bloggang.com mainmenu search




พระธาตุหริภุญชัย ลำพูน




ตอนที่ ๒ ทริปเชียงใหม่-เชียงราย วันที่ ๒๘-๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๕ วันนี้ก็ยังไม่ถึงเชียงใหม่ค่ะ ทิ้งท้ายไว้ตอนก่อน...เราขอมาแวะที่พระธาตุหริภุญชัยก่อน เมื่อตอนผ่านลำปางเห็นป้ายบอกทางไปพระธาตุลำปางหลวง ยังไม่เคยไป ทริปนี้ก็ยังไม่ได้ไปอยู่ดี ส่วนพระธาตุหริภุญชัยเคยมาเมื่อปลายปี ๒๕๕๓ วันนี้ก็มาแวะอีกแล้วค่ะ เที่ยวที่เดิมคนละวัน-เวลา บ้านเราทำแบบนี้ประจำค่ะ

ครั้งนี้ถ่ายรูป และลงข้อมูลไม่ละเอียดนะคะ เคยอัพบล็อกไปแล้วสองตอน ตามเข้าไปชมได้ค่ะ


//www.bloggang.com/viewdiary.php?id=morkmek&month=12-2010&date=15&group=1&gblog=84


//www.bloggang.com/mainblog.php?id=morkmek&month=16-12-2010&group=1&gblog=85













เรามาจอดรถด้านหลังบริเวณโรงเรียนเมธีวุฒิกร เห็นเจดีย์เชียงยัน แถมเต็นท์กับรถมาด้วยค่ะ


พระธาตุรัตนเจดีย์

หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า "เจดีย์เชียงยัน" ตั้งอยู่นอกกำแพงทางทิศเหนือ ขององค์พระบรมธาตุหริภุญชัย ตามตำนานกล่าวว่า สร้างขึ้นในสมัยของพระเจ้าอาทิตยราชแห่งนครหริภุญชัย สำหรับเจดีย์องค์ในปัจจุบัน เป็นเจดีย์ที่ได้รับการปฎิสังขรณ์ ในสมัยของพระเจ้าติโลกราชแห่งนครเชียงใหม่ และกรมศิลปากรก็ได้ทำการบูรณะองค์พระเจดีย์ใหม่

ลักษณะทางสถาปัตยกรรม ตรงส่วนของฐานล่างเจดีย์เป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสซ้อนขึ้นไป ๔ ชั้นเหนือขึ้นไปทำเป็นบัวคว่ำ และบัวถลาเป็นส่วนรองรับฐานสูง เหนือขึ้นไปเป็นเรือนธาตุ ตัวเรือนธาตุทั้ง ๔ ด้าน ทำเป็นซุ้มจระนำ แต่ก่อนคงประดิษฐานพระพุทธรูปไว้ตรงเหนือส่วนของเรือนฐานขึ้นไปเป็นฐานแปดเหลี่ยมซ้อนขึ้นไปรองรับองค์สถูปที่เป็นทรงระฆังแบบลังกา

เหนือเรือนธาตุทำเป็นเจดีย์จำลองทรงสี่เหลี่ยมตรงมุมทั้งสี่ เหนือองค์ระฆังไม่มีบัลลังก์ แต่ทำเป็นยอดบัวกลุ่มสลับกับบัวลูกแก้วลดหลั่นกันไปถึงส่วนยอดลวดลายที่ประดับและประกอบซุ้มจระนำ
และผนังย่อเก็จประกอบไปด้วยลายบัวคอเสื้อประจำยาม และบัวเชิงล่าง มีลักษณะเป็นลายดอกเบญจมาศและใบไม้ประดิษฐ์ ล้อมรอบในกรอบเส้นลวด ซึ่งเป็นรูปแบบของลวดลายที่นิยมทำกัน ในสมัยของพระเจ้าติโลกราช

ปัจจุบันนี้ เจดีย์เชียงยันอยุ่ในพื้นที่ของ โรงเรียนเมธีวุฒิกร











เดินผ่านพิพิธภัณฑ์หลวงพ่อพระสุเมธมังคลาจารย์








อ้าว เค้าจอดรถกันด้านนี้เหรอคะ มาสองรอบยังหาทางเข้าด้านหน้าไม่เจอซักที








มองสูงไว้ก่อน หลังคาอะไร สวย...









