|
"ราหูอมจันทร์" คืนนี้ วันพฤหัสบดีที่ ๗ กันยายน พ.ศ.๒๕๔๙

ราหูอมจันทร์
เรื่องราหูอมจันทร์เป็นเรื่องราวที่ชาวบ้านรู้จักกันดี ถึงเวลาเช่นนั้นทุกคนต่างเอาใจช่วยพระจันทร์กันทั้งนั้น ต่างเกลียดพระราหูยิ่งนัก เหตุการณ์เช่นนี้ปรากฎการณ์ตามธรรมชาติ ที่เรียกว่า จันทรุปราคา ชาวบ้านเรียก จันทร์อังคาด ตำนานมีว่า พระราหูกับพระจันทร์และพระอาทิตย์มีเรื่องโกรธเคืองกันอยู่ คือเมื่อครั้งเทวดากวนน้ำอมฤต คราวนั้นเทวดาพยายามกีดกันไม่ให้พวกอสูรได้ดื่มน้ำอมฤต แต่พระราหูซึ่งมีกำเนิดเป็นอสูรตระกูลแทตย์ได้ปลอมตัวเป็นเทวดา และได้เล็ดลอดเข้าไปดื่มน้ำอมฤตนั้นได้สำเร็จ ฝ่ายพระอาทิตย์และพระจันทร์ ซึ่งเป็นเทวดาอยู่ในที่ประชุม เห็นพระราหูละลาบละล้วงเช่นนั้น จึงทูลพระนารายณ์ให้ทรงทราบ พระนารายณ์กริ้วจึงเอาจักรขว้าง ถูกราหูขาดสองท่อนแต่ก็ไม่ตาย เพราะได้ดื่มน้ำอมฤตเข้าไปแล้ว ท่อนหัวกลายเป็นพระเกตุ (ตำนานว่าพระเกตุมีลูกเป็นดาวหางและผีพุ่งใต้) ตั้งแต่นั้นมา พระราหูประกาศเป็นศัตรูกับพระจันทร์และพระอาทิตย์ทันที คือพระราหูคอยจับพระจันทร์และพระอาทิตย์กินหรืออมไว้เพื่อเป็นการแก้แค้น ถ้าอมพระจันทร์เราเรียกว่าจันทรุปราคา ถ้าอมพระอาทิตย์เราเรียกว่าสุริยุปราคา ชาวบ้านเรียก "มีสูรย์มีจันทร์" หรือ "จัทนคราส สุริยคราส" รูปพระราหูเท่าที่จิตรกรเขียนกันนั้น เขียนเป็นหน้าแทตย์ที่ดุร้าย หางเป็นนาค สีกายดำหลัวๆ แต่ที่เขียนเป็นรูปยักษ์ครึ่งตัว สีเขียวกำลังอมพระจันทร์ก็มี ส่วนคติข้างพระพุทธศาสนา ก็มีประวัติแห่งความเป็นศัตรูระหว่างพระราหูกับพระจันทร์อยู่เหมือนกัน ตำนานว่าสมัยหนึ่ง เศรษฐีชื่อ หัสวิสัย มีบุตร ๓ คน เมื่อคราวทำบุญให้บิดา บุตรทั้งสามทำบุญตักบาตรกัน บุตรคนใหญ่เอาขันทองมาใส่ บุตรคนรองเอาขันเงินมาใส่ บุตรคนสุดท้ายแย่งไม่ทันเลยต้องเอากระทายมาใส่ เป็นเหตุให้น้องคนสุดท้องโกรธพี่ทั้งสองมาก ยิ่งกว่านั้นเมื่อตั้งสัตย์อธิษฐาน พี่ชายทั้งสองก็แย่งตำแหน่งดีๆ ไปเสียเกือบหมด คือคนหัวปีอธิษฐานขอเป็นพระอาทิตย์ พี่คนรองขอเป็นพระจันทร์ น้องสุดท้ายคิดไม่ทันเขาอีกก็โกรธ เลยขออธิษฐานเป็นพี่ชายของพระอาทิตย์และพระจันทร์เสียเลย ให้มีร่างกายใหญ่โตปิดบังแสงพระอาทิตย์แสงพระจันทร์ได้ ครั้นสามพี่น้องตายลงต่างก็ไปเกิดตามที่ตนตั้งใจอธิษฐานไว้ น้องสุดท้องจึงไปเกิดเป็นพระราหู และคอยบังพระอาทิตย์ พระจันทร์เสมอมา นี่ก็เป็นตำราแห่งจันทรุปราคา และสุรยุปราคาอีกทางหนึ่ง.
