Iceicy Blog Dhamma หน้าแรก หลักธรรม ปรัชญา ท่องเที่ยวธรรม เก็บตกธรรม บทสวดมนต์ บทเพลงธรรม เว็บบอร์ด iceicy ไอที ไดอารี่
Link to us:
Group Blog
 
All blogs
 
หลักธรรมที่ควรนำไปปฏิบัติ "วันมาฆบูชา"











วันมาฆบูชา


ความหมาย

วันมาฆบูชาหมายถึง การบูชา ในวันเพ็ญเดือน ๓ เนื่องในโอกาสคล้าย วันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์


ความสำคัญ

วันมาฆบูชา เป็นวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ มีเหตุการณ์อัศจรรย์ที่ พระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้าจำนวน ๑,๒๕๐ รูป มาเฝ้าพระพุทธเจ้า ณ วัดเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ โดยมิได้นัดหมายกันพระสงฆ์ ทั้งหมดเป็นพระอรหันต์ ผู้ได้อภิญญา ๖และเป็นผู้ที่ได้รับการอุปสมบท โดยตรงจากพระพุทธเจ้า ในวันนี้พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงโอวาท ปาติโมกข์ ในที่ประชุมสงฆ์เหล่านั้น ซึ่งเป็นทั้งหลักการอุดมการณ์และวิธีการปฏิบัติที่ นำไปใช้ได้ทุกสังคม มีเนื้อหา
โดยสรุปคือให้ละความชั่วทุกชนิด ทำความดี ให้ถึงพร้อมและทำจิตใจให้ผ่องใส


ประวัติความเป็นมา


๑. ส่วนที่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า
หลังจากพระพุทธเจ้าตรัสรู้ได้ ๙ เดือนขณะนั้นเมื่อเสร็จพุทธกิจแสดงธรรมที่ถ้ำสุกรขาตาแล้ว เสด็จมาประทับ
ที่วัดเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ ประเทศอินเดียในปัจจุบัน วันนั้นตรงกับวันเพ็ญ เดือนมาฆะหรือเดือน ๓
ในเวลาบ่ายพระอรหันต์สาวกของพระพุทธเจ้า มาประชุม พร้อมกัน ณ ที่ประทับของพระพุทธเจ้า นับเป็นเหตุอัศจรรย์
ที่มีองค์ประกอบสำคัญ ๔ ประการ คือ
๑. วันนั้นเป็นวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓
๒. พระสงฆ์จำนวน ๑,๒๕๐ รูป มาประชุมพร้อมกันโดยมิได้ นัดหมาย
๓. พระสงฆ์ทั้งหมดเป็นพระอรหันต์ผู้ได้อภิญญา ๖
๔. พระสงฆ์ทั้งหมดเป็นผู้ได้รับการอุปสมบท โดยตรงจาก พระพุทธเจ้า
เพราะเหตุที่มีองค์ประกอบสำคัญดังกล่าว จึงมีชื่อเรียก อีกอย่างหนึ่งว่า วันจาตุรงคสันนิบาต และในโอกาสนี้ พระพุทธเจ้า ได้แสดงโอวาทปาติโมกข์ ในที่ประชุมสงฆ์เหล่านั้น ซึ่งถือได้ว่าเป็นการประกาศหลักการอุดมการณ์และวิธีการปฏิบัติทางพระพุทธศาสนา



