*** พื้นที่ส่วนตัวของ พันตำรวจเอก ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ รองผู้บังคับการกองคดีอาญา สำนักงานกฎหมายและคดี นี้ จัดทำขึ้นเพื่อยืนหยัดในหลักการที่ว่า คนเรานั้นจะมีความเป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์ได้ ก็ต่อเมื่อมีเสรีภาพในการแสดงความคิดโดยบริบูรณ์ และความเชื่อที่ว่าคนเราเกิดมาเสมอภาคและเท่าเทียมกัน ไม่มีอำนาจใดจะพรากความเป็นมนุษย์ไปจากเราได้ ไม่ว่่าด้วยวิธีการใด ๆ และอำนาจผู้ใด ***
*** We hold these truths to be self-evident, that all men are created equal, that they are endowed by their Creator with certain unalienable rights, that among these are life, liberty and the pursuit of happiness. That to secure these rights, governments are instituted among men, deriving their just powers from the consent of the governed. That whenever any form of government becomes destructive to these ends, it is the right of the people to alter or to abolish it, and to institute new government, laying its foundation on such principles and organizing its powers in such form, as to them shall seem most likely to effect their safety and happiness. [Adopted in Congress 4 July 1776] ***
Group Blog
 
All Blogs
 
การปฏิรูปกฎหมาย กับความท้าทายของสังคมไทย ...

UNDP จัดสัมมนา “บทบาทของกฎหมายกับปัญหาท้าทายทางสังคม เศรษฐกิจและการเมือง”

คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายร่วมกับ United Nation Development Programme (UNDP) จึงได้กำหนดจัดการสัมมนาเรื่อง “บทบาทของกฎหมายกับปัญหาท้าทายทางสังคม เศรษฐกิจและการเมือง” ในวันจันทร์ที่ ๑๒ – วันอังคารที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๕๕ เวลา ๐๘.๓๐ – ๑๗.๐๐ น. ณ ห้องแกรนด์ฮอลล์ ๒ ชั้น M โรงแรมรามาการ์เด้น ถนนวิภาวดีรังสิต เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร ทั้งนี้เพื่อ (๑) ศึกษาและสะท้อนบทบาทของกฎหมายในการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง (๒) ศึกษาแนวทางการพัฒนากฎหมายเพื่อแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคม และแนวทางการสร้างช่องทางให้ประชาชนเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมของต่างประเทศ รวมถึงปัญหาและอุปสรรคต่างๆ (๓) เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความรู้ ปัญหาและอุปสรรคในการปฏิรูปกฎหมายระหว่างประเทศไทยกับต่างประเทศ ซึ่งในการสัมมนาฯ จะมีผู้เชี่ยวชาญจากสหราชอาณาจักร และประเทศแคนาดาร่วมบรรยายให้ความรู้

สำนักงานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย จึงขอเรียนเชิญสื่อมวลชนเข้าร่วมรับฟังการประชุมสัมมนาตามวันและสถานที่ดังกล่าว รายละเอียดปรากฏตามเอกสารที่แนบมา

กำหนดการการสัมมนา : เรื่อง “บทบาทของกฎหมายกับปัญหาท้าทายทางสังคม เศรษฐกิจและการเมือง” (International Conference on the Role of Law in Responding to Emerging Social, Economic and Political Challenges) ระหว่างวันที่ 12 – 13 มีนาคม 2555
ณ ห้องแกรนด์ฮอลล์ 2 ชั้น M โรงแรมรามาการ์เด้น ถนนวิภาวดีรังสิต เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร โดยมีรายละเอียด ดังนี้

