bloggang.com mainmenu search


ทริปปีใหม่ 30 ธันวาคม 2560 - 1 มกราคม 2561

วันเที่ยวน้อย มาไกล ยังไม่เข้าที่พัก เที่ยวกันเลยค่ะ

ออกจากวัดภูมินทร์ ยังเดินเตร็ดเตร่กันแถวนี้ 



วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร 



ยังไม่ได้ข้ามไปฝั่งโน้นค่ะ จากวัดภูมินทร์ เราเดินมาต่อกันที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน



อยู่ใกล้ ๆ กัน เข้าวัดโน้น ออกวัดนี้ เดินเที่ยวสบาย ๆ ค่ะ



อาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน เดิมเรียกว่า หอคำ หรือ คุ้มหลวง สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2446 โดยพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช เจ้าผู้ครองนครน่าน เพื่อใช้เป็นที่พำนักและที่ออกว่าราชการ ต่อมาได้ใช้เป็นที่พำนักของเจ้ามหาพรหมสุรธาดา เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์สุดท้าย กระทั่งพิราลัย บุตรหลานของเจ้าผู้ครองนครน่าน จึงมอบอาคารพร้อมที่ดินให้กับรัฐบาล เพื่อใช้เป็นที่ตั้งของศาลากลางจังหวัด และเมื่อได้มีการสร้างอาคารศาลากลางหลังใหม่ ในปี พ.ศ. 2517 กระทรวงมหาดไทยจึงมอบอาคารและพื้นที่ให้กรมศิลปากร เพื่อจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากรใช้เวลาอยู่นานหลายปีในการบูรณะตัวอาคารซึ่งอยู่ในสภาพทรุดโทรม จนล่วงมาถึงปี พ.ศ. 2524 จึงแล้วเสร็จ และเริ่มจัดแสดงภายใน และได้เปิดให้บริการแก่ประชาชนอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2530 โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จเป็นประธานในพิธีเปิด

https://www.museumsiam.org/mdn-detail.php?MDNID=116



หน้าบันทั้ง 3 ด้าน ประดับลายไม้ฉลุเป็นลายพญานาค 2 ตัว ล้อมรอบตราโคอุศุภราชตรงกลาง อันเป็นตราประจำเมืองนครน่าน



คราวที่แล้วมา เราไม่ได้เข้าไปด้านในพิพิธภัณฑ์ ครั้งนี้ไม่พลาดแน่ค่ะ



อนุสาวรีย์พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช



พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ พระเจ้าผู้ครองนครน่าน เป็นบุตรของเจ้าอนันตวรฤทธิเดชและแม่เจ้าสุนันทา ประสูติในสมัยรัชกาลที่ 3 เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ปีเถาะ จุลศักราช 1193 พุทธศักราช 2374 ในรัชกาลที่ 4 พ.ศ. 2398 ได้รับพระราชทานสัญญาบัตร เป็นพระยาราชวงษ์ ถึงรัชกาลที่ 5 พ.ศ. 2431 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้เป็นว่าที่เจ้าอุปราช นครน่าน พ.ศ. 2436 ได้รับพระราชทานสัญญาบัตร เป็นเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ เจ้าผู้ครองนครน่าน พ.ศ. 2446 ได้รับพระราชทานสุพรรณบัตรเป็นพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ พระเจ้าผู้ครองนครน่าน ถึงแก่พิราลัยเมื่อวันที่ 5 เมษายน2461 เวลา 04.50 น. สมัยรัชกาลที่ 6 พระชนมายุ 87 พรรษา ครองนครน่าน 25 ปีเศษ



อาคารพิพิธภัณฑ์ เป็นตึก 2 ชั้น ทรงไทยผสมตะวันตก





นิทรรศการชมฟรีค่ะ













ภาพจิตรกรรมสีน้ำมัน พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช



สัปคับ อายุราวครึ่งแรกของพุทธศตวรรษที่ 25 สร้างจากไม้ ลงรัก ปิดทอง ประดับกระจก

ส่วนขาสลักเป็นแนวลายดอกไม้  ตรงกลางเป็นช่อดอกไม้ แนวแบ่งระหว่างฐานและพนัก เป็นลายดอกประจำยาม

