WishRich
Group Blog
 
All Blogs
 

สมุนไพร-คัดเค้า

//csamunpri.com/herbals/wp-content/uploads/2009/09/kudkaw.jpg


คัดเค้า สมุนไพร ดอกคัดเค้า

คัดเค้า สมุนไพร ดอกคัดเค้า



ชื่อวิทยาศาสตร์ : Randia
siamensis Craib.


ชื่อสามัญ :
-


ชื่อวงศ์ : RUBIACEAE


ชื่อสมุนไพรอื่น ๆ :
จี้เก๊า , โยทะกา, เค็ดเค้า, คัดเค้า


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :


ต้น : คัดเค้าเป็นพรรณไม้เถา
จำพวกตรุษจีนหรือเฟื่องฟ้า ลักษณะลำต้นดต
และยาวก็จะขึ้นพาดพันเลื้อยไปตามต้น ไม้และกิ่งไม้


ใบ : ใบคัดเค้าจะ
เป็นสีเขียวสด มีลักษณะเรียวยาวคล้ายใบมะม่วง
และมีหนามคมยาวทั้งต้นและมีกิ่งก้านจะมีหนาม เป็นคู่


ดอก : ดอกคัดเค้าจะ
เล็กเป็นสีขาวอยู่ในก้านเดียวกันเป็นกระจุก
มีลักษณะคล้ายดอกส้นหรือดอกมะนาว ดอกจะมีกลิ่นหอม ถ้าดอกร่วงจะมีลูกเป็นพวง


เมล็ด ( ผล ) :
ผลนั้นจะโตเท่าเมล็ดพุดซากลม ๆ เป็นสีดำ
ส่วนขนาดของเมล็ดนั้นจะโตเท่าหัวไม้ขีดไฟ


การขยายพันธุ์ : คัดเค้าขยาย
พันธุ์โดยการใช้เมล็ด


ส่วนที่ใช้ :
ใบ ดอก ผล และราก ใช้เป็นยา


สรรพคุณของสมุนไพร :


ใบ ใช้รักษาโรคโลหิตซ่าน


ดอก
ใช้รักษาโลหิตในกองกำเดา


ผล รักษาโลหิตอันเน่าให้ตก
และรักษาโลหิตร้อนให้บริบูรณ์


ราก ใช้รักษารัตปิดตะโรค
ขับเลือด และรักษาไข้เพื่อโลหิต เลือดออกตามไรฟัน


อื่น ๆ :
ในแพทย์ตำบลได้กล่าวว่า
รากพรรณไม้นี้จะมีรสเย็นและฝาดเล็กน้อยใช้ขับลมรักษาไข้เพื่อโลหิต
แพทย์ตามชนบทได้ใช้ผลของพรรณไม้นี้ปรุงเป็นยาต้มกินเป็นยาขับฟอกโลหิต


ถิ่นที่อยู่ :
พรรณไม้นี้มักจะขึ้นตามสวนหรือที่รกร้างทั่วไป
มักจะปลูกกันไว้ทำเป็นยากันบ้าง ตามบ้านหรือ ตามวัดก็มี







 

Create Date : 03 กรกฎาคม 2553    
Last Update : 3 กรกฎาคม 2553 15:04:42 น.
Counter : 401 Pageviews.  

ค้อนหมาแดง (ค้อนตีหมา)

//csamunpri.com/herbals/wp-content/uploads/2009/09/Ancistrocladus-tectorius.jpg//csamunpri.com/herbals/wp-content/uploads/2009/09/Ancistrocladus-tectorius2.jpg



ค้อนหมาแดง สมุนไพร ลักษณะดอกค้อนหมาแดง



ชื่อวิทยาศาสตร์ :
Ancistrocladus tectorius ( Lour. ) Merr.


ชื่อสามัญ :
-


ชื่อวงศ์ : ANCISTROCLADACEAE


ชื่อสมุนไพรอื่น ๆ : หางกวาง
( นครพนม ), ค้อนหมาแดง ( นครราชสีมา ) , คันทรง, ทองคันทรง (ชลบุรี ) ,
ยูลง ( นราธิวาส ) , หูกลวง ( ปราจีนบุรี ) ,ค้อนตีหมา ( ยะลา) , กะม้า
ขุนนา ( เขมร )


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :


ต้น : ค้อนหมาแดงเป็นพรรณไม้เถา
ขนาดใหญ่ มักจะเลี้อยพาดพันไปตามต้นไม้อื่น ๆส่วนกิ่งก้านเล็ก ๆ
นั้นจะเป็นมือ มีลักษณะเป็นขอแข็ง ๆสำหรับเป็นที่ยึดเกาะ


ใบ : ใบค้อนหมาแดงจะออก
เป็นกระจุกที่ปลายกิ่งของมัน ลักษณะของใบจะคล้ายรูปหอกกลับหรือรูปรี
ตรงปลายใบของมันจะแหลมส่วนโคนใบเรียวแหลม และจะค่อย
ๆสอบเข้าหาก้านใบตัวใบนั้นแข็งกระด้างจะมีเส้นใบเชื่อมกันก่อนถึงขอบใบตัวใบ
นั้นแข็งกระด้างจะมีเส้นใบเชื่อมกันก่อนถึงขอบใบขอบใบจะเรียบ
หรือเป็นคลื่นใบมีความกว้างประมาณ 3.5-7 ซม. และความยาวประมาณ 12-19 ซม.




