ชีวิตคือความไม่แน่นอนแต่ในความไม่แน่นอนของชีวิตเรากลับพบความสวยงามของชีวิต
Group Blog
 
All Blogs
 
เดือนมิถุนายนแล้วชวนให้นึกถึงตำนานดอกอาจิไซ (Hydrangea)

ตอนไปงานเอ็กซ์โปที่เซี่ยงไฮ้...ผมเดินผ่านสวนที่อยู่ตรงข้ามซุ้มของประเทศเกาหลีใต้ สิ่งแรกที่สะดุดตาคือ ดอกไอริช สีขาวและสีม่วงของดอกไอริชชวนให้นึกถึงหน้าฝนในประเทศญี่ปุ่น





ตอนนั้นนึกขึ้นมาได้ว่าตรงกับวันที่ ๑ มิถุนายนพอดีเป๊ะ

รุ่นน้องรายหนึ่งเคยเล่าให้ฟังว่าทำไมหญิงสาวหลายคนชอบแต่งงานหน้าฝนซึ่งตรงกับเดือนมิถุนายน... เป็นเพราะเทพธิดาที่ประทานพรแห่งความโชคดีในรักเธอเป็นเทพในเดือนมิถุนายนนี่เอง

แต่หน้าฝนนี่เฉอะแฉะนะ...น่าสงสารเจ้าสาวมาก ถ้าพวกเธอต้องลากชุดแต่งงานที่ยาวเฟื้อยเดินผ่านพื้นดินเฉอะแฉะ

เคยเห็นบรรยากาศงานแต่งงานท่ามกลางดงของดอกไอริชสองข้างทางตอนอยู่ญี่ปุ่น มันได้บรรยากาศอีกแบบ ในงานเทศกาลดอกไอริชที่เมืองซาวารา จังหวัดอิบาริกิ ผู้คนเขาพายเรือแล้วให้เจ้าสาวชุดกิโมโนนั่งในเรือผ่านดอกไอริชสองข้างทาง....เก๋อีกอย่าง


....เดินผ่านสวนไปอีกนิดเห็นกลุ่มดอกอาจิไซเรียงเป็นแนว...เริ่มออกดอกสีสันต่างๆให้เห็น







ทุกครั้งที่เห็นดอกอาจิไซ...ผมมักนึกถึงตำนานดอกอาจิไซ ความรักระหว่างซีโบลด์และโอทากิ....





เหตุการณ์ความสัมพันธ์ระหว่างซีโบลด์และโอทากิเริ่มต้นที่บริเวณเดจิม่า ในเขตนางาซากิ ย้อนไป ๔๐๐ กว่าปี สมัยญี่ปุ่นยังคงปิดประเทศไม่ทำการค้ากับต่างชาติ แต่เปิดเมืองท่าไม่กี่แห่งให้คนต่างชาติทำการค้ากับญี่ปุ่น ที่เมืองนางาซากิเป็นบริเวณที่คนต่างชาติตั้งรกรากทำการค้าแลกเปลี่ยนกับญี่ปุ่น








ดร. นพ.ฟอน ฟิลิปป์ ซีโบลด์เป็นนายแพทย์ชาวเยอรมันที่เดินทางมากับกองเรือพาณิชย์อีสอินเดีย เมื่อมาถึงเมืองท่านางาซากิ ดร.นพ.ซีโบลด์ฟอน มีหน้าที่เป็นแพทย์รักษาโรคให้กับชาวเมืองนางาซากิ ซีโบลด์นำความรู้แพทย์แผนใหม่เข้ามาเผยแพร่ให้แก่ญี่ปุ่น เขาเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ด้านการผ่าตัดให้แก่คนญี่ปุ่น เขาเปิดโรงเรียนแพทย์ในนางาซากิ







ในเขตนางาซากิปกติจะไม่อนุญาตให้คนญี่ปุ่นเข้าไป แต่ก็มีบางคนที่ได้รับอนุญาตให้สามารถเข้าไปได้ แต่ไม่กี่คน หนึ่งในจำนวนนั้นคือ โอทากิ โอทากิเป็นหญิงสาวญี่ปุ่น เธอเข้ามาดูแลบ้านพักของบรรดาคนต่างชาติ และแล้วก็มีเหตุผลให้โอทากิได้รู้จักกับซีโบลด์ โอทากิพาซีโบลด์ไปเดินเที่ยวยังที่ต่างๆในเมืองนางาซากิ แล้วความรักก็ค่อยๆก่อตัวขึ้นระหว่างคนทั้งสอง