การถือปฏิบัติวันมาฆบูชาในประเทศไทย



พิธีวันมาฆบูชานี้ เดิมทีเดียวในประเทศไทยไม่เคยทำมาก่อนพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงอธิบายไว้ว่าเกิดขึ้นในสมัย
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยทรงถือตามแบบของโบราณบัณฑิตที่ได้นิยมกันว่า วันมาฆะบูรณมี พระจันทร์เสวยฤกษ์มาฆะเต็มบริบูรณ์เป็นวันที่พระอรหันต์สาวกของ พระพุทธเจ้า ๑,๒๕๐ รูป ได้ประชุมกันพร้อมด้วยองค์ ๔ ประการ เรียกว่า จาตุรงคสันนิบาตพระพุทธเจ้าได้ตรัสเทศนาโอวาทปาติโมกข์ ในที่ประชุมสงฆ์เป็นการ ประชุมใหญ่ และเป็นการอัศจรรย์ในพระพุทธศาสนา นักปราชญ์ จึงถือเอาเหตุนั้นประกอบ
การสักการบูชาพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์สาวก ๑,๒๕๐ รูปนั้น ให้เป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใสการประกอบพิธีมาฆะบูชา ได้เริ่มในพระบรมมหาราชวังก่อน
ในสมัยรัชกาลที่ ๔ มีพิธีการพระราชกุศลในเวลาเช้า พระสงฆ์ วัดบวรนิเวศวิหารและวัดราชประดิษฐ์ ๓๐ รูป ฉันในพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เวลาค่ำ เสด็จออกทรงจุด ธูปเทียนเครื่อง มนัสการแล้ว พระสงฆ์สวดทำวัตรเย็นเสร็จแล้ว สวดมนต์ต่อไปมี สวดคาถาโอวาทปาติโมกข์ด้วยสวดมนต์จบทรงจุดเทียนรายตามราวรอบพระอุโบสถ ๑,๒๕๐ เล่ม มีการประโคมอีกครั้งหนึ่งแล้วจึงมีการเทศนา โอวาทปาติโมกข์ ๑ กัณฑ์เป็นทั้งเทศนาภาษาบาลีและภาษาไทย เครื่องกัณฑ์ มีจีวรเนื้อดี ๑ ผืน เงิน ๓ ตำลึง และขนมต่าง ๆ เทศนาจบพระสงฆ์ ซึ่งสวดมนต์ ๓๐ รูป สวดรับการประกอบพระราชกุศลเกี่ยวกับวันมาฆบูชาในสมัยรัชกาลที่ ๔ นั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จะเสด็จออกประกอบพิธีด้วยพระองค์เองทุกปีมิได้ขาด สมัยต่อมามีการเว้นบ้างเช่น รัชกาลที่ ๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จออกเองบ้าง มิได้ เสด็จออกเองบ้างเพราะมักเป็นเวลาที่ประสบกับเวลาเสด็จประพาส หัวเมืองบ่อย ๆ หากถูกคราวเสด็จไปประพาสบางปะอินหรือพระพุทธบาท พระพุทธฉาย พระปฐมเจดีย์ พระแท่นดงรัง ก็จะทรงประกอบพิธีมาฆบูชาในสถานที่นั้น ๆ ขึ้นอีก ส่วนหนึ่งต่างหากจากในพระบรมมหาราชวังเดิมทีมีการประกอบพิธีในพระบรมมหาราชวัง ต่อมาก็ขยายออกไป ให้พุทธบริษัทได้ปฏิบัติตามอย่างเป็นระบบสืบมาจนปัจจุบัน มีการบูชา ด้วยการเวียนเทียน และบำเพ็ญกุศลต่าง ๆ ส่วนกำหนดวันประกอบพิธีมาฆบูชานั้น ปกติตรงกับวันเพ็ญเดือน ๓ หากปีใด เป็นอธิกมาส คือ มีเดือน ๘ สองหนจะเลื่อนไปตรงกับวันเพ็ญเดือน ๔



หลักธรรมที่ควรนำไปปฏิบัติ




หลักธรรมที่ควรนำไปปฏิบัติได้แก่ โอวาทปาติโมกข์ หมายถึง หลักคำสอนคำสำคัญของพระพุทธศาสนาอันเป็นไปเพื่อป้องกัน และแก้ปัญหาต่าง ๆ
ในชีวิตเป็นไปเพื่อความหลุดพ้น หรือคำสอน อันเป็นหัวใจพระพุทธศาสนา หลักธรรมประกอบด้วย หลักการ ๓ อุดมการณ์ ๔ วิธีการ ๖ ดังนี้



