Iceicy Blog Dhamma หน้าแรก หลักธรรม ปรัชญา ท่องเที่ยวธรรม เก็บตกธรรม บทสวดมนต์ บทเพลงธรรม เว็บบอร์ด iceicy ไอที ไดอารี่
Link to us:
Group Blog
 
All blogs
 

พูดเป็นธรรมชี้นำทางดี








 





พูดเป็นธรรมชี้นำทางดี



สัมมาวาจา

คนส่วนมากมองข้ามความสำคัญในการพูด ไม่ค่อยจะใช้คำพูด และข้อเขียน
เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด ทั้งๆ ที่สามารถจะทำได้ โดยไม่ต้องลงทุกลงแรงอะไร

เกี่ยวกับเรื่องบุญกุศล มีคนจำนวนมาก รังเกียจที่จะทำบุญ
โดยอ้างว่าต้องใช้เงินทองทรัพย์สมบัติ เขาเป็นคนยากจน ก็ไม่สามารถทำบุญได้

แต่ข้อเท็จจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้น เพราะการพูดเป็นคุณประโยชน์ เป็นไปเพื่อช่วยเหลือเกื้อกูล
เป็นธรรมวินัย เป็นเหตุเป็นผล ไม่เป็นโทษภัยแก่ใครๆ นั้น
นับว่าเป็นบุญกุศลมหาศาล โดยไม่ต้องเสียเงินทองทรัพย์สินอะไรเลย


พูดเป็นกุศล ก็คือ พูดด้วยวจีสุจริต ๔
ตามนัยแห่งอกุศลกรรมบถ ๑๐ ได้แก่
๑. ไม่พูดเท็จ ทำลายประโยชน์ของผู้อื่น
๒. ไม่พูดส่อเสียด ยุยงให้เขาแตกกัน
๓. ไม่พูดด่ากัน ด้วยคำหยาบ
๔. ไม่พูดเพ้อเจ้อไร้สาระ ให้คนหลงใหล ประมาทสูญเสียโอกาสในการทำความดี

การพูดวจีสุจริตดังกล่าว ชื่อว่าเป็นสัมมวาจาเป็นองค์หนึ่งในมรรคมีองค์แปด พิจารณาเพียงผิวเผิน
อาจเห็นว่าไม่มีความสำคัญในการบรรลุมรรคผลนิพพาน แต่สำคัญไม่น้อยเลย

เพราะพระพุทธองค์ ทรงสอนให้เว้นจากทางผิด แล้วดำเนินไปในทางถูกต้อง
เป็นการให้ปิดประตูทางแห่งความเสื่อมเสียให้ได้ก่อน เพื่อมิให้เป็นคนชั่ว คนบาป
ซึ่งถ้าทำบาปเข้าไปแล้ว ก็ยิ่งทำให้ห่างไกลมรรคผลนิพพาน หมดโอกาสพ้นทุกข์ดังประสงค์

ขออย่าลืมว่า ทางกาย และทางใจ มีประตูบาปอยู่เพียงทางละ ๓ ประตูเท่านั้น
ส่วนทางวาจานี้มีประตูบาป เปิดรับไว้ถึง ๔ ประตู ซึ่งคนทั่วไปมักถลันเข้าไปได้อย่างง่ายดาย

เพราะฉะนั้น จะต้องเห็นความสำคัญจะต้องสำรวมระวังสม่ำเสมอ
มิฉะนั้นจะไปสู่ทุคติแทนสุคติ หรือจะไปสู่ความเป็นพาล แทน นิพพาน อย่างง่ายดาย


หลักการพูดของพระบรมศาสดา
๑. วาจาใด ไม่จริง ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ และ ไม่เป็นที่รักขอบใจของคนอื่น ตถาคตไม่พูดวาจานั้น
๒. วาจาใดจริง แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ทั้งไม่เป็นที่รักชอบใจของคนอื่นด้วย ตถาคตไม่พูดวาจานั้น
๓. ส่วน วาจาใด จริงแท้ ประกอบด้วยประโยชน์ แต่ไม่เป็นที่รักชอบใจของคนอื่น ตถาคต
ย่อมเป็นผู้รู้จักกาลอันควร หรือไม่ควรที่จะพูดวาจานั้น
๔. วาจาใด ไม่จริง ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ถึงเป็นที่รักชอบใจ ของคนอื่น คถาคต ไม่พูดวาจานั้นเด็ดขาด
๕. วาจาใด แม้จริงแท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ถึงเป็นที่รักชอบใจของคนอื่น ตถาคต ก็ไม่พูดวาจานั้น
๖. วาจาใด จริงแท้ด้วย ประกอบด้วยประโยชน์ด้วย ทั้งเป็นที่รักชอบใจของคนอื่นด้วย ตถาคต ย่อมรู้กาลที่จะพูดวาจานั้น
(ทรงเลือกเวลาพูด ไม่ใช่พูดทุกเวลา)
ขอให้ชาวพุทธยึดหลักการพูดของพระบรมศาสดานี้ไว้ ในการจะพูดจา เพราะเป็นวิธีการพูดชั้นครู ชั้นยอด