ค้อนหมาแดง สมุนไพร ลักษณะต้นค้อนหมาแดง



ดอก :
ค้อนหมาแดงจะออกดอกที่ยอดเป็นช่อกระจายแต่ละดอกจะมีขนาดเล็กส่วนกลีบ
รองกลีบดอกนั้นจะติด กันส่วนโคนนั้นจะเป็นท่อสั้น ๆ จะแยกออกเป็น 5 กลีบ
มีสีแดงเข้ม


ผล : ผลจะโตประมาณ 0.5 ซม.
และจะมีปีกอยู่ 5 ปีก ซึ่งจะมีความยาวไม่เท่ากันรองรับ


การขยายพันธุ์ : ค้อน
หมาแดง
ขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ด


ส่วนที่ใช้ :
ใบอ่อน ราก ใช้เป็นยา


สรรพคุณของสมุนไพร :


ใบอ่อน
นำมาต้มเอาน้ำมาอาบเพื่อเป็นยาใช้รักษาการบวมตามตัวและเม็ดผื่น
คันตาออกตามผิวหนัง นอกจากนี้ยังใช้เป็นผักจิ้มกินเป็นอาหารได้


ราก
นำมาต้มเป็นยารักษาโรคบิดและโรคไข้จับสั่น


อื่น ๆ :
ค้อนหมาแดงเป็นพรรณไม้ที่พบขึ้นตามป่าดงดิบทั่ว ๆ ไป







 

Create Date : 03 กรกฎาคม 2553    
Last Update : 3 กรกฎาคม 2553 15:01:44 น.
Counter : 2051 Pageviews.  

ควินิน

//csamunpri.com/herbals/wp-content/uploads/2009/09/Quinine.jpg


ควินิน สมุนไพร <br>ดอกควินินจะออกเป็นช่อที่ปลายกิ่งดอกย่อยจะมีกลีบดอกเลี้ยงติดกันเป็นหลอด<br>สั้น กลีบดอกจะติดกันเป็นหลอด ตรงปลายของมันจะแยกเป็น 5กลีบ เป็นสีชมพู

ควินิน สมุนไพร
ดอกควินินจะออกเป็นช่อที่ปลายกิ่งดอกย่อยจะมีกลีบดอกเลี้ยงติดกันเป็นหลอด
สั้น กลีบดอกจะติดกันเป็นหลอด ตรงปลายของมันจะแยกเป็น 5กลีบ เป็นสีชมพู



ชื่อวิทยาศาสตร์ :
Cinchona ledgeriana Moens,C.succirubra Pav.


ชื่อสามัญ : Quinine


ชื่อวงศ์ : RUBIACEAE


ชื่อสมุนไพรอื่น ๆ :
กิมโกยนับ , กิมโกยเล็ก (จีน )


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :


ต้น : ควินินเป็นพรรณไม้ยืนต้นสี
เขียวตลอดปี และมีความสูงถึง 30 ม. เปลือกต้นนั้นจะเป็นสีน้ำตาล


ใบ : ควินินจะออก
ใบตรงข้ามกัน ใบมีลักษณะกลมรี ตรงปลายของมันจะแหลมสั้นมีความยาวประมาณ30
ซม. หลังใบจะเป็นสีเขียวเป็นมันส่วนท้องใบนั้นจะเป็นสีเขียวอ่อนกว่า
มักจะมีสีแดงและมีขนสั้น ๆตามเส้นใบใหญ่


ดอก : ดอกควินินจะ
ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่งดอกย่อยจะมีกลีบดอกเลี้ยงติดกันเป็นหลอดสั้น
ตรงส่วนปลายจะแยกเป็น 5 กลีบ กลีบดอกจะติดกันเป็นหลอดยาวประมาณ 2.4-3.6 ซม.
ตรงปลายของมันจะแยกเป็น 5กลีบ เป็นสีชมพู


เกสร : เกสรตัวผู้จะมีอยู่
ประมาณ 5 อันจะติดกับหลอดกลีบดอกส่วนก้านเกสรตัวเมียนั้นจะมีอยู่ 1 อัน
และยาวจะพันอยู่ติดกับหลอดดอก ส่วนปลายของมันจะแยกเป็น 2 แฉก


