ทำความรู้จักกับพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิด เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
พ.ร.บ.คอมพ์ ฯ พ.ศ.2550 จะมีผลบังคับใช้มาตั้งแต่วันที่ 18 กรกฎาคม 2550
ก.ไอซีที ร่วมหารือผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเพื่อแก้ปัญหาเว็บหมิ่นฯ และพ.ร.บ.คอมพ์ ฯ
แก้กม.คอมพ์เพิ่มโทษคดีหมิ่นสถาบัน มื่อวันที่ 1 ตุลาคม นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ส.ส.กรุงเทพมหานคร พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะประธานคณะอนุกรรมาธิการ(กมธ.) กำกับและติดตามการป้องกันและปราบปรามการกระทำและเว็บ ไซต์หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ใน กมธ.ทหาร สภาผู้แทนราษฎร เปิดเผยว่า อนุ กมธ.เตรียมเสนอร่างแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 เนื่องจากไม่มีความชัดเจนทั้งข้อกฎหมายโดยเห็นว่าผู้ที่กระทำ การหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ กฎหมายอาญากำหนดโทษจำคุก 3-15 ปี นั้นไม่เพียงพอ ในร่างแก้ไขเพิ่มเติมจึงให้เจ้าหน้าที่ของกระทรวงเทคโนโลยีสารสน เทศและการสื่อสาร( ไอซีที) สามารถฟ้องร้องคดีที่หมิ่นสถาบันได้ทันที โดยไม่ต้องรอคำสั่งของรัฐมนตรี และถ้าเจ้าหน้าที่ละเลยไม่ดำเนินคดี อาจถูกดำเนินคดีโทษฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ทันที รวมทั้งประชาชนที่รับรู้การกระทำผิด สามารถแจ้งความร้องทุกข์ต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ทันทีเช่นกัน รวมทั้งเพิ่มบทลงโทษจำคุก 3-20 ปี และปรับ 3-8 แสนบาท โดยอนุ กมธ.จะเสนอ กมธ.ในวันที่ 2 ตุลาคม เพื่อเสนอต่อสภาให้บรรจุระเบียบวาระต่อไป
ดร.มั่น พัธโนทัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยว่า แม้ปัจจุบันพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 จะมีผลบังคับใช้มาตั้งแต่วันที่ 18 กรกฎาคม 2550 เป็นต้นมา แต่แนวโน้มการเผยแพร่เนื้อหาที่ไม่เหมาะสมเป็นภัยต่อ ความมั่นคงของประเทศชาติบนเว็บไซต์ต่างๆ ยังมีความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง แม้จะใช้มาตรการบังคับทางกฎหมาย ก็ยังไม่สามารถยุติปัญหาให้ทันต่อสถานการณ์ได้ ดังนั้นกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมี ความจำเป็นต้องขอความร่วมมือระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วม ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาเพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยในสังคม ซึ่งมีประเด็นการขอความร่วมมือนั้น คือ การหาแนวทางป้องกัน และสกัดกั้นเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม เว็บไซต์ที่มีเนื้อหาเข้าข่ายหมิ่นเบื้องสูง หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และการขอความร่วมมือปิดกั้นเว็บไซต์ตามคำสั่งศาลอาญา รวมทั้งการขอข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ ตามมาตรา 18 แห่ง พ.ร.บ.ฯ โดยกระทรวงฯ ได้จัดประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน อาทิ กระทรวงมหาดไทย สภาความมั่นคงแห่งชาติ รวมทั้งผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตด้วย
อ้างอิง : www.ThaiPR.net
ทำความรู้จักกับพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิด เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
“พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิ วเตอร์ พ.ศ.2550” ซึ่งมีผลบังคับใช้ในวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 นับได้ว่าเป็นที่จับตามองและมีความสำคัญอย่างมากในทุ กวงการ เพราะปัจจุบันคอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทและเป็นส่ว นหนึ่งในชีวิตประจำวันของเราไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงาน องค์กรต่างๆ ภาครัฐ เอกชน คนทำงาน นิสิต นักศึกษา ก็ล้วนเกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ทั้งสิ้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องศึกษาข้อมูลและทำความ เข้าใจเกี่ยวกับพ.ร.บ.ฉบับนี้ และเตรียมพร้อมรับมือ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์ และให้การใช้งานคอมพิวเตอร์ในประเทศไทยของเราเป็นไปใ นทางที่สร้างสรรค์ หมายเหตุ ข้อมูลถามตอบนี้มีการปรับเปลี่ยนรายละเอียดและเนื้อห าบางส่วนเพื่อให้ง่ายต่อการอ่านและทำความเข้าใจ การนำไปใช้และอ้างอิงใดๆจึงควรพิจารณาประกอบพระราชบั ญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์พ.ศ .2550 และกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยละเอียดอีกครั้ง
1. ถาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์มี ผลบังคับใช้เมื่อใด
ตอบ พ.ร.บ.ฉบับนี้ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาไปเมื่อวันท ี่ 18 มิถุนายน 2550 และจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 18 กรกฎาคม 2550 เป็นต้นไป
--------------------------------------------------------------------------------
2. ถาม ทำไมถึงต้องมีพ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
ตอบ นั่นก็เพราะว่าทุกวันนี้คอมพิวเตอร์ได้เข้ามาเป็นส่ว นหนึ่งในชีวิตประจำวันของเรามากยิ่งขึ้น ซึ่งมีการใช้งานคอมพิวเตอร์โดยมิชอบโดยบุคคลใดๆ ก็ตามที่ส่งผลเสียต่อบุคคลอื่น รวมไปถึงการใช้งานคอมพิวเตอร์ในการเผยแพร่ข้อมูลที่เ ป็นเท็จหรือมีลักษณะลามกอนาจาร จึงต้องมีมาตรการขึ้นมาเพื่อเป็นการควบคุมนั่นเอง
--------------------------------------------------------------------------------
3. ถาม: แล้วแบบไหนจึงจะเรียกว่าเข้าข่ายความผิดตามพ.ร.บ. ฉบับนี้
ตอบ การเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ
การเปิดเผยข้อมูลมาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิว เตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะ การเข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยไม่ชอบ การดักรับข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น การทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง เพิ่มเติมข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยไม่ชอบ การกระทำเพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื ่นไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ การส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์รบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ข องคนอื่นโดยปกติสุข การจำหน่ายชุดคำสั่งที่จัดทำขึ้นเพื่อนำไปใช้เป็นเคร ื่องมือในการกระทำความผิด การใช้ระบบคอมพิวเตอร์ทำความผิดอื่น ผู้ให้บริการจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำควา มผิด การตกแต่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่เป็นภาพของบุคคล เหล่านี้ถือว่าเข้าข่ายความผิดตามพ.ร.บ. ฉบับนี้
--------------------------------------------------------------------------------
4. ถาม: ผู้ให้บริการที่ระบุใน พ.ร.บ. นี้ คือบุคคลใดบ้าง
ตอบ สำหรับผู้ให้บริการตามที่พ.ร.บ.นี้ได้ระบุไว้ สามารถจำแนกได้เป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้
ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมไม่ว่าโดยระบบโทรศัพท์ ระบบดาวเทียม ระบบวงจรเช่าหรือบริการสื่อสารไร้สาย
ผู้ให้บริการการเข้าถึงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไม่ว ่าโดยอินเทอร์เน็ต ทั้งผ่านสายและไร้สาย หรือในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายในที่เรียกว่อินเท อร์เน็ต ที่จัดตั้งขึ้นในเฉพาะองค์กรหรือหน่วยงาน
ผู้ให้บริการเช่าระบบคอมพิวเตอร์ หรือให้เช่าบริการโปรแกรมประยุกต์ (Host Service Provider)
ผู้ให้บริการข้อมูลคอมพิวเตอร์ผ่าน application ต่างๆ ที่เรียกว่า content provider เช่นผู้ให้บริการ web board หรือ web service เป็นต้น
--------------------------------------------------------------------------------
5. ถาม: หากคุณเป็นผู้ให้บริการจะต้องเก็บรักษาข้อมูลอะไรบ้า ง และจะต้องเก็บข้อมูลเหล่านั้นนานแค่ไหน
ตอบ: ในกรณีนี้ผู้ให้บริการต้องเก็บรักษาข้อมูล 2 ประเภท โดยแบ่งตามรูปแบบได้ ดังนี้
“ข้อมูลการจราจรทางคอมพิวเตอร์” ซึ่งเป็นข้อมูลเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสาร ที่บอกถึงแหล่งกำเนิด ต้นทาง ปลายทาง เส้นทาง วันที่ เวลา ปริมาณ ระยะเวลา ชนิดของบริการหรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง จะต้องเก็บไว้ไม่น้อยกว่า 90 วัน นับแต่วันที่ข้อมูลนั้นๆ เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ แต่ในกรณีจำเป็นเจ้าหน้าที่จะสั่งให้ผู้ให้บริการเก็ บข้อมูลนั้นๆ ไว้ เกิน 90 วัน แต่ไม่เกิน 1 ปี เป็นกรณีพิเศษเฉพาะรายและเฉพาะคราวก็ได้
ข้อมูลของผู้ใช้บริการทั้งที่เสียค่าบริการหรือไม่ก็ ตาม โดยต้องเก็บข้อมูลเท่าที่จำเป็นเพื่อให้สามารถระบุตั วผู้ใช้บริการได้ ไม่ว่าจะเป็นชื่อ นามสกุล เลขประจำตัวประชาชน USERNAME หรือ PIN CODE และจะต้องเก็บรักษาไว้ไม่น้อยกว่า 90 วัน นับตั้งแต่การใช้บริการสิ้นสุดลง
--------------------------------------------------------------------------------
6. ถาม: หากคุณเป็นผู้ให้บริการแต่ไม่ได้เก็บข้อมูลผู้ใช้บริ การไว้เลย ถือว่าทำผิดพ.ร.บ.หรือไม่
ตอบ: ถือว่าทำผิดและอาจถูกปรับสูงถึง 500,000 บาท
--------------------------------------------------------------------------------
7. ถาม: ผู้ให้บริการที่ระบุไว้ใน พ.ร.บ.นี้ จะต้องเริ่มเก็บข้อมูลผู้ใช้บริการเมื่อใด
ตอบ: ขอแบ่งเป็น 2 กรณี กล่าวคือ กรณีแรกหากคุณเป็นผู้ให้บริการแก่บุคคลอื่นในการเข้า สู่อินเทอร์เน็ตหรือให้สามารถติดต่อถึงกันโดยประการอ ื่น โดยผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการในนามของตนเอง หรือในนามหรือเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่นจะต้องเริ่มเ ก็บข้อมูลดังกล่าว ภายใน90 วันนับจากวันที่ได้มีการประกาศหลักเกณฑ์การเก็บรักษา ข้อมูล จราจรทางคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการ อีกกรณีหนึ่งคือในกรณีที่คุณเป็นผู้ให้บริการเก็บรัก ษาข้อมูลคอมพิวเตอร์เพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น จะต้องเริ่มเก็บข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์และข้อมูลผ ู้ใช้บริการภายใน 150 วัน นับจากวันที่ได้มีการประกาศหลักเกณฑ์การเก็บรักษาข้อ มูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการ
--------------------------------------------------------------------------------
8. ถาม: บทลงโทษสำหรับผู้กระทำความผิดกฎหมายภายใต้ พ.ร.บ.นี้
ตอบ ผู้กระทำผิดตามพ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550
ฐานความผิด โทษจำคุก โทษปรับ การเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์โดยไม่ชอบ ไม่เกิน 6 เดือน ไม่เกิน 10,000 บาท การเปิดเผยมาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ท ี่ผู้อื่นจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะโดยไม่ชอบ ไม่เกิน 1 ปี ไม่เกิน 20,000 บาท การเข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยไม่ชอบ ไม่เกิน 2 ปี ไม่เกิน 40,000 บาท การดักรับข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยไม่ชอบ ไม่เกิน 3 ปี ไม่เกิน 60,000 บาท การทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง เพิ่มเติมข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยไม่ชอบ ไม่เกิน 5 ปี ไม่เกิน 100,000 บาท การกระทำเพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื ่นไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ ไม่เกิน 5 ปี ไม่เกิน 100,000 บาท การส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์รบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ข องคนอื่นโดยปกติสุข (Spam Mail) ไม่มี ไม่เกิน 100,000 บาท การจำหน่ายชุดคำสั่งที่จัดทำขึ้นเพื่อนำไปใช้เป็นเคร ื่องมือในการกระทำความผิด ไม่เกิน 1 ปี ไม่เกิน 20,000 บาท การกระทำต่อความมั่นคง - ก่อความเสียหายแก่ข้อมูลคอมพิวเตอร์ - กระทบต่อความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ/เศรษฐกิจ - เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ชีวิต ไม่เกิน 10 ปี 3 ปีถึง 15 ปี 10 ปีถึง 20 ปี และไม่เกิน 200,000 บาท และ60,000-300,000 บาท ไม่มี การใช้ระบบคอมพิวเตอร์ทำความผิดอื่น (การเผยแพร่เนื้อหาอันไม่เหมาะสม) ไม่เกิน 5 ปี ไม่เกิน 100,000 บาท ผู้ให้บริการจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำควา มผิด ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิด ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิด การตกแต่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่เป็นภาพของบุคคล ไม่เกิน 3 ปี ไม่เกิน 60,000 บาท
--------------------------------------------------------------------------------
9. ถาม: ในส่วนของพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจดำเนินการอย่างไร
ตอบ: หากเกิดกรณีที่เชื่อว่ามีการกระทำผิดตามพ.ร.บ. เจ้าหน้าที่มีอำนาจอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ การใช้อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งไม่ต้องขออนุญา ตศาล
มีหนังสือสอบถามหรือเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการกร ะทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้มาเพื่อให้ถ้อยคำ ส่งคำชี้แจงเป็นหนังสือ หรือส่งเอกสาร ข้อมูล หรือหลักฐานอื่นใดที่อยู่ในรูปแบบที่สามารถเข้าใจได้
เรียกข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์จากผู้ให้บริการเกี่ย วกับการติดต่อสื่อสารผ่านระบบคอมพิวเตอร์หรือจากบุคค ลอื่นที่เกี่ยวข้อง
สั่งให้ผู้ให้บริการส่งมอบข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้บริก ารที่ต้องเก็บตามมาตรา ๒๖ หรือที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมของผู้ให้บริการ ให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่
การใช้อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งต้องขออนุญาตศา ล (พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องส่งสำเนาบันทึกเหตุอันควรเชื ่อที่ทำให้ต้องใช้อำนาจตามที่ศาลได้มีคำสั่งอนุญาตแล ้วให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองระบบคอมพิวเตอร์นั้นไว้เ ป็นหลักฐาน)
ทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ จากระบบคอมพิวเตอร์ที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการก ระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ในกรณีที่ระบบคอมพิวเตอร์นั้นยังมิได้อยู่ในความครอบ ครองของพนักงานเจ้าหน้าที่
สั่งให้บุคคลซึ่งครอบครองหรือควบคุมข้อมูลคอมพิวเตอร ์ หรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ ส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ดังกล่าวให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่
ตรวจสอบหรือเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อม ูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลใด อันเป็นหลักฐานหรืออาจใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับการกระ ทำความผิด หรือเพื่อสืบสวนหาตัวผู้กระทำความผิดและสั่งให้บุคคล นั้นส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ ที่เกี่ยวข้องเท่าที่จำเป็นให้ด้วยก็ได้
ถอดรหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลใด หรือสั่งให้บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการเข้ารหัสลับของข ้อมูลคอมพิวเตอร์ ทำการถอดรหัสลับ หรือให้ความร่วมมือกับพนักงานเจ้าหน้าที่ในการถอดรหั สลับดังกล่าว
ยึดหรืออายัดระบบคอมพิวเตอร์เท่าที่จำเป็นเฉพาะเพื่อ ประโยชน์ในการทราบรายละเอียดแห่งความผิดและผู้กระทำค วามผิดตามพระราชบัญญัตินี้
--------------------------------------------------------------------------------
10. ถาม: หากได้แจ้งความต่อเจ้าหน้าที่แล้ว เจ้าหน้าที่จะมีขั้นตอนในการสืบสวนอย่างไร
ตอบ: หากคุณได้เข้าแจ้งความแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่ก็จะมีขั้นตอนในการดำเนินการ ดังนี้
เมื่อได้รับการร้องทุกข์หรือตรวจพบว่ามีการกระทำความ ผิดเกิดขึ้น เจ้าหน้าที่จะติดต่อกับผู้ดูแลเว็บไซต์ เพื่อขอหมายเลข IP Address และวันเวลาที่พบการกระทำความผิด
เมื่อทำการตรวจหมายเลข IP Address แล้วพบว่าเป็นของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (Internet Service Provider) รายใด เจ้าหน้าที่จะทำหนังสือสอบถามข้อมูลจราจรและข้อมูลผู ้ใช้บริการ
หลังจากนั้นจะมีการเชิญผู้เกี่ยวข้องหรือผู้ที่มีราย ชื่อปรากฏมาให้ปากคำ
--------------------------------------------------------------------------------
11. ถาม: ถ้าหากคุณเป็นผู้เสียหายจะต้องทำอย่างไร
ตอบ: หากคุณกลายเป็นผู้เสียหาย แนะนำว่าให้คุณจดจำ URL (Uniform Resource Locater) ที่พบว่ามีการกระทำความผิด และให้คุณรวบรวมพยานหลักฐานที่สามารถหาได้ เช่น จัดพิมพ์รายละเอียดต่างๆ จดจำวันเวลาและสถานที่ที่พบว่ามีการกระทำความผิดเกิด ขึ้น แล้วให้รีบไปแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานตำรวจ ณ สถานีตำรวจในท้องที่ที่ความผิดเกิดขึ้น
--------------------------------------------------------------------------------
12. ถาม: หากต้องการศึกษาข้อมูลและรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถต ิดต่อได้ที่ไหน และมีหน่วยงานใดบ้างที่ดูแลรับผิดชอบ
ตอบ: สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับพ.ร.บ.นี้ได้จาก เว็บไซต์ของหลากหลายหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องและร ับผิดชอบ อาทิ
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร: //www.mict.go.th
ศูนย์ตรวจสอบและวิเคราะห์การกระทำผิดทางเทคโนโลยี (High-Tech Crime Center) ://htcc.police.go.th
กองบัญชาการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร: //ict.police.go.th
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ: //www.royalthaipolice.go.th
กรมสอบสวนคดีพิเศษ: //www.dsi.go.th/dsi/index.jsp
เว็บไซต์ NECTEC เพื่อประชาคมความรู้ (NECTEC PEDIA) //wiki.nectec.or.th/nectecpedia/index.php
อ้างอิง //www.etcommission.go.th/documents/laws/20070618_CC_Final.pdf เอกสารคำอธิบายพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเ กี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 โดยนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานศาลอุทธรณ์ภาค 4 ประกอบการฝึกอบรมของสถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการ ศาลยุติธรรมที่ 772/2550
|
---|
Create Date : 15 พฤศจิกายน 2551 |
Last Update : 15 พฤศจิกายน 2551 16:04:28 น. |
|
2 comments
|
Counter : 578 Pageviews. |
|
|
โดย: ร่มไม้เย็น วันที่: 15 พฤศจิกายน 2551 เวลา:16:48:57 น. |
|
|
|
โดย: สุภาภรณ์ มานอก IP: 119.63.95.2, 117.121.208.2 วันที่: 14 กรกฎาคม 2553 เวลา:9:52:24 น. |
|
|
|
| |
|
|
ดูแลสุขภาพ และพักผ่อนในวันหยุดอย่างมีความสุขนะคะ