มหกรรมภูมิปัญญาหมอพื้นบ้าน

ชุมชนใจอาสา2020  Ep42

มหกรรมภูมิปัญญาหมอพื้นบ้าน





โดยมีนายโชตินรินทร์ เกิดสม ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร
  • พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาแนวทางการพลิกโฉมพืชสมุนไพรด้วยการวิจัยและนวัตกรรม วุฒิสภา
  • พระมหาขวัญชัย เจ้าอาวาสวัดคีรีวงก์ ร่วมเปิดงาน
  • ซึ่งจัดเป็นครั้งที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 12-14 พ.ค. มีเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานราชการ และประชาชนมาร่วมงานเป็นจำนวนมาก



อีกทั้งปลุกจิตสำนึกและฟื้นฟูอนุรักษ์ ภูมิปัญญาไทยให้ประชาชนใช้ยาสมุนไพรได้อย่างถูกต้องโดยเฉพาะช่วงโควิด-19 นอกจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญสมุนไพรจากสมาคมแพทย์แผนไทยทั้ง14 จังหวัดภาคใต้ และ พ.อ. นพ. พงษ์ศักดิ์ ตั้งคณา บรรยายเรื่องสมุนไพรให้ผู้มาร่วมงานได้กลับนำไปใช้บำบัดโรคอย่างถูกต้อง...

คลิปวัดคีรีวงก์ รายการรักษาโรคได้ ไม่เปลืองพลังงาน
https://www.youtube.com/watch?v=3nf3tXy0j5Y


 



Create Date : 18 พฤษภาคม 2565
Last Update : 8 กรกฎาคม 2565 17:25:34 น.
Counter : 672 Pageviews.

0 comment
ประโยชน์และโทษ"ผงปรุงรสสำเร็จรูป"
ชุมชนใจอาสา 2020 Ep41

อันตรายที่มากับความอร่อยของ“ผงปรุงรสสำเร็จรูป”




สังคมยุคเร่งด่วน ทำให้ “ผงปรุงรสสำเร็จรูป” กลายเป็นตัวช่วยของพ่อบ้านแม่บ้านสมัยใหม่ และพ่อครัวแม่ครัวของร้านอาหาร  แต่เราเคยสงสัยกันบ้างไหมว่า “ผงปรุงรสสำเร็จรูป” จริงๆ แล้วแตกต่างจากเครื่องปรุงรสแบบเดิมๆ เช่น น้ำปลา ซอสถั่วเหลือง และผงชูรส อย่างไร?

“ผงปรุงรสสำเร็จรูป” ทำมาจากอะไร?
ผงปรุงรสสำเร็จรูป คือผลิตภัณฑ์ปรุงแต่งรสอาหารที่ได้จากการนำเนื้อสัตว์ ซึ่งส่วนใหญ่จะนิยมใช้เนื้อมาหมักรวมกับเครื่องปรุงรสและเครื่องเทศต่างๆ เช่น น้ำตาล เกลือ กระเทียม พริกไทย ผงชูรส (โมโนโซเดียมกลูตาเมต) ฯลฯ แล้วให้ความร้อนจนแห้งจึงบดเป็นผง

ผงปรุงรสสำเร็จรูปจะะมีส่วนประกอบของผงชูรสมากน้อยต่างกันในแต่ละยี่ห้อ เมื่อมองถึงด้านความปลอดภัยต่อสุขภาพจากการใช้ผงปรุงรสสำเร็จรูปแล้ว หากใช้ปริมาณปกติหรือที่ฉลากสินค้าระบุไว้ จะก่อให้เกิดพิษต่อร่างกายได้น้อยมาก
  • อาการแพ้ผงชูรส มีอาการชาบริเวณใบหน้าและลำคอ รู้สึกมึนงง คลื่นไส้ วิงเวียน และอาเจียน
นอกจากนี้ทั้งผงชูรส และผงปรุงรสหากกินมากๆ ติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจเสี่ยงกับการเกิดโรคความดันโลหิตสูงด้วย 
  • ถ้าใช้ปริมาณมากกว่าที่ร่างกายต้องการต่อวัน อาจเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคโดยจะมีผลกระทบต่อระบบหลอดเลือดต่างๆ ทำให้อวัยวะภายในร่างกายเสื่อมเร็วขึ้น

