WishRich
Group Blog
 
All Blogs
 

สมุนไพร-คอนสวรรค์

//csamunpri.com/herbals/wp-content/uploads/2009/09/Ipomoea1.jpg//csamunpri.com/herbals/wp-content/uploads/2009/09/Ipomoea2.jpg




คอนสวรรค์ สมุนไพร ดอกคอนสวรรค์สีแดง



ชื่อวิทยาศาสตร์ :
Ipomea quamoclit Limm.


ชื่อสามัญ :
Indian Pink  Cypress Vine


ชื่อวงศ์ : CONVOLVULACEAE


ชื่อสมุนไพรอื่น ๆ : สน
ก้างปลา , พันสวรรค์ , เข็มแดง , แข้งสิงห์ , ( กรุงเทพฯ ) , คอนสวรรค์
(เชียงใหม่), สะตอเทศ , ผักหนองบก , ผักก้านถิน , ดาวนายร้อย , รกฟ้า


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:


ต้น : คอนสวรรค์เป็นไม้เถาล้มลุก
มีอายุประมาณ 1 ปี เมื่อให้ดอกแล้วก็จะแห้งตายไป
ลำต้นหรือเถาจะเลื้อยพันกันแน่น และจะต้องมีหลักหรือซุ้ม
เพื่อให้เถาคอนสวรรค์เลื้อยพันขึ้นได้ ลำต้นหรือเถาจะมีขนาดเล็กและเรียว
ผิวของลำต้นจะเกลี้ยง


ใบ : คอนสวรรค์มี
ใบเป็นรูปไข่หรือเป็นรูปขอบขนานกัน และมีความกว้างประมาณ 1-6
ซม.ความยาวประมาณ1-9 ซม. ตรงขอบใบจักเป็นแฉกลีกเป็นแบบขนนก ข้างละประมาณ
9-19แฉก แฉกนั้นอาจจะอยู่
ตรงข้ามกันหรือเรียงสบับกันส่วนก้านใบจะยาวประมาณ8-40 มม.
ตรงโคนก้านมักจะมีหูใบปลอม


ดอก : คอนสวรรค์ออก
ดอกเป็นช่อตามง่ามใบจะมีอยู่ประมาณ 2-6 ดอกจะมีก้านช่อดอกยาวประมาณ1.5-14
ซม. ก้านดอกนั้นยาว 5-20 มม.
เมื่อเป็นผลจะใหญ่ขึ้นเป็นรูปกระบองกลีบรองกลีบดอกจะเป็นรูปขอบ ขนานกัน
หรือเป็นรูปช้อนแกมขอบขนาน ตรงปลายมนคู่นอกนั้นยาวประมาณ 4-4.5 มม.
คู่จะยาว กว่าเล็กน้อย ผิวเกลี้ยง
กลีบดอกนั้นจะเชื่อมติดกันเป็นทรงแจกมีความยาวประมาณ 2-3 ซม.
ปลายของมันจะแยกออกเป็นแฉกแหลม 5 แฉก จะมีสีแดง หรือบางทีจะมีสีขาว




คอน
สวรรค์ สมุนไพร ใบคอนสวรรค์นำมาตำทำเป็นยาพอกริดสีดวงทวารที่มีเลือดออก
รักษาสิวหัวช้าง หรือฝีฝักบัว



เกสร :
เกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียนั้นจะโผล่พันกลีบดอก
ส่วนเกสรตัวผู้จะมีขนอยู่ที่โคน


รังไข่ :
รังไข่นั้นจะมีลักษณะผิวเกลี้ยง


เมล็ด (ผล) : ผลเมื่อแห้ง
จะเป็นรูปไข่มีความยาว ประมาณ 6-8 มม. ส่วนเมล็ดนั้นจะมี 4รูปขอบขนายแกมไข่
มี ความยาวประมาณ 5-6 มม. มีสีน้ำตาลดำ หรือสีดำ


การขยายพันธุ์ : คอน
สวรรค์
ขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ด


ส่วนที่ใช้ : ทั้ง
ต้น และเมล็ด ใช้เป็นยา


สรรพคุณของสมุนไพร :


