|
ออกแบบแก็ดเจ็ทบนวินโดวส์วิสต้า
ออกแบบแก็ดเจ็ทบนวินโดวส์วิสต้า
มร.แอนดรูว์ แม็คบีน กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า โครงการ Windows Vista Gadget Competition ต้องการให้คนไทยมีโอกาสเป็นส่วนหนึ่งของซอฟต์แวร์ปฏิบัติการอัจฉริยะล่าสุดที่กำลังจะเผยโฉมอวดความสามารถอย่างเต็มรูปแบบในต้นปีหน้า รวมทั้งได้สัมผัสกับความเปลี่ยนแปลงในการทำงานบนหน้าจอของไมโครซอฟท์ วินโดวส์ วิสต้า แก็ดเจ็ท คือฟีเจอร์ที่ถูกเพิ่มเติมเข้ามาใน ไมโครซอฟท์ วินโดวส์ วิสต้า เพื่อความสะดวกง่ายดายในการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานบนหน้าจอกับแอพพลิเคชั่นต่าง ๆ ที่ผู้ใช้มักใช้งานเป็นประจำ อาทิ นาฬิกา เครื่องคิดเลข ปฏิทิน โน้ต สไลด์โชว์ หรือแม้แต่ ซีพียูมิเตอร์ โดยผู้เข้าร่วมแข่งขันจะต้องพัฒนาแก็ดเจ็ทรูปแบบใหม่ ๆ สำหรับใช้งานบนไมโครซอฟท์ วินโดวส์ วิสต้า โดยใช้ Visual Studio 2005 Family เอดิชั่นใดก็ได้เป็นเครื่องมือในการพัฒนา
นอกจากนี้ ผลงานที่ส่งเข้าแข่งขันจะต้องทำงานบน Microsoft .NET 2.0 หรือ 3.0 เท่านั้น ผู้สนใจส่งผลงานแก็ดเจ็ทเข้าแข่งขันสามารถลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 1 ธันวาคม 2549 และส่งผลงานให้คณะกรรมการพิจารณาได้ช่วงวันที่ 1-25 ธันวาคม 2549 โดยทางไมโครซอฟท์จะประกาศผลและมอบรางวัลแก่ผู้ชนะเลิศในงานเปิดตัวไมโครซอฟท์ วินโดวส์ วิสต้า รอบธุรกิจ ในช่วงต้นปีหน้า ลงทะเบียนเข้าร่วมการแข่งขัน หรือตรวจสอบระเบียบการและขั้นตอนการแข่งขันได้ที่www.microsoft. com/ thailand/msdn/ gotgadget
ข่าวจาก : ARiP วันที่ : 17 พฤศจิกายน 2549 เวลา 17:27 น.
Create Date : 17 พฤศจิกายน 2549 | | |
Last Update : 6 เมษายน 2551 20:07:21 น. |
Counter : 422 Pageviews. |
| |
|
|
|
|
สมาคมผู้ดูแลเว็บไทยท้วง ร่างพ.ร.บ.ให้อำนาจเจ้าพนักงานมากเกิน
สมาคมผู้ดูแลเว็บไทยท้วง ร่างพ.ร.บ.ให้อำนาจเจ้าพนักงานมากเกิน
สมาคมผู้ดูแลเว็บไทยร่วมกับสภาวิชาชีพผู้ดูแลเว็บไทย ประชุมระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างพ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ... เนื่องจากพบว่าร่างพ.ร.บ.ที่กำลังจะเข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติหรือ ส.น.ช. ในวันนี้ (15 พ.ย.) หลายมาตรามีช่องโหว่ เช่นการให้อำนาจเจ้าพนักงานมากเกินไป และการเปิดช่องโหว่ให้ผู้กระทำผิดตัวจริงไม่ต้องรับโทษ วันนี้ (15 พ.