veritas lux mea = Truth enlightens me
Group Blog
 
All blogs
 

การกำเนิดของเอกภพ (the origin of the universe) 01



บทนำ



เมื่ออยู่คนเดียว คุณเคยมองไปรอบๆและถามกับตัวเองไหม

สิ่งที่อยู่รอบๆตัวฉันนี้คืออะไร ?
ทำไมมันถึงอยู่ที่นั่น ?
ทำไมเราถึงมีตัวตนอยู่ ?
ทำไมเอกภพของเราถึงมีบางอย่างแทนที่จะไม่มีอะไรเลย ?

บรรพบุรุษขอเราคงเคยถามคำถามเดียวกันเหล่านี้ตอนอยู่รอบกองไฟในตอนกลางคืน แต่มันต่างที่ปัจจจุบันวิทยาศาสตร์มีชิ้นส่วนของปริศนาเพียงพอที่จะเห็นคำตอบ หนังสือเล่มนี้จะบอกมุมมองที่ชัดเจนของคำตอบ

จุดกำเนิดของเอกภพคือปริศนาตัวต่อที่สำคัญของมนุษย์ ตัวต่อแต่ละชิ้นจะไม่บอกอะไรเรามากนัก อย่างไรก็ตามคำตอบจะชัดเจนเมื่อเอาแต่ละชิ้นมารวมกัน

มุมมองทั่วไปของการสร้างคือ



ในมุมมองนี้ “การไม่มีอะไร” เป็นสภาวะทางธรรมชาติที่ไม่มีสาเหตุ จากการไม่มีสาเหตุพระเจ้าก็สร้างสิ่งต่างๆขึ้นมา

หนังสือเล่มนี้จะอธิบายมุมมองการสร้างอีกแบบหนึ่งที่ได้รับการสนับสนุนจากวิทยาศาตร์สมัยใหม่ดังที่แสดงข้างล่าง



ในมุมมองนี้ “การไม่มีอะไร” เป็นเงื่อนไขที่ไม่เสถียรที่พร้อมจะระเบิดออกมา การเกิดขึ้นของสิ่งต่างๆเป็นสภาวะธรรมชาติ เป็นผลมาจากที่ธรรมชาติต้องการความเสถียร

หนังสือเล่มนี้จะสำรวจกฎธรรมชาติต่างๆที่ควบคุมการสร้างและโครงสร้างของเอกภพ คุณจะเห็นตามลำดับขั้นว่ากฎธรรมชาติเหล่านี้เปิดทางให้เกิดการสร้างสิ่งต่างๆจาก “การไม่มีอะไร” โดยไม่ขัดแย้งกับกฎการอนุรักษ์พลังงาน

แบบจำลองของปริภูมิถูกพัฒนาและจำลองขึ้นโดยใช้เครื่องสร้างแบบจำลองสร้างผลงานออกมา

โดยประกอบด้วยการสร้างกาแล็คซี ระบบสุริยะ การสร้างธาตุและพัฒนาขึ้นมาเป็นจุดเริ่มต้นของสิ่งมีชีวิต เป็นลำดับ

*แปลมาจากหนังสือ the origin of the universe – case closed ของ Robert Amneus
**บทความอาจมีข้อผิดพลาด





 

Create Date : 11 พฤษภาคม 2556    
Last Update : 11 พฤษภาคม 2556 21:26:06 น.
Counter : 1760 Pageviews.  

มโนทัศน์ของปริภูมิ (Concept of Space)

มโนทัศน์ของปริภูมิ (Concept of Space)


ฟิสิกส์เกี่ยวพันกับการอธิบายปรากฏการณ์ทางกายภาพของวัตถุในปริภูมิ สัญชาตญาณของเราเกี่ยวกับปริภูมิมีขึ้นพร้อมกับเวลาเช่น เราจำเป็นต้องอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยและมีประโยชน์ต่อเรา ต่อมาแนวคิดเรื่องปริภูมิยังมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการให้เหตุผลในเรื่องวิทยาศาสตร์และปรัชญา และยังสามารถนำไปใช้ในเรื่องของ การชลประทาน การก่อสร้าง และการนำทาง นักคณิตศาสตร์ในสมัยโบราณส่วนใหญ่เป็นนักเรขาคณิต เช่นหนังสือ Elements ของ Euclid แนวคิดเรื่องเรขาคณิตของ Archimedes และเรื่องภาคตัดกรวยของ Apollonius


