"เรื่อง ลูกนกแขกเต้า" พระไตรปิฏก (ฉบับทางพ้นทุกข์)
|
"แผนที่ชีวิต"

แผนที่ชีวิต การเดินทางต้องมีแผนที่ฉันใด การดําเนินชีวิตก็ต้องมีแผนที่ประกอบฉันนั้น
มนุษย์ หมายถึง สัตว์ที่รู้จักใช้เหตุผล สัตว์ที่มีจิตใจสูง หรือ คน สติ คือ ความระลึกได้ นึกได้ ความไม่เผลอ สัมปชัญญะ ความรู้ชัดเข้าใจชัดต่อสิ่งที่คิด และนึกได้ หิริ ความละอายต่อการทําความชั่ว โอตตัปปะ ความเกรงกลัวต่อการกระทําความชั่ว เทวดา ผู้มีบุญ ผู้ที่ประกอบกรรมดี บุคคลจึงสามารถเป็นเทวดาได้ตั้งแต่ชาตินี้ และชาติถัดไป คหบดี บุคคลผู้ใช้ความเพียรประกอบกิจการงาน สามารถสร้างเนื้อสร้างตัวจนมีฐานะเป็นปึกแผ่นมั่นคง มีความเป็นอยู่ดี หรือเป็นผู้มีอันจะกิน สมถกรรมฐาน การกําหนดจิตใจให้สงบ จนเกิดความสงบ และเป็นสุข วิปัสสนากรรมฐาน การกําหนดจิตให้สงบด้วยปัญญา จนจิตเข้าถึงญาณ ซึ่งก่อให้เกิดความสามารถทางจิตในระดับต่าง ๆ เห็นการเกิดดับของรูปนาม ความจริงของสิ่งทั้งปวง เป็นทางสายเอก
ศีล 5
ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม ไม่พูดปด พูดเพ้อเจ้อ พูดเลื่อนลอย พูดไร้สาระ ไม่เสพของมึนเมา เช่น บุหรี่ สุรา ยาเสพติด ไม่เล่นการพนัน อบายมุข 6
ดื่มน้ำเมา สูบบุหรี่ เสพยาเสพติด เที่ยวกลางคืน เที่ยวดูการเล่น เล่นการพนัน คบคนชั่วเป็นมิตร เกียจคร้านทําการงาน
อาชีพ 5 ชนิด ที่ควรหลีกเลี่ยง
การค้าศาสตราอาวุธ แห อวน เครื่องประหัตประหาร การค้ามนุษย์ การค้าสัตว์เป็นสําหรับฆ่าเป็นอาหาร การค้าน้ำเมา บุหรี่ ฝิ่น กัญชา ยาบ้า เฮโรอีน การค้ายาพิษ ยาฆ่าแมลง
กรรมดี หรือกุศลกรรมบท 10
เว้นจากการฆ่าสัตว์ เว้นจากการลักทรัพย์ เว้นจากการประพฤติผิดในกาม เว้นจากการพูดเท็จ เว้นจากการพูดส่อเสียด เว้นจากการพูดหยาบ เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ เว้นจากการโลภอยากได้ของเขา เว้นจากการพยาบาทปองร้าย เว้นจากการเห็นผิดทํานองคลองธรรม
ทางดําเนินชีวิตอันประเสริฐ 8 ประการ (มรรคมีองค์ 8)
ความคิดชอบ ความดําริชอบ วาจาชอบ เพียรชอบ ประกอบการงานชอบ เลี้ยงชีพชอบ ระลึกชอบ (สติชอบ) ตั้งจิตมั่นชอบ (สมาธิชอบ)
อิทธิบาท 4 ทางแห่งความสําเร็จ 4 ประการ ได้แก่
ฉันทะ ความรักใคร่ พอใจในสิ่งที่กระทํา วิริยะ ความพากเพียร จิตตะ ความฝักใฝ่เอาใจใส่ วิมังสา การหมั่นไตร่ตรองในสิ่งที่กระทํา (ใช้ปัญญา)
บุญกิริยาวัตถุ 10 การกระทําต่าง ๆ ที่ทําให้พ้นภัยอันตราย ประสบความสุข และเป็นปัจจัยให้ถึงนิพพาน