วิธีเลือกซื้อผงปรุงรสที่ดีที่สุด
1. รสชาติ รสหมู รสไก่ รสผักหรือรสเห็ดหอม
2. ส่วนผสม แนะนำให้เลือกส่วนผสมที่เป็นธรรมชาติมากที่สุด
3. ปริมาณโซเดียม แนะนำให้เลือกส่วนผสมที่น้อยที่สุด
4. ได้รับรองมาตรฐาน อาหารนั้นปลอดภัยและได้มาตรฐาน
 
ตัวอย่างผงปรุงรสที่ได้รับความนิยม

ฟ้าไทย ผงปรุงรส รสเห็ดหอม ปริมาณ 850 กรัม ผลิตจากเห็ดชิตาเกะคุณภาพดี เหมาะสำหรับผู้ที่ทานมังสวิรัติ เจ ให้รสชาติกลมกล่อมและอร่อย ปราศจากผงชูรส วัตถุแต่งกลิ่นและวัตถุกันเสีย 
  • เกลือ 25%  ผงเห็ดหอม และน้ำตาล
Rosdee รสดี รสหมู ปริมาณ 75 กรัม ผลิตจากเนื้อหมูคุณภาพดีและเครื่องเทศชั้นเลิศ ได้รสชาติที่กลมกล่อม เข้มข้น ใช้ได้ทั้ง ต้ม ผัด แกง ทอด
  • เกลือ 3.5% ผงชูรส น้ำตาล เครื่องเทศ เนื้อหมูผง น้ำมันปาล์ม
คนอร์อร่อยชัวร์ รสหมู ปริมาณ 70 กรัม บรรจุภัณฑ์แบบซิปล็อค ช่วยรักษาคุณภาพ ประกอบด้วยเนื้อหมู เครื่องเทศและกระเทียมเจียว เพื่อเพิ่มกลิ่นและรสชาติให้อร่อยมากขึ้น
  • เกลือ 240 มก/หน่วยบริโภค , น้ำตาล, แป้งมัน, เนื้อหมู, น้ำมันปาล์ม, เครื่องเทศ และกระเทียมเจียว
 


เราจึงควรพิจารณาผลิตภัณฑ์ที่แสดงฉลากชัดเจน และใช้ในปริมาณที่กำหนดเท่านั้นเพื่อไม่ให้เกิดโทษต่อร่างกาย อย่างไรก็ดี การหลีกเลี่ยงเครื่องปรุงรสเหล่านี้ได้จะเป็นวิธีที่ดีที่สุด 

 



Create Date : 14 พฤษภาคม 2565
Last Update : 8 กรกฎาคม 2565 17:26:24 น.
Counter : 2145 Pageviews.

0 comment
สารปนเปื้อนในซอสถั่วเหลือง
ชุมชนใจอาสา 2020 Ep40

สารปนเปื้อนในซอสถั่วเหลือง



3-MCPD ปนเปื้อนอยู่ในซอสถั่วเหลือง

ซอสถั่วเหลือง หรือซีอิ๊ว เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการย่อยสลายโปรตีนของถั่วเหลือง หรือส่วนผสมของถั่วเหลืองและแป้งข้าวสาลีโดยการหมัก หรือการย่อยด้วยสารเคมีแล้วนำไปฆ่าเชื้อด้วยความร้อน ระดับพาสเจอไรซ์แล้วบรรจุลงขวด
ซอสถั่วเหลืองส่วนใหญ่มีกระบวนการผลิต 2 รูปแบบคือ 
  • การหมักด้วยจุลินทรีย์แบบดั้งเดิม วิธีนี้ซอสจะมีรสชาติดี
  • การย่อยสลายโปรตีนของถั่วเหลือง โดยใช้กรดเกลือความเข้มข้นสูงในสภาวะที่มีอุณหภูมิสูง วิธีนี้แม้รสชาติจะด้อยกว่าวิธีแรก นิยมใช้เหมาะสำหรับการผลิตในอุตสาหกรรม เพราะใช้ระยะเวลาในการผลิตรวดเร็วกว่า
     
