*** พื้นที่ส่วนตัวของ พันตำรวจเอก ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ รองผู้บังคับการกองคดีอาญา สำนักงานกฎหมายและคดี นี้ จัดทำขึ้นเพื่อยืนหยัดในหลักการที่ว่า คนเรานั้นจะมีความเป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์ได้ ก็ต่อเมื่อมีเสรีภาพในการแสดงความคิดโดยบริบูรณ์ และความเชื่อที่ว่าคนเราเกิดมาเสมอภาคและเท่าเทียมกัน ไม่มีอำนาจใดจะพรากความเป็นมนุษย์ไปจากเราได้ ไม่ว่่าด้วยวิธีการใด ๆ และอำนาจผู้ใด ***
*** We hold these truths to be self-evident, that all men are created equal, that they are endowed by their Creator with certain unalienable rights, that among these are life, liberty and the pursuit of happiness. That to secure these rights, governments are instituted among men, deriving their just powers from the consent of the governed. That whenever any form of government becomes destructive to these ends, it is the right of the people to alter or to abolish it, and to institute new government, laying its foundation on such principles and organizing its powers in such form, as to them shall seem most likely to effect their safety and happiness. [Adopted in Congress 4 July 1776] ***
Group Blog
 
All Blogs
 
ผลการพูดพล่อย ๆ กับ ข้อคิดเรื่องเกี่ยวกับเรื่อง นร.ทุนรัฐบาลไทย

วันนี้ มีสองเรื่องอยากจะบันทึกไว้ครับ


เรื่องแรก ก็คือ เรื่องคุณลุงที่ขับแท๊กซี่ ฆ่าตัวตาย คุณลุงท่าน ฆ่าตัวตาย เพื่ออุดมการณ์ คือ ประท้วงคำพูดของรองโฆษก คณะล้มล้างการปกครองประชาธิปไตย (คปค.) ที่ว่า ไม่มีใครมีอุดมการณ์ถึงขนาดพลีชีพเพื่อประชาธิปไตยได้ ผมขอยกย่อง สรรเสริญ ในความกล้าหาญ และความมั่นคง ในอุดมการณ์ของคุณลุงครับ

วันก่อน ผมเขียนอย่างนี้ บนชื่อ MSN ก็มีหลายคนถาม แล้วไม่ฆ่าตัวตาย ตามคุณลุงเขาเหรอ ..... เพราะเห็นยกย่องการฆ่าตัวตายจัง ...... แหม เล่นถามกันอย่างนี้ ต้องร่ายกันยาว ตามสไตล์ มีข้อแก้ตัวมากมายครับ ผมก็คนธรรมดาคนหนึ่งนั่นแหละ ที่รักตัวกลัวตาย แต่ก็พร้อมจะต่อสู้ตามวิถีทางที่เราเห็นว่ามันสมควร และสมเหตุสมผล

สำหรับคุณลุงท่านนี้ ท่านก็คงพิจารณาแล้วว่าเป็นวิถีทางที่ท่านจะทำได้ เพราะรองโฆษก คณะล้มล้างการปกครองประชาธิปไตย เล่นไปพูดจาพล่อย ๆ หยามเกียรติคุณลุงโดยใช้วิธีการสื่อมวลชน ทำให้ อับอายได้ทั้งประเทศ หากไม่แสดงให้เห็นว่า คุณลุงเป็นคนจริง คุณลุง ก็ตัดสินแบบนี้ ก็ต้องสรรเสริญกันครับ


-----------------------------------------------



พูดถึงเรื่องปากพล่อย ๆ นี่ นึกถึงสมัยตัวเองเป็นร้อยตำรวจตรีใหม่ ๆ นานมาแล้ว ประมาณ ๑๐ กว่าปีก่อน เพื่อนผมคนหนึ่งที่ทำงานด้วยกัน ท่านเป็นนายตำรวจฝึกงาน ที่สถานีตำรวจนครบาลลุมพินี ที่เดียวกับผมนี่แหละ ในวันนั้น มีคดีลักทรัพย์ ในร้านเซเว่น อีเลฟเว่น จำได้ว่า ราคาไม่กี่บาทหรอก (ไม่ถึงยี่สิบบาทด้วยซ้ำมั๊ง)

ได้เพื่อนกระผม ก็ทำการสอบสวนปากคำ ฯลฯ ผู้ต้องหา ก็เหมือนจะสำนึกผิด ร้องไห้ ฯลฯ เพราะคิดว่า อนาคตของตนคงหมดสิ้นกันแล้ว แต่ไอ้เพื่อนผมนี่ซิ มันก็หลุดปากไปว่า


"ตอนทำละไม่คิด"



ท่านทราบหรือไม่ครับว่า คืนนั้น เกิดอะไรขึ้นกับ ไอ้หนุ่ม คนที่มันเป็นผู้ต้องหาในคดีลักทรัพย์นั้น ....... ให้เดาก่อนครับ


....

....

....



ไอ้หนุ่มคนนั้น มันฆ่าตัวตายครับ วิธีการฆ่าตัวตาย ก็คือ ใช้เสื้อของตัวเอง ผูกกับลูกกรงเหล็กในห้องควบคุมของสถานีตำรวจ เข้ากับคอตัวเอง แล้วคว่ำหน้ากดทบที่ลำคอ ทำให้เลือดและอากาศไปเลี้ยงสมองไม่ได้ ก็ตายไปเรียบร้อยโรงเรียนเพื่อนผมไป .....

ทุกคนก็ตราหน้ามันว่า .... ไอ้ห่า เพราะมึงคนเดียว ไปเสือกพูดแบบนั้น ผู้ต้องหาฆ่าตัวตายเลย ....อันนี้เป็นตราบาป ติดแน่นฝังใจเพื่อนผมไปจนตายเหมือนกันครับ แต่ผมไม่รู้ว่า ไอ้เรื่องคุณลุงฆ่าตัวตาย นี่จะทำให้ไอ้คุณ รองโฆษก คณะล้มล้างประชาธิปไตย มันจะรู้สึกอะไรได้บ้างหรือเปล่าครับ




เรื่องที่สอง คือ เรื่องถกเถียงกันเรื่องนักเรียนทุนรัฐบาลไทย กับการชดใช้ทุนหรือหนีทุน ...... ผมได้สำเนากระทู้และความเห็นคนหลายคนมาแล้ว ให้ลองอ่านกันเล่น ๆ ครับ ข้างล่างนี้ครับ


--------------------------------------------------------

กระทู้ เรื่อง นร.ทุนรัฐบาล กับข้อคิดเรื่องการชดใช้ทุน (หรือการหนีทุน) (click)

แล้วท่านคิดเห็นกันอย่างไรบ้าง แชร์กันหน่อยก็ดีครับ


----------------------------------------------------------



กระทู้ : การเสียค่าปรับ ชดใช้ทุน

ไม่เคยใช้หลังไมค์ วันนี้ใช้เบราว์เซอร์ไฟร์ฟอกซ์ตัวใหม่
ลองกดดู จึงรู้ว่า มีคนถามหลังไมค์ ก็เลยขอตอบ ให้รู้กัน
เรื่อง การเสียค่าปรับ ชดใช้ทุน นี้ มีอยู่ว่า คนลาราชการไปเรียน ๒ ปีกว่า ทำสัญญาว่า ต้องทำงานชดใช้เป็นเวลา ๒ เท่า แต่ต้องไม่น้อยกว่า ๓ ปี มิฉะนั้นจะถูกปรับเป็นเงิน ๓ เท่า พอกลับไปทำงานใช้แค่ ๒ ปี ก็ลาออก แล้วก็ฟ้องศาลกัน ศาลชั้นต้น ตัดสินให้ชดใช้ เป็นเงิน ๓ เท่าเต็มตามจำนวน พร้อมดอกเบี้ยศาลอุทธรณ์ ตัดสินให้ชดใช้ ตามอัตราส่วน เพราะทำแล้ว ๒ ปี เหลืออีกราว ๑ ปี ก็จะครบตามสัญญา จึงให้ชดใช้เพียง ๑ ใน ๓ ศาลฏีกาสูงสุด ก็ยืนตามศาลอุทธรณ์ เป็นคำพิพากษาของ ศาลฏีกาที่ ๓๖๗/๒๕๒๒ คำพิพากษานี้จึงเป็นเหมือนกฏหมาย ที่ใช้กันสืบมา เรื่องนี้ ตามคำพิพากษาศาลฏีกา ลาออกจากราชการ เมื่อปลายปี ๒๕๑๗ ดังนั้นก็ใช้เวลา ราว ๕ ปี

