บ้านธรรมชาติบำบัดกับใจอาสา
ชุมชนใจอาสา 2020 Ep27

เพื่อนๆ ส่งภาพเก่าๆ สมัยเริ่มทำกิจกรรม บ้านธรรมชาติบำบัด มาให้พื้นความทรงจำ ในวันเปิดตัวกลุ่มสูงวัยใจอาสา การสาทิตอุปกรณ์ส่งเสริมสุขภาพ และผลิตภัณฑ์ของสมาชิกในแต่ละชุมชนฯ



วันนั้นมีผู้นำรุ่นนักศึกษาอาวุโส และสมาชิกคลังปัญญาผู้สูงวัยมาร่วมกิจกรรมมากเป็นประวัติการณ์ โดยมีป้านา จันทรารัตน์ หล้าปิงเมือง 
ประธานสาขาสมาคมชมรมผู้สูงอายุจังหวัดปทุมธานี เป็นประธานในการประชุม



ครูบรรจง ทองย่น และสมาชิกร่วมกันบริจาคเข้ากองทุนใจอาสา เพื่อสนับสนุนกิจกรรมของกลุ่มสูงวัยใจอาสา และบ้านธรรมชาติบำบัด เป็นเงิน 10,000 บาท





เป็นทุนสำรองเพื่อใช้ในการเยี่ยมเยือนกลุ่มสมาชิกในเครือข่าย และประสานงานกับสื่อสาธารณะ ในการเผยแพร่กิจกรรมของธรรมชาติบำบัด และส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ออกสู่สังคม

เพราะเราเชื่อว่าเมื่อกิจกรรมของชุมชนผ่านสื่อออกไป โอกาสที่จะได้การตอบรับกลับมาได้มากขึ้น และการพัฒนาก็จะตามมา

ลุงแดง ใจอาสา
15 เมษายน 2565

#บ้านธรรมชาติบำบัด #สูงวัยใจอาสา #ส่งเสรืมสุขภาพผู้สูงอายุ #ป้านา จันทรารัตน์ หล้าปิงเมือง #ครูบรรจง ทองย่น #มหาวิชชาลัยบ้านกระแชง #สมาคมชมรมผู้สูงอายุ สาขาปทุมธานี

 



Create Date : 15 เมษายน 2565
Last Update : 15 เมษายน 2565 16:25:41 น.
Counter : 788 Pageviews.

0 comment
คู่มือการกดจุดสะท้อนเท้า

คู่มือกดจุดสะท้อนเท้า เพื่อสุขภาพผู้สูงอายุ
จัดทำโดยกองการแพทย์ทางเลือก
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข
 


คู่มือ “กดจุดสะท้อนเท้า (Foot Reflexology) เพื่อสุขภาพผู้สูงอายุ” สำหรับบุคลากรสาธารณสุขและภาคีเครือข่ายใช้เป็นแนวทางการบูรณาการดูแลสุขภาพ ผู้สูงอายุ ให้สามารถพึ่งตนเองและปฏิบัติกิจวัตรประจำวันต่างๆ ได้ด้วยตนเอง ลดภารการดูแลผู้สูงอายุ ส่งผลให้คุณภาพชีวิตของคนในครอบครัว ชุมชน และสังคมดีขึ้น การจัดทำคู่มือ “กดจุดสะท้อนเท้า (Foot Reflexology) เพื่อสุขภาพผู้สูงอายุ” ประกอบด้วย
  • การแบ่งประเภท Reflexology
  • ประวัติความเป็นมา
  • ทฤษฎีโซน (Zone theory)
  • ทฤษฎีเส้นพลัง (Meridian theory)
  • งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
  • เทคนิคการแบ่งโซนเท้า
  • ตำแหน่งอวัยวะที่สะท้อนบนฝ่าเท้า
  • เทคนิคและวิธีการกดจุดสะท้อนเท้าเพื่อสร้างเสริมสุขภาพ
  • กลไกการบำบัดอาการที่พบบ่อย 7 ระบบ
  • ข้อห้ามและข้อควรระวัง
  • คำแนะนำหลังการนวดกดจุดสะท้อนเท้า
  • ประโยชน์ของการกดจุดสะท้อนเท้า












สามารถเข้าไปโหลดได้
https://thaicam.go.th/wp-content/uploads/2019/08/คู่มือกดจุดสะท้อนเท้า-2019-ใหม่-2.pdf





Create Date : 14 เมษายน 2565
Last Update : 14 เมษายน 2565 18:58:12 น.
Counter : 4944 Pageviews.