กถาวัตถุ คือ ถ้อยคำที่ควรพูด ๑๐ อย่าง
๑. อัปปิจฉกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้มีความปรารถนาน้อย.
๒. สันตุฏฐิกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้สันโดษยินดีด้วยปัจจัยตามมีตามได้.
๓. ปวิเวกกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้สงัดกายสงัดใจ.
๔. อสังสัคคกถา ถ้อยคำที่ชักนำไม่ให้ระคนด้วยหมู่.
๕. วิริยารัมภกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้ปรารภความเพียร.
๖. สีลกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้ตั้งอยู่ในศีล.
๗. สมาธิกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้ทำใจให้สงบ.
๘. ปัญญากถา ถ้อยคำที่ชักนำให้เกิดปัญญา.
๙. วิมุตติกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้ทำใจให้พ้นจากกิเลส.
๑๐. วิมุตติญาณทัสสนกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้เกิดความรู้ความเห็นในความที่ใจพ้นจากกิเลส



อ้างอิง : //larndham.net/cgi-bin/kratoo.pl/002223.htm

ขอบคุณบทความ Moderators :ท่านกุญชัย IcEiCy CoMMuNiTy





Create Date : 10 พฤษภาคม 2551    
Last Update : 17 พฤษภาคม 2551 22:44:25 น.
Counter : 1005 Pageviews.  

โรค!มนุษย์ : กิเลน ประลองเชิง









 






เรื่อง โรค!มนุษย์


วันวิสาขะวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระพุทธเจ้า ความในพระไตรปิฎก ฉบับประชาชน มีว่า
ครั้นแล้ว..เสด็จเลียบฝั่งนอกของแม่น้ำหิรัญญวดี สู่ป่าไม้สาละของมัลลกษัตริย์ ใกล้กรุงกุสินารา

ให้ตั้งเตียงผินพระเศียรไปทางทิศอุดร ทรงบรรทมมีสติสัมปชัญญะ ตรัสปรารภการบูชา ด้วยการประพฤติธรรมว่ายอดเยี่ยม

นับแต่ทรงประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทา ได้ปัญจวัคคีย์เป็น ๕ พระสงฆ์กลุ่มแรก ต่อมาทรงประทานอนุญาตให้สงฆ์บวชกันเอง ด้วยเสียงส่วนใหญ่ ซึ่งเรียกว่า ญัติจตุตถกรรม

จำนวนพระสงฆ์ก็เพิ่มขึ้นมากมาย จนต้องทรงบัญญัติพระวินัย เป็นหลักในการปกครอง
ทรงมีพระดำรัส..สั่งความแก่พระอานนท์ เมื่อเราล่วงลับไปแล้ว สงฆ์ปรารถนา ก็จงถอนสิกขาบทเล็กน้อยเสียได้ สงฆ์พึงลงพรหมทัณฑ์แก่พระฉันนะ คือปล่อยให้ทำอะไรตามชอบใจ ไม่พึงว่ากล่าวตักเตือน

แล้วก็ทรงสั่งความถึงพุทธบริษัท..เมื่อเราล่วงลับไป..ธรรมวินัย ที่เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้ว
จักเป็นศาสดาของท่านทั้งหลาย
ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย..ถ้ารูปหนึ่ง..สงสัยเคลือบแคลงในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ในมรรค หรือข้อปฏิบัติข้อใด..ก็ขอให้ถาม
แต่สงฆ์ ๕๐๐ รูปในบริเวณนั้นเป็นพระอริยบุคคลนับแต่พระโสดาบันขึ้นไป ไม่มีรูปใดถาม

เงียบสงัดไปคูร่ใหญ่ ใต้ร่มเงาป่าไม้รัง..ครั้นแล้ว ตรัสว่า
"ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย..บัดนี้เราเตือนท่าน สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อม..เถิด"
สิ้นกระแส..ปัจฉิมโอวาท ก็เสด็จดับขันธ์ ปรินิพพาน
แต่พระธรรม...ที่ทรงแสดงไว้ ก็ยังคงธำรงมั่นคงเป็นศาสดา อมตะ สั่งสอนพุทธบริษัท...ถึงบัดนี้

