ชีวิตคือความไม่แน่นอนแต่ในความไม่แน่นอนของชีวิตเรากลับพบความสวยงามของชีวิต
Group Blog
 
All Blogs
 
ลูกศิษย์ระดับปริญญาตรีรุ่นแรกของมหาวิทยาลัยนเรศวรที่เรียนกับผม ตอนที่ 4 (第4課、ナレスアン大学で第一期私の学部生)

 บ่อยครั้งที่มีความคิดดีๆเกิดขึ้นในขณะที่สอน ผมจะหยิบเรื่องนั้นสอนนิสิตทันที

ครั้งหนึ่งเคยถามนิสิตว่า...

"คำว่า "มืออาชีพ (Professional)" หมายความว่าอย่างไร?"


จากความเข้าใจของลูกศิษย์ในชั้นเรียน...ผมขมวดประเด็นให้พวกเขาเข้าใจว่าคำว่า "มืออาชีพ" หมายความว่า


"การที่เราจะไม่ยอมที่จะทำผิดพลาดต่อหน้าลูกค้า ในครั้งแรกที่เราพบกับลูกค้า เพราะถ้าเพียงครั้งแรกที่เจอลูกค้าแล้วเราทำผิดพลาด ความรู้สึกของลูกค้าที่มีต่อเราก็คือ เราไม่ใช่มืออาชีพอีกต่อไป"


คีย์เวิร์ดชั้นเรียนนั้นสะท้อนออกมาด้วยคำว่า "มืออาชีพ" เป็นประเด็นหลักที่นิสิตส่วนใหญ่ในชั้นเขาจับใจความสำคัญได้


เมื่อผมมั่นใจในคีย์เวิร์ดที่นิสิตเขาเขียนกันซึ่งสะท้อนว่านิสิตส่วนมากเขาเข้าใจความหมายของคำว่า Professional จริงๆ ข้อสอบกลางภาคจึงมีคำถามที่ต้องการคำอธิบายจากลูกศิษย์ คำตอบของลูกศิษย์ส่วนมากจึงไม่ทำให้ผมผิดหวัง







ที่ต้องสอนให้เขาเข้าใจความหมายของคำว่า "มืออาชีพ" เพราะวันนึงในอนาคตลูกศิษย์ที่ผมสอนต้องมีความก้าวหน้าในอาชีพการงาน เขาควรจะเป็นมืออาชีพในสิ่งที่เขาทำ ไม่ว่าจะเป็นอาชีพใดก็ตาม ดังนั้นความหมายของการเป็นมืออาชีพจึงเป็นสิ่งที่ลูกศิษย์ควรจะต้องรู้และทำตัวให้เป็นมืออาชีพในแขนงนั้น


กิจกรรมที่ให้นิสิตทำร่วมกันเป็นกลุ่มกับเพื่อนร่วมชั้นเรียนอีกอย่างคือ การนั่งวิเคราะห์กรณีศึกษา


ผมเขียนกรณีศึกษาขึ้นมาเอง โดยเอาจากประสบการณ์ที่ไปสัมผัสมา เป็นประสบการณ์ที่เกิดขึ้นจริงและใกล้ตัวกับนิสิตที่เรียนที่นี่มากกว่ากรณีศึกษาของบริษัทฝรั่งที่อาจารย์คนไทยในมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ใช้กัน

ถ้าตัวอย่างที่ใช้ประกอบการเรียนมันห่างไกลจากตัวนิสิต....ความน่าสนใจมันไม่มีและสำหรับนิสิตที่เรียนอาจจะมองไม่เห็นประโยชน์ที่จะเกิดขึ้น


ให้โอกาสนิสิตเขาทำงานกลุ่มและเตรียมนำเสนอดีๆ เพราะมีผลต่อคะแนนเก็บมากๆ ทุกคนตั้งใจทำงานกรณีศึกษาที่มอบหมายมาให้ทำ หลายคนช่วยกันระดมความคิด











