-----------------------------------------------------------


ความคิดเห็นที่ 1

มีกรณีเขิน ถามหลังไมค์ด้วยเหรอครับ ขอนอกเรื่องคำพิพากษา แล้วกันครับ เหมือนแชร์ ความคิดเห็นกัน

ผมว่า ไม่ค่อยแฟร์ สำหรับประเทศ และบุคคลอื่น ๆ เท่าไหร่นะครับ สำหรับผู้ที่จะไม่กลับไปทำงาน และช่วยเหลือประเทศ .... โดยเฉพาะพวกที่หนีทุน แล้วปล่อยคนค้ำประกัน เลือดตาแทบกระเด็น อะไรทำนองนั้น ยิ่งแย่เข้าไปใหญ่

แต่ก็ยังดีนะครับ ที่ยังคิดว่าจะชดใช้ เป็นเงินทอง แทน ซึ่งเอาเข้าจริง ๆ ผมว่า ประเทศเราก็ไม่ได้ต้องการได้เงินได้ทอง จากการค่าปรับ ดอกเบี้ย ฯลฯ อะไรหรอกครับ เขาคงอยากได้คนไปพัฒนาประเทศชาติมากกว่าครับ

ปล. เห็น นร.ทุน บ่นกันจังเลยว่า เป็นสัญญาทาส ....... โอ้ ตอนเซ็นต์ก็อ่านออกนะครับว่ามันบังคับอย่างไร แต่ตอนจะต้องชดใช้ บอกว่า มันเป็นสัญญาทาส ... เข้าใจยากครับ

จากคุณ : POL_US - [ 1 พ.ย. 49 08:03:49 ]


ความคิดเห็นที่ 2

มาบอกว่าชอบจริง ๆ ท่อนที่ว่า "โอ้ ตอนเซ็นต์ก็อ่านออกนะครับว่ามันบังคับอย่างไร แต่ตอนจะต้องชดใช้ บอกว่ามันเป็นสัญญาทาส" เห็นภาพความเห็นแก่ตัวของคนประเภทนี้เลยแหละครับ

ตอนผมได้ทุนมาเรียน แค่สี่เดือน ผมต้องใช้ทุนปีหนึ่ง ผมก็บ่นแทบแย่ บ่นเพราะว่าคิดว่ามันไม่แฟร์ เพราะทุนที่ผมมานั้น ไม่ใช้ทุนของรัฐบาลไทย เป็นทุนของ US.State Department แต่ก็ไม่คิดแหกทุน ที่บ่นก็บ่นไปตามประสา

มีพี่ที่รู้จักคนหนึ่ง ค้ำประกันให้นักเรียนทุน เจอหนีตอนนี้ก้มหน้าก้มตาใช้หนี้หัวโต

หัวใจเลว ๆ ของคน บอกตรง ๆ ว่าดูยากครับ ถ้ามองว่าคนเรารักประเทศเท่ากัน แต่พอนึกถึงตัวเอง ก็รักตัวเองมากกว่า

มันเป็นเช่นนี้มาเนิ่นนาน และจะเป็นเช่นนี้ไปอีกนาน โชคดีตรงที่ว่า คนหัวใจเลว ๆ แบบนี้ มีไม่เยอะ เพราะมีนักเรียนทุนอีกเยอะมากที่กลับไปทำงานใช้ทุน พัฒนาประเทศอย่างจริงจังตามกำลังความสามารถ ในสาขาที่ตนเองรำเรียนมา

ที่เห็นคือ นร.ทุน ของ พสวท. มีอาจารย์มหาวิทยาลัยนับร้อยคนที่กลับไปสอนหนังสือใช้ทุนอย่างมุ่งมั่น ของส่วนราชการอื่น ๆ ก็คงมีอีกมากเช่นเดียวกัน

ผมว่า ท้ายที่สุด นร.ทุนหัวใจเลว ๆ ที่หนีทุนนั้น มันก็มีส่วนดีอยู่บ้างคือ ทำให้เราเห็นชัด ๆ ว่า นร.ทุนเลว ๆ เป็นแบบไหน

จากคุณ : ScaRECroW - [ 1 พ.ย. 49 08:24:55 A:69.255.141.91 X: ]


ความคิดเห็นที่ 3

ก่อนจะไปนี่ ยังไม่เห็นอนาคตตัวเอง ยังไม่มีแฟน ก็เลยยอมเซ็นสัญญาทุกอย่าง จะสัญญาทาสอย่างไรก็ยอม
แต่พอเรียนจบแล้ว เริ่มเห็นอนาคตที่ดีกว่า เริ่มมีแฟนฝรั่ง ก็เลยเห็นสัญญาที่เซ็นไปแล้วเป็นสัญญาทาส
อยากจะดิ้นรนอยู่เมืองนอก ไม่ยอมกลับบ้านเกิด

จากคุณ : ช่างไฟ - [ 1 พ.ย. 49 08:55:36 ]


ความคิดเห็นที่ 4

Before signing and at present, my attitudes towards the signed contract are still intact--- a fair one...

จากคุณ : amatuer translator - [ 1 พ.ย. 49 10:59:28 ]

ความคิดเห็นที่ 5

ผมไม่เห็นด้วยกับคุณช่างไฟ ตรงที่บอกว่า "ก่อนจะไปนี่ ยังไม่เห็นอนาคตตัวเอง" เฉพาะตรงนี้ ส่วนอื่นก็โอเค

ที่ไม่เห็นด้วยนี่ ก็เพราะว่า คนพวกนี้มันต้องเห็นอนาคตบ้างหล่ะ มันต้องเห็นว่า รับทุนไปเรียนต่อเมืองนอก มันต้องมีอนาคตที่ดีกว่าเรียนด้วยทุนตัวเองที่เมืองไทย มันต้องคิดแน่ ๆ ว่า อย่างน้อยกลับมาก็มีงานทำ

แต่เหตุผลหลัง ๆ ที่คุณช่างไฟบอกมานั่นก็ "น่าจะ" มีความเป็นจริงไม่มากก็น้อย

จากคุณ : ScaRECroW - [ 1 พ.ย. 49 12:09:29 A:69.255.141.91 X: ]


ความคิดเห็นที่ 6

ค่อนข้างเห็นด้วยกับคุณช่างไฟครับ ตามนั้น

จากคุณ : Bungy Jumper - [ 1 พ.ย. 49 12:14:16 ]


ความคิดเห็นที่ 7

เวลาสถานการณ์ อาจทำให้คนเราเปลี่ยนไป ดังนั้นใครจะไม่กลับไปใช้ทุน เราก็ไม่ว่า และเรา ก็ไม่ชม คนที่กลับไปใช้ทุน เพราะเราก็ไม่รู้ว่า การทีเขากลับ เขาเต็มใจกลับหรือเปล่า เขาอาจจะจำใจกลับ เพราะไม่มีทางเลือก ก็ได้
คนที่ไม่กลับ และไม่ยอมชดใช้ ทำให้คนประกันต้องชดใช้แทน เราก็ไม่ว่า เพราะมันเป็นเรื่องของเขา เราไม่ได้เสียเงิน เราก็คิดว่าเราไม่มีสิทธิอะไรที่จะไปว่าเขา

จากคุณ : ธนิตา - [ 1 พ.ย. 49 14:13:37 ]


ความคิดเห็นที่ 8

ขนาด ใช้ทุนของคุณเตี่ย ไม่มีสัญญาผูกมัด ไม่โดนบังคับให้ใช้เงินคืน น้องสงสัย ยังคิดเลย ว่าเรียนจบแล้ว เงินเดือนที่ได้ จะให้ให้คุณเตี่ยกับแม่ ครึ่งนึง ทั้งชีวิต !!!!

