เปลี่ยนความคิดชีวิตเปลี่ยน

แก่ เก่า เล่าเรื่อง 8 : 50ปี เพื่อนก็คือเพื่อน

 

อินเตอร์เน็ตทำให้โลกแคบ และถึงกันทั่วโลก ทุกคนมีสิทธิเรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้เหมือนกัน ในเวลาเดียวกัน จึงไม่แปลกที่จะมีธุรกิจใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมาย และมีเศรษฐีใหม่อายุน้อย ไม่ซ้ำหน้าชั่วข้ามคืน

New normal วิถีชีวิตใหม่ หลังโควิด19 จะเปลี่ยนแปลงทุกอย่างไม่กลับมาเหมือนเดิมอีก ชีวิตเดิมๆ จะเปลี่ยนไป ตั้งแต่การกิน การเดินทาง การทำงาน การเข้าสังคม แม้แต่การสูดอากาศบริสุทธิ์ให้เต็มปอดอย่างแต่ก่อน

มีเรื่องเล่าชีวิตที่ผ่านมากับ เพื่อนรัก ที่ชอบศิลปะวาดรูปเหมือนกัน ตั้งแต่สมัยเรียนมัธยม ซึ่งตอนนั้นเพื่อนวาดรูปดารานักร้องให้ร้านตัดเสื้อแถวบางลำพู ได้เสื้อเท่ๆ มาใส่ จนทำให้เราอิจฉา

สมัยนั้น เราอยากเก่งเหมือนเขา จึงเอารูปปู่ไปให้เขา “วาดให้” เพื่อเอามาเป็นตัวอย่าง แล้วฝึกด้วยตัวเองมาตลอด แต่พอหลังจากจบมัธยม ก็แยกย้ายกันไป

เราอยากเรียนเพาะช่าง แต่แม่ไม่ให้เรียนเพราะมีตัวอย่าง น้องแม่มีแฟนเป็นนักวาดรูปใส้แห้ง ตกระกำลำบาก สุดท้ายส่งเราเรียนคอมเมิร์ช แต่งตัวสุดเท่ห์ในสมัยนั้น

ทุกอย่างไม่มีอะไรแน่นอน จบมาทำงานเป็นลูกจ้างบริษัทญี่ปุ่น นำเข้าผ้าจากญี่ปุ่นให้ร้านต่างๆ ตั้งแต่ เยาวราช สุริวงค์ สำเพ็ง พาหุรัด  ถึงหลังวัง ผ่าน โรงเรียนเพาะช่าง บ่อยๆ ทำให้ตัดสินใจเข้าเรียนหลักสูตรพิเศษวันเสาร์อาทิตย์ ได้เรียนศิลปะสมใจ

จบแล้วร่วมกับพวกทำงานศิลปะ วาดรูปส่งร้านแถวสีลม ได้ทำงานที่ใจปรารถนาอยู่พักใหญ่ จนเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลา ก็แยกย้ายกัน เพราะต้องการบวชให้แม่ ในวันบวชเพื่อนเก่ามาเป็นคนแบกนาครอบโบถส์

บวชอยู่นาน มีเวลา ก็วาดรูป ร.5 ให้เพื่อนรักเอาไปเป็นแบบ ทดแทนที่เขาวาดรูปปู่ให้เราสมัยเรียนด้วยกัน ทั้งวาดรูป ร.5 ขนาดใหญ่ใส่กรอบอย่างดีให้ “จิ๋ม”เพื่อนร่วมกลุ่มเพาะช่าง เอาติดไว้ที่บ้านกิ่งเพชร ซึ่งตอนนั้น “มดโมเดล” ลูกของจิ๋มยังเล็กมาก

สึกออกมาแล้วก็ยังเป็นเด็กวัด ใช้ความรู้ด้านศิลปะ รับงานจัดตู้หน้าร้าน (display) หาเงินให้ลูกศิษย์ใช้อยู่พักใหญ่ เห็นลูกศิษย์เรียนอีเล็กทรอนิคส์ วิทยุ-โทรทัศน์ น่าสนใจจึงเริ่มศึกษาค้นคว้า และเรียนภาคค่ำ ก่อนสมัครเข้าทำงานเป็นช่างในโรงงานประกอบโทรทัศน์ และเรียนคู่กันไป

