|
มะกันส่งซอฟต์แวร์เชื่อมเน็ต เลี่ยงระบบกลั่นกรองของรัฐ
มะกันส่งซอฟต์แวร์เชื่อมเน็ต เลี่ยงระบบกลั่นกรองของรัฐ
นักวิจัยสหรัฐพัฒนาซอฟต์แวร์หลบหลีกระบบกลั่นกรองข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตสำเร็จอีกหนึ่งชิ้น หวังให้ผู้ที่อาศัยอยู่ในประเทศที่รัฐบาลตั้งกำแพงกรองข้อมูลข่าวสารใช้เป็นช่องทางเปิดหูเปิดตา รวมถึงนักเคลื่อนไหวทางการเมือง และผู้สื่อข่าวที่ต้องเดินทางบ่อย ๆ ด้วย ซอฟต์แวร์ดังกล่าวมีชื่อว่า "Psiphon" พัฒนาโดยนักวิจัยจากซิติเซนแลป แห่งมหาวิทยาลัยโตรอนโต โดยระบุว่า เป็นซอฟต์แวร์ที่สามารถหลบหลีกการเซนเซอร์ของรัฐบาลได้เป็นอย่างดี ที่สำคัญ เวลาใช้งานแล้วจะไม่ทิ้งร่องรอยเอาไว้บนคอมพิวเตอร์ให้สืบเสาะหาต้นตอด้วย โรนัลด์ เดลิเบิร์ท ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยซิติเซนแลปกล่าวว่า "ระบบการทำงานของซอฟต์แวร์ Psiphon จะคล้ายกับการสร้างเครือข่ายส่วนบุคคลแบบเสมือน (Virtual Private Network) ขึ้นมา ซึ่งเทคนิคการสร้างเครือข่ายชนิดดังกล่าวมีการใช้งานกันในหลายหน่วยงานที่ต้องการความปลอดภัยในการส่งผ่านข้อมูล โดยไม่จำเป็นต้องติดตั้ง VPN ให้ยุ่งยาก" นอกจากนั้นยังระบุว่า ระบบ Psiphon เน้นที่ความง่ายในการใช้งาน ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องติดตั้งซอฟต์แวร์ใด ๆ ทั้งสิ้น ใช้เพียงยูสเซอร์เนมกับพาสเวิร์ดและเว็บแอดเดรสที่ต้องการ ซึ่งจะแตกต่างกับซอฟต์แวร์ประเภทเดียวกันที่ใช้งานยุ่งยากกว่า ผู้ที่จะเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วยโปรแกรม Psiphon ระบบจะเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตโดยใช้พร็อกซี่ของประเทศอื่น ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถหลบเลี่ยงระบบตรวจสอบของรัฐได้ และการค้นหาก็ทำได้ค่อนข้างยาก ซึ่งถ้าหากตรวจพบและต้องการจะปิดการเชื่อมต่อก็จะสามารถทำได้เฉพาะจุดเท่านั้น รวมทั้งไม่สามารถตรวจสอบข้อมูลได้ด้วยว่ามีการส่งข้อมูลอะไรบ้าง เพราะมีการเข้ารหัสข้อมูลเอาไว้ เดลิเบิร์ทยกตัวอย่างว่า ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นมานี้อาจเหมาะสำหรับชาวจีนหรืออิหร่านที่ทำงานอยู่ต่างประเทศเป็นเวลานาน หรือผู้สื่อข่าวที่ต้องเดินทางบ่อย ๆ รวมถึงนักเคลื่อนไหวกลุ่มต่าง ๆ ในการติดต่อกับผู้ที่อยู่นอกประเทศ จูเลียน เพน จากกลุ่มสื่ออิสระไร้พรมแดนกล่าวว่า Psiphon เป็นเครื่องมือที่ดีมากในการหลบเลี่ยงระบบกลั่นกรองข้อมูลที่ภาครัฐนำมาใช้บังคับ แต่ประโยชน์ของมันนั้นเหมาะสำหรับผู้ที่อาศัยในประเทศที่มีการปกครองอย่างเข้มงวด และต้องการติดต่อกับบุคคลอื่นที่อยู่ภายนอกประเทศเท่านั้น มันไม่เหมาะในการใช้สำหรับสื่อสารในประเทศเดียวกันแต่อย่างใด
ข่าวจาก : ผู้จัดการออนไลน์ วันที่ : 7 ธันวาคม 2549 เวลา 09:58 น.
