Iceicy Blog Dhamma หน้าแรก หลักธรรม ปรัชญา ท่องเที่ยวธรรม เก็บตกธรรม บทสวดมนต์ บทเพลงธรรม เว็บบอร์ด iceicy ไอที ไดอารี่
Link to us:
Group Blog
 
All blogs
 

Google แจ้งเตือนผู้ใช้ก่อนคลิกเข้าเว็บไซต์อันตราย

Google แจ้งเตือนผู้ใช้ก่อนคลิกเข้าเว็บไซต์อันตราย


รายงานข่าวแจ้งว่า กูเกิ้ล (Google) เริ่มให้บริการใหม่ที่สามารถแจ้งเตือนผู้ใช้ก่อนจะเข้าไปเยี่ยมชมหน้าเว็บที่อาจเป็นอันตรายต่อคอมพิวเตอร์ได้ โดยการแจ้งเตือนดังกล่าวจะป๊อปอัพขึ้นมา เมื่อผู้ใช้คลิกบนลิงค์ที่ชี้ไปยังหน้าเว็บที่โฮสต์สปายแวร์ หรือโปรแกรมมุ่งร้ายต่างๆจุดเริ่มต้นของคุณสมบัติการทำงานดังกล่าวมาจากโครงการที่ใหญ่กว่านั่นคือ การจัดทำบัญชีรายชื่อโฆษณา และสปายแวร์ที่ชอบติดตามพฤติกรรมการใช้เว็บ ตลอดจนขโมยข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้เน็ต กูเกิ้ลเป็นหนึ่งในหลายบริษัทที่พยายามเป็นผู้ให้บริการแนะนำระหว่างการท่องเว็บ (in-flight advisor) เพื่อให้ผู้ใช้มั่นใจในความปลอดภัยขณะออนไลน์



สำหรับบริการแจ้งเตือนจะปรากฏขึ้นมา เมื่อผู้ใช้คนใดก็ตามที่ใช้กูเกิ้ล แล้วคลิกไปบนลิงค์ที่ชี้ไปยังเว็บไซต์ ซึ่งระบุว่า เป็นอันตราย โดยกลุ่ม Stop Badware (stopbadware.org) ที่ประกอบด้วย Google, Lenovo และ Sun เริ่มดำเนินการเมื่อมกราคม 2006 วัตถุประสงค์ เพื่อระบุซอฟต์แวร์อันตราย และเว็บไซต์ต่างๆ ที่พยายามหลอกผู้ใช้ให้ติดตั้งโปรแกรมอันตรายเข้าไป

ในช่วงแรกการเตือนจะสามารถพบเห็นได้ผ่านทางเว็บไซต์กูเกิ้ล โดยมีลักษณะการแจ้งเตือนให้ผู้ใช้ทราบข้อเท็จจริงที่ว่า เว็บไซต์ที่กำลังจะเข้าไปนั้นถูกบ่งชี้ว่า อันตราย ทั้งนี้ผู้ใช้สามารถดูรายละเอียดการแจ้งเตือนที่มากขึ้นจากข้อมูลที่นักวิจัยเข้าไปเยี่ยมชมไซต์อันตรายเหล่านั้น และวิเคราะห์ออกมาว่า พวกไซต์เหล่านี้พยายามจะทำลายล้างเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้อย่างไรที่เว็บไซต์ StopBadware.org

คำเตือนยังแนะนำผู้ใช้ว่า ให้กลับไปเลือกข้อมูลที่เป็นเว็บไซต์อื่นจะปลอดภัยกว่า แต่ถ้ายังต้องการเข้าไปยังหน้าเว็บอันตราย กูเกิลจะไม่สามารถหยุดการกระทำของพวกมันได้

ผลวิจัยล่าสุดที่ออกมาเมื่อเดือนพฤษภาคม 2006 เกี่ยวกับความปลอดภัยจากหน้าผลลัพธ์ที่ตอบกลับมาจากการใช้เสิร์ชพบว่า โดยเฉลี่ย 4 – 6% ของรายชื่อเว็บไซต์ผลลัพธ์ที่ส่งกลับมามีอันตรายแฝงอยู่ คีย์เวิร์ดบางคำอย่างเช่น “free screensavers” จะให้ผลลัพธ์ของหน้าเว็บอันตรายสูงสุดถึง 64% เลยทีเดียว เพราะฉะนั้นเวลาเสิร์ชด้วยคีย์เวิร์ดนี้ ผู้ใช้เน็ตจะตกอยู่ในความเสี่ยงสูงมากๆ ที่จะคลิกเข้าไปยังหน้าเว็บอันตราย


ข่าวจาก ://www.arip.co.th
วันที่ : 8 สิงหาคม 2549 เวลา 08:37 น.




 

Create Date : 09 สิงหาคม 2549    
Last Update : 6 เมษายน 2551 20:49:28 น.
Counter : 485 Pageviews.  

