bloggang.com mainmenu search
เชื่อว่า หลายๆบ้าน ในระหว่างก่อสร้างน่าประสบปัญหาเดียวกัน หากว่า แบบบ้านที่เราไปจ้างสถาปนิคเขียนมานั้นไม่มีการจัดวางแนวท่อระบายน้ำเสีย ท่อน้ำดี และท่อส้วม(เกรอะ) หรือแบบที่เขียนมานั้น แรกๆ เราก็ชอบนะ แต่เนื่องจากระยะเวลาก่อสร้างมันนานเกินไป นานเกินจน ความต้องการของเรามันมีเปลี่ยนไปจาก Design เดิมที่เคยคุยกับสถาปนิคเอาไว้ (ส่วนใหญ่จะมาอีหรอบนี้กันทั้งนั้น)....

ทีนี้ปัญหาเกิดล่ะครับ เพราะ ในระหว่างก่อสร้างหรือเทคาน เค้าจะต้องมีการเสียบท่อขนาดใหญ่ทิ้งเอาไว้ในระหว่างจะทำการเทคานหรือเทพื้นห้องน้ำเพื่อใช้เป็นทางเข้าทางออกของพวกบรรดาท่อน้ำต่างๆที่กล่าวมา...พอแบบ Design เปลี่ยนไปเช่นตำแหน่งการจัดวางเครื่องสุขภัณฑ์ไปอยู่แนวเดิมแล้วดันไปอยู่ในตำแหน่งที่คานมาบดบังทรรศนวิสัยในการจัดวางท่อและแนวระดับ...งานนี้ต้องดัดแปลงเพื่อให้เข้ากับ concept ใหม่

จุดสำคัญในการวิเคราะห์
1. แนวระดับของท่อจะต้องลาดเอียงไม่น้อยกว่า 1 cm ในทุกๆ 100 cm (คือการประมาณการความลาดเอียงในช่วงความยาวก่อนต่อตรงลงไปในแนวดิ่ง)

2. ต้องให้มีจุด joint ของท่อให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้และควรอยู่ในแนวเรียงกัน (เลี่ยงการต่อแบบตัว Y) เช่น ต่อ จาก ท่อน้ำทิ้งของอ่างล้างหน้า -> ท่อน้ำทิ้งของพื้นห้องน้ำ -> ไปยังท่อแนวดิ่งที่จะลงไปยังถังบำบัด

3. ในท่อส้วม(เกรอะ)ต้องติดท่ออากาศเอาไว้ด้วยโดยตำแหน่งต้องให้อยู่ใกล้ที่สุดเท่าที่จะทำได้นับตั้งแต่ฐานส้วมลงไปต่อกับท่อเกรอะ ไม่งั้นจะมีปัญหากับชักโครกเช่นกดน้ำแล้วไม่ค่อยลงเพราะเกิดแรงดูดน้อยและหากเป็นส้วมระบบน้ำวนเนี่ยแรงดูดยิ่งน้อยลงไปอีก (ช่างว่างั้น แฮะๆ ระบุยี่ห้อมาด้วยพวก American Standard เนี่ย....เราก็ว่าเอ...แล้วเค้าทำแต่ระบบน้ำวนหรืองัยยี่ห้อเนี้ย..ไม่น่าเกี่ยวล่ะมั๊ง..แต่ช่างเหอะ..ที่เราไปเลือกไว้ก็ไม่ได้เลือกของยี่ห้อนี้ไว้อยู่แล้วนิ อิอิ งั้นก็รอดไป)

4. คำนึงถึงในเรื่องการทำ maintenance ต่อในภายหลังด้วยเช่น มีจุดสามารถล้วงหรือต้องมีการติดตั้งปลายท่อ service ในจุดที่เข้าถึงได้ง่าย เพื่อจะได้ล้วงแคะแกะเกาสะดวกๆ

