*** พื้นที่ส่วนตัวของ พันตำรวจเอก ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ รองผู้บังคับการกองคดีอาญา สำนักงานกฎหมายและคดี นี้ จัดทำขึ้นเพื่อยืนหยัดในหลักการที่ว่า คนเรานั้นจะมีความเป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์ได้ ก็ต่อเมื่อมีเสรีภาพในการแสดงความคิดโดยบริบูรณ์ และความเชื่อที่ว่าคนเราเกิดมาเสมอภาคและเท่าเทียมกัน ไม่มีอำนาจใดจะพรากความเป็นมนุษย์ไปจากเราได้ ไม่ว่่าด้วยวิธีการใด ๆ และอำนาจผู้ใด ***
*** We hold these truths to be self-evident, that all men are created equal, that they are endowed by their Creator with certain unalienable rights, that among these are life, liberty and the pursuit of happiness. That to secure these rights, governments are instituted among men, deriving their just powers from the consent of the governed. That whenever any form of government becomes destructive to these ends, it is the right of the people to alter or to abolish it, and to institute new government, laying its foundation on such principles and organizing its powers in such form, as to them shall seem most likely to effect their safety and happiness. [Adopted in Congress 4 July 1776] ***
Group Blog
 
All Blogs
 
การลดความผิดยาเสพติด และการลดอันตรายผู้เสพยาเสพติด

คำนำ

          สารเสพติด ถูกใช้ในวงการแพทย์เพื่อการรักษามาอย่างยาวนาน ในขณะเดียวกันก็ถูกใช้ในการแสวงประโยชน์จากการผู้เสพติดนั้น อันนำมาซึ่งอาชญากรรมที่เกี่ยวเนื่องกับทรัพย์ จนท้ายที่สุด องค์การสหประชาชาติได้มีมติกำจัดยาเสพติดให้สิ้นไปจากมวลมนุษยชาติ หรือ the zero-tolerance approach  พร้อมกำหนดเป็นอนุสัญญาระหว่างประเทศ เช่น Single Convention on Narcotic Drugs of 1961, amended in 1972[2] (ซึ่งจะเรียกว่า อนุสัญญา 1961), the Convention on Psychotropic Substances, 1971 (ซึ่งจะเรียกว่า อนุสัญญา 1971)1[3] และ United Nations Convention against Illicit Traffic in Narcotic Drugs and Psychotropic Substances of 1988 (ซึ่งจะเรียกว่า อนุสัญญา 1988)[4] โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกำจัดยาเสพติดและขจัดความทุกข์ทรมานของผู้ติดสารเสพติดเหล่านั้นให้สิ้นไป   


          อนุสัญญาดังกล่าวได้ทำให้ประเทศภาคีสมาชิกจะต้องออกกฎหมายกำหนดฐานความผิดและโทษอาญารุนแรงที่เกี่ยวข้องกับสารเสพติดขึ้น  แต่การดำเนินการปราบปรามยาเสพติดด้วยกฎหมายและมาตรการที่รุนแรง ก็ไม่ได้บรรลุผลตามเป้าหมาย Zero-tolerance approach แต่ประการใด ในบางประเทศในละตินอเมริกา ได้ประกาศสงครามกับยาเสพติด พร้อมกับการบาดเจ็บล้มตายของประชาชนหลายหมื่นรายในระยะเวลาไม่กี่ปี  ในทางตรงกันข้าม กลุ่มประเทศยุโรปโดยเฉพาะ โปรตุเกส ได้ใช้นโยบายลดความผิดทางอาญาของยาเสพติดลง (Decriminalization) ควบคู่กับนโยบายรักษาผู้ติดยาภาคสมัครใจและเป็นความลับ (Harm reduction process) โดยไม่มีกระบวนการทางคดีอาญาด้วยแต่ประการใด   แต่ทำให้จำนวนผู้ติดยาเสพติดและผู้ติดเชื้อ HIV ลดลงด้วย  สำหรับประเทศไทย ได้ยึดถือทั้งสองแนวทาง ตั้งแต่การเพิ่มโทษเกี่ยวกับยาเสพติดให้รุนแรงยิ่งขึ้น และบังคับให้ผู้เสพและผู้จำหน่ายรายย่อยเข้ารับการบำบัด [5]  แต่ดูเหมือนไม่มีสัญญาณบ่งชี้ถึงความสำเร็จแต่ประการใด  ผู้เขียนเห็นว่า การรักษาภาคสมัครใจโดยไม่มีกระบวนการทางอาญาเข้าไปเกี่ยวข้องจะลดปัญหายาเสพติดในสังคมไทยได้   การนำแนวคิดว่าด้วย Decriminalization and Harm Reduction มาใช้ในสังคมไทย จึงจำเป็นสำหรับสังคมไทย บทความนี้ ได้นำแนวคิดในการลดการเป็นความผิดมากล่าวไว้พอสังเขป ซึ่งสามารถศึกษารายละเอียดได้ในรายงานวิจัยที่ที่เสนอต่อสำนักงาน ป.ป.ส. ต่อไป


1. แนวคิดทางกฎหมายของกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว

         กลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ส่วนใหญ่จะใช้นโยบายทางปกครองเป็นมาตรการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด[6] โดยประกาศกำหนดเป็นแนวทางปฏิบัติ (De facto) ที่ยึดถือกันว่าจะไม่มีการดำเนินคดีตามกฎหมาย  มีแต่เพียงโปรตุเกสที่ประกาศเป็นกฎหมายอย่างชัดแจ้ง  ส่วนสหรัฐอเมริกา ใช้นโยบาย zero-tolerance approach มาช้านาน แต่เพิ่งจะเริ่มพิจารณาใช้นโยบายบำบัดภาคสมัครใจ ตามหลัก Harm reduction policy เมื่อไม่นานมานี้  ตัวอย่างเช่น  


ประเทศสหรัฐอเมริกา

          สหรัฐอเมริกา ยึดนโยบายปราบปรามยาเสพติดให้สิ้นไป โดยบังคับใช้กฎหมายที่รุนแรงอย่างจริงจังมาเนิ่นนาน แต่หลายมลรัฐ เช่น  Oregon, Colorado, Alaska, Ohio, California, Mississippi, North Carolina, New York และ Nebraska ไม่ได้ยึดหลักกฎหมายเคร่งครัดตามนโยบายรัฐบาลกลาง[7]   โดยยอมรับว่า กัญชา คือสิ่งปกติที่ใช้ในสังคมเพื่อความบันเทิง จึงไม่มีการพิพากษาลงโทษจำคุกกับผู้เสพกัญชาแต่ประการใด


รัฐบาลกลางสหรัฐในปัจจุบัน จึงได้หันกลับมาพิจารณา Harm Reduction policy เนื่องจากสถิติพบว่า ผู้ติดยาเสพติดราวร้อยละ ๑๐ จะติดเชื้อ  HIV ด้วย  นับแต่แต่ปี ค.ศ. 2009  จึงได้นำโครงการ Federal Funding of Syringe Exchange เพื่อแจกจ่ายเข็มฉีดยาที่สะอาดโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย พร้อมทั้งแจกจ่ายยาเสพติด กับการให้คำปรึกษาทางจิตวิทยาเพื่อให้ลดและเลิกใช้ยาเสพติดในที่สุด[8] กล่าวโดยสรุป สหรัฐฯ ได้ตรากฎหมายปราบปรามยาเสพติดที่เข้มแข็งมาก[9] เช่น Harrison Narcotic Act of 1914 เพื่อควบคุมใบอนุญาตให้มีและใช้ cocaine[10]  รวมถึงการตรากฎหมาย Anti-Drug Abuse Act of 1988 และ the Controlled Substance Act (CSA)[11] ซึ่งรู้จักกันในนาม Comprehensive Drug Abuse Prevention and Control Act of 1970  ซึ่งมีแนวคิดเช่นเดียวกับอนุสัญญาขององค์การสหประชาชาติที่กล่าวไปแล้วข้างต้น  โดยจัดตั้งหน่วยงาน Drug Enforcement Administration หรือ DEA [12] ขึ้นมา  แต่โทษสูงสุด คือ จำคุกตลอดชีวิตหรือปรับยี่สิบล้านเหรียญ  


ประเทศแคนนาดา  

       แคนนา ได้ตรากฎหมาย Opium Act of 1908 และขยายการควบคุมสารเสพติดด้วยการตรา  Marijuana Law, กฎหมายอาญา และ Controlled Drugs and Substances Act of 1996 ซึ่งจะมีบทบทบัญญัติในเชิงปราบปราม ตามอนุสัญญา 1961 แต่มีความยืดหยุ่นการกำหนดสารเสพติดให้ละเอียดขึ้นเป็น 8 ประเภท[13] ส่วนสารเสพติดที่ใช้ในสังคมแพร่หลายในหลายรูปแบบ เช่น กัญชานั้น ถูกใช้ในทางการแพทย์เพื่อการรักษา การครอบครองกัญหาน้ำหนักน้อยกว่า 3 กิโลกรัม จึงถือเป็นความผิดไม่ร้ายแรง (misdemeanor crime) ในขณะที่การลักลอบจำหน่ายยาเสพติด จะถูกกำหนดเป็นความผิดร้ายแรง และศาลต้องพิจารณาจำคุกตามกฎหมาย ตาม “Mandatory Prison Sentences for Serious Drug Crimes: Tougher Laws to Stop Producers and Traffickers[14] การรอการลงโทษไม่สามารถกระทำได้  


