แบบอย่างการสร้างชาติ “เยอรมนี” ที่น่าเรียนรู้
นั่งคิดไปมาว่าจะเขียนบทความในหัวข้อต่อไปอะไรดี … พลันก็นึกได้ว่า การได้าศัยอยู่ในประเทศที่นับได้ว่ายิ่งใหญ่แบบประเทศเยอรมนี รวมถึงการที่ได้เป็นนักศึกษาปริญญาเอกสาขาการเมือง โดยที่มี Doktorvater หรือศาสตราจารย์ที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญเรื่องประชาธิปไตยในประเทศเยอรมนีเนี่ย สิ่งที่น่าสนใจน่าจะไม่พ้นการเล่าเกี่ยวกับการสร้างชาติของประเทศเยอรมนี รวมถึงในเรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจของประเทศนี้ อันจะเป็นประโยชน์ให้กับพวกเราคนไทยที่จะมีแรงบันดาลใจกับการพัฒนาชาติบ้านเมืองของเรามากยิ่งขึ้น

เยอรมนี ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในบรรดาประเทศที่มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองอย่างยิ่งใหญ่ที่สุดประเทศหนึ่งในโลก โดยการเปลี่ยนแปลงที่เราทราบกันดีนั้นคือ การเปลี่ยนแปลงจากประเทศที่ปกครองโดยระบบเผด็จการแบบนาซี สู่ประเทศที่มีประชาธิปไตยและการเคารพกฎหมาย หรือ Rule of Law เป็นหลัก

การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ใช่ว่าเป็นการกระทำที่เกิดขึ้นโดยง่าย ในทางตรงกันข้าม กว่าที่ประเทศเยอรมนีจะสามารถปรับเปลี่ยนและปฏิรูปจนกลายเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วและมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลกที่เป็นรองเพียงประเทศสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นเท่านั้นได้ พวกเขาต้องเผชิญกับสถานการณ์ต่างๆ ที่ยากลำบากมาก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การพ่ายแพ้สงครามโลกถึงสองครั้งจากสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2, การตกอยู่ภายใต้การปกครองเผด็จการแบบนาซี, การที่ประเทศต้องถูกแบ่งแยกออกเป็นประเทศเยอรมนีตะวันตกและตะวันออก เป็นต้น

นอกจากนี้ แม้ว่า ในที่สุดในวันที่ 3 ตุลาคม ปี 1990 ประเทศเยอรมนีทั้งสองฝั่งจะสามารถทำการรวมประเทศกันได้ แต่ภาระอันหนักอึ้งที่เกิดจากการแบกรับความยากจนและความล้าหลังของประเทศเยอรมนีฝั่งตะวันออกที่เคยปกครองด้วยระบบคอมมิวนิสต์ของประเทศสหภาพโซเวียตมาอย่างยาวนานก็เป็นเหตุทำให้การสร้างรัฐใหม่ในครั้งนั้นไม่ได้เป็นไปโดยง่ายดายนัก

อย่างไรก็ตาม แม้ดูเหมือนว่า ประเทศเยอรมนีจะมีปัญหาหลักๆ ใหญ่ๆ มากมายที่ต้องดำเนินการปฏิรูปและแก้ไขจัดการ แต่ประเทศนี้ก็แสดงให้เห็นถึงความแข็งแกร่งให้เป็นที่ประจักษ์เป็นอย่างดี โดยในปี 2006 ประเทศเยอรมนีก็ยังคงเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสามของโลก ด้วย GDP เป็นจำนวนถึง 2,906 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนั้น เยอรมนี ยังเป็นประเทศต้นๆ ของโลกที่ถูกจัดอันดับให้เป็นประเทศที่มีสังคมเศรษฐกิจที่ดีที่สุดในโลกด้วย

แน่นอนว่า ความสำเร็จของพวกเขานั้น การเข้ามาช่วยเหลือของสหรัฐอเมริกาและประเทศพันธมิตรตะวันตกในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ย่อมเป็นปัจจัยที่สำคัญที่ช่วยสร้างชาติและเศรษฐกิจของประเทศเยอรมนีขึ้นใหม่ บนพื้นฐานของประชาธิปไตยและสถาบันทางการเมืองที่เกี่ยวข้อง แต่ต้องไม่ลืมว่า หากผู้นำและประชาชนของประเทศเยอรมนีขาดความมุ่งมั่นอย่างเพียงพอที่จะบูรณะประเทศของตนเองแล้วละก็ ก็คงไม่ใช่การง่ายที่จะผลักดันให้ประเทศที่แพ้สงครามโลกถึงสองครั้ง รวมถึงประสบปัญหาความแตกแยกภายในประเทศอีกอย่างประเทศเยอรมนีกลายเป็นพญาอินทรีย์ที่ผงาดโลกได้จนถึงขนาดนี้

ผู้นำคนแรกที่นำประเทศเยอรมนีไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ตามแบบฉบับของตนเองก็คือ ท่านคอนราด อเดเนา (Konrad Adenauer) ผลงานที่น่าสนใจที่ท่านอุทิศเพื่อประเทศชาติ คือ การประสบความสำเร็จในการปฏิรูปเศรษฐกิจ การสร้างฉันทามติในเรื่องประชาธิปไตยให้กับคนในชาติ การออกแบบนโยบายการพัฒนาประเทศที่เป็นลักษณะเฉพาะของเยอรมนีโดยทำการผสมผสานระหว่างการค้าแบบเสรีและการตลาดแบบสังคมนิยม (Free market and Social-market policies) และการพยายามผลักดันให้ประเทศเยอรมนีเข้าไปมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในสหภาพยุโรป รวมถึงการสร้างประเทศให้เป็นปึกแผ่นภายใต้การเคารพกฎหมายสูงสุด หรือ Rule of Law ของประเทศอย่างเข้มแข็ง