ในโบราณกาล มนุษย์มีความหวาดกลัวต่อปรากฏการณ์เช่นนี้ในเวลาต่อมานักปราชญ์ได้ให้ความรู้แจ้งเห็นจริง ว่า สุริยุปราคา และจันทรุปราคา เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ มีขึ้นในโลกมาแล้วเป็นเวลาช้านาน เกิดเวลาดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และโลกอยู่ในที่อันเหมาะสมกัน
สุริยุปราคา (Solar Eclipse)
สุริยุปราคา หรือ สุริยะคราส เกิดจากการที่ดวงจันทร์โคจรผ่านหน้าดวงอาทิตย์ เราจึงมองเห็นดวงอาทิตย์ค่อยๆ แหว่งมากขึ้น จนกระทั่งมืดมิดหมดดวง และโผล่กลับมาอีกครั้ง คนในสมัยโบราณเชื่อว่า ราหูอมดวงอาทิตย์ สุริยุปราคาจะเกิดขึ้นเฉพาะในวันแรม 15 ค่ำ แต่ไม่เกิดขึ้นทุกเดือน เนื่องจากระนาบที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ และระนาบที่ดวงจันทร์โคจรรอบโลก มิใช่ระนาบเดียวกัน หากตัดกันเป็นมุม 5 องศา (ภาพที่ 1) ดังนั้นโอกาสที่จะเกิดสุริยุปราคาบนพื้นผิวโลก จึงมีเพียงประมาณปีละ 1 ครั้ง และเกิดไม่ซ้ำที่กัน เนื่องจากเงาของดวงจันทร์ที่ทาบไปบนพื้นผิวโลก ครอบคลุมพื้นที่ขนาดเล็ก และโลกหมุนที่รอบตัวเองอย่างรวดเร็ว
 ภาพที่ 1 ระนาบที่ดวงจันทร์โคจรรอบโลกทำมุม 5ฐ กับระนาบที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์
เงาของดวงจันทร์
ดวงจันทร์เคลื่อนที่บังแสงอาทิตย์ ทำให้เกิดเงาขึ้น 2 ชนิด คือ เงามืด และเงามัว เงามืด (Umbra) เป็นส่วนที่มืดที่สุด เนื่องจากดวงจันทร์บดบังดวงอาทิตย์จนหมดสิ้น ถ้าหากเข้าไปอยู่ ในเงามืด เราจะมิสามารถมองเห็นดวงอาทิตย์ได้เลย เงามัว (Penumbra) ไม่มืดมากนักเนื่องจากได้รับแสงเป็นบางส่วนจากอาทิตย์ ถ้าหากเราเข้าไปอยู่ ในเงามัว เราจะมองเห็นบางส่วนของดวงอาทิตย์โผล่พ้นส่วนโค้งของดวงจันทร์ออกมาก
 ภาพที่ 2 การเกิดสุริยุปราคา
สุริยุปราคา 3 ชนิด สุริยุปราคาเต็มดวง (Total Solar Eclipse) เกิดขึ้นเมื่อผู้สังเกตการณ์อยู่ในตำแหน่งเงามืดบนพื้นผิวโลก (A) ดวงจันทร์จะบังดวงอาทิตย์จนหมดสิ้น สุริยุปราคาบางส่วน (Partial Solar Eclipse) เกิดขึ้นเมื่อผู้สังเกตการณ์อยู่ในตำแหน่งของเงามัว (B) จึงมองเห็นดวงอาทิตย์เป็นสว่างเป็นเสี้ยว สุริยุปราคาวงแหวน (Annular Solar Eclipse) เนื่องจากวงโคจรของดวงจันทร์เป็นรูปวงรี บางครั้งดวงจันทร์อยู่ห่างจากโลกมากเสียจนเงามืดของดวงจันทร์จะทอดยาวไม่ถึงผิวโลก (C) ดวงจันทร์จะมีขนาดปรากฏเล็กกว่าดวงอาทิตย์ ทำให้ผู้สังเกตการณ์มองเห็นดวงอาทิตย์ปรากฏเป็นรูปวงแหวน