       ในปี ค.ศ.2007 รัฐบาลได้ตั้งงบประมาณเพื่อกำหนดนโยบายยาเสพติด (National Anti-Drug Strategy) จำนวน 63 ล้านเหรียญ และการปฏิบัติลดความเสี่ยงจากการเป็นอันตรายจากยาเสพติด (Harm Reduction policy) จำนวน 385 เหรียญ มีการจัดตั้งศาลเฉพาะพิจารณาคดีเสพติด (The Drug Treatment Court or DTC) รวมถึงการติดตามประเมินผลการรักษาผู้ติดยาเสพติดโดยสมัครใจด้วย  และนับแต่ปี ค.ศ.2003 เป็นต้นมา บุคคลที่ครอบครองกัญชาไม่เกิน 30 กรัม จะไม่ถูกดำเนินคดีอาญาแต่ประการใด [15]


ประเทศสหราชอาณาจักร


       สหราชอาณาจักร ก็มีปัญหายาเสพติดเช่นเดียวกับประเทศพัฒนาแล้วอื่น ๆ[16] จึงตรากฎหมายควบคุมสารตั้งต้นยาเสพติด (precursor chemical) ตามที่อนุสัญญา 1961 และ 1988 กำหนด ในแต่ละปี นับแต่ ค.ศ.1999 เป็นต้นมา มีผู้เสพยาเสพติดจำนวนกว่า 3,000 รายตายเพราะเสพยาเกินขนาด รัฐบาลจึงได้กำหนดนโยบาย Action Plan to Reduce Drug-Related ตั้งแต่ปี ค.ศ.2001 เป็นต้นมา ทั้งนี้ เพื่อลดอัตราการเสียชีวิตลงให้ได้ร้อยละ 20  ปัจจุบัน มีกฎหมายมากกว่า 25 ฉบับในการควบคุมยาเสพติด เช่น Misuse of Drug of 1971, The Controlled Drugs (Drug Precursors) (Intra-Community Trade) Regulation 2008, The Drug Trafficking Act 1994, The Police and Criminal Evidence Act 1984 (Drug Testing of Persons in Police Detention) (Prescribed Persons) Regulations 2001, The Public Entertainments Licenses (Drug Misuse) Act 1997 [17] เป็นต้น


       ตามกฎหมายดังกล่าว ยาเสพติดมี 3 ประเภท[18]  Class A, Class B, และ Class C  ซึ่งได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมโดย Advisory Council on the Misuse of Drugs โดยยาเสพติด 2 ประเภทแรก เป็นยาเสพติดอันตราย เช่น class A  ได้แก่ heroine, cocaine, ecstasy, methamphetamine, LSD, psilocybin mushrooms ส่วน class B ได้แก่ Amphetamine, codeine และ methylphenidate สำหรับ class C นั้น ได้แก่ cannabis, GHB, ketamine, diazepam, flunitrazepam เป็นต้น   ในปี ค.ศ.2004 ได้มีการแก้ไขกฎหมายดังกล่าวใหม่ โดยกำหนดให้เปลี่ยนกัญชาจาก class B เป็น C ทำให้โทษเบาลง ให้สอดคล้องกับความเป็นจริงว่า ประชากรกว่าร้อยละ 44 ใช้กัญชาเป็นปกติ ซึ่งสูงสุดในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วทั้งหมด 


        กฎหมายกัญชาดังกล่าว ได้รับการพัฒนาจากแนวปฏิบัติของตำรวจ นับแต่ปี ค.ศ. 1999 ที่ใช้ดุลพินิจไม่ดำเนินคดีกับผู้เสพกัญชาเนื่องจากตำรวจมีทรัพยากรจำกัด สมควรนำไปใช้ในการป้องกันอาชญากรรมร้ายแรงมากกว่า จึงทำการตักเตือนผู้เสพกัญชาเป็นสำคัญ เนื่องจากกัญหาไม่ใช่ยาเสพติดร้ายแรง[19]  ท้ายที่สุด รัฐสภา ได้ยอมรับแนวคิดดังกล่าวของตำรวจ ในปี ค.ศ.2005 การครอบครองกัญชาในปริมาณเล็กน้อย จึงไม่เป็นความผิดอาญาอีกต่อไป เว้นแต่ ผู้ใช้เป็นเด็กที่ต่ำกว่า 17 ปี การครอบครองโดยปริมาณสูง ใกล้โรงเรียน สนามเด็กเล่น หรือมีพฤติการณ์ที่น่าเชื่อว่าจะมีไว้เพื่อจำหน่ายให้แก่เยาวชน จึงจะถูกจับและฟ้องคดี[20]


        ในขณะเดียวกัน แนวคิด Harm-reduction program ได้ถูกนำมาใช้ตั้งแต่ ค.ศ. 1964 โดยรัฐแจกจ่าย Opiate หรือ Morphine เพื่อการรักษาได้  แต่ต่อมา ค.ศ.1983 ได้มีการนำ Mehadone มาใช้แทนที่ [21]  ในปี ค.ศ.1998  ได้มีการนำนโยบายปราบปรามยาเสพติดมาใช้จริงจังผ่านระบบโรงเรียนและครอบครัว เรียกว่า Drug Prevention Advisory Service (DPAS) ทำให้สามารถลดอัตราการเสียชีวิตจากการเสพยาเสพติดได้อย่างมาก   


