Iceicy Blog Dhamma หน้าแรก หลักธรรม ปรัชญา ท่องเที่ยวธรรม เก็บตกธรรม บทสวดมนต์ บทเพลงธรรม เว็บบอร์ด iceicy ไอที ไดอารี่
Link to us:
Group Blog
 
All blogs
 

สุขใดเท่าใจหยุดยิ่ง ไม่มีอีกแล้ว[หลวงพ่อจรัญ]

สุขใดเท่าใจหยุดยิ่ง ไม่มีอีกแล้ว[หลวงพ่อจรัญ]




 

Create Date : 04 พฤษภาคม 2556    
Last Update : 4 พฤษภาคม 2556 12:45:40 น.
Counter : 3800 Pageviews.  

ให้พิจารณาความตาย[หลวงปู่ชอบ ฐานสโม]

ให้พิจารณาความตาย[หลวงปู่ชอบ ฐานสโม]
วัดป่าสัมมานุสรณ์ บ้านโคกมน ต.ผาน้อย อ.วังสะพุง จ.เลย




 

Create Date : 09 กุมภาพันธ์ 2556    
Last Update : 9 กุมภาพันธ์ 2556 14:46:13 น.
Counter : 1273 Pageviews.  

เห็นทุกข์..ไม่มีทุกข์[หลวงพ่อชา]




 

Create Date : 02 กุมภาพันธ์ 2556    
Last Update : 2 กุมภาพันธ์ 2556 13:05:47 น.
Counter : 1376 Pageviews.  

หมั่นสร้างบารมีไว้ แล้วฟ้าดินจะช่วยเอง[โต พรหมรังสี]




 

Create Date : 31 มกราคม 2556    
Last Update : 31 มกราคม 2556 9:25:52 น.
Counter : 1212 Pageviews.  

อำนาจแห่งพรหมวิหาร 4









อำนาจแห่งพรหมวิหาร 4



มีเมตตาเป็นพละ กำจัดศัตรูภาพได้ดี
กรุณาเป็นพละ กำจัดทารุณภาพได้ดี
มุทิตาพละ กำจัดความทุกข์โศกของผู้อื่นได้ดี
อุเบกขาพละ กำจัดกามราคะในเพศตรงข้ามได้ดี


โดยปกติมักจะได้ยินครูบาอาจารย์ท่านพูดท่านกล่าวถึงพรหมวิหาร 4 ที่ประกอบด้วยคุณธรรม 4 ประการอยู่บ่อยครั้ง หากน้อยคนจะรู้ถึงอำนาจแห่งพรหมวิหาร 4 ว่ามีผลต่อการบำเพ็ญธรรมอย่างไร หรือแม้จะรู้ก็ยากจะปฏิบัติได้โดยง่าย
ครับ วันนี้ผู้เขียนขอพูดถึงปัญหาหญ้าปากคอกเหล่านี้พอเป็นกระสายยา สำหรับใครที่รู้แล้วก็ถือว่าเป็นการทบทวนความทรงจำก็แล้วกันนะครับ
คำว่า ‘พรหมวิหาร’ แปลความง่าย ๆ ก็คือที่อยู่แห่งพรหม หรือการอยู่อย่างพรหมนั้น พรหมคือบุคคลจำพวกหนึ่งที่ทำความดีในยามเป็นมนุษย์แล้ว ได้อุบัติในพรหมโลก พรหมนั้นมีใจสะอาด นิ่มนวล อ่อนโยน ควบคุมใจไว้ในอำนาจได้ดี และมีคุณธรรมประจำใจ 4 ประการ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา ธรรม 4 ประการนี้เรียกว่า พรหมวิหาร