(ถ้าไม่พอใช้ ก็ต้องหางานอื่นทำด้วย จนกว่าจะพอใช้

แต่ก็จะยังให้ครึ่งนึงของรายได้เหมือนเดิม )

มากกว่า สัญญาทาส ที่คนบางคนไม่พอใจอีกนะเอ้ออออ

จากคุณ : น้องสงสัย - [ 1 พ.ย. 49 14:29:56 A:64.31.188.11 X: TicketID:103567 ]


ความคิดเห็นที่ 9

เราว่าขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของแต่ละบุคคล เราตัดสินแทนคนอื่นไม่ได้หรอกว่า คนกลับไปใช้ทุนบางคนจิตใจดีจริง คนไม่กลับไปใช้ทุนทุกคน เลวไปหมด

เพื่อนเราหลายคนกลับไปใช้ทุน ทำงานไปวันๆ ไม่ใช่เพราะมันอยากรับใช้ประเทศหรือมีอุดมการณ์ ์แต่มันบอกว่าเพราะไม่มีปัญญาจ่ายตังค์คืนต่างหาก

พวกที่ไม่กลับไปใช้ทุน เพราะเหตุผลอะไรก็แล้วแต่ ก็ต้องใช้เงินไปตามระเบียบ

ส่วนอ้ายที่แย่ๆ ให้คนค้ำประกันใช้หนี้ อย่างนั้นน่ะเลวของแท้

จากคุณ : OSaKet - [ 1 พ.ย. 49 15:28:09 ]


ความคิดเห็นที่ 10

หมายเลขคำพิพากษา ตอนชดใช้ เกี่ยวกับเรื่องดอกเบี้ย และการผ่อนส่งนั้น ค้นหาไม่พบ แต่จำได้ว่า ศาลให้เหตุผลว่า เมื่อตอนรับทุน ไม่ได้รับเป็นเงินก้อนทีเดียวหมด ดังนั้น ตอนชดใช้จึงไม่จำเป็นที่จะต้องใช้ทั้งก้อนทีเดียว ดังนั้น ถ้าเจรจาผ่อนส่งกับทางการแล้วตกลงกันไม่ได้ ก็ให้ทางการฟ้อง แล้วก็สู้กันในศาล

จากคุณ : ธนิตา - [ 1 พ.ย. 49 17:25:36 ]


ความคิดเห็นที่ 11

เวลาสถานการณ์ อาจทำให้คนเราเปลี่ยนไป ดังนั้นใครจะไม่กลับไปใช้ทุน เราก็ไม่ว่า และเรา ก็ไม่ชม คนที่กลับไปใช้ทุน เพราะเราก็ไม่รู้ว่า การทีเขากลับ เขาเต็มใจกลับหรือเปล่า เขาอาจจะจำใจกลับ เพราะไม่มีทางเลือก ก็ได้
คนที่ไม่กลับ และไม่ยอมชดใช้ ทำให้คนประกันต้องชดใช้แทน เราก็ไม่ว่า เพราะมันเป็นเรื่องของเขา เราไม่ได้เสียเงิน เราก็คิดว่าเราไม่มีสิทธิอะไรที่จะไปว่าเขา

จากคุณ : ธนิตา

...คุณคิดถึงตัวคุณแค่นั้นหรือคะ ว่าคุณไม่เดือดร้อน แล้วไม่เป็นไร ก็เลยไม่ว่าใคร และประเทศชาติเป็นไง นี่ห่วงบ้างไหมคะ

...ถ้าคิดแค่ตัวเอง เรียกอีกคำได้ไหมคะว่า "คิดถึงแก่ตัวเอง" หรือ"เห็นแก่ตัวเอง" หรือสั้นลงหน่อยก็คือ "เห็นแก่ตัว"

...เราอยู่เย็นเป็นสุขทุกวันนี้ เพราะมีคนดี คนเสียสละ คนนึกถึงส่วนรวม และคนที่รักษาสัญญาอยู่รอบๆตัว เราจะเป็นหนึ่งในนั้นบ้างไม่ได้เชียวเหรอคะ เพื่อสร้างสิ่งที่ดีให้แก่คนรุ่นต่อไป

จากคุณ : ตาน - [ 1 พ.ย. 49 20:22:49 A:81.165.126.102 X: TicketID:105576 ]


ความคิดเห็นที่ 12

"...ซึ่งเอาเข้าจริง ๆ ผมว่า ประเทศเราก็ไม่ได้ต้องการได้เงินได้ทอง จากการค่าปรับ ดอกเบี้ย ฯลฯ อะไรหรอกครับ เขาคงอยากได้คนไปพัฒนาประเทศชาติมากกว่าครับ

ปล. เห็น นร.ทุน บ่นกันจังเลยว่า เป็นสัญญาทาส ....... โอ้ ตอนเซ็นต์ก็อ่านออกนะครับว่ามันบังคับอย่างไร แต่ตอนจะต้องชดใช้ บอกว่า มันเป็นสัญญาทาส ... เข้าใจยากครับ

จากคุณ : POL_US


...เห็นด้วยอย่างแท้จริง ... เราว่าควรมีการทดสอบเรื่องจริยธรรมของผู้สมัครรับทุนด้วย ...คนเก่งอย่างเดียวพัฒนาชาติไม่ได้หรอกคะ จริยธรรมก็สำคัญมาก

จากคุณ : ตาน - [ 1 พ.ย. 49 20:27:11 A:81.165.126.102 X: TicketID:105576 ]


ความคิดเห็นที่ 13

ก่อนจะไปนี่ ยังไม่เห็นอนาคตตัวเอง ยังไม่มีแฟน ก็เลยยอมเซ็นสัญญาทุกอย่าง จะสัญญาทาสอย่างไรก็ยอม
แต่พอเรียนจบแล้ว เริ่มเห็นอนาคตที่ดีกว่า เริ่มมีแฟนฝรั่ง ก็เลยเห็นสัญญาที่เซ็นไปแล้วเป็นสัญญาทาส
อยากจะดิ้นรนอยู่เมืองนอก ไม่ยอมกลับบ้านเกิด

จากคุณ : ช่างไฟ

...เข้าใจเลย ตอนแรกยังไม่มีอะไร ยังไม่ลืมตาอ้าปาก ได้ทุนไปเรียนเมืองนอก ประหยัดค่าใช้จ่ายไปหลายล้าน
พอเรียนจบ มีทางเลือกมากมาย ก็เลือกอย่างมักง่าย เลือกอย่างที่อำนวยผลประโยชน์ให้ตัวเองมากที่สุด โดยลืมไปว่าสัจจะและความกตัญญูคือค่าของความเป็นคน

(อันนี้พูดถึงเฉพาะคนที่หนีทุนนะคะ)

จากคุณ : ตาน - [ 1 พ.ย. 49 20:33:57 A:81.165.126.102 X: TicketID:105576 ]


ความคิดเห็นที่ 14

คนที่หนีทุนจริงๆ (แบบหนีไปเลย ไม่กลับมาแล้ว) ตอนนี้แทบจะไม่มีแล้วมั้งคะ เพราะเค้าบังคับให้คนที่เซ็นต์สัญญาต้องเป็นพ่อแม่เท่านั้น

ส่วนคนที่ใช้คืนเป็นเงิน 3 เท่า อันนี้ก่อนเราจะไปตัดสินเค้า ก็ต้องดูด้วยว่าเคสเค้าเป็นอย่างไร ถ้าประเภทต้องใช้ทุนแค่ไม่กี่ปี (3-4 ปี) แค่นี้แต่ก็ไม่ยอมทำเนี่ย แบบนี้ก็สมควรประณามอย่างที่ คห. บนๆว่า

แต่บางรายต้องใช้ทุน 15-20 ปี เพราะรับทุนมาตั้งแต่มัธยมจนจบ ป.เอก (ไม่จบก็ไม่ได้ด้วย) อะไรแบบนี้ ถ้าเค้าทำไปแล้วสัก 10 กว่าปี แบบนี้ก็น่าเห็นใจนะคะ
อีก factor นึงที่ต้องทำมาคิดด้วยคือ ...สำหรับคนที่รับทุนมาตั้งแต่ม.ต้นแบบเนี้ย ตอนนั้นที่เค้าตัดสินใจรับทุน อายุแค่ 14 ปีนะคะ เพราะเด็กมากขนาดนั้น มาเซ็นต์สัญญาผูกมัดชีวิตตัวเองเป็นสิบยี่สิบปี ต้องใช้ทุนไปถึงอายุ 40-50 โน่น..

ถึงกระนั้นก็ตาม หากคุณทนได้ คุณก็ควรจะทน ไหนๆคุณก็เซ็นต์สัญญานั่นมาแล้ว however young, silly and innocent you were...
.........