ทาน คือ การให้ของที่ควรแก่คนที่ควรจะได้รับ เช่น การให้สิ่งของ เงิน ทอง อาหาร ที่อยู่อาศัย ให้อภัย ให้วิชาความรู้ ให้ธรรมะ ศีล คือ การตั้งอยู่ในศีลอย่างเคร่งครัด (อย่างน้อยศีล 5) ภาวนา คือ การแผ่เมตตา กําหนดลมหายใจ เดินจงกรม เจริญกรรมฐาน อุปายนะ คือ อ่อนน้อมถ่อมตนแก่ผู้มีวุฒิ วัยวุฒิ เวยยาวัจจะ คือ ช่วยเหลือการงาน ปัตติทานะ คือ แผ่นส่วนบุญให้เพื่อนมนุษย์ มาร เทวดา พรหม ปัตตานุโมทนา คือ อนุโมทนากับความดีของผู้อื่นโดยไม่ลังเล ธรรมสวนะ คือ การได้ฟังธรรมเสมอ ๆ ธรรมเทศนา คือ แนะนําข้อธรรมที่ได้ฟัง หรือศึกษามาแก่ผู้อื่น ทิฏฐชุกัมมะ คือ อบรมความเห็นของตนให้ถูกกับหลักธรรมในพุทธศาสนา ด้วยการศึกษาเล่าเรียน
กฏแห่งโลกียวิสัย
สรรพสิ่งทั้งหลาย เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป สรรพสิ่งทั้งหลาย ขึ้นอยู่กับกาลเวลา ระยะทาง และแรงงาน สรรพสิ่งทั้งหลาย ประกอบด้วยทุกขัง อนิจจัง อนัตตา สรรพสิ่งทั้งหลาย ประกอบด้วยการเสพ ย่อย ถ่าย สรรพสิ่งทั้งหลาย ประกอบด้วยอัตตา อารมณ์ อุปาทาน สรรพสิ่งทั้งหลาย ประกอบด้วยจิต สังขาร และวิญญาณ สรรพสิ่งทั้งหลาย ประกอบด้วยการหา ใช้ เหลือ และเจือจาน
หัวใจเศรษฐี หรือทิฐธัมมิกัตถะประโยชน์
อุฎฐานสัมปทา การถึงพร้อมด้วยความขยันหมั่นเพียร อารักขสัมปทา การถึงพร้อมด้วยการรักษาทรัพย์ที่หามาได้ กัลยาณมิตตตา ความมีเพื่อนเป็นคนดี สมชีวิตตา การเลี้ยงชีพตามสมควรแก่ทรัพย์ที่หามาได้
ทางแห่งความจน
เกิดจากความเกียจคร้าน เกิดจากไม่รู้จักรักษาทรัพย์ เกิดจากมีมิตรชั่ว เกิดจากการไม่รู้จักใช้จ่ายทรัพย์ของตน
ทางแห่งความร่ำรวย
ขยันทํางาน รักษาทรัพย์ไว้ให้ปลอดภัย เลือกคบแต่คนดีมีปัญญา เข้าใจใช้จ่ายทรัพย์ของตน การดําเนินชีวิตด้วยความไม่ประมาท
สติสัมปชัญญะ + ศีล 5 + มรรคมีองค์ 8 + อิทธิบาท 4 + กุศลกรรม 10 + บุญกริยาวัตถุ 10
อ้างอิง:www.thaidev.com
Create Date : 31 สิงหาคม 2549 | | |
Last Update : 17 พฤษภาคม 2551 23:01:52 น. |
Counter : 876 Pageviews. |
| |
|
|
|
|
ในขัตติยสูตร(๑๕/๑๐) "ลูกคนใด เป็นลูกที่เชื่อฟัง..., "เป็นลูกที่ประเสริฐสุดกว่าลูกทั้งปวง"
วิธีดับทุกข์ เพราะ...ลูก
ในขัตติยสูตร(๑๕/๑๐) พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ว่า "ลูกคนใด เป็นลูกที่เชื่อฟัง....ลูกคนนั้น นับว่าเป็นลูก ที่ประเสริฐสุดกว่าลูกทั้งปวง"
"ความคิดและการกระทำของพ่อแม่ในยุคปัจจุบัน มักมุ่งแต่จะหาเงินไว้ให้ลูก หวังให้ลูกเรียนเก่ง เรียนสูง ทำงานเบา ทำงานมีเกียรติ ได้เงินเดือนสูง ร่ำรวย..."