ประเทศเนเธอร์แลนด์  


          เนเธอร์แลนด์ เป็นภาคีของอนุสัญญา 1961 และ 1988 แต่ตีความอนุสัญญาแตกต่างกันไป โดยการจำหน่ายและลักลอบค้ายาเสพติดจะมีความผิดและรับโทษอย่างรุนแรง แต่ผู้เสพยาเสพติดจะไม่ถูกปฏิบัติอย่างผู้กระทำผิดอาญา[22]  ทั้งนี้ นโยบายหลัก คือ การดูแลรักษาผู้เสพยาเสพติด เพราะหากปล่อยไว้จะกระทบต่อปัญหาสุขภาพของสังคมโดยรวม ในปี ค.ศ.2008 รัฐบาลได้จัดตั้ง National Taskforce on Organized Hemp Cultivation เพื่อปราบปรามองค์กรอาชญากรรมที่เกี่ยวกับยาเสพติด [23] 


           สำหรับกฎหมายยาเสพติด ตาม Dutch Opium Act ยาเสพติด แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ (1) ยาเสพติดร้ายแรง (hard drugs or unacceptable risks) เช่น  heroin, cocaine, ecstasy และ  (2) ยาเสพติดไม่ร้ายแรง (soft  drugs) เช่น ผลิตภัณฑ์ cannabis products  ผู้กระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติดประเภทแรก จะต้องระวางโทษร้ายแรง แต่สำหรับผู้กระทำผิดยาเสพติดประเภทสอง จะไม่ถูกปฏิบัติเช่นเดียวกับผู้กระทำผิดอาญา โดยรัฐจะสร้างระบบบำบัดรักษา ให้กับผู้เสพ โดยเฉพาะสารเสพติดประเภท  “Hemp / Cannabis product แต่ผู้เสพยาเสพติดประเภทแรก จะต้องถูกลงโทษอย่างรุนแรง   

ปัจจุบัน นโยบายในทางอาญาสำหรับยาเสพติดไม่ร้ายแรง เช่น การมียาเสพติดประเภทสอง ไม่เกิน ๕ กรัม จะไม่ถูกฟ้องร้องเป็นคดีอาญา ภายใต้คำแนะนำของ Public Prosecution Service Guideline of 1996 เว้นแต่การกระทำดังกล่าวเกิดขึ้นในสถานที่ซึ่งมีเด็กและเยาวชนใช้เป็นปกติ [24]   แต่ถ้าเกี่ยวข้องกับยาเสพติดประเภทแรกจะถูกลงโทษร้ายแรง และจะเพิ่มโทษหนึ่งในสาม เพิ่มโทษจำคุกสูงสุดอีก 12 ปี สำหรับการจำหน่ายยาเสพติดร้ายแรง หากกระทำผิดซ้ำเป็นนิสัย  [25]


            ในเนเธอร์แลนด์ จะมีผู้เสพยาเสพติดประมาณ 323,000 รายหรือประมาณร้อยละ  2.5 ของประชากรทั้งหมด[26] โดยเสพกัญชาเป็นส่วนใหญ่ [27] ดังนั้น รัฐบาลจึงพิจารณาเห็นว่าเป็นไม่ได้ในการห้ามมิให้กัญชาในประเทศ ดังนั้น ในทางปฏิบัติ (de facto) จะไม่ปฏิบัติต่อผู้เสพกัญชาเช่นผู้กระทำผิดอาญา แต่จะเข้ากระบวนการบำบัดรักษา ตามนโยบาย decriminalization & Harm reduction program  ผู้เสพกัญชา สามารถซื้อกัญชาได้จากร้านกาแฟที่ได้รับอนุญาต (licensed coffee shops) ซึ่งจะต้องไม่อนุญาตให้เด็กและเยาวชนเข้าไปในร้านค้าของตน และไม่มีการโฆษณาเชิญชวน นโยบายนี้ ได้ดำเนินการภายใต้บทสันนิษฐานที่ว่า การอนุญาตให้จำหน่ายกัญชาจะเป็นทำให้ลดส่วนแบ่งตลาดกัญชาที่ผิดกฎหมายลง และลดอันตรายจากสารเคมีหรือสารพิษต่าง ๆ ต่อผู้เสพได้ ซึ่งดูเหมือนจะประสบผลสำเร็จไม่น้อยทีเดียว [28]