นิสิตกลุ่ม 3 นั่งคุยงานกันต่อตอนเย็นหลังเลิกเรียน ผมตกใจตอนที่วิ่งออกกำลังกายตอนเย็นเสร็จแล้วพบว่านิสิตกลุ่ม 3 นั่งจับกลุ่มคิดหาวิธีการแก้ปัญหากรณีศึกษาของวิชาที่ผมสอน เห็นถึงความตั้งใจในการทำงานของนิสิตที่สอน

คะแนนการนำเสนอให้คะแนนความคิดสร้างสรรค์ด้วย หลายๆกลุ่มเลยพยายามสร้างงานบวกความคิดสร้างสรรค์เข้ามา
















เรื่องราวของการนั่งถกเพื่อหาประเด็นของกรณีศึกษาและการทุ่มเทเพื่อมานำเสนอหน้าชั้นมองผ่านสไลด์ชุดนี้ซึ่งรวบรวมภาพของนิสิตแต่ละกลุ่มในระหว่างที่พวกเขาทำกิจกรรมกัน






ช่วงที่นิสิตเขานำเสนอผลสรุปการวิเคราะห์กรณีศึกษาของ "บริษัทสงกรานต์ จำกัด" ผมให้คะแนนในการนำเสนอซึ่งผลของคะแนนมีการประกาศทันทีหลังพวกเขารายงานเสร็จ หลายคนตกใจว่าทำไมไวจังเลย!!!

ประเด็นที่นิสิตเขามองข้ามคือ กลุ่มเป้าหมายคือใคร? หลายคนเอาความเป็นตัวเองไปกำหนดวิธีการใช้สื่อเพื่อเข้าถึงลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย ถ้าพวกเขากำหนดกลุ่มเป้าหมายผิดตั้งแต่ต้น...ธุรกิจก็วางแผนผิดพลาดและมีส่วนต่อความล้มเหลวเช่นกัน

กรณีนิสิตกลุ่มภาคพิเศษ...เกิดกรณีปะทะความคิดเห็นขึ้นในชั้นเรียน เมื่อชนินทร์เชื่อมั่นว่าแนวคิดของเขาถูก ผมฟังชนินทร์อธิบายเหตุผลอย่างตั้งใจแล้วหยิบเหตุผลที่อธิบายว่าทำไมโซเชียลเน็ทเวิร์คจึงไม่เหมาะกับการมาตอบโจทย์กรณีบริษัทสงกรานต์





เพื่อนนิสิตในชั้นเรียนหัวเราะกันเมื่อเห็นชนินทร์ยังไม่ยอมแพ้กับเหตุผลที่ผมพยายามอธิบาย พวกเขาอาจจะกำลังคิดว่าแล้วที่สุดอาจารย์จะทำให้ชนินทร์ยอมรับความคิดของอาจารย์อย่างไร?


การโต้เถียงกันในชั้นเรียนเป็นเรื่องปกติที่สามารถกระทำได้ และครูก็ไม่จำเป็นต้องถูกต้องเสมอไป ใช้เหตุผลในการอธิบายหักล้างกันโดยไม่เอาอารมณ์เข้ามาเกี่ยวข้อง ผมต้องการสร้างบรรยากาศของชั้นเรียนแบบนั้น



ผมเข้าใจดีว่าคนไทยรู้สึกเสียหน้าถ้าความคิดของตัวเองถูกค้านต่อหน้าคนอื่น แต่ผมควรจะปล่อยให้ลูกศิษย์เขาเข้าใจผิดตั้งแต่ตอนนี้แล้วเอานิสัยเชื่อมั่นในตัวเองแล้วผลักดันไปสู่ความล้มเหลวในธุรกิจที่เขาทำต่อไปในอนาคตไหม???


ผมถามชนินทร์คำเดียวว่า

"ชนินทร์...คุณเคยเข้าไปจับธุรกิจค้าส่งแล้วหรือยัง?"


