WishRich
Group Blog
 
All Blogs
 
ปลามังกร ไฮแบ็ค

//img.kapook.com/image/pet/1121503941.jpg
ปลามังกร ไฮแบ็ค

เมื่อ ปลามังกร
หมดท่า เหงือกอ้า..จะแก้ไขอย่างไร (ข่าวสารโลกสัตว์เลี้ยง)


          โดยธรรมชาติของปลาอะโรวาน่า หรือ
ปลามังกร จัดว่าเป็นปลาที่มีความต้านทานต่อโรคภัยต่างๆ เนื่องจากสายพันธุ์
ปลามังกร เป็นปลาแม่น้ำ ซึ่งมีภูมิต้านทานโรคดี
ขอเพียงผ้เลี้ยงให้ความใส่ใจกับเรื่องของน้ำเลี้ยง และอาหารการกินก็พอ

         
แต่หากผู้เลี้ยงขาดความใส่ใจ ปลามังกร ในเรื่องน้ำเลี้ยง และอาหาร เช่น
ปล่อยให้อาหารบูดเสีย ทำให้น้ำเน่า และปนเปื้อนเชื้อโรค หรือจะเป็น
การขาดออกซิเจน การเปลี่ยนอุณหภูมิน้ำอย่างฉับพลัน
หรือเหตุอื่นๆ
ก็จะทำให้ปลาเจ็บป่วยได้โดยง่าย

          ทั้งนี้ โรคชนิดหนึ่งที่มักพบกับ
ปลามังกร ก็คือ โรคเหงือกอ้า

ซึ่งเป็นปัญหาสำหรับนักเลี้ยงปลาส่วนมาก
สาเหตุของการเกิดโรคนี้มีที่มาจากอะไร และวิธีการรักษาโรคมีขั้นตอนอย่างไร
เรามีคำแนะนำดีๆ มาเสนอให้คนรัก ปลามังกร ได้ติดตามกันค่ะ

 อาการของโรค

         
อาการในระยะยเริ่มแรก การเคลื่อนไหวของแผ่นปิดเหงือกจะไม่สม่ำเสมอ
การหายใจจะเร็วขึ้นอย่างผิดปกติ ต่อมาแผ่นที่ปิดเหงือกจะเว้าเข้า
และขอบริมจะหยักขึ้นบน เป็นเหตุให้เหงือกเปิดอ้าขึ้น
และในที่สุดเมื่อถึงระยะรุนแรง ปลามังกร
จะเอาหัวโผล่ขึ้นมาบนผิวน้ำเพื่อเอาอากาศหายใจ ขณะเดียวกัน ปลามังกร
ก็จะไม่อยากอาหาร เนื่องจากเหงือกได้รับความเสียหาย
และอาจติดเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งมีผลต่อระบบหายใจและทำให้ปลาเสียชีวิตในที่สุด

 แนวทางการรักษา เมื่อ ปลามังกร
เป็นโรคเหงือกอ้า

          เมื่อพบว่า ปลามังกร
เริ่มที่จะหายใจไม่สม่ำเสมอควรจะเปลี่ยนน้ำทันทีทุก 2-3 วัน ครั้งละ 20 % 
ของปริมาณน้ำในตู้ ควรนำปั๊มลมมาเพิ่ม
เพื่อเพิ่มระดับออกซิเจนในน้ำให้มากขึ้น
อีกทั้งควรนำระบบกรองมาล้างทำความสะอาด จากนั้นใส่เกลือ 0.3%
และยาเตตร้าไซคลิน 250 มก./น้ำ 25 ลิตร เพื่อฆ่าเชื้อโรค

         
แต่หากระยะโรคเริ่มแสดงอาการรุนแรง ขอบของแผ่นปิดเหงือก ปลามังกร
จะเป็นรอยหยักเพียงเล็กน้อย แต่ยังไม่แข็ง ควรจะทำให้กระแสน้ำไหลแรงขึ้น
โดยการใช้พาวเวอร์เฮดเป่า และยาเตตร้าไซคลิน 250 มก./น้ำ 25 ลิตร
เพื่อฆ่าเชื้อโรค โดยที่ยังใช้เกลือ 0.3% ร่วมด้วย ซึ่งจะมีโอกาสหายถึง 50%

         
อย่างไรก็ตาม หาก ปลามังกร ป่วยระยะสุดท้าย อาการที่พบคือ
แผ่นปิดเหงือกจะเผยออกมา โดยในช่วงแรกจะเริ่มส่วนที่นุ่ม
หรือเหงือกบางก่อนที่จะลุกลามไปยังเหงือกส่วนที่แข็ง
หากไม่รีบจำกัดการลุกลามของโรค ปลามังกร จะตกอยู่ในอันตราย เหงือกของ
ปลามังกร จะเปิด ทำให้หายใจได้ลำบาก และติดเชื้อได้ง่าย อาจทำให้ ปลามังกร
เสียชีวิตในที่สุด ดังนั้น เมื่อมาถึงขั้นนี้แล้ว
ทางเดียวที่จะแก้ไขได้คือ การตัดเหงือกเฉพาะส่วนที่อ้าทิ้ง
และปรับปรุงสภาวะของน้ำให้เหมาะสมกับ ปลามังกร




Create Date : 01 กรกฎาคม 2553
Last Update : 1 กรกฎาคม 2553 17:28:41 น. 0 comments
Counter : 1182 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

WishRich
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




มาเริ่มเปลี่ยนแปลงตัวเองไปพร้อม ๆ กัน เพื่อความสำเร็จในชีวิตและหน้าที่การงานครับ
Friends' blogs
[Add WishRich's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.