"ส่วนมากจะไม่สนใจคุณธรรมในตัวของลูกเลย ผลก็คือ พ่อแม่ส่วนมากในยุคนี้ ต้องผิดหวังน้ำตาตก เป็นโรคประสาท ทั้งที่มีเงินทองเหลือล้น " ดังพุทธภาษิต ( นันทิสูตร ๑๕/๙) ว่า"คนมีลูก ย่อมเสียใจเพราะลูก..คนมีวัว ก็ย่อมเสียใจเพราะวัวเหมือนกัน"
"เพราะลูกในยุคปัจจุบัน พากันเป็น "ลูกบังเกิดเกล้า" กันเป็นส่วนมากเสียแล้ว ต้นเหตุ ก็เกิดจากการ "เลี้ยงลูกไม่ถูกวิธี" นั่นเอง คือ มักตามใจลูกในทางผิดๆ เช่น ถนอมลูก ไม่ยอมให้ลูกทำอะไรเลย มีพ่อแม่หรือมีคนรับใช้ทำให้เสร็จ ลูกอยากได้อะไรก็ให้ อยากได้เงินเท่าไหร่ก็ตามใจ ประเคนให้ ตามใจลูกทุกสิ่ง ผลหรือ ? ลูกก็เลยกลายเป็นลูกเทวดา ปรารถนาอะไรก็ได้ดั่งใจ กลายเป็นคนเห็นแก่ตัวจัด ใช้เงินเก่ง ไม่เห็นคุณค่าของเงินทำอะไรเองก็ไม่เป็น ตีนไม่ติดดิน เหยียบขี้ไก่ไม่ฝ่อ..."
"ทางที่ถูกนั้น "ควรมุ่งปลูกฝังคุณธรรม" หรือ ศีลธรรมลงในจิตใจของลูก เสียแต่เมื่อยังเล็กๆอยู่ เพราะเมื่อเด็กมีศีลธรรมหรือคุณธรรมในใจแล้ว ย่อมเป็นลูกที่มีกตัญญูกตเวทีต่อพ่อแม่ เคารพและเชื่อฟังพ่อแม่ ย่อมทำในสิ่งที่ดีงาม นำความชื่นใจและปลื้มใจมาให้พ่อแม่ เมื่อระลึกถึงเขา"
"แต่ถ้าลูกขาดคุณธรรมแล้ว ถึงจะมีความรู้วิชาชีพสูง ก็เอาตัวไม่รอด แม้พ่อแม่จะมีฐานร่ำรวย ลูกมันก้ผลาญหมด แต่ถ้าลูกเป็นคนดีถึงฐานะจะยากจน ลูกก็สร้างขึ้นมาได้"
"ถ้าไม่รีบปลูกฝังศีลธรรม ลงในตัวของลูกไว้แต่เล็กๆ แล้วโอกาสที่ลูกจะเป็นเด็กดีค่อนข้างยาก และจะยิ่งยากมากขึ้นทุกวัน ทั้งนี้เพราะวิทยาการทางวัตถุ ยิ่งเจริญมากขึ้นเท่าไร จิตใจของคนในโลกก็ยิ่งต่ำลง เห็นแก่ตัวมากขึ้น โหดร้ายมากขึ้น..."
