หากคุณซึ้งกับโฆษณาไทยประกัน แม่ต้อยตัวจริง(กำลังจะตาย)!!! ขอความช่วยเหลือด่วน..
หากคุณซึ้งกับโฆษณาไทยประกัน แม่ต้อยตัวจริง(กำลังจะตาย)!!! ขอความช่วยเหลือด่วน..
"บ้านโฮมฮัก"อบอุ่นด้วยรักแต่แร้นแค้น
“บ้านโฮมฮัก” เป็นบ้านแห่งความรักของเด็ก ๆ นับร้อยชีวิตที่มาอาศัยพักพิงในยามที่ไม่เหลือใคร เด็กๆ ที่นี่มีทั้งเด็กกำพร้าที่ติดเชื้อเอดส์จากพ่อแม่ เด็กกำพร้าไม่ติดเชื้อแต่ถูกชุมชนผลักไสด้วยความรังเกียจ เด็กที่พ่อแม่มีปัญหาไม่สามารถเลี้ยงดูได้ เด็กที่มีปัญหายาเสพติด เด็กบางคนมาด้วยหัวใจที่แตกสลายพร้อมกับร่างกายที่บอบช้ำจากการกระทำ ทารุณกรรมของผู้ใหญ่ เรื่องราวของเด็กบางคนดั่งนิยายที่กรีดกระชากใจผู้ที่ได้รับรู้
เด็กที่นี่มีทั้งหมด 104 ชีวิต ตั้งแต่อายุ 4 วันไปจนถึง 20 ปี บางรายถูกพ่อแม่เร่ขายให้ไปเป็นขอทาน บางรายกำลังถูกขายไปเป็นหญิง*** และอีกหลายกรณีที่สะเทือนใจ อาทิ
กรณีของน้องส้ม (นามสมมติ) เด็กหญิงวัย 3 ขวบ แววตาสดใสน่ารัก แต่โดนผู้ใหญ่ใจโหดร้ายป้ายบาดแผลทั้งร่ายกายและจิตใจให้เธอด้วยการข่มขืน เธอมาในสภาพอวัยวะเพศฉีกขาด จิตใจบอบช้ำ ซ้ำร้ายเธอติดเชื้อเอดส์
หรือกรณีของน้องโฟร์ (นามสมมุติ) พ่อแม่เสียชีวิตเพราะเอดส์ เธอเองก็ได้รับเชื้อเช่นกัน บ้านเธอยากจน ยามหิวโหยก็เคี้ยวข้าวสารประทังชีวิต เพราะไม่มีใครดูแล มีวัดใกล้บ้านเธอจึงไปขอเศษข้าวเศษแกงประทังชีวิต แต่ซ้ำร้ายโดนพระใจโฉดข่มขืน ทุกวันนี้ร่างกายเธอแคระแกรนเพราะขาดสารอาหาร และเอดส์ทำให้เธอมีอาการชักหลายครั้ง จนมีผลทางสมองทำให้เธอพัฒนาการช้ากว่าเพื่อน ๆ ในวัยเดียวกัน
“แม่ต้อย” ของเด็ก ๆ หรือ สุธาสินี น้อยอินทร์ หญิงเหล็กหัวใจแกร่งที่มีความตั้งใจงานเพื่อสังคมมาโดยตลอดนับตั้งแต่เรียน จบ จากจุดเริ่มต้นที่ได้ทำงานเกี่ยวกับการดูแลเด็ก โดยไม่รับเงินเดือน
จนกระทั่งมาตั้ง “มูลนิธิ สุธาสินี น้อยอินทร์ เพื่อเด็กและเยาวชน” อยู่ที่เลขที่ 3 หมู่ 12 บ้านประชาสรรค์ ต.ตาดทอง อ.เมือง ยโสธร โทร 0-4572-2241
แม่ต้อยก่อตั้งบ้านโฮมฮักมา 20 กว่าปีแล้ว แต่จดทะเบียนเป็นมูลนิธิเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา เป็นพินัยกรรมเพื่อความอยู่รอดของเด็กๆเมื่อเธอต้องจากไป ทรัพย์สินทั้งหมด บ้าน รถ ที่ดิน มรดก ของพ่อแม่ก็ขายหมดมาเป็นค่ายา ค่าอาหาร ค่าเทอม ค่าน้ำ ค่าไฟ ของเด็ก ๆ ที่สูงถึงเดือนละ 4-5 แสนบาท สุดท้ายแม้กระทั่งสร้อยที่ใส่ติดคอยังต้องขาย เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายให้เด็กๆ ซึ่งเปรียบเสมือนลูกๆ ของเธอก่อนเมื่อเปิดเทอม
แม่ต้อย เล่าว่า บ้านโฮมฮักเป็นบ้านหลังที่อบอุ่นเพื่อเด็ก ๆ ที่ยากไร้ ขาดที่พึ่งพิง เราอยู่กันด้วยความรัก แต่แร้นแค้น ปัจจุบันขายสมบัติจนหมดเกลี้ยงตัว แม้จะมีเงินบริจาคเข้ามาแ?่ก็ไม่พอ เด็ก ๆ ที่บ้านโฮมฮักต้องช่วยเหลือกัน แบบพี่ดูแลน้อง ปลูกผัก หาแมลงกินประทังชีวิต แต่ด้วยความแห้งแล้งก็ยากลำบากเหลือเกิน แค่น้ำใช้อาบทั้งบ้านก็ไม่พอ จะเอาน้ำที่ไหนไปรดผัก แมลงที่หาได้ต้องเอาไปคั่วแล้วป่น โรยข้าวเพื่อให้พอกินกันทั้งบ้าน เด็กก็มีแต่ตัวเล็ก ๆ บางส่วนก็ป่วย บางส่วนไปโรงเรียน ที่โตขึ้นมาหน่อยก็ต้องดูแลน้องตัวเล็ก ๆ ที่ยังช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ และบางคนก็ต้องพยาบาลน้องๆ ที่เจ็บป่วย
"ที่น่าเศร้าใจคือสังคมยังมีการเลือกปฏิบัติและอคติต่อผู้ติดเชื้อเอดส์ เมื่อส่งเด็กไปโรงเรียนต้องหาโรงเรียนที่ไกลออกไป บางครั้งเมื่อรู้ว่าเด็กมาจากที่นี่ พ่อแม่ ผู้ปกครองก็ประท้วงให้ไล่เด็กออก เพราะสังคมยังขาดความเข้าใจว่าไม่สามารถติดเชื้อจากการอยู่ร่วมกัน แต่ติดทางเลือดและการมีเพศสัมพันธ์เท่านั้น ทำให้ไม่เข้าใจเด็กเหล่านี้ว่าป่วยแค่ร่างกายแต่ยังมีชีวิตจิตใจ มีความรู้สึกนึกคิด ร้องไห้ได้เหมือนกับเรา เด็กเหล่านี้โดนมองเหมือนเป็นตัวประหลาดที่ไม่มีใครอยากเฉียดกรายเข้าใกล้ ขนาดเหลือแต่ร่างไร้ลมหายใจจะเผาในวัดยังไม่ได้ ชาวบ้านกลัวขี้เถ้าฟุ้งไปในอากาศตกหลังคาบ้านแล้วจะติดเอดส์กันทั้งหมู่บ้าน " แม่ต้อย เล่าทั้งน้ำตา
มีเด็กระยะสุดท้ายที่แพทย์พิพากษาว่า อยู่ได้อีกไม่ถึงเดือน หรือ 2 เดือน กับเด็กที่แพทย์หยุดยา เพราะดื้อยาแล้ว ส่งมาอยู่รอความตายที่นี่ แต่ด้วยความรัก ความอบอุ่น และบรรยากาศที่ดูแลกันเหมือนพี่น้อง เด็ก ๆ หลายคนกลับมีชีวิตอยู่ได้เกินกำหนดที่แพทย์บอก เช่น น้องก้อง (นามสมมุติ) มาตอนอายุ 8 เดือน ซึ่งหมอไม่รักษาแล้ว เพราะเชื่อว่าอยู่ได้อีก 2 เดือน แต่ตอนนี้น้องก้องสุขภาพแข็งแรงดี อายุ 12 ขวบแล้ว ช่วยพี่ๆ รดน้ำผักทุกวัน
แต่ตอนนี้ผักปลูกได้น้อย แมลงหาจนไม่มีให้หาแล้ว ข้าวกินได้ครึ่งท้องเพื่อแบ่งอีกครึ่งให้น้อง ๆ ซ้ำร้ายแม่ต้อยของเด็กกำลังป่วยด้วย “มะเร็งลำไส้ระยะสุดท้าย”
ซึ่งหมอบอกว่าเธอจะอยู่ได้อีกไม่เกิน 6 เดือน แต่หัวใจแม่เกินร้อยที่เธอมอบให้เด็กๆ ทำให้เธอสู้ บางคืนเธอถูกรุมเร้าด้วยอาการปวดที่ไม่ได้พักผ่อนจากการทำงานหนัก
พอช่วงกลางคืนถึงกับนอนไม่ได้ ต้องลุกออกมาเดิน หาก ใครไปบ้านโฮมฮักไม่รู้คนไหนแม่ต้อยละก็ ให้สังเกตที่ข้อเท้าจะมีกระดิ่งเป็นลูกกระพรวนห้อยไว้ เพราะยามเธอออกมาเดิน เด็ก ๆ ได้ยินเสียงกระดิ่งจะได้ไม่กลัวคิดว่าเป็นผี ...
