Be a master of your destiny, not a slave of your own fears.
<<
ตุลาคม 2550
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
4 ตุลาคม 2550

การตลาดในมิติที่ 4 (มิติของเวลา)

มิติของเวลา

วันนี้ได้อ่านหนังสือของเรื่อง ไอนสไตน์พบ พระพุทธเจ้าเห็น ของทันตแพทย์สม สุจีรา ทำให้เกิดปัญญาในเรื่องของมิติที่สี่มากขึ้น ซึ่งคุณหมอสม ได้พูดถึงเรื่องของวิทยาศาสตร์และพุทธศาสนาที่มีทั้งความเกี่ยวข้องในด้านของมิติและขัดความขัดแย้งในเรื่องของหลักการในการนำมิติมาใช้

โดยปกติแล้วคนเราจะสามารถมองสิ่งต่างๆ เห็นเป็น 3 มิตินั่นคือการมองเห็นแบบ ความกว้าง ความยาว และ ความลึก แต่มิติที่สี่ที่คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยเข้าใจนั้นเป็นมิติในเรื่องของ “เวลา” ทฤษฎีสัมพันธภาพของนักวิทยาศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ได้กล่าวถึงว่าเวลานั้นเป็นสิ่งที่ไม่สมบูรณ์แต่เป็นเรื่องของความสัมพัทธ์ นั่นคือนักวิทยาศาสตร์ในสมัยก่อนๆ นั้นคิดว่าเวลาในทุกๆ ที่นั้นเป็นมีความยาวที่เท่ากัน ต่อเมื่อไอน์สไตน์ได้ค้นพบทฤษฎีสัมพันธภาพ ก็ทำให้คนในโลกนี้รู้ว่าเวลานั้นเป็นเรื่องของความสัมพัทธ์ คือมีความไม่เท่ากันในแต่ละที่

คุณหมอสมได้ให้ข้อคิดและยกตัวอย่างของการเห็นในสองระบบมิติและสามมิติไว้อย่างน่าสนใน กล่าวคือ ถ้าเราสมมุติว่ามดนั้นมองได้แค่สองมิติคือ ด้านหน้า และด้านข้างจากที่สายตามมดมองเห็น และมดตัวนั้นเดินอยู่บนกล่องกระดาษ มดอาจจะไม่สามารถรับรู้ว่ารูปทรงของกล่องกระดาษนั้นเป็นอย่างไรตามสายตาที่เรามองเห็นได้ นั่นคือ มดไม่สามารถรู้ได้ว่ากล่องนั้นมีความลึกอยู่ แต่มดจะเห็นในแนวระนาบที่เป็นพื้นที่มีด้านหน้าและด้านข้าง
(ในกรณีนี้สมมุติว่ามดไม่สามารถมองด้านหลักของตัวเองได้)

แต่ในกรณีของคนเรานั้นสามารถมองเห็นมิติที่สามด้วยคือความลึก เราก็จะมองเห็นว่ามดนั้นกำลังจะเดินไปในทิศใดและอยู่ส่วนในบนกล่องกระดาษ กำลังเดินอยู่บนด้านบน หรือด้านล่างของกล่อง ซึ่งมุมมองในมิติสามนั้นทำให้เรานั้นเหนือกว่ามดเพราะ หากเราเอาก้อนน้ำตาลหย่อน ลงไปบนหน้ามดในขณะที่มดเดินอยู่อยู่ มด(หากคิดเป็น) ก็อาจจะเกิดความอัศจรรย์ได้ว่ามีปรากฎการณ์ที่มหัศจรรย์นั้นเกิดขึ้นแล้วเพราะอยู่ๆ ก็มีก้อนน้ำตาลมาปรากฎอยู่ตรงหน้าโดยที่มดไม่เห็นมาก่อน สาเหตุที่มดรู้สึกเป็นอัศจรรย์ก็เนื่องมาจากมดไม่สามารถมองเห็นสูงขึ้นมาจนพบว่าเราเองนั้นกำลังเอาน้ำตาลผูกกับด้ายแล้วๆ ค่อยๆ หย่อนลงไปในระดับสายตาของมด และมดอาจจะรู้สึกอัศจรรย์ใจไปมากกว่านั้น เมื่อมดกำลังที่จะกัดกินน้ำตาลก้อนนั้นแต่อยู่ๆ น้ำตาลก้อนนั้นก็หายไป เนื่องจากเรายกมันขึ้นมาก่อนที่มดจะได้กัดกิน ถ้าวาดภาพนั้นเป็นตัวเรา เราก็อาจจะเกิดอาการเดียวกันกับมดถ้าอยู่อยู่ๆ ก็มีอะไรมาปรากฏกายอยู่ตรงหน้าทั้งๆ ที่เรามองไม่เห็นมาก่อน แล้วจู่ๆ ก็หายไปโดยหาสาเหตุไม่ได้