    แต่วิธีนี้ทําให้สาร 3-MCPD เกิดขึ้นและปนเปื้อนอยู่ในซอสถั่วเหลือง
หากร่างกายได้รับปริมาณสาร 3-MCPD ปริมาณมากและบ่อยครั้ง จะทำให้เกิดความเป็นพิษระยะยาว โดยสารดังกล่าวองค์การวิจัยโรคมะเร็งนานาชาติได้จัดให้เป็นสารในกลุ่ม 2B ที่อาจจะก่อมะเร็งในคนได้
 
วันนี้ สถาบันอาหาร ได้สุ่มตัวอย่างซีอิ๊วขาวและซอสถั่วเหลืองจำนวน 5 ตัวอย่าง จาก 5 ยี่ห้อที่วางจำหน่ายในกรุงเทพฯ นำมาวิเคราะห์ปริมาณสาร 3-MCPD ผลปรากฏว่ามีซอสถั่วเหลืองจำนวน 3 ตัวอย่าง พบสาร 3-MCPD ปนเปื้อน แต่ยังมีปริมาณที่ไม่เกินค่ามาตรฐานของไทย ที่กำหนดให้พบสาร 3-MCPD ปนเปื้อน ในผลิตภัณฑ์ปรุงรสที่ได้จากการย่อยโปรตีนของถั่วเหลืองได้ไม่เกิน 0.5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม



https://www.thairath.co.th/lifestyle/food/1822508
 

3-MCPD คืออะไร 

เป็นสารปนเปื้อน ที่เกิดจากกระบวนการผลิตที่ใช้วิธีย่อยสลายโปรตีนของพืชโดยการใช้กรด เช่น กรดเกลือ (HCL) ที่มีความเข้มข้นสูงในสภาวะที่มีอุณหภูมิสูง ซึ่งในขณะเดียวกันนั้นจะเกิดกระบวนการคลอรีเนชั่นของน้ำมันและไขมันที่เป็นส่วนประกอบที่มี อยู่ในวัตถุดิบพืช (High temperature chlorination of lipids ) ซึ่งกระบวนการดังกล่าว ทำให้เกิดสาร 3-MCPD ปนเปื้อนในอาหาร



ปัจจัยการเกิดสาร 3-MCPD ในอาหาร
  • การใช้ Acid-HVP ที่มีการปนเปื้อนสาร 3-MCPD เป็นวัตถุดิบในการผลิต
  • การเกิดปฏิกิริยาคลอริเนชั่น ระหว่างโปรตีนจากพืช ไขมันและกรดเกลือเข้มข้นในการไฮโรไลซ์โปรตีนจากพืชโดยใช้กรดเกลือ
  • อาหารที่ผ่านกระบวนการผลิตที่ใช้อุณหภูมิสูง หรืออาหารที่มีไขมันสูง ความเป็นกรดด่างต่ำ หรือปริมาณเกลือสูง
  • อาหารที่เก็บรักษาเป็นเวลานาน
  • การใช้ Epichlorohydrin/amine copolymer เพื่อตกตะกอนสารแขวนลอยในน้ำในการผลิตน้ำประปา
  • การใช้ Epichlorohydrin ผลิตภาชนะบรรจุ ซึ่งทำให้มีการปนเปื้อนสาร 3-MCPD จากภาชนะแพร่กระจายสู่อาหารที่ใช้ภาชนะดังกล่าวได้
พิษของสาร 3-MCPD
มีรายงานว่า การเกิดพิษในระยะสั้นจะเกิดพิษต่อไตของหนูทดลอง ในลิงก่อให้เกิดภาวะโลหิตจาง ภาวะเม็ดเลือดขาวลดลง และภาวะเกล็ดเลือดลดลง
ส่วนในระยะยาวจะทำให้หนูทดลองมีการเคลื่อนไหวของ spermatozoa ที่ผิดปกติ ส่งผลให้เกิด renal tumor, testicular tumor ซึ่งมีผลต่อระบบสืบพันธุ์ และทำให้เป็นหมันในที่สุด รวมทั้งมีผลให้เกิดการสร้างเซลล์มะเร็งได้ที่ตับ ไต เยื่อบุปากและลิ้น