ย.) เวลา 10.00 น. สมาคมผู้ดูแลเว็บไทยและสภาวิชาชีพผู้ดูแลเว็บไทยได้ส่งตัวแทนเข้าไปยื่นเรื่องแก่คณะกรรมาธิการวิสามัญรับเรื่องราวร้องทุกข์ ส.น.ช. เพื่อให้รับทราบข้อเท็จจริงและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ... ที่กำลังจะเข้าสู่การพิจารณา ส.น.ช. โดยได้เสนอร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ... ฉบับคู่ขนานที่สมาคมผู้ดูแลเว็บไทย สภาวิชาชีพผู้ดูแลเว็บไทย นักวิชาการและภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้ช่วยกันยกร่างขึ้นต่อ ส.น.ช. เพื่อพิจารณาและผลักดันให้ออกมาบังคับใช้เป็นกฎหมายต่อไป สาระสำคัญที่สมาคมผู้ดูแลเว็บไทยและสภาวิชาชีพผู้ดูแลเว็บไทยมองว่าร่างที่กำลังจะเข้าสู่การพิจารณาของ ส.น.ช. จำเป็นต้องแก้ไขมี 5 จุดคือ การให้อำนาจบังคับใช้กฎหมายแก่พนักงานเจ้าหน้าที่มากเกินไป การเปิดช่องโหว่ให้ผู้กระทำผิดตัวจริงไม่ต้องรับโทษ ฐานความผิดซ้ำซ้อนกับคดีอาญา ถ้อยคำในบทบัญญัติไม่ชัดเจนและไม่รัดกุม ระยะเวลาในการบังคับใช้กฏหมายไม่เหมาะสม "มาตรา 16 ให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่ที่มาจากการแต่งตั้งของรัฐมนตรี ยึดและอายัดระบบคอมพิวเตอร์ไว้ได้สูงสุดสามสิบวัน เพียงเพราะมี"เหตุอันควรสงสัยว่ามีการกระทำผิด" โดยไม่ต้องขอหมายศาล" สมาคมผู้ดูแลเว็บไทยและสภาวิชาชีพผู้ดูแลเว็บไทยระบุในแถลงการณ์ ถึงการให้อำนาจเจ้าพนักงานมากเกินไป สำหรับช่องโหว่ของพ.ร.บ.ที่ผู้กระทำผิดตัวจริงอาจไม่ต้องรับโทษ เนื่องจากมาตรา 23 ระบุว่าให้ยกเว้นโทษเจ้าของหรือผู้ครอบครองข้อมูลที่กระทำความผิด หากข้อมูลนั้นถูกเปิดเผยแก่บุคคลที่สามหรือสาธารณะชนโดยเจ้าหน้าที่ที่แต่งตั้งโดยรัฐมนตรี ไม่ว่าจะโดยตั้งใจหรือประมาทเลินเล่อก็ตาม ประเด็นฐานความผิดซ้ำซ้อนนั้น สมาคมระบุว่าพ.ร.บ.ฉบับนี้ไม่มีกลไกการตรวจสอบถ่วงดุลที่ดีเช่นเดียวกับกฏหมายอาญา โดยเฉพาะความผิดฐานละเมิด โดยในมาตรา 3, 5 และ 6 ยังมีปัญหาเรื่องการใช้ถ้อยคำไม่ชัดเจนและไม่รัดกุม ขณะที่ระยะเวลาบังคับใช้กฏหมาย ซึ่งพ.ร.บ.กำหนดไว้ที่ 180 วันทางสมาคมมองว่าผู้ให้บริการจำนวนมากจะไม่สามารถปรับเปลี่ยนระบบคอมพิวเตอร์ได้ทัน Company Related Links : สมาคมผู้ดูแลเว็บไทย
ข่าวจาก : ผู้จัดการออนไลน์ วันที่ : 16 พฤศจิกายน 2549 เวลา 08:30 น.