ครั้งหนึ่งซีโบลด์นำสตอร์เบอร์รี่ของเยอรมันให้โอทากิลองทานดู...โอทากิไม่เคยทานสตอร์เบอร์รี่มาก่อน ในอดีตญี่ปุ่นไม่มีต้นสตอร์เบอร์รี่ โอทากิชื่นชอบในรสชาติความอร่อยของสตอร์เบอร์รี่ที่ได้ทาน


ภายหลังจากที่คบหากัน....ในที่สุดโอทากิก็แต่งงานกับซีโบลด์มีลูกสาวด้วยกันหนึ่งคนชื่อ อิเนะ


ซีโบลด์นอกเหนือจากเป็นนายแพทย์แล้ว ตัวเขาชื่นชมในพฤกษศาสตร์ เขาวาดภาพต้นไม้ ดอกไม้ต่างๆที่เขาเจอในญี่ปุ่น เขาทำการทดลองเพาะพันธุ์ไม้ต่างๆ ซีโบลด์สนใจในภูมิประเทศญี่ปุ่น เขาจ้างวานให้คนเขียนแผนที่ประเทศญี่ปุ่นให้....แต่แล้วเคราะห์กรรมก็มาเยือน เมื่อเรือที่เขาเดินทางเกิดล่ม สิ่งของที่บรรทุกมาลอยไปเกยชายหาด หีบใบหนึ่งของซีโบลด์ถูกเปิดฝาออกและพบภาพแผนที่ญี่ปุ่นที่ซีโบลด์ได้จ้างนายช่างวาดเอาไว้ เรื่องรู้ไปถึงสำนักพระราชวัง การที่ซีโบลด์วาดภาพแผนที่ญี่ปุ่นถือว่าซีโบลด์กระทำความผิดร้ายแรงตามกฎหมายของญี่ปุ่น ซีโบลด์โดนตั้งข้อหาว่าเป็นสายลับที่มาค้นหาความลับของญี่ปุ่นให้ข้าศึกภายนอก ดังนั้นญี่ปุ่นจึงมีคำสั่งให้เนรเทศซีโบลด์ออกจากประเทศญี่ปุ่น


ซีโบลด์เก็บข้าวของและจำใจต้องพลัดพรากจากภรรยาและลูกสาว ซีโบลด์นำกระถางต้นไม้ที่บรรจุต้นอาจิไซไปด้วย ทุกครั้งที่มองดอกอาจิไซ....ซีโบลด์ก็ระลึกถึง "โอทากิ" ภรรยาของตนที่ไม่สามารถเดินทางออกนอกประเทศญี่ปุ่น ตลอดทางที่เรือเดินสมุทรที่ออกเดินทางจากญี่ปุ่นไปยุโรป...ซีโบลด์ได้เขียนจดหมายพรรณาถึงความโศกเศร้าที่ต้องพลัดพรากกับภรรยาและลูกน้อย ซีโบลด์ได้เพาะพันธุ์ดอกอาจิไซสายพันธุ์ใหม่แล้วตั้งชื่อว่า "โอทักขุสะ" ในภาษาฮอลแลนด์ซึ่งถ้าแปลเป็นภาษาญี่ปุ่่นก็คือ "โอทากิ" ชื่อของภรรยาที่ซีโบลด์สุดแสนรัก






โอทากิมองว่า....ในชีวิตนี้เธอคงไม่มีโอกาสที่จะได้เจอซีโบลด์อีกแล้ว เธอจึงเขียนจดหมายถึงซีโบลด์ ให้ซีโบลด์ลืมเรื่องของเธอเถิดแล้วเริ่มต้นชีวิตใหม่ในยุโรป

เมื่อซีโบลด์ได้อ่านจดหมายฉบับนี้ถึงกับตกใจและเสียใจที่โอทากิได้ขอเลิก.....


เหตุการณ์ผ่านไปอีกหลายปี....ทั้งซีโบลด์และโอทากิต่างก็แต่งงานมีครอบครัวใหม่ ซีโบลด์มีบุตรหลายคนกับแคทเธอรีน ในขณะที่โอทากิไม่มีบุตรกับสามีใหม่

แล้วกระแสแห่งการเปลี่ยนแปลงก็เกิดขึ้นเมื่อญี่ปุ่นยอมเปิดประเทศภายหลังจากที่เปอรี่ได้นำกองทัพเรือมาปิดอ่าวเอโดะและเรียกร้องให้ญี่ปุ่นเปิดประเทศ