             ในขณะเดียวกัน รัฐบาลได้ดำเนินนโยบายในการรักษาบำบัด โดยความร่วมมือของหลายกระทรวง เช่น Public Security, Justice และเจ้าหน้าที่ตำรวจ  รวมถึงการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานท้องถิ่น ดำเนินนโยบายไตรภาคีที่ปรึกษา ระหว่าง  นายกเทศมนตรี (mayor) หัวหน้าพนักงานอัยการประจำเขต และหัวหน้าตำรวจ นอกจากนี้ ยังได้ดำเนินการประชาสัมพันธ์ (operation of information) ภายใต้แนวคิดว่า การดำรงชีวิตอยู่อย่างถูกสุขภาวอนามัย โดยองค์การ The Netherlands Institute of Mental Health and Addiction or Trimbos Institute เพื่อให้ความรู้ถึงอันตรายของยาเสพติดต่อสังคมและโรงเรียน  รวมทั้งการมีระบบที่ปรึกษา 24 ชั่วโมง เรียกว่า the 24-hour national Drug Info Hot Line of the Trimbos Institute ซึ่งได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน


             สำหรับนโยบายการลดอันตรายจากการเสพติดยาเสพติด หรือ The Harm-Reduction programs ได้ดำเนินการอย่างจริงจัง โดยสำนักงาน National Drug Monitor (NDM) ซึ่งสามารถจูงใจให้ผู้เสพยาเสพติดเข้ารับการรักษาได้มากกว่าร้อยละ 75 โดยสมัครใจได้ ระบบนี้ จะมีการแจกจ่ายเข็มที่สะอาดปราศจากเชื้อโรค (The needle supply and exchange programs of syringe)  เพื่อลดอัตราการตายและการติดเชื่อ HIV เป็นต้น โดยจัดตั้งเป็นคลินิกผู้ป่วยนอก และศูนย์รักษา (Both out-patient treatment center & clinic treatment center) สำหรับผู้ติดยาเสพติดทุกประเภท ซึ่งประสบผลสำเร็จอย่างมากในการลดจำนวนผู้เสพยา และลดอัตราการจากการเสพยาลง[29]  เนเธอร์แลนด์ ยังใช้ระบบบังคับบำบัดสำหรับผู้ติดยาจนเป็นนิสัย ซึ่งอาจจะใช้เวลาในการรักษาและจำคุกผู้นั้นไว้เป็นเวลาไม่เกิน 2 ปี พร้อมกับการฝึกอบรมอาชีพไปพร้อม ๆ กัน  



..... อ่านเนื้อหาต่อ ในคอมเม้นท์ด้านล่าง .....................





Create Date : 22 สิงหาคม 2557
Last Update : 22 สิงหาคม 2557 18:02:20 น. 1 comments
Counter : 4742 Pageviews.

 
ประเทศโปรตุเกส

โปรตุเกส ออกกฎหมายอย่างเป็นทางการอนุญาตให้ผู้เสพมีกัญชาไว้ในครอบครองเพื่อตนเองได้ โดยมีแนวคิดว่า ยาเสพติดเป็นปัญหาของสังคมส่วนรวม จึงนำระบบ Harm-Reduction program มาใช้อย่างจริงจัง โดยแจกจ่ายสาร methadone และเข็มฉีดยาสะอาดตาม needle-exchange programs ให้กับผู้เสพ โดยรัฐบาลโปรตุเกสได้ประกาศลดความเป็นโทษทางอาญากับกัญชาเป็นประเทศแรกในยุโรป นับแต่ปี ค.ศ. 2001[30] สำหรับการมีไว้เพื่อใช้เป็นการส่วนตัวเท่านั้น ไม่รวมถึงการจำหน่ายหรือผลิตยาเสพติด [31]

กลางปี ค.ศ.2001 รัฐบาลประกาศบังคับใช้กฎหมาย Regulation Decree under the Law 30/2000 ให้มีผลบังคับใช้ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ.2001 ให้ยาเสพติดทุกประเภท ไม่ว่าจะเพื่อใช้ส่วนตนเป็นการครั้งคราว หรือเนื่องจากเพราะการติดยาเสพติดเรื้อรัง การมีแสวงหาเพื่อให้มีไว้ในครอบครองเพื่อใช้ประโยชน์เฉพาะตนเองสำหรับยาเสพติดทุกประเภท จะไม่ถือเป็นความผิดทางอาญาอีกต่อไป[32] และให้นำมาตราการทางปกครองมาใช้ในการจัดการปัญหาดังกล่าวแทน
มาตรา ๒๙ แห่งกฎหมายดังกล่าว ได้นิยามคำว่า Decriminalization[33] ให้รวมถึงการการซื้อ การครอบครอง การเสพยาเสพติดทุกชนิดสำหรับตนเอง หากมีปริมาณไม่เกินที่กำหนดไว้ เช่น การใช้เฉพาะตนเองไม่เกิน 10 วัน[34] หรือมีกัญชาไม่เกิน 2.5 กรัม cocaine หรือ heroine ไม่เกิน 1 กรัม จะไม่ถูกดำเนินคดีและไม่มีการบันทึกประวัติอาชญากรแต่ประการใด แนวคิดดังกล่าว สืบเนื่องจากความเชื่อที่ว่า สังคมโปรตุเกสมีความอดทนต่อการเสพสารเสพติดบางประเภทได้ จึงได้จัดตั้งคณะกรรมการ Commissions for Dissuasions of Drug Addiction เพื่อกำหนดมาตรการในการจัดการผู้ติดยาเสพติด[35] เช่น การกำหนดค่าปรับทางปกครองกรณีที่มียาเสพติดบางประเภทไว้ในครอบครองเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด เช่น การมีไว้ซึ่ง methadone, morphine, opium, cocaine หรือ amphetaminesfrom จะถูกปรับตั้งแต่ 25 ถึง 325 ดอลล่าร์ [36] และสามารถยกเว้นค่าปรับได้ หากผู้เสพตกลงใจเข้ารับการบำบัดรักษาและผลการรักษาเป็นที่น่าพอใจ[37] โดยอนุมัติของคณะกรรมการ Commission for the Deterrence of Drug Addiction เพื่อทำการสัมภาษณ์และตรวจสอบ และมีคำสั่งให้ยุติการดำเนินคดีและใช้มาตรการที่เหมาะสมทางปกครองต่อไป [38]