Create Date : 16 พฤศจิกายน 2549 | | |
Last Update : 6 เมษายน 2551 20:08:32 น. |
Counter : 397 Pageviews. |
| |
|
|
|
|
เทคนิคฟิชชิ่ง 2006 เลือกเหยื่อรายได้สูง-ทำธุรกรรมออนไลน์
เทคนิคฟิชชิ่ง 2006 เลือกเหยื่อรายได้สูง-ทำธุรกรรมออนไลน์
กลายเป็นตัวเลือกยอดนิยมสำหรับเหล่าฟิชเชอร์ (Phisher) อาชญากรอินเตอร์เน็ตที่จ้องหาประโยชน์จากรายได้สูงเกินกว่า 100,000 หรียญสหรัฐต่อปี โดยพบว่าผู้บริโภครายได้สูงเหล่านี้ได้รับอีมลล่อลวงให้เข้าไปที่หน้าเว็บไซต์ปลอมมากกว่าผู้มีรายได้ปานกลางถึง 50 เปอร์เซ็นต์ ภัยฟิชชิ่งคือการที่เหล่าอาชญากรสร้างหน้าเว็บเพจเลียนแบบเว็บไซต์ของสถาบันการเงิน ธนาคาร หรือเว็บอีคอมเมิร์ซชื่อดังขึ้นมา โดยวิธีการคือการส่งอีเมลไปแจ้งยังผู้บริโภคให้เข้ามาทำธุรกรรมบนเว็บไซต์ดังกล่าว ซึ่งเมื่อผู้บริโภคกรอกข้อมูลส่วนตัว หรือพาสเวิร์ดลงบนเว็บไซต์ปลอมแห่งนั้น อาชญากรจะนำข้อมูลดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ตามใจชอบ
จำนวนของผู้บริโภคชาวอเมริกันที่ไดีรับอีเมลในปี 2006 เพิ่มขึ้นเป็น 109 ล้านคน หรือคิดเป็นสองเท่าเมื่อเทียบกับช่วงปี 2004 ที่มีอยู่แค่ 57 ล้านคน ส่วนความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการฟิชชิ่งนั้นคิดเป็นมูลค่า 2.8 พันล้านเหรียญสหรัฐแล้ว (ปี 2006)
จากการสำรวจของการ์ทเนอร์พบว่า ความสูญเสียโดยเฉลี่ยของเหยื่อเพิ่มมากขึ้นเป็น 1.244 เหรียญสหรัฐจากการถูกฟิชชิ่ง หรือเท่ากับเพิ่มขึ้น 4 เท่า โดยในจำนวนนี้เหยื่อที่ได้รับเงินคืนมีเพียง 50 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ส่วนกลุ่มผู้ใหญ่ที่มีรายได้สูงนั้น ความสูญเสียโดยเฉลี่ยก็เพิ่มขึ้นเป็น 4.362 เหรียญสหรัฐด้วย
ค่าเฉลี่ยของอีเมลที่ผู้บริโภครายได้สูงได้รับนั้นอยู่ที่ 112 ฉบับ ในขณะที่ผู้บริโภคทั่วๆ ไป ได้รับอีเมลล่อลวงเพียง 74 ฉบับเท่านั้น
การ์ทเนอร์ยังได้อ้างข้อมูลของ the Aassociation of Payment Clearing Services (ASACS) เกี่ยวกับตัวเลขความเสียหายที่เกิดขึ้นในช่วงเดือนมกราคม-มิถุนายน 2006 คดีฟิชชิ่งที่เกิดขึ้นในอังกฤษเพิ่มขึ้น 16 เท่า หรือเท่ากับ 5,059 คดี ทำให้ธนาคารเสียหายเป็นเงิน 23 ล้านปอนด์ นอกจากธนาคารแล้ว เว็บไซต์ชื่อดังเช่น อีเบย์ (eBay) และเพย์เพล (PayPal) ก็ตกเป็นเหยื่อของขบวนการฟิชชิ่งด้วยเช่นกัน
ข่าวจาก : ARiP วันที่ : 15 พฤศจิกายน 2549 เวลา 21:40 น.
Create Date : 16 พฤศจิกายน 2549 | | |
Last Update : 6 เมษายน 2551 20:10:24 น. |
Counter : 421 Pageviews. |
| |
|
|
|
|
ซอฟท์แวร์ยุคใหม่บล็อคเว็บกันไวรัส
ซอฟท์แวร์ยุคใหม่บล็อคเว็บกันไวรัส
ที่ผ่านมาซอฟท์แวร์รักษาความปลอดภัยมักจะมีวิธีการทำงานแบบหลบซ่อนอยู่เบื้องหลังคอยหยุดยั้งและสกัดกั้นไวรัสและโปรแกรมประสงค์ร้ายอื่นๆ ที่เข้ามาจู่โจมเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณ ในขณะที่ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ จะพยายามที่จะป้องกันผู้ใช้ไม่ให้สามารถเข้าถึงเว็บไซต์ที่รู้ว่าเป็นแหล่งที่มาของโปรแกรมดังกล่าว เรียกว่าป้องกันก่อนที่โปรแกรมจะสามารถจู่โจมเครื่องของคุณได้เสียอีก เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน แมคอาฟี่ อิงค์ ได้เปิดตัวซอฟท์แวร์ที่ใช้สำหรับปิดกั้นเว็บไซต์ที่ตรวจสอบพบโดยนักวิจัยของบริษัทว่าเป็นเว็บไซต์ที่มีปัญหา ซึ่งรวมถึงเว็บไซต์ที่แพร่กระจายโปรแกรม "สปายแวร์" และ "แอดแวร์" ซึ่งจะคอยแกะรอยการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณหรือสร้างความรำคาญใจให้กับเครื่องของคุณด้วยหน้าต่างโฆษณาจำนวนมาก