Mailing list

เครื่องมือหลักๆ ในการทำตลาดอิเล็กทรอนิกส์

เวิลด์ ไวด์ เว็บ (www) คือ การจัดทำเว็บไซต์เพื่อวัตถุประสงค์ทางการตลาด เช่น เพื่อขายสินค้า เพื่อประชาสัมพันธ์บริษัท
อี-เมล์ (E-mail) หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งใช้เป็นเครื่องมือในการส่งข้อมูลข่าวสารไปยังลูกค้า หรือบุคคลที่ติดต่อด้วย
เมล์ลิ่งลิสต์ (Mailing list) คือกลุ่มของบุคคลที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน ซึ่งในด้านการตลาดถือว่าเป็นเครื่องมือที่สำคัญมาก เพราะเป็นกลุ่มเป้าหมายทางการตลาด เนื่องจากแต่ละกลุ่มจะประกอบด้วยคนที่สนใจในเรื่องเดียวกัน
เว็บบอร์ด (Web board) คือ กระดานข่าวที่ให้ผู้คนเข้ามาเสนอแนวความคิดหรือพูดคุยกัน ในด้านการตลาดสามารถใช้เว็บบอร์ดเป็นที่สร้างกระแสได้ ซึ่งจะทำให้ผู้คนรู้จักและทราบในเรื่องที่เราต้องการสื่อสารซึ่งถือเป็นสื่อ (Medium) ชนิดหนึ่งในการประชาสัมพันธ์

กลยุทธ์การตลาดที่สำคัญ

1. การกำหนดตลาดเป้าหมาย และการกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์ (Targeting and positioning) ต้องสอดคล้องกัน

2. การตั้งชื่อ (Branding) การตั้งชื่อในการตลาดแบบอิเล็กทรอนิกส์จะต้องคำนึงความง่ายถึงการค้นหาของผู้ซื้อเป็นหลัก ดังนั้นการตั้งชื่อจะต้องบ่งบอกสินค้า และต้องใช้คำศัพท์ที่เป็นสากล

3. ต้องมีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้า (Interactivity) คือต้องสามารถสื่อสาร 2ทาง ผู้ขายและผู้ซื้อต้องสามารถโต้ตอบกันได้ และต้องรวดเร็ว

4. ข้อมูลของสินค้า (Product information) เป็นปัจจัยที่สำคัญ เพราะการขายบนเว็บไซต์จะต้องทำเว็บให้ทำหน้าที่เหมือนโชว์รูมพนักงาน และพนักงานบริการ ไม่มีพนักงานขายคอยแนะนำสินค้าไม่มีแค็ตตาล็อกสินค้าให้อ่าน และไม่มีคนคอยเชียร์ให้ซื้อสินค้า ดังนั้น "ข้อมูล" จึงเป็นสิ่งสำคัญมากในการตัดสินใจซื้อของลูกค้า

5. การแนะนำสินค้า (Product recommendation) เป็นกลยุทธ์ที่สำคัญกลยุทธ์หนึ่ง เพื่อช่วยเร่งเร้าการตัดสินใจซื้อของลูกค้าให้เร็วขึ้น เพราะบนเว็บไม่มีพนักงานทำหน้าที่ปิดการขาย

6. สร้างจุดเด่นให้กับเว็บไซต์ (Web site differentiation)

7. เพิ่มคุณค่าให้กับสินค้า (Enhancing to product) ด้วยการปรับปรุงและพัฒนาสินค้าอย่างต่อเนื่อง หาบริการใหม่ๆ นำเสนอลูกค้า

8. พยายามกระตุ้นให้ผู้เข้ามาเยี่ยมชมเว็บมาซ้ำบ่อยๆ (Encouraging repeated visits ) กลยุทธ์นี้เป็นกลยุทธ์ที่สำคัญ เพราะการที่มีผู้เข้ามาเยี่ยมชมบ่อย เปรียบเสมือนกับร้านค้าหรือธุรกิจ ที่มีผู้คนพลุกพล่าน ซึ่งทำให้โอกาสในการขายสินค้าและบริการสูงตามไปด้วย

9. การสร้างเว็บให้เป็นแหล่งชุมชน (Building community) กลยุทธ์สำคัญอีกประการหนึ่งคือ สร้างเว็บให้เป็นศูนย์รวมของผู้คน เพื่อให้มีผู้เข้ามาเยี่ยมชมอยู่ตลอดเวลาและเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ

10. ตอบสนองความพึงพอใจลูกค้าให้มากที่สุด (Customizing) กลยุทธ์นี้ อยู่ภายใต้แนวความคิดว่า สินค้าหรือบริการบนเว็บไม่ใช่สินค้าทั่วไปที่วางขายอยู่ตามท้องตลาด เช่น บริษัทท่องเที่ยว ที่ขายบริการท่องเที่ยวผ่านเว็บ จะต้องระลึกถึงการทำให้ลูกค้าสนุกกับโปรแกรมตลอดเวลา ดังนั้น จึงควรสอบถามความต้องการของลูกค้า เช่น สถานที่ อาหาร กิจกรรม ที่พัก และพาหนะเดินทางที่ลูกค้าชอบ แล้วจึงจัดรายการตามนั้น จึงจะทำให้ลูกค้าพอใจสูงสุด และเป็นการหลีกเลี่ยงการตัดราคาด้วย