รังไข่ : ภายในรังไข่นั้น
จะแบ่งออกเป็น 2 ห้อง


เมล็ด ( ผล ) : ผลควินินจะ
มีลักษณะกลมรียมีความยาว 2.5-3.2 ซม. เมื่อผลแก่แห้งจะแตกออกเป็น 2ซึก
ภายในจะมีเมล็ดประมาณ 25 เม็ด ลักษณะของเมล็ดจะเป็นแผ่นบาง ๆ สีตาลแดง


การขยายพันธุ์ :
ควินินขยายพันธุ์โดยการใช้กิ่งชำหรือเมล็ด
ถ้าปลูกเป็นจำนวนมากนิยมปลูกด้วยเมล็ด


ส่วนที่ใช้ :
เปลือกต้น ควินิน ใช้เป็นยา


สรรพคุณของสมุนไพร :


เปลือกต้น ใช้แห้งประมาณ
3-6 กรัม ต้มกับน้ำ หรือจะบดให้เป็นผงผสมกินะมีรสฝาด ใช้รักษาโรคไข้
มาลาเรียเจ็บปาก เจ็บคอและเมาค้าง ควินินกินครั้งละประมาณ 600 มก.
วันละ 3 เวลาติดต่อกันเป็นเวลา 7-10 วันใช้รักษาโรคไข้มาลาเรีย


ข้อห้ามใช้ :



  1. คิวนิน ห้ามใช้สำหรับคนที่เป็นไข้มาลาเรีย ที่มีอาการปัสสาวะเป็นเลือด
    หรือปัสสาวะเป็นสีดำ และคนที่เป็นโรคหัวใจขั้นรุนแรง

  2. สำหรับสตรีที่มีครรภ์ห้ามกิน

อื่น ๆ :
ในประเทศได้ทำสวนป่าต้นคิวนินที่จังหวัดเชียงใหม่บนดอยสุเทพ
และได้ตรวจพบปริมารของอัลคลอยด์ในเปลือกอยู่เกณฑ์ที่ใช้ได้


ถิ่นที่อยู่ : พรรณ
ไม้นี้มีถิ่นกำเนิดบริเวณเทือกเขาแอนเดส ( Andes ) ของรัฐเอควาดอร์
(Ecuador )
และรัฐเปรูเป็นพรรณไม้ที่เจริญงอกงามดีในพื้นที่ที่มีความสูงกว่าระดับน้ำ
ทะเลประมาณ3,000-9,000 ฟุต
และต่อมาชาววิลันดาได้นำพรรณไม้นี้ไปปลูกในประเทศอินโดนีเซีย
อังกฤาอินเดียและศรีลังกา


ตำรับยา :



  1. เมาค้าง ให้ใช้เปลือกต้นที่แห้งประมาณ 3 กรัม นำมาต้มน้ำกิน

  2. เป็นโรคไข้มาลาเรีย ให้ใช้เปลือกต้นที่แห้งแล้วประมาณ 3
    กรัมและเปลือกอบเชยประมาณ 1.5 กรัม นำ
    มาต้มน้ำกินสำหรับคนที่มีร่างกายแข็งแรงอาจจะใช้เปลือกแห้งประมาณ 6 กรัม

  3. ปากเจ็บ หรือเจ็บคอ ให้ใช้เปลือกที่แห้งแล้วประมาณ 3-6 กรัม
    ต้มกับน้ำแล้วใช้อมบ้วนปากกลั้วคอ 2 เวลาเช้า- เย็น


ข้อมูลทางคลีนิคและเภาสัชวิทยา :



  1. ควินินใช้เป็นยาขมเจริญอาหาร

  2. มีฤทธืใช้ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย
    นอกจากนี้ยังใช้เป็นยารักษาโรคติดเชื้อจากแบคทีเรีย

  3. มีฤทธิ์ในการควบคุมการทำงานของเชลที่กระตุ้นการบีบตัวของกล้ามเนื้อ
    หัวใจ ทำให้การบีบตัวของ หัวใจช้าลง และในทางคลีนิคนั้นใช้ควินินกิน
    รักษาอาการหัวใจเต้นผิดปกติ

  4. มีฤทธิ์รักษาโรคไข้มาลาเรีย
    และระงับอาการจับไข้หนาวสั่นได้อย่างรวดเร็วในการฆ่าเชื้อมาลาเรียนั้น
    จะฆ่าได้เฉพาะเชื้อที่อยู่ในเลือดเท่านั้นแต่ไม่สามารถฆ่าเชื้อมาลาเรียที่
    อยู่ในตับได้ นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ทำให้กล้ามเนื้อมดลูกสตรีมีครรภ์หดตัว
    และกดกล้ามเนื้อหัวใจ

สารเคมีที่พบ :