แต่ จะมีวันไหนที่แม่ต้อยไม่ลุกออกมาเดินอีกแล้วก็ไม่รู้ !?! แล้วเด็ก ๆ จะอยู่กันได้อย่างไร ต้องกำพร้าครั้งที่สองในชีวิตกันอีกแล้วหรือ ?
ปัจจุบันบ้านโฮมฮักกำลังประสบภาวะขาดแคลนทุนทรัพย์ อย่างหนัก และยังขาดครูพี่เลี้ยง ขาดเจ้าหน้าที่อาสาสมัครที่ทยอยถอนตัวออกไป เราลองมาช่วยกันสร้างปาฏิหาริย์ให้บ้านโฮมฮักเพื่อช่วยเหลือเด็ก ๆ ที่ถูกทอดทิ้ง ใครที่เคยคิดว่าพวกเขาเหล่านั้นเป็นส่วนเกิน เป็นส่วนที่ต้องกันไว้ให้อยู่อีกโลก เป็นอีกชนชั้นของสังคม ก็น่าจะมองกันใหม่ เพราะพวกเขาเป็นเพียงเด็ก เป็นชีวิตที่ไร้เดียงสา แววตาบริสุทธิ์ไม่ได้รับรู้ถึงเรื่องราวที่ผู้ใหญ่ยัดเยียดให้ เด็กน้อยเหล่านี้เกิดมาจากปัญหาที่พวกผู้ใหญ่สร้างขึ้นทั้งนั้น
ถ้าหากใครได้ไปสัมผัสเยี่ยมเยือน เด็กๆ ที่บ้านโฮมฮัก จะเห็นแววตาที่สดใส ร่าเริง ทุกคนจะดีใจที่มีพี่ๆ ไปเยี่ยม ยิ่งถ้าไปเล่นไปสัมผัสเด็ก ๆ เหล่านั้นด้วยจิตกุศล ด้วยความรักก็เหมือนได้ต่อเติมชีวิตอันสดใส จากเด็กที่ไม่ลุกเดิน ซึมเศร้าเหม่อลอย ไม่มีแม้แต่รอยยิ้ม เมื่อเห็นผู้มาเยี่ยมเยือนจะดีใจ ลุกขึ้นมาต้อนรับ มีรอยยิ้ม เพราะนานมากแล้วที่ถูกทอดทิ้ง ไม่ค่อยมีใครไปเยี่ยมเยือน
“พี่ ๆ จะกลับมาหาพวกหนูกันอีกมั๊ยคะ”
“พี่หนูอยากได้เสื้อสีแดงไว้ใส่ หนูจะได้ใส่ก่อนตายมั๊ยคะ”
และอีกมากมายคำพูดอันเสียดแทงหัวใจพี่ๆ ทุกคน อยากให้สังคมได้รับรู้ ก่อนจากกันโบกมือลาด้วยน้ำตา และแววตาของเด็ก ๆ ที่มองรถจนลับตาพร้อมกับความหวังว่า จะมีใครมาเยี่ยมเยือนและนึกถึงพวกเขาเหล่านั้นกันอีกบ้าง…
สำหรับผู้มีจิตศรัทธาบริจาคช่วยเหลือเด็ก ๆ โอนเงินไปได้ที่ ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขายโสธร ชื่อบัญชี มูลนิธิสุธาสินี น้อยอินทร์ เพื่อเด็กและเยาวชน เลขที่ 561-2-21187-7
โทร. 0-4572-2241
หรือจะบริจาคเสื้อผ้า หนังสือการ์ตูน หนังสือเรียน ของเล่น และสิ่งจำเป็นได้ตามจิตศรัทธาเป็นของใหม่หรือของใช้แล้วก็ได้ เพราะของที่ท่านไม่ใช้แล้วยังมีค่ากับเด็ก ๆ เหล่านี้อย่างมาก
******ช่วยกันหน่อยนะค่ะ....บริจาคให้กับ...?..ยังบริจาคกันเป็นล้าน...แต่บริจาคให้กับคนดีของสังคมจะชวยกันได้ไหมค่ะ*******
ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ โปรดคลิ๊ก ไปที่ลิ๊งค์
|
---|
Create Date : 03 ธันวาคม 2551 | | |
Last Update : 4 ธันวาคม 2551 0:14:06 น. |
Counter : 2692 Pageviews. |
| |
|
|
|
50 สถานที่ปฏิบัติธรรมในประเทศไทย
50 สถานที่ปฏิบัติธรรมในประเทศไทย
๑. วัดธรรมมงคล
๑๓๒ ถ.สุขุมวิท ซอย ๑๐๑ ตรอกปุณณวิถี ๒๐ แขวงบางจาก เขตพระโขนง กรุงเทพฯ ๑๐๒๖๐ โทร. ๐๒-๓๑๑-๑๓๘๗, ๐๒-๓๓๒-๔๑๔๕, ๐๒-๗๔๑-๗๘๒๒ วิปัสสนาจารย์ พระเทพเจติยาจารย์ (หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร) แนวการปฏิบัติ แนวพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ภาวนา “พุทโธ” สถานที่ปฏิบัติมีหลายแห่ง คือ ๑. ศาลาปฏิบัติธรรม เป็นห้องมุ้งลวด ๒. ถ้ำวิปัสสนา (จำลอง) ๓. ศูนย์สมาธิวิริยานุภาพ มี ๘๐ ห้องพัก ทุกห้องมีเครื่องปรับอากาศ ๔. ห้องสำหรับทำสมาธิ ๕. สถานปฏิบัติธรรม จ.เชียงราย ๖. สำนักสงฆ์น้ำตกแม่กลาง
๒. วัดอัมพวัน ๕๓ หมู่ที่ ๔ ถ.เอเชีย กม. ๑๓๐ บ้านอัมพวัน ต.พรหมบุรี อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี ๑๖๑๖๐ โทร. (๐๓๖) ๕๙๙-๓๘๑, (๐๓๖) ๕๙๙-๑๗๕ วิปัสสนาจารย์ พระธรรมสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม) แนวการปฏิบัติ สติปัฏฐาน ๔ บริกรรม “ยุบหนอ พองหนอ”
๓. ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ๕๘/๘ ถ.เพชรเกษม ๕๔ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพฯ ๑๐๑๖๐ โทร. ๐๒-๔๑๓-๑๗๐๖, ๐๒-๘๐๕-๐๗๙๐-๔ วิปัสสนาจารย์ คุณแม่สิริ กรินชัย แนวการปฏิบัติ แนวสติปัฏฐาน ๔ เจริญสติอย่างต่อเนื่อง ตามแนวพระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ) วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ สถานที่เป็นตึกทันใหม่ทันสมัยหลายหลัง โดยทั่วไปการอบรมใช้เวลา ๘ วัน ๗ คืน
๔. สวนโมกขพลาราม ๖๘ หมู่ ๑ ต.เลเม็ด อ ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี ๘๔๑๑๐ โทร. ๐๗๗-๔๓๑-๕๙๖-๗, ๐๗๗-๔๓๑-๖๖๑-๒ วิปัสสนาจารย์ ท่านพุทธทาสภิกขุ แนวการปฏิบัติ อานาปานสติภาวนา
๕. วัดป่าสุนันทวนาราม ๑๑๐ หมู่ที่ ๘ บ้านท่าเตียน ต.ไทรโยค อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี ๗๑๑๕๐ วิปัสสนาจารย์ พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก แนวการปฏิบัติ อานาปานสติภาวนา เปิดอบรม “อานาปานสติภาวนา” แก่ผู้สนใจ ครั้งละ ๙ วัน เปิดรับครั้งละ ๑๐๐-๑๕๐ คน เป็นการปฏิบัติที่เคร่งครัด กินอาหารวันละ ๑ มื้อ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ มูลนิธิมายา โคตมี คุณดารณี บุญช่วย โทร. ๐๒-๓๒๑-๖๓๒๐, ๐๒-๖๗๖-๓๔๕๓, ๐๒-๖๗๖-๔๓๒๓
๖. วัดภูหล่น ๙ บ้านภูหล่น ต.สงยาง อ.ศรีเมืองใหม่ จ.อุบลราชธานี ๓๔๒๕๐ ปฐมวิปัสสนาจารย์ หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล และหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต (วัดภูหล่น เป็นสถานที่หลวงปู่มั่นออกธุดงค์ครั้งแรกกับหลวงปู่เสาร์) วัดนี้ค่อนข้างจะห่างจากตัวเมือง บรรยากาศดีมาก เย็นสบาย และเงียบสงบ มีสิ่งปลูกสร้างที่อยู่บนเขาไม่สูงนัก สามารถกางกลดอยู่ได้ มีโบสถ์บนเขาและมีกุฏิโดยรอบ บ้างก็ซ่อนอยู่ตามซอกเขา ที่นี่เหมาะกับผู้เคยปฏิบัติธรรมมาแล้ว ต้องการมาปฏิบัติขั้นอุกฤษฎ์