"ต้นเหตุที่สำคัญ คือ ทุกคนต้องแข่งขันกันมีวัตถุให้มากขึ้น เพื่อส่งเสริมความสุขทางเนื้อหนัง การเอารัดเอาเปรียบกัน ก็ย่อมจะเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว.."
พ่อแม่ก็ต้องออกไปหาเงินเพื่อให้พอใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นตามจำนวนพลเมือง โอกาสที่จะเลี้ยงลูกเองแบบเก่าจึงไม่มี สายสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่กับลูก ก็ยิ่งจะห่างไกลออกไปทุกที"
ด้วยเหตุนี้เพื่อนจึงมีความสำคัญ ที่ลูกมักจะให้ความเชื่อถือมากกว่าพ่อแม่ เพราะพ่อแม่ที่ดีส่วนมาก มักจะไม่ตามใจลูกในทางที่ผิดเมื่อเห็นลูกทำผิด ก็มักจะตักเตือนหรือดุด่า จนถึงเฆี่ยนตี เป็นต้น
ตรงกันข้ามกับเพื่อน มีแต่คำหวาน ตามอกตามใจแม้ในสิ่งที่ผิดๆ ลูกจึงมักจะรักเพื่อนมากกว่าพ่อแม่ คนเราเมื่อรักกันแล้วก็ย่อมจะต้องถนอมน้ำใจกัน ก็มักพยายามทำอะไรๆ ตามที่เพื่อนชอบหรือขอร้อง
"จุดมืดหรือจุดสว่างของลูก จึงอยู่ตรงนี้เอง ถ้าคบกับเพื่อนที่ดีก็เป็นบุญตัว ถ้าคบเพื่อนชั่ว ก็พาตัวพินาศเสียอนาคต กว่าจะรู้สึกตัว ก็หมดโอกาสเสียแล้ว"
"สาเหตุอีกประการหนึ่ง ที่ลูกๆ ไม่ให้ความเคารพหรือเชื่อฟังพ่อแม่ก็เกี่ยวกับการประพฤติตัวของพ่อแม่เอง เช่น"
๑. ไม่ให้ความอบอุ่นกับลูก ถือว่ามีเงินให้ใช้ มีข้าวให้กินอิ่มท้องก็เป็นบุญแล้ว ลืมไปว่าคนเรา มีทั้งกายและใจ การให้อาหารก็ควรให้ให้ครบ คือให้ทั้งอาหารกายและอาหารใจ
๒.ทำตัวอย่างที่ไม่ดี
เช่น ติดเหล้า ติดการพนัน ติดผู้หญิง (เมียเก็บ-เมียเช่า) โกง หากินทางผิดกฎหมาย หรือเอาเปรียบสังคมฯ
๓.ถืออารมณ์มากกว่าเหตุผล เมื่อลูกทำผิดเล็กน้อย ก็ถือว่าเป็นเรื่องใหญ่โตคอขาดบาดตาย ใช้อารมณ์ ใช้อำนาจเข้าข่ม ก็จะเอาชนะได้ก็แต่กาย แต่หาได้ชนะจิตใจลูกไม่
๔.รักลูกตามอารมณ์ คือ ต้องการให้ลูกทำอย่างนั้น ทำอย่างนี้ เช่น ต้องเรียนวิชานั้น ต้องทำงานอย่างนี้ ทำเหมือนลูกไม่มีหัวใจ เหตุเพียงเพราะพ่อหรือแม่ชอบ เป็นต้น
๕.จู้จี้ขี้บ่น ทุกคนไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ ย่อมไม่ชอบคนจู้จี้ขี้บ่นด้วยกันทั้งสิ้น คนฟังมักรำคาญ ส่วนคนบ่นมักไม่รำคาญ พ่อแม่ที่อยากให้ลูกๆ อยู่ใกล้ชิน ควรจะระวังข้อนี้ไว้ด้วย