เปลือกต้น เปลือกรากและเมล็ดนี้ จะมีอัลคาลอยด์ประมาณ 26 ชนิด จึงเรียกรวมๆ
ว่า Cinchona alkaloids อัลคาลอยด์ที่มีฤทธิ์ที่สำคัญที่สุด
คือquinineที่รองลงมานั้นได้แก่ cinchonine, cinchonidine
และquinidineส่วนTotaquine ที่เป็นอัลคาลอยด์รวมจากเปลือกต้นควินิน
จะประกอบด้วยอัลคาลอยด์ที่ตกผลึกได้ไม่น้อยกว่า 70%
และมีควินินไม่น้อยกว่า 20 %ใบจะมีอัลคาลอยด์รวมประมาณ 1%
ส่วนใบอ่อนนั้นใช้กินเป็นผักสดกับลาบได้อร่อยดี







 

Create Date : 03 กรกฎาคม 2553    
Last Update : 3 กรกฎาคม 2553 14:59:13 น.
Counter : 490 Pageviews.  

คราม

//csamunpri.com/herbals/wp-content/uploads/2009/09/kram1.jpg




คราม สมุนไพร ดอกของคราม มีขนาดเล็กคล้ายดอกถั่ว
ออกเป็นช่อที่ซอกใบ มีสีเขียวอ่อนอมครีม เริ่มบานมีสีแดงหรือชมพู



ชื่อวิทยาศาสตร์ :
Indigfera tinctoria L.


ชื่อสามัญ : Indigo


ชื่อวงศ์ :
LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE


ชื่อพื้นเมือง : คราม
(ไทย), คาม (เหนือ,อีสาน)  ครามย้อม (กรุงเทพฯ)  ครามป่า (เชียงใหม่),
ครามเถื่อ (เงี้ยว-เชียงใหม่), ครามใหญ่ (อุบล)


ลักษณะทางพฤษศาสตร์ :


ต้น ครามเป็นไม้เนื้ออ่อนกึ่ง
เลื้อยพักอาศัยการพาดเกาะตามสิ่งที่อยู่ใกล้เพื่อทอดลำต้น
มีการแตกกิ่งก้านสาขาไม่มากนัก


ใบ ใบครามมี
ลักษณะเป็นใบประกอบแบบขนนกเรียงสลับ ใบย่อยรูปวงรีแกมขอบขนาน ก้วาง 0.8-1
ซม. ยาว 1.5-3.5 ซม.


ดอก
มีขนาดเล็กคล้ายดอกถั่ว ออกเป็นช่อที่ซอกใบ  มีสีเขียวอ่อนอมครีม
เริ่มบานมีสีแดงหรือชมพู


ฝัก ลักษณะคล้ายฝักถั่วแต่
เล็กกว่า  ออกเป็นกระจุก   ขนาดความยาวของฝัก 5-8 เซนติเมตร


ผล มีลักษณะเป็นสีน้ำตาล
แตกฝักได้


เมล็ด
ขนาดเล็กสีครีมอมเหลือง หรือ น้ำตาลอ่อน รูปทรงกระบอกอยู่ภายในฝัก  ประมาณ 8
– 10 เมล็ด เมล็ดสีครีมอมเหลือง เป็นพรรณไม้ในเขตร้อนชื้นกระจายพันธ์อยู่
แถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ไทย พม่า ลาว ฯลฯ
เจริญเติบโตได้ดีในที่โล่งแจ้งในธรรมชาติ
เมล็ดที่ร่วงหล่นจะงอกเป็นต้นเจริญเติบโตในหน้าฝน
และเมล็ดจะแก่ในช่วงฤดูหนาว จะมีช่วงวงจรชีวิตอยู่ในเดือนพฤษภาคม-ธันวาคม
แต่สามารถเก็บเมล็ดนำมาปลูกเลี้ยงได้ตลอดปี


การขยายพันธ์ :

การเก็บฝักแก่ในช่วงประมาณเดือนตุลาคม-พฤศจิกายนโดยจะเก็บฝัก
มาพึ่งแดดอ่อนให้แห้ง ประมาณ 2 – 3 แดด เพื่อเก็บรักษาไว้เพาะพันธุ์
การขยายพันธุ์จะทำได้โดยการแกะเมล็ดออกจากฝัก
แล้วนำไปเพาะในกระบะเพาะแล้วแยกปลูก หรือสามารถเพาะกล้าในถุงปลูกขนาดเล็ก
เมื่อต้นกล้าแข็งแรงแล้วจะมีใบอ่อน 3 – 5 ใบ ก็นำปลูกในหลุม หรือแปลงปลูก




คราม สมุนไพร ฝักของคราม
ลักษณะคล้ายฝักถั่วแต่เล็กกว่า ออกเป็นกระจุก ขนาดความยาวของฝัก 5-8
เซนติเมตร



ข้อมูลการเพาะเลี้ยง
:


การเตรียมหลุม/แปลงปลูกและการปลูก

เตรียม แปลงหรือหลุมปลูก โดยย่อยดินให้ร่วนซุยคลุกด้วยปุ๋ยคอด
หรือปุ๋ยมักพอประมาณแล้วจึงนำต้นกล้าจากกระบะเพาะ หรือถุงเลี้ยงกล้าลงปลูก
ในการย้ายกล้าควรมีดินติดกล้าให้มาก
พยายามอย่าให้รากขาดมากจะทำให้ต้นกล้าเหี่ยวเฉาง่าย และควรย้าย
ปลูกในช่วงอากาศและแสงแดดไม่ร้อนจัดหลังจากปลูกให้ลดน้ำให้ชุ่มหรือถ้าแสง
แดดจัดควรพลางแสงในช่วง 2 – 3 วันแรก เพื่อให้ตั้งตัวได้เร็วขึ้น


การดูแลรักษา

ครามเป็นพืชที่ชอบเจริญเติบโตในที่แจ้งน้ำไม่ท่วมขังควรให้น้ำปานกลางโดย
ปกติสามารถเติบโตได้ดีเป็นธรรมชาติแต่ถ้าปลูกในแปลงเกษตร
อาจชิดกันผิดธรรมชาติไป ก็ควรให้ปุ๋ยคอกปุ๋ยหมักเพิ่มธาตุอาหาร
เพื่อให้เจริญเติบโตได้ดีขึ้น


ศัตรูพืชและการป้องกัน

ในด้านศัตรูพืช ครามที่นำมาปลูก
มักจะเกิดปัญหาเรื่องยอดและใบหงิกงอ สาเหตุเกิดจากเพลี้ยอ่อน
ดูดน้ำเลี้ยงที่บริเวณยอดทำให้ใบหงิกม้วนงอก ต้นทรุดโทรม เก็บผลผลิตได้น้อย
การกำจัดอาจใช้พืชสมุนไพร เช่น น้ำหมักใบยาสูบ หรือ
น้ำสบู่เข้มข้นฉีดพ่นและไล่เพลี้ยก่อน
ถ้ามีปริมาณมากและรุนแรงอาจใช้สารฆ่าแมลงเช่น เซฟวิน 85 ฉีดพ่น 1 – 2 ครั้ง
จากนั้นใช้สมุนไพรฉีดช่วยภายหลัง


การเก็บเกี่ยวและการรักษาหลังเก็บ
เกี่ยว


คราม นิยมเก็บเกี่ยวส่วนของใบและกิ่ง ในช่วงเดือนมิถุนายน ถึง สิงาคม
ซึ่งจะเลือกเก็บ เฉพาะใบที่แก่จัด มีสีใบเข้ม
ในการเพาะปลูกเลี้ยงจะสามารถเก็บได้ 3 ครั้ง ในช่วงฤดูฝน
จะเก็บครามในช่วงเดือนมิถุนายน –กรกฎาคม เพื่อนำมาหมัก
และเก็บหัวครามเข็มข้นตามกรรมวิธีการมัก
ซึ่งเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สืบทอดกันมา
หัวครามจะมีลักษณะคล้ายดินโคลนมีน้ำเงินเข้ม
หล่อเลี้ยงด้วยน้ำเล็กน้อยเพื่อป้องกันหัวครามแห้งเกินไป
โดยจะนำหัวครามเข็มที่ได้ใส่ลงไปในปีบขนาด 20 ลิตร
ซึ่งภายในบรรจุด้วยถุงพลาสติกเพื่อเก็บไว้จำหน่าย ในปัจจุบัน (ปีพ.ศ. 2547)
ราคาหัวครามประมาณกิโลกรรมละ 200 บาท
ซึ่งหัวครามนี้สามารถเก็บไว้ใช้ได้นานปี


กรรมวิธีทำหัวคราม :



  1. นำต้นห้อม,ต้นครามที่ตัดแล้วมามัดรวมกันเป็นกำ ขนาดกำละประมาณ
    2 กำมือ

  2. นำต้นห้อม,ต้นครามที่มัดเรียบร้อยแล้วมาใส่ในหม้อ
    เติมน้ำเปล่าพอให้ท่วม โดยเฉลี่ยจะใช้น้ำประมาณ 10
    ลิตรต่อการแช่ห้อมหรือคราม 1 กิโลกรัม ให้มัดห้อมหรือครามจมอยู่ในน้ำ
    โดยอาจใช้ก้อนอิฐทับไว้ให้จมอยู่ใต้น้ำ ปิดฝาหม้อให้เรียบร้อย
    ทิ้งไว้ประมาณ 2 – 3 วัน ให้ต้นห้อม ,ต้นครามเน่าเปื่อย
    ให้สีครามละลายออกมาในน้ำ

