|
ตะคริว (muscle cramp)
การเป็นตะคริวนั้นคือการหดตัวของกล้ามเนื้ออย่างรุนแรงและควบคุมไม่ได้ และตะคริวนั้นสามารถเกิดได้ในทุกๆกล้ามเนื้อ หรือหลายๆกลุ่มของกล้ามเนื้อ โดยส่วนใหญ่แล้วจะเกิดขึ้นตรงกล้ามเนื้อที่อยู่ระหว่างจุดยึด 2 จุด

กลุ่มของกล้ามเนื้อส่วนใหญ่ที่จะเกิดการเป็นตะคริวคือ - ส่วนน่อง (gastrocnemius) - ต้นขาด้านหลัง (hamstrings) - ต้นขาด้านหน้า (quadriceps) - และอื่นๆเช่น เท้า, มือ, แขน, ท้อง, หรือบริเวณชายโครง
ใครสามารถที่จะเป็นตะคริวได้ ทุกๆคนนั้นอาจจะเกิดอาการเป็นตะคริวขึ้นมาได้ อาการนี้สามารถเกิดในขณะออกกำลังกายต่างๆได้เช่น ว่ายน้ำ เล่นเทนนิส อื่นๆ หรือไม่ก็ตอนที่นั่ง นอน เดิน วิ่ง หรือแม้แต่ตอนนอนก็ตามที
บางคนนั้นมีแนวโน้มที่จะเป็นตะคริว ก็จะเป็นตะคริวอยู่เรื่อยๆเมื่อมีการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อมัดนั้นๆ
ส่วนคนที่มีแนวโน้มว่าจะเกิดการเป็นตะคริวมากนั้น อยู่ในกลุ่มพวกที่เจอความร้อนมากๆ, เด็กๆ, ผู้สูงอายุ, คนป่วย, คนอ้วน, คนที่ออกกำลังกายหนักๆ หรือคนที่กินยาบางชนิด
สำหรับนักกีฬาที่ต้องอาศัยความอดทนสูงเช่น วิ่งมาราธอน หรือว่าพวกนักไตรกีฬา หรือว่าพวกที่มีกิจกรรมทางร่างกายอย่างหนัก ก็มีแนวโน้มจะเกิดตะคริวได้สูงเช่นกัน
ผู้สูงอายุนั้นสามารถที่จะเป็นตะคริวได้เนื่องจากว่าสูญเสียมวลของกล้ามเนื้อ และร่างกายก็ยังสูญเสียการตอบสนองของการเปลี่ยนแปลงในอุณหภูมิอีกด้วย
สาเหตุ สาเหตุที่แน่แท้ของการเกิดตะคริวนั้นยังไม่เป็นที่รู้กัน แต่มีความเชื่อว่าเกิดจากการที่ทำการยืดกล้ามเนื้อไม่เพียงพอ และความล้าของกล้ามเนื้อทำให้นำไปสู่ความผิดปรกติของกลไกที่ไปควบคุมการหดตัวของกล้ามเนื้อได้
ส่วนปัจจัยอื่นๆที่เข้ามาเกี่ยวข้องเช่นสภาวะของร่างกายที่ไม่สมบูรณ์ การออกกำลังกายหรือทำงานในที่ที่ร้อนมาก, ภาวะการขาดน้ำ หรือว่าจะเป็นการสูญเสียเกลือแร่ และเกลือต่างๆ ร่างกายจะสูญเสียน้ำและเกลือแร่อย่างมากเมื่อออกกำลังกายในที่ที่มีอากาศร้อน การสูญเสียสารอาหารพวกนี้(โปรแตสเซียม,แมกนีเซียม หรือแคลเซียม) อาจจะทำให้เกิดการเป็นตะคริวได้
การป้องกัน เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงการเกิดตะคริวในอนาคตนั้น ควรที่จะทำการยืดกล้ามเนื้อก่อนและหลังการออกกำลังกาย
1. Warm Up ต้องทำการยืดกล้ามเนื้อก่อนเสมอ
2. การยืดกล้ามเนื้อน่อง

3. การยืดกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลัง

4. การยืดกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้า

การรักษา การเป็นตะคริวนั้นสามารถที่จะหายได้โดยที่ไม่ต้องไปพบแพทย์ - ให้หยุดกิจกรรมที่กระตุ้นให้เกิดการเป็นตะคริวนั้น - ให้ยืดกล้ามเนื้อที่เป็นตะคริวนั้นจนกว่าที่กล้ามเนื้อจะคลายตัว - ให้ประคบด้วยความร้อนบริเวณกล้ามเนื้อที่ตึงตัว หรือความเย็น ตรงบริเวณที่อ่อนล้า
Create Date : 02 ธันวาคม 2551 |
Last Update : 19 ธันวาคม 2551 21:45:16 น. |
|
1 comments
|
Counter : 4409 Pageviews. |
 |
|
|
โดย: CHOM IP: 58.9.8.87 วันที่: 7 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา:14:56:03 น. |
|
|
|
| |
|
|
too much,
so much,
& very much,
THANK YOU.