นักคณิตศาสตร์ชาวกรีกถูกศึกษาโดยชาวอาหรับ ผู้ซึ่งสร้างเลขคณิตและพีชคณิต การเริ่มใช้ตำราขคณิตศาสตร์ของชาวอาหรับในยุโรปยุค Renaissance กระตุ้นการศึกษาวิชาพีชคณิต นี่นำไปสู่การพัฒนาที่สำคัญ 2 สิ่งในศตวรรษที่ 17 ซึ่งเป็นพื้นฐานของคณิตศาสตร์สมัยใหม่ คือการคิดค้นเรขาคณิตเชิงวิเคราะห์และแคลคูลัส ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมากในการใช้อธิบายเหตุการณ์ในปริภูมิ

ในหนังสือ Geometrie ปี 1637ของ Descartes ซึ่งแสดงพลังของพีชคณิตในการแก้ปัญหาเชิงเรขาคณิต หนังสือเล่มนี้มีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อการพัฒนาแคลคูลัส ซึ่งถูกคิดค้นในศตวรรษต่อมาโดย Newton และ Leibnitz

Newton ยอดอัจฉริยะสร้างการค้นพบที่ยิ่งใหญ่ใน เรขาคณิต พีชคณิต และแคลคูลัส แต่เราจำเขาได้มากกว่าในเรื่องการคิดค้นในวิชาฟิสิกส์

ฟิสิกส์ในยุคก่อน Newton ถูกสร้างขึ้นโดยข้อเท็จจริงเชิงประจักษ์เกี่ยวกับปรากฏการณ์เชิงกายภาพทั้งในโลกและบนฟ้า การพัฒนาสิ่งสำคัญสองสิ่งเกิดขึ้นในศตวรรษก่อน Newton คือ Galileo ศึกษาความเฉื่อย ความเร่ง และการตกเสรีของวัตถุ และ Kepler ได้สร้างกฏการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์จากการสังเกตทางดาราศาสตร์ของ Tycho
Brahe ในหนังสือที่โด่งดังของเขา Principia Mathematica Philosophiae Naturalis ซึ่งตีพิมพ์ในปี 1687 Newton ได้สร้างการรวมทฤษฏีของปรากฏการณ์ที่แตกต่างกันไปสู่กฏการเคลื่อนที่ 3 ข้อ ซึ่งกล่าวว่า เมื่อให้สภานะการเคลื่อนที่ของระบบบนปริภูมิและแรงที่ทำกับมัน เราสามารถทราบการเคลื่อนที่ ณ เวลาใดๆได้ เขายังสาธิตยืนยันความถูกต้องกฏการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ของ Kepler นั้นเป็นผลมาจากกฏของแรงระหว่างวัตถุมีมวล ซึ่งก็คือกฏของแรงโน้มถ่วงสากล มุมมองเชิงกลศาสตร์ของพลวัตนี้ประสบความสำเร็จอย่างมาก มันสร้างพิ้นฐานทางทฤษฏีความเข้าใจปรากฏการณ์เชิงกายภาพไปจนถึงปลายศตวรรษที่ 19
กลศาสตร์แบบนิวตันอธิบายการเคลื่อนที่ของมวล ณ ตำแหน่ง r(t) มวลเคลื่อนที่ด้วยความเร่งเป็นผลมาจากแรงภายนอก ยกตัวอย่างเช่น มีมวลอันที่สอง ณ ตำแหน่ง r' ในปริภูมิ หรือพูดอีกอย่างหนึ่งก็คือมีสองมวลที่ถูกดึงดูด ณ ส่วนอื่นๆถือว่าเป็นปริภูมิว่าง

แนวคิดเรื่องปริภูมิของนิวตันใช้มาได้ดีจนถึงศตวรรษที่ 19 มีหนุ่มอัจฉริยะ ชอบศึกษาสิ่งต่างๆด้วยตนเอง เป็นพวกวัตถุนิยมชื่อ Faraday เขาได้สร้างการทดลองพื้นฐานที่นำไปสู่การค้นพบแม่เหล็กไฟฟ้า แต่เนื่องด้วยขาดความรู้ทางคณิตศาสตร์ที่จะใช้อธิบายเรื่องที่ซับซ้อนของอันตรกิริยาระหว่าง แม่เหล็ก ประจุและกระแส เขาได้สร้างมโนภาพในใจแทนเส้นแรงที่กระจายออกมาจากวัตถุและก่อตัวขึ้นเป็นสนามทั่วปริภูมิ รวมทั้งบริเวณที่เกิดอันตรกิริยาด้วย