ธรรมะ..ข้อสติปัฏฐาน..จากหนังสือพุทธธรรม ฉบับเดิม ท่านอาจารย์มหาประยุทธ์ สอนว่า องค์หลักธรรมของสติปัฏฐาน ได้แก่ สติ กับ สัมปชัญญะ

สติ..เป็นตัวเกาะจับสิ่งที่พิจารณาเอาไว้
สัมปชัญญะ คือ ตัวปัญญาที่รู้ชัดต่อสิ่งหรืออาการที่ถูกพิจารณานั้น โดยตระหนักว่า คืออะไร เป็นอย่างไร มีความมุ่งหมายอย่างไร
เช่น...ขณะเดิน ก็รู้พร้อมอยู่กับตัวว่า กำลังเดินไปไหน เข้าใจสิ่งนั้น หรือการกระทำนั้นตามความเป็นจริง โดยไม่เอาความรู้สึกชอบใจ หรือไม่ชอบใจ..

เข้าไปปะปนหรือปรุงแต่ง
การปฏิบัติตามหลักสติปัฏฐาน จึงเป็นวิธีการชำระล้างอาการของโรคต่างๆ ที่มีในจิต กำจัดสิ่งที่เป็นเงื่อนปม ถ่วงขัดขวางการทำงานของจิตให้หมดไป
ทำใจให้ปลอดโปร่ง พร้อมดำรงชีวิตอยู่ เผชิญและจัดการกับสิ่งทั้งหลายในโลก ด้วยความเข้มแข็งและสดชื่น

อาจสรุปธรรมะข้อนี้ได้ ด้วยพระพุทธพจน์ต่อไปนี้
ภิกษุทั้งหลาย โรคมีอยู่สองชนิด คือ โรคทางกายและโรคทางใจ สัตว์ทั้งหลายที่ยืนยัน ไม่มีโรคกาย อายุได้ ๒ ปี ๑๐ ปี ๕๐ ปี ถึง ๑๐๐ ปี ก็มีปรากฎอยู่


แต่สัตว์ที่ยืนยันได้ว่า ไม่เป็นโรคทางใจ แม้ชั่วเวลาหนึ่งครู่หนึ่งหาได้ยากในโลก

คัดลอกจาก หนังสือชักธงธรรม
กิเลน ประลองเชิง หน้า ๑๗๓-๑๗๕





Create Date : 02 พฤษภาคม 2551    
Last Update : 17 พฤษภาคม 2551 22:44:08 น.
Counter : 776 Pageviews.  

ศีล ๕...เคล็ดลับ ๓ ข้อ








 





ศีล ๕...เคล็ดลับ ๓ ข้อ
คัดลอก : จากหนังสืออภิมหามงคลธรรม หน้า ๓๕๗




ศีล 5 เป็นศีลปกติพื้นฐานสำคัญของความเป็นมนุษย์ ส่วนศีลที่แตกออกไปจนถึง 227 ข้อ เป็นการบัญญัติเพื่อความเป็นระเบียบ เป็นวินัย เป็นความพร้อมเพรียงในคณะสงฆ์ แต่หลักจริงๆ คือศีล 5 เป็นศีลที่ทำให้สังคมสงบสุข ปิดกั้นภัยเวรแก่ผู้รักษาศีล ... ที่พวกเรารู้สึกว่ารักษายากขัดกับชีวิตประจำวัน นั่นเป็นเพราะตาใจของเรามันบอดแสง หรือเจ้ากรรมนายเวรมาบังจิตบังใจเรา ไม่ยอมให้ลุถึงซึ่งความดี ... หลายคนกว่าจะถึงดีมีสุข เจ้ากรรมนายเวรเคยจิตให้คิดผิด พูดผิด ทำก็ผิด ต้องตกระกำลำบากมาก เหตุเพราะเราทำเขาไว้นี่ เขาจองเวรเราก็ลำบาก จะรักษาศีล 5 ให้ถึงความดี ก็ทำไม่ได้สักที กาย วาจา ใจ ก็เลยไม่ปกติ ยังเกลือกกลั้วกับภัยเวร จึงเป็นทุกข์รำไป ...

เมื่อศีล 5 ไม่ครบ ภูมิจิตก็ตำกว่าความเป็นมนุษย์ หากโชคดีตกบันไดตายในขณะจิตนั้น ก็จะไปเกิดในภูมิที่ตำกว่ามนุษย์ คือ มีหวังได้ไปเห่าหอนหรือร้องโหยหวลตามวัดแน่ๆ จึงไม่ควรประมาท ... ครูบาอาจารย์จึงแนะนำเคล็ดลับ 3 ข้อ เพื่อเลี่ยงอบายภูมิต่างๆ ดังนี้

1. รักและเคารพบูชาคุณพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ ผู้ทรงคุณงามความดีถึงพร้อม...ระลึกรักษาไว้เป็นอารมณ์อยู่เสมอ จนรู้สึกลึกซึ้งในพระคุณของท่าน