3-MCPD มีอยู่ในซีอิ๊วขาว
สารปนเปื้อน 3-MCPD นั้นไม่ได้มีอยู่ในผลิตภัณฑ์ประเภทซอสถั่วเหลืองเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังสามารถพบได้ในอาหารหลายประเภทที่ต้องผ่านกระบวนการหมักทั้งพืชและสัตว์ อย่างเช่น แฮม ไส้กรอกหมัก ผลิตภัณฑ์ไส้กรอกหมัก เช่น ซาลามี่ พบว่าอาจมีสาร 3-MCPD ปนเปื้อนได้ในระดับ 0.1 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ผลิตภัณฑ์ธัญพืชอบ, ข้าวบาร์เล่ย์ คั่วสําหรับทําเบียร์ (สีเข้ม) และอาหารบํารุง จากข้าวบาร์เล่ย์คั่ว มีสาร 3-MCPD ปนเปื้อนในระดับที่มากกว่า 0.1 มิลลิกรัม/ กิโลกรัม



แล้วจะเลือกซื้อซีอิ๊ว ที่ปราศจากสารปนเปื้อนชนิดนี้ได้อย่างไร

ซีอิ๊วขาวจะมีอยู่ 2 แบบ แบบแรกจะเป็นซีอิ๊วที่ผลิตมาจากถั่วเหลืองที่ผ่านกระบวนการหมักแบบดั้งเดิมตามวิธีธรรมชาติ ซึ่งใช้เชื้อราและ/หรือ เชื้อแบคทีเรีย และ/หรือ ยีสต์ เป็นหัวเชื้อ นำไปผสมน้ำเกลือ หมัก นานกว่า 90 วัน

ส่วนซีอิ๊วอีกแบบหรือที่เรียกอีกอย่างว่า ซอสปรุงรส กลุ่มนี้จะใช้กรรมวิธี ใช้กรดเกลือในการย่อยสลายโปรตีนจากถั่วเหลือง ซึ่งเป็นกระบวนการที่ทำให้เกิดสาร 3-MCPD สูงมาก ยิ่งมีการใช้กรดเกลือที่เข้มข้นในกระบวนการหมักมากเท่าไหร่ การปนเปื้อนของสาร 3-MCPD ก็จะมีมากขึ้นเท่านั้น ผู้บริโภคควรศึกษาข้อมูลบนฉลากให้ชัดเจน เพราะในระยะยาวย่อมเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งได้มากขึ้นนั่นเอง

คำแนะนำในการเลือกซื้อเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ปรุงรส
ควรดูข้อมูลบนฉลากให้ครบถ้วนถึงกรรมวิธีการผลิต และบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ จะทำให้คุณปลอดภัยจากสาร 3-MCPD มากกว่า เพราะอะไรก็ตามที่มาจากธรรมชาติและผ่านกระบวนการปรุงแต่งน้อยย่อมปลอดภัยและสร้างปัญหาสุขภาพที่จะตามมาน้อยกว่าเสมอ

ที่มา: สถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม

 


 



Create Date : 10 พฤษภาคม 2565
Last Update : 8 กรกฎาคม 2565 17:27:29 น.
Counter : 1407 Pageviews.

0 comment
รู้จักซีอิ้วและซอสสำหรับเด็ก
ชุมชนใจอาสา 2020 Ep39

ความแตกต่างของซีอิ้ว และซอสปรุงรส



ซีอิ๊วขาว กับซอสปรุงรสต่างกันอย่างไร

แม้เด็กอายุขวบปีขึ้นจะกินอาหารหลากหลายใกล้เคียงกับผู้ใหญ่ แต่รสชาติก็ยังไม่ควรจัดเกินไป คุณแม่สามารถเลือกใช้เครื่องปรุงรสอย่าง ซีอิ๊วขาว หรือซอสปรุงรส มาช่วยปรุงรสชาติกับกลิ่นให้ดูน่ากินยิ่งขึ้นได้ ด้วยการเลือกเครื่องปรุงรสเค็มชนิดใดชนิดหนึ่ง ใส่ในปริมาณที่พอเหมาะ
ไม่จำเป็นต้องเติมครบทั้งซีอิ๊วขาว และซอสปรุงรสในจานเดียว เพราะกลัวว่าจะไม่อร่อย แล้วจะเลือกใช้อะไรดีระหว่างซีอิ๊วขาว กับซอสปรุงรส



ตามบัญญัติของคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กำหนดไว้ว่า ซีอิ๊วขาวและซอสปรุงรส หมายถึงผลิตภัณฑ์ที่เป็นของเหลวได้จากการย่อยโปรตีนของถั่วเหลืองด้วยการหมักและกรรมวิธีอื่นที่เหมาะสม และจะแต่งรสหรือสีหรือไม่ก็ได้ หากอธิบายให้เข้าใจง่ายๆ ถึงความแตกต่างของเครื่องปรุงรสทั้งสองชนิด ดังนี้

ซีอิ๊วขาวกับซอสปรุงรสต่างกันที่ตรงไหน
  • ซีอิ๊วขาว คือผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการหมักถั่วเหลืองให้เกิดกระบวนการย่อยสลายตามธรรมชาติจนได้น้ำสีดำใส รสเค็ม มีกลิ่นถั่วเหลืองชัดเจน นิยมใช้ปรุงรสในอาหารจีนแทนน้ำปลาหรือเกลือ
  • ซอสปรุงรส คือผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการสกัดโปรตีนในถั่วเหลืองจากเมล็ดถั่วเหลือง หรือกากถั่วเหลืองด้วยสารเคมีหรือกรดเข้มข้น น้ำสีดำ มีความข้นกว่าซีอิ๊ว ให้รสเค็มกว่า จึงนิยมใช้เหยาะเพื่อเพิ่มรสอาหารให้กลมกล่อมยิ่งขึ้น หรือนำไปหมักเนื้อสัตว์ก่อนปรุงสุก







จากข้อมูลข้างต้นพบว่า ซีอิ๊วขาวที่ดีควรมีปริมาณถั่วเหลืองหรือกากถั่วเหลืองมาก และใช้เวลาหมักนาน เพื่อให้ได้รสเค็มตามธรรมชาติ โดยไม่จำเป็นต้องปรุงรสเพิ่ม สังเกตซีอิ๊วขาวสูตรหมัก 12  เดือนมีสีน้ำซอสดำเข้มกว่าชนิดอื่น มีคุณภาพดี แต่ราคาค่อนข้างสูงและไม่มีข้อมูลระบุถึงปริมาณโซเดียม ถ้าคุณแม่จะใช้ควรชิมรสชาติก่อนและใช้แต่น้อย

ส่วนซีอิ๊วขาวสูตร 1 ที่นิยมใช้ในครัวเรือน ใช้วัตถุปรุงแต่งน้อย แต่มีโซเดียมสูงจึงควรใช้ปริมาณน้อย ขณะที่ซีอิ๊วขาวสูตรโลโซเดียมมีความเค็มน้อยกว่า แต่ใช้วัตถุปรุงแต่งและสารแทนความหวาน ทั้งยังใช้หัวเชื้อถั่วเหลืองแทนการหมักถั่วเหลืองตามธรรมชาติ ฉะนั้นน่าจะเหมาะกับผู้ใหญ่ที่มีปัญหาเรื่องไตและความดันโลหิตสูง มากกว่าใช้กับเด็ก ก่อนตัดสินใจคุณแม่ควรพิจารณาส่วนผสมให้ถี่ถ้วนก่อน


อ่านบทความเต็ม :
https://www.amarinbabyandkids.com/family/lifestyle/soy-sauce-seasoning-sauce/2/



 



Create Date : 09 พฤษภาคม 2565
Last Update : 8 กรกฎาคม 2565 17:28:10 น.
Counter : 545 Pageviews.

