ชีวิตคือความไม่แน่นอนแต่ในความไม่แน่นอนของชีวิตเรากลับพบความสวยงามของชีวิต
Group Blog
 
All Blogs
 
ลูกศิษย์ระดับปริญญาตรีรุ่นแรกในมหาวิทยาลัยนเรศวรที่เรียนกับผม ตอนที่ 7 (第7課、ナレスアン大学で私の教えた大学生第一期)

ชั้นเรียนครั้งสุดท้ายสอนเรื่องกลยุทธ์เฉพาะเรื่องเป็นบทที่รู้สึกว่าสนุกและใกล้ตัวนิสิตที่สุด ผมยกกรณีธุรกิจแบบครอบครัวมาอธิบายนิสิตในชั้นเรียนเพื่อให้พวกเขาเห็นภาพชัดเจนว่ามีปัญหาอะไรบ้าง และทำไมธุรกิจแบบครอบครัวถึงไม่เติบโตเท่าที่ควรจะเป็น

 (最後のクラスの内容はとても面白かった。この内容は生徒さんたちに感心する何故なら彼女たちの実家の企業に似てる。何故Family Businessをなかなか拡大していません。この理由を明らかにしました。


ชั้นเรียนที่ปิดคอร์สชั้นเรียนแรกเป็นกลุ่มนิสิตภาคพิเศษ วันนั้นตรงกับวันเสาร์ที่ ๑๘ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๓ วันนั้นจะแปลกกว่าทุกครั้งที่สอน แทนที่จะให้นิสิตเขาเขียนคีย์เวิร์ดทันที บอกให้เขาเขียนสรุปว่าวันนี้เขาเรียนเนื้อหาสำคัญอะไรบ้างและเขียนความรู้สึกที่พวกเขามีต่อชั้นเรียนที่ผมสอน เป็น Feedback ที่ผู้สอนควรได้รับจากผู้เรียนเพื่อปรับปรุงการเรียนการสอนให้ดียิ่งขึ้น

 (第5版クラスを終わったら、私は一言をお伝えました。)


ก่อนที่นิสิตจะเขียนคีย์เวิร์ด ผมขอกล่าวอะไรแก่นิสิตกลุ่มนี้ สะท้อนความรู้สึกของอาจารย์เจ้าของรายวิชานี้

"พวกคุณเป็นนิสิตปริญญาตรีรุ่นแรกที่ผมมีโอกาสได้สอน
บรรยากาศชั้นเรียนที่ผมสร้างขึ้นมาแบบนี้
เพื่อให้พวกคุณมีโอกาสได้ฝึกตนเอง กล้าคิด กล้าแสดงความคิดเห็น
เพราะผมไม่ต้องการให้ลูกศิษย์ที่ผมสอนเป็นพนักงานชั้นต้นตลอดไป
แต่พวกคุณจะต้องพัฒนาตนเองต่อไป
ก้าวขึ้นไปเป็นผู้บริหารระดับสูง
เป็นความภาคภูมิใจของมหาวิทยาลัยนเรศวร

วิชากลยุทธ์ที่ผมสอนพวกคุณไป
จะเห็นได้ว่าสามารถนำเอาไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
คุณสามารถเอาไปใช้ได้เรื่องของกีฬา การสมัครงาน การไปสัมภาษณ์
การเจรจาต่อรองเรื่องเงินเดือน
หรือแม้แต่เรื่องของความรัก

ถ้าตอนที่คุณโดนแย่งแฟนไป...จะด้วยสาเหตุอะไรก็ตาม
คุณใช้กลยุทธ์ในการแย่งแฟนกลับคืนมาได้
ถ้าคุณมีสิ่งที่เรียกว่า Core Competencies
แต่ถ้าแฟนคุณมันเลว ก็ปล่อยมันไป
เพราะว่าคนเลวสมควรจะอยู่กับคนเลว
ไม่ต้องเสียใจ เสียดายอะไร

สิ่งที่สอนพวกคุณไปหลายบท ถ้าเพียงแต่พวกคุณหยิบเอาสิ่งที่ผมสอน
แม้แต่เพียงส่วนเล็กๆในเนื้อหานั้นมาใช้ประโยชน์ได้ในชีวิตจริง
ผมในฐานะคนสอนคุณ...จะมีความภูมิใจมาก"



"สุดท้ายนี้ผมขออวยพรให้ลูกศิษย์ที่ผมสอนทุกคน
มีความก้าวหน้าในชีวิต หน้าที่การงาน
ประสบความสำเร็จ
เป็นตัวอย่างที่ดีแก่รุ่นน้อง
และเป็นความภาคภูมิใจของมหาวิทยาลัยนเรศวร"



 (君たちは私にとって第一期教えた大学生になっていた。君たちは将来普通な会社員ではなく立派な役員になるためにこの授業環境を作ってきた。君たちはこの大学の誇るです、このことを持って下さい。