เปลี่ยนความคิด ชีวิตเปลี่ยน

ยุคทองของคอมพิวเตอร์เริ่มเข้ามา ทำให้เปลี่ยนจากช่างอีเลคทรอนิคส์ มาเป็นช่างประกอบชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์บริษัทชั้นนำของอเมริกา และก้าวหน้าขึ้นมาเรื่อยๆ ผ่านเทคโนโลยี่ตั้งแต่ยุค apple รุ่นบุกเบิก IBM PC และ DOS ของไมโครซอฟท์ อาชีพสุดท้ายคือวิศวกรคอมพิวเตอร์  

กราฟชีวิตของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับโอกาสที่เข้ามาในแต่ละช่วง เพื่อนรักโลดแล่น โด่งดังในแวดวง “เพาะกาย” และดำรงอาชีพวาดรูปฝากร้านเพื่อน “สมชายเกเลอรี่” ซึ่งเราทั้งสามมีโอกาสร่วมกันจัดประกวดเพาะกาย ในงานสงกรานต์ ที่อำเภอพระโขนงด้วย

เพื่อนรักผันตัวเองมาเป็นครูสอนศิลปะ และ ศิลปินอิสระ จบชีวิตโลดโผน ในแวดวงสาวๆ และลูกเหล็ก  … โลกแคบ ความสัมพันธ์ไม่เคยเปลี่ยน เรายังคงไม่ทิ้งกัน แม้การใช้ชีวิตจะต่างกัน แต่สิ่งหนึ่งที่เหมือนกันคือยังคงมีความสุขกับ งานที่ตัวเองรัก และชอบ 

หลังเกษียณเราเลือกที่จะใช้ประสบการณ์ ถ่ายทอดความรู้ทางด้านศิลปะ งานประดิษฐ์ และคอมพิวเตอร์ ผ่านเทคโนโลยี่สมัยใหม่ ทำหน้าที่สานต่อเพื่อพ่ออย่างพอเพียง
เป็นเว็บมาสเตอร์ www.jaiRsa.com และหาโอกาสทำงานช่วยชุมชน และสังคมเท่าที่ทำได้ ผ่านมากว่า 10 ปี และตั้งใจจะทำต่อไป จนกว่าจะมีคนรุ่นใหม่มารับไม้ต่อ 

  • สนับสนุนงานศิลปะและสิ่งประดิษฐ์และกิจกรรมชุมชน โทร. 089-4482-089
  • ติดต่อ พลังจินตกร โทร. 085-2123-929

 

Simply Red
5 กรกฎาคม 2563

 

  • คัดลอกจาก jaiarsa/blogspot.com



Create Date : 07 กรกฎาคม 2565
Last Update : 8 กรกฎาคม 2565 17:16:26 น.
Counter : 570 Pageviews.

1 comment
สนุกกับชีวิตหลังเกษียณ
ย้อนอดีต 70ปี  (2493-2563)


ตอนที่  7

ในสภาวะวิกฤติเศรษฐกิจครั้งใหญ่ ไม่มีใครช่วยเราได้นอกจากตัวเรา เครือข่ายที่เหลือ และครอบครัว

คอนเน็กชั่นระหว่างทำงาน จะมีเพื่อนๆ และผู้ที่เคยร่วมงานกันติดต่อกันอยุ่ หลังเกษียณมีบางส่วนหายไปเป็นเรื่องธรรมดา

หลังลาออกจาก CEI มีเพื่อนชวนไปเป็นที่ปรึกษา บริบัทรับเหมาเล็กๆ ที่นิคมอุตสาหกรรมบางปู สมุทรปราการ ไปรับช่วงงานประกอบตู้คอนโทรลไฟฟ้า ABB รับหน้าที่เป็นผู้ประสานงาน กลับมาเอาช่างแผนกซ่อมบำรุงที่ CEI ไปทำงานพิเศษช่วงวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ 

ช่วงไหนมีงานรับเหมาพิเศษไซต์งานอื่น ก็จะตามไปคุมงานหรือลงมือช่วยในบางโอกาส  หลังเลิกงานมีเวลาก็จะหาความรู้ ข่าวสาร และเก็บข้อมูลไว้ในคอมพิวเตอร์ และเขียนบทความในเว็บไซต์ไว้




ต่อมาชนินทร์ เพื่อนเก่าขอให้ไปช่วยงานคุมแผนกช่างและโรงงาน อยู่ที่สะพานใหม่ใกล้ๆ บ้านเก่าที่สินทรัพย์นคร เป็นโรงงานรับจ้างผลิตแผงวงจรและอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ เช่น UPS  Spoiler LED วงจรขยายเสียง เครื่องกันขะโมย เห็นว่าใกล้บ้านจึงออกมาทำด้วยกัน