หลักการ ๓

๑. การไม่ทำบาปทั้งปวง ได้แก่การงดเว้น การลด ละเลิก ทำบาปทั้งปวง ซึ่งได้แก่ อกุศลกรรมบถ ๑๐ ทางแห่งความชั่ว มีสิบประการ อันเป็น
ความชั่วทางกาย ทางวาจา และทางใจ ความชั่วทางกาย ได้แก่ การฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ การประพฤติ ผิดในกามความชั่วทางวาจา ได้แก่ การพูดเท็จ การพูดส่อเสียด การพูดเพ้อเจ้อ ความชั่วทางใจ ได้แก่ การอยากได้สมบัติของผู้อื่น การผูกพยาบาท และความเห็นผิดจากทำนองคลองธรรม
๒. การทำกุศลให้ถึงพร้อม ได้แก่ การทำความดีทุกอย่างซึ่งได้แก่
กุศลกรรมบถ ๑๐ เป็นแบบของการทำฝ่ายดีมี ๑๐ อย่าง
อันเป็นความดีทางกาย ทางวาจาและทางใจ
ความดีทางกาย ได้แก่ การไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ทำร้ายเบียดเบียนผู้อื่นมีแต่ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน การไม่ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขา
ไม่ได้ให้ มาเป็นของตน มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และการไม่ประพฤติผิดในกาม
การทำความดีทางวาจา ได้แก่ การไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบ และไม่พูดเพ้อเจ้อพูดแต่คำจริง พูดคำอ่อนหวานพูดคำให้เกิดความสามัคคีและพูดถูกกาลเทศะ
การทำความดีทางใจ ได้แก่ การไม่โลภอยากได้ของของผู้อื่นมีแต่คิดเสียสละการไม่ผูกอาฆาตพยาบาทมีแต่คิดเมตตาและ
ปราถนาดีและมีความเห็นความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม เช่น เห็นว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
๓. การทำจิตให้ผ่องใส ได้แก่ การทำจิตของตนให้ผ่องใส ปราศจากนวรณ์ซึ่งเป็นเครื่องขัดขวางจิตไม่ให้เข้าถึง
ความสงบ มี ๕ ประการ ได้แก่
๑. ความพอใจในกาม (กามฉันทะ)
๒. ความอาฆาตพยาบาท (พยาบาท)
๓. ความหดหู่ท้อแท้ ง่วงเหงาหาวนอน (ถีนะมิทธะ)
๔. ความฟุ้งซ่าน รำคาญ (อุทธัจจะกุกกุจจะ) และ
๕. ความลังเลสงสัย (วิกิจฉา) เช่น สงสัยในการทำความดีความชั่ว ว่ามีผลจริงหรือไม่ วิธีการทำจิตให้ปฏิบัติสมถะผ่องใส ที่แท้จริงเกิดขึ้นจากการละบาปทั้งปวง ด้วยการถือศืลและบำเพ็ญกุศล ให้ถึงพร้อมด้วยการ และวิปัสสนา จนได้บรรลุอรหัตผล อันเป็นความผ่องใสที่แท้จริง




อุดมการณ์ ๔


๑. ความอดทน ได้แก่ ความอดกลั้น ไม่ทำบาปทั้งทางกาย วาจา ใจ
๒. ความไม่เบียดเบียน ได้แก่ การงดเว้นจากการทำร้าย รบกวน หรือ เบียดเบียนผู้อื่น
๓. ความสงบ ได้แก่ ปฏิบัติตนให้สงบทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ
๔. นิพพาน ได้แก่ การดับทุกข์ ซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนาเกิดขึ้นได้จาการดำเนินชีวิตตามมรรคมีองค์ ๘