5. ที่ลืมไม่ได้เด็ดขาด....ถ่ายรูปครับ...ต้องถ่ายรูปแนวท่อต่างๆเก็บไว้ให้โดยละเอียดเพราะ ท่อพวกนี้ มันฝัง!! ซึ่งหากเกิดการรั่วจะได้รู้แนวท่อว่าต้องสะกัดที่ไหน....(ปัญหานี้มักเกิดกับบ้านมือสองที่เราไปซื้อเค้ามา ซึ่งแน่ล่ะ เค้าไม่มีแนวท่อและแนวสายไฟมาให้ไล่ก็ลำบาก ส่วนใหญ่เลี่ยงกันไปโดยเดินระบบท่อใหม่ไปเลยโดยการเดินลอยนอกผนังไป )....แต่ถึงอย่างงั้นแม้เป็นบ้านมือหนึ่งสร้างใหม่ ก็ยังสำคัญอยู่ดี

อ่ะๆ วิชาการไปหน่อย เข้าเรื่องบ้านเราดีกว่า....
ช่างก็กำลังวางระบบท่อน้ำทิ้งของห้องน้ำลูกที่อยู่ชั้น 3 ซึ่งมันก็ต้องทะลุลงมาที่บนฝ้าชั้น 2 ทุกอย่างต้องเก็บไว้บนฝ้า เลยต้องมีการวางแนวท่อหลบแต่ก็ต้องได้ระดับความลาดเอียง แล้วไหนจะมีการเปลี่ยนแบบ ของห้องนั่งเล่นด้านล่างที่ไม่มีผนังส่วนที่จะให้ท่อลงมาแอบได้อีก...หมดกัน....

ต้องมาหาทางลงใหม่โดยไม่ให้มันน่าเกลียดและต้องไม่ให้เกิดปัญหากับส้วมด้วย สุดท้ายก็จัดการได้สำเร็จ เรียกประชุมช่างก่อและช่างประปามาลงความเห็น โดยยึดเอาคำเราเป็นประกาศิต...

เรา -> ช่างประปา "ผมยังงัยก็ได้ขอให้ไม่เสีย concept ของห้องนั่งเล่นที่ตรงท่อจะลงเป็นแนวระเบียงโล่งแต่ห้ามเกิดปัญหากับส้วมนะ"

ช่างประปา -> เรา "เอางี้งั้นผมเอาลงข้างเสาแล้วก็ก่อแนวเสาหนาขึ้นหน่อย"

ช่างก่อสร้าง -> เรา "อย่างงี้ก็พอได้นะ ช่องพื้นที่ๆเหลือพี่ก็ทำพวกตู้พวกชั้นวางมาติดซะก็สวยนะ"

เรา(คิดในใจ) "เออว่ะ ก็สวยไปอีกแบบนะ แถมมีช่องเก็บวางของลงตัวแนว built-in ไปด้วย"...คิดได้งั้นก็เห็นด้วย...อ่ะงั้นลงมือจัดการได้เลยครับ


มาจากหลายจุดมาลงร่วมกัน ทั้งจากท่อระบายน้ำที่ระเบียงนอกบ้านชั้น 3






หลังจากนั้นก็ติดชุดจับยึดท่อไม่ให้ท่อแบกรับน้ำหนัก ป้องกันรอยต่อท่อรั่วหรือท่อหย่อนลงมา






จากนั้น ก็ประกอบปลายท่อสำหรับ service ในภายหลังหากเกิดการอุดตัน โดยกระดกยกเอียงขึ้นมา 45 องศากันไหลย้อน...(แต่มานจะตันเหรอเนี่ย ท่อใหญ่ซะขนาดนี้ ใช้ท่อ ความใหญ่ spec หอพักนักศึกษา......เฮ้ย ทำไมต้องหอพักนักศึกษาสาวล่ะ.......เอ้ยไปกันใหญ่แล้ว )....ช่างว่าท่อใหญ่งี้ ตะเกียบยังไหลผ่านลงมาได้เลยครับพี่...ซึ่งตอนทำฝ้าจะต้องสามารถเปิดช่องตรงนี้ขึ้นมาได้ด้วย