 私は君たちにいっぱい教えたけれども、その授業内容の中で君たちは一つ部分だけを取って実践してできれば、私にとって嬉しいです。

 戦略ということは一日生活にも実践してできます。スポース、就職活動給料交渉、あるいは愛情。Core Competenciesという事は君たちにとって、大事なこと是非自分のCore Competenciesを探してください。そしてこのCore Competenciesを守ってください。

 最後に君たちに立派な人間になるよう、心からお祈りして上げます。)




แล้วผมก็เปิดโอกาสให้ลูกศิษย์ในชั้นเรียนนี้ได้แสดงความรู้สึกที่มีต่อวิชานี้

สุวิชญาเป็นคนกล่าวคนแรก เธอได้ยินคนอื่นพูดเกี่ยวกับผมว่าเป็นคนพูดเร็ว วิชานี้ดูเหมือนเป็นวิชาที่ยาก เธอจะเข้าใจไหม? แต่พอได้เรียนวิชานี้เธอรู้สึกสนุกกับชั้นเรียนนี้ ขอบคุณอาจารย์ที่สอนสิ่งดีๆที่มีคุณค่าแก่เธอ

ชาตรี สุวรรณชื่นได้แสดงความเห็นในฐานะเด็กบัญชีที่ปกติจะนั่งเงียบในชั้นเรียน แต่สำหรับวิชานี้ไม่ว่าจะเป็นเด็กเอกการจัดการธุรกิจหรือเด็กเอกการบัญชี ทุกคนเท่าเทียมกัน ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในชั้นเรียน ไม่อายที่จะยกมือแสดงความคิดเห็น

 (生徒さん一言をお伝えました、その後私と生徒さんたちと一緒に記念撮影した)


ผมถือโอกาสถ่ายภาพที่ระลึกร่วมกับนิสิตกลุ่มภาคพิเศษ





นิสิตตั้งใจเขียนคีย์เวิร์ดในชั้นเรียนครั้งสุดท้าย






ต่อไปนี้คือข้อความที่สะท้อนออกมาในฐานะของผู้เรียน

 (下記は生徒さんの感謝気持ちを書いた)





(この大学で4年間勉強したけれども、先生のような教師に見えなかった、先生は一番良い先生と思っていた。私は先生に逢って、良かった。とても喜んだ。ありがとうございました。)




 (長い間お世話になっていました、ありがとうございました。いろいろなことを教えていただいて、大切なことです。忘れないようにします。)



ชั้นเรียนกลุ่ม ๓ เป็นชั้นเรียนที่สองที่ปิดคอร์ส คำพูดที่พูดกับนิสิตกลุ่มนี้ใกล้เคียงกับกลุ่มนิสิตภาคพิเศษ ผมเปิดโอกาสให้นิสิตเขาได้พูดความรู้สึกที่มีต่อชั้นเรียนนี้ มีหลายๆคนแสดงความรู้สึกที่มีต่อชั้นเรียนวิชากลยุทธ์

 (第3版は翌週クラスを終わった)


บิวซึ่งผมมักจะเรียกเธอว่า "หนูน้อยเสื้อแดง" เพราะชอบใส่เสื้อแจ๊คเก็ตสีแดงทีมแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดมาเรียน กล่าวว่า

"หนูเสียดายที่มาเรียนกับอาจารย์ตอนหนูอยู่ปี ๔ หนูน่าจะเรียนกับอาจารย์ตั้งแต่ปี ๑ ไม่อย่างนั้นหนูคงเก่งกว่านี้แล้ว ขอบคุณอาจารย์มากค่ะที่ให้ความรู้และแนวคิดดีๆแก่หนู"

พฤฒิพูดว่า

"อาจารย์ให้ความสำคัญกับพวกผมมากครับ อย่างงานปัจฉิมนิเทศ ความจริงอาจารย์ไม่ต้องไปร่วมก็ได้ครับ แต่อาจารย์ก็ไปร่วมงาน"





ผมตอบไปว่า

"ทุกคนคือลูกศิษย์ผม ดังนั้นทุกคนจึงมีความสำคัญ"




งานปัจฉิมนิเทศที่จัดขึ้นวันที่ ๒๘ สิงหาคมที่ผ่านมา มีอาจารย์ไปร่วมงานไม่กี่คน ปกติผมจะมีสอนวันเสาร์หรืออาทิตย์ แต่วันนั้นผมไม่ติดธุระอะไร และคิดว่าสำหรับนิสิตเราควรให้เกียรติไปร่วมงานด้วย เพราะในไม่ช้าพวกเขาก็จะสำเร็จการศึกษากันแล้ว ทางผู้จัดงานให้ผมเป็นตัวแทนอาจารย์สาขาวิชาการจัดการธุรกิจเป็นคนรับมอบพวงมาลัยจากตัวแทนนิสิตและให้ผมกล่าวอะไรแก่นิสิตที่มาร่วมงานคืนนั้น




