สิทธารถะ: Hesse

โลกยนิพพาน ..นิพพานทางเลือก
นิยายของ Hermann Hesse เล่มแรกที่ผมมีโอกาสได้อ่าน หนึ่งในหนังสือที่ยิ่งใหญ่ตลอดกาลในมุมมองของผม
นับเป็นนิยายเล่มบางที่ทรงพลังอย่างยิ่งเล่มหนึ่ง ซึ่งผมเคยดูแคลนเอาไว้ว่าคงจะอ่านจบในคืนเดียว แต่ก็ต้องยืดออกไปจนเกือบสัปดาห์
เฮสเสเกิดที่เยอรมันนี แต่ไปใช้ชีวิตและเขียนหนังสือที่สวิตเซอร์แลนด์ เคยใช้ชีวิตอยู่ในอินเดียช่วงหนึ่ง ประสบการณ์ที่ได้ ก่อให้เกิดเป็น "สิทธารถะ" ขึ้นมา แปลเป็นไทยโดย "สดใส"
ขออนุญาตวิจารณ์และตีความตามความคิดของผู้เขียนแต่เพียงฝ่ายเดียว ผู้รู้และผู้กระจ่างในหลักศาสนาและเนื้อหาของนิยายโปรดให้คำชี้แนะใน comment ได้ครับ
..........
นิยายเรื่องนี้กล่าวถึงชีวิตของพราหมณ์ชื่อ "สิทธารถะ" ผู้มีชีวิตคาบเกี่ยวอยู่ในช่วงพุทธกาล เสมือนเป็นการจงใจที่ผู้เขียนตั้งชื่อพราหมณ์ผู้นี้พ้องกับนามของสิทธารถะผู้เป็นโอรสของกษัตริย์พระองค์หนึ่ง ผู้ที่ซึ่งวันหนึ่งข้างหน้าจะได้เป็นศาสดาแห่งพุทธศาสนาและได้เดินทางมาพบกัน
สิทธารถะผู้เป็นพราหมณ์ได้ละทิ้งชีวิตของพราหมณ์ออกแสวงหาทางออกของชีวิตให้กับตัวเอง โดยมีเพื่อนรักอีกคนหนึ่งร่วมแสวงหาไปด้วยกัน ทั้งสองฝึกฝนขัดเกลาจิตใจตัวเองจนส่วนหนึ่งอาจนับได้ว่าก้าวพ้นความเป็นปุถุชนไปได้แล้ว แต่ก็ยังไม่สามารถหลุดพ้นได้ เฉกเช่นพระพุทธเจ้าที่แสวงหาธรรม แสวงหาทางออกให้กับมนุษย์
จนกระทั่งวันหนึ่ง ทั้งคู่ได้โอกาสพบกับองค์ศาสดาแห่งพุทธศาสนา ด้วยความเลื่อมใสที่เกิดขึ้นอย่างล้นพ้น เพื่อนของสิทธารถะได้ปวารณาตัวเข้าเป็นศิษย์แห่งตถาคต แต่ด้วยเหตุผลที่ต่างกัน สิทธารถะตั้งข้อสงสัยกับสิ่งที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ประสบมา
สิทธารถะปฏิเสธแนวทางของพระพุทธเจ้าและได้ออกเดินทางค้นหาทางสว่างแห่งปัญญาเพียงลำพัง
สิทธารถะได้ผ่านพบประสบการณ์ทางโลกมากมาย คบหาสมาคมกับพ่อค้า หญิงงาม มิตรสหายและข้าทาสบริวาร จากนั้นก็พลิกผันชีวิตตัวเองไปเป็นคนแจวเรือ
ที่ริมฝั่งน้ำ สิทธารถะได้พบกับการทดสอบ ความจริง การท้าทาย และประสบการณ์ต่าง ๆ มากมาย แม้กระทั่งสหายที่เคยแยกทางจากกันเมื่อครั้งได้พบกับองค์ศาสดา ทั้งสองยังคงค้นหาสัจธรรมของชีวิตในวิถีทางที่แตกต่างกัน คนหนึ่งอยู่ในทางโลก อีกคนหนึ่งอยู่ในทางธรรม