2. ระลึกอยู้เสมอว่า ... ร่างกายคนและสัตว์สกปรกพอๆ กัน ต้องตายเหมือนกันทั้งหมด ... ร่างกายเป็นที่อาศัยของเราชั่วคราวเท่านั้น อย่าหลงใหลรูปกายนี้

3. เจริญพรหมวิหาร 4 มีเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา เป็นอารมณ์เย็นอยู่เสมอ และพยายามรักษาศีล 5 ให้ครบสมบูรณ์ ตั้งจิตตรงเฉพาะพระนิพพานที่เดียว

"เคล็ดลับ 3 ข้อนี้ ... ท่านให้รักษาไว้จนกว่าชีวิตจะหาไม่ ..."


Create Date : 01 เมษายน 2551    
Last Update : 17 พฤษภาคม 2551 22:45:37 น.
Counter : 639 Pageviews.  

ทำบุญน้อยแต่ได้บุญมาก...(มาลาวชิโร)








 





ทำบุญน้อยแต่ได้บุญมาก...(มาลาวชิโร)




ในสมัยพุทธกาล มีเพื่อนของวังคันตพราหมณ์ผู้เป็นบิดาของพระสารีบุตรเถระ
ชื่อมหาเสนพราหมณ์ อยู่ในกรุงราชคฤห์ เป็นคนยากจน ไม่มีสมบัติอะไรเลย
เช้าวันหนึ่ง พระสารีบุตรเถระได้ออกไปบิณฑบาตที่บ้านของพราหมณ์นั้น
เพื่ออนุเคราะห์เขา แต่เขาคิดว่า บุตรของเรามาบิณฑบาตที่บ้านเรา
ตอนนี้เราเป็นคนยากจน ทรัพย์สมบัติหรือวัตถุสิ่งของอะไรๆ ที่จะใส่บาตรก็ไม่มี
บุตรของเราอาจจะไม่รู้เรื่องนี้ก็ได้
เมื่อคิดได้ดังนั้นเขาจึงหลบหน้า ไม่กล้าออกมาพบพระเถระ
ในวันต่อมาพระเถระก็ได้ไปบิณฑบาตอีก
พราหมณ์ก็ได้หลบหน้า อีกเช่นเคย แต่ในใจเขาก็คิดอยู่ว่า
... ถ้าวันไหนเรามีอะไรที่จะถวายพระเถระเราก็จะถวายแก่ท่าน... แต่วันแล้ววันเล่าเขาก็ไม่ได้วัตถุสิ่งของอะไรที่จะถวายพระเถระเลย

ต่อมาวันหนึ่งเขาได้ข้าวปายาสเต็มถาด
และผ้าสาฎกเนื้อหยาบผืนหนึ่งจากที่แห่งหนึ่ง
เมื่อกลับไปถึงบ้านจึงนึกถึงพระเถระขึ้นมาว่า
... เราควรจะถวายสิ่งของเหล่านี้แก่พระเถระ... ในขณะเดียวกันนั่นเอง พระเถระซึ่งกำลังนั่งสมาธิเข้าฌานอยู่
เห็นพราหมณ์ในนิมิต และคิดว่า... ขณะนี้พราหมณ์ได้ไทยธรรมแล้ว และอยากถวายสิ่งของเหล่านั้นกับเรา เราควรจะไปที่นั่น... คิดดังนั้นแล้วจึงลุกขึ้นห่มผ้าจีวรพร้อมพาดสังฆาฏิ
เดินอุ้มบาตรไปยืนอยู่ที่หน้าบ้าน ของพราหมณ์

ฝ่ายพราหมณ์เมื่อมองไปเห็นพระเถระยืนอุ้มบาตรอยู่หน้าบ้าน
ก็เกิดมีจิตเลื่อมใสเป็น อย่างยิ่ง จึงเข้าไปไหว้และนิมนต์ให้เข้าไปนั่งในบ้าน แล้วนำข้าวปายาสมาถวาย ขณะที่เขานำข้าวปายาสใส่ลงไปในบาตรอยู่นั้น พอใส่ไปได้ครึ่งหนึ่งพระเถระก็เอามือปิดบาตรไว้คิดว่าน่าจะพอแล้ว
เหลือไว้ให้พราหมณ์ได้กินบ้าง
เพราะเขาเป็นคนจนไม่มีอะไรเลย แต่พราหมณ์กลับบอกว่า

... ข้าวปายาสนี้มีนิดเดียว ขอท่านจงสงเคราะห์ผมในโลกหน้าเถิด
อย่าสงเคราะห์ในโลก นี้เลย กระผมอยากจะถวายทั้งหมด...
กล่าวแล้ว พราหมณ์จึงตักข้าวปายาสทั้งหมดใส่ลงไปในบาตร