ทำอยู่นาน ช่วงหลังๆ มีอาการไม่จำและกำลังขาอ่อนแรง จากเข่าเสื่อม เห็นว่าไม่ปลอดภัย แต่ไม่ได้บอกใคร พอลูกสาวเรียนจบธรรมศาสตร์ จึงขอหยุด

 
ช่วงเกษียณใช้โอกาสที่เหลือ ทำในสิ่งที่ตนเองอยากทำ เริ่มจากเรียนเขียนโปรแกรม ทำเว็บไซต์ และงานศิลปะหลายๆ อย่าง เอามาลงในเว็บไซต์ Idea4thai โดยมีสโลแกน "ความคิดสร้างสรรค์ เพื่อเยาวขนและชุมชนไทย"

ได้เข้าอบรมหลักสูตรการเพาะเห็ดครบวงจร ในโครงการลูกพระดาบส กับอาจารย์บุญเลิศ ไทยทัตกุล ที่บางปู  สมุทรปราการ ได้ทดลองทำเว็บไซต์ตัวอย่างให้ไว้

 

มีเพื่อนๆ สูงวัยและหนุ่มสาว ที่อยากมึอาชีพหลังวิกฤติ ออกจากงาน เข้าอบรมกันมาก เราเป็นรุ่น 2 ฝังตัวอยู่ที่นั้นเป็นอาทิตย์ ใช้ชีวิตร่วมกับครูฝีกและผู้ช่วย หาปลา หุงข้าว เก็บเห็ด กินกันเอง มีโอกาสร่วมถ่ายทำสารคดีรายการโทรทัศน์ "คิดดีทำดี" และนำความรู้มาเขียนบทความลงในเว็บไซต์ เพื่อเผยแพร่ความรู้ และส่งต่อการทำความดีสู่สังคม
 
 
ช่วงนึง พระครูสังฆรักษ์วัดนิเวศธรรมประวัติ ท่านเคยเป็นลูกศิษย์วิชาคอมพิวเตอร์ รร. กศน. วัดพุคำบรรพต อำเภอหน้าพระลาน สระบุรี ที่เราเคยไปสอน ขอให้ไปสอนคอมพิวเตอร์ให้พระเณรที่เรียนหลักสูตรสามัญ และช่วยติดตั้งแก้ไขระบบอินเตอร์เน็ตของวัด สอนอยู่พักใหญ่ จึงส่งต่อให้พระในวัดสอนกันเอง 

หลังจากนั้นไปเรียนงานปั้นที่แผนกประติมากรรม ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร อยุธยา กับอาจารย์มนู เสตะกลัมพ์ ได้พบปะเพื่อนๆ รุ่นน้องหลายคนที่เรียนในหลักสูตร อย่างเช่น ภู่กัน ปัจจุบันเปิดร้านอยู่ที่บ้านด่านเกวียน โคราช



อาจารย์มนู แนะนำให้รู้จักกับแผนกต่างๆ เช่น แผนกต้อนรับหมู่บ้าน 4 ภาค แผนกปั้นดินเผาตุ๊กตาไทย แผนกเซรามิก แผนกเครื่องเรือน ระหว่างช่วยทางแผนกเขียนโครงงาน ISO จนหลายๆ คนคิดว่าเป็นอาจารย์ในศูนย์ฯ


อีกครั้งที่ ชนินทร มาขอให้ไปช่วยสร้างโรงงานใหม่ อยู่ฝั่งตรงข้ามกับโรงงานน้ำมันพืชปทุมธานี สร้างอยู่หลายเดือน เมื่อเสร็จแล้วช่วยขนย้ายเครื่องจักรของผู้เช่าที่บางเดื่อมาติดตั้งและเปิดทำงาน จึงหมดหน้าที่ "พี่ที่ไม่ทิ้งน้อง" เป็นโรงงานสุดท้ายของชีวิต


ลุงแดง ใจอาสา
22 มิถุนายน 2564

#เพราะเห็ดครบวงจร #ลูกพระดาบส #บุญเลิศ ไทยทัตกุล #กศน.วัดพุคำบรรพต #วัดนิเวศน์ธรรมประวัติ #ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร #มนู เสตะกลัมพ์ #ชนินทร์ ศิริกิจ 

 



Create Date : 18 มิถุนายน 2564
Last Update : 8 กรกฎาคม 2565 17:11:21 น.
Counter : 900 Pageviews.