Create Date : 07 ธันวาคม 2549 | | |
Last Update : 6 เมษายน 2551 19:57:29 น. |
Counter : 1216 Pageviews. |
| |
|
|
|
|
แพนด้าชี้โทรจันคือหัวขโมยข้อมูล
แพนด้าชี้โทรจันคือหัวขโมยข้อมูล
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ศูนย์วิจัยแพนด้า แล็ป บริษัท แพนด้า ซอฟต์แวร์ ระบุว่า กำลังจะมีการเผยแพร่รายงานฉบับใหม่เกี่ยวกับวิวัฒนาการของมัลแวร์ โดยรายงานฉบับนี้ชี้ให้เห็นว่า โทรจันเป็นมัลแวร์ที่อันตรายเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากเข้าสู่ระบบปฏิบัติการและดำเนินการต่างๆ ได้โดยที่ผู้ใช้ไม่ทันได้ตระหนัก ในปัจจุบันแพนด้าฯ พบว่าโทรจันเหล่านี้ ถูกใช้ในการขโมยรหัสผ่านสำหรับการเข้าใช้บริการทางการเงินมากที่สุด ส่วนโทรจันกลุ่มต่อมาที่ แพนด้า แล็ป ตรวจพบบ่อยมากได้แก่ บ็อต (มาจากคำว่า “robot”) และแบ็คดอร์โทรจัน ที่อาจนำไปสู่การใช้งานระบบของผู้ใช้ไปในทางที่ผิด โดยมัลแวร์ทั้งสองประเภทนี้แม้จะพบบ่อย แต่ก็ยังห่างจากโทรจันอยู่มาก และมีปริมาณคงที่หรือลดลงบ้างในปี 2549
นายหลุยส์ โครอน ผู้อำนวยการศูนย์วิจัย แพนด้า แล็ป กล่าวถึงการเพิ่มจำนวนของโทรจันนี้ว่า ข้อมูลที่พบจากการศึกษาทำให้แพนด้าฯ เห็นชัดว่า จุดมุ่งหมายเพียงอย่างเดียวของผู้ผลิตมัลแวร์ คือ การทำกำไรจากผลงานของตัวเอง โดยไม่ต้องการชื่อเสียงดั่งเช่นในอดีตอีกต่อไป โดยโทรจันยังคงรักษาตำแหน่งของตนเอาไว้ได้ในการเป็นมัลแวร์ที่พบมากที่สุด ในขณะที่มัลแวร์ประเภทอื่น เช่น ไวรัสในแบบเก่าๆ โปรแกรมไม่พึงปรารถนาและโปรแกรมเจาะระบบมีจำนวนลดลง
ผู้อำนวยการศูนย์วิจัย แพนด้า แล็ป กล่าวด้วยว่า ในส่วนของโปรแกรมต่อโทรศัพท์ หรือ ไดอัลเลอร์ ก็มีจำนวนลดลงเช่นกัน โดยแม้โปรแกรมเหล่านี้สามารถแก้ไข ค่าการเชื่อมต่อโมเด็มผ่านสายโทรศัพท์ได้ แต่ในปัจจุบันมีเครือข่ายไวไฟ (WiFi) และการเชื่อมต่อผ่านบรอดแบนด์เข้ามาแทน จึงทำให้การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านโมเด็มเหล่านี้ใกล้จะสูญพันธุ์แล้ว
ข่าวจาก : ไทยรัฐ วันที่ : 6 ธันวาคม 2549 เวลา 09:09 น.