๗. วัดถ้ำขาม บ้านคำข่า หมู่ที่ ๔ ต.ไร่ อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ๔๗๑๓๐ วิปัสสนาจารย์ พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร วัดมีเนื้อที่ ๘๔๐ ไร่ พื้นที่จรดเขตอุทยานป่าแนวเทือกเขาภูพาน วัดอยู่บนเขาสูง แต่ก็มีบันไดขึ้นลงสะดวก มีลิงป่า และไก่ป่า ที่พัก มีที่พักเป็นกุฏิ (กุฏิละ ๑ คน) หรือพักรวมบนศาลาก็ได้ เหมาะสำหรับผู้ต้องการมาปฏิบัติขั้นอุกฤษฎ์
๘. วัดมเหยงคณ์ ต.หันตรา อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา ๑๓๐๐๐ โทรศัพท์ ๐๓๕-๒๔๒-๘๙๒, ๐๓๕-๒๔๔-๓๓๕ วิปัสสนาจารย์ พระครูเกษมธรรมทัต (สุรศักดิ์ เขมรํสี) แนวปฏิบัติ เดินจงกรม นั่งสมาธิ กำหนดรู้ รูป-นาม
๙. สำนักปฏิบัติแสงธรรมส่องชีวิต หมู่ ๑ สี่แยกหินกอง ต.โคกแย้ อ.หนองแค จ.สระบุรี ๑๘๒๓๐ โทร. (๐๓๖) ๓๗๙-๔๒๘, (๐๓๖) ๓๐๕-๒๓๙ วิปัสสนาจารย์ พระอาจารย์สมชาติ ธมฺมโชโต แนวปฏิบัติ เน้นให้ผู้ฝึกมีสติรู้ในอิริยาบท ทุกวันเสาร์-อาทิตย์ และวันสำคัญทางศาสนา จะมีการจัดอบรมฝึกวิปัสสนากรรมฐาน บวชชีพราหมณ์ เนกขัมมะ
๑๐. วัดสนามใน ๒๗ หมู่ ๔ ต.วัดชลอ อ.บางกรวย จ.นนทบุรี ๑๑๑๓๐ โทร. ๐๒-๔๒๙-๒๑๑๙, ๐๒-๘๘๓-๗๒๕๑ วิปัสสนาจารย์ หลวงพ่อเทียน จิตตฺสุโภ แนวปฏิบัติ เน้นการเจริญสติรู้การเคลื่อนไหวของกาย ตามหลักสติปัฏฐาน ๔ วิธีที่เป็นที่นิยมคือวิธีสร้างจังหวะ เป็นวิธีสร้างสติแบบนั่งทำสมาธิแต่ไม่ต้องหลับตา
๑๑. วัดป่านานาชาติ หมู่ที่ ๗ บ้านบุ่งหวาย ต.บุ่งหวาย อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี ๓๔๓๑๐ (สาขา ๑๑๙ ของวัดหนองป่าพง จ.อุบลราชธานี) วิปัสสนาจารย์ พระอาจารย์ชยสาโร ภิกขุ เป็นวัดป่าที่มีต้นไม้ใหญ่มาก มียุงและแมลงต่างๆ มาก คนที่แพ้ยุงก็ควรหายากันยุงไปด้วย อากาศเย็นสบาย ทานอาหารวันละ ๑ มื้อ การไป ให้เขียนจดหมายไปขออนุญาตจากเจ้าอาวาส แล้วจึงเดินทางไปอยู่
๑๒. วัดปทุมวนาราม ถ.พระราม ๑ แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ ๑๐๓๓๐ โทร. ๐๒-๒๕๑-๒๓๑๕, ๐๒-๒๕๒-๕๔๖๕ วิปัสสนาจารย์ พระราชพิพัฒนาทร (หลวงพ่อถาวร จิตฺตถาวโร) แนวปฏิบัติ แนวพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ภาวนา “พุทโธ” นั่งปฏิบัติในศาลาพระราชศรัทธา มีอาสนะและผ้าคลุมตักให้หยิบใช้ได้ บริเวณโดยรอบมีการปลูกแต่งด้วยต้นไม้ใหญ่น้อย ร่มรื่นสวยงาม กำหนดการปฏิบัติธรรมที่ศาลาฯ ประจำวันจันทร์-ศุกร์ วันละ ๓ เวลา เช้า ๗.๐๐-๘.๐๐ น. กลางวัน ๑๒.๐๐-๑๓.๐๐ น. เย็น ๑๗.๐๐-๒๐.๐๐ น.
๑๓. วัดปากน้ำภาษีเจริญ ๘ แขวงปากคลองภาษีเจริญ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพฯ ๑๐๑๖๐ โทร. ๐๒-๔๖๗-๒๑๖๖ วิปัสสนาจารย์ พระมงคลเทพมุนี (หลวงพ่อสด จนฺทสโร) แนวปฏิบัติ ตามแนวธรรมกาย ใช้คำบริกรรม “สัมมาอรหัง” สถานที่ปฏิบัติ ๑. หอเจริญวิปัสสนาฯ ชั้น ๒ เป็นห้องแอร์ปูพรม ๒. หอสังเวชนีย์มงคลเทพนิมิต ๓. ตึกบวรเทพมุนี
๑๔. วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎ์ ๓ ท่าพระจันทร์ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐ วิปัสสนาจารย์ พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ) แนวปฏิบัติ ตามแนวสติปัฏฐาน ๔ ใช้คำบริกรรม “ยุบหนอ พองหนอ” สถานที่ปฏิบัติ คณะ ๕ สำนักงานกลาง กองการวิปัสสนาธุระ เปิดทุกวัน สอนเดินจงกรมและนั่งสมาธิ เช้า ๐๗.๐๐-๑๐.๐๐ น. กลางวัน ๑๓.๐๐-๑๖.๐๐ น. เย็น ๑๘.๐๐-๑๙.๐๐ น.
๑๕. วัดอินทรวิหาร อาคารปฏิบัติธรรม “เฉลิมพระเกียรติ” วัดอินทรวิหาร แขวงบางขุนพรหม เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐ โทร. ๐๒-๖๒๘-๕๕๕๐-๒ วิปัสสนาจารย์ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) แนวการปฏิบัติ แนวหลักสูตรของคุณแม่สิริ กรินชัย ๘ วัน ๗ คืน หรือ ๔ วัน ๓ คืน เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมขยายผล จากผู้ปฏิบัติธรรมกับคุณแม่สิริ กรินชัย เป็นอาคารทันสมัย ๕ ชั้น จุได้ประมาณ ๕๐๐ คน
๑๖. สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ พุทธมณฑล ถ.พุทธมณฑลสาย ๔ ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม ๗๓๑๗๐ โทร. ๐๒-๔๔๑-๙๐๐๙, ๐๒-๔๔๑-๙๐๑๒ แนวปฏิบัติ สติปัฏฐาน ๔ กำหนดรู้อารมณ์ บริกรรม “ยุบหนอ พองหนอ” สถานที่ปฏิบัติ ชั้น ๒ ของหอประชุม มีเครื่องปรับอากาศ ห้องนอน มีเครื่องนอน เช่น หมอน มุ้ง ผ้าห่มให้พร้อมหรือนำไปเองก็ได้ ทานอาหาร ๒ มื้อ
๑๗. ศูนย์วิปัสสนายุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย เฉลิมพระเกียรติ ศูนย์ที่ ๒ จังหวัดปทุมธานี ๑๙ หมู่ที่ ๑๖ ต.คลองสาม อ.คลองสาม จ.ปทุมธานี ๑๒๑๒๐ โทร. ๐๒-๙๘๖-๖๔๐๓-๕ โทรสาร ๐๒-๙๘๖-๖๔๐๓-๔ ต่อ ๑๑๑ เป็นสาขาของยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย เพชรเกษม ๕๔ วิปัสสนาจารย์ คุณแม่สิริ กรินชัย แนวการปฏิบัติ แนวสติปัฏฐาน ๔ เจริญสติอย่างต่อเนื่อง ตามแนวพระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ) วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ สถานที่ร่มรื่น สงบเย็น สัปปายะดีมาก โดยทั่วไปการอบรมใช้เวลา ๘ วัน ๗ คืน
๑๘. วัดอโศการาม ๑๓๖ หมู่ที่ ๒ กม. ๓๑ ถ.สุขุมวิท (สายเก่า) ซ.สุขาภิบาล ๕๘ ต.ท้ายบ้าน อ.เมือง จ.สมุทรปราการ ๑๐๒๘๐ โทร. ๐๒-๓๘๙-๒๒๙๙, ๐๒-๗๐๓-๘๔๐๕ วิปัสสนาจารย์ หลวงพ่อลี ธมฺมธโร บริเวณกว้างขวาง มีสระน้ำใหญ่ในบริเวณวัด กุฏิพระ แม่ชี และที่พักแยกเป็นสัดส่วนเรียงรายรอบวัดเป็นร้อยๆ หลัง ส่วนมากอยู่ติดริมทะเลซึ่งเป็นป่าชายเลน