Create Date : 07 กันยายน 2549 |
Last Update : 7 กันยายน 2549 12:51:04 น. |
|
22 comments
|
Counter : 1283 Pageviews. |
 |
|
|
โดย: อัญชา วันที่: 7 กันยายน 2549 เวลา:9:03:55 น. |
|
|
|
โดย: LEE (lyfah ) วันที่: 7 กันยายน 2549 เวลา:11:46:02 น. |
|
|
|
โดย: 304 คอนแวนต์ (304 คอนแวนต์ ) วันที่: 7 กันยายน 2549 เวลา:15:14:44 น. |
|
|
|
โดย: เก่ง IP: 203.113.67.164 วันที่: 7 กันยายน 2549 เวลา:16:33:47 น. |
|
|
|
โดย: มหัศจรรย์จัง IP: 124.120.37.84 วันที่: 7 กันยายน 2549 เวลา:17:02:52 น. |
|
|
|
โดย: 123 IP: 125.25.60.129 วันที่: 12 กันยายน 2549 เวลา:23:31:22 น. |
|
|
|
โดย: 1230 IP: 125.25.60.129 วันที่: 12 กันยายน 2549 เวลา:23:34:42 น. |
|
|
|
โดย: สวยมาแว้ว IP: 58.181.189.143 วันที่: 13 กันยายน 2549 เวลา:20:38:00 น. |
|
|
|
โดย: มะนาว IP: 203.172.199.250 วันที่: 14 กันยายน 2549 เวลา:11:13:27 น. |
|
|
|
โดย: nook IP: 222.123.67.64 วันที่: 15 สิงหาคม 2550 เวลา:18:59:06 น. |
|
|
|
โดย: ต้นคุง IP: 58.9.111.197 วันที่: 10 กันยายน 2550 เวลา:19:44:44 น. |
|
|
|
โดย: ปังคุง IP: 125.27.48.166 วันที่: 4 ธันวาคม 2550 เวลา:21:47:04 น. |
|
|
|
โดย: อย่างเสือกใส่เกือก IP: 125.27.48.166 วันที่: 4 ธันวาคม 2550 เวลา:21:49:10 น. |
|
|
|
โดย: อย่าทำเกือกเดี๋ยวเสือก IP: 125.27.48.166 วันที่: 4 ธันวาคม 2550 เวลา:21:52:32 น. |
|
|
|
โดย: คนดี IP: 125.27.48.166 วันที่: 4 ธันวาคม 2550 เวลา:21:54:25 น. |
|
|
|
โดย: ดีดี IP: 125.27.48.166 วันที่: 4 ธันวาคม 2550 เวลา:21:56:02 น. |
|
|
|
โดย: ....... IP: 125.27.48.166 วันที่: 4 ธันวาคม 2550 เวลา:21:58:39 น. |
|
|
|
โดย: lk;'jk;'jo IP: 125.27.48.166 วันที่: 4 ธันวาคม 2550 เวลา:22:00:00 น. |
|
|
|
โดย: พร IP: 58.147.61.111 วันที่: 31 ธันวาคม 2551 เวลา:22:27:19 น. |
|
|
|
โดย: พเ IP: 117.47.52.42 วันที่: 28 กันยายน 2552 เวลา:18:45:17 น. |
|
|
|
โดย: เด็กเรียน IP: 118.172.135.59 วันที่: 15 พฤศจิกายน 2552 เวลา:13:27:12 น. |
|
|
|
| |
|
|