1 comment
เศรษฐกิจโลกกับยุคขาลงของชีวิต
ย้อนอดีต 70ปี  (2493-2563)


ตอนที่ 6

วิกฤติเศรษฐกิจโลกครั้งใหญ่ทุก 10ปี
ในปี 2540 ไทยผจญกับวิกฤติต้มยำกุ้ง คนไทยตกงาน เศรษฐกิจธนาคารล่มสลาย ต้องกู้ยืม IMF กิจการจำนวนมาก ถูกบังคับขายให้ต่างชาติช้อนซื้อในราคาถูก 

ช่วงนั้นทำงานอยู่ที่ CEI นวนคร ปทุมธานี ในตำแหน่ง IE ทำงานร่วมกับ Process และ Maintenace สนับสนุนสายการผลิตในส่วนหน้า และได้นำคอมพิวเตอร์ จากบ้านมาใช้ส่วนตัวที่บริษัท เพราะต้องผสานงานกับหลายฝ่าย แต่ส่วนหนึ่งเป็นเพราะเริ่มมีปัญหาเรื่องความจำ เช่น ไม่จำชื่อคน ไม่จำตัวเลข และภาษา (เป็นที่มาของรายการ ลุยไม่รู้โรย ตอน ไม่จำ .. ไม่ลืม ซึ่งจะเล่าในตอนหลัง)



ที่ CEI เราได้นำเอาวิธีการบริหารจัดการจากประสบการณ์ มาพัฒนางานในความรับผิดชอบ เช่น การใช้คอมพิวเตอร์ออกแบบ จัดเก็บข้อมูลฝ่ายผลิต และรายงานสรุปให้ CEO คุณพิทักษ์ ใช้ในการประชุม รวมทั้งบันทึกการซ่อมบำรุงของช่างแต่ละกะ (มี 3กะ เช้า บ่าย ดึก) โดยจะกลับเข้าบริษัทอีกครั้งตอนค่ำๆ ดูการทำงานร่วมกับซุปฝ่ายผลิต และช่างในห้อง Auto insert พร้อมทั้งคีย์ข้อมูลเข้าคอมฯ สรุปเป็น Report ให้ CEO ประชุมตอนเช้า

งานที่ทำจึงไปขัดกับผู้คุมการผลิต และช่าง ซึ่งขึ้นกับผู้จัดการฝ่ายผลิต เพราะข้อมูลที่ได้ไม่ตรงกัน (เป็นข้อเสียที่หลีกเลี่ยงไม่ได้) สุดท้ายถูกดึงเข้าไปช่วยแก้ปัญหางานในแต่ละกะ เพราะความชำนาญของพนักงาน ช่าง และการตั้งเครื่อง ไม่สัมพันธ์กัน สรุปซุป ส่ง Leeder ของแต่ละกะมาป้อนข้อมูลในเครื่องแทนเรา ในขณะที่เราลงไปเก็บข้อมูลร่วมกับประสงค์ Process Engineer เพื่อ วิเคราะห์ปัญหา และจัดทำ Tooling&Fixture ให้เหมาะกับแต่ละ Product แก้ไขปรับปรุงและส่งโรงกลึงที่ทำ Spare part ให้ช่วยแก้ไข *โดยเราขอให้เพื่อนที่เป็น Supplier เจ้าของโรงกลึงช่วยเปิดแท่นกลึงทำงานงานด่วนให้เรา *ขอขอบคุณคุณเต๋า สำโรง 



จากการเข้าไปคลุกคลีกับช่างทุกกะ ทำให้สามารถรวมรวบอุปสรรค์ ปัญหา และ Performance ของแต่ละคน ก่อนเสนอให้เป็นหัวหน้าช่าง และทางแผนกโปรโมทขี้นเป็นซุปในเวลาต่อมา หลายคนเติบโตย้ายไปเป็นซุปที่ Hana เป็น Service Engineer ของ AMS เช่น ประสงค์ และ สาคร 

ความภูมิใจของเราสวนทางกับคนอื่น จึงเหมือนถูกลอย เพราะส่วนใหญ่มาจาก NS  มีการติดต่อให้เราไปทำงานกับ CES บริษัทติดกัน เจ้าของเดียวกัน แล้วข่าวก็เงียบไปก่อนจะถูกเสนอตัวให้ไปคุมงาน สร้างโรงงานใหม่ของ CEI เป็นการปรับปรุงโรงงานเหล็กเส้นเก่าเจ้าของเดียวกัน ร่วมกับหัวหน้าแผนก Facilities และช่างวิท ที่ชอบพอกัน ประสานงานกับผู้รับเหมา เป็นจุดเปลี่ยนอีกครั้งของชีวิต ต้องพบปะกับผู้รับเหมาที่รู้กัน เป็นหนังหน้าไฟให้ทุกฝ่ายตั้งแต่จัดซื้อ หัวหน้าแผนก และฝ่ายบริหาร  