ผมขอถ่ายภาพกับลูกศิษย์กลุ่ม ๓ เป็นที่ระลึก วันนั้นมีนิสิตกลุ่ม ๔ บางคนมาขอเรียนด้วย พอรู้ว่าจะมีการบันทึกภาพเป็นที่ระลึก ปรากฏว่าหลายคนกลัวไม่หล่อ ไม่สวย ทาแป้ง ผัดหน้ากันใหญ่





พอสอนเสร็จ ลูกศิษย์กลุ่มอรอนงค์ขออนุญาตถ่ายภาพด้วย วันนั้นตรงกับวันอังคารที่ ๒๑ กันยายน ผมพึ่งตัดผมมาไม่นาน....ดูแล้วหัวหลิมไปเลย







คีย์เวิร์ดวันนี้ที่ลูกศิษย์เขียนส่งผมมีความหมายและความสำคัญอย่างมากสำหรับอาจารย์เจ้าของรายวิชากลยุทธ์ทางธุรกิจ

 (下記は生徒さんの感謝気持ちを書いた)





 (先生は一番です!)






 
(先生に会った時、私は4年生になった、残念ですね!若しかして1年生になった時、先生は私に教えたら、今私にもっともっと凄い大学生になるかもしれない。先生のことをずっと忘れないです。ありがとうございます。)





 (先生は私たちの意見を一回ども見下さない。感謝しています。)






(先生のクラスはとても面白いです。ありがとうございました。)

 






 (いつも先生に会って、優しさを頂いた、暖かい気持ちを持っていた。先生は私のお父さんのようになる。先生、ありがとうございます)



คำพูดที่ลูกศิษย์ผมเขียนในคีย์เวิร์ดในคาบสุดท้ายของวิชากลยุทธ์คือรางวัลตอบแทนสำหรับความพยายามที่ผมทุ่มเทให้กับชั้นเรียนที่ผมสอน

(これらの言葉を読んで喜んだ。私にとって教師の役割のプレゼントみたいです。)



สำหรับนิสิตกลุ่ม ๔ การปิดคอร์สสำหรับชั้นเรียนครั้งสุดท้าย ผมกล่าวอะไรไม่ต่างจากสองกลุ่มก่อนหน้า แต่ผมพูดเพิ่มเข้าไปว่า


"หลายคนอาจจะรู้สึกน้อยใจที่มาเรียนมหาวิทยาลัยนเรศวร
แต่ถ้าคุณไม่ได้มาเรียนที่นี่ เราก็คงไม่ได้เป็นลูกศิษย์เป็นอาจารย์กัน"



ผมให้โอกาสลูกศิษย์ของผมพูดความรู้สึกที่มีต่อชั้นเรียนนี้ ปกติกลุ่มนี้จะเงียบ แสดงความคิดเห็นน้อยกว่ากลุ่มอื่น อาจจะเป็นเพราะจำนวนนิสิตในกลุ่มนี้เพียง ๒๔ คนเท่านั้นซึ่งผมจำหน้าและจำชื่อได้ทุกคน


วันนั้นกุสุมาพูดเป็นคนแรก พอพูดๆไปกุสุมาก็จะเริ่มร้องไห้ ผมบอกเพื่อนในชั้นว่าอย่าหัวเราะ ปล่อยให้เพื่อนพูดและถ้าเขาอยากจะร้องไห้ก็ปล่อยให้เขาร้องไปเถอะ กุสุมามีอาการสะอื้นตอนที่จะบอกกับผมว่า...


"อาจารย์เหมือนคุณพ่อของหนูค่ะ..."


ผมไม่ทันสังเกตว่ามีเพื่อนในชั้นเรียนบางคนแอบร้องไห้โดยการนั่งก้มหน้า นิสิตมาเฉลยให้ฟังทีหลังว่าพวกเขาร้องไห้กันตอนที่ได้ยินกุสุมาพูดประโยคดังกล่าว


นันทนัชและศุภากานต์ซึ่งเป็นเพื่อนกลุ่มเดียวกับกุสุมา กลุ่มห้าสาวสวยที่มักจะมาสายและคุยกันในระหว่างที่เรียน เขากล่าวอะไรออกมา ผมฟังแล้วประหลาดใจเพราะเหมือนกลุ่มนี้มักจะคุยกันในระหว่างที่ผมสอนจนบางครั้งผมต้องเตือน แต่สิ่งที่เขาพูด...มันบ่งบอกถึงคุณค่าที่เขาได้รับจากชั้นเรียนและความสำคัญของชั้นเรียนนี้


ศศินภาปกติจะพูดตรงๆ โผงผาง เขาบอกว่าตอนแรกเขาเข้าใจว่าอาจารย์โยจะมาสอนวิชานี้ แต่พอมารู้ว่าอาจารย์คนที่สอนเป็นดร. เขามีภาพลักษณ์ว่าอาจารย์พวกดร.จะพูดรู้เรื่องไหม? แต่พอเขามาเรียนความรู้สึกมันแตกต่างไปเลย ชั้นเรียนนี้เขารู้สึกสนุก ไม่อยากขาดเรียน เรียนแล้วได้อะไรที่มีค่าหลายๆอย่างติดตัวไป


