"ธรรมที่เป็นคู่ปรับกัน" ว่ามันถูกฝาถูกตัวกันหรือไม่ ?

ธรรมที่เป็นคู่ปรับกัน
พระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน เมือง สาวัตถีได้ตรัสสอนพระราหุลถึงธรรมที่เป็นคู่ปรับกัน ๖ คู่ คือ
๑. "ราหุล! เธอจงเจริญเมตตาภาวนาเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญเมตตาภาวนาอยู่ จักละพยาบาท (คือความคิดที่จะแก้แค้น) ได้
๒. เธอจงเจริญกรุณาภาวนาเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญกรุณาภาวนาอยู่จักละวิหิงสา (คือการเบียดเบียน) ได้
๓. เธอจงเจริญมุทิตาภาวนาเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญมุทิตาภาวนาอยู่จักละอรติ (คือความริษยา) ได้
๔. เธอจงเจริญอุเบกขาภาวนาเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญอุเบกขาภาวนาอยู่ จักละปฏิฆะ (คือความขัดใจ) ได้
๕. เธอจงเจริญอสุภภาวนาเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญอสุภภาวนาอยู่ จักละราคะ (คือความยินดีในกาม) ได้ "
๖. เธอจงเจริญอนิจจสัญญาภาวนาเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญอนิจจสัญญาภาวนาอยู่ จักละอัสมิมานะ (คือการถือตัว) ได้ * มหาราหุโลวาทสูตร ๑๓/๑๒๗ *
การปฏิบัติธรรมเพื่อการดับทุกข์อย่างแท้จริงควร จะต้องศึกษาให้รู้ถึงสิ่งที่เป็น "คู่ปรับ" ของกันและกัน ดังที่ทรงยกมาสอนแก่พระราหุล ๖ ข้อนี้ และยังมีอีกมาก
การปฏิบัติธรรม ถ้าเราจับคู่ของธรรมะข้อนั้นๆให้ถูกฝาถูกตัวกัน การปฏิบัติธรรมก็จะดูเป็นเรื่องไม่ยากเลย เช่น คนมีความตระหนี่ขี้เหนียว ก็ต้องพิจารณาโทษของความตระหนี่ถี่เหนียว ทำให้เกิดเป็นคนยากจนไม่มีพวกพ้องบริวาร ทำให้เป็นคนมีใจคับแคบ และเห็นแก่ตัวจัด เป็นต้น
ทางแก้ก็ต้องใช้แบบ "หนามยอก เอาหนามบ่ง" คือ การบริจาค การให้ทาน การเสียสละต่างๆ ให้มาก จริงอยู่ในการทำครั้งแรกๆ มันก็ย่อมฝืนใจและ ทำยากแต่เมื่อหัดทำบ่อยๆ มันก็จะเกิดความ เคยชินไปเอง
ธรรมะข้ออื่นๆ ก็เช่นเดียวกัน ล้วนมีคู่ปรับที่คอย หักโค่นกันอยู่เสมอ ถ้าเราจัดหาคู่ปรับมาแก้ ให้ถูกฝาถูกตัวกันได้แล้ว การปฏิบัติธรรม ทางศาสนาก็จะไม่กลายเป็นเรื่องยาก หรือ เป็นเรื่อง "สุดวิสัย" อย่างที่คนทั่วๆ ไป คิดเห็นกันอีกต่อไป
ดังนั้น ผู้ที่ปฏิบัติธรรมแล้วไม่ก้าวหน้า ไม่เกิดผลใดๆก็ขอให้พิจารณาดูข้อธรรมนั้นๆ ว่ามันถูกฝาถูกตัวกันหรือไม่ ??
(อภิมหามงคลธรรม หน้า ๒๐๑)
|
---|
Create Date : 15 มีนาคม 2550 | | |
Last Update : 17 พฤษภาคม 2551 22:55:04 น. |
Counter : 1205 Pageviews. |
| |
|
|
|
"โอวาทท่านลื่อโจ๊ว" อภิมหามงคลธรรม
เรื่อง ตัดวิจิกิจฉาเพื่อบรรลุโสดา ขอกราบอนุญาตท่านลื่อโจ๊ว เทพเจ้าผู้กอปรด้วยพรหมวิหาร ๔ นำโอวาทของท่านมาประดับ ไว้เตือนจิตยามขันธ์ห้ากำลังปรุงแต่ง เมื่ออายตนะมาเยือน

ใช่หรือมิใช่ ใช่หรือมิใช่ เจ้าตัวสงสัย เป็นตัวขัดขวาง หนทางปฏิบัติ การฝึกฝนจิต ให้ได้สำเร็จ ต้องฝึกฝนจิต ไม่อ่อนไม่ไหว สิ่งใดที่เกิด ไม่เป็นดังใจ ต้องทำใจว่าง อย่าให้ขวางทาง ที่จักก้าวเดิน อย่าคิดเกินเลย จัดการผสม แต่งปรุงเข้าไป ให้จิตมิว่าง นั้นเป็นไม่ดี แก่ตัวของตัว..