วันที่ 12 มีนาคม 2555
0830-09.00 น. ลงทะเบียน
09.00-09.15 น. กล่าวเปิดงานสัมมนา โดย ศ.ดร.คณิต ณ นคร ประธานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย
09.30-10.00 น. แนะนำคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) ยุทธศาสตร์การทำงาน และกิจกรรมที่ผ่านมา
โดยคุณไพโรจน์ พลเพชร (กรรมการปฏิรูปกฎหมาย)
10.00-12.00 น. การบรรยายช่วงที่ 1 ความเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่เกิดขึ้นจากความขัดแย้ง - บทบาทของกฎหมายในการลดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคม โดย
Dr. Corrine Caumartin (Research Fellow, School of Social Science, University of Aberdeen, United Kingdom)
นายแพทย์นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ (กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ)
คุณศยามล ไกรยูรวงศ์ (ผู้อำนวยการ โครงการเสริมสร้างจิตสำนึกนิเวศวิทยา)
คุณสุนี ไชยรส (กรรมการปฏิรูปกฎหมาย) ดำเนินรายการ

12.00-13.30 น. รับประทานอาหารกลางวัน

13.30-16.30 น. การบรรยายช่วงที่ 2 นิติรัฐ การเข้าถึงความยุติธรรม การสร้างพลังกฎหมายแก่ประชาชนและการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม โดย
Dr. Pilar Domingo (Research Fellow, in Politics and Governance, Overseas Development Research Institute, UK)
Ms. Judith Bellis (General Counsel and Director, Judicial Affairs, Courts and Tribunal Policy Section, Department of Justice, Canada)
คุณดล บุนนาค (ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลประจำสำนักประธานศาลฎีกา)
คุณไพสิฐ พาณิชย์กุล (อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
คุณพรเพ็ญ คงขจรเกียรติ (ผู้อำนวยการมูลนิธิผสานวัฒนธรรม)
คุณไพโรจน์ พลเพชร (กรรมการปฏิรูปกฎหมาย) ดำเนินรายการ





วันที่ 13 มีนาคม 2555

08.30-09.00 น. ลงทะเบียน
09.00-12.00 น. การบรรยายช่วงที่ 3 การปฏิรูปกฎหมายและบทบาทของกฎหมายต่อปัญหาท้าทายทางสังคม เศรษฐกิจและการเมือง
Dr. Pilar Domingo (Research Fellow, in Politics and Governance, Overseas Development Research Institute, UK)
Ms. Judith Bellis (General Counsel and Director, Judicial Affairs, Courts and Tribunal Policy Section, Department of Justice, Canada)
คุณชาญเชาว์ ไชยานุกิจ (รองปลัดกระทรวงยุติธรรม)
ร.ศ. ณรงค์ ใจหาญ (รองคณบดีฝ่ายวิจัย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)
พันตำรวจโท ดร.ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ (รองผู้กำกับการกลุ่มงานอุทธรณ์และฎีกา สำนักงานตำรวจแห่งชาติ)
คุณสมชาย หอมลออ (กรรมการปฏิรูปกฎหมาย) ดำเนินรายการ

12.00-13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน

13.00-15.30 น. สรุปสาระการสัมมนา โดย กรรมการปฏิรูปกฎหมาย

หมายเหตุ มีการแปลไทย-อังกฤษ-ไทย ตลอดรายการ


Create Date : 06 มีนาคม 2555
Last Update : 6 มีนาคม 2555 23:27:33 น. 2 comments
Counter : 1185 Pageviews.

 
รายงานสัมมนา วันที่ ๑๒ มี.ค.๕๕
คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) องค์กรอิสระ นักวิชาการ ตัวแทนนักวิจัยจากต่างประเทศ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมกว่า 100 คน ที่ห้องแกรนด์ฮอลล์ 2 โรงแรมรามาการ์เด้นส์ เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่12 มีนาคม