การดำเนินการตามโครงการ Decriminalization ได้รับการประเมินว่าน่าพึงพอใจมาก เพราะจำนวนผู้เสพยาต่ำกว่าผู้เสพยาในประเทศอื่นของยุโรปถึงสองในสาม[39] อย่างไรก็ตาม ก่อนที่โครงการนี้จะเริ่มได้ จะต้องมีการปรับทัศนคติของเจ้าหน้าที่ทุกฝ่าย จากการดำเนินคดีเคร่งครัดมาเป็นการบำบัดภาคสมัครใจด้วยมาตรการทางปกครองซึ่งเป็นเรื่องยากลำบากเป็นอย่างยิ่ง[40] โครงการนี้ Harm-Reduction program มีเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (Secretary of State of the Council of Ministers) เป็นประธาน และดำเนินการโดยสถาบัน The Institute for Drugs and Drug Addiction โดยสถาบันนี้ จะร่วมมือกับ The European Monitoring Center on Drugs and Drug Addiction (EMCDDA) ในการทำให้ประชาคมยุโรปเข้าใจและดำเนินการตามโครงการนี้ ในขณะที่รัฐมนตรีสาธารณสุข จะดำเนินการตามโครงการแจกจ่ายเข็มฉีดขาสะอาดให้กับผู้เสพ (The needle exchange or Needle and Syringe Program - NSPs program) รวมถึงการให้คำปรึกษาทางจิตวิทยา การแจกจ่ายยา methadone และการให้ยาลดพิษ (detoxification programs) จากสารเสพติดโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วยนอกหรือผู้ป่วยในก็ตาม

นอกจากนี้ ยังมีตัวอย่างจากประเทศออสเตรเลีย ซึ่งเป็นภาคของอนุสัญญาขององค์การสหประชาชาติ แต่ในอดีตนั้น ออสเตรเลีย ไม่ได้ควบคุมยาเสพติดใด ๆ จะมีเพียงการติดป้ายประกาศถึงอันตรายของยาเสพติดเท่านั้น[41] มีการใช้ฝิ่นในฐานะยารักษาโรคและใช้ส่วนตัวตั้งแต่ ค.ศ.๑๙๐๕ และยาเสพติดได้มีปัญหาอย่างมากหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นปัญหาต่อเด็กและเยาวชนอย่างมาก จึงได้มีการประกาศรณรงค์แก้ปัญหาดังกล่าวในปี ค.ศ. ๑๙๘๕ เรียกว่า National Campaign Against Drug Abuse (NCADA). พร้อมกับดำเนินโครงการบำบัดรักษา (Harm reduction) นับแต่นั้นเป็นต้นมาด้วย

นับแต่ปี ค.ศ.1998 สถาบัน Australian Institute of Health and Welfare (AIHW) ได้รายงานปัญหาว่า เด็กอายุ 14 ปี ราวร้อยละ 40 เคยหรือติดยาเสพติด ในปี ค.ศ.2001 จึงได้มีการรณรงค์ในการปราบปราบปรามยาเสพติด และบำบัดรักษาพร้อมกัน ภายใต้โครงการ National Drug Strategy: Australia’s integrated framework[42] เพื่อดำเนินการ (1) ลดประมาณการเสนอขาย (Supply Reduction) (2) ลดปริมาณความต้องการเสนอซื้อ (Demand Reduction) และ (3) การดำเนินโยบายลดอันตรายจากการเสพยาเสพติด และการเลิกยาเสพติด (Harm Reduction) โดยในส่วนของการลดอันตรายจากการเสพยาเสพติดนั้น ได้ดำเนินการไปในลักษณะเดียวกัน คือ การแจกจ่ายเข็มสะอาด การให้คำปรึกษาทางจิตวิทยา เพื่อให้เลิกเสพยาและจะต้องดำเนินการโดยให้เปล่าไม่เสียค่าใช้จ่าย ภายใต้หลักการสมัครใจ ไม่มีประวัติการดำเนินใด ๆ นอกจากการรักษาเท่านั้น