ที่กล่าวมานั้นเป็นตัวอย่างที่ผมนำมาขยายต่อจากการยกตัวอย่างของคุณหมอสมเพื่อที่จะนำไปสู่เรื่องของการตลาดในมิติที่ 4 ที่เกี่ยวข้องกันกับมิติของเวลา ซึ่งผมอยากจะลองขยายความคิดต่อว่าแล้วมิติที่สี่ในเรื่องของเวลานั้นเกี่ยวข้องกับการตลาดอย่างไร

เข้าสู่มิติของเวลาของโลกธุรกิจ

ผมคิดว่าถ้านักการตลาดสามารถนำแนวคิดของตัวอย่างด้านบนที่เป็นสองมิติและสามมิติมาเป็นต้นแบบและมองให้เห็นถึงการประยุกต์ใช้งาน การมองการตลาดในมิติที่สี่ก็จะสามารถทำให้เราสามารถทำธุรกิจได้อย่างเข้าใจมากขึ้น สำหรับมิติที่สี่ในเรื่องของ ‘เวลา’ ผมอยากจะยกตัวอย่างดังนี้

ผมขอยกตัวอย่างในมิติที่สี่ที่ผมเข้าใจให้เห็นแนวคิดของผมสังเขปดังนี้ครับ ถ้าเราอยู่ในมิติที่สี่ นั้นเหมือนกับถ้าเราเอาแผ่นฟิลม์หนังที่ฉายวางลงบนพื้นราบเราก็จะสามารถเห็นเรื่องราวของฟิลม์หนังที่ดำเนินต่อเนื่องกันไปจนถึงสุดแผ่นฟิลม์ที่เราวาง นั้นคือเรากำลังอยู่ในมิติที่สี่ เพราะเรารู้ว่าเวลาในแต่ละวินาทีบนแผ่นฟิลม์นั้นจะเกิดอะไรขึ้นต่อๆ กันไป สิ่งนี้คือเราได้เข้ามาอยู่ในมิติของเวลาเรียบร้อยแล้ว แต่ถ้าท่านลองมองภาพว่าท่านกลับเข้าไปดำเนินชีวิตอยู่ในแผ่นฟิลม์นั้น แผ่นฟิลม์นั้นมีความยาว 5 นาที และท่านกลับเข้าไปอยู่ในแผ่นฟิลม์ในช่วงนาทีที่ 3 ในขณะนั้นท่านจะไม่รู้เลยว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ 3.01 นาทีจนถึงนาทีที่ 5 นั้นจะเกิดอะไรขึ้นกับตัวท่านเพราะท่านไม่สามารถมองเห็นในมิติที่ 4 ได้ดังนั้นท่านก็ต้องปล่อยให้สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตและธุรกิจของท่านดำเนินต่อไปเรื่อยๆ จนถึงนาทีที่ 5

แต่ถ้าเราเป็นนักการตลาดที่พยายามจะอยู่ในมิติที่ 4 นั่นคือถอยตัวเองออกมาจากแผ่นฟิลม์ จากผู้แสดงออกมาเป็นผู้กำกับ เราก็จะมีความสามารถในการมองเห็นในแง่มุมที่กว้างขึ้น เป็นขั้นตอนขึ้น และ เราก็อาจจะสามารถนำพาธุรกิจของเติบโตและเจริญรุ่งเรืองได้เนื่องเพราะเราสามารถที่จะมองเห็นว่า เรากำลังทำอะไรและสิ่งที่ทำนั้นจะเกิดผลอะไร