  3. กรองเอาต้นห้อม, ต้นครามและเศษชิ้นส่วนต่างๆออกเหลือไว้แต่น้ำ
    คราม

  4. ทำการ “ซวก”
    โดยใช้ชะลอมที่สานด้วยไม้ไผ่จนกระทั่งน้ำในหม้อเกิดเป็นฟองอากาศสีครามผุด
    ขึ้นมาเหนือผิวน้ำ

  5. ละลายปูนขาวหรือปูนแดงกับน้ำเปล่า
    คนเพื่อไม่ให้ปูนจับตัวเป็นก้อนเติมลงไปในน้ำครามซึ่งก็จะใช้ปูนขาประมาณ
    200 กรัมต่อน้ำคราม 10 ลิตร

  6. ซวกต่อไปจนกระทั้งฟองอากาศยุบตัวลง จึงทิ้งไว้ประมาณ 1
    คืนเพื่อรอให้เกิดการตกตะกอนของเนื้อคราม

  7. เมื่อน้ำครามตกตะกอนเทน้ำข้างบนที่เป็นสีเหลืองทิ้งไปเหลือ
    เฉพาะแต่น้ำครามขุ่นก้นหม้อ

  8. นำน้ำครามมากรองด้วยผ้าขาวบาง
    น้ำที่เหลือจากการกรองเททิ้งไปเหลือไว้เฉพาะตะกอนที่ติดอยู่กับผ้าขาวบาง

  9. ตะกอนที่ได้คือเนื้อครามที่จะใช้เป็นส่วนผสมที่สำคัญที่ทำให้
    เกิดสีในการย้อมผ้า เนื้อครามที่ได้นี้สามารถเก็บไว้ได้นานประมาณ 1 – 2 ปี
    โดยการบรรจุในไหที่ปิดสนิท

สรรพคุณของสมุนไพร :



  • ใบ เป็นยาดับพิษ
    แก้ไข้ตัวร้อนและแก้ปวดศีรษะ

  • ลำต้น เป็นยาแก้กระษัย
    แก้ไข้ตัวร้อน แก้ปวดศีรษะ

  • เปลือกใช้แก้พิษงู
    แก้พิษฝีและแก้บวม

  • ถ้าถูกมีดบาดหรือเป็นแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก สามารถนำเนื้อครามทา
    เพื่อสมานแผลได้ ผ้าที่ย้อมครามก็มีคุณสมบัติทางยาเช่นกัน
    เพียงนำผ้าครามไปนึ่งให้อุ่น ประคบตามรอยช้ำก็สามารถบรรเทาอาการได้

ประโยชน์ด้านอื่นๆ :



  1. ในด้านความสวยความงามนั้น น้ำคั้นจากใบสดของครามช่วยบำรุงเส้น
    ผม ป้องกันผมหงอก สารสกัดครามทั้งต้น (ยกเว้นใบ)
    เป็นส่วนผสมในสีที่ใช้ย้อมผม

  2. ครามเป็นพืชที่มีการนำมาใช้ย้อมสีมากที่สุด
    เนื่องจากเป็นพืชให้สีน้ำเงินใช้ในการย้อมฝ้ายได้ผลดี
    ทั้งนี้การย้อมครามส่วนใหญ่อยู่ในสภาพน้ำย้อมเป็นด่าง
    การย้อมเส้นไหมจึงไม่ค่อยได้รับความนิยมและติดสีไม่ดี
    การย้อมเส้นไหมพบมากในจังหวัดสุรินทร์ มีการย้อมครามอย่างแพร่หลาย
    สีน้ำเงินที่ได้จากครามจัดเป็นแม่สีที่สามารถใช้ร่วมกับสีหลักอื่นๆ
    ได้หลากหลายสี วิธีการย้อมเส้นไหมด้วยคราม
    เตรียมน้ำครามเหมือนกับการเตรียมน้ำครามเพื่อย้อมฝ้าย
    โดยนำต้นครามสดทั้งใบและกิ่งมาแช่ในโอ่งเติมน้ำปูนขาว (ปูนจากเปลือกหอย)
    แล้วกดทับให้ครมจมน้ำ ไม่ใช้ทำปฏิกิริยากับอากาศ และพลิกกลับครามทุกวัน นาน
    4 วัน หรือจนสังเกตเห็นน้ำที่หมักครามมีสีเหลืองแล้วกรองเอาแต่น้ำคราม
    ในการนำน้ำครามย้อมเส้นไหม ควรปรับค่าความเป็นกรดด่างให้เหมาะสมประมาณ 9.7
    โดยใช้น้ำด่างธรรมชาติและน้ำมดแดง
    จากนั้นนำเส้นไหมมาย้อมแบบย้อมเย็นนากรย้อมครามอีกวิธีหนึ่ง
    เป็นวิธีย้อมที่รวดเร็วได้แก่การนำเอาครามเปียก ก้อนครามหรือผงคราม
    มาย้อมเส้นไหม โดยใช้สารละลายด่างโซดาไฟ ละลายเนื้อครามแล้วเติมสารพวก
    Reducing agent เช่น การน้ำตาลร่วมกับผงเหม็น (Sodium hydrosulfite) จนน้ำครามเป็น
    สีเขียวเหลือง และมีฟองสีน้ำเงิน ปรับความเปนกรดด่าง
    โดยการเติมกรดน้ำส้มให้ pH น้ำย้อมอยู่ในระดับ 6.1-6.5
    แล้วนำเส้นไหมมาย้อมด้วยกรรมวิธีการย้อมเย็น นานประมาณ 1 ชั่งโมง
    เมื่อครบนำเส้นไหมาล้างด้วยน้ำสะอาด
    จากนั้นนำเส้นไหมามาย้อมทับอีกครั้งจะได้สเนไหมสีน้ำเงินหรือสีฟ้าเข้ม