เมื่อพราหมณ์ใส่บาตรเรียบร้อยแล้วพระเถระก็นั่งฉันอยู่ที่บ้านของพราหมณ์นั่นเอง
หลังจากฉันเสร็จ พราหมณ์ก็นำผ้าสาฎกมาถวายอีก
แล้วตั้งความปรารถนาไว้ว่า
... ขอให้กระผมบรรลุธรรมเหมือนอย่างที่พระคุณเจ้าบรรลุเถิด...
พระเถระจึงให้พรว่า ... จงสำเร็จอย่างนั้น พราหมณ์...

จากอานิสงส์ที่ได้ถวายทานด้วยจิตที่เลื่อมใสศรัทธาอย่างยิ่ง
จึงทำให้เกิดความอิ่มอก อิ่มใจมาก
และพราหมณ์นี้ก็มีความเคารพรักในพระเถระยิ่งนัก
ดังนั้น เมื่อตายไปจึงไปบังเกิดในตระกูลของคนที่เป็นผู้อุปัฏฐากพระเถระ ในกรุงสาวัตถี

ในขณะที่มารดาของเขาตั้งครรภ์ นางได้งดการบริโภคอาหารที่ร้อนจัด
เย็นจัด และเปรี้ยวจัด เป็นต้น
ในเวลาแพ้ท้อง นางคิดว่า อยากจะนิมนต์ภิกษุสัก ๕๐๐ รูป มีพระสารี-บุตรเถระเป็นประธานมาที่บ้านแล้วถวายข้าวปายาส แล้วตนเองก็บริโภคข้าวปายาสที่เหลือจาก ที่พระฉัน นางได้ทำอย่างที่คิดนั้นความแพ้ท้องจึงสงบลง

เมื่อทารกคลอดออกมา พวกญาติจึงอาบน้ำให้แล้วให้นอนบนผ้ากัมพล
ที่มีราคาแพงถึง หนึ่งแสน และในวันนั้นก็ได้นิมนต์พระมาฉันภัตตาหารที่บ้าน ทารกที่นอนอยู่บนผ้ากัมพลนั้นก็ได้แลดูพระเถระและคิดว่า
พระเถระนี้เป็นบุรพจารย์ของเรา เราได้สมบัตินี้เพราะอาศัยพระเถระนี้ เราควรจะทำบุญด้วยการบริจาคทานอย่างใดอย่างหนึ่งแก่ท่าน

ดังนั้นในขณะที่พวกญาติอุ้มทารกไปรับศีลจากพระ
ทารกน้อยได้เอานิ้วก้อยเกี่ยวผ้ากัมพลนั้นไว้
พวกญาตินึกว่าผ้าไปเกี่ยวติดมือเด็กจึงเอาออก ทำให้ทารกร้องไห้
พวกญาติจึงพูดกันว่า ... พาไปที่อื่นเถอะ อย่าให้เด็กมาร้องไห้แถวนี้เลย... แต่ก่อนจะพาทารกน้อยออกไป นั้นก็ได้พาไปกราบลาพระ
ขณะนั้นเอง ทารกก็ชักนิ้วมือออกจากผ้ากัมพล
ทำให้ผ้ากัมพลตกลงใกล้เท้าของพระเถระ พวกญาติจึงพูดขึ้นว่า
... ผ้านี้อันบุตรของพวกข้าพเจ้าถวายแล้ว จงเป็นอันบริจาคแล้วเถิด...

หลังจากนั้นต่อมาเมื่อทารกน้อยเจริญวัย อายุได้ ๗ ขวบ
จึงได้ขอบวชเป็นสามเณรใน สำนักของพระเถระ
และกลายเป็นผู้มีลาภมากอย่างน่าอัศจรรย์
จากผลแห่งการทำทานใน อดีตชาติเมื่อครั้งยังเป็นพราหมณ์ผู้ยากจนนั่นเอง ในครั้งหนึ่งชาวเมืองสาวัตถีทราบข่าวว่า สามเณรจะเข้าไปบิณฑบาต ได้พากันจัดเตรียมข้าวปลาอาหารและผ้าสาฎกไว้ถวายสามเณร
จำนวนมากถึง ๕๐๐ ผืน ในวันต่อมาก็ได้ตามมาถวายถึงวัดที่สามเณรพักอย
ู่ซึ่งไม่ไกลจากวิหารอีก ๕๐๐ ผืน เป็นหนึ่งพันผืน

วันหนึ่งในช่วงฤดูหนาว สามเณรได้เที่ยวจาริกไปในวัดต่างๆ
เห็นพวกภิกษุพากันนั่งผิง ไฟอยู่ จึงเรียนถามว่า
... ท่านขอรับ เหตุไรจึงนั่งผิงไฟ ทำไมไม่หาผ้ากัมพลมาห่ม...

