|
||||
ท่าออกกำลังกายผู้สูงอายุกันหกล้ม
ชุมชนใจอาสา 2020 Ep32
ท่าออกกำลังกายผู้สูงอายุแบบ "โอตาโก้" การป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุที่ดีที่สุดคือการออกกำลังกาย เพราะการออกกำลังกายจะช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ทำให้ผู้สูงอายุทรงตัวได้ดี เดินได้คล่อง และลดอัตราการหกล้มได้อย่างมีนัยสำคัญ แต่อุปสรรค คือความกังวลในเรื่องประสิทธิภาพการเคลื่อนไหวร่างกายลดลง จะยิ่งซ้ำปัญหาให้เกิดอุบัติเหตุหกล้มระว่างออกกำลังกายได้ง่ายกว่าเดิม มีการศึกษาวิจัยโดยดัดแปลงมาจากการออกกำลังกายแบบ “โอตาโก้” ของชาวตะวันตก จนได้ 12 ท่าออกกำลังกายระดับยาก ที่เหมาะสำหรับผู้สูงอายุที่ยังไม่มีปัญหาเรื่องการเดินไปไหนมาไหน เรียกว่าเป็นท่าออกกำลังกายสำหรับป้องกันการหกล้มโดยแท้จริง ซึ่งสามารถทำได้ง่ายๆ ดังนี้ 1. ท่าบริหารลำตัว ให้ยืนตัวตรงกางขาออกเล็กน้อย ตามองไปข้างหน้า มือเท้าเอว ค่อยๆ บิดลำตัวช่วงบนไปด้านขวาให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้โดยไม่บิดตะโพก จากนั้นให้ทำแบบเดียวกันไปทางด้านซ้าย ทำซ้ำกัน 10 ครั้ง 2. ท่าบริหารข้อเท้า ตรงนี้ให้นั่งบนเก้าอี้ให้ยกขาทีละข้าง เริ่มจากขาขวาก่อน ยกขึ้นจากพื้นและกระดกปลายเท้าเข้าหาตัวจากนั้นกระดกปลายเท้าลง ทำซ้ำกัน 10 ครั้ง 3. ท่ายืนด้วยปลายเท้าแบบไม่ใช้ราวจับ ยืดแยกขาความกว้างเท่าช่วงไหล่ แล้วค่อย ๆ เขย่งปลายเท้าขึ้นจนสุด และค่อยๆ วางส้นเท้าลง ท่านี้ให้ทำซ้ำ 20 ครั้ง 4. ท่ายืนด้วยส้นเท้าแบบไม่ใช้ราวจับ ยืนแยกขาความกว้างเท่าช่วงไหล่ ค่อยๆ ขยับปลายเท้าขึ้น และยืนด้วยส้นเท้า จากนั้นค่อยๆ วางปลายเท้าลง ทำซ้ำ 20 ครั้ง 5. ท่าย่อเข่าแบบไม่ใช้ราวจับ ยืนแยกขาเท่าช่วงไหล่ ค่อยๆ ย่อเข่าลง โดยให้หัวเข่าล้ำไปด้านหน้านิ้วหัวแม่เท้าจนกระทั่งส้นเท้าเริ่มยกจากพื้น ให้หยุดและค่อยๆ ยืดตัวขึ้น ทำซ้ำ 10-20 ครั้ง 6. เดินต่อเท้าแบบไม่ใช้ราวจับ ยืนตรงมองไปข้างหน้า ค่อยๆ เริ่มเดินโดยก้าวเท้าไปไว้ข้างหน้าในลักษณะปลายเท้าต่อส้นเท้า และเดินเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ จนครบ 10 ก้าว จากนั้นกลับหลังหันเดินต่อเท้าแบบเดียวกันกลับไปจุดเริ่มต้น ทำซ้ำ 10-20 ครั้ง 7. ยืนขาเดียวแบบไม่ใช้ราวจับ ยืนตรงมองไปข้างหน้า ยกขาข้างใดข้างหนึ่งขึ้น และยืนด้วยขาข้างเดียวนาน 10 นาที จากนั้นเปลี่ยนอีกข้าง 8. เดินด้วยส้นเท้าแบบไม่ใช้ราวจับ ให้ยืนตรงมองไปข้างหน้า ค่อยๆ ยกปลายเท้าขึ้นจนยืนด้วยส้นเท้าจากนั้นเดินด้วยส้นเท้าไป 10 ก้าว และค่อยๆ ลดปลายเท้าลง จากนั้นกลับตัวและทำแบบเดิมซ้ำๆ กัน 10-20 ครั้ง 9. เดินด้วยปลายเท้าแบบไม่ใช้ราวจับ ยืนตรงไปข้างหน้า ค่อยๆ ยกส้นเท้าขึ้นจนยืนด้วยปลายเท้า จากนั้นเดินด้วยปลายเท้าไป 10 ก้าว และค่อยๆ ลดส้นเท้าลง กลับตัวค่อย ๆ ยกส้นเท้าขึ้นจนยืนด้วยปลายเท้า เดินด้วยปลายเท้าไป 10 ก้าว ทำซ้ำ 10-20 ครั้ง 10. ท่าเดินเลข 8 ท่านี้แค่เดินตามปกติ แต่วนเป็นเลข 8 ทำซ้ำกัน 10-20 รอบ 11. ท่าเดินสไลด์ด้านข้าง ยืนตรงมองไปข้างหน้า มือเท้าเอว เดินไปทางด้านขวา 10 ก้าว จากนั้นเดินกลับไปทางซ้าย 10. ก้าว ทำซ้ำกัน 10-20 ครั้ง 12. ท่าลุกจากเก้าอี้ ไม่ใช้มือพยุง เริ่มจากนั่งบนเก้าอี้ที่มีพนักพิงแข็งแรงไม่เคลื่อนไหว และไม่เตี้ยเกินไป วางเท้าหลังหัวเข่า ค่อยๆ โน้มตัวไปด้านหน้าและลุกขึ้นยืนโดยไม่ใช้มือช่วยพยุง ทำซ้ำ 10-20 ครั้ง
ที่มา : https://alldidi.lnwshop.com คลิปการบริหาร สำหรับผู้สูงอายุ แบบโอตาโก้ โดยวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี https://www.youtube.com/watch?v=Q5Gol5tnUJM ธรรมชาติบำบัด ผ้าขาวม้ารักษาโรค
ชุมชนใจอาสา 2020 Ep31
ธรรมชาติบำบัด ผ้าขาวม้ารักษาโรค อสม. อาสาสมัครสาธารณะสุขพื้นฐาน กับทีมหมอครอบครัว เป็นการทำงานร่วมกันของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ที่กระจายอยู่ทุกภาคของประเทศ มีส่วนช่วยให้ผู้ป่วยเข้าถึงบริการด้านสาธารณสุขขั้นพื้นฐานได้ทั่วถึงมากยิ่งขึ้น ทั้งการตรวจเยี่ยมผู้ป่วยตามบ้าน ของอาสาสมัคร อสม. ร่วมกับเครือข่ายในชุมชนและการแนะนำวิธีการดูแลผู้ป่วยให้กับญาติหรือคนใกล้ชิด เพื่อให้การรักษาเกิดขึ้นตลอดเวลา แม้ในยามที่หมอหรือพยาบาลไม่ได้อยู่ด้วย มีการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านนำผ้าขาวม้ามาใช้เป็นอุปกรณ์ในการออกกำลังกายและช่วยฟื้นฟูผู้ป่วย ธรรมชาติบำบัดด้วยผ้าขาวม้า รักษาโรคด้วยตัวเอง โดยคำแนะนำและการอธิบายจากแพทย์ นักวิจัย และผู้เชี่ยวชาญ ระบุว่าสามารถบำบัดอาการ ปวดหลัง กระดูกทับเส้นประสาท ปวดไหล่ ปวดเข่า เข่าเสื่อม หมอนรองกระดูกทรุด กระดูกคด กระดูกเคลื่อน ไหล่ติด นิ้วล็อก มือชา เท้าชา คอบ่าไหล่ตึง ไมเกรน ฯล การประยุกต์นำผ้าขาวม้ามาพัฒนา เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีขึ้นและปรับให้เหมาะกับการบำบัดด้วยตัวเอง เป็นอีกหนึ่งความเอาใจใส่ของกลุ่ม อสม. เทศบาลเมืองสนั่นรักษ์ ที่ทางรายการลุยไม่รู้โรย นำออกเผยแพร่ทางสถานีโทรทัศน์ ไทยพีบีเอส เพื่อสนับสนุนการดูแลสุขภาพชุมชนด้วยอุปกรณ์ง่ายๆ ที่บ้านด้วนตัวเอง คลิปธรรมชาติบำบัด ผ้าขาวม้ารักษาโรค รายการลุยไม่รู้โรย ทางไทยพีบีเอส https://youtu.be/WUvhMvylH8M มะพร้าว ต้นไม้มหัศจรรย์