ป.ล. บางคนก็ต้องเลิกรากับคนรัก...........

จากคุณ : shory - [ 1 พ.ย. 49 22:13:54 ]


ความคิดเห็นที่ 15

เห็นด้วยกับคุณธนิตา #7 และคุณ Osaket #9 ผมคิดว่าคนบางประเภทถ้ากลับไปทำงานใช้ทุนแบบเช้าชามเย็นชาม เข้าไปแ้ล้วก็ไม่ได้ตั้งใจทำงาน หรือเข้าไปแล้วก็ทำงานนอกมากกว่างานหลัก คนแบบนั้นบางทีถ้าเขาเลือกจะจ่ายเงินคืนอาจจะคุ้มค่าภาษีอากรมากกว่า ต้องดูเป็นกรณี ๆ ไป จะมาเหมารวมไม่ได้

เท่าที่สังเกต ส่วนใหญ่คนที่เลือกจะไม่กลับมาใช้ทุน เขาไม่ได้มีปัญหาเรื่องการเงินหรือความโลภในทรัพย์สินเงินทอง อย่างที่คนมักจะเข้าใจ แต่ปัญหาสำคัญที่ทำให้คนต้องผิดสัญญามักจะมาจาก"ปัญหาความรัก" "ปัญหาครอบครัว" โดยเฉพาะถ้าเป็นนักเรียนทุนผู้หญิง แล้วไปได้แฟนเป็นคนต่างชาติ หรือคนที่เขาไม่พร้อมจะกลับไปอยู่เมืองไทยด้วยกัน ตรงนี้เราต้องเข้าใจเขา การออกมาด่า ว่าเขาเลวอย่างโน้นอย่างนี้ มันง่ายกว่าการที่คุณต้องอยู่ในสถานการณ์แบบนั้นด้วยตัวเองอยู่แล้ว

ผมอ่านแล้วก็ตลกในความเห็นต่าง ๆ เรื่องรักชาติ ช่วยชาติ (ไม่ได้เฉพาะหมายถึงความเห็นในกระทู้นี้) นักเรียนทุนแต่ละคนที่ใช้เอาทุนประเทศไปใช้ จริง ๆ ก็คนละสัก 10 ล้านได้ ก็ไม่ได้มากมายอะไร เมื่อเทียบกับการถลุงเงินของนักการเมือง นักการทหาร การทำให้ประเทศชาติเสียหายจากการปฏิวัติ แต่ก็ไม่เห็นจะมีใครมีทีท่าว่าจะเดือดร้อนกัน แต่ไปหงุดหงิดกับเงินเล็ก ๆ น้อย ๆ หลักสิบล้าน แทนที่จะเอาสติปัญญามาคิดป้องกันแก้ไข ว่าทำยังไงเราถึงจะป้องกันไม่ให้มีการปฏิวัติรัฐประหาร ป้องกันไม่ให้ทหารมันโกงชาติ ไม่ให้นักการเมืองโกงกิน ป้องกันไม่ให้มีการปฏิวัติที่ทำให้ประเทศเสียหาย ... น่าจะช่วยกันคิดหน่อย ถ้ารักชาติจริง ๆ อ่ะนะ

จากคุณ : B.F.Pinkerton - [ 1 พ.ย. 49 22:20:35 ]


ความคิดเห็นที่ 16

อีกอย่างโดยส่วนตัวของผมนะ ผมยกย่องคนที่กลับมาใช้ทุน แต่ไม่ทุกคนนะ คนที่ผมยกย่องจะมีลักษณะนี้

1. คนที่มีทางเลือกที่ดีมาก ๆ แต่เลือกจะกลับมาใช้ทุน ผมเคยเจอหลายคนที่เก่งมาก ๆ เก่งขนาดบริษัทที่ปรึกษาต่าง ๆ ยอมจ่ายเงินค่าชดใช้ทุนให้ หรือมีทางเลือกที่ยอดเยี่ยมกับการทำงานในต่างประเทศ บางคน เก่งขนาด Harvard/MIT อยากให้เป็นอาจารย์ที่นั่น แต่เขาก็ยังเลือกจะกลับมาใช้ทุนในไทย
ผมยกย่องคนแบบนี้มากที่สุด มากกว่าคนที่ต้องกลับมาใช้ทุนเพราะตัวเองไม่ได้มีโอกาสแบบนั้น (คนที่อยากหนี แต่ไม่มีใครเอา)

2. คนที่มีอุดมการณ์มาก ๆ ในการต้องการกลับมาพัฒนาประเทศชาติ คนพวกนี้บางทีเราก็ต้องใช้เวลาศึกษาพูดคุยคบหากัน ถึงจะรู้ รู้จักแบบผิวเผินไม่ได้ คนพวกนี้ผมก็นับถือเขามาก ก็พอเจอบ้างในกลุ่มนักเรียนทุน บางคนก็ยอมเสียสละคนรัก เพื่อการต้องกลับมาทำงานที่เมืองไทย

3. นักเรียนทุนแบบเช้าชามเย็นชาม ตั้งใจเรียน ๆ ให้จบ ๆ กลับไปทำงาน ใช้ทุนจริง แต่ไม่ได้มีความคิด หรือมีอุดมการณ์เพื่อประเทศอะไรแบบลึกซึ้ง ก็เป็นคนที่ทำตามกฎเกณฑ์ ชีวิตเรียบร้อย มีระเบียบ ก็ดีครับ แต่ผมก็เฉย ๆ ไ่่ม่ได้รู้สึกตื่นเต้นอะไร ก็โอเครับได้ แต่ไม่ถึงขั้นชื่นชม นักเรียนทุนส่วนใหญ่ที่ผมเห็นจะอยู่ในกลุ่มนี้

4. เรื่องนักเรียนใช้ทุนไม่ครบ จ่ายเป็นเงินคืน ผมว่าก็เป็นไปตามกฎหมาย ไม่ได้รู้สึกว่าแย่อะไร อย่าง ดร.ศุภชััย พาณิชภักดิ์ ก็ยังทำงานใช้ทุนที่ BOT ไม่ครบ จ่ายเงินออกมาก่อน ก็เห็นท่านก็ทำประโยชน์ให้ประเทศชาติได้มากมาย ดังนั้นมันจึงตื้นเขินไป ถ้าจะตัดสินแค่ว่าการทำประโยชน์ให้ประเทศคือการรับราชการเท่านั้น???

แค่ความเห็นผมนะ ไม่เห็นด้วยไม่เป็นไร
แก้ไขเมื่อ 01 พ.ย. 49 22:52:20

จากคุณ : B.F.Pinkerton - [ 1 พ.ย. 49 22:48:41 ]


ความคิดเห็นที่ 17

ใครบอกว่าคนที่ไม่กลับไปใช้ทุนหรือหนีทุนก็เป็นเรื่องของเขา ไม่เกี่ยวอะไรกับคนไทยคะ

อย่าลืมว่าเงินที่เขาใช้เรียนใช้กินอยู่ทุกวันเป็นปีๆ บางทีถึง 10 ปีน่ะ ก็มาจากภาษีของพ่อแม่พวกเราและพวกไทยที่ทำงานเสียภาษีทั้งนั้น ตอนจะไปใครห้ามก็คงไม่ได้เพราะอยากไปเรียนเมืองนอก ตอนนี้หลังจากที่ร่ำเรียนมามีวิชาความรู้ จะมาบอกว่าตอนนั้นอายุน้อย ยังไม่ทันได้คิดอะไรก็คงไม่ได้ ถึงคนนั้นจะได้รับทุนตรี-โท-เอก แต่ไม่มีใครไปบังคับเขานี่คะหากไม่อยากเรียน จะเรียนแค่โทก็ได้ จะได้ลดเวลาการใช้ทุนลงอีกหน่อย แต่ที่เขาเลือกเรียนต่อเอกกันก็เพราะเห็นแล้วว่ามันได้ประโยชน์กับตัวเองทั้งๆ ที่เรียนกันอีกตั้งหลายปี รัฐบาลไทยไม่ได้อยากได้เงินคืน แต่เราอยากได้บุคลากรที่มีคุณภาพไปช่วยพัฒนาประเทศชาติต่างหากล่ะคะ

เป็นความเห็นส่วนตัวค่ะ ไม่ว่าอะไรถ้าใครไม่เห็นด้วย

จากคุณ : the Vicky - [ 2 พ.ย. 49 02:18:29 ]