เดิมเป็นสมบัติของเจ้าผู้ครองนครน่าน



ที่พลาดไม่ได้เลย ในการมาเยือนเมืองน่าน คือสิ่งนี้ค่ะ 

งาช้างดำ ของล้ำค่าคู่เมืองน่าน





เครื่องใช้ส่วนพระองค์เจ้าหลวง









ภาพจิตรกรรมสีน้ำมัน เจ้ามหาพรหมสุรธาดา



ตราประจำเมืองนครน่าน





เตียบ ทำจากไม้ หรือไม้ไผ่สาน ลงรัก ตกแต่งด้วยสี ชาด หรือ ปิดทองคำ





















ลงมาแล้วค่ะ สำรวจด้านนอกอาคารอีกนิด





สิงห์ ด้านหน้าทางเข้า







โบราณสถานวัดน้อย





น่าจะทำพิธีอะไรซักอย่าง







ซุ้มจามจุรี ในวันที่คนเยอะ ช่วงเทศกาล









เดี๋ยวไปวัดพระธาตุช้างค้ำกันต่อเลยค่ะ





วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร อยู่ตรงข้ามพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน เดิมชื่อ วัดหลวงกลางเวียง เจ้าผู้ครองนครน่าน พญาภูเข่ง เป็นผู้สร้างขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 1949 พระวิหารหลวงวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร เป็นวิหารขนาดใหญ่ รูปทรง สร้างตามสถาปัตยกรรม ทางภาคเหนือ ลักษณะภายในโอ่โถง ด้านหน้ามีสิงห์คู่ ยืนตรงเชิงบันได ด้านละตัว มีทางเข้า 3 ทาง ประตูกลาง ทำเป็นประตูใหญ่ และประตูเล็ก อยู่ด้านซ้ายและด้านขวา มีทางขึ้นเป็นประตูเล็ก ๆ ตรงข้ามพระประธาน ด้านทิศตะวันออกและตะวันตกอีก 2 ข้าง ทำหลังคาซ้อนกัน 2 ชั้น มุขลดด้านหน้า และด้านหลัง หน้าบัน ตีด้วยแผ่นกระดานเรียงต่อกัน แล้วประดับที่ขอบเสา ด้านหน้าทุกต้น ตามลักษณะ สถาปัตยกรรมล้านนาไทย ภายในพระวิหารกว้างขวาง มีเสาปูนกลมขนาดใหญ่ ขนาด 2 คนโอบรอบ จำหลัก ลวดลายปูนปั้นนูนสูงไว้ เหนือจากระดับพื้นพระวิหาร 1.50 เมตร เป็นลวดลาย กนกระย้าย้อย เหมือนลวดลาย ที่เสาในวิหารวัดภูมินทร์

ภายในวัดประดิษฐาน เจดีย์ช้างค้ำ ซึ่งเป็นศิลปสมัยสุโขทัย อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 20 รอบเจดีย์ มีรูปปั้นช้างปูนปั้น เพียงครึ่งตัวประดับอยู่โดยรอบ นอกจากนี้ยังมีพระพุทธรูปทองคำปางลีลา คือ พระพุทธนันทบุรีศรีศากยมุนี ซึ่งเป็นทองคำ 65 % สูง 145 เซนติเมตร ยอดพระโมฬีทำเสริมเมื่อ พ.ศ. 2442 หนัก 69 บาท เจ้างั่วฬารผาสุม เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 14 แห่งราชวงค์ภูคา เป็นผู้สร้าง เมื่อวันพุธ เดือน 6 เหนือ พ.ศ. 1969 เป็นศิลปะสุโขทัย ประดิษฐานอยู่ที่หอพระไตรปิฎก ใหญ่ที่สุดในประเทศ

พระธาตุเจดีย์ช้างค้ำวรวิหาร เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุไว้ภายใน นับเป็น ปูชนียสถาน สำคัญ เป็นเจดีย์ ที่ได้รับอิทธิพลทางด้านศิลปะสุโขทัย จากเจดีย์ทรงลังกา คือเจดีย์วัดช้างล้อมนั่นเอง พระธาตุเจดีย์ สร้างด้วยอิฐถือปูน มีสัณฐานเป็นรูปสี่เหลื่ยมจัตุรัส ซ้อนกัน 3 ชั้น กว้างด้านละ 9 วา ฐานจากชั้นแรกสูงถึงชั้นสอง มีรูปช้างค้ำอยู่ในลักษณะ เหมือนฐานรองรับไว้ด้านละ 6 เชือก รวมทั้งหมด 24 เชือก ช้างแต่ละตัว โผล่ส่วนหัว ลอยออกมาครึ่งตัว ขาหน้าทั้งคู่ ยื่นพ้นออกมาจากเหลี่ยมฐาน เหนือขึ้นไปเป็นฐานปัทม์ (ฐานบัว) ซ้อนกัน 3 ชัน และเป็นองค์ระฆังแบบลังกา ต่อจากองค์ระฆัง ทำเป็นฐานเขียง รองรับมาลัยลูกแก้ว ลดหลั่นกันไป เป็นส่วนยอด ปัจจุบันพระธาตุเจดีย์ช้างค้ำ ได้รับการบูรณะซ่อมแซม และหุ้นด้วยแผ่นทองเหลืองทั้งองค์ มีความสวยงามมาก

อ่านต่อที่วิกิพีเดียค่ะ 




พักสายตากับดอกไม้ประดับเนาะ




พระพุทธนันทบุรีศรีศากยมุนี





พระธาตุเจดีย์ช้างค้ำวรวิหาร




สถูปเจดีย์ของเจ้านครน่าน










ความเดิม

ทริปส่งท้ายปี 2560 น่าน --- ก่อนจะถึงจุดหมายปลายทาง


Create Date :20 เมษายน 2561 Last Update :20 เมษายน 2561 21:03:05 น. Counter : 2484 Pageviews. Comments :0