๑๙. วัดญาณสังวราราม วรมหาวิหาร บ้านห้วยใหญ่ ต.ห้วยใหญ่ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี ๒๐๑๕๐ โทร. (๐๓๘) ๒๓๗-๕๐๖, ๒๓๗-๖๔๒, ๒๓๗-๙๑๒ วิปัสสนาจารย์ พระจุลนายก (พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต) สถานที่ปฏิบัติ เป็นอาคารคอนกรีต ๒ ชั้น มีอาคาร ญส. ๗๒ ชาย และ ญส. ๗๒ หญิง ชั้นละ ๑๐ ห้อง มีห้องน้ำในตัว เรือนปฏิบัติธรรมมี ๑๗ หลัง
๒๐. สำนักวิปัสสนากรรมฐานวิเวกอาศรม ซ.ประชานุกูล ๗ ถ.ชลบุรี-บ้านบึง ต.บ้านสวน อ.เมือง จ.ชลบุรี ๒๐๐๐๐ โทร. (๐๓๘) ๒๘๓-๗๖๖, (๐๓๘) ๒๘๓-๓๔๐ วิปัสสนาจารย์ พระอาจารย์ภัททันตะ อาสภมหาเถระ แนวปฏิบัติ สติปัฏฐาน ๔ ใช้คำบริกรรม “ยุบหนอ พองหนอ” มีเรือนพักปฏิบัติธรรมทั้งหญิงชายแยกเป็นสัดส่วนอยู่จำนวนมาก การอยู่ปฏิบัติให้พักคนเดียว เน้นการเก็บอารมณ์ ไม่พูดคุยกัน อย่างเคร่งครัด การรับประทานอาหารจะมีปิ่นโตส่งถึงห้อง ๒ มื้อ ทุกวันจะมีการสอบอารมณ์กรรมฐานโดยพระอาจารย์ ค่าน้ำไฟ อาหาร วันละ ๕๐ บาท หรือเดือนละ ๑,๕๐๐ บาท ห้ามอยู่เกิน ๙๐ วัน
๒๑. วัดภัททันตะอาสภาราม สำนักวิปัสสนาสมมิตร-ปราณี ๑๑๘/๑ หมู่ที่ ๑ บ้านหนองปรือ ต.หนองไผ่แก้ว อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี ๒๐๒๒๐ โทร. ๐๓๘-๒๙๒-๓๖๑, ๐๘๑-๗๑๓-๐๗๖๔, ๐๘๑-๙๒๑-๑๑๐๑ เป็นสถานที่ซึ่งมีผู้บริจาคเพื่อขยับขยายมาจากสำนักวิปัสสนากรรมฐานวิเวกอาศรม แนวปฏิบัติ สติปัฏฐาน ๔ ใช้คำบริกรรม “ยุบหนอ พองหนอ” สถานที่ล้อมรอบด้วยทุ่งและธรรมชาติ มีกุฏิสงฆ์สร้างในแบบธรรมชาติมุงจาก อาคารปฏิบัติธรรมขนาดกลางและอุโบสถ ยังรับผู้ปฏิบัติธรรมได้ไม่มากนัก
๒๒. วัดเขาสุกิม ๑๒ ต.เขาบายศรี อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี ๒๒๑๒๐ โทร. ๐๘-๙๙๓๑-๕๕๔๔, ๐๘-๑๔๕๖-๘๓๘๔ วิปัสสนาจารย์ หลวงพ่อสมชาย ฐิตวิริโย แนวปฏิบัติ แนวพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ใช้คำบริกรรม “พุทโธ” วัดตั้งอยู่สูงขึ้นไปบนเชิงเขา กว้างขวางกว่า ๓,๒๘๐ ไร่ มีทางบันได และรถรางขึ้นไปบนวัด บริเวณร่มรื่นด้วยต้นไม้ใหญ่น้อย มีศาลาที่พักที่สะดวกสบาย เป็นห้องมุ้งลวด มีเตียง ที่นอนหมอนให้ หรือพักที่กุฏิว่างต่างๆ
๒๓. วัดจันทาราม (วัดท่าซุง) ๖๐ หมู่ที่ ๑ บ้านท่าซุง ต.น้ำซึม อ.เมือง จ.อุทัยธานี ๖๑๐๐๐ โทร. (๐๕๖) ๕๑๑-๓๖๖, (๐๕๖) ๕๑๑-๓๙๑ วิปัสสนาจารย์ พระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) แนวปฏิบัติ มโนมยิทธิ บริกรรม “นะ มะ พะ ธะ” และสอนอนุสติ บริกรรม “พุทโธ”
๒๔. วัดถ้ำผาปล่อง ต.บ้านถ้ำ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ ๕๐๑๗๐ วิปัสสนาจารย์ หลวงปู่สิม พุทธาจาโร สำนักสงฆ์แห่งนี้อยู่บนดอย ทางขึ้นลงเทปูนเป็นบันไดเดินได้สะดวกแต่ค่อนข้างสูง หลวงปู่เคยเล่าไว้ว่าที่ถ้ำผาปล่อง และถ้ำเชียงดาวนี้ เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ให้สำรวมระวัง รักษาความสงบ ไม่ร้องรำทำเพลง เล่นตลกคะนอง เพราะเคยมีพระอรหันต์ตั้งแต่สมัยพระพุทธเจ้ากกุสันโธ พระอรหันต์สมัยพระพุทธเจ้าโกนาคม พระอรหันต์สมัยพระกัสสโป และพระอรหันต์สมัยพระพุทธโคดม มาบำเพ็ญเพียรและละสังขารอยู่หลายองค์ การนั่งภาวนาที่นี่จะทำเหมือนสมัยที่หลวงปู่ยังอยู่ คือ ท่านจะให้ทุกคนที่ไปภาวนานั่งสมาธิเพชรฟังเทศน์ ด้วยเหตุผลว่า ”การนั่งสมาธิเพชรนั้นเป็นการฝึกฝนคนเราให้เกิดความตั้งใจมั่น”
๒๕. วัดป่าสาลวัน ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครราชสีมา ๓๐๐๐๐ โทร. (๐๔๔) ๒๕๔-๔๐๒, ๐๘-๑๙๖๗-๑๔๓๕ วิปัสสนาจารย์ หลวงพ่อพุธ ฐานิโย แนวปฏิบัติ แนวหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น ภาวนา “พุทโธ” วันที่ ๑-๕ ของทุกเดือน จะมีการอบรมการปฏิบัติแก่อุบาสกอุบาสิกา ที่ใต้ศาลา และบนวิหารชั้น ๒ โดยจะมีพระให้การอบรม
๒๖. วัดแดนสงบอาสภาราม ๙๙ ซอย ๑๙ ถ.มิตรภาพ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครราชสีมา ๓๐๐๐๐ โทร. (๐๔๔) ๒๑๔-๑๓๔, (๐๔๔) ๒๑๔-๘๖๙-๗๐ วิปัสสนาจารย์ พระครูภาวนาวิสิฐ แนวปฏิบัติ สติปัฏฐาน ๔ อานาปานสติภาวนา
๒๗. วัดป่าวะภูแก้ว หมู่ที่ ๑๑ บ้านวะภูแก้ว ต.มะเกลือใหม่ อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา ๓๐๑๗๐ โทร. (๐๔๔) ๒๔๙-๐๔๕ เป็นวัดสาขาของวัดป่าสาลวัน จ.นครราชสีมา วิปัสสนาจารย์ หลวงพ่อพุธ ฐานิโย แนวปฏิบัติ แนวหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น ภาวนา “พุทโธ” วัดอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ มีต้นไม้ใหญ่น้อยมาก สถานที่เงียบสงบ สวยงาม มีอาคารอบรมขนาดใหญ่ สำหรับผู้มาทำสมาธิเป็นหมู่คณะ
๒๘. วัดหนองป่าพง ๔๖ หมู่ ๑๐ บ้านพงสว่าง ต.โนนผึ้ง อ.วารินชำราบ จ อุบลราชธานี ๓๔๑๙๐ โทร. (๐๔๕) ๓๒๒-๗๒๙ วิปัสสนาจารย์ หลวงพ่อชา สุภัทโท แนวปฏิบัติ เน้นให้มีสติสม่ำเสมอ ฝึกสมาธิแบบอานาปานสติ
๒๙. ศูนย์ปฏิบัติธรรมสวนเวฬุวัน ๖ หมู่ที่ ๒๕ บ้านเนินทาง ต.บ้านค้อ อ.เมือง จ.ขอนแก่น ๔๐๐๐๐ โทร. (๐๔๓) ๒๓๗-๗๘๖, (๐๔๓) ๑๒๗-๗๙๐ เป็นสถานปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานสาขาของวัดอัมพวัน วิปัสสนาจารย์ พระธรรมสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม) แนวปฏิบัติ สติปัฏฐาน ๔ เช่นเดียวกับวัดอัมพวัน จ.สิงห์บุรี