ดังนั้นการที่เราอบรมใจโดยยึดเอาลักษณะของพรหมเป็นตัวอย่าง ปลูกธรรมทั้ง 4 ประการนั้นขึ้นในใจตน ทำตนให้เหมือนพรหม เรียกว่าการเจริญพรหมวิหาร การเจริญพรหมวิหารพึงเจริญไปตามลำดับดังนี้ครับ
1. เมตตา เป็นความรักที่บริสุทธิ์ มีลักษณะมุ่งดี หวังดี ตรงข้ามกับการขึ้งเคียดเกลียดชัง เป็นความรักที่ปราศจากกามราคะ ความกำหนัด เป็นความรักที่เป็นเหมือนความรักระหว่างบิดามารดากับบุตรธิดา
2. กรุณา ความเอ็นดู มีลักษณะทนดูดายไม่ได้ พอใจช่วยเหลือเกื้อกูลให้เขาได้รับความสุข โดยไม่เห็นแก่เหนื่อยยาก และสิ่งตอบแทน ตรงข้ามกับความพยาบาทมาดร้าย
3. มุทิตา ความชื่นใจ มีลักษณะร่าเริงชื่นบานพลอยมีความยินดี มีส่วนกับความสุข ความเจริญของผู้อื่น ตรงข้ามกับความริษยาซึ่งไม่อยากให้ใครได้ดี มีสุขกว่าตนหรือเท่าตน
4. อุเบกขา ความเที่ยงธรรม มีลักษณะเป็นผู้ใหญ่ใจหนักแน่น รู้จักสิ่งเป็นไปได้-เป็นไปไม่ได้ มองเห็นความเป็นไปของสัตว์โลกได้ด้วยหลักแห่งกรรมอย่างชัดแจ้ง ควรช่วยก็ช่วย ช่วยไม่ได้ก็ไม่ทุกข์ใจตน เป็นผู้รู้จักประมาณ ทำให้
คุณธรรมในสามข้อแรกมีความสมดุล คนที่เข้าถึงอุเบกขาธรรมข้อนี้ใจจะสงบเย็นด้วยคุณธรรมข้อนี้อย่างมาก จึงสามารถข่มกามราคะได้อย่างดี
วิธีปฏิบัติเพื่อการปลูกฝังคุณธรรมทั้ง 4 ประการนี้ ต้องเริ่มทีละข้อก่อน อย่างเช่นข้อเมตตา ต้องทำใจให้เป็นไปตามคุณธรรมนั้น โดยเริ่มที่คนใกล้ชิดก่อน แล้วค่อยขยายน้ำใจไปยังบุคคลอื่น ๆ ที่ห่างออกไปจากคนรัก ชอบ คนที่รู้สึกแบบกลาง ๆ คนทั่วไป คนที่เกลียดชัง สัตว์ทั่วไป ท้ายสุดคือตลอดสากลโลก ทุกทิศทาง

จากข้อเมตตา สู่ข้อกรุณา มุทิตา อุเบกขา เป็นลำดับ ด้วยวิธีการดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น จนกลายเป็นอารมณ์กำกับใจได้อยู่เสมอ เมื่อปฏิบัติได้ถึงขั้นนี้ ได้ชื่อว่า ‘สำเร็จอัปปมัญญาเจโตวิมุตติ’ คือความสำเร็จที่เยี่ยมยอดของใจที่มีอิทธิพลเกินคาดหมาย
คือมีเมตตาเป็นพละ กำจัดศัตรูภาพได้ดี
กรุณาเป็นพละ กำจัดทารุณภาพได้ดี
มุทิตาพละ กำจัดความทุกข์โศกของผู้อื่นได้ดี
อุเบกขาพละ กำจัดกามราคะในเพศตรงข้ามได้ดี

สตรีกับบุรุษผู้มีอุเบกขาพละ จะเป็นมิตรสนิทสนมกันได้โดยไม่ละเมิดอธิปไตยของกันและกัน
ประโยชน์อีกประการของการเจริญพรหมวิหารที่เห็นชัดก็คือ เป็นผู้อยู่เป็นสุข ปราศจากศัตรู มีแต่หมู่มิตร อีกทั้งยังมีร่างกายจิตใจเข็งแรง ผิวพรรณผ่องใส มองดูเยาว์วัย ไม่แก่ง่าย อีกด้วยครับ
มาถึงตรงนี้อยากแนะนำนักปฏิบัติภาวนาทั้งหลายว่า การหมั่นเจริญพรหมวิหาร ที่กล่าวมาข้างต้นจะทำให้จิตชุ่มเย็น เวลาทำสมาธิจะทำให้จิตเข้าสู่ความสงบได้เร็วขึ้นด้วย ไม่มีนิวรณ์ 5 ที่เป็นเครื่องกั้นทางความสงบของจิต ‘คือกามฉันทะ’ กำหนัดในกามคุณทั้งหลาย ‘พยาปาทะ’ ความเจ็บแค้นเจ็บใจในผู้อื่น หรือทำความฉิบหายให้แก่ผู้ที่ตนเกลียด ‘ถีนมิทธะ’ ความท้อใจและความซึมเซาของจิต ‘อุทธัจจกุกุจจะ’ ความฟุ้งซ่านรำคาญใจ และท้ายสุด คือ ‘วิจิกิจฉา’ ความสองจิตสองใจ ความลังเลสงสัยไม่ปลงใจลงไปในการหนึ่งการใดโดยเฉพาะ