๓๖ ปีที่ซีโบลด์จากญี่ปุ่นไป....ถึงเวลาที่ซีโบลด์มีโอกาสได้เดินทางกลับมาเยือนญี่ปุ่นอีกครั้ง ซีโบลด์เดินทางมาญี่ปุ่นพร้อมอเล็กซานเดอร์บุตรชาย ซีโบลด์มีโอกาสได้เจอโอทากิและอิเนะลูกสาวซึ่งตั้งใจจะเป็นแพทย์ตามอย่างพ่อ ซึ่งอิเนะไปศึกษาโรงเรียนแพทย์สมัยใหม่ในนางาซากิและสุดท้ายเป็นแพทย์หญิงสำหรับวิชาแพทย์แผนใหม่คนแรกในประเทศญี่ปุ่น





แม้ว่าซีโบลด์จะได้กลับมาพบกับโอทากิใหม่....ความรู้สึกดีๆระหว่างกันยังคงมีอยู่.....แต่ด้วยพันธะของครอบครัวที่ตอนนี้ต่างคนต่างมี คนทั้งสองจึงไม่สามารถจะกลับมาครองรักกันได้อีก

ซีโบลด์เดินทางกลับไปประเทศเนเธอร์แลนด์และในช่วงชุดท้ายของชีวิต...ซีโบลด์เขียนข้อความเอาไว้ว่า


ภายหลังจากฉันเสียชีวิตลงแล้ว..
อยากโบยบินไปยังดินแดนที่สงบและสวยงามที่ฉันเคยใช้ชีวิตอยู่.....








อีกมุมนึงของโลก...ก่อนที่โอทากิจะเสียชีวิตลง ..ความอร่อยของสตอร์เบอร์รี่นับตั้งแต่เธอเคยสัมผัสเป็นครั้งแรกเมื่อซีโบลด์ให้เธอลองทาน เธอไม่เคยลืม....เธอจึงขอทานสตอร์เบอร์รี่เป็นครั้งสุดท้ายก่อนอำลาโลก...



ถึงแม้วันนี้ดอกอาจิไซจะได้รับการเผยแพร่พันธุ์ไปทั่วโลกในชื่อภาษาอังกฤษว่า Hydrangea แต่ต้นกำเนิดจริงๆมาจากญี่ปุ่น

ดอกอาจิไซสัญลักษณ์ของความรักที่ซีโบลด์มีต่อภรรยาแสนรักของเขา "โอทากิ"




Create Date : 16 มิถุนายน 2553
Last Update : 21 มิถุนายน 2553 20:55:04 น. 14 comments
Counter : 5818 Pageviews.

 
ขอบคุณที่แบ่งปันเรื่องราวดีๆ ประวัติซึ้งๆ ให้อ่านค่ะ


โดย: กุ้ง IP: 117.47.165.56 วันที่: 22 มิถุนายน 2553 เวลา:9:00:12 น.  

 
เพิ่งจะรู้ประวัติของดอก Hydrangea วันนี้เอง โรแมนติกจัง


โดย: เอ๋ IP: 10.1.1.21, 58.137.125.180 วันที่: 22 มิถุนายน 2553 เวลา:17:13:24 น.  

 
พึ่งรู้ประวัติของไฮเดรนเยีย โรแมนติคมาก ตั้งใจจะส่งต่อให้เพื่อน ซึ่งทําไร่ปลูกดอกไฮเดรนเยียขาย ไร่นี้อยู่ที่อําเภอเทพสถิต ชัยภูมิ ช่วงกค.ถึงสค. จะเป็นช่วงดอกกระเจียวบานเต็มทุ่งที่นี่ เพื่อนคงดีใจและซาบซึ้งกับเรื่องนี้


โดย: พี่สุ IP: 58.137.150.34 วันที่: 22 มิถุนายน 2553 เวลา:18:42:14 น.  

 
สวนไฮเดรนเยียในรูปสวยเชียวค่ะ
แถวบ้านไม่เห็นมีที่ไหนปลูกเป็นสวนเหมือนอย่างในญี่ปุ่นนะคะ
ส่วนใหญ่ปลูกกันตามบ้าน ช่วงนี้ออกดอกกันพรึ่บพรั่บสวยไปหมด
รู้สึกคนนิยมปลูกให้เป็นสีฟ้ามากกว่าสีอื่นๆ

ต้นเดียวกันบางทีโคนต้นออกดอกสีชมพู ยอดๆออกดอกสีฟ้าก็มี

ตำนานรักดอกไฮเดรนเยียโรแมนติกมากนะคะ
สมกับเป็นไม้ดอก perenial ที่ทุกฤดูก็จะกลับมาใหม่
แถมยังไม่ใช่เรื่องเล่าแต่เป็นเรื่องจริงเสียด้วย

ไฮเดรนเยียคงไม่ใช่ไม้ดอกทางนี้จริงๆล่ะค่ะ
เพราะค้นเรื่องปรัมปราของฝรั่งไม่ยักเจอ


โดย: SevenDaffodils IP: 65.160.41.6 วันที่: 23 มิถุนายน 2553 เวลา:5:04:23 น.  