  3. คุณสมบัติพิเศษอีกประการที่มีงานวิจัยทั้งในอเมริกา และญี่ปุ่นก็คือ
    ผ้าที่ย้อมจากครามสามารถป้องกันผิวของผู้สวมใส่จากรังสีอัลตรา
    ไวโอเลตได้

ถิ่นที่อยู่ : พรรณ
ไม้นี้มีถิ่นกำเนิดอยู่ทางภาคเหนือ
และได้พบว่าปลูกกันเพื่อเอาไว้ทำครามย้อมผ้า พบที่พะเยาตอนใกล้กับอำเภองาว







 

Create Date : 03 กรกฎาคม 2553    
Last Update : 3 กรกฎาคม 2553 14:56:00 น.
Counter : 967 Pageviews.  

คนทีสอ

//csamunpri.com/herbals/wp-content/uploads/2009/09/takbaisea.jpg




คนทีสอ สมุนไพร
ใบคนทีสอเป็นใบประกอบแบบนิ้วมือปลายคี่ ใบย่อย 3 ใบ ออกตรงข้าม
รูปรีแกมรูปไข่กลับ



ชื่อวิทยาศาสตร์ :
Vitex trifolia Linn.


ชื่อสามัญ :
Tree Leaved Chaste Tree, Indian Privet, Indian Wild Pepper


ชื่อวงศ์ :
VERBENACEAE


ชื่อสมุนไพรอื่น ๆ :
คนทีสอขาว (ตามตำราไทย) , คนทีสอขาว (ภาคเหนือ)
ผีเสื้อน้อย,ดอกสมุทร(เชียงใหม่) , คุนตีสอ ( สตูล ) , ดินสอ (กลาง) ,
ผีเสี้อ (เลย) , มูดเพิ่ง (ตาก) ,สีสอ (ประจวบคีรีขันธ์)


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :


ต้น : คนทีสอเป็นพรรณไม้พุ่มขนาด
กลาง ไม่ผลัดใบ ลำต้นมีความสูงประมาณ 3-6 เมตร เปลือกนอกสีเทาดำ
เปลือกในสีเหลืองอ่อน แตกเป็นร่องตื้นๆ ตามยาว เรือนยอดเป็นพุ่ม กว้าง 2-3
เมตร


ใบ : ใบคนทีสอเป็น
ใบประกอบแบบนิ้วมือปลายคี่ ใบย่อย 3 ใบ ออกตรงข้าม รูปรีแกมรูปไข่กลับ
กว้าง 2-3 เซนติเมตร ยาว 4-6 เซนติเมตร ไม่มีก้านใบ ท้องใบมีขนสีเทา
หลังใบเกลี้ยง หลังใบสีเขียวเข้ม ท้องใบสีขาวนวล เส้นแขนงใบ 7-9 คู่
แยกเยื้องกันไป ปลายเส้นใบจรดเส้นถัดไปก่อนถึงขอบใบ


ดอก : คนทีสอมี
ขนาดเล็กออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ยาว 10-15 เซนติเมตร
มีลักษณะคล้ายดอกอังกาบหนู ช่อตั้งตรง กลีบรองกลีบดอก
เป็นหลอดขนาดเล็กปลายจักเป็น 5 แฉก กลีบดอกเป็นหลอด ยาว 0.5-0.8 เซนติเมตร
ปลายแยกเป็น 5 กลีบ ขนาดไม่เท่ากัน มีกลีบหนึ่งรูปกลีบเหมือนช้อน กว้าง 0.5
เซนติเมตร ยาว 1-1.5 เซนติเมตร เกสรตัวผู้ มี 4 อัน ยาวพ้นกลีบดอก
กลีบดอกมีขน ดอกบานจากโคนไปปลายช่อ ดอกสีฟ้าอมม่วง




คนทีสอ สมุนไพร
ดอกคนทีสอมีขนาดเล็กออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง กลีบดอกมีขน
ดอกบานจากโคนไปปลายช่อ ดอกสีฟ้าอมม่วง รสหอมฝาด แก้ไข้ในหญิงมีครรภ์
แก้หืดไอ ใช้รักษาอาการไข้ซึ่งบังเกิดแต่ในทรวงและรักษาพยาธิ



