที่ 4-20 ฐานาฐานะ, 11 มิถุนายน เวลา 12:54 น. GravityOfLove, 1 ชั่วโมงที่แล้ว ขอบพระคุณค่ะ ยังไม่ค่อยเข้าใจค่ะ ขอถามเสริมดังนี้ค่ะ ----------------------- จากย่อความ (ฉบับร่าง) ... 11:36 AM 6/11/2013 จากย่อความ (ฉบับร่าง) ใช้ได้ครับ ก็เข้าข่ายข้อ ๑ ใช่ไหมคะ ถูกต้องครับ เข้าข้อธรรมสมาทานข้อ 1 ก็เข้าข่ายข้อ ๒ ใช่ไหมคะ ถูกต้องครับ เข้าข้อธรรมสมาทานข้อ 2 สรุปว่า ถ้าทำอกุศลกรรม ไม่ว่าตอนทำจะเป็นทุกข์หรือเป็นสุข (หรือเฉยๆ) ย่อมเข้าถึงอบาย ฯลฯ ถูกหรือไม่คะ ถูกต้องครับ. ความคิดเห็นที่ 4-21 GravityOfLove, 11 มิถุนายน เวลา 13:06 น. ถามใหม่ค่ะ เพื่อความแน่ใจ สรุปว่า ถ้าทำอกุศลกรรม ไม่ว่าตอนทำจิตใจจะเป็นทุกข์ เป็นสุข หรือเฉยๆ ย่อมเข้าถึงอบาย ฯลฯ ถูกหรือไม่คะ ความคิดเห็นที่ 4-22 ฐานาฐานะ, 11 มิถุนายน เวลา 13:34 น. Block สรุปได้ถูกต้องครับ เว้นช่องไฟดีๆ ครับ สรุปว่า ถ้าทำอกุศลกรรม ไม่ว่าตอนทำจิตใจจะเป็นทุกข์ เป็นสุข หรือเฉยๆ ย่อมเข้าถึงอบาย ฯลฯ แก้ไขเป็น สรุปว่า ถ้าทำอกุศลกรรม ไม่ว่าตอนทำกรรมนั้น จิตใจจะเป็นทุกข์ เป็นสุข หรือเฉยๆ ย่อมเข้าถึงอบาย ฯลฯ หรือ สรุปว่า ถ้าทำอกุศลกรรม ไม่ว่าตอนทำกรรมนั้น จะเป็นทุกข์ เป็นสุข หรือเฉยๆ ย่อมเข้าถึงอบาย ฯลฯ ความคิดเห็นที่ 4-23 GravityOfLove, 11 มิถุนายน เวลา 13:42 น. ขอบพระคุณค่ะ ย้ายไปที่ |
บทความทั้งหมด
|
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔
มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ จูฬยมกวรรค
๕. จูฬธรรมสมาทานสูตร ว่าด้วยธรรมสมาทาน ๔
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=12&A=9602&Z=9700&bgc=papayawhip&pagebreak=0
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่วิหารเชตวัน อารามของท่าน
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี
ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
ธรรมสมาทาน (รับธรรมะมาประพฤติปฏิบัติ) มี ๔ อย่าง คือ
๑. ธรรมสมาทานที่มีสุขในปัจจุบัน แต่มีทุกข์เป็นวิบากต่อไป
๒. ธรรมสมาทานที่มีทุกข์ในปัจจุบัน และมีทุกข์เป็นวิบากต่อไป
๓. ธรรมสมาทานที่มีทุกข์ในปัจจุบัน แต่มีสุขเป็นวิบากต่อไป
๔. ธรรมสมาทานที่มีสุขในปัจจุบัน และมีสุขเป็นวิบากต่อไป
๑. ธรรมสมาทานที่มีสุขในปัจจุบัน แต่มีทุกข์เป็นวิบากต่อไป
มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะ มีทิฏฐิว่า
โทษในกาม (กิเลสกาม วัตถุกาม) ทั้งหลายไม่มี
สมณพราหมณ์พวกนี้จึงดื่มด่ำกามในกามทั้งหลาย
(เช่น เสพเมถุนในเพศบรรพชิต) โดยไม่เห็นภัยในอนาคตในกามทั้งหลาย
ใครเตือนก็ไม่เชื่อฟังว่า ทำไมต้องละกามทั้งหลาย
ทำไมต้องบัญญัติความกำหนดรู้กามทั้งหลาย
ครั้นตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
เสวยทุกขเวทนา หยาบ เผ็ดร้อน ในที่ที่ตนเกิดนั้น
เปรียบเหมือนลูกสุกแห่งเครือถามาลุว่า (ย่านซายหรือย่างซาย)
พึงแตกในเดือนท้ายฤดูร้อน แล้วทำอันตรายแก่ต้นไม้ที่มันไปเลื้อยอาศัยอยู่
ฉันนั้น
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=กาม
๒. ธรรมสมาทานที่มีทุกข์ในปัจจุบัน และมีทุกข์เป็นวิบาก
ปริพาชกบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เปลือยกาย (อเจลก)
ปล่อยมารยาทดีเสีย (ไม่มีมารยาท) ...
นอนบนหนาม หมั่นอาบน้ำวันละ ๓ ครั้ง หมั่นทำให้ร่างกาย
ลำบากเดือดร้อนหลายอย่าง
ครั้นตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ปริพาชก#find2 #find2
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=อเจลก
๓. ธรรมสมาทานที่มีทุกข์ในปัจจุบัน แต่มีสุขเป็นวิบาก
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีราคะ (ความกำหนัด ความยินดีในกาม)
กล้าโดยปรกติ ย่อมเสวยทุกขโทมนัสอันเกิดแต่ราคะเนืองๆ
เป็นผู้มีโทสะ (ความคิดประทุษร้าย) กล้าโดยปรกติ
ย่อมเสวยทุกขโทมนัสอันเกิดแต่โทสะเนืองๆ
เป็นผู้มีโมหะ (ความไม่รู้ตามเป็นจริง) กล้าโดยปรกติ
ย่อมเสวยทุกขโทมนัสอันเกิดแต่โมหะเนืองๆ
แม้จะเสวยทุกขโทมนัส ก็ประพฤติพรหมจรรย์บริบูรณ์บริสุทธิ์
ครั้นตายไปย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
๔. ธรรมสมาทานที่มีสุขในปัจจุบัน และมีสุขเป็นวิบาก
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่มีราคะกล้าโดยปรกติ
ย่อมไม่เสวยทุกขโทมนัสอันเกิดแต่ราคะเนืองๆ
เป็นผู้ไม่มีโทสะกล้าโดยปรกติ ย่อมไม่เสวยทุกขโทมนัส
อันเกิดแต่โทสะเนืองๆ
เป็นผู้ไม่มีโมหะกล้าโดยปรกติ ย่อมไม่เสวยทุกขโทมนัส
อันเกิดแต่โมหะเนืองๆ
บุคคลนั้นสงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน จนถึงจตุตถฌาน
ครั้นตายไปย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ฌาน_4
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว
ภิกษุเหล่านั้น ชื่นชม ยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค
[แก้ไขตาม #4-10]