เป็นช่วงตกต่ำที่สุดของชีวิดการทำงาน ผลงานทั้งหมดเป็นของหัวหน้า ปัญหาเป็นของเรา แต่ที่ได้มากที่สุดคือประสบการณ์ ความรู้ การแก้ปัญหา การตีสองหน้าของคนรอบข้าง

เราขับรถไปกลับเพื่อแก้แบบงานกับบริษัทผู้รับเหมาหลัก ระหว่างสำนักงานที่แฟลตเมืองทองธานีกับโรงงานที่นิคมอุตสาหกรรมโรจนะ วังน้อย อยุธยา บ่อยครั้ง ทำให้ได้ความรู้การใช้โปรแกรมเขียนแบบ และการสร้างแบบ 3D การประเมินแบบ และร้านอาหารอร่อย หลายๆ เจ้าในเมืองทอง 



การนับเวลาถอยหลังเริ่มต้น เมื่อการย้ายเครื่องจักรเก่า ขึ้นเก็บบนชั้นสองของอาคาร และการติดตั้งระบบเครื่องทำความเย็น ระบบ Supply ใน Clean room และ Setup เครื่อง Auto insertion 

ที่มีปัญหาต้องตามแก้ไขหลังเปิดโรงงาน เป็นผู้รับเหมารายย่อย รับงานติดตั้ง Canteen และระบบน้ำเสียจากชั้นสอง ลงบ่อบำบัดหลังโรงงาน ไม่ได้มีการออกแบบชัดเจน เกิดปัญหาอุดตัน ระบายไม่ทัน ต้องลงไปแก้ปัญหาเอง

อีกจุดเป็นท่อควันของการผลิตส่วนหลัง ต่อท่อเจาะขึ้นฝ้า (แบบแขวนลอยขึ้นไปเดินได้) มีควันรั้วย้อนกลับเข้าฝ่ายผลิต ต้องมุดเข้ามุดออกซ่อมอยู่หลายครั้ง

ที่แย่สุดคือท่อระบายน้ำรอบโรงงาน ผู้รับเหมาลักไก่ต่อท่อชนกันไม่เทปูนทับ เกิดยุบตัวน้ำท่วมขัง จึงขุดเจอปัญหา  เก็บมาเล่าให้เป็นตัวอย่างเพื่อให้รู้ทันงานก่อสร้าง "กินล่างกินบน"  


ในปี 2550 หลังสร้างโรงงานเสร็จ มีการปรับลดพนักงานทั่วประเทศจากวิกฤติเศรษฐกิจ "แฮมเบอร์เกอร์ ไครซีส" หลายโรงงานต้องปิดตัวลง เราถูกขอให้สมัครใจลาออก เพื่อรักษาลูกน้องในแผนก (เหตุผลของผู้จัดการแผนก) เป็นไปตามคาด จึงไม่แปลกใจ

เหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้รู้ว่าใครรักเรา ใครห่วงเรา ใครคือมิตรแท้  ขอขอบคุณ ทุกๆ คนโดยเฉพาะลูกสาว อมรรัตน์ ฝ่ายบุคคลที่ยังคิดถึงและห่วงใยกันเสมอ

ลุงแดง ใจอาสา
17 มิถุนายน 2564




#วิกฤติต้มยำกุ้ง #CEI #CES #นิคมอุตสาหกรรมโรจนะ #คุณพรพิทักษ์ #ช่างวิท #ประสงค์ PE #สาคร ซุป #อมรรัตน์ #AMS #แฮมเบอร์เกอร์ ไครซีส #เตํา สำโรง



 



Create Date : 16 มิถุนายน 2564
Last Update : 8 กรกฎาคม 2565 17:10:26 น.
Counter : 608 Pageviews.