พวกภิกษุกล่าวว่า... สามเณร เธอมีบุญมาก มีผู้ถวายผ้ากัมพล แต่พวกเราไม่มีเลย...

สามเณรได้ฟังดังนั้นจึงคิดหาผ้ากัมพลมาถวายภิกษุทุกรูป
โดยสามเณรและพวกภิกษุ ๑,๐๐๐ รูป ได้เดินไปตามหมู่บ้าน
มีชาวบ้านนำผ้ากัมพลมาถวายถึง ๕๐๐ ผืน
และเมื่อเดิน เข้าไปในตลาดก็มีพ่อค้าแม่ค้าเอาผ้ากัมพลมาถวายอีก ๕๐๐ ผืน

ในขณะที่สามเณรพาภิกษุเดินไปตามตลาดอยู่นั้น
มีชายตระหนี่คนหนึ่ง เมื่อรู้ว่าสามเณร และพวกภิกษุเดินมาทางบ้านของตัวเอง จึงเอาผ้ากัมพลสองผืนซ่อนไว้ เพราะกลัวว่าเณรจะขอ
แต่พอสามเณรเดินมาถึงหน้าบ้าน เขาได้เห็นสามเณรก็เกิดความรักขึ้นมา
ราวกับว่าสามเณร น้อยเป็นบุตรของตน เขาจึงคิดว่า เราจะให้สามเณรนี้ทุกอย่าง แล้วจึงไปเอาผ้ากัมพลสองผืนมาวางไว้แทบเท้าถวายแก่สามเณร
แล้วกล่าวว่า ... ท่านเจ้าข้า ขอผมพึงมีส่วนแห่งธรรมที่ท่านเห็นแล้ว...

สามเณรได้ทำอนุโมทนาแก่เขาว่า... จงสำเร็จอย่างนั้นเถิด...

หลังจากได้ผ้าครบแล้ว สามเณรจึงได้นำมาถวายแก่พระภิกษุทุกรูปตามที่ตั้งใจไว้ ต่อมาสามเณรรูปนี้ได้ไปปฏิบัติธรรมอยู่ในป่าแห่งหนึ่ง
ชาวบ้านบริเวณนั้นก็ให้ความอุปถัมภ์บำรุง เป็นอย่างดีเช่นเคย และในสามเดือนต่อมาสามเณรก็ได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ในที่สุด

.........
จะเห็นได้ว่า สามเณรนั้นตอนที่ยังเป็นพราหมณ์ผู้ยากจน ได้ถวายสิ่งของเพียงเล็กน้อย แต่ผลบุญที่ได้นั้นมากมายยิ่งนัก
นั่นก็เพราะว่า ๑. ได้ทำบุญด้วยจิตที่เลื่อมใส
๒. ของที่ถวาย ก็ได้มาด้วยความบริสุทธิ์
๓. พระสงฆ์ที่รับก็เป็นผู้ที่มีศีลบริสุทธิ์
ทั้งสามองค์ประกอบนี้เป็น สิ่งสำคัญในการทำบุญตามหลักของพระพุทธศาสนา หากจะทำบุญให้ได้บุญมากนั้นต้องมีองค์ประกอบทั้งสามนี้ครบ
เพราะการจะได้บุญมากหรือน้อย ไม่ได้อยู่ที่จำนวนวัตถุสิ่งของ

นอกจากนั้นการทำบุญในพระพุทธศาสนานั้น ยังมีอีกหลายวิธีที่ทำให้ผู้ทำบุญได้บุญมาก โดยไม่ต้องใช้วัตถุสิ่งของใดๆเลย เพียงแต่ต้องลงมือปฏิบัติด้วยตัวเองเท่านั้น
เช่น การทำบุญด้วยการรักษาศีล
ทำบุญด้วยการเจริญภาวนา
ทำบุญด้วยการประพฤติถ่อมตนต่อผู้ใหญ่
ทำบุญด้วยการขวนขวายช่วยเหลือผู้อื่น
ทำบุญด้วยการให้ส่วนบุญแก่ผู้อื่น
ทำบุญด้วยการอนุโมทนาในบุญที่ผู้อื่นทำ ทำบุญด้วยการฟังธรรม ทำบุญด้วยการบอกธรรมะแก่ผู้อื่น
และทำบุญด้วยการทำความเห็นให้ตรง
วิธีต่างๆ ทั้งหมดนี้ เรียกว่า บุญกิริยาวัตถุ เป็นหลักการทำบุญในพระพุทธศาสนา ซึ่งผู้ที่ไม่มีเงินทอง วัตถุสิ่งของอะไร ก็สามารถทำบุญได้
และเป็นบุญที่ให้ผลบุญมากๆ เช่นเดียวกัน

(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 86 ม.ค. 51 โดยมาลาวชิโร)
คัดลอกจาก... //www.manager.co.th/Dhamma/ViewNews.aspx?NewsID=9510000001018
ที่มา :เว็บไซด์ธรรมะไทย dhammathai


Create Date : 28 มีนาคม 2551    
Last Update : 17 พฤษภาคม 2551 22:45:19 น.
Counter : 870 Pageviews.  