เมื่อเดือนที่แล้วโปรแกรมเว็บเบราเซอร์ที่ออกใหม่ทั้ง "อินเตอร์เน็ต เอ็กซ์พลอเรอร์ 7" ของไมโครซอฟท์ คอร์ป และ "ไฟร์ฟ็อกซ์ 2" ของมอซซิลล่าได้ติดตั้งเครื่องมือที่ช่วยป้องกันผู้ใช้ไม่ให้สามารถเข้าถึงเว็บไซต์ที่เป็นที่รู้จักหรือต้องสงสัยว่าเป็นเว็บหลอกลวงประเภท "ฟิชชิ่ง" (การโจมตีในรูปแบบของการปลอมแปลงอี-เมล หรือสร้างเว็บไซต์ปลอม เพื่อทำการหลอกลวงให้เหยื่อหรือผู้รับอี-เมลเปิดเผยข้อมูลทางด้านการเงินหรือข้อมูลส่วนบุคคลอื่นๆ เช่น พาสเวิร์ด)
ก่อนหน้านี้ โอเพ่นดีเอ็นเอส แอลแอลซี ซึ่งเป็นบริษัทผู้ให้บริการโดเมนเนมบนเว็บไซต์ ได้เสนอทางเลือกในการป้องกันเว็บไซต์ "ฟิชชิ่ง" ให้กับผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต บริษัทต่างๆ และลูกค้าผู้ใช้อินเตอร์เน็ตโดยการทำให้เว็บไซต์ดังกล่าวไม่สามารถเข้าถึงได้แม้จะพิมพ์ที่อยู่ของเว็บไซต์ได้ถูกต้องก็ตาม ทั้งนี้ แมคอาฟีได้แถมโปรแกรมที่เรียกว่า "ไซต์แอดไวเซอร์ พลัส" ซึ่งทำหน้าที่ในการเตือนผู้ใช้เกี่ยวกับเว็บไซต์ที่มีปัญหามากับซอฟท์แวร์แอนตี้ไวรัสและแอนตี้สปายแวร์เวอร์ชั่นล่าสุด โดยโปรแกรมดังกล่าวจะทำการตรวจสอบเว็บไซต์กับฐานข้อมูลของแมคอาฟีที่มีบรรจุอยู่กว่า 8 ล้านเว็บไซต์ โดยจะมีการส่งสัญญาณเตือนกลับมาเป็นสีแดง สีเหลือง และสีเขียว อย่างไรก็ตาม เว็บไซต์ที่มีสัญญาณเตือนเป็นสีเหลืองและสีแดงจะไม่สามารถเข้าถึงได้ ในขณะที่ไซแมนเทค คอร์ปก็ได้มีการบรรจุเครื่องมือที่ทำหน้าที่กลั่นกรองเว็บไซต์ "ฟิชชิ่ง" มาในผลิตภัณฑ์ใหม่ของบริษัทเช่นกัน
นายโยฮันเนส บี อุลริช หัวหน้านักวิจัยของสถาบันด้านความปลอดภัยซานซ์กล่าวว่า "วิธีการป้องกันจากที่อยู่ของเว็บไซต์นั้นเป็นวิธีที่ง่ายกว่าวิธีการเดิมแถมยังเป็นการลดโอกาสที่โปรแกรมถูกกฎหมายจะถูกบล็อคจากการทำงานของโปรแกรมป้องกันไวรัสด้วย" อย่างไรก็ตาม ระบบการป้องกันแบบนี้ยังมีข้อจำกัดอยู่บ้าง อย่างแรกคือต้องใช้เวลาหลายชั่วโมงหรือหลายวันกว่าที่นักวิจัยจะสามารถตรวจสอบพบเว็บไซต์ต้องสงสัยเพื่อที่จะเพิ่มเข้าไปในฐานข้อมูล ในขณะที่วิธีการป้องกันแบบเก่านั้นตัวซอฟท์แวร์สามารถตรวจพบภัยคุกคามแบบเดิมๆ บนเว็บไซต์ใหม่ได้แทบจะในทันที ปัญหาต่อมาคือ ระบบการป้องกันดังกล่าวต้องใช้เวลาในการตรวจสอบจากฐานข้อมูลบนอินเตอร์เน็ตประมาณสองหรือสามวินาที ซึ่งนายแกรี่ แชร์ ผู้อำนวยการด้านผลิตภัณฑ์อินเตอร์เน็ต เอ็กซ์พลอเรอร์ของไมโครซอฟท์กล่าวว่า ช่วงเวลาดังกล่าวที่เว็บเบราเซอร์กำลังแสดงผลหน้าเว็บไซต์และรอการตรวจสอบอยู่นั้น ซอฟท์แวร์ประสงค์ร้ายอาจจะเริ่มทำงานได้ก่อนที่การตรวจสอบจะเสร็จสิ้นเสียอีก
ข่าวจาก : ARiP วันที่ : 10 พฤศจิกายน 2549 เวลา 08:57 น.