0 comment
ก้าวไปกับความเปลี่ยนแปลง
ย้อนอดีต 70ปี  (2493-2563)


ตอนที่ 5

ชีวิตไม่มีอะไรแน่นอน มีขึ้นและมีลง ขึ้นอยู่กับใครจะไปให้ถึงที่สุด และอยู่ให้นานที่สุด

ช่วงที่ทำงานที่ ดาต้าเยนเนอรัล เป็นยุคทองของอุตสาหกรรมอีเลคทรอนิคส์และคอมพิวเตอร์ มีโรงงานประกอบไอซี และชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์หลายแห่งที่ยังพอจำได้มี  NS  Sicnetics  Hana  AT&T Elec&Eltec  CEIและCES ที่เป็นของคนไทย 

ช่วงแรกเพื่อนๆ ร่วมแก๊งค์ ที่มาจากสถาบันฯ และทำงานอยู่ดาต้าด้วยกัน มีเรา ชนินทร วิเชียร สุรชาติ รวมตัวกันเช่าตึกแถวใกล้บ้านในซอยหมอเหล็ง เปิดรับซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า โทรทัศน์และเครื่องปรับอากาศ ชื่อ ทีวี&แอร์ มีเดช ลูกศิษย์ท่านวลิขิต วัดธาตุทองมาเฝ้าร้านให้ ตกเย็นกลับจากทำงานก็จะช่วยกันซ่อมงานจนดึก



รวมตัวกันได้พักใหญ่ มาเลิกตอนแต่ละคนมีครอบครัว เราย้ายมาอยู่แฟลตคลองจั่น บางกะปิ และตกลงแต่งงานกับสาวไอซี วันหมั่นพี่หมอ ผู้จัดการฝ่ายบุคคลและพี่สุ ซุปแผนกเทสต์ เป็นผู้ใหญ่สู่ขอ งานแต่งก็ง่ายๆ ทำพิธีรดน้ำที่แฟลต เจ้าหน้าที่อำเภอมาจดทะเบียน ทำอาหารเลี้ยงกันใต้ถุนแฟลต มีซุปอ้วน แผนกไอซี เป็นแม่งาน เพื่อนๆ จากทั้งสองแผนกมากันเยอะ

ดาต้าหมดสัญญาเช่าตึกเก่า ย้ายจากเพชรบุรีตัดใหม่มาเช่าตึกชั้นบนที่คลองตัน ระหว่างรอสร้างโรงงานของตัวเองที่ซอยคุณพระ คลองหลวง หลังสนามกอล์ฟไพเฮิท ปทุมธานี

ตลอด10ปี ตั้งแต่โรงงานเก่า"ดาต้าเป็นบ้านที่อบอุ่นของพวกเรา" จากโรงงาน IC และ Memory Stack มาทำ Ribbon Cartridge Keybord และซ่อมบอร์ดฟีกาซัส เมื่อโรงงานใหม่เสร็จ สายการผลิตหลักเปลี่ยนเป็นมอนิเตอร์ และชิ้นส่วนอีเลคทรอนิคส์ 


             น้องเจน พี่จิต และพี่เงาะ ลูกสาวสุรชาติ

จุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของชีวิต เมื่อมีการยกทีมจาก Data General ย้ายมาอยู่ Elec&Eltec บริษัทฮ่องกง ซึ่งย้ายฐานจากจีน มาเช่าตึกที่คลองตัน ที่ดาต้าเคยเช่าระหว่างรอโรงงานที่กำลังสร้าง

เรามาคุมด้านออโตอินเสริซ วิเชียรคุมเทสต์ ชนินทร์คุมโปรดักชั่น ส่วนสุรชาติ ตอนหลังออกจากดาต้าไปอยู่ AT&T

เหมือนดาต้า Elec&Eltec สร้างโรงงานใหม่ที่บางคูวัด ปทุมธานี บนพื้นที่เดียวกันกับโรงงานผลิตแผงวงจร เป็นการย้ายโรงงานใหม่ครั้งที่ 2 งานนี้เป็นฝีมือของพี่จิรศักดิ์ ประทีปเสน ผู้จัดการใหญ่จากดาต้าเยนเนอรัลเก่า ที่พวกเรารัก

เราควบรวมแผนก Fac&Maintenance ที่นี่มี Machine shop สำหรับงานออกแบบ Tooling&Fixture และงานModified สามารถทำเครื่องมือง่ายๆ สนับสนุนสายการผลิต และงานซ่อมบำรุงในโรงงาน



บริษัทส่งเราไปศึกษาดูงานและรับเครื่อง Sequencer ที่อเมริกา มีนายหน้าชาวฮ่องกงประสานงาน พักที่ San Francisco และได้ศีกษาดูงานในโรงงานที่ใช้เครื่อง ที่ Boston
รัฐแมสซาชูเซตส์ ขอขอบคุณองอาจ สุวรรณพฤก ที่ให้ความไว้วางใจ และสนับสนุน มีเรื่องสนุกๆ ระหว่างทริป ที่จะเก็บมาเล่าภายหลัง