Create Date : 06 ธันวาคม 2549 | | |
Last Update : 6 เมษายน 2551 20:02:29 น. |
Counter : 606 Pageviews. |
| |
|
|
|
|
ตำรวจยุโรป-ตะวันออกกลางรวบมือฟิชชิ่งขึ้นศาลสำเร็จ 129 คดี
 ตำรวจยุโรป-ตะวันออกกลางรวบมือฟิชชิ่งขึ้นศาลสำเร็จ 129 คดี
ไมโครซอฟท์รับบทผู้ช่วยตำรวจในการสืบเสาะหาอาชญากรบนโลกอินเทอร์เน็ตที่ต้องการขโมยข้อมูลทางการเงินของผู้บริโภค ทำให้สามารถล่าตัวมือดีและส่งฟ้องศาลได้กว่า 129 คดีแล้ว ส่วนใหญ่เป็นคดีในสหภาพยุโรปและตะวันออกกลาง โดยในจำนวนคดีทั้งหมด เป็นความสำเร็จของไมโครซอฟท์ร่วมกับบริษัทด้านไอทีอื่น ๆ ที่ช่วยสนับสนุนข้อมูลจนทำให้สืบหาตัวผู้ร้ายได้สำเร็จถึง 97 คดี หนึ่งในคดีตัวอย่างเป็นคดี "ฟิชชิ่ง" หรือการล่อลวงทางอินเทอร์เน็ตประเภทหนึ่งที่ใช้วิธีปลอมหน้าเว็บของสถาบันทางการเงินขึ้นมา พร้อมส่งอีเมลเพื่อหลอกให้ผู้บริโภคเข้ามายืนยันข้อมูล เมื่อลูกค้าสถาบันการเงินนั้น ๆ หลงเชื่อและป้อนข้อมูลส่วนตัว เหล่าอาชญากรก็จะนำข้อมูลเหล่านั้นไปใช้ประโยชน์ โดยคดีดังกล่าวส่งฟ้องศาลในประเทศตุรกี ศาลได้สั่งจำคุกอาชญากรคนดังกล่าวเป็นเวลา 2 ปีครึ่ง การประกาศตัวเลขดังกล่าวเกิดขึ้นในงานคอนเฟอร์เรนส์ของกลุ่มสหภาพยุโรปเกี่ยวกับ "identity theft" หรือการกำหนด ที่กรุงบรัสเซลล์ ประเทศเบลเยี่ยม ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา การใช้เทคนิคฟิชชิ่งหลอกผู้บริโภคเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในครึ่งปีแรกมีคดีเพิ่มขึ้นเป็น 157,000 คดี หรือคิดเป็นสองเท่าเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา บริษัทวิจัยการ์ทเนอร์ได้ประเมินความเสียหายจากภัยฟิชชิ่งในปี 2006 ไว้ว่าอาจสูงถึง 2,800 ล้านเหรียญสหรัฐเลยทีเดียว โฆษกของไมโครซอฟท์เปิดเผยถึงการดำเนินคดีกับผู้เยาว์ที่ตกเป็นผู้ต้องหาในคดีฟิชชิ่งด้วยว่า การปรับเงินจำนวน 1,000 - 2,000 ยูโรน่าจะเพียงพอสำหรับพฤติกรรมดังกล่าว "เงินจำนวนนี้คงพอจะทำให้ผู้ปกครองของกลุ่มวัยรุ่นหันมาให้ความสนใจกับลูก ๆ ของตนมากยิ่งขึ้น" การสอบสวนโดยทีมผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีใช้ซอฟต์แวร์ชนิดพิเศษสำหรับสะกดรอยมือฟิชชิ่ง ร่วมกับคำให้การของผู้ตกเป็นเหยื่อที่ติดต่อให้ข้อมูลมายังทีมงาน ทำให้ทราบได้ว่า พวกเขาปฏิบัติการโจรกรรมข้อมูลกันที่ใด ประเทศที่เหล่านักฟิชชิ่งต้องเดินขึ้นศาลจากการสืบสวนดังกล่าวประกอบด้วย ตุรกี, เยอมนี, ฝรั่งเศส, อังกฤษ, ดูไบ, อิตาลี, โมร็อกโก และเนเธอร์แลนด์ Company Related Links : Microsoft
ข่าวจาก : ผู้จัดการออนไลน์ วันที่ : 23 พฤศจิกายน 2549 เวลา 12:11 น.