ชนินทร์ตอบว่า

"ยังไม่เคยครับ"


ผมพูดกับชนินทร์ต่อไปว่า

"ถ้าคุณไปสัมผัสจริงๆ แล้วคุณจะรู้ว่าลูกค้าร้านค้าปลีกเขาไม่มีพฤติกรรมแบบนิสิตนักศึกษาที่พวกคุณเป็น ถ้ากลุ่มเป้าหมายผิด การวางแผนทางธุรกิจก็ผิดพลาดและโอกาสที่ธุรกิจคุณไม่ประสบความสำเร็จก็จะสูงทีเดียว

มีคนหนุ่มไฟแรงอายุเท่าคุณที่ล้มเหลวในการทำธุรกิจมามาก เพราะเชื่อมั่นในตนเอง ไม่เข้าใจว่าลูกค้าที่แท้จริงคือใคร ใช้ความรู้สึกของตนเองในการวางแผนทางการตลาด ไม่ได้เข้าใจตลาดอย่างแท้จริง

ถ้าคุณอยากประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจในอนาคต...คุณควรจะฟังเสียงสะท้อนของคนอื่นให้มากๆ อย่าเชื่อในสิ่งที่ตนเองคิดว่าถูกเสมอไป"


บรรยากาศของการโต้แย้งจบลงหลังจากนั้น ผมเข้าไปคุยกับชนินทร์ต่อหลังเลิกชั้นเรียน แนะนำว่าความคิดดีๆของเขาไม่เสียหายแต่ใช้ให้ถูกต้องกับกลุ่มเป้าหมาย


ตอนสอบกลางภาคนิสิตไม่คุ้นเคยกับข้อสอบที่ผมให้อธิบาย เพราะส่วนมากอาจารย์ไม่ค่อยออกข้อสอบแบบให้นิสิตอธิบายเนื่องจากใช้เวลาในการตรวจนานมากๆ ผมมีชั้นเรียนที่ต้องสอนทั้งหมด 5 กลุ่ม มีนิสิตที่ลงทะเบียนทั้งหมด 231 คน ซึ่งจำนวนชุดข้อสอบที่รอให้ตรวจหลังนิสิตสอบเสร็จมีจำนวนมากทีเดียวและใช้เวลาในการตรวจมากทีเดียว...หลายอาทิตย์กว่าจะตรวจเสร็จหมดทั้ง 5 กลุ่ม





แต่ผมต้องการเช็กว่าลูกศิษย์ผมเข้าใจในเนื้อหาที่ผมสอนมากน้อยแค่ไหน ถ้าเป็นข้อสอบปรนัยจะเช็กอะไรไม่ได้เลย เราในฐานะอาจารย์เจ้าของรายวิชาก็อดทนตรวจหน่อยแต่เราจะสามารถเช็กและได้คุณภาพของนิสิตอย่างที่เราต้องการ


อ่านคำตอบที่นิสิตหลายๆคนเขียนมาแล้ว...อารมณ์ดี เพราะตอบไม่ค่อยตรงประเด็น แถมเขียนอธิบายยกอะไรที่ไม่เคยสอนขึ้นมาตอบมันสะท้อนว่านิสิตรายนั้นเขาขาดเรียนพอดีตอนที่ผมสอนเนื้อหานั้น


ข้อสอบกลางภาคเก็บเพียง 15 คะแนน มี 5 ข้อและนิสิตต้องทำทุกข้อ ใช้เวลาทำสอบ 3 ชั่วโมง นิสิตหลายคนนั่งเขียนอธิบายคำตอบจนถึงหมดเวลา

เสียงสะท้อนจากนิสิตที่เข้าสอบบางราย เขาบอกว่าวิชาอื่นเก็บมากกว่านี้นิสิตส่วนมากไม่สนใจเตรียมตัวสอบกัน แต่วิชาที่ผมสอนถึงจะเก็บเพียง 15 คะแนนแต่นิสิตเขาเตรียมตัวสอบกันอย่างดี


ที่ยังจำได้แม่นๆคือ คำตอบของโยทกาที่อธิบายพันธกิจของเธอในฐานะนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวรว่า

"ฉันเป็นผู้หญิงอ้วนกลม อารมณ์ดี"


ผมไม่รู้ว่ามันไปเกี่ยวอะไรกับพันธกิจของนิสิต....แต่มันทำให้ผมอารมณ์ดีตอนได้อ่านคำตอบของนิสิตหญิงรายนี้





Create Date : 03 ตุลาคม 2553
Last Update : 3 ตุลาคม 2553 14:30:32 น. 8 comments
Counter : 1784 Pageviews.