ระหว่างทำงาน พวกเราแท็คทีมกันอีกครั้ง ลงขันเปิดโรงเรียนสอนคอมพิวเตอร์ที่หน้า ม.เกษตร ชื่อไบนารี่ มีคุณองอาจ คุณนิยม และครอบครัวภรรยาคุณนิยม เป็นผู้ดูแล และคุมการสอน

แต่ดำเนินงานได้ไม่นานก็ปิดตัวลง เพราะไม่ได้ตามเป้า และหุ้นส่วนมีมติไม่ดำเนินกิจการต่อ

เราเอาทุนที่ได้คืนมาลงทุนอีกครั้ง ร่วมกับคุณองอาจ และซับพลายเออร์ เปิดโรงกลึงเล็กๆ ให้หนุ่ย ลูกน้องที่จะลาออกจากงาน มาคุมโรงกลึง ทำ spare part เครื่องออโต และอะไหล่ที่หาซื้อไม่ได้ Support งานในเครือข่าย 


โลกหมุนไว เทคโนโลยี่เปลี่ยนแปลงเร็ว ผลิตภัณฑ์สื่อสารโทรคมนาคม เปลี่ยนจากแฟ๊กซ์ โมเดม มารวมอยู่ในคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล Elec&Eltec ปรับตัวอยู่พักใหญ่ สุดท้ายต้องปิดตัวลง อย่างน่าเสียดาย 

ลุงแดง ใจอาสา
15 กรกฎาคม 2564

 



Create Date : 14 มิถุนายน 2564
Last Update : 8 กรกฎาคม 2565 17:09:32 น.
Counter : 682 Pageviews.

1 comment
ทางเดินที่เลือก
ย้อนอดีต 90ปี 2493 - 2564


ตอนที่ 4

ชีวิตเลือกเกิดไม่ได้ แต่เลือกที่จะพัฒนาให้ดีได้ 

"สัญชาตญาณเอาตัวรอด  จะทำทุกวิถีทางเพื่อนำพาตัวเองให้รอดพ้นจากสถานการณ์คับขัน"

"มนุษย์ประเภทหนึ่งเอาตัวรอดโดยใช้ปัญญา ที่ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน และมีผลกระทบต่อสังคม  

อีกประเภทไม่ใช้ปัญญาในการแก้ปัญหา แต่จะโยงคนอื่นเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยไม่คำนึงถึงผลที่ตามมา ว่าจะทำให้เดือดร้อนหรือไม่"

อ้างอิงจากอินเตอร์เน็ต



หลังลาสิกขาออกมาความคิดเดิมๆ เปลี่ยนไป "เรามีเวลาอยู่กับตัวเองมากขึ้น เห็นความแตกต่างของการดำรงค์ชีวิตที่หลากหลายขึ้น" ได้ซึมซับความแตกต่างของคนที่ประสบความสำเร็จ และความไม่แน่นอนของผู้คนที่เข้ามาอาศัยใบบุญของวัด ผ่านโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตชาวบ้านในเขตพระโขนง และใกล้เคียง ของท่านเจ้าคุณฯ

ระหว่างบวช ได้ศึกษาความรู้เกี่ยวกับวิชาที่จะนำไปประกอบอาชีพใหม่ ได้คำแนะนำจากลูกศิษย์ว่า อาชีพช่างอีเล็คทรอนิคส์น่าจะได้รับความนิยมในอนาคต แต่มีคนสนใจน้อยในขณะนั้น
  • สิ่งที่จำเป็นคือต้องหาทุนในการเรียนและฝึกงาน
พยายามติดต่อหางานอิสระอยู่พักใหญ่ ได้เป็นงานโฆษณา จัดตู้โชว์ร้านตัดเสื้อกางเกง (display) ของร้านเฟมัส เจ้าดังของนนทบุรีในสมัยนั้น ซึ่งมีสาขาชื่อ YoYo แยกสะพานควาย และอีกร้านอยู่แยกบรรทัดทอง

ตอนนั้นยังอาศัยวัดเพราะต้องช่วยงานหลวงพี่ป้อม และต้องอาศัยลูกศิษย์ช่วยงานจัดดีสเพลย์ พอหมดสัญญา ได้ทุนมาก้อนหนึ่งจึงสมัครฝึกงานที่สถาบันฯ ในแผนกอีเล็คทรอนิคส์ สาขาช่างวิทยุและโทรทัศน์ โดยทำเรื่องขอยืมทุนในระหว่างฝึกงาน เพื่อให้มั่นใจว่าหลังฝึกจบแล้วจะได้รับการส่งตัวเข้าฝึกงานต่อในโรงงานที่มั่นคง 