สิ่งที่น่าประทับใจอีกประการนั้น คือ ความรักพวกพ้องของคนในประเทศเยอรมนี แม้ว่า การแบกภาระหนักจากเศรษฐกิจที่ล้าหลังกว่ามากๆ ของประเทศเยอรมนีตะวันออก (เดิม) จะทำให้เกิดความยากลำบากในหมู่คนทำงานที่จะต้องเสียภาษีในจำนวนมากเพื่อช่วยในการพัฒนาและกอบกู้ประเทศแล้ว แต่คนเยอรมันส่วนใหญ่ก็ทำหน้าที่ของตนเป็นอย่างดีในการที่จะให้ความร่วมมือกับรัฐในส่วนนี้เพื่อพัฒนาประเทศของตน

ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า สิ่งดีที่เยอรมนีได้เป็นแบบอย่างให้กับเราในการสร้างชาติให้เจริญและเป็นปึกแผ่นนี้ น่าจะมี 2 ประการหลักๆ คือ (1.) การมีผู้นำประเทศและสถาบันทางการเมืองที่เป็นปึกแผ่นและเข้มแข็ง โดยเฉพาะบนอุดมการณ์ประชาธิปไตย และ (2.) การเป็นพลเมืองที่ดีที่พร้อมให้ความร่วมมือกับรัฐด้วยใจรักชาติ และความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

Have a nice day !




Create Date : 30 มกราคม 2556
Last Update : 30 มกราคม 2556 3:47:12 น.
Counter : 1833 Pageviews.

5 comments
  
แจ่มได้ใจ

ประเทศไทยมันร้อนเลยวุ่นวายบ่อยครั้ง

เสียงเขาว่ากันพรรณนั้น จ๊ะ
โดย: บ้าได้ถ้วย วันที่: 30 มกราคม 2556 เวลา:9:21:05 น.
  
อ่านแล้วได้ความรู้เพิ่มขึ้นอีกมากเลยค่ะ
โดย: ALDI วันที่: 30 มกราคม 2556 เวลา:21:44:15 น.
  
ปัญหามันอยู่ที่ คน
ประเทศชาติจะพัฒนา อยู่ที่พลเมืองก่อน
การคัดเลือกผู้นำ มันมาทีหลัง

ถ้าคนคัดเลือกมีคุณภาพ ผู้นำก็มีคุณภาพ
โดย: คนไทยในเยอรมันคนหนึ่ง IP: 79.232.182.106 วันที่: 4 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา:19:57:28 น.
  

สวัสดีค่ะ กำลังจะย้ายตามสามีไปอยู่เยอรมันค่ะ วางแผนว่าจะไปอยู่ Furstenwalde เมืองเล็กๆใกล้ฝั่งโปแลนด์ เพราะโรงงานที่สามีต้องไปทำงานอยู่ที่ Frankfurt Older ค่ะ รบกวนช่วยแนะนำหน่อยค่ะ ว่าเมืองนี้ปลอดภัยไหมค่ะ และมีโรงเรียนที่ดีให้ลูกเรียนไหมค่ะ ลูกเพิ่งขวบครึ่งค่ะ

ถ้ามีโซนไหนที่ดีเหมาะสำหรับการอยู่อาศัยและสามีใช้เวลาเดินทางไม่เกิน 1 ชั่วโมงรบกวนช่วยแนะนำหน่อยนะค่ะ ขอบพระคุณล่วงหน้าค่ะ
โดย: คนไทยอีก 1 คนค่ะ IP: 125.27.51.104 วันที่: 16 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา:21:59:05 น.
  
เยอรมันนีต่างกับฝั่งอเมริกามากนะครับ นักเรียนเมกาจะตายอยู่แล้วเพราะค่าเล่าเรียนแพง แล้วพ่อแม่ก็ไม่ยอมจ่ายค่าเรียนให้ด้วยนะ ให้ลูกขอกู้รัฐเรียนเอาเอง ทำให้แต่ละคนจบออกมามีหนี้บาน ค่าเรียนก็แพงขึ้นทุกปี ปีละหลายเปอร์เซ์นต์ นักเรียนต่างชาติจ่ายค่าเทอมตามเครดิตที่ลงและแค่ละเครดิตแพงกว่าคนในรัฐประมาณ 3 เท่า เช่นเขาจ่าย 50 เหรียญ คนนอกรัฐจ่าย 150 เหรียญต่อเครดิต
โดย: ลุงเมืองบี่ IP: 24.165.44.40 วันที่: 19 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา:11:20:37 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

onceuponatime
Location :
  Germany

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 8 คน [?]



ชีวิตของผู้หญิงไทยในต่างแดนคนหนึ่ง ที่เป็นทั้งคุณแม่ลูกสามที่มีดีกรีด๊อกเตอร์จากประเทศเยอรมนี เปิดบันทึกเพื่อเล่าให้ฟังถึงประสบการณ์ผจญภัยที่แสนจะตื่นเต้นของเธอในต่างแดน ไม่ว่าจะเป็น การสอบเข้าและเรียนปริญญาเอกที่สุดหิน ความรักข้ามขอบฟ้าที่แสนโรแมนติก การสร้างครอบครัวที่อบอุ่น แถมพ่วงด้วยลูกเล็กอีกสามที่มีพรสวรรค์ด้านดนตรีอย่างเหลือเชื่อ พร้อมทั้งแบ่งปันเคล็ดลับและแรงดลบันดาลใจที่นำไปสู่ความสำเร็จแบบ
"นกอินทรีต้องบินสูง" ของเธอ
มกราคม 2556

 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
31
 
 
All Blog