0 comment
กดจุด "หย่งเฉวียน" เพิ่มส่วนสูง
ชุมชนใจอาสา 2020  Ep26
 

กดจุดเพิ่มความสูง จริงหรือ?


"เห็นหนังสือพิมพ์โฆษณาว่ามีเครื่องช่วยเพิ่มความสูงของญี่ปุ่น ใช้ใส่ไว้ใต้ส้นเท้าเวลาเดิน เขาบอกว่ามันมีผลกับต่อมพิทูอิทารี ใช้ได้ตั้งแต่อายุ 12-35 ปี ถ้าใส่ไว้จะทำให้สูงประมาณ 3-8 ซม. ใน 1 ปี"

"ก็เพราะโฆษณาอย่างนี้แหละ กระทรวงสาธารณสุขถึงเล่นงานและสั่งไม่ให้ขายเลยไงล่ะ"

 
 
 
ต่อมพิทูอิทารีเกี่ยวอะไรกับต่อมหมวกไตและความสูง?

ตามทฤษฎีแพทย์จีนอธิบายว่า หน้าที่ของไต คือ 1 เก็บสารจำเป็นของชีวิต 2. กำหนดน้ำ 3. สัมพันธ์กับการหายใจของปอดและควบคุมการเจริญเติบโตและการเสื่อมถอยของร่างกาย

จากผลการวิจัยของโรงพยาบาลแพทย์แห่งหนึ่งที่เซี่ยงไฮ้ (ซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Shanghai journal of traditional Chinese medicine ฉบับที่ 2 ปี 1979 หน้า 34-37) ซึ่งผู้ศึกษาผู้ป่วยมาตั้งแต่ปี 1960-1979 รวมทั้งสิ้น 358 ราย พบว่าในจำนวนผู้ป่วยที่ไตพร่อง ส่วนใหญ่การทำงาน (activity) ของต่อมพิทูอิทารี-ต่อมหมวกไต จะต่ำกว่าปกติ (เมื่อเทียบกับคนปกติที่ไตไม่พร่อง)

ในเมื่อต่อมพิทูอิทารี มีความสัมพันธ์กับไต และไตมีความสัมพันธ์กับจุดหย่งเฉวียน เพราะฉะนั้น จึงพอจะสรุปได้ว่า จุดหย่งเฉวียนก็น่าจะมีความสัมพันธ์กับต่อมพิทูอิทารีเช่นกัน

 


จุด "หย่งเฉวียน" อยู่ตรงไหน?​

หากอยากรู้ให้ลองงอนิ้วเท้าทั้งห้าเข้าหาอุ้งเท้าดู ที่อุ้งเท้าจะปรากฏรอยบุ๋ม จุด "หย่งเฉวียน" จะอยู่ตรงกลางรอยบุ๋มนี้  
การแพทย์จีนอธิบายว่า เป็นจุดบนเส้นขาเส้ายินไต ซึ่งเป็นเส้นที่ทอดจากปลายนิ้วก้อยด้านฝ่าเท้า ผ่านจุดหย่งเฉวียนขึ้นไปตามขาด้านใน ผ่านท่อปัสสาวะไปยังไต แล้วผ่านไปยังปอด ขึ้นไปที่คอด้านหน้า และโคนลิ้น เป็นเส้นที่เชื่อมโยงไต และกระเพาะปัสสาวะ
 
ดังนั้น หากจุดต่างๆ ที่ฝ่าเท้า โดยเฉพาะ "หย่งเฉวียน" จะได้รับการกระตุ้นอย่างเหมาะสมแล้ว สมองที่มีส่วนสัมพันธ์กับไต ไขสันหลัง และระบบประสาท จะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น ช่วยทำให้การขับฮอร์โมนชนิดต่างๆ ในร่างกายเป็นไปอย่างสมบูรณ์ ร่างกายจึงกระปรี้กระเปร่า และสดชื่น

 
ขอขอบคุณ : มูลนิธิหมอชาวบ้าน

อ่านบทความเต็ม
 https://www.doctor.or.th/article/detail/6631



Create Date : 12 เมษายน 2565
Last Update : 14 เมษายน 2565 9:06:56 น.
Counter : 782 Pageviews.