เดินตามเสียงประกาศมาเรื่อยๆ เชิญชวนให้เข้ากราบไหว้ เนื่องในเทศกาลปีใหม่















พยายามจะหาข้อมูลเพิ่มเติม...ไม่ทราบเลยค่ะ คราวที่แล้วก็ไม่ได้มาตรงนี้...















งามเรียบๆ นะคะ









หงุดหงิดตัวเองค่ะ จำชื่อพระพุทธรูปไม่ได้









หน้าต่าง









ประตูค่ะ









เพดาน









งามนะคะ แถวภาคเหนือจะเห็นพระพุทธรูป มีสิ่งกีดขวางกั้นแบบนี้เยอะเลยค่ะ









เดินออกมา...ขวามือเป็นซุ้มประตูสิงห์ ตรงหน้าเป็นวิหารพระไสยาสน์ค่ะ









ซุ้มประตูสิงห์

เป็นประตูทางเข้าวัด ทางฝั่งตะวันออก โดยผู้ที่เข้าสู่วัดจากถนนประตูท่าสิงห์ จะพบกับประตูนี้ เป็นประตูแรก และนับได้ว่าเป็นสัญลักษณ์อีกสิ่งหนึ่งของวัดพระธาตุหริภุญชัย เนื่องจากเป็นรูปปั้นสิงโตคอยยืนอารักขาที่หน้าประตูวัดตามศิลปวัฒนธรรมของชาวล้านนา รูปปั้นสิงโตของวัดพระธาตุหริภุญชัย เป็นสิงห์สีแดง ขนาดใหญ่

ซุ้มประตูนี้ สร้างขึ้นเมื่อครั้งที่พระเจ้าติโลกราชทรงทำการบูรณะวัดโดยโปรดให้ก่อกำแพง โดยรอบเขตพุทธาวาส เพื่อเป็นการป้องกันรักษาองค์พระธาตุอีกชั้นหนึ่ง ทั้งยังทรงให้ก่อสร้างซุ้มประตูโขงประดับด้วยลวดลายปูนปั้นอย่างงดงามทางประตูด้านทิศตะวันออก หน้าวิหารหลวงทางทิศเหนือและทางทิศใต้ และทิศตะวันตก แต่ปัจจุบันคงเหลือแต่ซุ้มประตูโขงทางทิศตะวันออกเท่านั้น












จากซุ้มประตูสิงห์เข้ามาเป็นวิหารหลวงค่ะ









วิหารหลวงหลังปัจจุบัน เป็นวิหารหลังใหม่ที่สร้างขึ้นในปี พ.ศ.๒๔๖๐ แล้วเสร็จในปี พ.ศ.๒๔๗๒








ระเบียงคดด้านติดกับกำแพงประตูวัด









อีกด้าน นึกภาพออกนะคะ ซุ้มประตูสิงห์อยู่ตรงกลางค่ะ









ป้ายด้านหน้าทางเข้าวิหารหลวง "กรุณาแต่งกายสุภาพ"









พระประธานภายในวิหารหลวงประดิษฐานพระแก้วขาวนามว่า "พระเสตังคมณีศรีเมืองหริภุญชัย"









พระประธาน องค์กลางค่ะ ประทับนั่งอยู่เหนือบุษบกที่แกะสลักลงรักปิดทอง









ประตู









เวลาบ่ายสองโมง วันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๕ ค่ะ










ด้านหน้าวิหารหลวง








หอไตรค่ะ









เก็บภาพไว้เป็นที่ระลึกหน่อยเนาะ









หอไตร หรือ หอธรรม ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ ขององค์พระบรมธาตุหริภุญชัย

ลักษณะทางสถาปัตยกรรมของหอไตรหลังนี้มีลักษณะเช่นเดียวกับหอไตรของวัดพระสิงห์ และวัดเชียงมั่น จังหวัดเชียงใหม่










