bloggang.com mainmenu search

ณ น่าน ตอนที่ 4 ღ ღ ღ วัดภูมินทร์

ทริปปีใหม่ 28 ธันวาคม 56 - 1 มกราคม 57 ความเดิมตอนที่แล้ว...ออกจากวัดวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร ข้ามฝั่งมาต่อที่วัดภูมินทร์ค่ะ ยังมีอีกหลายวัดนะคะ ยังไม่จบวันแรกเลย

ประวัติของวัดภูมินทร์

ตามพงศาวดารเมืองน่าน วัดภูมินทร์สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2139 โดยพระเจ้าเจตบุตรพรหมมินทร์ หลังจากที่พระองค์ทรงครองนครน่านได้ 6 ปี มีปรากฏในคัมภีร์เมืองเหนือว่า เดิมชื่อ “วัดพรหมมินทร์” ซึ่งเป็นชื่อของเจ้าเจตบุตรพรหมมินทร์ ผู้สร้าง แต่ตอนหลังชื่อวัดได้เพี้ยนไปจากเดิมเป็นวัดภูมินทร์ วัดแห่งนี้ได้รับการบูรณะครั้งใหญ่เมื่อ พ.ศ. 2410 หลังจากที่สร้างมา 271 ปี โดยเจ้าอนันตวรฤทธิเดช เจ้าผู้ครองนครน่าน โปรดให้ซ่อมแซมครั้งใหญ่แล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2418 (ปลายสมัยรัชกาลที่ 4) ใช้เวลาซ่อมนานถึง 7 ปี จิตรกรรมฝาผนังในวิหารหลวงก็เขียนขึ้นในช่วงนี้ ภาพจิตรกรรม หรือ “ฮูบแต้ม” ในวัดภูมินทร์เป็นชาดกในพุทธศาสนาแต่ถ้าพิจารณารายละเอียดเป็นวิถีชีวิตของคนเมืองในสมัยนั้น





จากวัดช้างค้ำ ข้ามฝั่งมา ผ่านตรงนี้ก่อนค่ะ





มองไปเยื้องๆ อีกฝั่ง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน สี่แยกตรงนี้เค้าเอาสายไฟลงดินหมดแล้ว ถ่ายจากมุมไหนก็สวยค่ะ





ข่วงเมืองน่าน

















10.17 น. วันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2556









วิหารจตุรมุข เป็นงานสถาปัตยกรรมล้านนาแบบพิเศษ โดยนำโบสถ์และวิหารมาสร้างรวมเข้าเป็นอาคารเดียวกัน

มีบันได และประตูออกทั้งสี่ทิศ ที่ราวบันไดเป็นปูนปั้นรูปพญานาค หันเศียรนาคขึ้นสู่เบื้องบน













ภายในวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย 4 องค์ ประทับนั่งหันเบื้องพระปฤษฏางค์ชนกันประทับบนฐานชุกชีหันพระพักตร์สู่ประตูทั้งสี่ทิศ





ว่ากันว่าเป็นสัญลักษณ์แทนพระพุทธเจ้าทั้ง 4 พระองค์ คือพระกกุสันโท พระโกนาคมนะ พระกัสสปะ และพระสมณโคดม





ภาพจิตรกรรมฝาผนังศิลปะไทยลื้อที่เลื่องลือเรื่องความงามว่าด้วยเรื่องราวของพุทธชาดกเรื่องคันธกุมาร และเนมิราชชาดก









วิถีชีวิตของคนเมืองในสมัยนั้น





สิ่งที่น่าสนใจของภาพจิตรกรรมฝาผนัง อ่านต่อที่นี่ค่ะ





เสาปูนลวดลายปูนปั้นนูนสูง เหมือนที่วัดช้างค้ำ









ผนังด้านทิศเหนือ ตะวันออก และใต้ เป็นภาพพระพุทธเจ้าประทับนั่ง มีพระสาวกนั่งข้างละสององค์ สันนิษฐานว่า

คงเป็นตอนที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมเทศนา และต่ำลงมาเป็นภาพขนาดเล็กเล่าเรื่อง “คันธกุมารชาดก” ต่อเนื่องกันตลอดทั้งสามด้าน





หน้าต่าง





งามไปหมดตั้งแต่พื้นจรดเพดาน









ภาพโดดไปโดดมานะคะ





ธรรมมาสน์









น้องๆ ที่เป็นยุวมัคคุเทศก์









รอยพระพุทธบาท









มาวัดภูมินทร์ทั้งที ขาดภาพนี้คงไม่ได้นะคะ





กว่าจะได้คิวถ่าย...คนเข้าไปถ่ายรูปกับภาพเยอะมาก เรารอจังหวะที่ไม่มีคน...





ปู่ม่าน ย่าม่าน





พระพุทธเจ้าและพระสาวก





หญิงสาวกำลังทอผ้าด้วยกี่พื้นเมือง นอกชานมีเรือนเล็กๆ ตั้งหม้อน้ำดินเผาที่เรียกว่า “ร้านน้ำ”

ส่วนชายหนุ่มไว้ผมทรงหลักแจว หรือทรงมหาดไทย แสดงให้เห็นอิทธิพลตะวันตกที่เข้ามาผสมผสานในวิถีพื้นเมืองน่าน









เดินออกมาแล้วค่ะ





เค้าบอกว่าใครได้เดินลอดใต้ท้องพญานาคจะโชคดีค่ะ













ภายใน









หางพญานาคยาวขดอยู่ด้านหลัง













ป้ายประวัติ













เดินวนรอบเลยค่ะ ครบสี่มุมแล้ว













ข้ามมาถนนอีกฝั่ง มองกลับไปวัดภูมินทร์





เดี๋ยวไปต่อที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน อยู่ด้านซ้ายมือของวัดช้างค้ำค่ะ





Create Date :28 เมษายน 2557 Last Update :28 เมษายน 2557 5:27:45 น. Counter : 3956 Pageviews. Comments :34