ที่ริมฝั่งน้ำอีกเช่นกัน สิทธารถะได้พบกับบุตรชายที่ไม่เคยได้รู้จักกันมาก่อน ได้เรียนรู้ถึงวิถีชีวิตทางโลกที่ครั้งหนึ่งสิทธารถะเคยเข้าใจและเป็นส่วนหนึ่งของมันมา และได้เรียนรู้ถึงการสูญเสียที่ไม่มีวันเรียกคืนมาได้
กระทั่งวัยชรา สหายทั้งสองผู้ซึ่งมีวิถีทางต่างกันได้มาพบกันอีกครั้งหนึ่ง ณ ที่ริมน้ำแห่งเดิมชายผู้ใช้ชีวิตในทางโลกกลับเสมือนผู้บรรลุแล้ว โดยมีโลกและธรรม (ธรรมชาติ) รอบตัวเป็นผู้ขัดเกลาสั่งสอน แต่สหายทางธรรมผู้ซึ่งแยกทางกันแสวงหาเมื่อหลายปีก่อนก็ยังคงไม่อาจบรรลุธรรมได้ ในการพบกันครั้งสุดท้าย กลับเป็นสิทธารถะผู้ใช้ชีวิตตลอดเวลาในทางโลกเป็นผู้ชี้นำให้สหายซึ่งใช้ชีวิตในทางธรรมได้บรรลุถึงสัจธรรมในชีวิต
..........
การกลับกลายเป็นว่า โลกสอนธรรม มิใช่ธรรมสอนโลกดอกหรือ ???
ผู้ใฝ่ศึกษาในธรรมมาเป็นเวลานาน กลับไม่สามารถบรรลุธรรมได้ แต่ผู้แจวเรือข้ามฟากเป็นอาชีพกลับบรรลุธรรมได้ในบั้นปลายชีวิต เหตุใดจึงเป็นเช่นนี้ ?
ธรรมนั้นเป็นธรรมเดียวกันกับที่ "สิทธารถะ" อีกผู้หนึ่งได้ศึกษาและเผยแพร่หรือไม่ ?
คนที่อยู่ในทางโลกเช่นพราหมณ์สิทธารถะนั้นสามารถเข้าถึงแก่นแท้ของชีวิตได้เช่นเดียวกับองค์สัมมาสัมพุทธเจ้าได้เลยหรือ ? (ถ้าธรรมนั้นเป็นธรรมเดียวกัน)
ในศาสนาพุทธบอกว่าผู้บรรลุธรรมเช่นนี้จะไม่สามารถช่วยเหลือให้ผู้อื่นพ้นบ่วงกรรมและหลุดพ้นจากทางโลกได้ แต่เหตุใดสิทธารถะผู้แจวเรือสามารถชี้นำให้สหายเก่า "เห็นธรรม" ได้ ??
..........
กลับเป็นหนังสือเล่มนี้ก่อให้เกิดคำถามแก่ผมมากกว่าจะให้คำตอบ นี่เป็นเหตุหนึ่งที่แทบจะทุกย่อหน้าที่อ่าน แทบจะทุกประโยคที่เฮสเสเขียนขึ้นจะต้องนำมาคิดไตร่ตรองให้ถ้วนถี่ การอ่านพ็อคเก็ตบุคเล่มบางที่มีความหนาไม่ถึงหนึ่งเซนติเมตรจึงต้องใช้เวลานานกว่าที่ควรจะเป็นอยู่มาก
แล้วยิ่งอยู่บนพื้นฐานที่ว่าผู้เขียนไม่ใช่ชาวพุทธหรือพราหมณ์ เป็นคนยุโรปที่ "เพียงใช้ชีวิตในอินเดีย" ช่วงหนึ่งเท่านั้น แต่ความนุ่มลึกในความคิดและกระบวนการคิดอันลึกซึ้งทำให้เฮสเสตั้งคำถามให้กับผู้อ่าน (ที่เป็นชาวพุทธ) ได้มากถึงเพียงนี้
..........