หอไตรของวัดพระธาตุหริภุญชัย สร้างเป็นอาคาร ๒ ชั้น ชั้นล่างก่ออิฐถือปูน ชั้นบนเป็นอาคารเครื่องไม้ ตัวอาคารหอไตรตั้งอยู่บนฐานขนาดใหญ่ ซึ่งมีบันไดขึ้นทางด้านหน้า สองข้างบันไดมีสิงโตหินประดับที่หัวเสา ตัวอาคารหอไตรชั้นล่างที่ก่อด้วยอิฐถือปูนมีประตูทางเข้าทางเดียว ส่วนชั้นบนเป็นเครื่องไม้ทำเป็นบันไดนาคเล็กๆ ตั้งอยู่ด้านหน้า บนประตูทางเข้าชั้นล่างตัวอาคารมีการประดับด้วยไม้แกะสลักปิดทองประดับกระจกอย่างสวยงาม มีมุขทั้งด้านหน้าและด้านหลัง หลังคาลดชั้นประดับด้วยช่อฟ้าใบระกาหางหงส์หลังคามุงด้วยแผ่นดีบุกอย่างวิจิตรงดงาม

การประกอบโครงสร้างของหอไตรเป็นเทคนิคการก่อสร้างแบบโบราณ คือจะยึดส่วนต่างๆ ของโครงสร้างด้วยหมุดไม้ แทนที่จะตอกด้วยตะปูเช่นในปัจจุบัน ส่วนพื้นของหอปูด้วยแผ่นไม้ที่มีขนาดหน้ากว้างประมาณ ๑ ฟุต หอไตรแห่งนี้นับว่ามีความสวยงามมากที่สุดแห่งหนึ่งในภาคเหนือ เนื่องจากไม้ทุกชิ้นที่นำมาประกอบเป็นหอไตรนั้น แกะสลักด้วยลวดลายที่วิจิตรบรรจงยิ่งนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งลวดลายตรงที่หน้าบันที่ยังคงความสมบูรณ์ที่สุด













เขาพระสุเมรุจำลอง หรือ เขาสิเนรุจำลอง ขนาดย่อม ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ขององค์พระบรมธาตุหริภุญชัย

และอยู่ด้านหน้าหอไตร มีลักษณะคล้ายเจดีย์ขนาดเล็ก ทรงกลม ก่อด้วยอิฐถือปูน









ลวดลายสวยงาม บนหลังคาวิหารหลวง









ด้านข้างวิหารหลวง / องค์พระธาตุเดินตรงไปค่ะ









บ่ายสองสามนาที ฟ้าแจ่มดีค่ะ









พระบรมธาตุหริภุญชัย สัญลักษณ์ของความเจริญรุ่งเรืองของพุทธศาสนาในดินแดนหริภุญชัยและล้านนาไทยนับพันปี






































วิหารพระพุทธ ตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ขององค์พระบรมธาตุหริภุญชัย









ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปประทับนั่ง ปางมารวิชัยขนาดใหญ่ ลงรักปิดทองอย่างงดงาม เรียกว่า "พระพุทธ"










จะเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมเฉพาะในวันสำคัญ (คราวก่อนเรามา ไม่เปิดค่ะ)
















มองกลับไปที่วิหารหลวง









หอไตร และเขาพระสุเมรุจำลอง









ช่างกำลังซ่อมทำสี...ร้อนนะคะ









หอกังสดาล เป็นหอระฆังขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือขององค์พระบรมธาตุหริภุญชัย









เป็นหอสำหรับแขวนระฆัง และกังสดาลขนาดใหญ่









เมฆขอไปตีระฆัง แม่บอกว่าไปเถอะ เดี๋ยวแม่รอ...









ปะป๊า กับเจ้ เดินไปแล้วค่ะ









วิหารพระเจ้าละโว้ ป้ายบังค่ะ















พิพิธภัีณฑ์วัด ที่เห็นยอดพระเจดีย์คือ สุวรรณเจดีย์ หรือเจดีย์ปทุมวดี
















๑๔.๑๔ น. ออกมาแล้วค่ะ









ออกจากประตูนี้ เราไปเส้น ๑๐๖ ป่าซางค่ะ









๑๔.๑๙ น.









๑๔.๕๓ น. ภาพสุดท้ายของบล็อกนี้ค่ะ














แรงเทียน : นันทิดา







Create Date :04 กุมภาพันธ์ 2556 Last Update :27 มีนาคม 2557 22:12:08 น. Counter : 3208 Pageviews. Comments :68