หลายคนไม่แสดงความคิดเห็นแต่ใช้วิธีเขียนถ่ายทอดผ่านคีย์เวิร์ดที่เขาส่งในชั้นเรียน คีย์เวิร์ดที่อมรรัตน์เขียนให้ผม...ผมตื้นตันใจจนบอกไม่ถูก ไม่คิดว่าลูกศิษย์เขาให้คุณค่ากับชั้นเรียนและสิ่งที่ผมสอนมากขนาดนี้




 (先生は私たちの未来のため、この大学で教えて頂いた。感謝ことばを出ないです。)




ผมถ่ายภาพกับนิสิตกลุ่มที่ ๔ เก็บไว้เป็นที่ระลึก

 (私と第4版の生徒さんです)





ปิยธิดา(จิ๊บ) แอบเขียนในคีย์เวิร์ดว่า อาจารย์ทำซึ้งด้วยการถ่ายภาพพวกเราเก็บไว้เป็นที่ระลึก จิ๊บไม่เข้าใจว่าทำไมผมถ่ายภาพบรรยากาศในชั้นเรียนตลอดเวลาที่ทำกิจกรรมกัน ตอนนี้ถ้าเธอมาอ่านเนื้อหาในบล็อกเธอคงเข้าใจแล้ว จิ๊บชื่นชมที่ผมจำได้ว่าลูกศิษย์เป็นคนบ้านเกิดจังหวัดอะไรบ้าง

บางทีผมเป็น "คุณชายละเอียด" ที่ช่างจดจำรายละเอียดของเรื่องต่างๆในชีวิต ดังนั้นเรื่องเล็กน้อยของลูกศิษย์ผมจึงใส่ใจแม้ว่าคนอื่นอาจจะคิดว่าไม่สำคัญ


วันศุกร์ที่ ๒๕ กันยายนเป็นวันสุดท้ายและคาบสุดท้ายของการเรียนสำหรับนิสิตเอกการบัญชีทั้งกลุ่ม ๑ และกลุ่ม ๒ มันช่างบังเอิญที่คาบสุดท้ายของการเรียนสำหรับนิสิตกลุ่มนี้เป็นวิชา "กลยุทธ์ทางธุรกิจ" ที่ผมสอน พวกเขาอยู่ปี ๔ เทอมหน้าก็จะไปฝึกงานกัน ดังนั้นวิชาที่ผมสอนจึงเป็นวิชาสุดท้ายที่พวกเขาเรียน


ภายหลังจากผมสอนกลุ่ม ๒ และกลุ่ม ๑ เสร็จ ผมขอให้นิสิตตั้งใจฟังอะไรหน่อย อย่าพึ่งรีบเขียนคีย์เวิร์ด ผมบอกกับพวกเขาว่า ต่อไปนี้ผมจะพูดกับพวกเขาในฐานะอาจารย์เจ้าของรายวิชานี้


"บางทีอาจจะเป็นเรื่องของกรรมที่เราเคยทำร่วมกันในอดีต
เลยทำให้ผมทิ้งอาชีพนายธนาคาร ตำแหน่งผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่าย
ธนาคารกสิกรไทย
มาเป็นอาจารย์ของพวกคุณ

พวกคุณหลายคนอาจจะน้อยใจที่มาเรียนที่มหาวิทยาลัยนเรศวร
ผมอยากจะให้พวกคุณภูมิใจที่ได้มาเรียนที่นี่
การที่ผมจบจากสถาบันที่ดีที่สุดในไทยและสถาบันที่ดีที่สุดในญี่ปุ่น
ผมก็เชื่อมั่นว่าผมสามารถสร้างลูกศิษย์ที่ผมสอนให้มีคุณภาพได้ไม่ด้อยกว่ามหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงอื่นในเมืองไทย
ถ้าพวกคุณไปเรียนที่มหาวิทยาลัยอื่น...เราคงไม่ได้มาเป็นศิษย์และอาจารย์กัน


การที่ผมให้พวกคุณกล้าที่จะแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน
ผมสร้างบรรยากาศชั้นเรียนแบบนี้
เพราะผมไม่ต้องการให้ลูกศิษย์ผมเป็นพนักงานชั้นต้นตลอดชีวิต
ผมต้องการให้ลูกศิษย์ของผม
มีความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน
พัฒนาตัวเองก้าวขึ้นไปเป็นผู้บริหารระดับสูง
เป็นความภาคภูมิใจของมหาวิทยาลัยต่อไป