ชุมชนใจอาสา 2020 Ep30
มะพร้าว ต้นไม้มหัศจรรย์ ธรรมชาติบำบัด ชื่อสามัญ COCONUT มะพร้าว พืชพรรณที่พบเห็นได้ทั่วไป ตามพื้นที่ชายทะเลทุกแห่งในประเทศไทย รวมทั้งได้ถูกกำหนดให้เป็นสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยบูรพา มะพร้าวเป็นพืชที่มีความผูกพันกับ วัฒนธรรมความเป็นอยู่ของคนไทยมาช้านาน คุณสมบัติที่ดีของมะพร้าว คือส่วนต่างๆ ของมะพร้าวสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่าและสามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ หลากหลาย ตั้งแต่ ลำต้น ใบ ก้าน ผล กะลา รกมะพร้าว กาบมะพร้าว และรากมะพร้าว มะพร้าวเป็นพืชที่นิยมบริโภคในประเทศไทย เป็นอย่างมาก นิยมนำมาทำอาหาร ทั้งคาวหวาน นอกจากนั้น ยังสามารถนำมาทำอุตสาหกรรมน้ำมันมะพร้าว อุตสาหกรรมกะทิเข้มข้น มะพร้าวขูดแห้ง น้ำตาลมะพร้าว และอุตสาหกรรมอื่นๆ เกี่ยวกับส่วนต่างๆ ของมะพร้าว เช่น เส้นใย ฯลฯ ปัจจุบันคนไทยนิยมทานยอดมะพร้าวเป็นอาหารมากขึ้น เนื่องจากยอดมะพร้าวนำมาทำเป็นอาหารมากขึ้น เนื่องจากยอดมะพร้าวนำมาทำเป็นอาหาร ยำ ผัด แกง ฯลฯ โดยเฉพาะต้มยำกุ้งยอดมะพร้าว เป็นเมนูยอดนิยม ซึ่งยอดมะพร้าวเป็นอาหารชนิดหนึ่ง ที่ปลอดสารพิษ และเพิ่มเส้นใยอาหารได้ดี สถาบันศิลปะและวัฒนธรรมฯ เห็นคุณค่าของมะพร้าวที่มีต่อวิถีชีวิตมนุษย์มายืนยาว จึงนำเสนอมะพร้าว รวมทั้งรวบรวมงานฝีมือต่างๆ ที่ใช้มะพร้าวเป็นองค์ประกอบ มะพร้าวมีประโยชน์อย่างไรบ้าง คนไทยคุ้นเคยกับมะพร้าวมาเป็นเวลานาน และใช้ประโยชน์จากทุกส่วนของมะพร้าว เช่น ผลอ่อนใช้รับประทานสด (น้ำและเนื้อ) เนื้อมะพร้าวจากผลแก่นำไปปรุงอาหารและขนมหลายชนิด และใช้สกัดน้ำมัน กากที่เหลือใช้เลี้ยงสัตว์
ส่วนที่ใช้เป็นยา น้ำมันจากเนื้อมะพร้าวห้าว มีรสมัน ขนาดและวิธีใช้ ใช้เนื้อมะพร้าวห้าว เตรียมเป็นน้ำมันมะพร้าว (น้ำมันมะพร้าวเก่าจะเหม็นหืน ไม่น่าใช้) น้ำมันมะพร้าว 1 ส่วน ผสมกับน้ำปูนใส 1 ส่วน
ส่วนที่ใช้เป็นยา คือเปลือกต้น เนื้อ น้ำมะพร้าว น้ำมัน กะลา ดอก ราก กาบ สรรพคุณในตำรายาไทย
งานฝีมือจากมะพร้าว มะพร้าวเป็นพืชที่มีความผูกพันกับ วัฒนธรรมความเป็นอยู่ของคนไทยมาช้านาน คุณสมบัติที่ดีของมะพร้าว คือ ส่วนต่างๆ ของมะพร้าวสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่า และสามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ หลากหลาย ตั้งแต่ ลำต้น ใบ ก้าน ผล กะลา รากมะพร้าว กาบมะพร้าว รากมะพร้าวประเภทของรูปแบบผลิตภัณฑ์มะพร้าว เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับงานหัตถกรรม มีมากมายหลายชนิด ขึ้นอยู่กับวัสดุที่มาจากส่วนต่างๆ ของมะพร้าว เช่น