0 comment
เดินด้วยเท้าเปล่าดีต่อสุขภาพ

ชุมชนใจอาสา 2020  Ep25

1. การให้เท้าได้เหยียบย้ำไปบนพื้นหญ้าบ้างจะช่วยทำให้คุณรู้สึกผ่อนคลาย ทดลองง่าย ๆ หลังเลิกงาน กลับบ้านให้คุณถอดรองเท้าถุงเท้า แล้วลองเดินเท้าเปล่าบนสนามหญ้า รับรองได้เลยว่าคุณจะรู้ผ่อนคลาย และสบายขึ้นอย่างประหลาด
 


2. การเดินเท้าเปล่ายังเป็นการช่วยบริหารกล้ามเนื้อเท้าให้แข็งแรงขึ้น และไม่เสื่อมสภาพเร็วจนเกินไป
 
3. ยังมีส่วนในการช่วยทำให้โครงกระดูกของเท้าทำหน้าที่ได้ดีอย่างเป็นธรรมชาติ ไม่ต้องถูกบีบรัดอยู่ในรองเท้าตลอดเวลา หากรองเท้ารัดมาก ๆ ก็มีส่วนทำให้กระดูกเสียรูปทรงไปได้เช่นกัน
 
4. การเดินเท้าเปล่าไปบนหญ้า พื้นดิน หรือพื้นทราย ถือเป็นการนวดฝ่าเท้าอย่างหนึ่ง ที่มีส่วนกระตุ้นให้ร่างกายรู้สึกกระปรี้กระเปร่า โดยเฉพาะการเดินในช่วงเช้าที่รับอากาศบริสุทธิ์ คุณจะรู้สึกสดชื่นแจ่มใส



5. ตามหลักของการแพทย์แผนจีนยังระบุด้วยว่า การเดินเท้าเปล่าจะทำให้ธาตุไฟภายในร่างกายเกิดความสมดุล มีส่วนในการช่วยเสริมสร้างพลังงานแก่ชีวิต ช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกายทำงานสมดุล เช่น 
5.1 ระบบขับถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ 
5.2 ระบบสมอง บรรเทาความเครียด ความดันโลหิตสูง นอนไม่หลับ เพิ่มสมาธิและความจำ
5.3 ระบบฮอร์โมน เช่น บรรเทาอาการวัยทอง และปวดประจำเดือน
5.4 ระบบประสาทสัมผัส การดมกลิ่น อาการทางสายตาสั้น-ยาว หู จมูก ไขสันหลัง 
5.5 ระบบน้ำเหลือง กระตุ้นการไหลเวียนของระบบน้ำเหลือง
5.6 ระบบภูมิคุ้มกันโรค กระตุ้นภูมิคุ้มกันภายในร่างกายให้ทำงานได้ดีขึ้น

6. ลดอัตราการเกิดอนุมูลอิสระภายในร่างกาย ทำให้ร่างกายไม่แก่ก่อนวัย

7. ช่วยให้ระบบการไหลเวียนของโลหิตไปยังอวัยวะต่างๆ ภายในร่างกายดีขึ้นส่งผลให้มีการขับถ่ายของเสียออกจากเซลล์ และปรับสภาวะสมดุลของร่างกาย 

8. ช่วยบรรเทาโรคบางอย่าง เช่น ท้องผูก หืด ปวดหัว โรคไต นิ่วในถุงน้ำดี โรคเกี่ยวกับกระเพาะปัสสาวะ โรคเครียด ไมเกรน และไซนัส 

เพียงแค่เราสละเวลาอันมีค่าและถอดรองเท้าออกไปเดินบนสนามหญ้าหน้าบ้านในตอนเช้า เพียงแค่ 15-30 นาที ก็มีผลดีต่อสุขภาพตั้งหลายประการแล้วค่ะ
 
ขอบคุณ : เดินเท้าเปล่าบำบัดสารพัดโรค (trueplookpanya.com)

 



Create Date : 11 เมษายน 2565
Last Update : 12 เมษายน 2565 12:48:51 น.
Counter : 791 Pageviews.