ทั้งต้น เป็นยาเย็น
ใช้รักษาพิษงูกัด และเป็นยานัตถุ์ ยารุ


ใบ
นำมาตำทำเป็นยาพอกริดสีดวงทวารที่มีเลือดออก รักษาสิวหัวช้าง หรือฝีฝักบัว


เมล็ด ใช้เป็นยาระบายและ
เป็นยาบรรเทาอาการปวดท้อง


ถิ่นที่อยู่ :
คอนสวรรค์มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปอเมริกาเขตร้อนและได้กระจายแพร่
พันธุ์เอง ตามป่าละเมาะหรือ ตามที่รกร้างว่างเปล่า ตามไร่ ตามนา
ขึ้นในระดับสูงประมาณ 1,200 ม. มักนิยมปลูกกันเป็นไม้ประดับ







 

Create Date : 03 กรกฎาคม 2553    
Last Update : 3 กรกฎาคม 2553 15:23:58 น.
Counter : 496 Pageviews.  

สมุนไพร-คล้า

//csamunpri.com/herbals/wp-content/uploads/2009/09/wawmayura1.jpg//csamunpri.com/herbals/wp-content/uploads/2009/09/zebra.jpg//csamunpri.com/herbals/wp-content/uploads/2009/09/takhab.jpg//csamunpri.com/herbals/wp-content/uploads/2009/09/kunphan.jpg



คล้า สมุนไพร คล้าม้าลาย



ชื่อวิทยาศาสตร์ : Calathea
picturata., Calathea roseo-picta.


ชื่อ
สามัญ :
Calathea


ชื่อวงศ์ : Marantaceae


ชื่อสมุนไพรอื่น ๆ : ก้าน
พร้า (ภาคกลาง)  คล้า (ภาคกลาง, นครศรีธรรมราช) บูแมจี่จ๊ะไอย์
(มลายู-ปัตตานี) เบอร์แม (มลายู-นราธิวาส) แหย่ง (ภาคเหนือ)  คลุ้ม
(ไทยตะวันออก) พุทธรักษาน้ำ เทพรักษา


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :


ต้น : คล้าจัดเป็นไม้ยืนต้นที่มี
เนื้ออ่อน เจริญเติบโตเป็นกอหรือพุ่ม มีอายุหลายปี
ลำต้นมีทั้งตั้งตรงและเลื้อย มีเหง้า (rhizome)  หรือหัว (tuberous) 
ใต้ดิน แตกหน่อได้ คล้าเป็นพรรณไม้ลงหัว
ลำต้นเป็นกอหรือเป็นพุ่มจำพวกข่าและเร่วแต่ลำต้นนั้นจะออกเป็นข้อ ๆ
รวมทั้งก้านและใบมีความสูงประมาณ 1-2 เมตรเป็นพุ่มใหญ่




คล้า สมุนไพร คล้าตะขาบ



ใบ : ใบคล้าจะ
เป็นสีเขียว มีลักษณะเป็นรูปไข่ยาว ๆริมขอบใบนั้นจะเรียบ
ตรงสุดปลายใบของมันจะแหลมมีความยาวประมาณ 10-20 ซม.และกว้างประมาณ 6-9 ซม.
ใบเป็นใบเดี่ยวออกสลับกัน มักมีลวดลายและสีสันบนใบสวยงาม โคนต้นมีกาบใบหุ้ม
ลักษณะประจำพืชวงศ์นี้คือ แผ่นใบสองด้านของเส้นกลางใบไม่เท่ากัน
ขณะใบยังอ่อนด้านใหญ่จะม้วนหุ้มด้านเล็กไว้ 
นอกจากนี้ตรงรอยต่อของก้านใบกับแผ่นใบจะโป่งออก (pulvinate) 
มีหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของใบ เวลากลางวันใบคล้าจะกางออก
และจะห่อขึ้นในเวลากลางคืน คล้ายกับการพนมมือ
จึงมีผู้เรียกชื่อพืชวงศ์นี้ว่า ” Prayer Plants”