ตอนที่ผมเรียนหลักสูตรปริญญาเอกในญี่ปุ่น
มันมีความยากลำบาก ปัญหามากมาย
แต่ผมไม่เคยท้อ
เพราะผมรู้ว่าปริญญาเอกที่ผมจะได้รับ
มันไม่ใช่ปริญญาเอกแค่ตัวผมอีกต่อไป
แต่มันหมายถึงความภาคภูมิใจสำหรับครอบครัวผมในอนาคต
และลูกศิษย์ที่ผมจะสอนในอนาคต

ถ้า ชาตรี แปลว่า "นักสู้"
ผมจะเป็นตัวอย่างให้ลูกศิษย์ผมเห็นว่า
คำพูดที่ผมบอกกับตัวเองเสมอว่า

"ความพยายามของผู้คน ไม่เคยจบลงด้วยความสูญเปล่า"

มันเป็นจริงเสมอ

ถ้าอาจารย์ของพวกคุณทำได้ พวกคุณก็ทำได้เหมือนกัน

ผมเหนื่อยมากๆกับการเตรียมการสอน ผมเครียดจนอาการมันแสดงออกมาที่สุขภาพเริ่มมีปัญหา แต่ตอนที่ผมเห็นพวกคุณสนุกกับชั้นเรียนที่ผมสอน พวกคุณไม่รู้หรอกว่าผมได้รับพลังจากพวกคุณ

กลยุทธ์ที่ผมสอนพวกคุณไป ๑๓ บทนั้น ถ้าเพียงแต่พวกคุณหยิบเอาสิ่งที่ผมสอนแม้จะเพียงส่วนเล็กๆในบางบทที่ผมสอนไป แล้วมันใช้ได้ในชีวิตจริง ผมในฐานะผู้สอน..ผมจะภูมิใจมาก

ถึงแม้ว่าผมจะไม่ได้สอนพวกคุณอีกในชั้นเรียนปริญญาตรี เพราะทุกคนกำลังจะสำเร็จการศึกษาในไม่ช้า ความเป็นครู-ศิษย์เรายังคงมีอยู่ระหว่างกันตลอดไป

ขออวยพรให้ลูกศิษย์ของผมทุกคนประสบความสำเร็จในชีวิต หน้าที่การงาน และเป็นความภูมิใจของคณะฯ และมหาวิทยาลัยนเรศวรต่อไป"



 (第1版と第2版の生徒さんたちに一言をお伝えた。


  この大学で勉強したのに残念な気持ちを思っていないでください。私はタイと日本で優秀な大学で卒業した、だから君たちはバンコクで優秀な大学生に負けずに育ってきた。もしかして、君たちはこの大学で勉強しなかったら、私と君たちに先生と生徒さん関係にならないでしょう。

  日本で留学した時、大変だけれど私は一回度も諦めなかった。チャテイーという意味では「Fighter」です。その博士資は自分ためだけではなく、将来の家族の誇るのためにそして私の生徒さんの誇るためにも、大切な意味がある、だから動力していました。 

  私のMOTTOは

  「人の努力は最後に勿体無いではない」

  もしかして、君たちはこのMOTTOも信じていたら、是非諦めないでください。

  これから、君たちに教える機会がないけれども、先生と生徒さん関係することをずっと持っています。

 
  この大学の誇るために、君たちは是非大活躍になるよう、心からお祈りして上げます。)




ผมเปิดโอกาสให้นิสิตเขาพูดถึงความรู้สึกที่มีต่อวิชานี้

จันทร์เพ็ญยกมือแสดงความรู้สึกคนแรก เธอพูดว่า

"สำหรับวิชาอื่นที่หนูเคยเรียนมา หนูเข้าเรียนแล้วอยากให้มันหมดเวลาไปไวๆ แต่สำหรับวิชานี้หนูรู้สึกสนุกที่เรียนทุกครั้ง หนูมีความสุขเวลาเรียนวิชานี้ ขอบคุณอาจารย์มากค่ะที่สอนสิ่งต่างๆที่มีคุณค่าให้แก่หนู"

ชไมพรแสดงความคิดเห็นว่า

"อยากให้อาจารย์สอนดีๆแบบนี้ต่อไปค่ะ หนูดีใจแทนรุ่นน้องที่จะได้เรียนวิชานี้กับอาจารย์ค่ะ"


มีนิสิตคนอื่นพูดแสดงความคิดเห็นไปเรื่อยๆ ผมให้โอกาส จนกระทั่งผมถามว่ามีใครอยากจะพูดความรู้สึกอีกไหม ปรากฏว่าจุลนพยกมือ แต่พอเขาพูด เขาพูดไปได้แป๊บนึงเขาอึ้งไป ผมรู้ว่าเขาคงสะเทือนใจแล้วอาจจะร้องไห้ออกมาถ้าพูดต่อ ผมบอกกับเขาว่า