๓๐. วัดป่าวิเวกธรรมวิทยาราม (วัดป่าเหล่างา) ซ.ศรีจันทร์ ๑๓ ถ.ศรีจันทร์ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น ๔๐๐๐๐ โทร. (๐๔๓) ๒๒๒-๐๔๒ วิปัสสนาจารย์ หลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม และหลวงปู่บุญเพ็ง กปฺปโก แนวปฏิบัติ แนวพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ภาวนา “พุทโธ”
๓๑. วัดถ้ำผาบิ้ง บ้านนาแก ต.ผาบิ้ง อ.วังสะพุง จ.เลย ๔๒๑๓๐ วิปัสสนาจารย์ หลวงปู่หลุย จันทสาโร เมื่อไปถึงจะพบศาลาสร้างด้วยไม้ที่โปร่งสะอาดน่านั่งสมาธิ มีกุฏิหลายหลัง มีถ้ำอยู่ไม่สูงจากเชิงเขา มีบันได้ขึ้นสะดวก เป็นที่สงบวิเวกมาก เหมาะแก่การปฏิบัติอย่างอุกฤษฎ์ พระในสายพระอาจารย์มั่นมักมากจำพรรษา และปฏิบัติธรรมที่นี่ เพราะเป็นที่สัปปายะ บรรยากาศเงียบสงบ ห่างไกลจากตัวเมือง
๓๒. วัดถ้ำกองเพล ต.โนนทัน อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู ๓๙๐๐๐ โทร. (๐๔๒) ๓๑๒-๓๗๗ วิปัสสนาจารย์ หลวงปู่ขาว อนาลโย แนวปฏิบัติ แนวพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ภาวนา “พุทโธ” เป็นวัดป่ากว้างขวาง พร้อมศาลาปฏิบัติธรรมสร้างภายในถ้ำ ทางไปถ้ำสะดวกอยู่ริมถนน รถเข้าถึงปากถ้ำได้ ไม่ต้องปีน บางกุฏิก็ซ่อนอยู่ตามเหลือบผาต่างๆ เหมาะแก่การปฏิบัติธรรม เมื่อไปถึงให้ติดต่อศาลาประชาสัมพันธ์เพื่อขออนุญาตก่อน ปฏิบัติธรรมอย่างเข้ม
๓๓. วัดป่าบ้านตาด บ้านตาด ต.บ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี ๔๑๐๐๐ วิปัสสนาจารย์ หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน แนวปฏิบัติ แนวพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ภาวนา “พุทโธ” ในวัดมีกุฏิที่พักหลายกุฏิ มักจะมีลูกศิษย์มาอยู่ปฏิบัติกันมาก แต่ผู้มาปฏิบัติที่นี่ต้องกินน้อย นอนน้อย ปฏิบัติมาก กลางคืนมักจะเดินจงกรม นั่งสมาธิ จนดึก หรือโต้รุ่งก็มี ไม่ใช้ไฟฟ้าในตอนกลางคืน ผู้ปฏิบัติจึงควรจำไฟฉายหรือเทียนติดตัวไปด้วย เพื่อใช้ส่องทางเดิน ทางจงกรม ซึ่งมักจะเป็นทางดิน และอาจมีสัตว์ เช่น งู อยู่บ้าง ต้องเจริญเมตตาไม่เบียดเบียนต่อกัน
๓๔. วัดหินหมากเป้ง หมู่ที่ ๔ บ้านไทยเจริญ ต.พระพุทธบาท อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย ๔๓๑๓๐ โทร. (๐๔๒) ๔๒๑-๔๐๙ วิปัสสนาจารย์ หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี แนวปฏิบัติ แนวพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ภาวนา “พุทโธ” ในวัดมีกุฏิเรือนรับรองอยู่มาก บริเวณกว้างขวาง ประกอบด้วยป่าโปร่ง ป่าไผ่ ทะเลสาบใหญ่ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง ร่มรื่น สงบเย็น เหมาะแก่การอยู่ปฏิบัติเป็นอย่างยิ่ง
๓๕. วัดเจติยาคิรีวิหาร (วัดภูทอก) บ้านนาคำแคน ต.นาสะแบง อ.ศรีวิไล จ.หนองคาย ๔๓๒๑๐ วิปัสสนาจารย์ พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ แนวปฏิบัติ แนวพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ภาวนา “พุทโธ” วัดตั้งอยู่บนภูทอก ทางขึ้นค่อนข้างชัน สร้างด้วยความอัศจรรย์และด้วยจิตที่เด็ดเดี่ยวของพระเณร ท่านพระอาจารย์จวนได้ทำทางขึ้นเป็นขั้นบันไดและทางเดินด้วยไม้รอบภูจนถึงยอด บริเวณหน้าผา ท่านใช้ไม้ ๒ ลำมัดให้แน่นยื่นออกไป ๔ เมตร เอาเชือกบังสุกุลผูกปลายไม้ที่ยื่นออกไป ตรึงใส่เสาที่ปักไว้ แล้วไปนั่งที่ปลายไม้นั้น เพื่อตอกหินเจาะหลุมที่หน้าผา ปรากฏว่า ถ้าให้ฆราวาสไปนั่งปลายไม้ครั้งใด ก็ไม่สามารถควบคุมสติสมาธิได้ เพราะมองไปข้างบ่างก็เกิดความหวั่นไหว จนไม่สามารถตอกหินได้สำเร็จ ผู้สร้างจึงเป็นพระและเณร สิ่งปลูกสร้างนี้มี ๗ ชั้น มีกุฏิที่พักเชิงเขาที่ชั้น ๒ หรือจะพักกุฏิว่างรอบเขาก็ได้ (ต้องขออนุญาตก่อน) เหมาะกับผู้ปฏิบัติที่ฝึกมาดีพอสมควร มีความเข้มแข็งพึ่งตนเองได้ เนื่องจากเปลี่ยวและสูงอยู่บนภูเขา แต่บรรยากาศเย็นสบาย เงียบสงบ
๓๖. วัดดอยธรรมเจดีย์ หมู่ที่ ๓ บ้านนาสีนวล ต.ตองโขบ อ.ศรีสุพรรณ จ.สกลนคร ๔๗๒๘๐ วิปัสสนาจารย์ หลวงปู่กงมา จิรปุญโญ แนวปฏิบัติ แนวพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ภาวนา “พุทโธ” ปกติจะปฏิบัติที่ศาลา ส่วนที่พักมีกุฏิและอาคารซึ่งสะอาดทันสมัย
๓๗. วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม (วัดถ้ำพวง) ถนนรพช. หมู่ที่ ๑ ต.ปทุมวาปี อ.ส่องดาว จ.สกลนคร ๔๗๑๙๐ โทร. (๐๔๒) ๗๒๒-๐๐๒ วิปัสสนาจารย์ พระอาจารย์วัน อุตฺตโม แนวปฏิบัติ แนวพระอาจารย์มั่น ภาวนา “พุทโธ” ที่นี่มีหลายถ้ำ มีถ้ำหนึ่งชื่อถ้ำพวง ซึ่งพระอาจารย์มั่นเคยเล่าให้ฟังว่า เป็นถ้ำที่ศักดิ์สิทธิ์มาก เคยมีพระอรหันต์ชื่อ พระนรสีห์ มานิพพานที่นี่
๓๘. วัดป่าสุทธาวาส ๑๓๙๖ หมู่ที่ ๑๐ บ้านคำสะอาด ต.ธาตุเชิงชุม อ.เมือง จ.สกลนคร ๔๗๐๐๐ โทร. (๐๔๒) ๗๓๓-๐๔๑, (๐๔๒) ๗๑๑-๕๗๓ วิปัสสนาจารย์ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต แนวปฏิบัติ แนวพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ภาวนา “พุทโธ” มีอาคารเป็นตึกปูน ๓ ชั้นหลังใหญ่ จุคนได้หลายร้อยคน เย็นสบาย
๓๙. วัดคำประมง ๒๐ หมู่ที่ ๔ บ้านคำประมง ต.สว่าง อ.พรรณนานิคม จ.สกลนคร ๔๗๑๓๐ โทร. ๐๘-๑๖๐๑-๖๙๖๐, ๐๘-๑๓๒๒-๗๑๐๗ วิปัสสนาจารย์ หลวงปู่สิม พุทธาจาโร เนื่องจากเป็นวัดที่มีพระจำพรรษาอยู่น้อยในฤดูนอกพรรษา จึงเงียบสงบ มีเจ้าหน้าที่ตัดหญ้า ปลูกดอกไม้สวยงามอย่างดี มีพระพุทธรูปปางต่างๆ และสิ่งก่อสร้างสวยงาม มีสระน้ำทะเลสาบใหญ่ ฝูงปลามากมาย มีนักท่องเที่ยวแวะเวียนเข้ามาเยี่ยมและให้อาหารปลาอยู่เสมอ