11. การส่งเสริมการขาย (Sales promotion) เช่น การแจกตัวอย่างสินค้า (Sampling) ส่งเสริมการขายด้วยวิธีแจกเงินแก่ผู้ที่เข้ามาในเว็บไซต์ ถ้าใช้เวลานานก็จะได้เงินมาก และถ้าแนะนำผู้อื่นก็จะได้ค่าแนะนำด้วย เมื่อผู้ถูกแนะนำท่องเว็บนี้ กลยุทธ์คล้ายกับกลยุทธ์ และการขายตรงแบบหลายชั้น (Multi level marketing)

12. การตลาดเชิงกิจกรรม (Event marketing) เช่น มีเกมให้เล่น มีการแข่งขันตอบคำถาม

13.ใช้ อี-เมล์ เป็นเครื่องมือในระบบการจัดการด้านลูกค้าสัมพันธ์ (CRM : Customer relationship management) เมื่อบริษัทมีข่าวสารหรือโปรแกรมส่งเสริมการขายเฉพาะตัว สามารถใช้ อี-เมล์ เป็นเครื่องมือ เพราะเป็นการตลาดทางตรง ซึ่งลูกค้ารายอื่นๆ ไม่จำเป็นต้องทราบ

14. สิ่งจูงใจอื่นๆ ( Other incentives)

15. ต่อเชื่อมกับเว็บอื่น (Web linking) ที่มีกลุ่มเป้าหมายเดียวกัน ซึ่งจะทำให้กลุ่มเป้าหมายไม่ต้องเสียเวลาในการเปิดเว็บใหม่ เป็นการทำเว็บให้เป็นศูนย์รวมคล้ายๆ กับห้างสรรพสินค้า "One-stop shoping" มาใช้

16. โฆษณาประชาสัมพันธ์ในเว็บที่เป็นที่นิยม เช่น //www.yahoo.com เพราะสามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้เป็นจำนวนมาก

17. ส่งเสริมการขายนอกเว็บ (Offline promotion) การที่ทำให้เว็บเป็นที่รู้จัก ต้องสื่อสารการตลาดแบบครบวงจร (Integrated marketing communication) คือใช้สื่ออื่นๆ นอกเว็บด้วย เช่น การโฆษณา การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ

Mailing List คืออะไร?
Mailing List คือ กลุ่มรายชื่อของอีเมลซึ่งเมื่อคุณส่งอีเมลไปที่ Mailing List นั้น Mailing Lists จะช่วยกระจายไปให้กับอีเมลอื่นๆที่อยู่ใน List โดยอัตโนมัติ เช่น สมมุติว่าคุณตั้งชื่อ Maling List ว่า mlist@yourdomain.com แล้วก็นำเอาอีเมลของผู้ที่ต้องการอยู่ในกลุ่มมาลงทะเบียนไว้ เมื่อบุคคลใดบุคคลหนึ่งในกลุ่มของ Mailing Lists ส่งอีเมลไปที่ mlist@yourdomain.com ระบบก็จะช่วยทำการกระจายให้กับทุกคนในกลุ่ม

-วิธีการสร้าง Mailing List
1. ที่หน้า Main Menu เลือก New Mailing List จากนั้นระบบจะพาท่านมาที่รูปที่ 1.

2. ที่ Mailing List Name ให้ใส่ชื่อเมล เพื่อให้ทุกคนส่งมาที่เมลนี้ ในที่นี่ขอใช้เป็น mlist@hostingwing.com (ที่นิยมใช้กันก็มี group@yourdomain, team@yourdomain)

3. ที่ Prefix outgoing subject header with ให้ใส่ชื่ออะไรก็ได้ เพื่อที่จะสื่อให้คนใน List ของท่านรับรู้ว่าอีเมลที่ได้รับนี้ ส่งมาจากกลุ่มของพวกท่าน ในที่นี้ขอใช้ชื่อว่า Secret List ดังนั้นตอนท่านส่งอีเมล สมมติท่านใช้ subject ว่า "คืนนี้ 2 ทุ่มมีประชุม" ดังนั้นเวลาที่อีเมลนี้ไปถึงคนอื่นๆใน List จะแสดงออกมาว่า "[Secret List] คืนนี้ 2 ทุ่มมีประชุม" เป็นต้น คนอื่นก็จะรู้ทันทีว่า อีเมลนี้มาจากกลุ่มของเขา

4. ที่ Posting Message มี 5 ฟีเจอร์หลักให้เลือก แต่ปัจจุบันเราตัดให้เหลือเพียงสองฟีเจอร์ เนื่องจากฟีเจอร์อื่นๆ ไม่ค่อยได้รับความนิยมและไม่มีประโยชน์เท่าที่ควร นอกจากนี้ ยังก่อให้เกิดความสับสนแก่ผู้ใช้ เราจึงขออธิบายฟีเจอร์ที่เหลืออยู่ดังนี้