ถึงแม้ในความจริงแล้วการมองเห็นในมิติที่ 4 ที่เรามองเห็นนั้นจะเป็นมิติเสมือนก็ตาม ที่ผมพูดถึงมิติเสมือนนั่นก็คือตัวเรานั้นไม่สามารถออกมาอยู่ในมิติที่ 4 ได้อย่างแท้จริงและสมบูรณ์แบบ เพราะเราไม่รู้ว่าอนาคตที่แท้จริงของธุรกิจเราจะเป็นอย่างไร แต่ถ้าเราทำให้เราเสมือนอยู่ในมิติที่ 4 นั้นก็คือเราสามารถที่จะเห็นเรื่องราวที่จะเกิดขึ้นในลักษณะลางๆ ถึงแม้จะไม่ชัดเจนแต่ก็สามารถมองเห็นได้

นักการตลาดผ่านมิติเวลา
วิธีการที่จะผันตัวเราเองมาอยู่ในมิติที่สี่คือก็คือการวางแผนการดำเนินงานและ การมองเห็นเป้าหมาย หรือสิ่งที่เราต้องการให้เกิดขึ้นครับ ถ้าพูดกันง่ายๆ ก็เหมือนกับเราทำธุรกิจโดยมีผังสำเร็จที่วางไว้ล่วงหน้า รู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้น ในอนาคต เหมือนอย่างที่ผมบอกนะครับถึงแม้จะเลือนๆ ไม่ชัดแจ่มแจ้งเหมือนผู้ที่อยู่ในมิติที่สี่อย่างแท้จริงแต่อย่างน้อยก็ดีกว่าไม่เห็นเอาเสียเลย

ขั้นตอนแรกที่จะทำให้ท่านสามารถเสมือนอยู่มิติที่ 4 ได้นั้นก็คือการที่ท่านต้องมีการวางแผนอย่างรัดกุม แผนที่ได้มานั้นต้องผ่านการวิเคราะห์ในรายละเอียด มีกระบวนการที่น่าเชื่อถือและทำให้ท่านสามารถมั่นใจในระดับหนึ่งว่าเมื่อถึงขั้นกระบวนการดำเนินงานแล้ว สิ่งทั้งหมดนั้นจะเป็นไปตามแผนงานการตลาดที่ท่านวางไว้

ขั้นตอนที่สองคือการตวจสอบการดำเนินงานในรายละเอียด หากท่านเป็นนักการตลาดต้องการที่จะประสบความสำเร็จแล้วท่านก็ที่เอาใจใส่แล้วงานในรายละเอียดทุกจุด วิธีการอาจจะไม่ใช่ว่าต้องลงไปทำในทุกๆ ขั้นตอนของรายละเอียดแต่ท่านต้องมีเครื่องมือตรวจสอบว่า รายละเอียดที่ท่านวางเอาไว้นั้นได้ถูกนำไปปฏิบัติตามแผนหรือไม่ มีจุดใดบ้างที่ไม่ได้ทำและเกิดอะไรขึ้นถึงไม่สามารถทำได้

ความล้มเหลวของการทำการตลาดสินค้าหลายๆ ตัวนั้นก็เกิดขึ้นจากการขาดการดูแลเอาใจใส่ในรายละเอียดนี่แหละครับ ต้องอย่างลืมว่าถึงแม้ท่านจะเป็นนักการตลาด เป็นเสนาธิการในการวางแผนเพื่อผลักดันผลิตภัณฑ์ของบริษัทออกสู่ท้องตลาด แต่ท่านไม่ได้ทำงานอยู่คนเดียว ทีมขายนั้นเป็นทีมที่มีความสำคัญอย่างสูงในการที่จะทำให้สินค้าของท่านสามารถอยู่รอดได้ ในท้องตลาด หากทีมการขายไม่ได้ทำตามแผนที่ทีมการตลาดวางเอาไว้ เนื่องจากไม่เชื่อในแผนของท่านหรือ ถึงแม้ทีมขายจะฟังแผนของท่านอย่างเข้าใจแต่ก็ไม่ทำตามที่ท่านวางแผนเอาไว้เนื่องจากทีมขายไม่มั่นใจเพราะคิดว่าท่านเป็นมือใหม่ หรืออ่อนประสบการณ์ ความล้มเหลวของธุรกิจหรือผลิตภัณฑ์ที่ท่านนำเสนอออกสู้ท้องตลาดก็จะมีโอกาสรอดได้ต่ำ ภาพเสมือนของความสำเร็จของท่านในมิติที่สี่ก็จะไม่มีโอกาสจะเป็นจริงไปได้