0 comment
ธรรมชาติบำบัด กล้วยสุดยอดผลไม้
ชุมชนใจอาสา 2020 Ep38

กล้วย=อาหาร=ธรรมชาติบำบัด


 
กล้วย เป็นผลไม้ที่คนไทยรู้จักกันดี  ผลสุกมีรสชาติดี รับประทานง่าย เป็นที่โปรดปรานของทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะนักกีฬา ผู้สูงวัย และแม่บ้านที่นำมาประกอบเป็นของหวาน เช่น กล้วยบวชชี กล้วยเชื่อม กล้วยตาก และกล้วยปิ้ง

กล้วยอุดมไปด้วยคุณค่าทางสารอาหารและโภชนาการ โดยใน 1 ผล จะให้พลังงานประมาณ 105 แคลอรี่ มี วิตามินบี6 วิตามินซี โพแทสเซียม ธาตุเหล็ก แมกนีเซียม แมงกานีส และใยอาหาร สูง 

กล้วยเป็นพืชที่มีประโยชน์ทุกส่วนตั้งแต่ใบยันราก จำแนกประโยชน์ของกล้วยออกเป็นส่วนๆ เพื่อให้ง่ายต่อการนำไปใช้


ประโยชน์ของรากและลำต้น
  1. ลำต้นนำมาทำเป็นสมุนไพรแผนโบราณ ช่วยรักษาปัญหาผิวหนัง ผื่นแดง แผลไฟไหม้ และน้ำร้อนลวก
  2. รากและลำต้นนำมาต้มแก้กระหายน้ำได้
  3. ลำต้นสามารถนำมาทำเป็นเชือก หรือทำเส้นใยทอผ้า
  4. ลำต้นอ่อน (หยวกกล้วย) สามารถนำมาทำเป็นอาหารสัตว์
ประโยชน์ของก้านกล้วย
  1. นำมาทำเป็นของเล่นให้เด็กๆ เช่น ม้าก้านกล้วย ปืนก้านกล้วย เป็นต้น
  2. นำมาฝานเป็นเส้นเล็กๆ สำหรับใช้มัดของ
ประโยชน์ของใบกล้วย (ใบตอง)
  1. ใช้ในการประดิษฐ์สิ่งของต่างๆ เช่น กระทง หรือบายศรี
  2. เป็นวัสดุธรรมชาติสำหรับรองอาหารร้อนๆ
  3. ใช้ห่ออาหารได้หลากหลายชนิด เช่น ขนม ผักสด ห่อหมก และดอกไม้ เพราะใบตองสามารถทนความร้อนได้ดี จึงนิยมนำมาใช้กับอาหารประเภทต้มและนึ่งทั้งหลาย แถมยังมีกลิ่นหอมด้วย
ประโยชน์ของหัวปลี
  1. ใช้เป็นเครื่องเคียงประกอบอาหารบางชนิด เช่น ผัดไทย น้ำพริกกะปิ
  2. นำมาประกอบเมนูอาหารได้หลากหลายอย่าง เช่น แกงเลียง ยำหัวปลี หัวปลีทอด ขนมจีน ต้มยำ
ประโยชน์ของกล้วยแต่ละชนิด
กล้วยแต่ละชนิด นอกจากนำมาทำอาหารได้หลากหลายเมนูแล้ว ยังมีคุณประโยชน์ที่แตกต่างกันออกไป 



กล้วยหอม
กล้วยหอมสามารถช่วยเลิกบุหรี่ได้ด้วย เพราะวิตามินบี 6 บี 12 โพแทสเซียม และแมกนีเซียมที่มีอยู่มากในกล้วยหอม มีคุณสมบัติช่วยให้ร่างกายฟื้นตัวจากการขาดสารนิโคตินได้อย่างรวดเร็ว หรือพูดง่ายๆ คือ ช่วยลดอาการเหวี่ยง อารมณ์หงุดหงิด และฉุนเฉียว จากการขาดบุหรี่ได้ดีนั่นเอง 

สาวๆ ที่มีอาการหงุดหงิดก่อนมีประจำเดือน ส่งผลให้ อารมณ์แปรปรวน ปวดท้อง ปวดหัว สามารถรับประทานกล้วยหอมเพื่อช่วยลดอาการเหล่านี้ได้เช่นกัน  



กล้วยน้ำว้า

กล้วยน้ำว้ามีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างล้นเหลือ โดยเฉพาะกล้วยแบบห่ามๆ และสุกๆ ที่มีธาตุเหล็กสูง ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง ป้องกันโรคโลหิตจาง มีแคลเซียม ฟอสฟอรัส วิตามินซี
แคโรทีน ไนอาซีน และ ใยอาหารที่ช่วยในเรื่องการขับถ่าย