Create Date : 23 พฤศจิกายน 2549 | | |
Last Update : 6 เมษายน 2551 20:03:45 น. |
Counter : 531 Pageviews. |
| |
|
|
|
|
ไซแมนเทคออกโซลูชันใหม่จับเอสเอ็มอี
ไซแมนเทคออกโซลูชันใหม่จับเอสเอ็มอี
ไซแมนเทคเปิดตัวชุดโซลูชันช่วยดูแลด้านความปลอดภัยและควมพร้อมของระบบ โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือเอสเอ็มอี นายนพชัย ตั้งไตรธรรม ที่ปรึกษาทางเทคนิค บริษัท ไซแมนเทค คอร์ปอเรชั่น กล่าว การปกป้องข้อมูลให้ปลอดภัย ดูแลให้ระบบคอมพิวเตอร์ทำงานได้อย่างต่อเนื่อง และช่วยให้ผู้ใช้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพภายใต้ยุคที่สารสนเทศเข้ามามีบทบาทสำคัญ และท้าทายธุรกิจธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ที่มักทำงานบนระบบปฏิบัติการวินโดวส์ และต้องเผชิญกับปัญหาด้านความปลอดภัยและความพร้อมของสารสนเทศและความพร้อมของระบบในรูปแบบต่างๆ เช่น โค้ดอันตราย ปัญหาช่องโหว่ในซอฟต์แวร์ภัยธรรมชาติ หรือแม้แต่ภัยคุกคามจากมนุษย์ และเพื่อช่วยป้องกันปัญหาต่างๆ เหล่านี้ ทางไซแมนเทคจึงได้นำเสนอชุด โซลูชันที่เหมาะสมที่ใช้งาน ติดตั้ง และดูแลจัดการได้ง่ายกว่าออกสู่ตลาด โซลูชันหลักสำหรับธุรกิจเอสเอ็มอีจากไซแมนเทค ประกอบด้วย 1.ด้านความปลอดภัยและความพร้อมของข้อมูล ซึ่งมีไซแมนเทค แบ็กอัพ เอ็กเซ็ก (Symantec Backup Exec) ไซแมนเทค แอนตี้ไวรัส คอร์ปอเรต เอดิชัน (Symantec AntiVirus Corporate Edition) ไซแมนเทค แอนตี้ไวรัส เอ็นเตอร์ไพรส์ เอดิชัน (Symantec AntiVirus Enterprise Edition) และไซแมนเทค ไคลเอ็นต์ ซีเคียวริตี้ (Symantec Client Security) ช่วยให้ธุรกิจเอสเอ็มอีสามารถจัดการกอบกู้ข้อมูลได้ภายใต้เวลาที่เหมาะสม ช่วยเพิ่มผลิตผลในการทำงานของพนักงาน และช่วยดูแลให้ข้อมูลสำคัญในองค์กรพร้อมถูกเรียกใช้งานและมีความปลอดภัยตลอดเวลา 2.ด้านความปลอดภัยและความพร้อมของระบบคอมพิวเตอร์ ได้แก่ ไซแมนเทค โกสต์ โซลูชัน สวีท (Symantec Ghost Solution Suite) ไซแมนเทค แบ็กอัพ เอ็กเซ็ก ซิสเต็ม รีคอฟ์เวอรี (Symantec Backup System Recovery) และ ไซแมนเทค พีซีเอนิแวร์ (Symantec pcAnywhere) ช่วยลดต้นทุนด้านการจัดการระบบ และช่วยให้การบริหารงานในระบบไอทีเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งในด้านการติดตั้งชุดซ่อมแซมระบบ การกำหนดค่าต่างๆ การโอนย้ายระบบ และการกอบกู้เซิร์ฟเวอร์ เป็นต้น 3.