มีสาระน่าสนใจดังนี้

นางคอร์ริน เคาร์มาร์ตินนักวิจัยจากคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอาเบอร์ดีนประเทศอังกฤษ กล่าวบรรยาย "เรื่องความเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่เกิดขึ้นจากความขัดแย้ง และบทบาทของกฎหมายในการลดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคม" ว่า เครื่องมือด้านกฎหมายเป็นจุดเริ่มต้นในการพัฒนาเจ้าหน้าที่ด้านกฎหมาย ทำให้เกิดแนวโน้มการแก้ไขปัญหาเรื่องความไม่เท่าเทียมกันในมิติของกลุ่มต่างๆ
เป็นเรื่องสำคัญนำมาสู่เครื่องมือในการแก้ไขกฎหมาย แนวคิดเรื่องความเท่าเทียมกันเป็นเรื่องสลับซับซ้อนหลายมิติ การแก้ปัญหา
ต้องมีการจัดตั้งสำนักงานผู้ตรวจราชการสนับสนุนกลุ่มชนชั้นต่างๆ
ที่ไม่ได้รับความเท่าเทียมกัน เพื่อคัดค้านปัญหาการไม่เท่าเทียมกันในเรื่องสิทธิมนุษยชนตามรัฐธรรมนูญ

นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวว่า
กฎหมายอย่างเดียวไม่พอ ปัญหาอยู่ที่วิธีคิดและสังคมไทย
คณะกรรมการสิทธิฯไม่ใช่เพียงตรวจสอบ คุ้มครอง และจับผิดอย่างเดียว ตามรัฐธรรมนูญต้องเสนอกฎหมายคุ้มครองสิทธิมนุษยชนด้วย
และเสริมสร้างศักยภาพทางภาคพลเมืองขึ้น ขณะนี้สังคมไทยก้าวสู่ความขัดแย้งและความรุนแรง โดยเฉพาะความเลื่อมล้ำด้านเศรษฐกิจสังคม และการเมือง ส่วนประชาธิปไตยเป็นการต่อสู้ระหว่าง 2 กลุ่มคือ การยกฐานะของกลุ่มคนที่ได้มาจากการเลือกตั้งให้เป็นที่ยอมรับ
เพราะปฏิเสธการรัฐประหาร และกลุ่มคนที่มีจิตสำนึกในระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ กังวลว่าการเมืองเป็นสาเหตุการแบ่งแย่งอำนาจระหว่างกลุ่มนายทุนเก่าและนายทุนใหม่ ไม่ใช่การต่อสู้ระหว่าง 2 สี แต่เพราะทั้ง 2 สี ได้รับผลกระทบจากความไม่เป็นธรรม คปก. จึงต้องหาทางออกว่าจะแบ่งกันอย่างไรให้เท่าเทียมกัน เพราะหลักสิทธิมนุษยชนถูกทำลายมากที่สุด การเมืองเป็นระบบทุนนิยม
ผูกขาดผลประโยชน์จนเกิดการทุจริตคอร์รัปชั่น ทำให้เกิดประโยชน์ต่อนักการเมือง ตัวบริบทกฎหมายเป็นช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจน ส่วนกฎหมายอาญา มาตรา 112 ใครไปแตะก็หาว่าล้มล้างสถาบัน แต่จริงๆ คือการบังคับใช้กฎหมาย เป็นเครื่องมือทำลายล้างทางการเมืองจนนำไปสู่การตรวจสอบ เห็นว่าการยกเลิกกฎหมายไม่ถูกต้อง แต่ควรคิดว่าจะปรับปรุงบังคับใช้กฎหมายอย่างไร หลักการสำคัญในระบอบประชาธิปไตย ต้องป้องกันไม่ให้เกิดการใช้อำนาจมากเกินไปของเสียงข้างมาก และต้องยอมรับความเห็นต่างของเสียงข้างน้อย
กฎหมายทุกฉบับต้องยึดหลักสิทธิมนุษยชนและความเสมอภาค
แต่ประเด็นที่ยากคือขณะนี้การเมืองไทยทะเลาะเบาะแว้งกันต้องประสานความร่วมมือขององค์กรทุกภาคส่วนที่เป็นกลาง
สิ่งที่เป็นปัญหาสังคมคือนักกฎหมายบ้านเราไม่ได้มองในเชิงสิทธิมนุษยชน และนำหลักรัฐธรรมนูญเข้าไปประกอบ ซึ่งเป็นปัญหาความท้าทายกระบวนการยุติธรรม