4.1 Anyone can post. ฟีเจอร์นี้ นอกจากคนใน List จะสามารถรับส่งกันได้แล้ว คนนอก List ก็ยังสามารถส่งเข้ามาได้ด้วย แต่จะัไม่สามารถรับได้
4.2 Only subscribers can post, all others bounce ก่อนที่จะอธิบายฟีเจอร์นี้ เราต้องขออธิบายก่อนว่า ใน Mailing List นั้น มีเมมเบอร์หรือสมาชิกใน List อยู่สองประเภทหลักๆ นั่นก็คือ subscriber member และ moderator member ซึ่งสมาชิกทั้งสองก็มีความสามารถและบทบาทต่างกันใน List เราขอให้ท่านพิจารณากตารางด้านล่าง


ถ้าเลือกฟีเจอร์ 1 subscriber ทุกคนจะได้รับ moderator ทุกคนจะได้รับ คนที่อยู่นอก List ทุกคนจะได้รับ
ถ้า subscriber เป็นคนส่งเข้า List YES YES NO
ถ้า moderator เป็นคนส่งเข้า List YES YES NO
ถ้าคนอื่นที่อยู่นอก List เป็นคนส่งเข้า List YES YES NO
ถ้าเลือกฟีเจอร์ 2 subscriber ทุกคนจะได้รับ moderator ทุกคนจะได้รับ คนที่อยู่นอก List ทุกคนจะได้รับ
ถ้า subscriber เป็นคนส่งเข้า List YES NO NO
ถ้า moderator เป็นคนส่งเข้า List YES NO NO
ถ้าคนอื่นที่อยู่นอก List เป็นคนส่งเข้า List ไม่สามารถส่งเข้ามาได้
ตารางที่ 1.แสดงถึงสิทธิในการรับส่งอีเมล ใน Mailing List


จากตารางที่ 1 เราพอจะสรุปได้ว่า
- หากท่านต้องการให้ใครก็ได้สามารถส่งอีเมลเข้ามาใน List ของท่านได้ก็ให้เลือกฟีเจอร์ 1. ซึ่งเมมเบอร์ทั้งสองประเภทก็จะสามารถรับได้ด้วย แต่คนที่อยู่นอก List จะมีสิทธิ์แค่ส่งเท่านั้น ไม่มีสิทธิ์รับอีเมลใดๆทั้งๆสิ้น
- แต่ถ้าหากท่านไม่ต้องการให้คนนอกส่งเข้ามาได้ ก็ให้เลือกที่ฟีเจอร์ 2. โดยกำหนดให้สมาชิกส่วนใหญ่เป็น subscriber ซึ่งสามารถรับส่งได้ทั้งหมด และให้ moderator เป็นผู้ที่สามารถส่งข่าวสารแจ้งสมาชิกในกลุ่มได้อย่างเดียว โดยไม่ต้องการรับ (ปกติ moderator มักจะเป็นผู้คุมของ List โดย moderator จะคอยส่งข่าวสารต่างๆที่เป็นประโยชน์ให้กับ subscriber คนอื่นๆเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ไม่ต้องการรับข่าวสาร)

5. ที่ List Options

5.1 Replies should go to : คือเวลาที่คนใน List ต้องการตอบกลับ จะสามารถตอบกลับไปได้ที่ไหนได้บ้าง? มี 3 ฟีเจอร์ย่อยให้เลือกคือ
5.1.1 the origal sender : คือ ตอบกลับไปหาคนที่ส่งอีเมลนี้มา (คนอื่นๆใน List จะไม่ได้รับ)
5.1.2 the entire list : คือ ตอบกลับไปหาทุกๆคนที่อยู่ใน List
5.1.3 the address : คือ ตอบกลับไปหาที่อีเมลที่ระบุเอาไว้ เช่น ระบุไว้ว่า someone@yourdomain.com เป็นต้น

5.2 Include a trailer at the end of each message : เป็นการแนบหางจดหมายเข้าไปด้วย

5.3 Set up a digest version of the list : อีเมลที่ระบุเป็น digest จะได้รับทุกกระทู้ที่ผ่านมาของ subscriber ที่ส่งๆกันทั้งหมดแต่เป็นแบบย่อ เพื่อช่วยในการจำแนก (ลักษณะเหมือน log mail ของ subscriber)

ในส่วนอื่นๆที่ไม่ได้อธิบาย เราขอให้คงค่าเอาไว้ตามที่ default ค่ามา เพราะในที่นี่เราจะขออธิบายเพียงการทำงานแบบพื้นฐานที่มีประสิทธิภาพที่สุดเท่านั้น เนื่องจาก mailing list ในขั้นสูงนั้นหากใช้เป็นจะทรงพลังมาก แล้วก็แน่นอนว่า หากใช้ไม่เป็นก็จะก่อให้เกิดอันตรายกับองค์กรได้เช่นกัน เราจึงขอแนะนำให้ท่านใช้เพียงแค่พื้นฐานเท่านั้น เพื่อความปลอดภัยสูงสุด

** สำหรับผู้ที่สนใจในขั้นสูง สามารถติดต่อกับทางเทคนิคอลของ Hostingwing เพื่อเปิดระบบให้ท่านใช้งาน...






 

Create Date : 07 สิงหาคม 2549    
Last Update : 6 เมษายน 2551 19:19:49 น.
Counter : 590 Pageviews.  