ความคิดเห็นที่ 18

มันต่างจิตต่างใจนะ แต่สำหรับผมแล้ว ผมว่าเรื่องนี้มันเป็นเรื่องของ "จริยธรรมประจำใจ"

ได้สังเกตเห็น คนจะหนีทุนนี่ ก็มักจะมีข้ออ้างสารพัด ซึ่งไม่ว่าอะไรก็แล้วแต่ มันฟังยาก และเข้าใจยาก เพราะถ้าคุณไม่มา ก็คงมีคนอยากมา และอยากไปทำงานเพื่อบ้านเมือง แม้จะเป็นเพียงส่วนประกอบเล็ก ๆ ก็ตาม

ส่วนจะอ้างอะไรนี่ อ้างได้หมดนั่นแหละ หลักการจึงเป็นเรื่องสำคัญกว่า เหตุผลส่วนตัว และจะอ้างว่า อยู่เมืองนอกทำประโยชน์มากกว่า ก็มีตัวอย่างให้เห็นเยอะแยะไป แต่ มันคนละเรื่องกันครับ ..... จะรวมกันเป็นเรื่องเดียวไม่ได้

มันเป็นปัญหาเรื่องจริยธรรมมากกว่าปัญหาเรื่องอื่น ๆ เหมือนกันเรายอมรับ รัฐประหารนั่นแหละ ว่ามันทางออกของชาติ .... ซึ่งมันคนละเรื่องกัน กลับหลักการของประชาธิปไตย แม้มันจะจริงว่า รัฐประหาร จะมีผลดี แต่มันก็เป็นผลดีระยะสั้น ๆ และทำลายหลักการและ จริยธรรมประจำใจไปหมด ... ซึ่งเป็นผลเสียระยะยาว

สำหรับ เรื่องการหนีทุน ไม่ว่าจะเหตุผลอะไร ...... ไม่สรรเสริญ ทุกกรณีครับ
แก้ไขเมื่อ 02 พ.ย. 49 05:40:25

จากคุณ : POL_US - [ 2 พ.ย. 49 05:27:58 ]


ความคิดเห็นที่ 19

ชื่มชม น้องสงสัย มาก ๆ คนไทยเรา ความกตัญญู เป็นสิ่งสำคัญ ผมเชื่อว่า เมื่อน้องสงสัยเรียนจบกลับไป วันไหนน้องสงสัยโดนเตี่ยหรือแม่ดุ น้องสงสัยก็คงไม่อาศัยเป็นข้ออ้างเลิกการตอบแทนพระคุณท่านทั้ง 2 แน่ ๆ

ได้เห็น "หัวใจ" งาม ๆ ก็เป็นสิ่งดี เพราะเมื่อกลับหลังหันในเรื่องเดียวกัน มันทำให้เห็นอีกเหมือนกันว่า หัวใจ "ทราม ๆ" มันเป็นอย่างไร

จากคุณ : ScaRECroW - [ 2 พ.ย. 49 05:41:04 A:63.76.233.2 X: ]


ความคิดเห็นที่ 20

ก็เพราะคนเรามี bad faith อยู่ในใจกันทุกคนนี่ครับ

ถ้าบริสุทธิ์ใจจริงก็ไม่ต้องมีการมาปรับสามเท่าสี่เท่าหรอก

จากคุณ : praphrut608 - [ 2 พ.ย. 49 10:12:28 ]

ความคิดเห็นที่ 22

>>ซึ่งเอาเข้าจริง ๆ ผมว่า ประเทศเราก็ไม่ได้ต้องการได้เงินได้ทอง จากการค่าปรับ ดอกเบี้ย ฯลฯ อะไรหรอกครับ เขาคงอยากได้คนไปพัฒนาประเทศชาติมากกว่าครับ
------
เราไม่โทษนักเรียนทุนหรอก โทษระบบราชการมากกว่า ถ้ามันน่าดึงดูดจริง ไม่ต้องบังคับกันหรอก เค้าก็กลับมา
แต่ที่ไม่อยากกลับอยากหนีกัน แทนที่จะโทษๆแต่นักเรียนทุน ทำไมก.พ.ไม่หันมามองระบบราชการบ้างไหม ว่าทำไมนักเรียนทุนไม่อยากกลับมาทำ หรือนักเรียนที่ใช้ทุนเสร็จแล้วทำไมลาออก

ทุกคนทำเพื่อตัวเอง เราไม่เห็นมองว่ามันเป็นเรื่องเลว เมื่อท้องไม่อิ่ม แล้วจะเอากำลังที่ไหนไปทำให้ประเทศชาติ ไม่มีใครเกิดเป็นข้าทาสใคร ก่อนจะโทษๆใคร ถามตัวเองดูบ้างดีไหม ว่าทำไมเค้าถึงคิดแบบนั้น ทำแบบนั้น ใครมันจะเลวโดยกำเนิด มันต้องมีเหตุผลบ้างแหละ

>>ปล. เห็น นร.ทุน บ่นกันจังเลยว่า เป็นสัญญาทาส ....... โอ้ ตอนเซ็นต์ก็อ่านออกนะครับว่ามันบังคับอย่างไร แต่ตอนจะต้องชดใช้ บอกว่า มันเป็นสัญญาทาส ... เข้าใจยากครับ
----

ก่อนอื่นขอบอกว่าไม่เห็นด้วยมากๆกับคนที่หนีทุน ขอประณามด้วย แต่กับการรับผิดชอบด้วยเงินแล้วมาประณามนี่ เราว่ามันเกินไป ถามง่ายๆสิ่งที่คุณคิดเมื่อสิบปีที่แล้ว กับตอนนี้ มันเหมือนกันหมดทุกอย่างรึเปล่า สมมติสิบปี่ที่แล้ว คุณอยากเป็นหมอ ผ่านไปสิบปีคุณเห็นอะไรมากขึ้น จะเปลี่ยนใจมันจะแปลกอะไร คนเราซื้อของมา วันรุ่งขึ้นบางทียังอยากคืนเลย เพราะซื้อ under influence น่ะ
เหมือนกัน นักเรียนพวกนี้ มีโอกาสทางการศึกษามาหลอกล่อตรงหน้า ก็ตัดสินใจ under influence เหมือนกัน
หลายคนมองเผินๆ แล้วบอกว่าเรียนจบแล้ว ต้องกลับมาทำงาน ไม่มีสิทธิเบี้ยว ใช้เป็นเงินก็ไม่ได้ เลว ก่อนไปสัญญาก็อ่าน ถามว่าคุณมองอะไรเป็นทฤษฎีไปรึเปล่า มันง่ายนิ มาชี้นิ้วตัดสินชีวิตคนอื่นตามที่ตัวเองคิดว่ามันควรจะเป็น
แต่ลืมไปว่าชีวิตคนมันมี factor อะไรเยอะแยะ ทุกคนก็มีเหตุผลและความจำเป็นของตัวเอง ลืมไปว่าตัวเอง ถ้าตกอยู่ในสภาพเดียวกัน ก็อาจจะเลือกทำแบบเดียวกัน
ก่อนจะชี้นิ้วด่าใคร จะดีกว่าไหม ถ้าจะตั้งคำถามและปรับปรุง ว่าทำไมนรท.เรียนจบแล้วไม่อยากทำราชการ ทั้งๆที่ก่อนไปก็ได้อ่านสัญญากันทุกคน เช่น ราชการ อาจจะให้เงินเดือนเพิ่มไม่ได้ แต่มีอย่างอื่นมาดึงดูดแทนได้ไหม
ทุกวันนนี้บอกตรงๆ มี นรท.เยอะแยะที่กลับมาทำงานใช้ทุน ไม่ได้เบี้ยว ไม่ได้ใช้เป็นเงิน แต่ทำไปแบบ ไม่มีความสุข รอวันใช้ทุนหมด

จากคุณ : the med - [ 2 พ.ย. 49 11:07:19 A:203.152.15.3 X: TicketID:030771 ]


ความคิดเห็นที่ 23

ท่าน the med ดูจะร้อนแรงมากเลยนะครับ ส่งข้อความสองอันเลย

ก็ผมบอกแล้ว ว่ามันนานาจิตตัง และส่วนตัวก็มองว่ามันเป็นปัญหาทางจริยธรรม .... เพื่อนผมที่ได้ทุนมาจากรัฐบาล หรือ บริษัทเอกชนของญี่ปุ่นเขานี่ ก็ไม่เคยมีสัญญาอะไรเลย แต่พวกเขามีสำนึก และจริยธรรม โดยบอกว่า มันเป็นพันธะทางศีลธรรมจรรยา (Moral obligation) ที่จะต้องทำงานตอบแทนให้คืนอย่างเต็มกำลัง