๔๐. สำนักปฏิบัติธรรมศิริธรรม (ถ้ำชี) เขากิ่ว ต.ไร้ส้ม อ.เมือง จ.เพชรบุรี ๗๖๐๐๐ โทร. (๐๓๒) ๔๒๘-๕๒๒ วิปัสสนาจารย์ หลวงพ่อกนฺตสิริ (กนฺตสิริ ภิกฺขุ) แนวปฏิบัติ สติปัฏฐาน ๔ และอานาปานสติ เขากิ่วเป็นภูเขาเตี้ยๆ มีต้นไม้หนาแน่นมาก อยู่ใกล้เมือง เดินทางสะดวก บนเขามีลิงอยู่บ้าง แต่ไม่ทำร้ายคน บนสำนักฯ มีเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ศาลา ถ้ำชี ซึ่งใช้เป็นอุโบสถ กุฏิที่พัก ห้องน้ำ-ส้วม พอสะดวกสบายแก่การปฏิบัติ ที่นี่เน้นการปฏิบัติเคร่งครัด กินน้อย พูดน้อย นอนน้อย ปฏิบัติมาก
๔๑. เสถียรธรรมสถาน ๒๔/๕ ซ.วัชรพล (รามอินทรา ๕๕) แขวงจระเข้บัว เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ ๑๐๒๓๐ โทร. ๐๒-๕๑๐-๖๖๙๗, ๐๒-๕๑๐-๔๗๕๖ วิปัสสนาจารย์ แม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต แนวปฏิบัติ สติปัฏฐาน ๔ และอานาปานสติภาวนา ชุมชนแห่งการเรียนรู้ โอเอซิสธรรมกลางกรุง เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมที่ร่มรื่น สงบเงียบ สงบเย็น ตั้งอยู่ใจกลางของกรุงเทพมหานคร สาธุชนทุกท่านสามารถ เข้าไปปฏิบัติธรรมได้ ถือได้ว่าเป็นธรรมสถานแห่งการฝึกฝนเรียนรู้ที่เหมาะ อย่างยิ่งสำหรับแม่ชี และผู้ปฏิบัติธรรมที่เป็นผู้หญิง
๔๒. บ้านซอยสายลม ๙ ถ.พหลโยธิน ซอย ๘ ซอยสายลม (ระหว่างตึกชินวัตร ๑ และตึกพหลโยธินเพส) แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐ วิปัสสนาจารย์ พระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) แนวปฏิบัติ มโนมยิทธิ บริกรรม “นะ มะ พะ ธะ” และสอนอนุสติ บริกรรม “พุทโธ”
๔๓. วัดพิชยญาติการาม ๖๘๕ ถ.ประชาธิปก แขวงสมเด็จเจ้าพระยา เขตคลองสาน กทม. ๑๐๖๐๐ โทร. ๐๒-๘๖๑-๔๓๑๙, ๐๒-๔๓๘-๔๔๔๒ วิปัสสนาจารย์ พระธรรมโมลี (สมศักดิ์ อุปสโม) และแม่ชีทศพร ชัยประคอง แนวปฏิบัติ สติปัฏฐาน ๔ อานาปานสติภาวนา มีการปฏิบัติธรรม อบรมกรรมฐาน และดูกฎแห่งกรรม ทุกวันเสาร์-อาทิตย์
๔๔. วัดผาณิตาราม ศูนย์พัฒนาจิตเฉลิมพระเกียรติ วัดผาณิตาราม อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา ๒๔๐๐๐ โทร. (๐๓๘) ๕๐๒-๐๐๐, (๐๓๘) ๕๐๒-๐๘๗-๘ วิปัสสนาจารย์ คุณแม่สิริ กรินชัย แนวการปฏิบัติ แนวสติปัฏฐาน ๔ เจริญสติอย่างต่อเนื่อง ตามแนวพระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ) วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ มีการจัดอบรมวิปัสสนากรรมฐานสำหรับเยาวชน และบุคคลทั่วไป สถานที่ร่มรื่น สงบเย็น สัปปายะดีมาก ที่พักสะอาด สะดวก ปลอดภัยดีมาก และที่ปฏิบัติมีเครื่องปรับอากาศ โดยทั่วไปการอบรมใช้เวลา ๘ วัน ๗ คืน
๔๕. วัดเขาวง (ถ้ำนารายณ์) ๖๒/๑ หมู่ที่ ๕ บ้านเขาวง ต.เขาวง อ.พระพุทธบาท จ.สระบุรี ๑๘๑๒๐ โทร. (๐๓๖) ๒๓๖-๕๐๐-๕, ๐๘-๖๑๓๓-๖๘๘๙, ๐๘-๔๓๑๐-๙๔๔๒ วิปัสสนาจารย์ พระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) แนวปฏิบัติ มโนมยิทธิ บริกรรม “นะ มะ พะ ธะ” และสอนอนุสติ บริกรรม “พุทโธ” รับผู้เข้าพักปฏิบัติธรรมตลอดทั้งปี ตามระเบียบและจารีตของสำนัก
๔๖. วัดสังฆทาน ๑๐๐/๑ หมู่ที่ ๓ บ้านบางไผ่น้อย ต.บางไผ่ อ.เมือง จ.นนทบุรี ๑๑๐๐๐ โทร. ๐๒-๔๔๗-๐๗๙๙, ๐๒-๔๔๗-๐๘๐๐ วิปัสสนาจารย์ หลวงพ่อสังวาลย์ เขมโก และหลวงพ่อสนอง กตปุญโญ แนวปฏิบัติ สติปัฏฐาน ๔ อานาปานสติภาวนา มีการจัดบวชเนกขัมมปฏิบัติทุกวัน ทั้งบวชคนเดียวและบวชหมู่
๔๗. ศูนย์วิปัสสนาตามแนวทางอาจารย์โกเอ็นก้า ประเทศไทยมีศูนย์วิปัสสนาตามแนวทางของท่านอาจารย์โกเอ็นก้า รวมทั้งหมด ๕ ศูนย์ อยู่ในความดูแลของสำนักงานมูลนิธิส่งเสริมวิปัสสนากรรมฐาน ในพระสังฆราชูปถัมภ์
(๑) ศูนย์วิปัสสนาธรรมกมลา กม. ๑๖๖+๙๐๐ ทางหลวงหมายเลข ๓๓ (สุวรรณศร) ๒๐๐ บ้านเนินผาสุก ต.ดงขี้เหล็ก อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี ๒๕๐๐๐ โทร. ๐-๓๗๔๐-๓๕๑๖
(๒) ศูนย์วิปัสสนาธรรมอาภา กม. ๔๙+๔๐๐ ทางหลวงหมายเลข ๑๒ (พิษณุโลก-หล่มสัก) ๑๓๘ แยกเข้าบ้านห้วยพลู ต.แก่งโสภา อ.วังทอง จ.พิษณุโลก ๖๕๒๒๐ โทร. ๐๕๕-๒๖๘-๐๔๙, ๐๘-๑๖๐๕-๕๕๗๖
(๓) ศูนย์วิปัสสนาธรรมสุวรรณา ๑๑๒ หมู่ที่ ๑ ต.บ้านกง อ.หนองเรือ จ.ขอนแก่น ๔๐๒๔๐ โทร. ๐๘-๖๗๑๓-๕๖๑๗
(๔) ศูนย์วิปัสสนาธรรมกาญจนา ๒๐/๖ หมู่ที่ ๒ บ้านวังขยาย ต.ปรังเผล อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี ๗๑๒๔๐ โทร. ๐-๓๔๕๓-๑๒๐๙, ๐๘-๑๕๐๖-๐๓๘๙
(๕) ศูนย์วิปัสสนาธรรมธานี ๔๒/๖๖๐ หมู่บ้านเค.ซี. การ์เด้นโฮม ถ.นิมิตใหม่ แขวงสามวาตะวันออก เขตคลองสามวา กรุงเทพฯ ๑๐๕๑๐ โทร. ๐๒-๙๙๓-๒๗๑๑, ๐๒-๙๙๓-๒๗๐๐
วิปัสสนาจารย์ ท่านอาจารย์สัตยา นารายัน โกเอ็นก้า (S.N. Goenka) แนวปฏิบัติ สติปัฏฐาน ๔ และอานาปานสติภาวนา มีการจัดการอบรมวิปัสสนา (หลักสูตรสติปัฏฐาน) หลักสูตร ๑๐ วัน สำหรับพระภิกษุ สามเณร และฆาราวาสทั่วไป รวมทั้งเด็กและเยาวชน เริ่มต้นในเย็นวันแรก และสิ้นสุดในตอนเช้าของวันสุดท้าย ตลอดทั้งปี
๔๘. มูลนิธิพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ๕๔๙/๙๔ ซ.ยิ่งอำนวย (จรัญสนิทวงศ์ ๓๗) ถ.จรัญสนิทวงศ์ แขวงบางขุนศรี เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร. ๐๒-๔๑๒-๒๗๕๒ วิปัสสนาจารย์ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต แนวปฏิบัติ แนวพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ภาวนา “พุทโธ” มีการจัดกิจกรรมทุกเดือน ทำบุญตักบาตร ฟังธรรม นั่งสมาธิภาวนา เดินจงกรม และปฏิบัติจิตภาวนา นำพาโดยครูบาอาจารย์พระวิปัสสนาจารย์สายหลวงปู่มั่น ตั้งแต่เวลา ๐๗.๐๐-๑๑.๓๐ น. ซึ่งในแต่ละครั้งนั้นจะมีพระภิกษุมาหลายองค์