ระบบสารสนเทศและการประยุกต์ใช้งาน

ระบบสารสนเทศและการประยุกต์ใช้งาน

ความหมายของข้อมูล สารสนเทศ และเทคโนโลยีสารสนเทศ
ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อมูลดิบ หรือข้อเท็จจริงต่างๆ ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน อาจเป็นข้อมูลที่แทนด้วยสัญลักษณ์ต่างๆ ที่แทนปริมาณหรือการกระทำต่างๆ ซึ่งยังไม่ผ่านการกลั่นกรองหรือประมวลผล อาจอยู่ในรูปของตัวเลข ตัวอักษร ข้อความ ภาพ และเสียง เป็นต้น คุณสมบัติของข้อมูลที่ดีจะต้องมีความถูกต้องเชื่อถือได้ ทันต่อความต้องการใช้งาน ตรงตามความต้องการใช้งาน มีปริมาณกะทัดรัด และสามารถตรวจสอบแหล่งที่มาได้

สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อมูลต่างๆ ที่ผ่านการกลั่นกรองหรือประมวลผลแล้ว เป็นความรู้ที่สามารถนำไปใช้เป็นประโยชน์ตามความต้องการได้

การประมวลผลข้อมูล ( Data Processing )
สามารถจำแนกวิธีการประมวลผลตามลักษณะเครื่องมือที่ใช้ ได้ 3 วิธี คือ
1.การประมวลผลด้วยมือ ( Manual Data Processing ) เป็นวิธีดั้งเดิม วิธีการประมวลผลไม่ซับซ้อน เหมาะสำหรับงานที่มีปริมาณไม่มาก และไม่เร่งด่วน มีการนำอุปกรณ์ธรรมดามาช่วย เช่น การใช้ลูกคิด กระดาษ ปากกา
2.การประมวลผลด้วยเครื่องจักรกล ( Mechanical Data Processing) เป็นวิธีการประมวลผลที่อาศัยเครื่องจักรกลมาทำงานร่วมกับอุปกรณ์สำหรับการประมวลผลด้วยมือ เช่น เครื่องทำบัญชี
3.การประมวลผลด้วยเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ ( Electronic Data Processing ) เป็นวิธีการที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ซึ่งนำคอมพิวเตอร์มาใช้ประมวลผล เหมาะสำหรับงานที่มีปริมาณมาก ต้องการความรวดเร็ว ถูกต้อง
•งานที่มีปริมาณมาก
•งานที่ต้องการความรวดเร็ว
•งานที่ต้องการความถูกต้อง
•งานที่ต้องการความปลอดภัยของข้อมูล
•งานที่มีความซับซ้อนในการคำนวณ
•งานที่มีขั้นตอนและรูปแบบการทำงานซ้ำๆ

สำหรับการประมวลผลด้วยเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ ยังสามารถแบ่งได้เป็น 2 วิธี คือ
การประมวลผลแบบแบทซ์ ( Batch Processing )
เป็นวิธีที่ต้องใช้เวลารวบรวมข้อมูลตามช่วงเวลาที่กำหนด ก่อนเข้าสู่ขั้นตอนการประมวลผล วิธีนี้จะไม่มีการโต้ตอบกัน (Interactive) ระหว่างผู้ใช้กับคอมพิวเตอร์ จึงเรียกวิธีการประมวลผลแบบนี้ว่า ออฟไลน์ (off-line) เช่น ระบบการคิดดอกเบี้ยทบต้นทุก 3 เดือน หมายถึง หากยังไม่ถึงกำหนด 3 เดือน จะไม่มีการคิดดอกเบี้ยให้
ข้อดี • เหมาะสำหรับบริษัทที่มีขนาดใหญ่ มีปริมาณงานมาก แต่ไม่จำเป็นต้องใช้ข้อมูลทันที
• ง่ายต่อการตรวจสอบ ในกรณีที่เกิดข้อผิดพลาดสามารถตรวจสอบข้อมูลได้ง่าย
ข้อเสีย • ข้อมูลที่ได้ไม่ทันสมัย เนื่องจากมีกำหนดระยะเวลาในการประมวลผล
• เสียเวลาในการรวบรวมข้อมูล
การประมวลผลแบบอินเทอร์แอคทีฟ ( Interactive Processing )
เป็นวิธีที่ไม่ต้องรอเวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูล เมื่อคอมพิวเตอร์ระบข้อมูลเข้าสู่ระบบก็จะทำการประมวลผลและให้ผลลัพท์ได้ทันที วิธีนี้ผู้ใช้และคอมพิวเตอร์จะมีการโต้ตอบกัน จึงเรียกวิธีการประมวลผลแบบนี้ว่า ออนไลน์ (on-line) เช่น การถอนเงินจากเครื่องถอนเงินอัตโนมัติ (ATM) เมื่อมีการถอนเงิน ยอดเงินในบัญชีจะมีการเปลี่ยนแปลงทันที
ข้อดี • สามารถตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่นำเข้าไปได้ทันที
• ข้อมูลที่ได้ทันสมัย
ข้อเสีย • มีโอกาสที่เกิดความผิดพลาดได้
• การแก้ไขข้อผิดพลาดทำได้ยาก

เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology - IT) หมายถึง เทคโนโลยีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บข้อมูล การประมวลผล และการเผยแพร่สารสนเทศในรูปแบบต่างๆ ซึ่งประกอบด้วยเทคดนโลยีคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีโทรคมนาคม

ระบบสารสนเทศ หมายถึง การไหลของข้อมูลทั้งภายในและภายนอกองค์กรอย่างเป็นขั้นตอน ตั้งแต่การจัดเก็บข้อมูล การประมวลผล และการนำเสนอสารสนเทศ
กิจกรรมของระบบสารสนเทศพื้นฐานมี 3 ชนิด คือ Input , Process และ Output การทำงานจะเริ่มตั้งแต่การเปลี่ยนข้อมูลดิบที่เข้ามาทางด้าน Input โดยผ่านการประมวลผลหรือการกลั่นกรองให้เป็นสารสนเทศที่ออกมาทาง Output ผลลัพธ์ที่ได้จาก Output จะย้อนกลับไปยัง Input เพื่อให้มีการประเมินผลการทำงานต่อไป
องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ ได้แก่ องค์กร, เทคโนโลยี และ ข้อมูลหรือสารสนเทศ

ความจำเป็นของระบบสารสนเทศ
ข้อมูล ข่าวสารเป็นหัวใจหลักของการดำเนินงานในทุกๆ องค์กร ไม่ว่าจะเป็นองค์กรที่ดำเนินธุรกิจ การศึกษา หรือบริหารประชาชน ซึ่งบุคลากรของแต่ละองค์กรก็มีความต้องการใช้สารสนเทศที่แตกต่างกัน ได้แก่
ผู้บริหารระดับสูง (Top Manager) เช่น ปลัดกระทรวง อธิบดี ประธานบริษัท มีหน้าที่กำหนดทิศทาง วิสัยทัศน์ นโยบายขององค์กร รวมทั้งการวางแผนในระยะยาว มักมีความต้องการสารสนเทศทั้งภายในและภายนอกองค์กรโดยสรุปของสภาพในอดีต ปัจจุบัน ตลอดจนแนวโน้มในอนาคต
ผู้บริหารระดับกลาง (Middle Manager) เช่น ผู้อำนวยการ อธิการบดี มีหน้าที่รับนโยบายจากผู้บริหารระดับสูงมาวางแผนเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ มักมีความต้องการสารสนเทศที่ค่อนข้างละเอียดของสภาพในอดีต ปัจจุบัน และแนวโน้มในอนาคต
ผู้บริหารระดับปฏิบัติการ (Operation Manager) เช่น เจ้าหน้าที่ฝ่ายต่างๆ มีหน้าที่ดูแลควบคุมด้านการปฏิบัติงาน มักมีความต้องการสารสนเทศเฉพาะด้านที่ทำงานอยู่ในปัจจุบัน

การใช้สารสนเทศของผู้บริหารในระดับต่างๆ ก็เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจ ซึ่งสามารถแบ่งประเภทของการตัดสินใจออกได้ 3 ประเภท คือ
1.การตัดสินใจแบบมีโครงสร้าง (Structure Decision) เป็นการตัดสินใจเกี่ยวกับงานที่ทำเป็นประจำ (Routine) มักมีหลักเกณฑ์และขั้นตอนในการแก้ไขปัญหาที่กำหนดขึ้นอย่างชัดเจน
2.การตัดสินใจแบบไม่มีโครงสร้าง (Unstructured Decision) เป็นการตัดสินใจกับงานที่ไม่ได้เกิดขึ้นเป็นประจำ ไม่สามารถคาดการณ์ได้ล่วงหน้า ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับปัจจัยภายนอกองค์กร
3.การตัดสินใจแบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-structured Decision) เป็นการตัดสินใจที่อยู่ระหว่างการดัดสินใจแบบที่ 1 และแบบที่ 2
ระดับผู้บริหารในองค์กร ( Manager Level ) แบ่งได้ 3 ระดับ ดังนี้
1. ผู้บริหารระดับสูง (Top Manager) ดูแลกำหนดทิศทางขององค์กร ด้านวิสัยทัศน์ นโยบาย เป็นการวางแผนในระยะยาว จะใช้การตัดสินใจในระดับกลยุทธ์ (Strategic planning )
2. ผู้บริหารระดับกลาง ( Middle Manager ) รับนโยบายจากผู้บริหารระดับสูงมาวางแผน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ จะใช้การตัดสินใจในระดับยุทธวิธี (Practical planning )
3. ผู้บริหารระดับปฏิบัติการ (Operational Manager) รับผิดชอบดูแลควบคุมด้านการปฏิบัติงานรายวัน โดยรับแผนปฏิบัติมาจากผู้บริหารระดับกลาง จะใช้การตัดสินใจระดับปฏิบัติการ (Operational planning )
* บทบาทการตัดสินใจของผู้บริหารเป็นจุดสำคัญสำหรับองค์กร ดังนั้นผู้บริหารจำเป็นต้องมีเครื่องมือที่ช่วยในการวางแผนและตัดสินใจสำหรับปัญหารูปแบบต่าง ๆ เครื่องมือนั้นคือ "สารสนเทศที่ถูกต้อง ชัดเจนและรวดเร็ว"