ดอก : คล้าจะออก
ดอกเป็นช่อบริเวณยอดอ่อนจากซอกกาบใบ
ดอกจะออกเป็นคู่จากกาบรองดอกที่เรียงซ้อนกันเป็นแถวในระนาบเดียวกัน
สลับซ้ายขวาจากแกนช่อดอก (distichous)  หรืออาจะรียงสลับกันเป็นวง
(spiral)  ดอก เป็นดอกสมบูรณ์เพศ มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอกอย่างละ 3 กลีบ
เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก แต่สมบูรณ์เพียง 1 อัน
ส่วนที่เหลือเป็นหมันจะเปลี่ยนรูปไปคล้ายกลีบดอก 1 กลีบ ลักษณะของช่อดอกมี 4
แบบ คือ แบบช่อกระจุกอยู่ปลายก้าน แบบช่อแขนง แบบช่อกระจะ และแบบช่อเชิงลด
ผล ซึ่งไม่ค่อยจะพบนักมี 2 ลักษณะ คือ ผลแห้ง
เมื่อแก่อาจจะแตกหรือไม่แตกออก และผลที่มีเนื้อนุ่ม และมีเมล็ด 1-3  เมล็ด




คล้า สมุนไพร คล้าหางนกยูง



การขยายพันธุ์ : คล้าขยาย
พันธุ์โดยการแยกหน่อปลูก


ส่วนที่ใช้ :
หัว ใช้เป็นยา


สรรพคุณของสมุนไพร :


หัว หัวคล้ามีรส
เย็นและเบื่อ ใช้หัวกินเป็นยารักษาอาการพิษไข้
ไข้เหนือปอดบวมไข้กาฬกระทุ้งพิษไข้หัว ดับพิษไข้ทั้งปวง
รักษาอาการร้อนในกระหายน้ำ ลดความร้อนในร่างกาย รักษาอาการไข้ราก สาด
เหือดหัด สุกใส ฝีดาษ


การเป็นมงคล :


คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นคล้าไว้ประจำบ้าน
จะช่วยคุ้มครองรักษาให้มีความสงบสุข เพราะ คล้า หรือคลุ้ม คือ การคุ้มครอง
ปกป้องรักษาและคนโบราณยังเชื่ออีกว่า คล้า หรือ คล้าคลาด
คืการคลาดแคล้วพิษภัยศัตรูทั้งปวง นอกจากนี้คนไทยโบราณยังเรียกคล้าว่า
พุทธรักษาน้ำ ดังนั้นจึงถือว่าคล้าเป็นไม้มงคลนาม คือ
มีพระพุทธเจ้ารักษานั่นเอง


ชนิดของคล้าที่ใช้ปลูก
เป็นไม้มงคล มีหลายพันธุ์คือ
:




คล้า สมุนไพร คล้าขุนแผน



Calathea burle-Marxii
ได้แก่



  • พันธุ์ดอกสีแดง

  • พันธุ์ดอกสีขาว

  • พันธุ์ดอกสีเหลือง

Rattlesnake Plant (คล้าตะขาบ)



  • Calathea crotalifera

Cigar Flower Plant



  • Calathea lutea

Calathea picturata “Argentea”



  • คล้าเงิน

Peacock plant คล้าหางนกยูง
แววมยุรา



  • Calathea makoyana.

เคล็ดปฏิบัติ :


ผู้ที่เหมาะจะเป็นผู้ลงมือปลูกต้นคล้านั้น ควรจะเป็นผูใหญ่สักหน่อย
หากภายในครอบครัว มีแต่คนหนุ่มสาว ก็ควรจะเชิญผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ
หรือผู้ที่ทำแต่สิ่งดีงาม มาเป็นผู้ลงมือปลูก
ก็จะยิ่งเพิ่มความเป็นสิริมงคลให้สูงยิ่งขึ้น
ลองมองหาที่ดินทางทิศตะวันออกของตัวบ้านที่พอเหมาะ จึงค่อยปลูก เพราะคล้านั้น
เหมาะที่จะปลูก ทางทิศตะวันออกมากกว่าทิศอื่นๆ
คนโบราณเชื่อว่าต้นไม้ที่จะช่วยเสริมความเป็นสิริมงคลให้กับบ้านนั้น
ควรจะปลูกในวันเสาร์ ดังนั้น คุณจึงควรปลูกต้นคล้าในวันเสาร์เช่น
กัน จึงจะถูกต้องตามเคล็ดวิธี