๖.เลี้ยงลูกให้ขี้เกียจ คือ กลัวลูกจะเหนื่อยจะลำบาก เลยทำอะไรๆ แทนเสียหมด ลูกจะทำก็กลัวเสียของ ลูกก็เลยทำอะไรไม่เป็นบางคนโตจนเป็นหนุ่มเป็นสาวแล้ว ซักผ้าของตัวเองก็ไม่เป็น หุงข้าวก็ไม่สุก..ก็เลยกลายเป็น "เลี้ยงลูกไม่ให้โต" ไป
การหาเงินหรือมีเงิน เป็นของดีควรทำ แต่เงินก็เป็นของกลางๆเป็นสมบัติกลาง ถ้าคนดีก็ใช้เงินให้เป็นคุณ ถ้าคนชั่วก็จะใช้เงินให้เป็นโทษ
ดังนั้น พ่อแม่ที่ดี จึงไม่ควรจะงมโข่ง ก้มหน้าหาแต่เงินลูกเดียว จนลืมปลูกฝังคุณธรรมลงในจิตใจลูก เพราะถ้าลูกมันชั่วแล้วเงินร้อยล้านพันล้าน มันก็ผลาญหมดในไม่ช้า แถมพาตัวเขาให้พินาศด้วย
"การเลี้ยงลูกที่ดี ควรใช้หลัก ๔ ข้อ คือ -แม่น้ำ - ลูกยอ - กอไผ่- ใส่เตา"
๑.แม่น้ำ คือ เอาน้ำเย็นเข้าปลอบ พูดจาด้วยภาษาดอกไม้ เชื่อเถอะ! จิตใจของคนเรามิได้สร้างด้วยหินดอก เมื่อลูกรู้ว่ายังมีคนรักและเมตตาเขาด้วยความจริงใจ ด้วยเหตุผลและความเป็นจริง ไม่ใช้อารมณ์ เขาก็ย่อมจะเชื่อฟังบ้าง
๒.ลูกยอ คือ ใช้วิธียกย่องชมเชย ในสิ่งที่ลูกมีและทำได้ ให้กำลังใจในการทำความดี ถ้าถลำทำชั่วก็ขอให้กลับตัวใหม่ อย่าประณามกันรุนแรง คนเราทำผิดกันได้ เมื่อผิดแล้วก็ต้องยอมรับ และต้องกลับตัว จึงจะถือว่ามีเชื้อของบัณฑิต
๓.กอไผ่ คือ การใช้เรียวไผ่หวดก้น เมื่อใช้ไม้นวมมาสองขั้นไม่สำเร็จ ก็จะต้องใช้ไม้แข็งกันบ้าง แต่ระวัง ต้องตีด้วยเหตุผลและความเป็นจริง อย่าได้เผลอใส่อารมณ์(โกรธ) บวกเข้าไปเป็นอันขาด ความหวังดีจะกลายเป็นร้ายไปทันที
๔.ใส่เตา คือ การเผาหรือฌาปนกิจ เมื่อ ๓ ขั้นไม่สำเร็จ ก็ใช้ไม้สุดท้าย คือคิดว่า "เขาได้ตายจากเราไปแล้ว" ก็ควรจะเผาเขาไปเลย คือต้อง "ทำใจ" ให้ได้.. " ถ้าเขาเป็นลูกล้างลูกผลาญ ก็ขอให้จบกันเท่านี้ เขาจะขึ้นช้างลงม้า เข้าคุก ก็ปล่อยให้เป็นไปตามกรรมของเขาเถิด "
การทำใจในข้อนี้ ถ้าพ่อแม่มีธรรมะในใจต่ำ ก็จะทำไม่ได้ เพราะไม่อาจจะตัดใจได้ แต่ถ้าศึกษาธรรมะอย่างถูกวิธีแล้ว จะทำได้ง่ายมากนั่น คือ
๔.๑. ระลึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ว่า "ทุกคนมีกรรมเป็นของตนเอง จะฝืนกฎแห่งกรรมไปหาได้ไม่"แม้แต่พระพุทธเจ้าเอง ท่านก็ทรงอยู่ภายใต้กฎแห่งกรรมเช่นกัน การที่เรามีลูกดี ระลึกถึงแล้วก็มีแต่ความชื่นใจและสบายใจก็เป็นเพราะผลของกุศลกรรม ที่เราทำไว้ ได้มาสนองเรา เกิดจากผลของกรรมดี