ประเภทของระบบสารสนเทศ
1. ระบบประมวลผลรายการ ( Transaction Processing System : TPS )
2. ระบบสำนักงานอัตโนมัติ ( Office Automation System : OAS)
3. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ( Management Information System : MIS )
4. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ( Decision Support System : DSS )
5. ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร ( Executive Support System : ESS )
6. ระบบผู้เชี่ยวชาญและปัญญาประดิษฐ์ ( Expert System and Artificial Intelligence : ES & AI)

ระบบประมวลผลรายการ ( Transaction Processing System : TPS )
ช่วยให้ผู้บริหารทำการตัดสินใจในการปฏิบัติงาน ซึ่งหมายถึง การเปลี่ยนแปลงข้อมูลในกิจกรรมต่างๆ ขององค์กร โดยจะใช้ระบบคอมพิวเตอร์เปื่อเครื่องมือช่วยในการประมวลผลเพื่อความรวดเร็วในการปฏิบัติงาน เช่น การคำนวณ การจัดหมวดหมู่ การเรียงลำดับข้อมูล การจัดเก็บและการค้นคืนข้อมูล เป็นต้น

ระบบสำนักงานอัตโนมัติ ( Office Automation System : OAS)
เป็นระบบที่ออกแบบขึ้นเพื่อช่วยให้การทำงานในสำนักงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น ส่วนใหญ่เป็นการนำคอมพิวเตอร์มาเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายกับอุปกรณ์ต่างๆ ของสำนักงาน เพื่อประโยชน์ในการใช้งาน ระบบสำนักงานอัตโนมัติประกอบด้วย
• ระบบจัดการเอกสาร
• ระบบจัดการด้านข่าวสาร
• ระบบประชุมทางไกล
• ระบบสนับสนุนสำนักงาน

ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ( Management Information System : MIS )
เป็นระบบที่สนับสนุนให้การทำงานสำนักงานของผู้บริหารทั้ง 3 ระดับ โดยเน้นการเตรียมรายงานสรุปให้กับผู้บริหารระดับต่างๆ สารสนเทศที่ได้รับมักมาจากระบบ TPS นำมาสรุปให้อยู่ในรูปของรายงาน กราฟ ในรูปแบบที่ง่ายต่อการวิเคราะห์ พิจารณา เพื่อให้ผู้บริหารใช้วางแผนและกำหนดนโยบายต่อไป เช่น การรายงานยอดขาย รายงานสินค้าคงคลัง เป็นต้น
ลักษณะของระบบ MIS ที่ดี
• สนับสนุนการทำงานของระบบประมวลผลข้อมูลและการจัดเก็บข้อมูลรายวัน
• ใช้ฐานข้อมูลที่ถูกรวมเข้าด้วยกัน และสนับสนุนการทำงานของฝ่ายต่างๆ ในองค์การ
• ช่วยให้ผู้บริการระดับต้น ระดับกลาง ระดับสูง เรียกใช้ข้อมูลที่เป็นโครงสร้างได้ตามต้องการ
• มีความยืดหยุ่นสามารถรองรับความต้องการข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงไปขององค์กร
• ต้องมีระบบรักษาความลับของข้อมูลและจำกัดการใช้งานของบุคคลเฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องเท่านั้น

ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ( Decision Support System : DSS )
เป็นระบบที่พัฒนามาจากระบบ MIS เนื่องจากในบางกรณีองค์ประกอบในการตัดสินใจมีความซับซ้อนมากเกินกว่าความสามารถในการประมวลผลของมนุษย์ ที่จะประมวลผลได้อย่างถูกต้องจึงทำให้เกิดระบบ DSS ซึ่งเป็นระบบที่สามารถกำหนดทางเลือกให้ผู้บริหาร หรืออาจมีการจัดลำดับทางเลือกให้กับผู้บริหาร ระบบ DSS เป็นระบบที่สามารถโต้ตอบได้ นอกจากนี้ยังมีโมเดลในการวางแผนตัดสินใจและการทำนาย ข้อมูลที่ใช้มักได้มาจากระบบ TPS, MIS และข้อมูลภายนอกองค์กร

ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง ( Executive Support System : ESS )
เป็นระบบ DSS ที่ออกแบบให้ใช้เฉพาะกับผู้บริหารระดับสูง เป็นระบบที่เข้ามาช่วยให้ข้อมูล ข่าวสาร การนำเสนอสารสนเทศ ระบบสามารถโต้ตอบกันระหว่างผู้ใช้กับระบบ ทำให้ใช้งานได้สะดวก ข้อมูลที่ใช้มาทั้งจากภายในและภายนอกองค์กร นำมาสรุปให้อยู่ในรูปแบบที่สามารถตรวจสอบได้