อื่น ๆ : พรรณ
ไม้นี้มักปลูกกันไว้ใช้ เอาต้นตากแห้ง ทำการจักสาน เช่น สานเสื่อเป็นต้น


ถิ่นที่อยู่ :
พรรณไม้นี้มีถิ่นกำเนิดขึ้นตามธรรมชาติในที่
เป็นน้ำเป็นโคลนตามริมคลองริมสระ หรือตามลำธาร มักจะพบมากทางภาค
กลางและภาคตะวันออก และจังหวัดจันทบุรี







 

Create Date : 03 กรกฎาคม 2553    
Last Update : 3 กรกฎาคม 2553 15:18:25 น.
Counter : 1983 Pageviews.  

สมุนไพร-ครอบจักรวาฬ

//csamunpri.com/herbals/wp-content/uploads/2009/09/krobjaggrawan.jpg


ทั้งต้นของสมุนไพรครอบจักรวาฬ ใช้แก้ร้อน ชื้น ฟอกเลือด แก้ท้องร่วง <br>หูอื้อ หูหนวก แผลบวมเป็นหนอง โรคเรื้อน ปัสสาวะขัด เจ็บ ขุ่น คางทูม ขับลม<br> เลือดร้อน

ทั้งต้น
ของสมุนไพรครอบจักรวาฬ ใช้แก้ร้อน ชื้น ฟอกเลือด แก้ท้องร่วง หูอื้อ หูหนวก
แผลบวมเป็นหนอง โรคเรื้อน ปัสสาวะขัด เจ็บ ขุ่น คางทูม ขับลม เลือดร้อน



ชื่อวิทยาศาสตร์ :
Abutilon indicum (L.) Sweet


ชื่อสามัญ :
Country mallow, Indian mallow


ชื่อวงศ์ :
Malvaceae



ชื่อสมุนไพรอื่น :
ครอบ ครอบจักรวาฬ ตอบแตบ บอบแปบ
มะก่องเข้า (พายัพ) ก่อนเข้า (เชียงใหม่) โผงผาง (โคราช ) ครอบตลับ
หญ้าขัดหลวง หญ้าขัดใบป้อม ขัดมอนหลวง ครอบฟันสี


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :


ต้น : ต้นครอบจักรวาฬเป็นพรรณไม้พุ่ม
ลำต้นสูงไม่เกิน 5 ฟุต และจะเป็นขนสีขาวนวล


ใบ : ใบครอบจักรวาฬมี
ลักษณะจะกลมและโตประมาณ 7 ซม. ใบค่อนข้างหนาจะมีขนสีขาวนวล


ดอก : ครอบจักรวาฬจะ
มีดอกโตประมาณ 2-3 ซม. เป็นดอกสีเหลือง


ผล : ผลครอบจักรวาฬนั้น
จะมีลักษณะกลมเป็นกลีบๆ คล้ายฟันสีที่ใช้สีข้าวแต่ชนิดนี้ผลจะเป็นรูปตูมๆ
ไม่บานอ้า เหมือนชนิดอื่น


ส่วนที่ใช้ :
ทั้งต้น ราก และเมล็ด เก็บในฤดูร้อนและฤดูหนาว ตัดทั้งต้น ล้างสะอาด
ตากแห้งเก็บไว้ใช้


สรรพคุณของสมุนไพร:


ทั้งต้น : รสชุ่ม สุขุม
ไม่มีพิษ ใช้แก้ร้อน ชื้น ฟอกเลือด แก้ท้องร่วง หูอื้อ หูหนวก
แผลบวมเป็นหนอง โรคเรื้อน ปัสสาวะขัด เจ็บ ขุ่น คางทูม ขับลม เลือดร้อน


ราก : รสจืด ชุ่ม เย็น
ใช้แก้ร้อนชื้น ฟอกเลือด แก้ไอ หูหนวก หูชั้นกลางอักเสบ เหงือกอักเสบ คอตีบ
ปวดท้อง ท้องร่วง ริดสีดวงทวาร ขับปัสสาวะ


เมล็ด : ใช้แก้บิดมูกเลือด
ฝีฝักบัว


วิธีและปริมาณที่ใช้ :