๔.๒.การที่เรามีลูกไม่ดี เกิดมาล้างผลาญ ก่อแต่ความทุกข์ และนำแต่ความเดือดร้อนมาให้ไม่รู้จักสิ้นสุดนั่นก็เป็นเพราะ ผลของอกุศลกรรมของเราเองทำไว้ และกำลังให้ผลเราอยู่
๔.๓.ทางที่ถูกต้อง เราไม่ควรจะตีโพยตีพาย ซึ่งจะไม่มีอะไรดีขึ้นเลย นอกจากจะเป็นโรคประสาทหรือเป็นบ้า ควรจะยอมรับความจริง แล้วปฏิบัติไปตามที่ถูกที่ควร ทำไม่ได้ก็วางอุเบกขา ถือว่า"เป็นกรรมของสัตว์"
๔.๔.อย่าไปคิดเปรียบเทียบว่า ลูกคนอื่นเขาไม่เหมือนลูกเรา ก็มัน"กรรมใครกรรมมัน" ต่างคนต่างทำ มันจะเหมือนกันได้อย่างไร? ถ้าเลือกได้ทุกคนก็เลือกเกิดเป็นราชา หรือเศรษฐีกันหมด ควรจะคิดในแง่ดี และในแง่ของความเป็นจริงว่า เราได้ชดใช้กรรมเก่าเสียแต่ในบัดนี้ก็เป็นการดีแล้ว จะได้หมดเวรหมดกรรมกันไปเสียที ชาติหน้าจะได้ไม่ต้องไปใช้เขาอีก คิดได้อย่างนี้ เราก็สบายใจ
พ่อแม่เลี้ยงลูกไม่ถูกวิธี หรือไม่อาจจะเลี้ยงได้ เพราะมีปู่ย่า ตายาย หรือญาติคอยให้ท้ายในทางที่ผิดๆ ลูกก็เลยเสียนิสัย ตามใจตัวเองและเห็นแก่ตัวจัด จนไม่อาจจะแก้ไขได้ ก็เป็นกรรมของลูกด้วย.
|
---|
Create Date : 25 สิงหาคม 2549 | | |
Last Update : 17 พฤษภาคม 2551 23:02:20 น. |
Counter : 822 Pageviews. |
| |
|
|
|
วิธีดับทุกข์ เพราะ..ลูก(ตอนจบ)
วิธีดับทุกข์ เพราะ...ลูก (ตอนจบ) ในขัตติยสูตร(๑๕/๑๐) พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ว่า"ลูกคนใด เป็นลูกที่เชื่อฟัง.ลูกคนนั้น นับว่าเป็นลูกที่ประเสริฐสุดกว่าลูกทั้งปวง"
บทความเดิม(ตอนที่ ๑) บ้างส่วนที่กล่าวไว้ว่า "ต้นเหตุที่สำคัญคือ ทุกคนต้องแข่งขันกันมีวัตถุให้มากขึ้น เพื่อส่งเสริมความสุขทางเนื้อหนัง การเอารัดเอาเปรียบกัน ก็ย่อมจะเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว"
"สาเหตุอีกประกานหนึ่ง ที่ลูกๆ ไม่ให้ความเคารพหรือเชื่อฟังพ่อแม่ก็เกี่ยวกับการประพฤติตัวของพ่อแม่เอง เช่น"
๑. ไม่ให้ความอบอุ่นกับลูก ถือว่ามีเงินให้ใช้ มีข้าวให้กินอิ่มท้องก็เป็นบุญแล้ว ลืมไปว่าคนเรา มีทั้งกายและใจ การให้อาหารก็ควรให้ให้ครบ คือให้ทั้งอาหารกายและอาหารใจ