"ถ้าอยากจะร้องไห้ก็ร้องไป เพราะนี่เป็นชั้นเรียนสุดท้ายแล้วที่คุณเรียนที่นี่ เรื่องแบบนี้ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยๆ เพื่อนๆอย่าไปหัวเราะเขา แม้ว่าจะเป็นผู้ชายก็ไม่ใช่เรื่องน่าอายถ้าคุณอยากจะร้องไห้"


 「男子は一言を伝えた時、涙があふれた。)


จุลนพเริ่มพูดต่อพร้อมสะอื้นว่า


"ถึงพวกเราจะไม่ใช่ลูกพระเกี้ยว
พวกเราไม่ใช่ลูกแม่โดม
แต่เราไม่อายใครที่จบจากมหาวิทยาลัยนเรศวร
เราภูมิใจที่ได้เรียนกับอาจารย์ครับ

พวกเราสัญญาว่า
จะไม่ให้ความพยายามของอาจารย์สูญเปล่าครับ
พวกเราจะไม่เป็นพนักงานชั้นต้นตลอดไป
พวกเราจะพัฒนาตัวเองก้าวไปสู่การเป็นผู้บริหารระดับสูงในอนาคต"




 (彼の言葉は

  私たちはChulalongkorn大学生ではない、Thammasart大学生ではない、このナレスアン大学で卒業したら、恥ずかしくないです。先生を教えて頂いた、このことをずっと誇っています。

  私たちは先生と約束します。

  “先生の努力を勿体無いしないように、私たちは将来一般会社員にならないように、自分で改善して将来立派な役員になるようになります。”)





คำพูดที่จุลนพกล่าวทำให้เพื่อนๆในชั้นเรียนพากันร้องไห้ ผมไม่คิดว่าเหตุการณ์แบบนี้จะเกิดขึ้นในชั้นเรียนที่ผมสอน และคำพูดของจุลนพทำให้อาจารย์เจ้าของรายวิชาร้องไห้ต่อหน้าลูกศิษย์ไปด้วย


 (彼の言葉は友達そして私の涙をだました。とても感度しました)




หลังจากที่ลูกศิษย์ร้องไห้พอสมควรเพราะภูมิใจที่ได้เป็นศิษย์วิชานี้กับผม ผมก็บอกกับลูกศิษย์ว่า

"เอาละ เช็ดน้ำตาให้แห้ง เดี๋ยวถ่ายภาพออกมาไม่สวยนะ ผมขอถ่ายภาพกับลูกศิษย์ที่ผมสอนไว้เป็นที่ระลึก"


ภาพข้างล่างเป็นภาพที่ผมถ่ายกับลูกศิษย์เอกการบัญชีกลุ่ม ๒ กลุ่มนี้มีเด็กเรียนเก่งหลายคน หลายคนยกมือเก่งและยกมือไวมากในการแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียนที่ผมสอน


 (私と第2版の生徒さんたち)





นิสิตเขาตั้งใจเขียนคีย์เวิร์ดกันมากๆสำหรับคาบสุดท้ายที่พวกเขาเรียน






ข้อความในคีย์เวิร์ดที่ลูกศิษย์กลุ่ม ๒ เขียน สะท้อนความรู้สึกของผู้เรียนที่มีต่อวิชานี้




 














เนื่องจากสอนกลุ่ม ๒ เสร็จก็ตอนเที่ยง แล้วต้องสอนกลุ่มที่ ๑ เป็นกลุ่มสุดท้ายตอนบ่ายโมงต่อ ดังนั้นจึงไม่มีเวลาจะมาถ่ายภาพกับนิสิตที่อยากถ่ายรูปด้วยบางคน บางกลุ่ม


คาบสุดท้ายสอนที่ห้องเรียนอาคาร QS ห้องหมายเลข QS3211

(最後の教えた教室はQS3211号室です)







ทุกคนลุ้นกับคะแนนการแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียนเพราะเป็นโอกาสสุดท้ายที่จะทำแต้มแล้ว ผมเหลือบไปเห็นรายชื่อนิสิตหญิงที่ชื่อ พัชรา หลักฐาน เธอเป็นคนเดียวในกลุ่มนี้ที่ยังไม่เคยยกมือแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียนเลย ผมเลยถามเธอตรงๆว่าตกลงเธอจะไม่ยกมือเลยใช่ไหม? ถ้าเธอไม่ยกมือ เธอจะได้คะแนนแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียนเป็น "0" เพื่อนๆต่างลุ้น ต่างเชียร์ให้เธอยกมือ ผมให้โอกาสเธอแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน คำตอบที่เธอแสดงออกมานั้นถูกต้องแต่เธอไม่กล้าแสดงความคิดเห็นออกมาเพราะเธออาย

พอสอนเสร็จแล้วผมก็เฉลยให้เธอรู้ว่าการที่เธอยกมือแค่เพียงครั้งเดียว และเป็นคาบสุดท้าย คะแนนแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียนอยู่ที่เท่าไหร่? เพื่อนๆในชั้นส่งเสียงอุทานที่ผมใจดีให้คะแนนยกมือแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียนสูงกว่าที่ทุกคนคิดเอาไว้