แต่ผมเห็นด้วยกับ คุณ the med ข้อหนึ่งละครับ ว่า สำนักงาน ก.พ. หรือ ก.พ.ร. หรือ รัฐบาล จะต้องหันมาพิจารณาถึงสาเหตุด้วยว่า ทำไม เขาจึงหนีทุน แต่ถ้าเอาเรื่องการตัดสินใจภายใต้อิทธิพล เช่น ได้เงินเยอะ ฯลฯ อันนี้ ผมว่า มันออกจะไม่ใช่ข้อแก้ตัวที่ฟังได้ เหมือนคนเมา ไปฆ่าคนตาย แล้วแก้ตัวว่า ผมฆ่าคนตาย เพราะเมา นั่นแหละ ก็เป็นการทำผิดกฎหมายภายใต้อิทธิพลของสุรา ซึ่งฟังไม่ได้ .... อันนี้เป็นตัวอย่างหนึ่ง ของผู้เมาสุรา แล้วกระทำผิดมักจะอ้างกัน ... ว่าเป็นเพราะพิษสุรา หรือ อยู่ภายใต้อิทธิพลของสุรา จนไม่อาจจะรู้สำนึกชั่วดี จึงกระทำผิดไป เป็นต้นครับ

ผมขอยกตัวอย่างที่มีการถกเถียงในวงวิชาการกฎหมายว่าด้วยสัญญา คือ เรื่องการผิดสัญญา กับ เรื่องผลที่ได้รับ (Benefit) หากมีการผิดสัญญา มีพื้นฐานมาจาก การกำไร และ ขาดทุน จากการไม่ปฎิบัติตามสัญญา ..... ตามหลักทฤษฎีที่เขาอ้าง ก็คือ หากมีการผิดสัญญาแล้ว ได้ผลผลิตหรือคุ้มค่ามากกว่าการทำการ หรือปฎิบัติตามสัญญา นักกฎหมายในสายที่อ้างอิงหลักวิชาเศรษฐศาสตร์ มักจะบอกว่า น่าจะทำการผิดสัญญามากกว่า การปฏิบัติตามสัญญา ซึ่งผมมองว่าเป็นการใช้หลักวิชาการที่ไม่สอดคล้องกับหลักจริยธรรม เพราะโดยหลักการทั่วไป "สัญญาต้องเป็นสัญญา" ตามหลักสุภาษิตกฎหมายนั่นเองครับ

ในสหรัฐฯ นี่ มีปัญหาพวกนี้เยอะในช่วง ค.ศ. ๑๙๖๐ สักพักใหญ่ ๆ ซึ่งข้อเท็จจริงปรากฎภายหลังว่า ผู้พิพากษา ถูกติดสินบนมากมาย (และถูกลงโทษจำนวนมาก) ผู้พิพากษากลุ่มนี้ ได้อ้างทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ ในการสนับสนุนหลักการไม่ปฎิบัติตามสัญญา โดยอ้างทฤษฎี การไม่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นของทรัพย์ หากมีการปฎิบัติตามสัญญา ฯลฯ .... อันนี้ เป็นตัวอย่างหนึ่ง ของปัญหาทางจริยธรรม กับการใช้ข้ออ้างที่ผิด ๆ ในการแสวงประโยชน์ส่วนตัว ซึ่งโดยหลัก ประโยชน์ส่วนตน กับประโยชน์สาธารณะ ก็ขัดกันอยู่เสมอ แต่เราจะต้องควบคุมให้สมดุลใด้ได้ เช่นเดียวกับเรื่องการหนีทุน นี่แหละ ที่มักมีข้ออ้างต่าง ๆ มากมาย ...

สุดท้าย ... ใครจะตัดสินใจอย่างไร ... ใครเห็นว่า ชั่ว หรือ ดี ก็คงจะเป็นเรื่องเฉพาะตัว แต่จะตัดสินใจอย่างไร ก็ควรจะต้องแยกกันให้ออก ระหว่าง ข้ออ้างทั้งหลายในการหนีฯ กับ หลักการ และสิทธิ กับหน้าที่ ออกจากกันให้ได้ครับ ...

หมายเหตุ เข้ามาแก้ไขเพิ่มเติม ข้อความเกี่ยวกับหลักการละเมิดสัญญากับหลักประสิทธิภาพการละเมิดข้อตกลง หรือสัญญา
แก้ไขเมื่อ 02 พ.ย. 49 15:11:41

จากคุณ : POL_US - [ 2 พ.ย. 49 11:18:20 ]


ความคิดเห็นที่ 24

แหมคุณ POL_US เอาเรื่องฆ่าคนตายเพราะเมา ไปเทียบเชียวเหรอ มันแรงไปมั้ง นี่แค่ตัดสินใจเซ็นสัญญานะ
ฆ่าคนตายเพราะเมา มันก็ under influence เหมือนกัน จากสุราไง ทำไมถึงฟังไม่ได้ละ เป็นเรา เราโทษคนด้วย โทษสุราด้วยส่วนนึง ขับรถชนเพราะเมา เค้ายังเรียก DIY เลย Drive under influence ไม่รู้สิ เราไม่ชอบตัดสินง่ายๆว่าใครผิด ใครเลว (เพราะไม่มีใครอยากเลว) แต่ชอบดูต้นตอ ว่าทำไมถึงเลว มีอิทธิพลอะไรชักนำให้เลว เราโทษสิ่งนั้นด้วย ต้องรับผิดชอบร่วมกันดิ

จากคุณ : the med - [ 2 พ.ย. 49 11:33:57 A:203.152.15.3 X: TicketID:030771 ]


ความคิดเห็นที่ 25

ผมว่าระบบราชการห่วยแตก กับ ก.พ. ไม่ดูแลนี่ไม่ใช่เรื่องพึ่งจะเกิด มันเกิดมานานนมแล้ว เก่งขนาดสอบได้ทุนนี่ไม่รู้ก็คงไม่น่าเชื่อเท่าไร

คล้าย ๆ กับที่คุณ 072648 เคยกล่าวไว้ ว่าเรามักจะอ้างสิทธิ์กัน แต่มักจะไม่ค่อยเอ่ยถึงหน้าที่

มันก็คงคล้ายกับกรณีที่คุยอยู่กันนี้ คือคนหนีก็อ้างเหตุผล เพื่อใช้ล้มล้างหน้าที่

แต่ผมคิดว่า ในจำนวนคนที่หนีทุนมันก็คงไม่เยอะเท่าไรนัก พวกที่มากล้ำกลืนใช้ทุนแล้วลาออก ก็คงมีพอสมควร
แต่ก็น่าจะมีพวกที่ใช้ทุนหมดแล้วก็ยังอยู่ อยู่อีกเยอะเหมือนกัน
อย่างไรก็ตาม มันก็พอมองได้เหมือนกันว่า พวกกล้ำกลืนใช้ทุนหมดแล้วลาออกนี่ เขาก็อาจจะไปทำประโยชน์ในส่วนอื่นให้กับประเทศได้เช่นเดียวกัน

เพราะฉะนั้น พวกหนีทุนนี่ก็คงกล่าวถึงได้ 2 อย่างคือ ไม่ชั่วก็เลว

จากคุณ : ScaRECroW - [ 2 พ.ย. 49 12:21:38 A:69.255.141.91 X: ]