๔๙. วัดชลประทานรังสฤษฏ์ ๗๘/๘ หมู่ที่ ๑ ก.ม.๑๔ ถ.ติวานนท์ ต.บางตลาด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี ๑๑๑๒๐ โทร. ๐๒-๕๓๘-๘๘๔๕, ๐๒-๕๘๔-๓๐๗๔ วิปัสสนาจารย์ พระพรหมังคลาจารย์ (หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ) แนวการปฏิบัติ อานาปานสติภาวนา ทุกวันอาทิตย์พุทธศาสนิกชนจะมาทำบุญใส่บาตร ฟังเทศน์ฟังธรรมกันเป็นจำนวนมาก
๕๐. วัดเขาพุทธโคดม
ณ ศาลาธรรมสันติ วัดเขาพุทธโคดม อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี เบอร์โทรศัพท์ ๐-๓๘๗๗-๒๑๓๒ , ๐-๓๘๗๗-๒๙๔๔ , ๐-๓๘๓๑-๒๖๐๘ วัดเขาพุทธโคดม อยู่ถนนสุขุมวิท กม.ที่๑๑๙+๑๐๐ม.(เสา กม.มองยาก) ฝั่งซ้าย ขาออกจาก กทม. เลยค่ายลูกเสือวชิราวุธประมาณ ๒ กิโลเมตร เลยตึกคอมศรีราชา ประมาณ ๕๐๐เมตร หน้าวัดมีปั้มน้ำมัน ESSO และปั้ม JET ประกบอยู่ ทางเข้าวัดอยู่กลาง มีสัญญานไฟหน้าวัด(เพิ่งติดตั้งปีเดียว) เลี้ยวซ้ายเข้าวัด ตรงมาประมาณ ๑๐๐เมตร เลี้ยวขวาตามถนน ขึ้นเขา ประมาณ ๓๐๐เมตร พบลานจอดรถ จอดรถได้เลย ไปกุฏิธุรการ เพื่อลงทะเบียนต่อไป (ดูแผนผังประกอบ) รถทัวร์ปรับอากาศ ชั้น๑ (ป.๑) มีทั้งจากหมอชิต และเอกมัย ค่ารถไม่ถึง ๑๐๐บาท ไม่แนะนำให้นั่ง ป.๒ เพราะช้า จอดนานน่ารำคาญ นั่งรถผ่านชลบุรี หนองมน บางพระ ลงรถที่ตึกคอม ศรีราชา นั่งสามล้อ ๔๐บาท บอกให้ไปส่งวัดเขาพุทธโคดม”ด้านบนเขา”อย่าลืมบอกไม่งั้นเดินเมื่อยละ
เครื่องนอนพร้อม อาหารเลี้ยงฟรี เป็นมังสวิรัติ แต่รสดี ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น ผู้ใดมีปัญหาสุขภาพรับศีล ๘ไม่ได้ให้บอก รับศีล ๕แทน จะได้เตรียมอาหารเย็นไว้ให้ ห้ามบอกบุญเรี่ยไรใดๆทั้งสิ้น จะทำบุญให้ไปที่กุฏิธุรการเท่านั้น, ห้ามทรงเจ้าเข้าผี,งดพูดมาก สอนตามแนวทาง คุณแม่ สิริ กรินชัย
ปฏิทินการปฏิบัติธรรมตลอดทั้งปี ของวัดเขาพุทธโคดม ๓๐ธค.๕๐-๐๑มค.๕๑ ส่งท้ายปีเก่าปีนี้ - คุณแม่ชื่นจิต กาญจนากาศ และคณะ ๑๑-๑๓ มค. ๒๕๕๑(๓วัน) อ.สุทธิวัสส์ คำภา (กรรมฐานประยุกต์ และธรรมชาติบำบัดโรค) ๑๙-๒๑ มค. ๒๕๕๑(๓วัน) พญ.ผกา วราชิต (วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน๔) ๒๕-๒๗ มค. ๒๕๕๑(๓วัน) อ.วัลลภ ชวนะปัญโญ , อ.ภัทรนิธิ์ วิสุทธิศักดิ์ (วิปัสสนาโดยปรมัตถ์)
๐๘-๑๑ กพ. ๒๕๕๑(๔วัน) รศ.จำเนียร ช่วงโชติ (รับไม่เกิน๖๐คน,อายุ๑๗ขึ้นไป,ต้องอยู่ครบ๔วัน) ๒๑-๒๔ กพ. ๒๕๕๑(๔วัน) อ.วันทิพย์ ภาธีรโรจน์ และคณะ
๐๗-๐๙ มีค. ๒๕๕๑(๓วัน) อ.สุทธิวัสส์ คำภา (กรรมฐานประยุกต์ และธรรมชาติบำบัดโรค) ๑๔-๑๖ มีค. ๒๕๕๑(๓วัน) คณะศิษย์วัดเขาพุทธโคดม ๒๓-๒๙ มีค. ๒๕๕๑(๗วัน) พระครูภาวนาปัญญาสาร , แม่ชีนราศรี จตุพร และคณะ
๐๕-๐๗ เมย. ๒๕๕๑(๓วัน) คณะศิษย์วัดเขาพุทธโคดม ๑๑-๑๓ เมย. ๒๕๕๑(๓วัน) อ.สุรชัย แซ่อิง , อ.วันทิพย์ ภาธีรโรจน์ บ.สวีทเจ. อินดัสตรี จก. เจ้าภาพ ๑๘-๒๐ เมย. ๒๕๕๑(๓วัน) คุณแม่ชื่นจิต กาญจนากาศ และคณะ
๐๒-๐๕ พค. ๒๕๕๑(๔วัน) อ.วรพล ฝ่ายอุประ , แม่ชีนราศรี จตุพร ๑๗-๑๙ พค. ๒๕๕๑(๓วัน) คณะศิษย์วัดเขาพุทธโคดม ๒๓-๒๕ พค. ๒๕๕๑(๓วัน) อ.วัลลภ ชวนะปัญโญ , อ.ภัทรนิธิ์ วิสุทธิศักดิ์ (วิปัสสนาโดยปรมัตถ์)
๐๑-๐๘ มิย. ๒๕๕๑(๘วัน) คุณแม่ชื่นจิต กาญจนากาศ และคณะ ๑๒-๑๘ มิย. ๒๕๕๑(๗วัน) พระครูปลัดประจาก , พระมหาทองมั่น (อ.สุทธิวัสส์ทำบุญถวายพระอาจารย์ ป.) ๒๖-๒๙ มิย. ๒๕๕๑(๔วัน) อาจารย์นันท์นภัสส์ ภู่ตระ*_*ล (การฝึกสติขั้นพื้นฐาน)
๐๘-๑๕ กค. ๒๕๕๑(๘วัน) พญ.ผกา วราชิต (พระครูปลัดประจาก และคณะ เป็นวิปัสสนาจารย์) รับเฉพาะผู้ส่งใบสมัครล่วงหน้า-และมีใบตอบรับจากพ.ญ.ผกา เท่านั้น , ดูหมายเหตุ๒ ** ๒๕-๒๗ กค. ๒๕๕๑(๓วัน) รศ.จำเนียร ช่วงโชติ (รับไม่เกิน๖๐คน,อายุ๑๗ขึ้นไป,ต้องอยู่ครบ๔วัน)
๐๒-๐๔ สค. ๒๕๕๑(๓วัน) พ.ญ.ผกา วราชิต ๐๙-๑๒ สค. ๒๕๕๑(๓วัน) อ.สุรชัย แซ่อิง , อ.วันทิพย์ ภาธีรโรจน์ บ.สวีทเจ. อินดัสตรี จก. เจ้าภาพ ๒๒-๒๔ สค. ๒๕๕๑(๓วัน) อ.สุทธิวัสส์ คำภา (กรรมฐานประยุกต์ และธรรมชาติบำบัดโรค)
๐๕-๐๘ กย. ๒๕๕๑(๓วัน) รศ.จำเนียร ช่วงโชติ (รับไม่เกิน๖๐คน,อายุ๑๗ขึ้นไป,ต้องอยู่ครบ๔วัน) ๒๖-๒๘ กย. ๒๕๕๑(๓วัน) อ.วัลลภ ชวนะปัญโญ , อ.ภัทรนิธิ์ วิสุทธิศักดิ์ (วิปัสสนาโดยปรมัตถ์)
๐๓-๐๕ ตค. ๒๕๕๑(๓วัน) อ.วันทิพย์ ภาธีรโรจน์ และคณะ ๑๐-๑๖ ตค. ๒๕๕๑(๗วัน) อ.วรพล ฝ่ายอุประ , แม่ชีนราศรี จตุพร ๒๓-๒๗ ตค. ๒๕๕๑(๕วัน) พระอาจารย์คเชนทร์ สุนทโร (ยุวพุทธศูนย์๓)
๐๗-๐๙ พย. ๒๕๕๑(๓วัน) คณะศิษย์วัดเขาพุทธโคดม ๑๕-๑๗ พย. ๒๕๕๑(๓วัน) พญ.ผกา วราชิต (วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน๔) ๒๘-๓๐ พย. ๒๕๕๑(๓วัน) อ.สุทธิวัสส์ คำภา (กรรมฐานประยุกต์ และธรรมชาติบำบัดโรค)
๐๓-๐๗ ธค. ๒๕๕๑(๕วัน) คุณแม่ชื่นจิต กาญจนากาศ และคณะ ๑๒-๑๘ ธค. ๒๕๕๑(๗วัน) อ.วัลลภ ชวนะปัญโญ , อ.ภัทรนิธิ์ วิสุทธิศักดิ์ (วิปัสสนาโดยปรมัตถ์)
๓๐ธค.๕๑-๐๑มค.๕๒ คุณแม่ชื่นจิต กาญจนากาศ และคณะ
ปฏิทินนี้ อาจมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้ ตามความเหมาะสม ดูการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงที่อาจมี ได้ที่นี่ //www.bloggang.com/viewdiary.php?id=tonpo&group=1
|
---|
Create Date : 08 พฤศจิกายน 2551 | | |
Last Update : 8 พฤศจิกายน 2551 11:44:09 น. |
Counter : 834 Pageviews. |
| |
|
|
|
วันเข้าพรรษา
วันเข้าพรรษา ต ร ง กั บ วั น แ ร ม ๑ ค่ำ เ ดื อ น ๘