ขอขอบคุณ : manager.co.th เหยียบกะลา รักษาโรค
ชุมชนใจอาสา 2020 Ep29
เหยียบกะลา รักษาโรค การเหยียบกะลา เป็นศาสตร์หนึ่งที่ใช้ธรรมชาติบำบัด และรักษาโรคได้หลายโรค ไม่ต้องไปนวดสปา ซึ่งราคาค่อนข้างแพง ไม่ต้องเสียเวลาไปนวดจับเส้น หรือซื้ออาหารเสริมราคาแพงๆ มาบำรุงร่างกาย เพราะการเหยียบกะลาสามารถทำได้ทุกวัน เพียงแค่ใช้เวลาวันละเล็กน้อย ก็จะได้สุขภาพเท้า สุขภาพกายที่ดีกลับคืนมาโดยที่ไม่จำเป็นต้องเสียเงิน การเหยียบกะลา สามารถฟื้นฟูผู้ป่วยเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงได้ ซึ่งมีรายงานจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตากูก จังหวัดสุรินทร์ จากผู้ป่วยที่เคยทำแผลที่เท้า หลังจากที่ใช้ให้ผู้ป่วยเหยียบกะลา ก็จะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกดีขึ้น ลดการทำแผลได้มาก 75% และลดอาการชาไปเรื่อยๆ 25% การเหยียบกะลา ธรรมชาติบำบัดรักษาโรคต่างๆ กะลาที่ใช้ควรเลือกกะลาที่มีก้นแหลมพอสมควร เพื่อเท้าเราจะได้สัมผัสกับส่วนที่แหลม ทำให้ช่วยผ่อนคลายจุดต่างๆ บริเวณอุ้งเท้ากะลาควรเลือกสถานที่ในการวางให้เหมาะสม กะลาควรวางในที่ที่แน่น ไม่คลอนแคลน ควรวางบนพื้นดินทราย หรือเย็บติดกับพื้นพรม ไม่ควรวางบนพื้นปูน หรือพื้นที่แข็ง เพราะจะทำให้ลื่นได้ง่าย อาจทำให้เกิดอันตรายในการเหยียบได้ สำหรับการขึ้นไปเหยียบกะลานั้น ควรหาอุปกรณ์ในการยึดจับให้มั่น เพื่อจะได้ไม่เป็นอันตรายในระหว่างการเหยียบกะลา อาจจะเป็นราวไม้ หรือว่าวางกะลาไว้ใกล้ๆ โต๊ะใกล้ๆ ผนังกำแพงบ้านสำหรับจับเพื่อป้องกันการล้ม การเหยียบกะลา หากผู้ที่ยังยืนไม่แข็งแรง ก็ควรใช้เก้าอี้ในการนั่งก่อน แล้วค่อยๆ พัฒนาในการยืนต่อไป การเหยียบกะลานั้น ก็ขึ้นไปยืนลักษณะผ่อนคลาย ไม่เกร็ง ยืนแบบสบายๆ ค่อยๆ ย่ำเท้าให้จุดสัมผัสบริเวณอุ้งเท้าเปลี่ยนจุดสัมผัสไปเรื่อยๆ การเหยียบกะลานั้น ควรทำอย่างสม่ำเสมอ ทำทุกวันตอนเช้าหรือตอนเย็นก็สุดแล้วแต่จะมีเวลา แต่ที่สำคัญก็ต้องทำเป็นประจำ 2 - 5 นาทีการดูแลสุขภาพของเรานั้น ไม่จำเป็นที่จะต้องลงทุนมากมายอะไร เพียงแต่นำเอาวัสดุใกล้ตัว วัสดุธรรมชาติมาใช้ในการบำบัดรักษา การเหยียบกะลา กับโรค เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หากเราดูแลร่างกาย ดูแลสุขภาพของเราอย่างสม่ำเสมอ โรคเหล่านั้นก็จะค่อยๆ ทุเลา หรืออาจหายไปเลยก็ได้หากเราทำอย่างสม่ำเสมอ ส่วนที่เหลือจากกะลามะพร้าว ก็นำไปปลูกต้นไม้ได้ ไม่เสียประโยชน์ ขอขอบคุณ: https://www.postsod.com คลิปเหยียบกะลารักษาโรค https://www.youtube.com/watch?v=htinASTIA-Q ตำนานแท่นยืนสุขภาพ