สิ่งที่ต้องการชี้ให้นิสิตในชั้นเรียนเห็นก็คือ ผลของความพยายามของผู้คนไม่สูญเปล่า


บรรยากาศของชั้นเรียนภายหลังผมสอนเสร็จแล้วกล่าวอะไรกับลูกศิษย์ทุกคน จบลงแบบเดียวกับกลุ่ม ๒

ณัฐพลยกมือแสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก เขาพูดว่าผมไม่เคยรังเกียจเขา แต่ให้เกียรติเขาแม้ว่าเขาจะเป็นเพศที่สามก็ตาม อาจารย์ฟังความเห็นของนิสิตทุกคน อาจารย์ชี้นำสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อลูกศิษย์ ขอบคุณอาจารย์มากค่ะ

แล้วก็มีคนอื่นพูดแสดงความคิดเห็น แล้วอยู่ๆก็เริ่มมีคนร้องไห้ พอพรทิพาพูดเขาพูดด้วยภาษาอีสานแบบไม่อายใคร เขาพูดไปร้องไห้ไป เธอชื่นชมและดีใจทีได้เรียนวิชานี้

พอพันธิวาพูดบ้างเธอก็พูดไปร้องไห้ไป เป็นครั้งแรกที่เธอขอพูดภาษาอีสาน การที่เธอพูดไปร้องไห้ไปทำให้เพื่อนคนอื่นๆร้องไห้ตาม

วรวรรณก็พูดภาษาอีสานบ้าง เขาตื้นตันใจพูดไปร้องไห้ไป บอกว่าผมเหมือนญาติผู้ใหญ่ที่คอยห่วงใยลูกศิษย์


 (彼女たちは一言をお伝えた時、東北弁で言いながら涙を出た、感謝気持ちを込めて伝えた。)



ผมมองไปที่นิสิตในชั้นเรียน ไม่รู้ว่าใครเริ่มต้นร้องไห้ก่อน แต่บรรยากาศนิสิตในชั้นร้องไห้กันเป็นส่วนใหญ่ แถวหน้ามีการแจกทิชชูรายบุคคลเลยเพราะดูเหมือนร้องไห้กันเกือบทั้งหมด หลายคนกลัวว่าคนอื่นจะเห็นว่าร้องไห้ เอาแต่ก้มหน้าอย่างเดียว


 (生徒さんたちはこの大学で4年間勉強したのに、最後の授業の涙を出た経験がなかった。私の最後の授業は最初そして最後涙を出ちゃった!!!)



ผมขอถ่ายภาพกับลูกศิษย์กลุ่ม ๑ เก็บไว้เป็นที่ระลึก

 (私と第1版の生徒さん)






ลูกศิษย์หลายๆคนขออนุญาตถ่ายภาพด้วยเป็นที่ระลึก





วันนั้นไม่คิดว่าลูกศิษย์หลายคนอยากจะขอถ่ายภาพด้วยหลายคนขนาดนั้น พวกเขาเข้าคิวขอถ่ายภาพด้วยราวกับว่าเราเป็นคนสำคัญ


คีย์เวิร์ดของนิสิตกลุ่ม ๑ ที่มีต่อวิชานี้สะท้อนออกมาดังนี้





(私はこの大学で勉強して良かったと思います。この先生を出会って、いろいろなことを教えて頂いてとても幸せになった。ナレスアン大学、この良い先生を持ってきて、ありがとうございます。この大学を卒業したら、ずっと誇るを持ってきます。)














ข้อความที่ลูกศิษย์เขียนเป็นเหมือนกำลังใจให้ผมพยายามต่อไปกับอาชีพอาจารย์มหาวิทยาลัย รักษามาตรฐานในการสอนให้สมกับศรัทธาที่ลูกศิษย์มีต่อผม



 (生徒さんたちの言葉を読んだら、大変勇気をもらった。生徒さんの信頼を守るために、この教える水準をきっと守っています。)


Create Date : 23 ตุลาคม 2553
Last Update : 4 พฤศจิกายน 2553 11:10:59 น. 7 comments
Counter : 2294 Pageviews.