ตอนฝึกที่สถาบันฯ ด้วยอายุและประสบการณ์ ทำให้ได้รับเลือกเป็นหัวหน้าแผนก ใช้ความรู้ในการวาดภาพ มาประยุกต์เขียนภาพประกอบคำอธิบาย ทำให้เรียนรู้ได้เร็ว 
เมื่อจบหลักสูตรได้รับความไว้วางใจให้จัดทำรายชื่อส่งเพื่อนๆ เข้าฝึกงานในบริษัทต่างๆ จนครบ เว้นเราคนเดียว ที่ไม่มีชื่อ หัวหน้าแผนกจึงติดต่อผู้จัดการบริษัทกังยงอีเล็คทริค รับเข้าฝึกงานในแผนกประกอบโทรทัศน์ โรงงานมิตซูบิชิที่สำโรง สมุทรปราการ เป็นกรณีพิเศษ  

ระหว่างฝึกงาน ช่วงเย็นจะกลับไปเรียนต่อด้านเท็คนิคส์ ที่สถาบันฯ เพื่อนำความรู้ไปบอกต่อให้กับเพื่อนๆ ในแผนก จนได้รับความไว้วางใจจากหัวหน้า และผู้คุมแผนกให้เรียนรู้สายการผลิต และร่วมการแก้ไขปัญหาในผลิตภัณฑ์โทรทัศน์สีรุ่นแรกๆ

โชคและโอกาสเข้ามาอีกครั้ง เมื่อบริษัทดาต้าเยนเนอรัล ประเทศไทย ถนนเพชรบุรี กรุงเทพฯ เรียกตัวเข้าเป็นช่างประจำแผนกผลิตไอซี เป็นการยกระดับช่างฝีมือโรงงานเป็นช่างเทคนิคส์คอมพิวเตอร์



ระหว่างทำงานที่ดาต้าเยนเนอรัล ต้องทำงานควบคู่กับการหาความรู้ภาษาอังกฤษเพิ่มเติม และเรียนหลักสูตร ด้านดิจิตัลคอมพิวเตอร์ จากสถาบันต่างๆ ต่อเนื่อง เช่น เรียนวิทยุและสื่อสาร ที่ช่างกลปทุมวัน เรียนดิจิตัล ที่ดวงกมล สะพานควาย เรียนคอมพิวเตอร์ ที่เกษตร และเรียนกราฟิคคอมพิวเตอร์ ที่จุฬา เป็นต้น

บริษัทดาต้าสนับสนุนด้านการศึกษาต่างๆ เช่น การพัฒนาคุณภาพ การพัฒนาหัวหน้างาน การพัฒนาองค์กร และเทคนิส์การพัฒนางาน เช่น ให้สถาบันนิด้า โดย ดร. วุฒิชัย จำนงค์ จัดทำหลักสูตรอบรมเทคนิคส์การเป็นผู้ฝึกสอน "Training the trainer for technical training" ซึ่งทำให้ฝ่ายบริหารเห็นแววและผลักดันขึ้นเป็น Leader ส่งไปรับช่วงงานใหม่ๆ จาก ฮ่องกง และสิงคโปร ในเวลาต่อมา

นโยบายของบริษัทสนับสนุนและส่งเสริมด้านการศึกษา ให้ทุนพนักงานทุกคนเรียนต่อทุกระดับ จนถึงปริญญา ซึ่งนี่เองเป็นจุดเปลี่ยนชีวิตของหลายๆ คน รวมทั้งเรา

โบราณว่า ทำบุญมาดี ส่งผลให้ได้รับโอกาสที่ดี ในหน้าที่ การงาน การศึกษาและฐานะทางสังคม ทั้งหมดไม่ใช่เรื่องบังเอิญ เพราะบารมีของหลวงพ่อฯ ทำให้เรามองเห็นทางเลือก และการเริ่มต้นใหม่ของชีวิต 

ลุงแดง ใจอาสา
10 มิถุนายน 2564



#ท่านเจ้าคุณธรรมปราโมกข์ #วัดธาตุทอง #สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน  #กังยงอีเล็กทริค #ดาต้าเยนเนอรัล #จุดเปลี่ยนของชึวิต




 



Create Date : 10 มิถุนายน 2564
Last Update : 8 กรกฎาคม 2565 17:08:25 น.
Counter : 661 Pageviews.

2 comment
1  2  3  4  

idea4thai
Location :
ปทุมธานี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 41 คน [?]



ความคิดสร้างสรรค์ เพื่อเยาวชนและชุมชมไทย