วิธีการ ๖


๑. ไม่ว่าร้าย ได้แก่ ไม่กล่าวให้ร้ายหรือ กล่าวโจมตีใคร
๒. ไม่ทำร้าย ได้แก่ ไม่เบียดเบียนผู้อื่น
๓. สำรวมในปาติโมกข์ ได้แก่ ความเคารพระเบียบวินัย กฎกติกา กฎหมาย รวมทั้งขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีของสังคม
๔. รู้จักประมาณ ได้แก่ รู้จักความพอดีในการบริโภคอาหารหรือการใช้สอยสิ่งต่าง ๆ
๕. อยู่ในสถานที่ที่สงัด ได้แก่ อยู่ในสถานที่สงบมีสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม
๖. ฝึกหัดจิตใจให้สงบ ได้แก่ฝึกหัดชำระจิตให้สงบมีสุขภาพคุณภาพและประสิทธิ
ภาพที่ดี



ที่มา :

Office of National Buddhism สำนักงานพระพุทธศาสนา //www.onab.go.th/buddhism_day2.htm





Create Date : 19 กุมภาพันธ์ 2551
Last Update : 17 พฤษภาคม 2551 22:39:38 น. 8 comments
Counter : 952 Pageviews.

 
สาธุ.........

ขออนุโมทนากับบทความนะคะ


โดย: ~Baan_Ohana~ วันที่: 19 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:17:51:16 น.  

 
ขอให้มีความสงบสุข ทุกๆๆท่านด้วยนะคะ


โดย: FFaa IP: 124.157.224.124 วันที่: 20 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:13:11:00 น.  

 
คมมากเลยค่ะ จะพร้อมนำไปเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันได้เลยค่ะ ขออนุโมทนาบุญนะคะ ^ ^


โดย: jenniepoko วันที่: 20 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:20:39:17 น.  

 


มาฆบูชา เป็นวันสำคัญของพระพุทธศาสนาวันหนึ่ง ซึ่งเป็นที่รู้กันว่า เป็นวันเกิดพระธรรม
ถือว่าเป็นวันที่ พระพุทธเจ้า ได้ประกาศ หลักธรรม คำสั่งสอนของพระองค์ เพื่อให้พระอรหันต์ทั้งหลาย
ที่มาประชุมกันในวันนั้น นำไปเผยแผ่

วั น"มาฆบูชา" เป็นวันบูชาพิเศษที่ต้องทำในวันเพ็ญเดือนมาฆะ
หรือในวันที่พระจันทร์เสวยมาฆฤกษ์
( ซึ่งโดยปกติทำกันในกลางเดือน ๓ แต่ถ้าปีใดมีอธิกมาส คือ เดือนแปดสองแปด ก็เลื่อนไปกลางเดือน ๔ )
ถือกันว่าเป็นวันสำคัญ เพราะวันนี้ เป็นวันคล้ายกับ วันประชุมกันเป็นพิเศษ แห่งพระอรหันตสาวก
โดยมิได้มีการนัดหมาย ซึ่งเรียกว่า วันจาตุรงคสันนิบาต ซึ่งได้มีขึ้น ณ บริเวณเวฬุวันมหาวิหาร
หลังจากที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้เป็นเวลานับได้ ๙ เดือน
วันนี้เอง ที่พระพุทธองค์แสดง "โอวาทปาฎิโมกข์" ซึ่งถือกันว่า
เป็นหลักคำสอนที่เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา
หัวใจของพระพุทธศาสนา กล่าวสั้นๆ คือ
๑.เว้นชั่ว
๒.ทำดี
๓.ทำใจให้บริสุทธิ์


จาตุรงคสันนิบาต คือ การประชุมพร้อมด้วยองค์ ๔ คือ
๑. วันนั้น เป็นวันมาฆปูรณมี คือวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำกลางเดือนมาฆะ จึงเรียกว่า มาฆบูชา
๒. พระภิกษุ ๑,๒๕๐ รูป มาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย (สาเหตุของการชุมนุม)
๓. พระภิกษุทั้งหมดล้วนเป็นพระอรหันต์ ประเภทฉฬภิญญา คือ ได้อภิญญา ๖
๔. พระภิกษุ เหล่านั้น ทั้งหมด ได้รับการอุปสมบทจากพระพุทธเจ้าโดยตรง (เอหิภิกฺขุอุปสมฺปทา)


โดย: IceIcy (lcelcy ) วันที่: 21 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:9:33:28 น.  