รุ่นแรก ! วัดสวนแก้ว









 









รุ่นแรก ! วัดสวนแก้ว





นอกจากออกเหรียญหล่อ-ปั๊ม วงการพระเล่นกันราคาแสนแพง หลวงพ่อแก้ว วัดพวงมาลัย...สมุทรสงคราม ท่านยังออกตะกรุดใบลาน ขึ้นชื่อว่าอยู่ยงคงกระพัน

ตะกรุดขลังได้เพราะลงยันต์ เมื่อหลวงพ่อเลือกใช้ใบลาน จากย่านวัดบางปืนลงยันต์ ลูกศิษย์ลูกหาจึงเชื่อกันว่า เป็นตะกรุดหยุดลูกปืน

วัดพวงมาลัย เป็นวัดใหญ่อยู่ริมแม่น้ำแม่กลองเริ่มจากปากอ่าวเลยตลาดแม่กลองไปหน่อยเดียว แต่วัดบางปืนแยกไปอยู่ในคลองแม่กลอง...

ไม่ไกลกันนัก ก็มีวัดสวนแก้ว
ไม่เคยมีประวัติว่า สมภารรูปไหนออกพระเครื่องของขลัง คนในวงการพระเครื่องรู้กันว่า วัดสวนแก้วเป็นเจ้าของกรุพระพิมพ์กลีบบัวพิมพ์เล็ก ที่นำมาจากวัดสามปลื้ม กรุงเทพฯ

นักเล่นรุ่นนี้ เล่นกันเป็นวัดสามปลื้ม ลืมชื่อวัดสวนแก้วไปแล้ว
ผมนึกถึงวัดสวนแก้ว ริมคลองแม่กลอง เมื่ออ่านข่าว พระราชธรรมนิเทศ หรือพระพยอม หลวงพ่อวัดสวนแก้ว นนทบุรี ริเริ่มสร้างวัตถุมงคล รุ่นแรก เป็นสายรัดข้อมือยาง

หลวงพ่อพยอมบอกว่า วัดสวนแก้วอุปการะเด็กกำพร้าไว้หลายร้อยคน จำเป็นต้องหาทุน เมื่อเห็นว่าวัยรุ่นกำลังนิยมริสต์แบนด์เป็นแฟชั่น ท่านก็เกิดความคิดว่า น่าจะหาอะไรให้วัยรุ่นติดข้อมือบ้าง

ริสต์แบนด์ของหลวงพ่อพยอม ไม่ได้ปั๊มคำภาษาอังกฤษ ลีฟสตรอง สัญลักษณ์ แลนซ์ อาร์มสตรอง แชมป์จักรยานทางไกลที่รณรงค์ต่อต้านโรคมะเร็ง แต่ปั๊มคำว่า พระพยอม คำว่า..ศาสนา

และคำว่า ๙ ดี
คำ "๙ ดี" หลวงพ่อพยอมให้ความหมาย ให้ผู้สวมใส่ก้าวไปในทางที่ดี หรือ สุคโต ที่แปลว่า "ไปด้วยดี" ไม่ใช่ก้าวไปติดอยู่ในบ่วงของอบายมุข

ท่านหวังไกล..อยากให้เกิดกระแสการสวมใส่ สายรัดข้อมือ ๙ ดี เพื่อก้าวไปสู่ที่ดีๆ
เมื่อใดที่ผู้สวมก้าวไปในทางที่ไม่ถูกไม่ควร เหลือบเห็นคำว่า ๙ ดี ที่ข้อมือ แล้วเกิดความละอายใจ คิดถึงพ่อแม่ ถอยหลังกลับมาสู่หนทางที่ถูกต้อง ก็แสดงว่า ความขลังของคำ ๙ ดี ...มีผลแล้ว

หลวงพ่อพยอมยืนยันตลอดมา วัดสวนแก้วไม่เคยทำพิธีปลุกเสกพระเครื่องของขลัง แต่สายรัดข้อมือรุ่นแรกรุ่นนี้ ท่านก็อธิษฐานจิตให้ทุกคนที่ใส่ไม่ตกไปอยู่ในที่ชั่ว