นางศยามล ไกรยูรวงศ์ ผู้อำนวยการโครงการเสริมสร้างจิตสำนึกนิเวศวิทยา กล่าวว่า การใช้อำนาจรัฐเน้นแนวทางพัฒนาเศรษฐกิจแบบทุนนิยมโดยมีรัฐควบคุมดูแล จะเห็นได้ว่าเวลาออกกฎหมายมักจะมีคณะกรรมการเกิดขึ้นตามมาเสมอ โดยมีข้าราชการการเมืองเข้าไปมีส่วนร่วม แต่กฎหมายภาคประชาชนเกิดขึ้นช้าและไม่มีการออกกฎหมายใหม่ๆ มาหลายปีแล้ว ความเหลื่อมล้ำด้านสิทธิทางการเมือง กฎหมายการห้ามชุมนุม และกฎหมายมาตรา 112 คิดว่าเป็นเครื่องมือของเจ้าหน้าที่ในการเลือกปฏิบัติ สร้างความไม่เป็นธรรม
คดีสิ่งแวดล้อมประชาชนไม่มีโอกาสหาหลักฐานได้เลยในเรื่องสิทธิต่างๆ แม้แต่คดีปกครองที่ใช้ระบบไต่สวน ชาวบ้านไม่สามารถเขียนคำฟ้อง รวมทั้งพยานเอกสารและพยานบุคคลไม่สามารถเข้าถึงได้จึงทำแพ้คดี ส่วนคดีคุ้มครองผู้บริโภคก็ยังขาดการทำงานเชิงรุก

นายสมชาย หอมลออ คณะกรรมการ คอป.กล่าวว่า การแก้ตัวบทกฎหมายอย่างเดียวไม่พอต้องดูอำนาจต่อรองของประชาชนในการเสียโอกาสทำไม คอป. จึงไม่ขอให้รัฐบาลของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พิจารณาร่างกฎหมายเกี่ยวกับการชุมนุม เพราะจะเกิดผลเสียกับประชาชนที่ได้รับเดือดร้อน เช่น ชาวไร่ชาวนา แต่คงไม่สามารถนำไปใช้ในการชุมนุมทางการเมืองขนาดใหญ่ได้เพราะแม้แต่ประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ยังเอาไม่อยู่ ส่วนกฎหมายเกี่ยวกับการเลือกตั้ง เห็นว่าประชาชนชาวไร่ชาวนาที่อยู่บ้านตัวเองในปัจจุบันไม่สามารถไปเลือก ส.ส. อบต. หรือเทศบาล ในท้องที่ที่ตัวเองอยู่ได้
เพราะต้องไปเลือกตั้งในท้องที่ตามทะเบียนบ้านต่างจังหวัดซึ่งหลายปีถึงจะกลับไปทีทำให้พลังของประชาชนอ่อนแอลง