 
ทำโครงงานค่ะ

ทำ My Mapping

และก็ทำเพาเวอร์พ้อยซ์ค่ะ

อิอิ ขอบคุณน่ะค้า....


โดย: duean IP: 124.120.80.13 วันที่: 19 พฤษภาคม 2551 เวลา:17:05:57 น.  

 
ดีมากๆค่ะ


โดย: เปียว IP: 117.47.19.132 วันที่: 2 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:18:43:27 น.  

 
ชอบมากค่ะได้งานส่งครูด้วยขอบคุณมากนะค่ะ


โดย: เปียว IP: 117.47.19.132 วันที่: 2 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:18:47:05 น.  

 
ขอให้คุนมีความสุขมากๆที่ได้ทำไปเเล้วก้อต้องได้บุนด้วย เพราะว่าทำให้ผู้อื่นมีความสุข รู้ความหมายเเละหลักธรรมของวันมาฆบูชานั้น

เเล้วขอให้คนคิดมีร่างกายที่เเข็งเเรงต่อสู้กับสิ่งที่ไม่ดีได้


โดย: คุณจิ๋มจิ๋ม IP: 125.27.31.84 วันที่: 8 ธันวาคม 2553 เวลา:14:16:36 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

lcelcy
Location :
ชลบุรี Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




มิถุนายน เดือนดี๊ดี " จุดกำเนิด iceicy's blog Dhamma"
ครบรอบ ๗ ปี แล้วค่ะ"

คนมาจากไหน?
เริ่มจาก เกิด แก่ เจ็บ และก็ตาย
คนก็หายไป !!...แต่ความดีไม่เคยหายไปด้วย..
ทุกคนจำวันเกิดตัวเองได้ไหม... ก็คงจำได้กันหมดอะน่ะ
เคยคิดจะทำอะไรดีดี....
ให้กับตัวเองและคนอื่น..ในวันครบรอบวันเกิดของตัวเองไหมค่ะ?

ตั้งแต่เดือนมิถุนายน ปีพ.ศ. ๒๕๔๙ (๗ ปีได้ผ่านมาแล้ว)
ฉันได้ทำสิ่งที่ชอบ และชอบในสิ่งที่ฉันได้ทำ
สิ่งนั้น คือ " บล๊อกเกี่ยวกับหลักธรรมข้อคิดต่างๆ "
เริ่มจากทำไม่เป็น ลองผิดลองถูก ทำจนสำเร็จ
ทั้งนี้ ขอขอบพระคุณ " กำลังใจ " คนรอบข้าง
และทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยม iceicy's blog Dhamma น่ะค่ะ
(ซึ้งน่ะซึ้งน่ะเนี่ย!!!!)
<

วัตถุประสงค์ iceicy blog Dhamma
1. เพื่อเผยแพร่และสนับสนุนส่งเสริมพระพุทธศาสนาให้อยู่คู่กับประเทศไทย
2. เพื่อนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ประโยชน์ในทางพระพุทธศาสนา
3. เพื่อแบ่งปันความรู้ทางพระพุทธศาสนา และแลกเปลี่ยนข่าวสารทั่วไป
4. สรรเสริญบุคคลที่ควรสรรเสริญ ยกย่องบุคคลที่ควรยกย่อง

Google



Link to us:
ท่านสามารถนำ code ของ banner นี้
ไปติดที่เว็บของท่านได้ตามสะดวกน่ะค่ะ
ขอขอบคุณและขออนุโมทนามา ณ ที่นี้ด้วยน่ะค่ะ

Iceicy blog dhamma



New Comments
Friends' blogs
[Add lcelcy's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.