 
อ่านแล้วคิดถึงบรรยากาศตอนเรียนจังเลยค่ะอ.
ไม่รู้ว่าจะได้มีโอกาสที่จะมีบรรยากาศแบบนี้อีกเมื่อไหร่
อาจจะมีอีกหรือไม่มีอีกเลย
แต่หนูคงคิดถึงวิชาและอ.มากแน่ๆค่ะ
หนูไม่เคยหวังว่าวิชานี้จะได้เอ เพราะเห็นชื่อวิชาแล้ว
ยังไงก็คงโหดมหาหินแหงๆ แต่สิบปากว่าจะไปเท่าตาเห็นได้ไง
เรียนไปแล้วแทบไม่อยากขากสักวันสักคาบ
ไปเที่ยวหรือกลับบ้านยังไงอ.รู้ไหมค่ะนู๋รีบกลับมาเรียนวิชา
ของอ.มากๆ ทั้งๆที่วิชาอื่นนู๋คงกระโดดร่มกระจาย ถ้าอ.ที่สอนไม่น่าสนใจ แต่อ.ทำให้หนูรู้สึกแบบนี้ได้ อ.เอาใจหนูไปเลยค่ะ
นับถอยหลังอีกไม่กี่วันหนูจะต้องไปฝึกงานแล้ว
ไม่อยากบอกว่าหนูคิดบรรยากาศตอนเรียนที่ม.จังเลยอ.
คิดถึงเพื่อนๆมากเลยอ. ยิ่งมาอ่านบล็อคอ.วันนี้ แทบจะร้องไห้
หนูจะนำสิ่งที่อ.สอนไปใช้ให้เกิดประโยชน์สุดๆค่ะอ.
ขอบพระคุณอ.มากๆค่ะ ที่มาเป็นอ.และลูกศิษย์กัน


โดย: BunnyChocco IP: 118.172.135.218 วันที่: 23 ตุลาคม 2553 เวลา:20:47:41 น.  

 
ดีใจและภูมิใจที่ได้สอนพวกคุณทุกคน

เก็บเรื่องราวแห่งความประทับใจในชั้นเรียนไว้ในความทรงจำ ทุกครั้งที่นึกถึงแล้วมีความสุข


โดย: ชีวประภา วันที่: 24 ตุลาคม 2553 เวลา:8:43:17 น.  

 
อาจารย์เป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้หนูรัก มน.คะ
:D


โดย: M(iaw) (arissa) IP: 125.26.67.221 วันที่: 24 ตุลาคม 2553 เวลา:13:01:55 น.  

 
เห็นด้วยเลยค่ะ .... ดร. ส่วนมากสอนไม่ค่อยจะรู้เรื่องค่ะประมาณ 80 % นะค่ะ

แต่ดิฉันคิดว่าอาจารย์คงจะอยู่ใน 20% ที่พูดคุยและสอนรู้เรื่องค่ะ

ส่วน ดร. ที่พูดไม่รู้เรื่องดิฉันก็พอจะอ่านออกค่ะ ว่าเพราะอะไร

-----------------------------------------------------

ขออนุญาตแซวหน่อยนะค่ะ เวลาถ่ายรูปร่วมกับ นศ. แทบจะแยกไม่ออกเลยนะค่ะว่าเป็นอาจารย์ นึกว่าเป็นนักศึกษาเสียด้วยซ้ำค่ะ


มีความสุขในวันหยุดยาวนะค่ะ


โดย: reception hall วันที่: 24 ตุลาคม 2553 เวลา:16:09:35 น.  

 
ดีใจที่เหมียวรักมหาวิทยาลัยนเรศวร อยากให้ลูกศิษย์ทุกคนภูมิใจที่ได้มาเรียนและจบไปจากม.นเรศวร


คุณ Reception Hall ขอบคุณสำหรับคำชมครับ แต่ว่าผมอายุพอๆกับคุณพ่อหรือคุณแม่ของลูกศิษย์บางคน

บางคนบอกว่าผมเหมือนคุณพ่อของเขา ลูกศิษย์บางคนเขาแอบเรียกผมว่า "อาจารย์พ่อ" ไปเรียบร้อยแล้ว เพราะห่วงใย เข้าใจ ลูกศิษย์ราวกับพ่อ แถมอายุก้ไล่เลี่ยกับคุณพ่อเขาอีก


โดย: ชีวประภา วันที่: 24 ตุลาคม 2553 เวลา:19:08:10 น.  

 
ขอบคุณอาจารย์นะครับ

ทุกครั้งเวลาผมท้อแท้ ผมนึกถึงคำพูดอาจารย์เสมอ

ความพยายามไม่เคยจบลงด้วยความสูญเปล่า

จากนี้ลูกศิษย์ของอาจารย์ต้องออกไปเจอกับบทเรียนจริงๆ

ผมจะนำคำสอนของอาจารย์ไปใช้แล้วสักวันผมจะกลับมา

หาอาจารย์ในฐานะบัณฑิตและผู้นำ...

ขอให้อาจารย์ดูแลสุขภาพด้วยนะครับ

รักและคิดถึง

ลูกศิษย์ ป.ตรี รุ่น 1


โดย: Jay Jay IP: 223.206.245.218 วันที่: 25 ตุลาคม 2553 เวลา:13:49:57 น.  

 
I'm also proud of being your student.
I agree with them.
You are a natural-born teacher, I guess!!


โดย: Mayuko Ito IP: 219.36.124.13 วันที่: 4 พฤศจิกายน 2553 เวลา:21:42:36 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ชีวประภา
Location :
พิษณุโลก Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]




New Comments
Friends' blogs
[Add ชีวประภา's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.