นิวรณ์ 5 ประการเป็นกิเลส เป็นศัตรูร้ายสำหรับนักปฏิบัติสมาธิ เพราะจะทำให้เสียกำลังเสียปัญญาไป การเจริญพรหมวิหารจึงเป็นการขจัดนิวรณ์ห้า อันเป็นศัตรูภัยของสมาธิเสียแต่เนิ่น ๆ เพื่อจะได้ไม่เสียเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์

ทั้งหมดที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า พรหมวิหาร 4 ประการดังกล่าว เป็นคุณธรรมอันประเสริฐอย่างยิ่ง เป็นคุณธรรมที่ก่อประโยชน์ทั้งต่อตนเองและบุคคลอื่นโดยพร้อมกัน เป็นความสุขสันติในสังคมและในกายใจของบุคคลที่ได้มีความเพียร ในการเจริญคุณธรรมนี้อย่างแท้จริง


ที่มา :

//www.dhamma5minutes.com/webboard.php?id=14&wpid=0019





 

Create Date : 12 พฤศจิกายน 2554    
Last Update : 14 พฤศจิกายน 2555 22:39:17 น.
Counter : 1796 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  

lcelcy
Location :
ชลบุรี Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




มิถุนายน เดือนดี๊ดี " จุดกำเนิด iceicy's blog Dhamma"
ครบรอบ ๗ ปี แล้วค่ะ"

คนมาจากไหน?
เริ่มจาก เกิด แก่ เจ็บ และก็ตาย
คนก็หายไป !!...แต่ความดีไม่เคยหายไปด้วย..
ทุกคนจำวันเกิดตัวเองได้ไหม... ก็คงจำได้กันหมดอะน่ะ
เคยคิดจะทำอะไรดีดี....
ให้กับตัวเองและคนอื่น..ในวันครบรอบวันเกิดของตัวเองไหมค่ะ?

ตั้งแต่เดือนมิถุนายน ปีพ.ศ. ๒๕๔๙ (๗ ปีได้ผ่านมาแล้ว)
ฉันได้ทำสิ่งที่ชอบ และชอบในสิ่งที่ฉันได้ทำ
สิ่งนั้น คือ " บล๊อกเกี่ยวกับหลักธรรมข้อคิดต่างๆ "
เริ่มจากทำไม่เป็น ลองผิดลองถูก ทำจนสำเร็จ
ทั้งนี้ ขอขอบพระคุณ " กำลังใจ " คนรอบข้าง
และทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยม iceicy's blog Dhamma น่ะค่ะ
(ซึ้งน่ะซึ้งน่ะเนี่ย!!!!)
<

วัตถุประสงค์ iceicy blog Dhamma
1. เพื่อเผยแพร่และสนับสนุนส่งเสริมพระพุทธศาสนาให้อยู่คู่กับประเทศไทย
2. เพื่อนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ประโยชน์ในทางพระพุทธศาสนา
3. เพื่อแบ่งปันความรู้ทางพระพุทธศาสนา และแลกเปลี่ยนข่าวสารทั่วไป
4. สรรเสริญบุคคลที่ควรสรรเสริญ ยกย่องบุคคลที่ควรยกย่อง

Google



Link to us:
ท่านสามารถนำ code ของ banner นี้
ไปติดที่เว็บของท่านได้ตามสะดวกน่ะค่ะ
ขอขอบคุณและขออนุโมทนามา ณ ที่นี้ด้วยน่ะค่ะ

Iceicy blog dhamma



New Comments
Friends' blogs
[Add lcelcy's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.