  • ทั้งต้นแห้ง 30- 60 กรัม ต้มน้ำดื่มหรือตุ๋นกับเนื้อไก่รับประทาน
    ใช้ภายนอก ตำพอก

  • รากแห้ง 10- 15 กรัม ต้มน้ำดื่ม ใช้ภายนอก ตำพอก หรือต้มน้ำชะล้าง

  • เมล็ดแห้ง 3.2 กรัม บดเป็นผงรับประทาน วันละ 3 ครั้ง

ตำรับยา :



  • แก้ผื่นคัน เนื่องจาการแพ้ ใช้
    ทั้งต้นแห้ง 30 กรัม ผสมกับเนื้อหมู (ไม่เอามัน) พอประมาณ ตุ๋นน้ำรับประทาน

  • แก้ริดสีดวงทวาร ใช้ราก
    150 กรัม ต้มเอาน้ำข้นๆ ดื่มประมาณ 1 ถ้วยชา
    ที่เหลืออุ่นเอาไอรมที่ก้นพออุ่นๆ ทนได้ ใช้รมวันละ 5-6 ครั้ง เอาน้ำอุ่นๆ
    ชะล้างแผล

  • แก้หกล้ม
    เป็นบาดแผลหรือร่างกายอ่อนแอ ไม่มีกำลัง
    ใช้รากแห้ง 60 กรัม
    ต้มกับขาหมู 2 ขา ผสมกับเหล้าเหลือง 60 กรัม ต้มน้ำรับประทาน

  • แก้ข้อมือข้อเท้าอักเสบ
    หรือแผลอักเสบที่ทำให้กล้ามเนื้อลีบ
    ใช้รากแห้ง 30 กรัม ผสมน้ำ
    และเหล้าอย่างละเท่าๆ กัน ตุ๋นรับประทาน

  • แก้คอตีบ ใช้รากสด 30
    กรัม ต้มน้ำดื่ม หรืออาจะเพิ่มรากหญ้าพันงู ( Achyranthes aspera L. A.
    Bidentata BL., A.longiforia Mak. ) สด กับรากว่านหางช้าง ( Belamcanda.
    Chinensis DC. ) สด พอสมควร ตำคั้นเอาน้ำมามาผสมกับปัสสาวะให้เด็กรับประทาน

  • แก้หูชั้นกลางอักเสบเรื้อรัง
    ใช้รากแห้ง 15- 30 กรัม ข้าวเหนียว 1 ถ้วย หรือเนื้อหมูไม่ติดมัน
    หรือเต้าหู้แทนก็ได้ ในปริมาณสมควร ต้มน้ำรับประทาน

  • ใช้แก้รากฟันเน่าเป็นหนอง
    ใช้รากแห้ง 15 กรัม ผสมน้ำตาลแดงพอสมควร ต้มน้ำดื่มหรือใช้รากแห้ง
    แช่น้ำส้มสายชู 1 ชั่วโมง แล้วเอาผ้าห่ออมไว้ในปากบ่อยๆ

  • แก้บิดมูกเลือด
    ใช้เมล็ดคั่วให้เกรียม บดเป็นผง รับประทานพร้อมกับน้ำผึ้ง ครั้งละ 3.2 กรัม
    วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร

  • แก้ฝีฝักบัว ใช้เมล็ด 1
    ช่อ บดเป็นผงชงน้ำสุกอุ่นๆ รับประทานแล้วเอาใบสดตำผสมน้ำผึ้ง หรือน้ำตาลแดง
    พอกที่แผล

สารเคมี :



  • ทั้งต้น มี Flavonoid
    glycoside, Phenols, Amino acids, น้ำตาล (พวก Flavonoid glycoside มี
    Gossypin, Gossypitrin, Cyanidin-3-rutinoside)

  • ใบ มี Mucilage, Tannins,
    Organic acid, Traces of asparagin และเถ้าที่ประกอบด้วย Alkaline
    sulphates, Chlorides, magnesium phosphate และ Calcium carbonate

  • ราก มี Asparagin

  • เมล็ด มีไขมันประมาณ 5%
    fatty acid ซึ่งมี Oleic acid 41.3% Linoleic acid 26.67% Linolenic acid
    6.8% Stearic acid 11.17% Palmitic acid 5.08% Non-saponified matter
    ประมาณ 1.77% (ซึ่งเป็นพวก Sitosterol)

  • กากเมล็ด ประกอบด้วย
    Raffinose (C18  H32  O16)





 

Create Date : 03 กรกฎาคม 2553    
Last Update : 3 กรกฎาคม 2553 15:13:44 น.
Counter : 409 Pageviews.  