ลักษณะของปลายท่อ service ของท่อน้ำทิ้งนี่ก็ปิดด้วยทองเหลืองที่ปลายแล้ว ในท่อก็ต๊าบเกลียวใน








มาดูในส่วนระบบท่อส้วม(เกรอะ) ก็ใช้ท่อที่ใหญ่กว่าท่อน้ำทิ้งสเปคก็อย่างว่าใหญ่แบบหอพักนักศึกษา(....) เว้นไว้ในฐานที่เข้าใจ

ที่ว่าต้องมีการต่อท่ออากาศเอาไว้ด้วยช่วยในเรื่องแรงดันเพิ่มการไหลของ ในท่อ....(ฮ่าๆๆ มีรูปให้ด้วยแฮะ....ดี...จะได้ม่ะเขียน) ตรงที่วง แดงๆ ไว้น่ะหล่ะครับ
เอาให้ใกล้จุดต่อชักโครกให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้






ปลายท่ออากาศดังกล่าวก็ไปโผล่ออกนอกบ้านไป ทำก่อแนวซ่อนปลายท่อหน่อยให้เนียนๆ....






จากนั้นก็ตามไปดูช่างเค้าทำในห้องน้ำอื่นๆอีก.....แต่ก็มาเจอพิกัดปัญหาคือ ช่างประปาดันเจาะพื้นผิดตำแหน่ง....ตำแหน่งที่จะต้องเอาท่อลงจริงๆอยู่ตรงที่ขี้ช่องสี่เหลี่ยมไว้นั่น.......เวรกรำ.........ต้องเจาะใหม่...เลยกำชับกับทางหัวหน้าช่างไปว่า ตรงพื้นที่เจาะไว้เนี่ย ระวังในเรื่องการรั่วซึมหน่อยนะครับ....ซึ่งทางหัวหน้าช่างเค้าว่าเด๋วเค้าเอากาวอะไรของเค้าเนี่ย จำชื่อทางช่างเค้าไม่ได้มาลงให้รับรองมันประสานได้เนียนไม่รั่วแน่นอนครับ....ได้ยินงั้นค่อยโล่งใจ





จากนั้นก็เดินตรวจสอบและถ่ายรูปแนวท่อประปาที่เดินตามพื้นห้องน้ำว่าจุดไหนต่อกันยังงัยไปลงตรงไหน ออกตรงไหนตรงตามแบบหรือเปล่า ก็โอเคผ่าน.....เดินท่อประปาลงพื้นห้องน้ำก็ดีงานจะได้เรียบร้อยไม่ต้องไปสะกัดผนังมาก

นี่ก็ห้องน้ำใหญ่ชั้น 2








ห้องน้ำลูกที่ชั้น 3










ห้องน้ำคู่กลางระหว่างห้องดูหนังกับห้องนอนรับแขก









แล้วก็เดินผ่านไปเตะตาตรงระเบียงนอกบ้านชั้น 3....เอะ ตรงนี้ในแบบมันไม่มีท่อประปานี่นา...............แต่คิดไปคิดมา...มีก็ดีเหมือนกันนะ ช่างเค้าคิดเผื่อให้ทำแถม ก็ดีเหมือนกัน...เอาไว้ล้างได้เผื่อจะจัดสวนเล็กๆตรงระเบียงนี่ก็จะได้มีน้ำไว้รดต้นไม้...อืมๆๆ....งั้นปล่อยผ่านได้




จากนั้นก็มาดูสเปคท่อที่ทางเฮียเค้าจัดมาให้ก็ท่อตราช้าง...ก็โอเคอ่ะนะ
ท่อน้ำดี ใช้ขนาด 1/2", ท่อน้ำเสีย (ท่อหลัก)ใช้ขนาด 3" (ท่อร่วม)ใช้ขนาด 2", ท่อส้วม(เกรอะ) ใช้ขนาด 4"......ใหญ่ดีแท้



ส่งท้ายด้วยภาพเด็กวินคาร์ฟูร์ครับ.....
Create Date :01 กันยายน 2553 Last Update :1 กันยายน 2553 12:15:15 น. Counter : Pageviews. Comments :17