กล้วยไข่

กล้วยไข่มีคุณสมบัติโดดเด่นในการช่วยลดริ้วรอย เพราะมีสารต้านอนุมูลอิสระอย่างเบต้าแคโรทีน ช่วยชะลอความเสื่อมสภาพของผิวและริ้วรอยต่างๆ รวมไปถึงความเสื่อมของเซลล์ที่สำคัญ
ยังมีฤทธิ์ป้องกันการเกิดเซลล์มะเร็งและยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์เนื้อร้ายได้ 

ในหัวปลีก็ยังมีแคลเซียม ธาตุเหล็ก แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส
ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อกระดูก และเนื้อเยื่อในร่างกายของเราด้วย





กล้วยหักมุก
กล้วยชนิดนี้คุณสมบัติโดดเด่นคือ มีสารที่ชื่อว่าไซโตอินโดไซด์ 1, 2, 3, 4 และ 5 ซึ่งสามารถช่วยบรรเทาอาการท้องอืดท้องเฟ้อเนื่องจากแผลในกระเพาะอาหารได้ดี และยังมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียเอสเคอริเคียโคไล (Escherichia coli) ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการท้องเสีย ใครที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระเพาะและระบบย่อยอาหารบ่อยๆ 

สารอาหารสำคัญในกล้วย
  1. เบนโซไพรีน (Benzopyrene
  2. โดพามีน (Dopamine)
  3. เอพิเนฟรีน (Epinephrine)
  4. ทริปตามีน (Tryptamine)
  5. เซโรโทนิน (Serotonin)
นอกจากนี้ยังพบว่า ภายในกล้วยดิบมีสารแทนนินจำนวนมาก ซึ่งสามารถช่วยบรรเทาอาการท้องเสียและโรคบิด รวมถึงช่วยลดการเกิดแผลในกระเพาะอาหารได้
 
คำแนะนำในการรับประทานกล้วย
กล้วยสุกรับประทานง่าย ลื่นคอ และย่อยง่ายกว่าแบบดิบๆ การเคี้ยวกล้วยไม่ละเอียดก่อนกลืน เป็นวิธีการรับประทานที่ผิด เพราะกล้วยประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรตมากถึง 25% หากเคี้ยวไม่ละเอียดจะทำให้กระเพาะอาหารต้องทำงานหนักในการย่อยทำให้ท้องอืดได้
  • ร่างกายสามารถย่อยกล้วยได้ง่าย และใช้เวลาย่อยเร็วกว่าผลไม้ชนิดอื่นๆ จึงนิยมนำกล้วยเฉพาะเนื้อ นำไส้ออก มาบดให้กับเด็ก หรือทารกรับประทาน 
  • กล้วยจัดเป็นอาหารช่วยลดความอ้วนที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง อุดมด้วยโพแทสเซียม ซึ่งเมื่อรับประทานอย่างพอดีจะช่วยลดความเสี่ยงของโรคเกี่ยวกับความดันโลหิต รวมทั้งช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ลดการเกิดมะเร็งลำไส้ ช่วยควบคุมน้ำหนัก บำรุงหัวใจ บำรุงไต ต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดการเกิดตะคริวขณะออกกำลังกาย และช่วยเพิ่มความอึด ทำให้ออกกำลังกายได้นานขึ้น 
การรับประทานกล้วยมากเกินไปก็อาจเป็นโทษได้เช่นกัน โดยจะทำให้ได้รับโพแทสเซียมสูงเกินไปจนขับออกทางไตไม่ทัน และเป็นอันตรายต่อไตได้ ปริมาณที่แนะนำในการรับประทานคือ 2 ผลต่อวัน



 



Create Date : 04 พฤษภาคม 2565
Last Update : 8 กรกฎาคม 2565 17:28:55 น.
Counter : 621 Pageviews.

0 comment
1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  

idea4thai
Location :
ปทุมธานี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 41 คน [?]



ความคิดสร้างสรรค์ เพื่อเยาวชนและชุมชมไทย

All Blog