ระบบผู้เชี่ยวชาญและปัญญาประดิษฐ์ ( Expert System and Artificial Intelligence : ES & AI)
เป็นระบบที่รวบรวมความรู้ในสาขาต่างๆ ของผู้เชี่ยวชาญไว้ในอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เพื่อจุดมุ่งหมายในการวิเคราะห์หาเหตุผลของผู้เชี่ยวชาญ เช่น ระบบินิจฉัยโรคด้วยคอมพิวเตอร์
การประยุกต์ใช้งาน AI มี 4 ระบบ คือ
1. ระบบผู้เชี่ยวชาญ เป็นการสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้มีความสามารถในการให้เหตุผล การให้คำแนะนำแก่ผู้ที่ต้องตัดสินใจ
2. ภาษาธรรมชาติ เป็นการสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้สามารถเข้าใจภาษามนุษย์ เป็นการประยุกต์ศาสตร์คอมพิวเตอร์ และภาษาศาสตร์เข้าด้วยกัน โดยหาวิธีให้คอมพิวเตอร์เข้าใจความหมายของประโยค หรือคำต่างๆ
3. ความสามารถในการจำลองประสาทสัมผัสของมนุษย์ เป็นการพัฒนาให้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือที่มีความสามารถเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ เช่น การพูด การมองเห็น การได้ยิน การสัมผัส เป็นต้น
4. ศาสตร์ด้านหุ่นยนต์ เป็นการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาทำงานร่วมกับหุ่นยนต์เพื่อมาทำงานแทนมนุษย์

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในทางธุรกิจ
การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce)
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ การทำธุรกิจผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยอาศัยบริการ EDI และ E-mail ซึ่งเป็นบริการที่อาศัยระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ข้อดีของการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้บริโภค ได้แก่ การซื้อสินค้าได้โดยไม่ต้องเบียดเสียดกับผู้คนต่างๆ สามารถซื้อสินค้าได้ตลอดเวลาที่ต้องการ และสามารถซื้อสินค้าได้ทุกทีไม่ว่าจะอยู่ที่บ้านหรือที่ทำงาน
การแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์( Electronic Data Interchange : EDI)
การแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ คือ การสื่อสารข้อมูลในรูปแบบมาตรฐานหรือรูปแบบที่ได้รับการยอมรับจากกลุ่มผู้แลกเปลี่ยนข้อมูล เพื่อนำไปดำเนินการทางธุรกิจ โดยส่งผ่านเครือข่ายสื่อสาร เช่น โทรศัพท์ ดาวเทียม เป็นต้น การแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์มีประโยชน์อย่างมากในการทำการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เพราะช่วยลดค่าใช้จ่าย ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง รวดเร็ว และช่วยลดงานด้านเอกสาร





 

Create Date : 04 สิงหาคม 2549    
Last Update : 4 มิถุนายน 2551 0:19:27 น.
Counter : 4441 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  

lcelcy
Location :
ชลบุรี Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




มิถุนายน เดือนดี๊ดี " จุดกำเนิด iceicy's blog Dhamma"
ครบรอบ ๗ ปี แล้วค่ะ"

คนมาจากไหน?
เริ่มจาก เกิด แก่ เจ็บ และก็ตาย
คนก็หายไป !!...แต่ความดีไม่เคยหายไปด้วย..
ทุกคนจำวันเกิดตัวเองได้ไหม... ก็คงจำได้กันหมดอะน่ะ
เคยคิดจะทำอะไรดีดี....
ให้กับตัวเองและคนอื่น..ในวันครบรอบวันเกิดของตัวเองไหมค่ะ?

ตั้งแต่เดือนมิถุนายน ปีพ.ศ. ๒๕๔๙ (๗ ปีได้ผ่านมาแล้ว)
ฉันได้ทำสิ่งที่ชอบ และชอบในสิ่งที่ฉันได้ทำ
สิ่งนั้น คือ " บล๊อกเกี่ยวกับหลักธรรมข้อคิดต่างๆ "
เริ่มจากทำไม่เป็น ลองผิดลองถูก ทำจนสำเร็จ
ทั้งนี้ ขอขอบพระคุณ " กำลังใจ " คนรอบข้าง
และทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยม iceicy's blog Dhamma น่ะค่ะ
(ซึ้งน่ะซึ้งน่ะเนี่ย!!!!)
<

วัตถุประสงค์ iceicy blog Dhamma
1. เพื่อเผยแพร่และสนับสนุนส่งเสริมพระพุทธศาสนาให้อยู่คู่กับประเทศไทย
2. เพื่อนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ประโยชน์ในทางพระพุทธศาสนา
3. เพื่อแบ่งปันความรู้ทางพระพุทธศาสนา และแลกเปลี่ยนข่าวสารทั่วไป
4. สรรเสริญบุคคลที่ควรสรรเสริญ ยกย่องบุคคลที่ควรยกย่อง

Google



Link to us:
ท่านสามารถนำ code ของ banner นี้
ไปติดที่เว็บของท่านได้ตามสะดวกน่ะค่ะ
ขอขอบคุณและขออนุโมทนามา ณ ที่นี้ด้วยน่ะค่ะ

Iceicy blog dhamma



New Comments
Friends' blogs
[Add lcelcy's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.