ด้านความปลอดภัยและความพร้อมของแอปพลิเคชัน ได้แก่ ไซแมนเทค เมล์ ซีเคียวริตี้ (Symantec Mail Security) ไซแมนเทค เอ็นเตอร์ไพรส์ วอลท์ (Symantec Enterprise Vault) และไซแมนเทค ไอเอ็ม แมเนเจอร์ (Symantec IM Manager) ให้ความปลอดภัยและความพร้อมแก่ระบบอีเมล์เพื่อให้การใช้งานอี-เมล์และอินสแตนท์แมสเสจ (instant message) มีความปลอดภัยและเข้าถึงบริการได้สะดวก ขณะเดียวกันก็ช่วยลดต้นทุนในด้านระบบจัดการอีเมล์ในองค์กรด้วย 4.ด้านการจัดการนโยบายคอมไพลเอนซ์ ได้แก่ ไซแมนเทค ไบด์วิว คอนโทรล คอมไพลเอนซ์ สวีท (Symantec Bindview Control Compliance Suite) ไซแมนเทค เอ็นเตอร์ไพรส์ วอลท์ (Symantec Enterprise Vault) และไซแมนเทค ดีพไซท์ อะเลิร์ท เซอร์วิสเซ็ส (Symantec DeepSight Alert Services) ช่วยให้องค์กรขนาดกลางสามารถดูแลนโยบายด้านคอมไพลเอนซ์ที่ซับซ้อนได้อย่างสะดวกและตรงตามบัญญัติของมาตรฐานอุตสาหกรรมหรือข้อกฎหมายต่างๆ ทั้งหมดผ่านโซลูชันด้านการปกป้องและจัดการนโยบายภายใต้ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ "ไซแมนเทคการผสานรวมโซลูชันที่พร้อมช่วยปรับปรุงและปกป้องข้อมูลและระบบคอมพิวเตอร์แก่เอสเอ็มอี โดยการจัดเตรียมโซลูชันที่มาพร้อมกับฟังก์ชันอันครบถ้วนและเหมาะสมกับธุรกิจเอสเอ็มอี" ทั้งนี้ จากรายงานของ เอเอ็มไอ-พาร์ทเนอร์ส บริษัทวิจัยด้านการตลาด ระบุว่า ไซแมนเทคมีโซลูชันที่ช่วยปกป้องวินโดวส์ที่ครบถ้วนและใช้งานได้จริง อานิล มิกลานี จากเอเอ็มไอ-พาร์ทเนอส์ กล่าวว่า ธุรกิจแนวใหม่อย่างอีคอมเมิร์ชช่วยให้บริษัทเอสเอ็มอีสามารถยกระดับตัวเองเพื่อเข้าสู่การแข่งขันในตลาดด้วยแนวทางใหม่ๆ แต่ขณะเดียวกันบริษัทเหล่านี้ก็ต้องให้ความสำคัญกับการเข้าถึงสารสนเทศและความปลอดภัยไปพร้อมๆ กับการควบคุมต้นทุนด้านไอทีด้วย ซึ่ง ไซแมนเทคได้ช่วยทำให้กระบวนการเหล่านี้เป็นเรื่องที่ง่ายขึ้นสำหรับบริษัทเอสเอ็มอีซึ่งค่อนข้างมีข้อจำกัดในด้านงบประมาณและทรัพยากร โดยนำเสนอชุดของโซลูชันที่ครบถ้วนและใช้งานได้จริง เพื่อให้การดูแลจัดการเป็นไปอย่างสะดวกที่สุด Company Related Links: Symantec
ข่าวจาก : ผู้จัดการออนไลน์ วันที่ : 22 พฤศจิกายน 2549 เวลา 09:42 น.
Create Date : 22 พฤศจิกายน 2549 | | |
Last Update : 6 เมษายน 2551 20:05:01 น. |
Counter : 692 Pageviews. |
| |
|
|
|
|
| |
|
|