2. แนวคิดในการแก้ไขปัญหายาเสพติดในกลุ่มประเทศอื่น ๆ

2.1 กลุ่มประเทศเอเชีย

กลุ่มประเทศนี้ เช่น จีน และในอาเซียนส่วนใหญ่ใช้แนวคิด the zero-telorance basis ตามแนวคิดของ United Nations ทั้งสิ้น การกำหนดโทษประหารชีวิต และจำคุกตลอดชีวิตเป็นเรื่องปกติทั่วไปในกลุ่มประเทศนี้ พร้อมกับมีกฎหมายบังคับให้รักษาบำบัดภาคบังคับ (The compulsory Harm Reduction) ซึ่งจะมาพร้อมกับการดำเนินคดีและมีประวัติด่างพร้อยติดตัว ต่างจากการรักษาบำบัดในประเทศยุโรปตามที่กล่าวไปแล้ว ทำให้ไม่มีความเป็นไปได้ในการจูงใจบุคคลทั่วไปจะเดินเข้าศูนย์บำบัดดังกล่าว และบทบัญญัติกฎหมายของประเทศต่าง ๆ ก้ไม่ได้เปิดช่องให้ผู้ติดยาเดินทางเข้ารับการรักษาโดยไม่ถูกดำเนินคดีในเบื้องต้นเสียก่อนแต่ประการใด [43] ไม่ว่าจะเป็น จีน เวียดนาม มาเลเซีย หรือไทย ก็เช่นกัน สำหรับรายละเอียด ขอให้ผู้สนใจติดตามในเอกสารวิจัยของผู้เขียนที่ สำนักงาน ป.ป.ส. ต่อไป

2.2 กลุ่มประเทศละตินอเมริกา

กลุ่มประเทศละตินอเมริกา เช่น Maxico, Argentina, Brazil, และ Ekwador มีปัญหาร้ายแรงอย่างมาก จึงกำหนดโทษการเสพยาไว้ให้มีโทษร้ายแรง[44] รวมถึงการประกาศสงครามกับยาเสพติดด้วย นโยบายดังกล่าว ได้เพิ่มเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจขึ้นมากมาย พร้อมกับความตายของประชาชนที่เกี่ยวข้องกับสงครามยาเสพติดไม่น้อยกว่า 34,000 รายในช่วงเวลาไม่ถึง 5 ปี เช่นใน Mexico ระหว่างปี ค.ศ.2006 ถึง 2010 [45] ท้ายที่สุด National Council Against Addiction (CONADIC) ได้เสนอว่า สงครามความรุนแรงกับยาเสพติดนั้น ไม่มีสัญญาณที่แสดงให้เห็นว่าสถานการณ์จะดีขึ้น ในปี ค.ศ. 2009 จึงได้มีการประกาศที่จะลดความเป็นความผิดทางอาญาของยาเสพติดภายใต้การต่อต้านจากสหรัฐฯ อย่างรุนแรงเนื่องจากยาเสพติดจะขยายเข้าสู่สหรัฐฯ ได้ง่ายยิ่งขึ้น [46] กฎหมายดังกล่าวรู้จักกันในนาม “Mexico‘s retail-level narcotics distribution (narcomenudeo) law” ที่กำหนดให้ไม่มีการฟ้องร้องผู้มียาเสพติดไว้ในครอบครองหากมีปริมาณเล็กน้อย เว้นแต่จะถูกจับเป็นครั้งที่สาม ซึ่งเป็นไปตาม มาตรา 478 ของ General Health Law[47] หากมียาเสพติดไว้เพื่อใช้ส่วนตัวจะไม่มีความผิด เว้นแต่จะพบยาเสพติดใกล้โรงเรียน[48] การครอบครองกัญชาไม่เกินสองกรัม หรือ cocaine 0.5 กรัม heroine 50 ไมโครกรัม และ Methamphetamine ไม่เกิน 40 กรัม ไม่ถือเป็นความผิดอาญา หากตรวจพบจะถูกบังคับให้เข้ารับการบำบัดต่อไป

ประเทศอื่น ๆ เช่น อาร์เจนติน่าร์ ก็เช่นเดียวกัน ที่ประสบปัญหาร้ายแรงเกี่ยวกับยาเสพติด และรัฐบาลได้แก้ไขด้วยความรุนแรง จนท้ายที่สุด ในปี ค.ศ.2009 ศาลสูงสุด ได้พิพากษาว่า มาตรา 737 แห่งกฎหมายฉบับที่ 23 ที่กำหนดโทษทางอาญาสำหรับการเสพยาเสพติดนั้นขัดต่อรัฐธรรมนูญ เพราะการเสพหรือใช้ส่วนตัวนั้นเป็นสิทธิในความเป็นส่วนตัว (privacy right) ของผู้เสพเอง [49] ทั้งนี้ เพื่อแก้ไขปัญหาการใช้ความรุนแรงโดยรัฐนั้นเอง แต่จะต้อง มีการใช้เฉพาะในที่ส่วนตัวของผู้เสพนั้น ไม่ใช่ในที่สาธารณสถาน ตามนับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในปี ค.ศ.2010 แต่ไม่มีการดำเนินการใด ๆ โดยรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน

3. คำถามสำหรับประเทศไทย เราจะเดินต่อไปกันอย่างไร

การกำหนดโทษทางอาญาเกี่ยวกับกฎหมายยาเสพติดของไทย จะดำเนินตามอนุสัญญาที่ไทยเป็นภาคีอย่างเคร่งครัด ภายใต้แนวคิดว่า โทษทางอาญาที่รุนแรงจะช่วยระงับภัยจากยาเสพติดได้ โดยกำหนดกฎหมายบำบัดหรือฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดภาคบังคับ โดยไม่มีคลินิกรักษาแบบนิรนาม หรือแนวคิด Harm Reduction ภาคสมัครดังที่เกิดขึ้นในประเทศโปรตุเกส หรือประเทศที่พัฒนาแล้ว

ผู้เขียนเชื่อว่า การติดยาเสพติดเป็นปัญหาทางจิตใจ และส่วนใหญ่จะเป็นความพลั้งเผลอความอยากรู้อยากลอง แต่เมื่อลองแล้วติดยาเสพติด กลับไม่มีกระบวนการรักษาหรือบำบัดที่ให้ผู้ติดยาเสพติดสามารถเดินเข้ารับการรักษาเสมือนผู้เจ็บป่วยทั่วไป โดยไม่มีการดำเนินคดีอาญา หรือไม่มีการบันทึกประวัติใด ๆ ไว้ ผู้เขียนเชื่อว่า หากมีคลินิกรักษาผู้ติดยาทั่วประเทศในลักษณะคลินิก HIV มีการแจกจ่ายสารรักษายาเสพติดโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย พร้อมกับมีจิตแพทย์ในการดูแลให้คำปรึกษาแล้ว จะทำให้สถานการณ์ยาเสพติดเลวร้ายน้อยลง เพราหากสังคมสามารถกำจัดความต้องการเสนอซื้อยาเสพติดได้ ผู้ผลิตยาเสพติดราคาแพง ๆ ก็ไม่อาจจะดำรงอยู่ได้ต่อไป

สังคมไทย จึงต้องตั้งคำถามว่า พร้อมหรือยังกับแนวคิด Decriminalization & Harm reduction ที่ผู้เขียนได้นำเสนอไปข้างต้น หากพร้อมก็ลองพิจารณานำมาปรับใช้กันสักที เพื่ออนาคตลูกหลานของเรา โดยก่อนอื่น จะต้องปรับทัศนคติของเจ้าหน้าที่ฝ่ายรัฐให้ได้ว่า ผู้เสพ และการมียาเสพติดไว้เพื่อเสพส่วนตัวนั้น ไม่ใช่อาชญากรรม และควรดำเนินการด้วยมาตรการทางปกครอง เพราะไม่มีใครอยากได้ชื่อเป็นคนขี้ยา การเริ่มต้นจากการสร้าง คลินิกนิรนาม และศูนย์บำบัดอย่างไม่เปิดเผยชื่อ ไม่มีกระบวนการทางอาญาใด ๆ พร้อมกับมีนักจิตวิทยาบำบัดให้เลิกยาเสพติด จะช่วยเหลือคนติดยากลับมามีชีวิตที่ปกติในสังคม โดยยังสามารถดำรงชีวิตปกติ และเข้าอยู่ร่วมกับสังคมได้ต่อไป ไม่ถูกรังเกียจอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบันอีกต่อไป


โดย: POL_US วันที่: 22 สิงหาคม 2557 เวลา:18:01:01 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

POL_US
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 82 คน [?]




คลิ๊ก เพื่อ Update blog พ.ต.อ.ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ ได้ที่นี่
https://www.jurisprudence.bloggang.com






รู้จักผู้เขียน : About Me.

"เสรีภาพดุจดังอากาศ แม้มองไม่เห็น แต่ก็ขาดไม่ได้ "










University of Illinois

22 Nobel Prize & 19 Pulitzer Prize & More than 80 National Academy of Sciences (NAS) members







***คำขวัญ : พ่อแม่หวังพึ่งพาเจ้า

ครูเล่าหวังเจ้าสร้างชื่อ

ชาติหวังกำลังฝีมือ

เจ้าคือความหวังทั้งมวล



*** ความสุข จะเป็นจริงได้ เมื่อมีการแบ่งปัน :

Happiness is only real when shared!














ANTI-COUP FOREVER: THE END CANNOT JUSTIFY THE MEANS!






Online Users


Locations of visitors to this page
New Comments
Friends' blogs
[Add POL_US's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.