สมุนไพร-คนทีเขมา

//csamunpri.com/herbals/wp-content/uploads/2009/09/Vitex_negundo.jpg//csamunpri.com/herbals/wp-content/uploads/2009/09/Vitex_negundo2.jpg




คนทีเขมา สมุนไพร
ดอกคนทีเขมาจะมีขนาดเล็กมีอยู่เป็นจำนวนมาก จะออกดอกเป็นช่ออยู่ตรงปลายยอด



ชื่อวิทยาศาสตร์ : Vitex
negundo Linn.


ชื่อสามัญ :
-


ชื่อวงศ์ : VERBENACEAE


ชื่อสมุนไพรอื่น ๆ :
กูนิง (มาเลเซี – นราธิวาส), กุโนกามอ (มาเลเซีย – ปัตตานี), หวงจิง
(จีนกลาง),อึ่งแกง (แต้จิ๋ว) Negundo Chest Nut


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :


ต้น : คนทีเขมาเป็นพรรณไม้พุ่มมี
ความสูงประมาณ 6 เมตร


กิ่ง : กิ่งคนทีเขมานั้น
จะมีกลิ่นหอม ส่วนกิ่งอ่อนจะเป็นเหลี่ยม มีสีเทาและจะมีขนอ่อนปกคลุมด้วย


ใบ : ใบคนทีเขมาจะ
มีกลิ่นหอมเหมือนกิ่ง แต่ใบจะออกตรงกันข้าม
ใบนั้นจะเป็นใบรวมมีลักษณะคล้ายรูปมือ และจะประกอบด้วยใบย่อยประมาณ 5 หรือ 3
ใบตรงปลายใบของมันจะยาวแหลมยาว ขอบใบ
นั้นจะเรียบหรือมีรอยหยักเล็กน้อยหลังใบจะมีสีเขียวเข้ม
และตรงท้องใบจะมีสีขาว ปกคลุมด้วย ขนอ่อน


ดอก : ดอกคนทีเขมาจะ
มีขนาดเล็กมีอยู่เป็นจำนวนมาก จะออกดอกเป็นช่ออยู่ตรงปลายยอด


ผล : ผลคนทีเขมามี
ลักษณะกลม แห้งเปลือกแข็ง มีสีน้ำตาล รูปกลมรี มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ
2.5 มม.


การขยายพันธุ์ : คนที
เขมา
ขยายพันธุ์โดยการปักชำ


ส่วนที่ใช้ : เปลือก
ใบ ผล ช่อดอก และราก ใช้ทำเป็นยา




คนทีเขมา สมุนไพร ใบคนทีเขมาจะมีกลิ่นหอม
ออกตรงกันข้าม มีลักษณะคล้ายรูปมือ และจะประกอบด้วยใบย่อยประมาณ 5 หรือ 3
ขอบใบนั้นจะเรียบหรือมีรอยหยักเล็กน้อยหลังใบจะมีสีเขียวเข้มและตรงท้องใบจะ
มีสีขาว ปกคลุมด้วยขนอ่อน



สรรพคุณของสมุนไพร :


ใบ ใช้ผสมในน้ำอาบ
เพื่อให้มีกลิ่นหอม หรือจะใช้ทาหน้าผาก รักษาอาการปวดศีรษะรักษาไข้หวัด
เจ็บคอ ไอ โรคปวดตามข้อ หูอื้อ
รักษาบิดไม่มีตัวลำไส้อักเสบรักษาไข้มาลาเรีย ดีซ่าน บวมฟกช้ำ กลาก เกลื้อน
ฝี เชื้อรา ที่ เท้าบาดแผลจากของมีคม สุนัข หรือตะขาบกัด ไล่แมลง