Create Date : 10 พฤศจิกายน 2549 | | |
Last Update : 6 เมษายน 2551 20:12:27 น. |
Counter : 466 Pageviews. |
| |
|
|
|
|
Download: SpeeDefrag ดีแฟลกแบบเร่งด่วน

Download: SpeeDefrag ดีแฟลกแบบเร่งด่วน
พวกเราต่างทราบกันดีว่า การทำดีแฟลก (Defragging) ให้กับคอมพิวเตอร์ เป็นขั้นตอนของการบำรุงรักษาเครื่องให้มีประสิทธิภาพการทำงานของระบบดีขึ้น และทุกท่านก็คงจะทราบดีว่า การทำดีแฟลกใช้เวลานานแค่ไหน บ่อยครั้งที่มันใช้เวลาไปทั้งสิ้น 3 – 4 ชั่วโมงเลยทีเดียว คอลัมน์ดาวน์โหลดวันนี้จะช่วยลดความลำบากใจในการทำดีแฟลกให้ระบบ โดยยูทิลิตี้ที่จะแนะนำต่อไปนี้จะช่วยลดระยะเวลาที่ใช้ในการทำดีแฟลกลง ในขณะที่ผลลัพธ์ของการทำงานที่ได้ไม่ต่างจากโปรแกรมดีแฟลกของ Windows สำหรับโปรแกรมดังกล่าวมีชื่อว่า SpeeDefrag ซึ่งนอกจากมันจะสามารถทำดีแฟลกได้เร็วกว่าจนน่าตกใจแล้ว มันยังมีคุณสมบัติการทำงานบางอย่างที่อาจมีประโยชน์มากสำหรับผู้ใช้บางท่านอีกด้วย สาเหตุที่ทำให้ SpeeDefrag สามารถทำดีแฟลกได้เร็วกว่าเพื่อนก็คือ สิ่งที่มันทำก่อนการเริ่มดีแฟลกนั่นเอง กล่าวคือ SpeeDefrag จะรีสตาร์ทระบบก่อน เพื่อเริ่มทำงานเฉพาะโปรแกรม SpeeDefrag เพียงโปรแกรมเดียวเท่านั้น ซึ่งมันทำให้คุณลดเวลาในการทำดีแฟลกลงได้มากทีเดียว ในส่วนของคุณสมบัติการทำงานเพิ่มเติมของโปรแกรมอย่างเช่น การกำหนดให้โปรแกรมดีแฟลกเฉพาะไดรฟ์ที่ต้องการ หรือแม้แต่กำหนดตารางเวลาในการทำดีแฟลกโดยอัตโนมัติ เช่น ช่วงพักเที่ยง เป็นต้น และสุดท้าย แต่ไม่ใช่ท้ายสุดก็คือ คุณสามารถตั้งเวลาให้ SpeeDefrag ชัตดาวน์ระบบหลังจากการทำดีแฟลกเสร็จเรียบร้อยแล้วได้อีกด้วย ซึ่งทำให้ปัญหาลืมปิดเครื่องหมดไป เช่น คุณสามารถสั่งดีแฟลก แล้วไปเข้านอนได้เลย พอตอนเช้า เครื่องจะชัตดาวน์ไปแล้ว และพร้อมเปิดใช้งานด้วยประสิทธิภาพที่ดีขึ้น
ข่าวจาก : ARiP วันที่ : 10 พฤศจิกายน 2549 เวลา 08:57 น.
Create Date : 10 พฤศจิกายน 2549 | | |
Last Update : 6 เมษายน 2551 20:11:28 น. |
Counter : 421 Pageviews. |
| |
|
|
|
|
| |
|
|