ถึงแม้เราจะไม่สามารถถพาตัวเราเข้าไปอยู่อย่างสมบูรณ์แบบได้ แต่ก็ไม่ใช่ว่าเราจะต้องอยู่ในมิติที่สามอยู่ตลอดไปครับ แผนการทำงาน แผนปฏิบัติการที่ถูกทบทวนแล้วทบทวนเล่า สามารถสร้างภาพเสมือนในมิติที่สี่ให้กับเราได้ ดังนั้นหากท่านคิดว่าท่านต้องการพยากรณ์อนาคตของตนเองหรือของธุรกิจ สิ่งที่ขาดไม่ได้คือการเอาใจใส่ต่อแผนงานที่จะทำ วางให้รัดกุม ดำเนินการให้เป็นไปตามที่วางแผนไว้ และตรวจสอบอยู่เสมอว่าแผนเป็นไปตามกำหนดการ เท่านี้ท่านก็สร้างความเสมือนจริงของนักการตลาดมิติที่สี่ โดยไม่ต้องเข้าไปอยู่ในมิติที่สี่จริงๆ หรอกครับ



Create Date : 04 ตุลาคม 2550
Last Update : 4 ตุลาคม 2550 10:51:55 น. 5 comments
Counter : 1022 Pageviews.  

 
ผมเคยอ่านเรื่องการเปรียบเทียบของมิติที่ 4 มาเหมือนกัน

ลักษณะที่เขาเปรียบเทียบก็คือ

มีห้องว่างห้องหนึ่ง มีเก้าอี้สีแดงวางอยู่ 1 ตัว เราก็จะเห็นว่าห้องนี้สูงเท่าไหร่ กว้างเท่าไหร่ ลึกเท่าไหร่ เห็นภาพเป็น 3 มิติ

แต่ถ้าเราเอาเก้าอี้สีแดงออกไป แล้วมองกลับเข้ามาใหม่เราเองก็ยังมองเห็นห้องนี้กว้าง ลึก สูงเหมือนเดิม แต่ก็จะไม่มีเก้าอี้สีแดงแล้ว ทั้งๆที่เป็นห้องๆเดิม

นี่คือมิติที่ 4 ที่เราไม่สามารถมองเห็นได้ว่าห้องนี้มีอะไรบ้าง ในช่วงเวลาที่ต่างกัน ซึ่งถ้าเราสามารถเห็นได้ เราอาจจะเห็นห้องนี้มีโต๊ะทำงานเพิ่มเข้ามา แล้วมีคนนั่งอยู่บนเก้าอี้สีแดงนั้น ซ้อนอยู่ในภาพห้อง 3 มิติที่เราเห็นครับ


โดย: แมวผจญภัย IP: 203.146.63.182 วันที่: 14 ตุลาคม 2550 เวลา:21:03:46 น.  

 
สนใจมากค่ะเรื่องนี้


โดย: นิรนาม IP: 203.156.34.45 วันที่: 24 มิถุนายน 2551 เวลา:17:25:14 น.  

 
ขอบคุณครับผมเริ่มสนใจเรื่องนี้มาจากการที่ได้อ่านหนังสือเบอร์มิวดา แล้วก็เริ่มค้นคว้า แต่คิดว่าจะใช้ประโยนช์กับเราอย่างไรบ้างครับ


โดย: มังกรหยก IP: 210.246.146.129 วันที่: 20 สิงหาคม 2551 เวลา:13:22:52 น.  

 
งงอะ มิติที่4 คือเวลา ในอนาคตหรอ


โดย: คนอยากรู้ IP: 117.47.161.88 วันที่: 5 กันยายน 2551 เวลา:0:43:58 น.  

 
ถ้าเกิดจิตท่านเข้าสู่สภาวะที่บริสุทธิท่านก็จะรู้เองว่า มิติของเวลาคืออะไร เพราะเมื่อเข้าสู่สภาวะนั้นก็ไม่มีกาลเวลาไร้ขอบเขต......


โดย: สุจิตฺโต IP: 202.149.25.197 วันที่: 6 เมษายน 2552 เวลา:13:35:59 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Jazz-zie
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]





ค้นหาใน GOOGLE.CO.TH
[Add Jazz-zie's blog to your web]