นางสุนี ไชยรส กรรมการปฏิรูปกฎหมายกล่าวว่า คปก.ยื่นร่างกฎหมายต่อสภารวม 26 ฉบับกฎหมายที่เข้าร่างต่อสภาตรงกับทาง คปก. เพียงแค่11 ฉบับ ส่วนกฎหมายเข้าชื่อนั้นมีการต่อสู้มายาวนาน เราเสนอร่างของ คปก. เป็นร่างของภาคประชาชน แต่กลับเอาร่างของรัฐบาลเป็นหลักจะทำให้ประชาชนต่อสู้ลำบาก ส่วนอีก 5 ฉบับ ที่เหลืออยู่ในวาระเร่งด่วน แต่ไม่ได้ถูกบรรจุเข้ามาพิจารณาจนใกล้จะปิดสมัยประชุมสภาแล้ว เช่น กฎหมายประกันสังคมกฎหมายผู้เสียหายทางการแพทย์ และกฎหมายเกี่ยวข้องกับ อบต. ยังไม่ได้ถูกหยิบยกขึ้นมาพิจารณา
อ้างว่าไม่มีร่างของรัฐบาลมาประกอบความจริงรัฐธรรมนูญไม่ได้ระบุเอาไว้ แต่ถึงจะมีร่างประกอบก็ไม่รู้จะหยิบมาเมื่อใดเพราะเป็นเรื่องระหว่างสภากับรัฐบาลที่จะตกลงกัน ในวันที่ 19 มีนาคม คปก. จะเชิญตัวแทนฝ่ายค้าน ฝ่ายรัฐบาลสภาผู้แทนราษฎร กระทรวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งตัวแทนภาคประชาชน มาพูดคุยกันว่าจะนำร่างฉบับดังกล่าวเข้าสู่วาระที่ประชุมทันหรือไม่เพราะเป็นเรื่องเร่งด่วน เพราะในวันที่ 18 เมษายน จะปิดสมัยประชุมสภาแล้ว

ส่วนกรณีการยุบองค์กรอิสระนั้น กังวลว่าองค์กรอิสระเกี่ยวกับด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพหากถูกยุบจะทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อนไปด้วย ขณะที่เรื่องการจัดตั้ง ส.ส.ร.ขอให้กระบวนการร่าง ส.ส.ร.มาจากความหลากหลายในแต่ละอาชีพ และสัดส่วนที่หลากหลาย
เพื่อให้เกิดความเห็นต่างและเพื่อให้แนวคิดทางการเมืองเกิดการถ่วงดุลกัน รวมถึงการทำประชามติ ไม่ใช่มาจากจังหวัดละ 1 คน
ถ้าหากจะแก้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับก็จะต้องมี ส.ส.ร.จากหลายส่วนที่เกี่ยวข้อง ไม่เช่นนั้นเสียงข้างมากของรัฐบาลอาจทำให้เกิดปัญหาได้
อย่างไรก็ตาม อำนาจออกกฎหมายเป็นหน้าที่ของสภา คปก.ไม่มีอำนาจสั่งการ ทำให้ไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของภาคประชาชน
เพราะกฎหมายหลายส่วนยังไม่เป็นธรรมและควรต้องได้รับการเปลี่ยนแปลงแก้ไข หวังว่าจะได้รับความร่วมมือจากภาคสังคมและองค์กรอิสระอื่นๆ ในการผลักดันเรื่องดังกล่าว


โดย: POL_US IP: 101.108.18.126 วันที่: 14 มีนาคม 2555 เวลา:9:06:34 น.  

 
ขอบคุณสำหรับบทความดีๆ ครับ


โดย: Coconut Dance : วันที่: 22 มีนาคม 2555 เวลา:19:05:56 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

POL_US
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 82 คน [?]




คลิ๊ก เพื่อ Update blog พ.ต.อ.ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ ได้ที่นี่
https://www.jurisprudence.bloggang.com






รู้จักผู้เขียน : About Me.

"เสรีภาพดุจดังอากาศ แม้มองไม่เห็น แต่ก็ขาดไม่ได้ "










University of Illinois

22 Nobel Prize & 19 Pulitzer Prize & More than 80 National Academy of Sciences (NAS) members







***คำขวัญ : พ่อแม่หวังพึ่งพาเจ้า

ครูเล่าหวังเจ้าสร้างชื่อ

ชาติหวังกำลังฝีมือ

เจ้าคือความหวังทั้งมวล



*** ความสุข จะเป็นจริงได้ เมื่อมีการแบ่งปัน :

Happiness is only real when shared!














ANTI-COUP FOREVER: THE END CANNOT JUSTIFY THE MEANS!






Online Users


Locations of visitors to this page
New Comments
Friends' blogs
[Add POL_US's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.