มโนภาพของFaraday นั้นถูกต้องและถูกยืนยันแนวคิดเรื่องเส้นของแรงโดยนักฟิสิกส์เชิงคณิตศาสตร์ที่ชื่อ Maxwell ด้วยเพราะถูกกระตุ้นด้วยผลงานของ Faraday และคนอื่นๆ Maxwell เสนอในปี 1864 ว่าปรากฎการณ์แม่เหล็กไฟฟ้าสามารถที่จะอธิบายได้ด้วย 4 สมการ หรือเรียกว่าสมการMaxwell ซึ่งมีสนามแม่เหล็กและสนามไฟฟ้าโดยสนามเหล่านี้ควรจะเป็นที่อยู่ของตัวกลางที่เรียกว่า ether ซึ่งมีอยู่ทั่วปริภูมิ รวมทั้งในสุญญากาศด้วย และมันน่าจะสามารถรับและสะสมพลังงานและเป็นคลื่น ความเร็วที่เป็นผลจากการรบกวนแม่เหล็กไฟฟ้าสามารถคำนวณออกมาและพบว่าคล้ายกับแสง Maxwellคิดว่าตัวแสงเองก็น่าจะเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเพราะมีการเกิด Polarization ซึ่งทราบว่าเป็นคุณสมบัติทางแม่เหล็กไฟฟ้าของตัวกลาง ไม่นานหลังจากนั้นในห้องแลปก็สามารถสร้าง คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าแบบ nonoptical ได้ ซึ่งทำได้โดย Hertz ซึ่งค้นพบว่ามันมีการแพร่ที่ความเร็วดังที่คำนวณไว้ ด้วยเหตุนี้ ความเป็นจริงของแม่เหล็กไฟฟ้าในทุกปริภูมิสามารถทดสอบได้ เป็นผลให้ปริภูมิทางกายภาพมีคุณลักษณะที่แตกต่างจากกลศาสตร์แบบเก่า ที่เป็นความสัมพันธ์ระหว่างจุดที่ถูกแรงมากระทำบนมวล

ต่อมาคำถามพื้นฐานสำคัญก็ถูกตั้งขึ้นโดย Maxwell ในปี 1879 การเคลื่อนที่ของโลกมีความสัมพันธ์อย่างไรกับ ether ซึ่งต่อมาคำตอบก็มาจาก Michelson และ Morley สองคนซึ่งพบการเคลื่อนที่แบบไม่สัมพัทธ์

คำถามเรื่องการเคลื่อนที่แบบสัมพัทธ์หรือสัมบูรณ์มีมาแต่ในสมัยโบราณ พระอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดาวเคราะห์ และดาวฤกษ์โคจรผ่านขอบฟ้าในแต่ละวัน ผู้มีปัญญาในสมัยกรีกโบราณตระหนักว่ามันน่าจะเป็นโลกมากกว่าที่จะเป็นสวรรค์ที่หมุน ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดาวเคราะห์ เคลื่อนที่ไปพร้อมกับดาวฤกษ์ และการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์เป็นรอบหนึ่งปี สามารถตีความได้ว่า ดวงอาทิตย์หมุนรอบโลก ซึ่งเป็นแบบจำลองการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ของ Ptolemy ในศตวรรษที่ 2 ต่อมาในศตวรรษที่ 16 เพราะความไม่ถูกต้องของแบบจำลองแบบเก่าทำให้ Copernicus สร้างแบบจำลองแบบใหม่ที่ดาวเคราะห์หมุนรอบดวงอาทิตย์แทน

หลังจากยุค Newton พลศาสตร์การเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ก็ถูกเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง ซึ่งพบว่าเป็นหนึ่งในหลายบ่งชี้ถึงทฤษฎีพลศาสตร์สากลของปรากฎการณ์ทางกายภาพของแรงซึ่งเป็นผลมาจากการเคลื่อที่แบบ สัมบูรณ์ ซึ่งเหมือนกันในทุกกรอบอ้างอิงเฉื่อย ที่เคลื่อนที่สัมพัทธ์ไปพร้อมกับความเร็วที่มีค่าคงที่ แต่ Newton นั้นใช้แนวคิด ปริภูมิที่ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ ถึงแม้กระนั้นมันก็ไม่มีความแตกต่างทางพลศาสตร์แบบมีนัยสำคัญ และแนวคิดเรื่องเวลาของ Newton นั้นก็แยกตัวออกมาจากปริภูมิอย่างชัดเจน

**บทความอาจมีข้อมูลที่ผิดพลาด




 

Create Date : 10 พฤษภาคม 2556    
Last Update : 10 พฤษภาคม 2556 18:18:31 น.
Counter : 1787 Pageviews.  