"เข้าพรรษา" แปลว่า "พักฝน" หมายถึง พระภิกษุสงฆ์ต้องอยู่ประจำ ณ วัดใดวัดหนึ่งระหว่างฤดูฝน โดยเหตุที่พระภิกษุในสมัยพุทธกาล มีหน้าที่จะต้องจาริกโปรดสัตว์ และเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนแก่ประชาชนไปในที่ต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องมีที่อยู่ประจำ แม้ในฤดูฝน ชาวบ้านจึงตำหนิว่าไปเหยียบข้าวกล้าและพืชอื่นๆ จนเสียหาย พระพุทธเจ้าจึงทรงวางระเบียบการจำพรรษาให้พระภิกษุอยู่ประจำที่ตลอด 3 เดือน ในฤดูฝน คือ เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี ถ้าปีใดมีเดือน 8 สองครั้ง ก็เลื่อนมาเป็นวันแรม 1 ค่ำ เดือนแปดหลัง และออกพรรษาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เว้นแต่มีกิจธุระเจ้าเป็นซึ่งเมื่อเดินทางไปแล้วไม่สามารถจะกลับได้ในเดียวนั้น ก็ทรงอนุญาตให้ไปแรมคืนได้ คราวหนึ่งไม่เกิน 7 คืนเรียกว่า สัตตาหะ หากเกินกำหนดนี้ถือว่าไม่ได้รับประโยชน์ แห่งการจำพรรษา จัดว่าพรรษาขาด ระหว่างเดินทางก่อนหยุดเข้าพรรษา หากพระภิกษุสงฆ์เข้ามาทันในหมู่บ้านหรือในเมืองก็พอจะหาที่พักพิงได้ตามสมควร แต่ถ้ามาไม่ทันก็ต้องพึ่งโคนไม้ใหญ่เป็นที่พักแรม ชาวบ้านเห็นพระได้รับความลำบากเช่นนี้ จึงช่วยกันปลูกเพิง เพื่อให้ท่านได้อาศัยพักฝน รวมกันหลาย ๆองค์ ที่พักดังกล่าวนี้เรียกว่า "วิหาร" แปลว่าที่อยู่สงฆ์ เมื่อหมดแล้ว พระสงฆ์ท่านออกจาริกตามกิจของท่านครั้งถึงหน้าฝนใหม่ท่านก็กลับมาพักอีกเพราะสะดวกดี แต่บางท่านอยู่ประจำเลย บางทีเศรษฐีมีจิตศัรทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ก็เลือกหาสถานที่สงบเงียบไม่ห่างไกลจากชุมชนนัก สร้างที่พัก เรียกว่า "อาราม" ให้เป็นที่อยู่ของสงฆ์ดังเช่นปัจจุบันนี้
โดยปรกติเครื่องใช้สอยของพระตามพุทธานุญาตให้มีประจำตัวนั้น มีเพียงอัฏฐบริขารอันได้แก่ สบง จีวร สังฆาฏิ เข็ม บาตร รัดประคด หม้อกรองน้ำ และมีดโกน และกว่าพระท่านจะหาที่พักแรมได้ บางทีก็ถูกฝนต้นฤดูเปียกปอนมา ชาวบ้านที่ใจบุญจึงถวายผ้าอาบน้ำฝนสำหรับให้ท่านได้ผลัดเปลี่ยน และถวายของจำเป็นแก่กิจประจำวันของท่านเป็นพิเศษในเข้าพรรษานับเป็นเหตุให้มีประเพณีทำบุญเนื่องในวันนี้สืบมา
*** เพิ่มเติม ***
"ผ้าจำนำพรรษา" คือผ้าที่ทายกถวายแก่พระสงฆ์ผู้อยู่จำพรรษาครบแล้วในวัดนั้น ภายในเขตจีวรกาล เรียกอีกอย่างว่า "ผ้าวัสสาวาสิกสาฎิกา"
"ผ้าอาบน้ำฝน" คือผ้าสำหรับอธิษฐานไว้ใช้นุ่งอาบน้ำฝนตลอด ๔ เดือนแห่งฤดูฝน เรียกอีกอย่างว่า "ผ้าวัสสิกสาฏิกา"
การที่พระภิกษุสงฆ์ท่านโปรดสัตว์อยู่ประจำเป็นที่เช่นนี้ เป็นการดีสำหรับสาธุชนหลายประการ กล่าวคือ ผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามพระพุทธบัญญัติก็นิยมบวชพระ ส่วนผู้ที่อายุยังไม่ครบบวชผู้ปกครองก็นำไปฝากพระ โดยบวชเป็นเณรบ้าง ถวายเป็นลูกศิษย์รับใช้ท่านบ้าง ท่านก็สั่งสอนธรรม และความรู้ให้ และโดยทั่วไป พุทธศาสนิกชนนิยมตักบาตรหรือไปทำบุญที่วัด นับว่าเป็นประโยชน์
การปฏิบัติตน ในวันนี้หรือก่อนวันนี้หนึ่งวัน พุทธศาสนิกชนมักจะจัดเครื่องสักการะเช่น ดอกไม้ ธูปเทียน เครื่องใช้ เช่น สบู่ ยาสีฟัน เป็นต้น มาถวายพระภิกษุ สามเณร ที่ตนเคารพนับถือ ที่สำคัญคือ มีประเพณีหล่อเทียนขนาดใหญ่เพื่อให้จุดบูชาพระประธานในโบสถ์อยู่ได้ตลอด 3 เดือน มีการประกวดเทียนพรรษา โดยจัดเป็นขบวนแห่ทั้งทางบกและทางน้ำ
แม้การเข้าพรรษาจะเป็นเรื่องของภิกษุ แต่พุทธศาสนิกชนก็ถือเป็นโอกาสดีที่จะได้ ทำบุญรักษาศีลและชำระจิตใจให้ผ่องใส ก่อนวันเข้าพรรษาชาวบ้านก็จะไปช่วยพระทำความสะอาดเสนาสนะ ซ่อมแซมกุฏิวิหารและอื่นๆ พอถึง วันเข้าพรรษาก็จะไปร่วมทำบุญตักบาตร ฟังเทศน์ ฟังธรรมและรักษาอุโบสถศีลกันที่วัด บางคนอาจตั้งใจงดเว้น อบายมุขต่างๆ เป็นกรณีพิเศษ เช่น งดเสพสุรา งดฆ่าสัตว์ เป็นต้น อนึ่ง บิดามารดามักจะจัดพิธีอุปสมบทให้บุตรหลาน ของตนโดยถือกันว่าการเข้าบวชเรียนและอยู่จำพรรษาในระหว่างนี้จะได้รับ อานิสงส์อย่างสูง
ประเพณีหล่อเทียนเข้าพรรษา เป็นประเพณีที่กระทำกันเมื่อใกล้ถึงฤดูเข้าพรรษาซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ พระภิกษุจะต้องอยู่ประจำวัดตลอด ๓ เดือนมาตั้งแต่โบราณกาล การหล่อเทียนเข้าพรรษานี้มีอยู่เป็นประจำ ทุกปี เพราะในระยะเข้าพรรษานี้ พระภิกษุจะต้องมีการสวดมนต์ทำวัตรทุกเช้าเย็นและในการนี้จะต้องมีธูป เทียนจุดบูชาด้วย พุทธศาสนิกชนทั้งหลาย จึงพร้อมใจกันหล่อเทียนเข้าพรรษาสำหรับให้พระภิกษุจุดเป็น การกุศลทานอย่างหนึ่งเพราะเชื่อกันว่าในการให้ทานด้วยแสงสว่าง จะมีอานิสงฆ์เพิ่มพูนปัญญาหูตาสว่างไสว ตามชนบท การหล่อเทียนเข้าพรรษาทำกันอย่างเอิกเกริกสนุกสนานมาก เมื่อหล่อเสร็จแล้ว ก็จะมีการแห่แหน รอบพระอุโบสถ ๓ รอบ แล้วนำไปบูชาพระตลอดระยะเวลา ๓ เดือน บางแห่งก็มีการประกวดการตกแต่งมี การแห่แหนรอบเมืองด้วยริ้วขบวนที่สวยงามและถือว่าเป็นงานประจำปีทีเดียว ในวันนั้นจะมีการร่วมกันทำบุญตักบาตรถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ เป็นการร่วมกุศลกันในหมู่บ้านนั้น
กิจกรรมต่างๆ ที่ควรปฏิบัติในวันเข้าพรรษา ๑. ร่วมกิจกรรมทำเทียนจำนำพรรษา ๒. ร่วมกิจกรรมถวายผ้าอาบน้ำฝน และจตุปัจจัย แก่ภิษุสามเณร ๓. ร่วมทำบุญ ตักบาตร ฟังธรรมเทศนา รักษาอุโบสถศีล ๔. อธิษฐาน งดเว้นอบายมุขต่างๆ
อ้างอิง ://www.dhammathai.org
|
---|
Create Date : 17 กรกฎาคม 2551 | | |
Last Update : 17 กรกฎาคม 2551 10:53:52 น. |
Counter : 604 Pageviews. |
| |
|
|
|
| |
|
|