ความเห็นส่วนตัว; ถ้าธรรมที่ว่าเป็นธรรมเดียวกัน เฮสเสก็คงจะพยายามบอกว่ามีวิถีทาง (มรรค) มากกว่าหนึ่งที่จะนำเราไปสู่ธรรมนั้นได้ ..เป็นอีกหนทางหนึ่งที่จะนำไปสู่นิพพานเดียวกัน เป็นการค้นพบมรรคที่สอง (?) ในการเข้าสู่การดับทุกข์อันเดียวกัน
แต่ถ้าธรรมที่ว่าเป็นอีกธรรมหนึ่ง การหลุดพ้นที่พราหมณ์สิทธารถะพบก็น่าจะเรียกเป็น "โลกยนิพพาน" คือนิพพานที่ไม่ต้องบวชเรียน นุ่งห่ม หรือถือศีล เป็นนิพพานสายโลก นิพพาน ที่ใครก็ได้สามารถรรลุได้หากได้ศึกษาและเข้าถึงแก่นแท้ของธรรมชาติ (คงต้องยกเว้นบางกลุ่ม/บางคน/บางกรณี)
..........
หมายเหตุ; ขอสวนกระแสปลุกระดมให้พุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติด้วยนิยายเรื่องนี้ อยากให้คนที่พยายามผลักดันให้มีบัญญัติในรัฐธรรมนูญได้อ่านหนังสือเล่มนี้สักคนละรอบ แล้วตอบคำถามว่า ธรรมใดที่เราต้องการกันแน่ ?
ศรัทธาเป็นเด็กเล็ก ๆ คนหนึ่ง ที่เมื่อเติบใหญ่ขึ้นจะกลายเป็นลุ่มหลง และในวัยชราจะเปลี่ยนชื่อเป็นงมงาย
Create Date : 18 เมษายน 2550 |
|
21 comments |
Last Update : 17 กรกฎาคม 2550 10:44:54 น. |
Counter : 6384 Pageviews. |
|
 |
|
|
| |
โดย: BoOKend 19 เมษายน 2550 11:58:54 น. |
|
|
|
| |
โดย: ลูกช้าง IP: 202.93.63.250 19 เมษายน 2550 13:48:30 น. |
|
|
|
| |
โดย: http://enemy222.blogrevo.com IP: 124.120.235.96 24 เมษายน 2550 0:19:02 น. |
|
|
|
| |
โดย: นิรนาม IP: 61.19.220.5 30 พฤษภาคม 2551 12:00:50 น. |
|
|
|
| |
โดย: คนพเนจร IP: 118.172.116.99 19 มิถุนายน 2551 10:52:28 น. |
|
|
|
| |
โดย: เส้นใหญ่น้ำ IP: 58.9.188.12 21 มิถุนายน 2551 17:17:29 น. |
|
|
|
| |
โดย: พุทธภูมิ IP: 125.26.187.183 29 ตุลาคม 2551 15:59:40 น. |
|
|
|
| |
โดย: truelife IP: 10.90.4.163, 202.28.181.11 11 สิงหาคม 2552 23:03:57 น. |
|
|
|
| |
โดย: Zhivago 14 สิงหาคม 2552 9:00:46 น. |
|
|
|
| |
โดย: ผู้ที่เคยอ่าน IP: 125.27.220.165 18 สิงหาคม 2552 17:49:33 น. |
|
|
|
| |
โดย: ศรันย์ สมันตรัฐ IP: 10.0.2.112, 58.8.85.184 19 มีนาคม 2554 22:49:16 น. |
|
|
|
| |
โดย: Zhivago 23 มีนาคม 2554 0:36:10 น. |
|
|
|
| |
โดย: อัญชลี IP: 61.91.203.165 19 สิงหาคม 2554 15:07:16 น. |
|
|
|
| |
โดย: Zhivago 19 สิงหาคม 2554 19:17:25 น. |
|
|
|
| |
โดย: moo IP: 122.155.17.61 25 สิงหาคม 2554 15:51:47 น. |
|
|
|
| |
โดย: Zhivago 29 สิงหาคม 2554 16:33:24 น. |
|
|
|
| |
โดย: กะว่าก๋า 15 ตุลาคม 2554 21:02:30 น. |
|
|
|
| |
โดย: Zhivago 16 ตุลาคม 2554 22:26:54 น. |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 |
8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 |
15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 |
22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 |
29 | 30 | |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|