ความคิดเห็นที่ 26

ผมอยากชอชี้แจงความเห็นที่ 17 สักเล็กน้อยในแง่ของข้อเท็จจริง คือคำว่าอยากเรียนแค่โทก็ได้ ไม่ต้องเรียนเอกจะได้ใช้ทุนน้อยลง อันนี้ไม่แน่ใจว่าทุนอื่นเป็นอย่างไร แต่ทุน พสวทนี่ หากเรียนได้ตามเกรดที่สามารถต่อได้เช่นโทเกิน3.5 หากไม่เรียนต่อถือว่าผิดสัญญาโดนปรับครับ ยกเว้นตั้งใจทำให้ต่ำกว่า 3.5 ซึ่งไม่โง่ก็บ้าหละครับ
ส่วนเรื่องที่ทำไมนรท.ถึงไม่อยากมาใช้ทุนกับ ก.พ. หรือใช้อย่างซังกะตายรอวันหมดนั้น ผมอยากให้ไปค้นหาที่หม่อมอุ๋ยพูกเรื่องกำลังคนในภาครัฐเมื่อเร็วๆนี้ว่า เงินไม่ใชปัจจัยเดียวในการดึงคนเก่งให้อยู่ในระบบราชการ เพราะหากใช้เงินอย่างเดียว คนอื่นก็ใช้เงินบ้างมันจะไม่สิ้นสุด แต่อย่างน้อยเงินที่ได้รับต้องให้เขาอยู่อย่างมีศักดิ์ศรีได้ ไม่ใช่ยาจกเข็ญใจ แต่ที่สำคัญคือความยุติธรรมตามผลงานตามความสามารถ และเปิดโอกาสให้แสดงความสามารถ สร้างการยอมรับในองค์กร และฯลฯ ซึ่งนี่ยังเป็นปัญหามาก ซึ่งเชื่อว่าหลายท่านคงหาอ่านได้ หรือหา link มาแปะไว้ก็ดีครับ

จากคุณ : ขอเสนอด้วยคน - [ 2 พ.ย. 49 14:38:14 A:124.121.150.96 X: TicketID:068526 ]


ความคิดเห็นที่ 27

อยากขอเสนอแย้งความเห็นที่ 25 หน่อยนะครับ ว่าหน่วยงานราชการนั้น มันไม่ได้เลวร้ายทุกหน่วยบางครั้งมันขึ้นกับหัวหน้าหน่วยนั้นๆ ซึ่งก็เป็นปุถุชน คือไม่ดีไม่เลวเหมือนกันหมด ทุกคนทราบดี เหมือนรถเมล์ ไม่ใชคนขับเลวมาตราฐานเหมือนกัน เราก็รู้กันมานาน ถามว่าเราจะไม่แก้ไขเลยใช่ไหม งั้นก็อย่าเรียกร้องหารถไฟฟ้าสิ อย่าพูดถึงรถแอร์ อย่าพูดถึงรถส่วนตัวเลย นี่คือจอมเลวเลวร้ายเลยใช่ไหม บางคนขับรถยาวสามวานั่งคนเดียว ดังนั้นอยากสรุปว่าทุกคนที่เซ็นสัญญา ไม่รู้หรอกว่าวันข้างหน้าจะต้องมานั่งทำงานกับหัวหน้าซื่อบื้อ หรือแกล้งซื่อบื้อคนไหน บางคนที่รู้พยายามต่อสู้ในหลักเกณท์(หา ท อีกตัวไม่เจอ) เมื่อไปไม่ได้ก็ต้องลาออก การใช้เงินหลายสิบล้านบาทนั้น คงไม่ใช่เรื่องสนุกเท่าไหร่หรอก แต่อย่าเข้าใจผิดว่าคนหนีทุนไม่ใช่คนเลวร้ายเสมอไป ผมแค่อยากจากบอกว่า ที่คุณเอ่ยว่าคนหนีทุนไม่ชั่วก็เลว แค่สองอย่างนั้น คิดแคบไปหรือเปล่า

จากคุณ : ขอเสนอด้วยคน - [ 2 พ.ย. 49 15:18:25 A:124.121.150.96 X: TicketID:068526 ]


ความคิดเห็นที่ 28

ผมว่าเรื่องระบบราชการไม่ดีไม่น่าจะนำมาเป็นข้ออ้างในการหนีทุนนะ เพราะเรื่องพวกนี้ผู้ขอรับทุนจะต้องรู้ตัวแล้วว่าจบมาแล้วจะต้องมาทำอะไร แบบไหน ก่อนที่จะเซ็นสัญญา ส่วนปัญหาเรื่องความรักหรือเรื่องครอบครัวถ้าเอามาอ้างก็แสดงว่าเราเห็นแก่ครอบครัว เห็นแก่คนรัก หรือเห็นแก่ตัวนั้นเอง (ฟังดูร้ายแรงแต่ก็เป็นกันทุกคนขึ้นอยู่ว่าจะมากหรือน้อยแค่นั้น)
สำหรับคนที่กลับมาใช้ทุนอย่างเต็มใจ ทั้งๆที่มีโอกาสไปทำงานอื่นที่ดีกว่าก็ถือว่าน่านับถืออยู่ แต่ผมก็คิดว่ายังมีอีกหลายคนที่ไม่เคยได้ทุนอะไรเลยหรือไม่เคยมีสัญญาผูกมัดใดๆทั้งสิ้น แต่เขากลับเต็มใจทำประโยชน์เพื่อสังคม หรือประเทศชาตินั้น คนเหล่านี้น่านับถือยิ่งกว่า
เห็นด้วยครับที่รัฐบาลจะต้องมาประเมิณผลการให้ทุนในแต่ละปีว่าประสบความสำเร็จตามเป้าหรือไม่ มีคนหนีทุนมากน้อยแค่ไหน เหตุใดจึงหนี คนที่กลับมาใช้ทุนได้มีโอกาสทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพหรือไม่ ได้รับค่าตอบแทนเหมาะสมหรือยัง (อาจไม่ใช้ตัวเงิน) ฯลฯ ไม่ใช่สักแต่ให้ๆไป ให้แต่คนเก่งแต่ไม่มีความรับผิดชอบและเสียสละพอ
ก็จะเกิดปัญหาดังที่กล่าวมา
ปล. การที่ประเทศชาติเสียหายจากการโกงกินบ้านเมือง น่าจะมีผลมาจากเราทุกคนขาดความเอาใจใส่ในเรื่องเล็กๆน้อยๆ อย่างเรื่องการหนี้ทุนนี้แหละ ผมว่านะ ก็ขนาดคนเรียนเก่งขนาดเรียนจบปริณญาในต่างประเทศ เป็นหัวกะทิของประเทศยังไม่มีความรับผิดชอบต่อคำสัญญาเลย ยังงี้เราจะไปเชื่อคำพูดของใครได้หล่ะทีนี้

จากคุณ : ByMySelf - [ 2 พ.ย. 49 15:49:42 A:10.7.8.87 X:192.55.18.36 TicketID:095521 ]


ความคิดเห็นที่ 29

#27

คุณลองเสนอมาหน่อยสิว่า นอกจากชั่วกับเลว มันจะเรียกอย่างอื่นได้ว่าอะไรอีกบ้าง

จากคุณ : ScaRECroW - [ 2 พ.ย. 49 20:22:49 A:69.255.141.91 X: ]


ความคิดเห็นที่ 30

ผมคงไม่มีข้อเสนอว่าจะเรียกอะไร แต่ผมพบว่าผมพบกับคนดีที่สุดในโลกคือคุณ เพราะไม่ว่าชีวิตในอนาคตจะเป็นยังไงคุณก็จะยังยึดมั่นคำสัญญา ไม่ว่าชีวิตครอบครัวอาจล่มสลายต้องทิ้งคนรัก ไม่ว่าหัวหน้าจะสุดแสบกลั่นแกล้งคุณ ไม่ว่าคุณจะถูกดองเค็มไม่มีโอกาสได้ใช้ความรู้ที่อุตส่าห์ข้ามน้ำข้ามทะเลไปเรียนมา คุณก็ยังซื่อสัตย์ต่อองค์กรนั้นเหมือนโฆษณาประกันชีวิต ในชิวิตคุณคงไม่เคยทำผิดกฏจราจรคุณให้ทางคนอื่นเสมอแม้ว่าคุณต้องรีบ คุณรักชาติอย่างแรง จะประท้วงคนทำลายประชาธิปไตยด้วยชีวิต จะไปยืนชี้หน้าด่าไอ้คนโกงชาติและไม่ยอมเสียภาษี ครับขอสรรเสริญว่าคุณเป็นคนดีที่สุดในโลกที่ผมเคยรู้จัก

จากคุณ : ยินดีที่ได้รู้จัก - [ 2 พ.ย. 49 21:58:48 A:124.121.140.155 X: TicketID:068526 ]