0 comment
การนวดเพื่อสุขภาพแผนไทย
ชุมชนใจอาสา 2022 Ep24



เท้า เป็นอวัยวะสำคัญที่หลายคนอาจมองข้ามไป ทั้งๆ ที่เท้านั้นเป็นอวัยวะที่รองรับน้ำหนักตัวทั้งหมดของร่างกาย ช่วยให้การเคลื่อนไหวเป็นไปอย่างราบเรียบ และเป็นหนึ่งในอวัยวะที่มักจะถูกมองข้ามการดูแล ซึ่งหลายคนมองว่าการล้างเท้า ทำความสะอาด หรือตัดเล็บเท้า ถือเป็นการดูแลที่เพียงพอ แต่ในทางธรรมชาติบำบัด ประโยชน์ของการนวดเท้า ที่เป็นศูนย์รวมเส้นประสาทของร่างกายและเป็นจุดบ่งบอกอาการของโรค คือการบำบัดโรคผ่านการนวดฝ่าเท้า ซึ่งเป็นศาสตร์ที่สืบต่อกันมาของชาวจีนและอียิปต์โบราณมากว่า 5,000 ปี



การนวดเท้า
การนวดเท้านั้นเป็นที่ยอมรับกันว่า เป็นศาสตร์ที่มากกว่าการนวดเพื่อผ่อนคลาย แต่เป็นการนวดเพื่อรักษาโรค ช่วยดูแลสุขภาพ และช่วยให้สุขภาพจิตดีขึ้นโดยเฉพาะในผู้สูงอายุ ด้วยเท้านั้นเป็นศูนย์รวมปลายประสาทของอวัยวะทุกส่วนในร่างกาย ดังนั้นการนวดเท่ากับเป็นการกระตุ้นปลายประสาทเพื่อให้เลือดลมหมุนเวียนสะดวก ร่างกายปรับสมดุลให้กลับมามีประสิทธิภาพดี  โดยที่ฝ่าเท้าจะมีจุดต่างๆ มากกว่า 60 จุดที่เชื่อมโยงกับอวัยวะทั่วร่างกาย เช่น ตับ ไต หัวใจ สมอง กระเพาะปัสสาวะ ระบบสืบพันธุ์ และหากเกิดปัญหากับอวัยวะนั้นๆ ก็จะทำให้การกดจุดที่เชื่อมโยงแล้วมีอาการเจ็บปวด ซึ่งเป็นข้อสันนิษฐานได้ว่าอวัยวะนั้นๆ กำลังทำงานอย่างผิดปกติ โดยแบ่งตามระดับความเจ็บปวดที่เกิดขึ้น ทั้งนี้ควรได้รับการตรวจรักษาจากแพทย์แผนปัจจุบันควบคู่กันไปด้วยเพื่อประโยชน์ในการรักษาของผู้ป่วยให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

การนวดเท้าเพื่อสุขภาพ
มูลนิธิการแพทย์แผนไทยพัฒนา









การนวดเท้าเพื่อสุขภาพ
จัดทำโดย มูลนิธิการแพทย์แผนไทยพัฒนา
https://www.youtube.com/watch?v=s59wCBn7_Yw


 



Create Date : 11 เมษายน 2565
Last Update : 14 เมษายน 2565 9:11:20 น.
Counter : 522 Pageviews.

0 comment
1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  

idea4thai
Location :
ปทุมธานี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 41 คน [?]



ความคิดสร้างสรรค์ เพื่อเยาวชนและชุมชมไทย

All Blog