ผล ใช้เป็นยาขับเสมหะรักษา
ไข้หวัด หอบหืด ไต เหน็บชา รักษาไข้มาลาเรีย ไข้รากสาดน้อย (typhoidfever)
ปวดท้องโรคกระเพาะอาหารเป็นแผล กระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง ฝีคัณฑสูตร


ช่อดอก ใช้เป็นยาลดไข้
ฝาดสมาน รักษาอาการท้องเสีย


ราก ใช้เป็นยารักษาไข้หวัด
ขับเสมหะ ไอ หอบหืด ขับปัสสาวะ รักษาโรคไข้มาเลเรีย โรคปวดตามข้อ
โรคกระเพาะอาหาร ขับพยาธิเส้นด้าย (พยาธิเข็มหมุด)


อื่น ๆ : คนที
เขมา
เป็นพรรณไม้พื้นเมืองของอเมริกาและได้แพร่พันธุ์
มายังเอเซียตอนใด้ ถึงญี่ปุ่นและต่อมายังเอเซีย


ถิ่นที่อยู่ :
พรรณไม้นี้มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปอเมริกา







 

Create Date : 03 กรกฎาคม 2553    
Last Update : 3 กรกฎาคม 2553 15:10:06 น.
Counter : 481 Pageviews.  

สมุนไพร-คน ทา

//csamunpri.com/herbals/wp-content/uploads/2009/09/konta.jpg




คนทา สมุนไพร ต้นคนทา หรือ
สีฟันคนทา โบราณจะเอาก้านมาเหลาให้แหลมด้านหนึ่งสำหรับแคะฟัน
อีกด้านหนึ่งทุบให้แตกบานเป็นแปรงสำหรับสีฟัน เอาไปถวายพระ



ชื่อวิทยาศาตร์ :
Harrisonia perforata (Blanco) Merr.


ชื่อสามัญ :
-


ชื่อวงศ์ : SIMAROUBACEAE


ชื่อสมุนไพรอื่น ๆ :
คนทา , สีพัน , สีฟันคนทา , กะลันทา (ไทย) , หนามกะแท่ง (เลย) , มีชี
(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), จี้ , หนามจี้ , สีเตาะ (พายัพ)


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :


ต้น : คน
ทา
เป็นพรรณไม้พุ่มแกมเถา ลำต้นมีความสูงประมาณ 3 ถึง 6
เมตรลำต้นนั้นจะโตเท่าต้นหมากผิว ของลำต้นจะเป็นสีเทา
ๆมีหนามแหลมและสั้นตลอดทั้งต้นและตามกิ่งก้าน


ใบ : ใบคนทาเป็น
ใบรวมรูปขนนก ส่วนใบย่อยจะเป็นรูปใข่ มีครีบตรงก้านใบ ใบอ่อนนั้นจะมีสีแดง
ใบจะมี รสขม


ดอก : ดอกคนทานั้น
จะมีสีขาว


ผล : ผลคนทามี
ลักษณะกลมและฉ่ำ


การขยายพันธุ์ :
โดยการใช้เมล็ด


ส่วนที่ใช้ :
ราก


สรรพคุณของสมุนไพร :


ราก จะมีรสเฝื่อนขมใช้ต้ม
กิน รักษาอาการไข้เพื่อเส้นและเป็นยารักษาอาการท้องร่วง โรคลำไส้ ไข้เหนือ
และไข้พิษ


อื่น ๆ :
เป็นพรรณไม้ที่อยู่ในเขต มักจะปลูกกันไว้ในสวน
หรือตามวัดบางแห่งในจังหวัดพระนครและธนบุรี
เพื่อประโยชน์สำหรับใช้ในการทำยา


ถิ่นที่อยู่ :
พรรณไม้นี้เกิดขึ้นตามธรรมชาติทั่วไปในป่าในประเทศไทย







 

Create Date : 03 กรกฎาคม 2553    
Last Update : 3 กรกฎาคม 2553 15:07:25 น.
Counter : 428 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  

WishRich
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




มาเริ่มเปลี่ยนแปลงตัวเองไปพร้อม ๆ กัน เพื่อความสำเร็จในชีวิตและหน้าที่การงานครับ
Friends' blogs
[Add WishRich's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.