๒.ทำตัวอย่างที่ไม่ดี เช่น ติดเหล้า ติดการพนัน ติดผู้หญิง (เมียเก็บ-เมียเช่า) โกง หากินทางผิดกฎหมาย หรือเอาเปรียบสังคมฯ
๓.ถืออารมณ์มากกว่าเหตุผล เมื่อลูกทำผิดเล็กน้อย ก็ถือว่าเป็นเรื่องใหญ่โตคอขาดบาดตาย ใช้อารมณ์ ใช้อำนาจเข้าข่ม ก็จะเอาชนะได้ก็แต่กาย แต่หาได้ชนะจิตใจลูกไม่
๔.รักลูกตามอารมณ์ คือ ต้องการให้ลูกทำอย่างนั้น ทำอย่างนี้ เช่น ต้องเรียนวิชานั้น ต้องทำงานอย่างนี้ ทำเหมือนลูกไม่มีหัวใจ เหตุเพียงเพราะพ่อหรือแม่ชอบ เป็นต้น
๕.จู้จี้ขี้บ่น ทุกคนไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ ย่อมไม่ชอบคนจู้จี้ขี้บ่นด้วยกันทั้งสิ้น คนฟังมักรำคาญ ส่วนคนบ่นมักไม่รำคาญ พ่อแม่ที่อยากให้ลูกๆ อยู่ใกล้ชิน ควรจะระวังข้อนี้ไว้ด้วย
๖.เลี้ยงลูกให้ขี้เกียจ คือ กลัวลูกจะเหนื่อยจะลำบาก เลยทำอะไรๆ แทนเสียหมด ลูกจะทำก็กลัวเสียของ ลูกก็เลยทำอะไรไม่เป็นบางคนโตจนเป็นหนุ่มเป็นสาวแล้ว ซักผ้าของตัวเองก็ไม่เป็น หุงข้าวก็ไม่สุก..ก็เลยกลายเป็น "เลี้ยงลูกไม่ให้โต" ไป
การหาเงินหรือมีเงิน เป็นของดีควรทำ แต่เงินก็เป็นของกลางๆเป็นสมบัติกลาง ถ้าคนดีก็ใช้เงินให้เป็นคุณ ถ้าคนชั่วก็จะใช้เงินให้เป็นโทษ
ดังนั้น พ่อแม่ที่ดี จึงไม่ควรจะงมโข่ง ก้มหน้าหาแต่เงินลูกเดียว จนลืมปลูกฝังคุณธรรมลงในจิตใจลูก เพราะถ้าลูกมันชั่วแล้วเงินร้อยล้านพันล้าน มันก็ผลาญหมดในไม่ช้า แถมพาตัวเขาให้พินาศด้วย
"การเลี้ยงลูกที่ดี ควรใช้หลัก ๔ ข้อ คือ -แม่น้ำ - ลูกยอ - กอไผ่- ใส่เตา"
๑.แม่น้ำ คือ เอาน้ำเย็นเข้าปลอบ พูดจาด้วยภาษาดอกไม้ เชื่อเถอะ! จิตใจของคนเรามิได้สร้างด้วยหินดอก เมื่อลูกรู้ว่ายังมีคนรักและเมตตาเขาด้วยความจริงใจ ด้วยเหตุผลและความเป็นจริง ไม่ใช้อารมณ์ เขาก็ย่อมจะเชื่อฟังบ้าง
๒.ลูกยอ คือ ใช้วิธียกย่องชมเชย ในสิ่งที่ลูกมีและทำได้ ให้กำลังใจในการทำความดี ถ้าถลำทำชั่วก็ขอให้กลับตัวใหม่ อย่าประณามกันรุนแรง คนเราทำผิดกันได้ เมื่อผิดแล้วก็ต้องยอมรับ และต้องกลับตัว จึงจะถือว่ามีเชื้อของบัณฑิต
๓.กอไผ่ คือ การใช้เรียวไผ่หวดก้น เมื่อใช้ไม้นวมมาสองขั้นไม่สำเร็จ ก็จะต้องใช้ไม้แข็งกันบ้าง แต่ระวัง ต้องตีด้วยเหตุผลและความเป็นจริง อย่าได้เผลอใส่อารมณ์(โกรธ) บวกเข้าไปเป็นอันขาด ความหวังดีจะกลายเป็นร้ายไปทันที