ชุมชนใจอาสา 2020 Ep28
แท่นยืนสุขภาพ ธรรมชาติบำบัดจากภูมิปัญญาชาวบ้าน ที่มาของเก้าอี้มหัศจรรย์ หรือแท่นยืนคลายเส้น อุปกรณ์ช่วยยืดเหยียด คลายเส้น เอ็นร้อยหวาย ถูกคิดค้นจัดจำหน่าย โดยคุณปู่แสวง บุญชัยเดช. ตั้งแต่ พ.ศ. 2537 และได้รับการยอมรับ ในเรื่องกายภาพบำบัดและการยืดเส้น เพียงแค่ยืน ครั้งละ 10-15 นาที วันละ 1-3 ครั้ง หรือมากกว่านั้น จะสามารถบำบัดรักษาอาการปวดเข่า ปวดหลัง ปวดน่อง และอาการปวดเหมื่อยต่างๆ ได้อย่างไม่น่าเชื่อ จริงๆ มันก็ไม่ใช่เรื่องมหัศจรรย์อะไร ปู่เรียกว่าเก้าอี้สุขภาพ ที่ได้แนวคิดมาจากก๋ง ที่เป็นหมอประจำตำบล ท่านทำขึ้นใช้เพื่อรักษาให้เส้นสายหย่อน ปู่จำท่านมา ทำใช้เองตอนเกษียณ เพราะมีอาการปวดเมื่อยตามเนื้อตัว ออกกำลังกล้ามเนื้อ ยืดเส้น ยืดสาย เห็นว่าได้ผลดี ไม่หนักเกินไปสำหรับคนสูงอายุ และสามารถทำได้ด้วยตัวเอง ไม่ต้องเป็นภาระกับลูกหลาน การยืนบนเก้าอี้สุขภาพ มีท่าบริหารด้วยกัน 8 ท่าหลักๆ ปู่เห็นว่ามันมีประโยชน์ ใช้ได้ผลจริง ใครมาขอเรียนด้วยก็จะสอนให้ไม่คิดเงิน จึงมีลูกศิษย์ลูกหาเอาไปทำชาย สร้างรายได้เลี้ยวครอบครัว ปู่ก็ดีใจด้วย @ นับเป็นมรดกตกทอด ที่ปูแสวงฝากไว้กับลูกหลานคนไทย พวกเราขอกราบคารวะท่าน กำนันลมูล ป่าตุ้ม เป็นลูกศิษย์ที่ร่วมบุกเบิกกับปูแสวง ที่บ้านลำลูกกา ได้นำเก้าอี้มหัศจรรย์นี้ ออกเผยแพร่ตามงานต่างๆ ที่ได้รับเชิญ กำนันลมูล ในคลิป เก๋าไม่แก่ ช่วงเก๋าพารวย : https://www.youtube.com/watch?v=eRFUrVp-32E&t=2055s และร่วมกับกลุ่มสูงวัยใจอาสาบ้านกระแชง ถ่ายทำ รายการสูงวัยวาไรตี้ ของสถานีโทรทัศน์รัฐสภา ช่อง10 กำนันสาฑิตการทำเก้าอี้สุขภาพ ให้คนไทยได้นำไปทำใช้เอง และทำเป็นอาชีพเสริมสร้างรายได้ให้ครอบครัว แม้ปัจจุบันจะมีของใหม่ที่ทำด้วยพลาสติกออกมาขายตัดราคาทางออนไลน์ แต่ความนิยมแบบไม้ต้นฉบับ ก็ยังเป็นที่ต้องการ เพราะแข็งแรงทนทานรับน้ำหนักได้มากถึง 120 - 150 กิโล ช่วยกันสนับสนุนสินค้าจากภูมิปัญญาชาวบ้าน เพื่อสืบสานมรดกของปู่แสวงให้อยู่คู่กับคนไทยไปนานๆ ครับ ลุงแดง ใจอาสา 16 เมษายน 2565 #เก้าอี้มหัศจรรย์ #แท่นยืนสุขภาพ #ปู่แสวง บุญชัยเดช #กำนันลมูล ป่าตุ้ม #กลุ่มสูงวัยใจอาสา #บ้านธรรมชาติบำบัด #ครูบรรจง ทองย่น #กลุ่มผู้สูงวัยบ้านกระแชง #ลุงแดง ใจอาสา |
idea4thai
Rss Feed Smember ผู้ติดตามบล็อก : 41 คน [?] ความคิดสร้างสรรค์ เพื่อเยาวชนและชุมชมไทย Group Blog All Blog
Friends Blog
Link |
|||
Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved. |