จิตต้องปล่อยวาง ปล่อยวางทุกสิ่ง ไม่เอาสิ่งใด มาเป็นอารมณ์ กวนจิตกวนใจ สิ่งที่มิเป็น และเห็นว่าเป็น อย่างนั้นอย่างนี้ ขอจงแลมอง สองตาแลเป็น เห็นเป็นธรรมดา เช่นนี้เองแล เรื่องราวใดใด อย่าปรุงอย่าแต่ง ให้เป็นดังใจ รู้เห็นเพียงใด ให้หยุดเพียงนั้น จิตจึงจักว่าง สำหรับฝึกฝน
โสดาโสดา อะไรคือโสดา จิตที่ฝึกดี ละวางทุกสิ่ง ไม่มีตัวเรา ไม่มีตัวเขา คือไม่ยึดติด ว่านั่นของเรา หรือนั่นของเขา เอามาใส่ใจ ให้ปรุงให้แต่ง ว่าเป็นต่างต่าง เมื่อละวางได้ ความชอบโกรธเกลียด ไม่มีในจิต ความโลภอยากได้ มาเป็นของเรา ก็จะไม่มี เมื่อจิตสะอาด ปลอดโปร่งแจ่มใส ดวงจิตดวงนี้ ใสดุจดวงแก้ว เปล่งปลั่งแวววาว ดุจเพชรเจียระไน ไม่มีปัญหา มีแต่ปัญญา เห็นแจ้งในธรรม ไม่มีเคลือบแคลง..
หนังสืออภิมหามงคลธรรม หน้า ๓๑๑
|
---|
Create Date : 28 มกราคม 2550 | | |
Last Update : 17 พฤษภาคม 2551 22:55:16 น. |
Counter : 1244 Pageviews. |
| |
|
|
|
คุณจะเลือกเป็นคนโง่หรือคนฉลาด?
พระไตรปิฏก "ฉบับทางพ้นทุกข์" หน้า ๔๘๒ โดย พระมหาบุญหนา อโสโก
วิธีกำจัดความโง่
ความโง่ สร้างความทุกข์ทรมาน เจ็บปวด โศกเศร้า ให้แก่คนมามาก อดีตยาวนานก็เคยมีคนโง่ ปัจจุบันที่เราพบเห็นก็มีคนโง่มากมาย อนาคตก็จะต้องมีคนโง่เกิดอีกแน่นอน อยากจะถามว่า คนโง่คือใคร ทางพระพุทธศาสนาตอบว่า " คนโง่ คือ คนที่ยังไม่หมดกิเลสไม่บรรลุนิพพาน "
คนโง่กับความโง่ ชอบเสพกามความหงุดหงิด เกิดคิดเห็นเป็นสงสัย ใจดื้อรั้นฝันอยากอยู่ ไม่รู้คือโง่โตแต่ตัวหัวสมองลีบ
คนฉลาดกับความฉลาด ไม่กินมากไม่อยากร้องเพลง ไม่ละเลงของหอมไม่ยอมนอนนาน ไม่ต้องการเงินทองไม่จ้องมองเพศตรงกันข้าม หยุดเสพกามคือพรหมจรรย์
ปราบความโง่ด้วยสติปัฏฐาน ๑. เดินนับเท้า - ซ้าย - ขวา - ซ้าย - ขวา ตลอดเวลา ๒. นอนนับท้อง - พองหนอ - ยุบหนอ - ตลอดเวลา ๓. จ้องจับลมหายใจ - ดูลม รู้ลม ตามลม ตลอดเวลา ๔. เคลื่อนไหวด้วยสติ - รู้สึกตัวทั่วพร้อม ตลอดเวลา
|
---|
Create Date : 13 ธันวาคม 2549 | | |
Last Update : 17 พฤษภาคม 2551 22:56:17 น. |
Counter : 1056 Pageviews. |
| |
|
|
|
| |
|
|