 
ขอบคุณมากค่ะ ได้ความรู้จริง ๆ ชอบมาก ๆ ทั้งภาพดอกไม้และเรื่องที่เล่าค่ะ ขอบคุณมาก ๆ


โดย: chompu IP: 113.53.33.196 วันที่: 26 มิถุนายน 2553 เวลา:9:50:58 น.  

 
wonderful Ngeab
;)


โดย: yo IP: 202.28.21.6 วันที่: 1 กรกฎาคม 2553 เวลา:14:38:17 น.  

 

ประวัติอาจิไซน่าสนใจมาก
ขอบคุณพี่เงี้ยบค่ะ

ตอนนี้หลงรักเมืองโบราณ ยิ่งได้ศึกษา ทำให้จิตใจสงบนิ่ง โดยเฉพาะstone garden ค่ะ


โดย: ยูกะ IP: 219.126.93.36 วันที่: 2 กรกฎาคม 2553 เวลา:7:19:32 น.  

 
โรแมนติกแบบเศร้าๆ เป็นความรักที่มีรอยยิ้มและน้ำตามาพร้อม ๆ กัน จะขอระลึกถึงความรักในตำนานนี้ตลอดไปค่ะ
ขออนุญาตเผยแพร่นะคะ


โดย: junjy7138 IP: 113.53.155.201 วันที่: 6 กันยายน 2553 เวลา:9:11:40 น.  

 
ดอก อาจิไซ ( Hydrangea ) ช่างมีประวัติที่เศร้าจัง แต่ก็โรแมนติกดี ทำให้รู้ว่า การจากลา ทำให้ทุกสิ่งมีการเปลี่ยนแปลงได้เสมอโอ้ย!!!!!! เรื่องมันเศร้า


โดย: janjira IP: 61.19.65.77 วันที่: 11 กันยายน 2553 เวลา:21:29:17 น.  

 
ไฮเดรนเยีย เป็นดอกไม้ที่ไม่ชอบความชุ่มน้ำมาก เพราะลำต้นเปราะบาง ที่บ้านปลูกลงกระถางสวยจริงค่ะ


โดย: ใหม่ ใจบุญ IP: 61.19.98.126 วันที่: 12 ตุลาคม 2553 เวลา:14:58:43 น.  

 
ซึ้งจังเลยค่ะ


โดย: หนูเมเปิล วันที่: 7 พฤศจิกายน 2553 เวลา:21:09:06 น.  

 
ซึ้งจังเลยค่ะ ดอกไม้ก้อสวยมากเลยค่ะ


โดย: ปลายฝน IP: 124.122.11.117 วันที่: 9 พฤศจิกายน 2553 เวลา:17:17:16 น.  

 
ฉันว่าความรักคือสิ่งที่สวยงาม แต่การไม่เข้าใจในความรักมากกว่าที่ทำให้เกิดความทุกข์และโศกอนาฏกรรมแห่งความรักมากกว่า และดอกไม้อย่างไรก็เป็นตัวแทนความรักที่แสนหวานและดีงามเสมอ เพราะฉันคือสายลมแห่งความรัก


โดย: สายลมรัก IP: 118.175.183.41 วันที่: 29 พฤศจิกายน 2553 เวลา:14:39:05 น.  

 
ช่างเป็นรักนิรันดร์จริงๆ เข้าความหมายของไฮเดรนเยียก็เมื่อได้อ่านเรื่องราวความเป็นมานี่แหละค่ะ หาอ่านเพิ่มได้ที่ไหนหรอค่ะอยากทราบประวัติดอกไฮเดรนเยียมากกว่านี้ค่ะ ขอบคุณค่ะ


โดย: puckky IP: 10.10.0.85, 58.8.67.208 วันที่: 1 สิงหาคม 2554 เวลา:3:21:30 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ชีวประภา
Location :
พิษณุโลก Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]




New Comments
Friends' blogs
[Add ชีวประภา's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.