"ริสต์แบนด์ฝรั่งขายหาเงินต้านมะเร็ง แต่ริสต์แบนด์ของอาตมาออกมาขายต้านความโง่"

นี่คือวัตถุเตือนสติ..ดีกว่าทำปลัดขิก หรือเครื่องรางรูปหน้าเกลียดที่สวมใส่แล้วงมงาย หวังพึ่งความศักดิ์สิทธิ์ หวังรวยกับการเสี่ยงโชคแทนที่จะบังคับใจให้ไกลความชั่ว ตั้งใจทำมาหากินสุจริต

คิดดี ทำเรื่องดี แต่ความแปลกแปร่งจากค่านิยมประเพณีวัดทั่วไป หลวงพ่อพยอมท่านก็ยังกังวล..ท่านปรารภว่า ใครจะวิพากษ์วิจารณ์อย่างไร อาตมาขอน้อมรับผิด

ผมก็ถือโอกาสนี้ วิจารณ์หลวงพ่อ ตั้งแต่ฟังข่าวพระเครื่องของขลังมา ผมเห็นว่า สายรัดข้อมือรุ่นแรกวัดสวนแก้ว เป็นวัตถุมงคล..ที่เป็นมงคลบริสุทธิ์..แท้จริง..รุ่นเดียว

ความเป็นเป็นมงคล..จาก..การไม่คบคนพาล การคบบัณฑิต การบูชาคนที่ควรบูชา อยู่ในถิ่นที่มีสิ่งแวดล้อมดี..นี่คือสี่ข้อแรก ของมงคลสูงสุด ๓๘ ประการ ที่พระพุทธเจ้าสอน พระก็พร่ำสวด

ส่วนการทำพระเครื่องของขลัง เช่นรุ่นขุนแผนกุมารทอง อะไรนั่น...หลักวินัย ท่านเรียกว่าเดรัจฉานวิชา วิชาที่สอนให้คนโง่..ยิ่งโง่ต่อไป ..ไม่เป็นมงคล ไม่ใช่วัตถุมงคล

คัดลอก : หนังสือ ชักธงธรรม หน้า ๑๖๙








Create Date : 15 มีนาคม 2551    
Last Update : 17 พฤษภาคม 2551 22:45:59 น.
Counter : 872 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  

lcelcy
Location :
ชลบุรี Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




มิถุนายน เดือนดี๊ดี " จุดกำเนิด iceicy's blog Dhamma"
ครบรอบ ๗ ปี แล้วค่ะ"

คนมาจากไหน?
เริ่มจาก เกิด แก่ เจ็บ และก็ตาย
คนก็หายไป !!...แต่ความดีไม่เคยหายไปด้วย..
ทุกคนจำวันเกิดตัวเองได้ไหม... ก็คงจำได้กันหมดอะน่ะ
เคยคิดจะทำอะไรดีดี....
ให้กับตัวเองและคนอื่น..ในวันครบรอบวันเกิดของตัวเองไหมค่ะ?

ตั้งแต่เดือนมิถุนายน ปีพ.ศ. ๒๕๔๙ (๗ ปีได้ผ่านมาแล้ว)
ฉันได้ทำสิ่งที่ชอบ และชอบในสิ่งที่ฉันได้ทำ
สิ่งนั้น คือ " บล๊อกเกี่ยวกับหลักธรรมข้อคิดต่างๆ "
เริ่มจากทำไม่เป็น ลองผิดลองถูก ทำจนสำเร็จ
ทั้งนี้ ขอขอบพระคุณ " กำลังใจ " คนรอบข้าง
และทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยม iceicy's blog Dhamma น่ะค่ะ
(ซึ้งน่ะซึ้งน่ะเนี่ย!!!!)
<

วัตถุประสงค์ iceicy blog Dhamma
1. เพื่อเผยแพร่และสนับสนุนส่งเสริมพระพุทธศาสนาให้อยู่คู่กับประเทศไทย
2. เพื่อนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ประโยชน์ในทางพระพุทธศาสนา
3. เพื่อแบ่งปันความรู้ทางพระพุทธศาสนา และแลกเปลี่ยนข่าวสารทั่วไป
4. สรรเสริญบุคคลที่ควรสรรเสริญ ยกย่องบุคคลที่ควรยกย่อง

Google



Link to us:
ท่านสามารถนำ code ของ banner นี้
ไปติดที่เว็บของท่านได้ตามสะดวกน่ะค่ะ
ขอขอบคุณและขออนุโมทนามา ณ ที่นี้ด้วยน่ะค่ะ

Iceicy blog dhamma



New Comments
Friends' blogs
[Add lcelcy's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.