|
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 |
8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 |
15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 |
22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 |
29 | 30 | 31 | |
|
|
|
|
|
|
|
น้ำบ๊วย 3 สูตร

น้ำบ๊วย สูตร 1 การทำน้ำบ๊วยหวานเข้มข้น
ส่วนผสม บ๊วยดองเค็ม 20 ผล น้ำดองบ๊วยเค็ม 1 ถ้วยตวง น้ำตาลทราย 500 กรัม น้ำ 1 ลิตร เกลือ 1 ช้อนโต๊ะ
วิธีทำ 1.ยีลูกบ๊วยเอาแต่เนื้อ แยกเมล็ดออก 2.เติมส่วนผสมทั้งหมด ต้มให้เดือด ยกลงบรรจุขวด ทิ้งไว้ให้เย็น ปิดฝาให้สนิท
สิ่งที่ควรรู้ 1.ลักษณะของน้ำบ๊วยหวานเข้มข้น - สีน้ำตาลขุ่น มีเนื้อบ๊วยกระจายอยู่ทั่วไป - รสชาติ เปรี้ยว เค็ม หวาน 2.บ๊วยดองเค็มไม่ควรเป็นบ๊วยดองไว้นาน ซึ่งถ้าดองไม่นานจะมีสีน้ำตาลทอง น้ำดองใส มีกลิ่นหอม รสไม่เค็มจัด
น้ำบ๊วย สูตร 2
ส่วนผสม ลูกบ๊วยสด 2 ผล (ใช้เฉพาะลูกบ๊วยสดไม่เอาน้ำบ๊วย) น้ำตาลทราย พอสมควร เกลือป่น เล็กน้อย น้ำสะอาด 1 แก้ว น้ำแข็งทุบ พอสมควร
วิธีทำ 1.นำน้ำต้มสุกพออุ่น ๆ หรือร้อนก็ได้ เทใส่แก้ว ใส่ลูกบ๊วยสด ใช้ช้อนขยี้ให้ลูกบ๊วยสดแตก เป็นชิ้นเล็ก 2.เติมน้ำตาลทรายและเกลือป่น คนให้ละลาย ตักเมล็ดบ๊วยทิ้งเหลือแต่เนื้อบ๊วยเป็นชิ้น ๆ ลอยอยู่ไว้รับประทานได้ ชิมรสให้ออกเปรี้ยว หวาน เค็มตาม รสเข้มข้นสักเล็กน้อย 3.ใส่น้ำแข็งทุบละเอียด ดื่มเย็น ๆ
หมายเหตุ ลูกบ๊วยสดนิยมใช้บ๊วยจีน รสชาติจะหอมและอร่อยมากกว่าบ๊วยชนิดอื่น ๆ
น้ำบ๊วย สูตร 3
น้ำบ๊วยเป็นเครื่องดื่มที่มีรสเปรี้ยวอมหวานและออกเค็มเล็กน้อยดื่มแล้วชื่นใจและยังทำง่ายอีกด้วย เวลาซื้อบ๊วยให้เลือกบ๊วยเม็ดใหญ่เนื้อจะเยอะและควรมีสีน้ำตาลอมเหลือง ถ้าเป็นสีน้ำตาลเข้มจะเป็นบ๊วยเก่ารสจะเค็มเกินไป
ส่วนผสม บ๊วยดองน้ำเกลือ 10 เม็ด น้ำตาลทราย 1-1/2 ถ้วยตวง เกลือป่น 1-2 ช้อนชา น้ำ 6 ถ้วย
วิธีทำ 1.นำบ๊วยมายีเอาแต่เนื้อ แยกเม็ดออก 2.ใส่น้ำลงหม้อ ใส่น้ำตาล ตั้งไฟ พอน้ำเดือดและน้ำตาลละลายก็นำบ๊วยลงต้มจนน้ำมีสีเหลืองอ่อน 3.ใส่เกลือ คนให้ทั่ว ลองชิมให้ออกรสเปรี้ยวหวาน เค็มเล็กน้อย ปล่อยไว้ให้เย็นแล้วเก็บใส่ขวด แช่ในตู้เย็น 4.เวลาดื่มเทลงในแก้วที่มีน้ำแข็งเกล็ด
เป็นยังไงครับ ทำง่ายมากแถมอร่อยชื่นใจอีกต่างหาก ผมเห็นร้านที่ขายเครื่องดื่มที่มีอยู่โดยทั่วไปจะต้องมีน้ำบ๊วยนี้เป็นหนึ่งในเมนูเครื่องดื่มเสมอ
เรื่องน่ารู้

บ๊วย (Appricot)Prunus mume Sieb. and Zucc. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ต้น เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก เปลือกต้นมีสีเทาหรือ เขียว ใบ เป็นใบเดี่ยวขนาดเล็ก มีสีเขียวอมเทา ขอบใบ หยักเป็นฟันเลื่อย ดอก มีสีขาวหรือสีชมพู มีกลิ่นหอม ก้านดอกสั้น ออกดอกเดี่ยวสมบูรณ์เพศ กลีบดอก อาจซ้อน หรือชั้นเดียว ผล รูปร่างกลม แบน ๆ สีเหลืองหรือสีเขียว เมื่อสุก เนื้อนิ่ม มีเมล็ดหนึ่งเมล็ดแข็งเหมือนหิน มี 2 ชนิด คือชนิดดำกับชนิดขาว จีนเรียก เหมย
การใช้ประโยชน์ ใช้เป็นอาหาร ผลสุก (นิยมชนิดขาว) นำมาทำบ๊วยเค็ม ดองน้ำเกลือสำหรับใช้นึ่งกับปลา หรือ ทำ น้ำบ๊วย นำมาเชื่อมตากแห้ง ดองรับประ ทานเป็นผลไม้ ทำน้ำผลไม้
คุณค่าทางโภชนาการ เนื้อผล มีกรดอินทรีย์หลายชนิด มีวิตามิน ซี และสารอื่น ๆ
ใช้เป็นยา นำไปแช่น้ำเกลือ นำไปคั้นน้ำ ดื่มรักษาประ จำเดือนมาไม่ปกติ
ที่มา //healthnet.md.chula.ac.th ,//www.archeep.com, //www.thaiparents.com
Create Date : 25 มีนาคม 2552 |
|
7 comments |
Last Update : 25 มีนาคม 2552 10:34:28 น. |
Counter : 34351 Pageviews. |
|
 |
|
|
| |
โดย: UsukI IP: 125.24.23.161 29 มีนาคม 2552 18:56:43 น. |
|
|
|
| |
โดย: นอหนู IP: 118.174.21.174 18 ตุลาคม 2552 15:00:03 น. |
|
|
|
| |
โดย: รีรี IP: 192.168.2.49, 202.143.139.219 26 พฤศจิกายน 2552 9:41:32 น. |
|
|
|
| |
โดย: ดอกบ๊วย IP: 180.183.149.73 30 มีนาคม 2553 9:29:05 น. |
|
|
|
| |
โดย: กมลลักษณ์ IP: 49.230.112.141 2 เมษายน 2557 9:59:55 น. |
|
|
|
|
|
|
|