ผล : ผลคนทีสอจะ
เป็นลักษณะรูปร่างกลม เท่าผลพริกไทยเป็นพวงช่อ สีดำเป็นมัน มีเมล็ด 1 เมล็ด


การขยายพันธุ์ : คนทีสอขยาย
พันธุ์โดยการเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง หรือ ปักชำ ก็ได้


ส่วนที่ใช้ : ใบ
ดอก ผล ราก เปลือก เมล็ด ใช้เป็นยา


ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา:


ยับยั้งการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ ขับปัสสาวะ แก้แพ้ ต้านเชื้อแบคทีเรีย
ยับยั้งเนื้องอก ฆ่ายุง ฆ่าแมลง ต้านเชื้อ ?-streptococcus gr. A และ
Pseudomonas aerugionosa


การทดสอบความเป็นพิษ:


เมื่อฉีดสารสกัดของส่วนที่อยู่เหนือดินด้วยเอธานอลและน้ำ (1:1)
เข้าสู่ช่องท้องของหนูถีบจักร พบว่า ขนาดที่ทำให้หนูตายครึ่งหนึ่งคือ 1ก/กก
แต่การให้กินหรือฉีดเข้าใต้ผิวหนังในขนาด 10 ก/กก ไม่พบพิษ


สรรพคุณของสมุนไพร :


ใบ ในใบคนทีสอสด
จะมีน้ำมันหอมระเหยประมาณ 0.11-0.28% จะประกอบด้วย I-d-pinene,
camphene,Terpinylacetate, diterpene
alcoholและพวกชันนอกจากนี้ยังใช้ตั้งตรีสมุฎฐานให้เป็นปกติ รสร้อนสุขุมหอม
บำรุงน้ำดี ขับลม แก้หือไอ ฆ่าพยาธิ แก้สาบสางในร่างกาย แก้ริดสีดวงจมูก
แก้เสมหะ จุกคอ แก้ลำไส้พิการ แก้ปวดตามกล้ามเนื้อตามข้อ ขับเหงื่อ


ดอก รสหอมฝาด
แก้ไข้ในหญิงมีครรภ์ แก้หืดไอ
ใช้รักษาอาการไข้ซึ่งบังเกิดแต่ในทรวงและรักษาพยาธิ




คนทีสอ สมุนไพร
ผลคนทีสอจะเป็นลักษณะรูปร่างกลม เท่าผลพริกไทยเป็นพวงช่อ สีดำเป็นมัน
มีเมล็ด 1 เมล็ด



ผล รสร้อนสุขุม
แก้คลื่นเหียนอาเจียน แก้ไอ แก้ริดสีดวง
ใช้รักษาพยาธิและรักษาอาการไข้ในครรภ์


กระพี้ รักษาอาการคลื่น
เหียนอาเจียน ไส้ รักษา ระดูสตรีและรู้ตั้งโลหิต


ราก รสร้อนสุขุม
(ร้อนติดเมาอ่อนๆ)  แก้โรคตับ โรคตา ถ่ายน้ำเหลือง ขับเหงื่อ ขับปัสสาวะ
ใช้รักษาอาการไข้ซึ่งมีอาการอันกระทำให้ร้อน


เปลือก ใช้รักษาอาการไข้
ซึ่งมีอาการกระทำให้เย็น รักษาอาการคลื่นเหียน รักษาหญิงระดูพิการและตั้ง
โลหิต


เมล็ด รสร้อนสุขุม
เจริญอาหาร ใช้ระงับอาการปวดทำให้สงบได้ นอกจากนี้ในเมล็ดยังมีสารจำพวก
acetic acid ,malic acia , acid resin และน้ำมันระเหย จะประกอบด้วย 55%
camphene 20% ,limonene และ pinene


ด้านการเป็นไม้ประดับ:


ความน่าสนใจของไม้ต้นนี้คือ เป็นไม้พุ่มขนาดเล็กที่มีดอกดก
มีรสหวานและตัดแต่งทรงพุ่มได้ง่าย ปลูกได้ทั่วไป ใช้พื้นที่ไม่มาก
ใช้เป็นองค์ประกอบในการจัดสวนได้ดี
และใช้ด้านสมุนไพรไทยได้มากมายเกือบทุกส่วน







 

Create Date : 03 กรกฎาคม 2553    
Last Update : 3 กรกฎาคม 2553 14:53:40 น.
Counter : 393 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  

WishRich
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




มาเริ่มเปลี่ยนแปลงตัวเองไปพร้อม ๆ กัน เพื่อความสำเร็จในชีวิตและหน้าที่การงานครับ
Friends' blogs
[Add WishRich's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.