5000 บาท เงินประชาชนเพื่อคนได้รับผลกระทบโควิด-19
เงินเยียวยา 5000 บาท 6 เดือน ไม่ใช่เงินสำหรับคนจน แต่สำหรับคนที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 โดยเฉพาะคนทำงาน มันไม่เหมือนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ นั่นเน้นคนจนจริงๆ หรือคนที่ไม่มีงานทำ
ฉะนั้น คนที่ทำงานไม่ไม่ว่าจนหรือรวยหรือพอมีพอกินหากได้รับผลกระทบก็มีโอกาสได้รับสิทธิ์ทั้งสิ้น แต่ขึ้นอยู่กับว่าเขาอยากจะรับหรือไม่เท่านั้น ถ้าเห็นว่าตัวเองยังพอไหวก็ไปต่อได้ด้วยเงินเก็บก็ไม่สนใจ แต่หากไม่ไหวและ เห็นว่า 5000 บาทมันมีค่าพอที่จะช่วยลดภาระได้ก็ลงทะเบียนรับสิทธิ์
จึงไม่ผิดถ้าหากจะเห็นผู้ประกอบการหลายคนที่เราอาจจะมองว่าเขาก็ไม่ลำบากยากจนหรือดูมีฐานะแต่ได้รับเงินเยียวยา เพราะเขาอาจจะมีภาระที่ต้องใช้จ่ายในช่วงที่ขาดรายได้ เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ค่าอินเทอร์เนต ต้องซ่อมรถ ซ่อมบ้าน จิปาถะที่เราไม่อาจจะไปคิดแทนเขาได้ว่าเขาต้องจ่ายอะไรบ้างต่อเดือน หรือแม้แต่อาจเอาไปใช้หนี้เพื่อนฝูง หรือหนี้นอกระบบก็ตาม หรือบางครอบครัวต้องใช้เงินหมุน ซึ่งรัฐบาลไม่ได้ตามไปดูว่าแต่ละคนจะเอาไปใช้อะไรบ้าง ใครจะเอาเงิน 5000 ไปใช้ฟุ่มเฟือยอย่างไรก็เงินของเขา สิทธิ์ของเขาแล้ว หากฟุ่มเฟือยก็มีสิทธิ์ฟุ่มเฟือยได้แค่ 5000 มากกว่านั้นก็ต้องหาเอาเอง เพราะบางคนติดนิสัยใช้จ่ายฟุ่มเฟือยอยู่แล้ว ต่อให้เป็นเงินตัวเองก็มือเติบเช่นนี้เป็นปกติ ว่ากันไม่ได้
แต่ที่มันเป็นประเด็นขึ้นมาเพราะคนมือเติบเหล่านี้ คือคนที่ไม่ชอบรัฐบาลเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว อยากเอาชนะ อยากโพสต์ด่า มีธงตั้งไว้แล้วว่าถ้าทำสำเร็จจะต้องด่า ต้องประชดเย้ยหยัน เพื่อความสะใจ บังเอิญคุณสมบัติครบตาม AI ตรวจสอบ เงินก็อยากได้ แต่ใจก็ต้องด่า เดี๋ยวมันจะผิดคอนเซ็ปต์เสียความเป็นตัวเอง จึงต้องทำหน้าที่ให้สมบูรณ์ คือ อวดและด่า แต่อาจจะเหนือความคาดหมายไปหน่อยคือ ทัวร์ลง! จนต้องปิดเฟซบุ๊ก
ทัวร์ลงเท่าที่สังเกต แบ่งเป็นสามกลุ่ม คือ กลุ่มที่เป็นทนไม่ได้โกรธเกลียดเจ็บใจหมั้นไส้คนเหล่านี้จริงๆ อยากให้จำกัดมันออกไป กลุ่มที่ยังไม่ได้แล้วอิจฉาคนที่ได้อยากมีโอกาสอวดและด่าบ้าง และกลุ่มที่ไม่มีสิทธิ์ได้เลย เช่น คนไม่ทำงาน นักศึกษา คุณสมบัติไม่ตรงแต่อยากได้เหมือนกัน ฯลฯ
บทเรียนของการรับเงินเยียวยาครั้งนี้ คือ ถ้าได้แล้วก็ควรหุบปากไปชั่วคราว หรือไม่ต้องด่าออกสื่อ อยากด่ารัฐบาลก็ด่าเรื่องอื่นหรือด่ากันเฉพาะกลุ่ม ถ้าจะอ้างว่าเป็นเงินประชาชนไม่ใช่เงินรัฐบาล ตนจึงสมควรได้ก็จริง แต่หลายคนที่รับเงินไปอาจจะไม่ได้เสียภาษีให้รัฐโดยตรง เพราะฉะนั้นใช้เงินที่ได้ให้สมกับที่เป็นเงินประชาชน ไม่ต้องประชดแดกดันว่าเศษเงิน หรือเงินสลิ่ม เพราะเพื่อนในเฟซบุ๊กไม่ได้คิดเหมือนเจ้าของเฟซบุ๊กทุกคน
Create Date : 08 เมษายน 2563 |
|
0 comments |
Last Update : 8 เมษายน 2563 20:42:30 น. |
Counter : 1133 Pageviews. |
 |
|