ความคิดเห็นที่ 32

ชอบประโยคของคุณ ByMySelf อันนี้ จริง ๆ

"การที่ประเทศชาติเสียหายจากการโกงกินบ้านเมือง น่าจะมีผลมาจากเราทุกคนขาดความเอาใจใส่ในเรื่องเล็กๆน้อยๆ อย่างเรื่องการหนี้ทุนนี้แหละ

ผมว่านะ ก็ขนาดคนเรียนเก่งขนาดเรียนจบปริณญาในต่างประเทศ เป็นหัวกะทิของประเทศยังไม่มีความรับผิดชอบต่อคำสัญญาเลย ยังงี้เราจะไปเชื่อคำพูดของใครได้หล่ะทีนี้"

เรื่องแรงกดดันนี้ แล้วแต่จะคิด ... แต่ที่แน่ ๆ ผมว่ามันคือ หน้าที่ทางศีลธรรมจรรยา ที่มองเห็นได้ตั้งแต่ก่อนจะตัดสินใจรับทุนครับ ... และแน่นอนที่สุดครับ ผมว่า ทุกคนควรจะต้องถูก Pressure แบบนี้ด้วย เพราะมันคือ จริยธรรม และคุณธรรม ที่ควรได้รับการสรรเสริญ และยกย่องจากสังคมโดยรวม

เหมือน ๆ กับการที่เราปฎิเสธว่า เกียรติยศ ไม่ได้มาเพราะความร่ำรวยหรือมีฐานะทางการเงินที่ดี และก็เหมือนกับหลักการที่ว่า รัฐประหาร ไม่มีที่ยืนบนพื้นที่ประชาธิปไตย จะอ้างว่า ใช้วิธีการรัฐประหาร แก้ไขปัญหาสังคม การเมือง แทนวิธีการประชาธิปไตย เพราะมันมีประโยชน์ รวดเร็ว กว่าวิธีการประชาธิปไตย ไม่ได้ ฉันใด กลับกัน ก็ฉันนั้น ในเรื่องนี้มันเป็นเรื่องหลักการของจริยธรรม .... จะอ้างเหตุใด ๆ มาลบล้าง ก็ฟังยาก

จากคุณ : POL_US - [ 3 พ.ย. 49 02:02:16 ]


Create Date : 03 พฤศจิกายน 2549
Last Update : 18 มิถุนายน 2553 8:58:14 น. 8 comments
Counter : 2091 Pageviews.

 
เรื่องคุณลุงฆ่าตัวตายนี่จะทำให้ไอ้คุณรองโฆษก มีบาปในใจมั่งไหมหนอ



โดย: zaesun วันที่: 3 พฤศจิกายน 2549 เวลา:3:29:49 น.  

 
น่าเสียดายที่คุณลุงไม่ได้เป็นชนชั้น elite แต่เป็นเพียงชาวบ้านธรรมดา

เรื่องของคุณลุงก็คงจะจางหายไปตามกาลเวลา ตามประสาคนไทยลืมง่าย


โดย: praphrut608 วันที่: 3 พฤศจิกายน 2549 เวลา:6:04:09 น.  

 
ยกย่องลุงเค้ามากๆ

ทีนี้พวกนั้นจะได้รู้ซะทีว่าไอ้โพลที่บอกว่าคนเห็นด้วยนะ แหกตาชะมัด


โดย: err_or วันที่: 3 พฤศจิกายน 2549 เวลา:8:30:51 น.  

 
I read SURAPOL's excuse, and I felt that it is so ugly! You are not good enough to be even a taxi driver sir!

What the heck Mr. SURAPOL


โดย: POL_US IP: 130.126.87.37 วันที่: 3 พฤศจิกายน 2549 เวลา:11:42:36 น.  

 
ที่ผมเรียน ยกเลิกการชดใช้ทุนของรัฐด้วยเงินมาหลายปีแล้ว
คนที่เข้ามาเรียนก็เต็มใจจะไปไกลๆเพื่อทำงานใช้หนี้ที่เรียนมา
โดยส่วนตัวแล้ว ผมเองไม่ชอบที่คนเอาเงินให้หลวงเลยครับ
ดูมันไม่ค่อยดีนะ ผมว่าน่าจะเพิ่มให้มันแพงๆหน่อยอ่ะ


โดย: maczy วันที่: 3 พฤศจิกายน 2549 เวลา:12:48:38 น.  

 
ลุงแท๊กซี่ที่ฆ่าตัวตาย ผมว่าลุงเค้าคิดผิด (อย่างมาก)
ยึดติดกับเรื่อง ศักดิ์ศรี หรือเรื่องอะไรก็ตาม ลุงคิดอยู่ มากเกินไป อ่านข่าว ตร. บอกว่า ลุงมีสติดี ตอนที่ลุงจะฆ่าตัวตาย เพราะมีการเขียน จม. ได้เป็นขั้นเป็นตอน ไม่วกวน...

ผมอ่านแล้วไม่เห็นด้วยครับที่ว่าลุงมีสติดีตอนนั้น ... คนข้างหลังลุงล่ะครับ ลูกเมียล่ะครับ เค้าจะลำบากไหมครับที่หัวหน้าครอบครัวเค้าตาย?

เคยอ่านเจอว่า การฆ่าตัวตาย เป็นบาปมากกว่าการฆ่าพระ ฆ่าพ่อแม่ตัวเองซ่ะอีก...

จะมีใครจำได้ซักกี่คน ว่านศ.ที่จุดไฟเผาตัวเองหน้า ม.รามเมื่อหลายปีก่อน นศ.คนนั้นชื่ออะไร?

ส่วนเรื่องทุน คงหวังว่าไม่คิดหาทางหนีทุนถึงขั้นกระโดดตึกตายกันนะครับ ... คนที่ได้ทุน ผมว่ามีมันสมองดีกว่าใครๆนะครับ (ถึงได้ทุนไปเรียน) คงหาทางออกได้น๊า...


โดย: merf1970 วันที่: 3 พฤศจิกายน 2549 เวลา:14:39:35 น.  

 
ไม่ได้อ่านทุกความเห็น

แต่จำบทสัมภาษณ์ของนายแพทย์ประเวศ วะสี อดีตนักเรียนทุนคิงได้ไม่เคยลืม

ว่าคนที่มีอภิสิทธิ์ คือคนที่มีอภิหน้าที่

ตัวเราไม่เคยได้ทุนหลวง
แต่การเป็นนักเรียนในโรงเรียนของรัฐมาตั้งแต่ประถม จนจบมหาวิทยาลัย
อย่างน้อยส่วนหนึ่งของค่าเทอมของเราตลอดเวลาสิบกว่าปี คือภาษีของประชาชน


โดย: rebel วันที่: 3 พฤศจิกายน 2549 เวลา:20:39:56 น.  

 
โห เลยได้โอกาสอ่านกระทู้ต่อ เพราะตั้งแต่เข้าไปตอบยังไม่ได้คลิกเข้าไปอีกเลยค่ะ

มาอ่านอีกทีก็ดีเหมือนกัน เพราะต่างคนต่างความคิด...ไม่เป็นไร...ขอให้รู้แค่ว่าหน้าที่ของตัวเองคืออะไร และทำหน้าที่นั้นให้ดีที่สุดก็พอแล้วค่ะ

แวะมาเยี่ยมคืนวันศุกร์ค่ะ ขอให้ enjoy กับวันหยุดนะคะ


โดย: the Vicky วันที่: 4 พฤศจิกายน 2549 เวลา:5:09:20 น.  

POL_US
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 82 คน [?]




คลิ๊ก เพื่อ Update blog พ.ต.อ.ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ ได้ที่นี่
https://www.jurisprudence.bloggang.com






รู้จักผู้เขียน : About Me.

"เสรีภาพดุจดังอากาศ แม้มองไม่เห็น แต่ก็ขาดไม่ได้ "










University of Illinois

22 Nobel Prize & 19 Pulitzer Prize & More than 80 National Academy of Sciences (NAS) members







***คำขวัญ : พ่อแม่หวังพึ่งพาเจ้า

ครูเล่าหวังเจ้าสร้างชื่อ

ชาติหวังกำลังฝีมือ

เจ้าคือความหวังทั้งมวล



*** ความสุข จะเป็นจริงได้ เมื่อมีการแบ่งปัน :

Happiness is only real when shared!














ANTI-COUP FOREVER: THE END CANNOT JUSTIFY THE MEANS!






Online Users


Locations of visitors to this page
New Comments
Friends' blogs
[Add POL_US's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.