 
หนูกำลังงงค่ะอ.
ที่อ.บอกว่า...
"นิสิตตอบคำถามในข้อสอบไม่ค่อยตรงประเด็น......อารมณ์ดี"
ไม่เข้าใจจริงๆค่ะอ.


โดย: BunnyChocco IP: 61.19.231.7 วันที่: 3 ตุลาคม 2553 เวลา:13:35:53 น.  

 
หลายคนตอบแบบมั่วๆมา อ่านแล้วก็ขำ เพราะมันไม่ตรงประเด็นเลย บางคนไปยกกลยุทธ์ขายหน้าตาดารามาตอบตอนที่ผมถามว่าพวกดารานักร้องใช้กลยุทธ์อะไร? อ่านแล้วก็หัวเราะว่ามั่วดี


โดย: ชีวประภา วันที่: 3 ตุลาคม 2553 เวลา:14:24:08 น.  

 
อาจารย์คะ
วันนี้วันที่ 3 ตุลาคม 2553
เมื่อเวลาประมาณ 14.10 น. เพื่อนของหนูโทรมาคุยเล่น
เรื่อยเปื่อยและรื่อยๆๆๆๆๆ แถมบอกว่ากลยุทธ์ออกแล้ว แต่เป็นคะแนนนะ ไม่นานหนูก็เลยขอวาง

และเวลาประมาณ 14.23 น. รีบเข้า reg เพื่อดูคะแนน
แต่แล้ว หนูอยากร้องไห้ง่ะ
หนูหมดสิทธิ์ลุ้น A เป็นแน่แล้ว

แต่ยังไงซะ
อาจารย์อย่าใจร้ายนะ
นะ นะ นะ... นะคะ

บอกตรงๆ ตอนนี้ใจยังเต้น ตึก ตึก ตึก... อยู่เลย
อาจารย์อย่าใจร้ายนะคะ... ได้โปรด


โดย: PIYATIDA IP: 117.47.161.9 วันที่: 3 ตุลาคม 2553 เวลา:15:06:34 น.  

 
ดร.ชาตรี จะใช้กลยุทธใดกับข้อความข้างบนนี้ ^____^


โดย: BabyGreace วันที่: 3 ตุลาคม 2553 เวลา:15:39:20 น.  

 
สวัสดีค่ะ แวะเข้ามาเก็บแนวคิดค่ะ


โดย: เก่ง (keng_toshi ) วันที่: 3 ตุลาคม 2553 เวลา:15:44:59 น.  

 
ปิยธิดา..หนูวิตกจริตเกินไป

สิ่งที่เกิดขึ้นแล้วดีเสมอ เคยได้ยินคำพูดนี้ไหม? ทำไปแล้ว...ก็ผ่านไปแล้ว แล้วถ้าทำเต็มที่กับการทำสอบ คะแนนก็เป็นแค่ผลลัพธ์

ถ้าหนูเชื่อว่า "ความพยายามของผู้คน ไม่จบลงด้วยความสูญเปล่า" ก็วัดดวงเอาตอนประกาศเกรด ผมจำได้ว่ากรอกเกรดอะไรของคุณลงไปในระบบ

คุณกังวลจนเกินไป...แบบนี้ใครเป็นแฟนคุณคงคิดหนักนะ เพราะเขาต้องรองรับอารมณืวิตกจริตของคุณที่มีตอนเกิดเรื่องที่คุณกังวลขึ้นใหม่


โดย: ชีวประภา วันที่: 3 ตุลาคม 2553 เวลา:16:50:34 น.  

 

น้องๆตั้งใจกันมากเลยนะคะอาจารย์

แถมอาจารย์ยังขยันตรวจข้อสอบอีก


โดย: always_student วันที่: 3 ตุลาคม 2553 เวลา:17:00:25 น.  

 
ขอบคุณอ.มากค่ะ

ที่มาเล่าบรรยากาศชั้นเรียนให้ฟัง

ฟังแล้วคิดถึง ++


โดย: นะโม IP: 117.47.7.161 วันที่: 3 ตุลาคม 2553 เวลา:22:42:45 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ชีวประภา
Location :
พิษณุโลก Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]




New Comments
Friends' blogs
[Add ชีวประภา's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.