เทคนิคการเลือกตัว u ในการการหาปริพันธ์แบบแยกส่วน (integration by parts)

การหาปริพันธ์แบบแยกส่วน เป้าหมายหลักคือการเลือกตัว u และ dv เพื่อการหาปริพันธ์ที่ง่ายกว่าในตอนแรก โดยทั่วไปแล้ว มันไม่มีวิธีที่ง่ายหรือเร็ว แต่มันเกิดจากประสบการณ์และการฝึกฝน เป้าหมายของเราคือการทำให้หาอนุพันธ์ของ u ให้ง่ายขึ้น

แต่มีเทคนิคหนึ่งที่สำคัญ คือเทคนิคที่เรียกว่า วิธีการ LIATE

คือ
Logarithmic
Inverse trigonometric
Algebraic
Trigonometric
Exponential

เจออันไหนก่อนให้ u เป็นตัวนั้น

อาจจะไม่เสมอไปแต่เมื่อเราเลือก u ในรูปแบบนี้จะทำให้ทำง่ายกว่า

เช่น int x cos x dx เราเลือก u ที่เป็น x เพราะเป็น Algebraic จะง่ายกว่า






 

Create Date : 08 พฤษภาคม 2556    
Last Update : 9 พฤษภาคม 2556 0:14:01 น.
Counter : 6157 Pageviews.  

CHARLIE BROWN - ON MY WAY





Move in circles at night
You've given up the fight
Like the streets that you're always walking on
You died inside
And you don't know why
So you try to turn the light on

But stand up and never say never
'Cause this life is gonna get better
Take a breath, shake it off and say
I'm on my way

You been down and feel so fed up
When they tell you, you might not get up
Might not be on top of the world but hey
Here's what you say

You might work but I work harder
You might fight but I fight smarter
Might not be on the top of the world but hey
I'm on my way
You might fly but I fly higher
You're so hot but I'm on fire
Might not be on top of the world buy hey
I'm on my way ay
I'm on my way ay
I'm on my way ay
I'm on my way
I'm on my way

All alone in your bed
You tried when you said
What you said
Yeah you poured your heart out
But nothing's changed
Still a picture in a frame
And you try but you just can't break out, no

But stand up and never say never
'Cause this life is gonna get better
Take a breath, shake it off and say
I'm on my way

You been down and feel so fed up
When they tell you, you might not get up
Might not be on top of the world but hey
Here's what you say

You might work but I work harder
You might fight but I fight smarter
Might not be on the top of the world but hey
I'm on my way
You might fly but I fly higher
You're so hot but I'm on fire
Might not be on top of the world but hey
I'm on my way

So stand up and never say never
'Cause this life is gonna get better
Take a breath, shake it off and say
I'm on my way

You might work but I work harder
You might fight but I fight smarter
Might not be on the top of the world but hey
I'm on my way

You might fly but I fly higher
You're so hot but I'm on fire
Might not be on top of the world but hey
I'm on my way ay
I'm on my way ay
I'm on my way ay
I'm on my way ay
I'm on my way ay
I'm on my way ay
I'm on my way ay
I'm on my way
I'm on my way




 

Create Date : 07 พฤษภาคม 2556    
Last Update : 7 พฤษภาคม 2556 21:08:24 น.
Counter : 1082 Pageviews.  

The Host (Andrew Niccol)



ได้ ผกก ฝีมือดีจากหนังในดวงใจ แกตทากา มาแสดงฝีมืออีกครั้ง หยิบงานของเมเยอร์ ผู้เขียนซีรี่ทไวไลท์อันโด่งดังซึ่งผมรู้สึกเฉยๆ แต่เรื่องนี้สุดยอดมากไม่ได้อ่านหนังสือมาก่อน แต่มาดูหนังเลย คาดว่าคงเป็นเพราะผกกฝีมือดีบวกกับพลอตเรื่องเยี่ยม เป็นสองแรงผลักดันให้หนังออกมา สนุก ภาพสวย ได้ฟิล สุดๆ

9/10




From and including: Monday, 25 April 1988
To and including: Sunday, 5 May 2013

It is 9142 days from the start date to the end date, end date included

Or 25 years, 11 days including the end date

Alternative time units
9142 days can be converted to one of these units:◾789,868,800 seconds
◾13,164,480 minutes
◾219,408 hours
◾1306 weeks







 

Create Date : 05 พฤษภาคม 2556    
Last Update : 5 พฤษภาคม 2556 13:49:32 น.
Counter : 1081 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  

Mr.Feynman
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 17 คน [?]




Friends' blogs
[Add Mr.Feynman's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.