ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก A giver is always be loved.
Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2564
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
6 กรกฏาคม 2564
 
All Blogs
 

พระกฤษณะยกเขาโควรรธนะ

“พระกฤษณะยกเขาโควรรธนะ” ที่เก่าแก่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
อินเดียเหนือในช่วงราชวงศ์คุปตะ ราวพุทธศตวรรษที่ 8 – 9 ยังคงนิยมในคติฮินดูนิกาย “ภาควัต” (Bhagavata) บูชาพระกฤษณะ (Krishna) และพระวาสุเทพ (Vasudeva) โดยมีวรรณกรรมสำคัญคือ “ภาควัตปุราณะ” (Bhāgavata Purāṇa) ที่เล่าเรื่องราวชีวประวัติของพระกฤษณะ (Krishnacaritra)    
.
ประมาณพุทธศตวรรษที่ 9 เริ่มปรากฏนิกาย “ปาญจราตระ” (Pāñcarātras) ที่ให้ความศรัทธาใน “พระนารายณ์” (Narayana ผู้ที่เคลื่อนเหนือน้ำ-เกษียรสมุทร) มีคัมภีร์สำคัญคือ “ปัทมปุราณะ” (Padma Purāṇa) เน้นการปฏิบัติศาสนพิธีอันศักดิ์สิทธิ์ทั้ง 5 ในรอบวัน ถือว่าพระนารายณ์ ผู้เป็นกำเนิดพลังแห่งจักรวาลและทุกสรรพชีวิต ดับยุคเข็ญด้วยการอวตาร จึงเกิดคติ “พระอวตาร” แห่งพระนารายณ์ (Avatar) โดยได้รวมเอาพระกฤษณะจากนิกายภาควัตเข้ามาเป็นหนึ่งในพระอวตารด้วยครับ
.
จนถึงช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ 10 นิกายภาควัตและปาญจราตะได้ถูกผนวกรวมกันเข้ากับลัทธิโบราณที่บูชาพระวิษณุ (Vishnu) ในฐานะของเทพแห่งแสงสว่างที่เจิดจรัสและการบรรลุในจิตวิญญาณมาตั้งแต่ยุคพระเวทที่เก่าแก่ กลายมาเป็น “ไวษณพนิกาย” (Vaishnavism) พระนามของพระกฤษณะและพระนารายณ์ จึงได้กลายมาเป็นพระนามเดียวกับพระวิษณุ เกิดวรรณกรรมพระทศอวตาร (Dashavatara) และการรวบรวมวรรณกรรมผู้นำจิตวิญญาณในท้องถิ่นต่าง ๆ มาสร้างเป็นพระอวตารรวม 39 ครั้ง เกิดพระนามใหม่ คัมภีร์ปุราณะและรูปศิลปะแห่งพระวิษณุ/นารายณ์ขึ้นอย่างมากมาย
.
*** งานศิลปะรูปพระวิษณุ จากแคว้นอานธระประเทศเริ่มเข้ามาสู่ดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้บริเวณดินแดนคาบสมุทรครั้งแรก ประมาณปลายพุทธศตวรรษที่ 9 เป็นรูปประติมากรรมพระวาสุเทพกฤษณะในนิกายภาควัต พบจากวัดศาลาทึง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฏร์ธานี จนมาถึงในราวกลางพุทธศตวรรษที่ 10 จึงได้เริ่มปรากฏรูปศิลปะพระวิษณุในคติไวษณพนิกายขึ้นในภูมิภาคเป็นครั้งแรกครับ 
.
 *** งานศิลปะรูป “พระกฤษณะยกเขาโควรรธนะ/โควรรธนะธารณ” (Govardhanadhāraṇa /Krishna Lifting Mount Govardhan) จากเรื่องราวในวัยเด็ก ที่กฤษณะกุมารใช้พละกำลังอันมหาศาลของตนยกภูเขาโควรรธนะให้เป็นที่พักพิง ช่วยเหลือเหล่าโคปาล-โคปี (Gopalaka-Gopis) และฝูงวัวจากความพิโรธของพระอินทร์จากเหตุที่ผู้คนเลี้ยงโคไม่บูชายัญวัวเซ่นสรวงบูชาพระองค์ จึงบันดาลฝนตกหนัก 7 วัน 7 คืน มีงานศิลปะเป็นรูปบุคคลเอียงพระวรกาย ชูพระกรข้างหนึ่งเหยียดขึ้นสุดในความหมายของการยกเขาโควรรธนะ โดยรูปศิลปะที่เก่าแก่ที่สุดในเอเชียวันออกเฉียงใต้ ปรากฏครั้งแรกในเขตดินแดนปากแม่น้ำโขง (เวียดนามตอนใต้และทางตะวันออกเฉียงใต้ของกัมพูชา) ช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 11 เป็นรูปประติมากรรมในคติฝ่ายไวษณพนิกายที่พบภายในถ้ำหน้าเขาบาพนม (Ba Phnum) ทางใต้ของเมืองโบราณอังกอร์โบเรย (Angkor Borei) หรือนครโกกโธลก (Kôk Thlok) (นครต้นหมัน) ในเขตจังหวัดตาแก้ว (Takeo) ซึ่งมีรูปลักษณ์ทางศิลปะแบบราชวงศ์คุปตะหมวดแคว้นอานธระ และยังพบรูปประติมากรรมลอยตัวของพระกฤษณะยกเขาโควรรธนะจากเมืองโบราณศรีเทพในงานศิลปะช่วงเวลาเดียวกัน 
.
ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 12-13 รูปศิลปะของพระวิษณุและพระกฤษณะในคติไวษณพนิกาย จะเปลี่ยนแปลงความนิยมไปตามงานศิลปะของราชวงศ์ปัลลวะที่เข้ามาปกครองแคว้นอานธระ นิยมสลักรูปร่างตามแบบสรีระทางกายวิภาคจริงของมนุษย์ สวมหมวกกระบอกกิรีฏมุกุฎทรงสูงไม่มีลวดลาย พระเกศาด้านหลังหมวกเป็นลอนหยิกยาว รูปพระวิษณุนุ่งผ้าโธฏียาวและคาดผ้ากฏิสูตรเป็นเส้นตรงและเส้นเฉียงตัด ส่วนรูปพระกฤษณะจะนุ่งผ้าภูษาสมพตสั้นแนบเนื้อไม่มีลวดลาย ไม่คาดเข็มขัดผ้ากฏิสูตร 
.
** รูปประติมากรรมพระกฤษณะยกเขาโควรรธนะช่วงพุทธศตวรรษที่ 12 – 13 นี้ ยังพบจากเมืองโบราณศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์อีกด้วยครับ
เครดิต ; FB
วรณัย พงศาชลากร
EJeab Academy
 




 

Create Date : 06 กรกฎาคม 2564
2 comments
Last Update : 6 กรกฎาคม 2564 16:39:28 น.
Counter : 1373 Pageviews.

 

ขอบคุณที่แบ่งปัน

 

โดย: Kavanich96 7 กรกฎาคม 2564 4:49:12 น.  

 

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
A giver is always beloved.

 

โดย: ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก 15 กรกฎาคม 2564 9:45:43 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




ททมาโน ปิโยโหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
A giver is always beloved.
New Comments
Friends' blogs
[Add ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.