๔.ใส่เตา คือ การเผาหรือฌาปนกิจ เมื่อ ๓ ขั้นไม่สำเร็จ ก็ใช้ไม้สุดท้าย คือคิดว่า "เขาได้ตายจากเราไปแล้ว" ก็ควรจะเผาเขาไปเลย คือต้อง "ทำใจ" ให้ได้.. " ถ้าเขาเป็นลูกล้างลูกผลาญ ก็ขอให้จบกันเท่านี้ เขาจะขึ้นช้างลงม้า เข้าคุก ก็ปล่อยให้เป็นไปตามกรรมของเขาเถิด " การทำใจในข้อนี้ ถ้าพ่อแม่มีธรรมะในใจต่ำ ก็จะทำไม่ได้ เพราะไม่อาจจะตัดใจได้ แต่ถ้าศึกษาธรรมะอย่างถูกวิธีแล้ว จะทำได้ง่ายมากนั่น คือ ๔.๑. ระลึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ว่า "ทุกคนมีกรรมเป็นของตนเอง จะฝืนกฎแห่งกรรมไปหาได้ไม่"แม้แต่พระพุทธเจ้าเอง ท่านก็ทรงอยู่ภายใต้กฎแห่งกรรมเช่นกัน การที่เรามีลูกดี ระลึกถึงแล้วก็มีแต่ความชื่นใจและสบายใจก็เป็นเพราะผลของกุศลกรรม ที่เราทำไว้ ได้มาสนองเรา เกิดจากผลของกรรมดี ๔.๒.การที่เรามีลูกไม่ดี เกิดมาล้างผลาญ ก่อแต่ความทุกข์ และนำแต่ความเดือดร้อนมาให้ไม่รู้จักสิ้นสุดนั่นก็เป็นเพราะ ผลของอกุศลกรรมของเราเองทำไว้ และกำลังให้ผลเราอยู่ ๔.๓.ทางที่ถูกต้อง เราไม่ควรจะตีโพยตีพาย ซึ่งจะไม่มีอะไรดีขึ้นเลย นอกจากจะเป็นโรคประสาทหรือเป็นบ้า ควรจะยอมรับความจริง แล้วปฏิบัติไปตามที่ถูกที่ควร ทำไม่ได้ก็วางอุเบกขา ถือว่า"เป็นกรรมของสัตว์" ๔.๔.อย่าไปคิดเปรียบเทียบว่า ลูกคนอื่นเขาไม่เหมือนลูกเรา ก็มัน"กรรมใครกรรมมัน" ต่างคนต่างทำ มันจะเหมือนกันได้อย่างไร? ถ้าเลือกได้ทุกคนก็เลือกเกิดเป็นราชา หรือเศรษฐีกันหมด ควรจะคิดในแง่ดี และในแง่ของความเป็นจริงว่า เราได้ชดใช้กรรมเก่าเสียแต่ในบัดนี้ก็เป็นการดีแล้ว จะได้หมดเวรหมดกรรมกันไปเสียที ชาติหน้าจะได้ไม่ต้องไปใช้เขาอีก คิดได้อย่างนี้ เราก็สบายใจ
พ่อแม่เลี้ยงลูกไม่ถูกวิธี หรือไม่อาจจะเลี้ยงได้ เพราะมีปู่ย่า ตายาย หรือญาติคอยให้ท้ายในทางที่ผิดๆ ลูกก็เลยเสียนิสัย ตามใจตัวเองและเห็นแก่ตัวจัด จนไม่อาจจะแก้ไขได้ ก็เป็น กรรมของลูกด้วย.
|
---|
Create Date : 03 สิงหาคม 2549 | | |
Last Update : 6 มิถุนายน 2551 14:35:27 น. |
Counter : 1312 Pageviews. |
| |
|
|
|
| |
|
|